Thursday, 31 May 2012
โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้
โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ หมายความว่าคนที่เข้าถึงการบรรลุมรรคผล หรือว่าเข้าถึงความดีได้ต้องมีโพชฌงค์ 7 ประการ โพชฌงค์นี่มีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ
สติ ความระลึกได้
ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
วิริยะ ความเพียร
ปีติ ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิ ความสงบ
สมาธิ จิตตั้งมั่น
อุเบกขา ความวางเฉย
จัดว่าเป็นโพชฌงค์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องและทรงรับรองว่า ถ้าใครมีคุณธรรม 7 ประการนี้ไว้ประจำใจแล้ว เรียกว่าประจำ ให้รู้อยู่ว่าเรามีโพชฌงค์ 7 หรือไม่ หรืออาการโพชฌงค์ 7 เกิดขึ้นได้อย่างไร ยังคงอยู่หรือว่าเสื่อม
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
สติ ความระลึกได้ เวลานี้ท่านรู้อยู่หรือเปล่าว่าลมหายใจเข้าออกของท่านมีอยู่เวลานี้ท่านหายใจเข้าสั้นหรือยาว หายใจออกสั้นหรือยาว นี่เป็นการใช้สติเหมือนกัน อิริยาบถ เรากำลังเดินอยู่หรือเปล่าหรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ หรือเดินอยู่ หรือทำอะไรอยู่สัมปชัญญะ เรารู้ตัวอยู่ว่าเวลานี้เราทำอะไรนะ นี่สตินึกอิริยาบถที่เข้าไปถึงสัมปชัญญะนี่เวลาอาบน้ำ หรือว่าเรากินข้าว เราห่มผ้า เราเมาร่างกายหรือเปล่า ร่างกายของเรานี่เราเมาไหม เราคิดว่ามันสวยมันงามหรือเปล่า ถ้าคิดว่าสวยว่างาม ก็นึกลงไปอีกทีว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปฏิกูลสัญญาว่า ปฏิกูลสัญญาว่าสภาพร่างกายมีอาการ 32 คือว่าอัฏฐิ อิมัสมิง กาเย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น มีขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อุจจาระ ปัสสาวะอะไรก็ตาม ตามที่เรียนมาแล้วก็เราเห็น หรือว่ามันชั่วหรือว่ามันไม่ชั่วมันสวยหรือมันไม่สวย มันเป็นของสะอาดหรือของสกปรก หากว่าเราเมาชีวิต คิดว่าเราจะไม่ตายก็ไปดูป่าช้า 9 คิดว่านี่เรานึกถึงความตาย 9 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสหรือเปล่า แล้วก็ราคะจริต จิตที่รักสวยรักงามมันปรากฏในขณะเดียวกันหรือเปล่า แล้วเวลานี้เรานะงับลงไปได้หรือเปล่า นี่เป็นตัวสติ เราวิจัยจิตของเราหรือเปล่าว่าจิตของเรามีราคะ หรือว่าโทสะ หรือว่าโมหะ หรือว่าจิตของเราปราศจากราคะ โทสะ นึกว่าจิตของเรามีนิวรณ์หรือเปล่าไอ้นิวรณ์เครื่องกั้นความดีที่ทำให้คนไม่เกิดฌาน นึกถึงขันธ์ ว่าอัตภาพร่างกายที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ขันธ์ 5 มีสภาพเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปแล้วก็สลายตัวไปในที่สุด เราไม่สามารถบังคับบัญชาขันธ์ 5 ให้อยู่ในอำนาจของเราได้ ที่เกิดมาแล้วในโลกมันเป็นทุกข์ ไอ้ความทุกข์ที่มาได้เพราะตัณหาสามประการ ถ้าเราดับตัณหาได้ก็ต้องอาศัยมรรค 8 ย่นมรรค 8 ลงมาก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา
ReplyDeleteธรรมวิจยะ แปลว่าสอดส่องธรรม หรือว่าวินิจฉัยธรรม วิจยะ วิจัย วิจัยวินิจฉัยค้นคว้าดูว่าไอ้สิ่งที่เราคิด ด้วยอำนาจของสติมันถูกหรือไม่ถูก มันตรงหรือไม่ตรง ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้หรือเปล่านี่ และพิจารณาดูว่าที่เราทำอยู่นี้ เคร่งเครียดตึงเกินไป หย่อนเกินไป หรือว่าพอดี และที่ทำอยู่ทำเพื่ออะไร เราทำเป็นมัชฌิมาปฏิปทาหรือเปล่า เมื่อเราทำตามนั้นแล้วมีผลเป็นยังไง ผลของความสุขใจมันเกิดขึ้นบ้างหรือเปล่านี่ เราใช้ข้อนี้เป็นเครื่องมือนะขอรับ โพชฌงค์ 7 นี่น่ะ เป็นเครื่องมือในการบรรลุ
ReplyDeleteวิริยะ ได้แก่ความเพียร ต้องเพียรให้ตรง แล้วก็มีความพากเพียร ต้องคิดว่างานทุกอย่างต้องมีอุปสรรค ไม่ว่าอะไรทั้งหมด อุปสรรคมันมีทั้งนั้น จะถือว่าทำงานทุกอย่างเต็มไปด้วยความราบรื่นไม่ได้ คนที่มีความเห็นไม่ตรงกับท่านยังมีอยู่ เขาจะพูด ให้ท่านเกิดความเศร้าใจบ้าง สะเทือนใจบ้าง ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของธรรม เป็นธรรมดาของบุคคลที่มีความเห็นไม่เสมอกัน เราก็ต้องมีความเพียร เพียรละถ้อยคำ เพียรละอาการที่เขาแสดงออกซึ่งการเหยียดหยามต่าง ๆ เพียรตัด เพียรไม่สนใจ เพียรไม่ยุ่ง ทีนี้ถ้าความขัดข้องใดๆ มันปรากฏ เราก็ต้องนึกว่า นี่เราจะทำความดีนะ คนที่เขาทำนาเกี่ยวข้าว เขาก็ต้องต่อสู้กับอุปสรรคนานาประการ เช่น ความร้อน ความหนาว จากน้ำฝน จากอากาศ การต้องต่อต้านกับความเหนื่อยบาก อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้ง แล้วนี่เราจะมาบุกใจของเราให้ราบเรียบ มีผลเกิดจากใจไม่ต้องไปตากแดดตากฝน เหมือนกับคนที่ทำงานภายนอกบ้าน ถ้าอุปสรรคมันเกิดขึ้นทางใจแบบนี้ เราก็ต้องระงับทางใจ ถือขันติเป็นที่ตั้ง แล้วข้อสำคัญที่สุด พระคุณเจ้าก็อย่าลืม กระผมได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ตอนที่ว่าด้วยเรื่องวิชชาสามว่าความดีอันดับแรกก็คืออย่าสนใจกับชาวบ้าน เขาจะดีเขาจะเลวเขาจะว่ายังไง เขาจะแสดงอาการยังไงก็ปล่อยเขา อย่าไปสนใจกับเขา เท่านั้นเป็นพอ ทีนี้วิริยะตัวนี้เราจะเพียรแบบไหนถ้าโดนเข้าแบบนั้น ก็เพียรไม่สนใจในเรื่องของเขา เขาจะว่ายังไงก็เป็นปากของเขา เขาจะแสดงอาการทางกายยังไงก็เป็นอาการของเขา เราไม่สนใจเสียก็หมดเรื่อง นี่เราเพียรไม่สนใจ แล้วก็เพียรปฏิบัติตามกฎที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วทุกอย่างในมหาสติปัฏฐานสูตร
ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ปีตินี่เราจะสร้างมันเองไม่ได้ ต้องทำไปตามกฎแห่งการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราพิจารณากรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม ให้เห็นเหตุเห็นผล ความชุ่มชื่นจะปรากฏแก่จิต ความสุขของจิตจะมี ปีติแปลว่า ความอิ่มใจ สมมติว่าเราทำสมาธิจิตให้ได้อานาปานสติกรรมฐานในเมื่อสมาธิเข้าถึงจุด มีอาการทรงตัว ความอิ่มใจ คือความสุขใจมันจะเกิดขึ้น ความปลาบปลื้มมันจะเกิดขึ้น ทีนี้มาพิจารณาในปฏิกูลบรรพ หรือว่าธาตุบรรพ หรือว่านวสี 9 ยังงี้พอเกิดอารมณ์ปลงความปรารถนาใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเสียได้ ความเยือกเย็นจะปรากฏ นี่ปีติมันอิ่มตัวอิ่มใจ ทำให้เข้าถึงนะขอรับ ปีติมันต้องมี มีเพราะเรามีความเพียร มีเพราะเราทรงสมาธิ
ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ ปัสสัทธินี้พระพุทธเจ้าให้ทรงอาศัยไว้ คือทรงสติสัมปชัญญะ และทรงสมาธินั่นเอง รักษาอารมณ์แห่งอานาปานสติกรรมฐานเข้าไว้ความสงบจะปรากฏ ความดิ้นรน ตัวจิตที่คิดนอกลูกนอกทางจะไม่ปรากฏ ถ้าเราทรงเมตตาเข้าไว้ ถ้าเรามีเมตตาเป็นประจำใจ เรียกว่าทรง ไอ้ตัวที่มีไว้เรียกว่าทรง พยาบาทจะไม่ปรากฏ ถ้าเรามีธรรมวิจยะ คือสอดส่องธรรมอยู่เสมอ ตัวสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่ปรากฏ จะเป็นปัสสัทธิ นี่อาการของปัสสัทธิจะเกิดขึ้นมาได้ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเฉย ๆ ต้องรักษาเข้าไว้ คือต้องมีเข้าไว้ มีสติ มีธรรมวิจยะ มีวิริยะ มีปีติ มีปัสสัทธิ
สมาธิ ความตั้งใจมั่นได้แก่การรักษาอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง รักษาอารมณ์ของเราให้เป็นเอกัคคตารมณ์ สมมติว่าเราจะนึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ข้อ
ข้อหนึ่งในมหาสติปัฏฐานสูตร อารมณ์จิตก็จะไม่หลบไปสู่อารมณ์อื่น นอกจากจะวิจัยกองนั้น นึกถึงกองนั้นอยู่ อย่างนี้เรียกกันว่าสมาธิ ไม่ใช่การนั่งหลับกานั่งหลับนั้นไม่รู้สึกตัวไม่รู้อะไรเลยอย่างนี้ ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ฌานแล้ว เขาเรียกกันว่าหลับในสมาธิ นักเจริญสมาธิก็แปลว่าตั้งใจมั่น ไม่ช่นั่งหลับหรือนอนหลับ สมาธิแปลว่าตั้งใจมั่น กำลังใจนี่คุมอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่โดยเฉพาะจิตไม่สอดส่ายไปสู่อารมณือื่น อย่างนี้เราเรียกกันว่าสมาธิ ถ้าการเข้าถึงขั้นนิโรธสมาบัติข้างในน่ะลืมโพลง หมายความมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือว่าจิตกับกายมันแยกกัน อาการภายนอกไม่รู้จริง แต่อาการภายในมีเหมือนกับคนที่ตื่นอยู่ปกติ แล้วก็มีอารมณ์ตั้งมั่นโดยเฉพาะ มีความสุขไม่มีความทุกข์ นี่เป็นอาการของนิโรธสมาบัติสมาธิขั้นสูง นี่เป็นยังงี้นะขอรับ ตัวสมาธิคือตั้งใจมั่นจับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะต้องมีเป็นปกติ ถ้ายังงั้นไม่มีทางบรรลุมรรคผล
ReplyDeleteอุเบกขา ในกรณีนี้ คือวางเฉยต่ออาการของชาวบ้าน ชาวบ้านที่ทำให้เราไม่ชอบใจก็ดี ทำให้เราชอบใจก็ตาม เราเฉยเสียไม่ยอมรับนับถือทั้งชอบใจและไม่ชอบใจ นี่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ นะ แล้วถ้าสูงขึ้นไปอีกนิด ก็อุเบกขาเหมือนกัน วางเฉยในขันธ์ 5 นี่สำคัญ ตัวนี้เป็นตัวแท้ ตัวแรกนั้นเป็นตัวหน้าตัววางเฉยเรื่องราวของชาวบ้านที่เขาพูดไม่ถูกหรือทำไม่ถูกใจ หรือทำไม่ถูกใจ พูดไม่ถูกใจ เราวางเฉยไม่เอาอารมณ์ไปยุ่ง ยังงี้เป็นเรื่องเปลือก ๆ เป็นอาการของเปลือก ไม่ใช่เนื้อ อุเบกขาที่แท้ต้องเป็นสังขารรุเปกขาญาณวางเฉยในขันธ์ 5 เรื่องของขันธ์ 5 มันจะรับอะไรมาก็ตาม เราเฉยเสีย คิดว่านี่เป็นธรรมดาของคนที่เกิดมามีชีวิต คนที่เกิดมามีขันธ์ 5 มันต้องมีอาการอย่างนี้เป็นปกติ ไม่มีใครจะพ้นอาการอย่างนี้ไปได้ ถึงแม้ว่าเราจะหลีกหนีให้พ้นไปสักขนาดใดก็ตาม เราจะมีเงินมีทองมีอำนาจวาสนาบารมียังไงก็ตาม ไม่สามารถจะพ้นโลกธรรม 8 ประการไปได้ คือ
มีลาภ
เสื่อมลาภ
มียศ
เสื่อมยศ
นินทา
สรรเสริญ
สุข
ทุกข์
อาการ 8 ประการนี้ คนในโลกทั้งหมดหนีไม่พ้น ที่นี้เมื่ออาการภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา เราก็วางเฉยเสีย ถือว่าเรื่องของขันธ์ 5 เป็นธรรมดา คนมีขันธ์ 5 ต้องมีการกระทบกระทั่งทั้งทางหูและทางตา หนีไม่ได้ก็ปล่อยมัน เหมือนกับคนเดินอยู่กลางทุ่งที่ไม่มีอะไรบัง ฝนจะตกก็ดี แดดจะออกก็ดี ก็ต้องถูกตัว แต่เราก็ไม่โกรธแดดโกรธฝน เพราะถือเราเป็นคนเดินดิน มันหนีไม่พ้น ทีนี้มาถ้าขันธ์ 5 มันป่วยไข้ไม่สบาย หรือมันจะตาย เราก็วางเฉยอีก เพราะว่าขันธ์ 5 สภาวะมันเป็นอย่างนี้ มันจะพังอย่างนี้ มันจะต้องป่วยอย่างนี้เป็นของธรรมดา เราก็เฉยมันเสียแต่ไม่เฉยเปล่านะ เอาจิตเข้าไปจับพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วย และนอกจากนั้น ถ้ารักษาเพื่อระงับเวทนาได้ก็ควรรักษา เมื่อรักษามันหายก็หาย ไม่หายก็ตามใจ นี่เรื่องของมัน วางเฉยไว้ คิดว่าถ้ามันทรงอยู่เราก็จะเลี้ยงมันไว้ ถ้ามันทรงอยู่ไม่ได้ เราก็จะไปนิพพาน ขันธ์ 5 มันเป็นตัวถ่วง เป็นตัวให้เกิดในวัฏฏสงสาร ถ้าเราข้องใจในมันเมื่อไร ความทุกข์ก็ไม่ถึงที่สุดเมื่อนั้น หมายความว่าความทุกข์มันก็จะปรากฏเมื่อนั้น ถ้าเราเลิกข้องใจกับมันเมื่อไร เลิกสนใจกับมันเมื่อไร เราก็สิ้นทุกข์เมื่อนั้น
โพชฌงค์ 7 ประการก็พูดมาครบแล้ว พูดมาแนะนำแต่เพียงหัวข้อ วิธีคิดจริงๆ ก็คิดกันตามใจเถอะ จะคิดแบบไหนก็ได้ตามอารมณ์ เพราะทางเข้าถึงพระนิพพานมีหลายจุด ไม่ใช่ว่าจะมีตามจุดเฉพาะเดินในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง 4 เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่มีบารมีสูงๆ ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง 4 นี้ บางทีท่านจับเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นก็ได้พระนิพพาน เป็นอันว่าโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการนี้ เป็นเครื่องมือสำหรับนักปฏิบัติเพื่อช่วยควบคุมกำลังจิตให้เดินเข้าสู่สภาวะพระนิพพานอย่างง่ายดายมีขอบเขตนั่นเอง
********************