Thursday, 31 May 2012
วิชชา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ
วิชชา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ
ตามความนิยามความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ หมายถึง การเกิดในกำเนิดทั้ง 4 ประการ อย่างที่ตนเกิด สัตว์เกิด คือ เกิดในครรภ์ เกิดในไข่ เกิดในของสกปรก เกิดโดยผุดขึ้น มี 3 ประการ คือ
1. ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ
คือ การระลึกชาติได้ ได้แก่ การเกิดของพระองค์ และของสัตว์อื่น ที่ผ่านกันมาในอดีตกาล โดยไม่อาจจะนับประมาณได้ว่า พระองค์ได้เคยเกิดมากี่ชาติแล้ว
พระญาณเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกระทำให้สมบรูณ์ ในระดับของศีล ระดับของสมาธิ ระดับของปัญญา จนปรับจิตของตน ให้อยู่ในสภาพที่ทรงแสดงว่า ..เรานั้น เมื่อจิตมันไม่หวั่นไหว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็นจิตอ่อนโยน พร้อมที่จะน้อมไปเพื่อรู้ชาติปางก่อน และเราก็จะระลึกชาติปางก่อนได้ ตั้งแต่ 1 ชาติ เรื่อยไปไม่สามารถจะนับเป็นตัวเลขได้ และทรงรู้รายละเอียดในชาตินั้นๆ
2. จุตุปปาตญาณ
คือ รู้จักกำหนดจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลายในโลกนั้น คนเกิดที่แตกต่างกัน ทั้งด้านรูปร่าง หน้าตา สถานะ ผิวพรรณ พื้นเพ อัธยาศัย ระดับสติปัญญา และพฤติกรรมที่บุคคลเหล่านั้นแสดงออก ที่บุคลเหล่านั้นได้กระทำเอาไว้ในภายในชาตินั้นๆ กรรมเป็นตัวจำแนกแบ่งแยกให้คนเลว ให้ประณีต แตกต่างกัน
3. อาสวักขยญาณ
คือพระญาณ ที่ทำอาสวะให้หมดไปสิ้นไป คำว่า อาสวะ เป็นชื่อของกิเลสที่หมักหมมอยู่ภายในจิตใจของบุคคล เก็บสะสมข้ามภพ ข้ามชาติมาเป็นเวลาที่นับไม่ได้ แต่ด้วยที่ทรงรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 ด้วยญาณทั้ง 3 ตามลำดับ คือ รู้บ่อเกิดแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จึงสามารถทำอาสวะให้หมดสิ้นไปได้
*******
"ในวันนี้คงจะมีแต่สุขสันต์ แต่ว่ามันคงจะดีแค่ความหมาย
เพราะว่ามันคือหนทางแห่งความตาย อาจเหนื่อยหน่ายแต่จะได้มีชีวี
เพราะประมาทคือหนทางไม่สร้างสรรค์ ที่ทุกวันคนที่มีมักสลาย
อย่าหลงชื่อความประมาทหวังสบาย อาจจะตายจนสบายในมรณัง "
"อันความตายชายนารี หนีไม่พ้น
จะมีจนก็ต้องตาย กลายเป็นผี
ถึงแสนรักก็ต้องร้าง ห่างทันที
ไม่วันนี้ก็วันหน้า จริงหนอเรา "
"อยากได้ดี ไม่ทำดี นั้นมีมาก
ดีแต่อยาก หากไม่ทำ น่าขำหนอ
อยากได้ดี ต้องทำดี อย่ารีรอ
ดีแต่ขอ รอแต่ดี ไม่ดีเลย "
************
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
คำบูชาพระรัตนตรัย
ReplyDeleteโยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมเหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ สาธุโน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า 3 จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ
คำสมาทานพระกรรมฐาน
ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ศิษย์หลวงพ่อปาน
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ)
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า(ทั้งหลาย) ขอมอบกาย ถวายชีวิต แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า(ทั้งหลาย) ขออาราธนาบารมี พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย สืบ ๆ กันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 ขอพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปีติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 จงมาบังเกิดปรากฎ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดนี้เถิด
ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะแห่งเมฆจิต สามารถกำหนดจิตรู้ภาวการณ์ต่าง ๆ ทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบันได้ทุกขณะจิต ที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้ว ขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใส และพยากรณ์ได้ ตามความเป็นจริงทุกประการ เหตุใดที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้น ได้โดยมิต้องกำหนดจิต แม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
?----------------------
ReplyDeleteคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
"อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ"
(พระคาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนา ทำให้เป็นฌานนิมิตต่าง ๆ จะแจ่มในคนที่ตาไม่ดีก็อ่านหนังสืออกได้และมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามความประสงค์)
ถ้าจะให้อยู่ยงคงกระพัน พอท่องคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าเสร็จก็ต่อว่า
" ตะโจพระพุทธเจ้าจงมาเป็นหนัง มังสาพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเนื้อ อัฐิพระสังฆเจ้าจงมาเป็นกระดูก ตรีเพชรพระคงคา อิสสวาสุ สุสวาอิ พุทธปิติอิ"
? ? ?----------------------
พระพุทธคาถา
"สัมมาสัมพุทธัสสะ พระอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ"
(ให้สวดทุกคืน ๆ ละ จบ อานุภาพของพระคาถา ศัตรูจะพินาศเองเมื่อคิดประทุษร้าย จะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการ จะสามารถเห็นได้แจ่มแจ้งด้วยญาณ เป่าให้ศิษย์ผู้เรียนทิพจักขุญาณและเรียนไปปรโลกได้ มีญาณเครื่องให้แจ่มใส)
?----------------------
คาถาเงินล้าน
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ
พรหมา จะ มหาเทวา อะภิลาภา ภะวันตุ เม
มหาปุญโญ มะหาลาโภ ภะวันตุ เม มิเตพาหุหะติ
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย
วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา
วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมานะ พุทธัสสะ สวาโหม
สัมปะติจฉามิ
เพ็งเพ็ง พาพา หาหา ฤาฤา
? ?----------------------
คาถาอภิญญารวม
"โสตัตตะภิญญา"
(เวลาภาวนาให้กำหนดลมหายใจเข้าออกแล้วก็ทิ้งนิมิตเสีย ไม่ต้องไปใช้นิมิตในกสิณ ใช้คาถาอย่างเดียว คือกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ถึงที่สุดเป็นฌานสี่ เท่านี้อภิญญาทุกอย่างก็จะรวมตัวเราใข้ได้ทันทีทันใด โดยไม่ต้องเลือกกสิณอะไรทั้งหมด)
?----------------------
คาถาพระนิพพานนิมิต
"นิมิตจิตติ นิมิตจิตติ นิพพานจิตติ นิพพานจิตตา" (อ่านว่า นิพ-พา-นะ-จิต-ตา)
(ให้ภาวนาถือพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้จิตจะมีการผูกพันพระนิพพานเป็นอารมณ์มากขึ้น แล้วก็กำลังจะไม่คลาดจากพระนิพพาน)
?----------------------
คาถาเมฆจิต
"พุทธัง เมฆนิมิตต์ จิตตัง มะอะอุ ธัมมัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อุอะมะ สังฆัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อะมะอุ"
(ภาวนาไป ๆ แล้วกำหนดรู้ในสิ่งที่ต้องการจะรู้ ตอนภาวนากำหนดจิตให้เห็นภาพพระไปด้วยยิ่งดี ให้ถือเอาอารมณ์จิตรู้อารมณ์แรก ถ้าจิตดีขึ้นก็จะเห็นภาพ)
?----------------------
คาถารวมจิต
"อิติ สัมมา สัมพุทธัสสะ มะมะ จิตตัง"
(ถ้าเวลาใดที่จิตเกิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ให้ทิ้งคำภาวนาอย่างอื่นเสียให้หมด กำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วว่าคาถานี้ตามสบาย ๆ กำลังของสมาธิจะรวมตัวได้รวดเร็ว)
? ?----------------------
คาถาพระอินทร์
ReplyDelete"สหัสสเนตโต เทวินโต ทิพพจักขุง วิโสทายิ"
(คาถาบทนี้เหมาะสำหรับเด็กนักเรียน บอกว่าเวลาก่อนที่จะดูหนังสือ ให้ไหว้พระ นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระอริยสงฆ์ นึกถึงบิดามารดา ความดีของท่าน นึกถึงครูบาอาจารย์ แล้วนึกถึงพระอินทร์เจ้าของคาถา แล้วว่าสัก 1 จบ แล้วก็ดูหนังสือ เมื่อจะเลิกจากอ่านหนังสือก็ว่าสักอีก 1 จบ วันแรก ๆ ก็อาจจะจำไม่ได้ แต่วันต่อไปก็อาจจะคล่องตัวขึ้นมาเอง)
?----------------------
คาถาพระยายม
"นะโมพุทธายะ"
(เป็นคาถาของท่านพระยายม คาถานี้รักษาโรคไม่หาย กันไม่ให้ตายก็ไม่ได้ แต่สามารถระงับทุกขเวทนาได้ ก่อนจะว่าให้จุดธูป 5 ดอก จุดเทียน 1 เล่ม มีดอกไม้ก็ใช้ได้ และนึกถึงพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์เสียก่อน และพระยายมด้วย แล้วเป่าที่ศีรษะของผู้ป่วยค่อย ๆ เบา ๆ โดยนั่งทางด้านเหนือของศีรษะของเขา นึกขอให้ทุกขเวทนาระงับไป)
?----------------------
คาถานวด
"อิมัสมิงมาเล อิมังเต มาสัง วัสสัง อุเปมิ"
(หลวงพ่อให้ที่บ้านสายลม ให้นึกถึงพระรัตนตรัยก่อนว่าคาถา แล้วให้ภาวนาเรื่อยไปขณะนวด)
?----------------------
คาถาสนองกลับผู้กระทำไสยศาสตร์
"สัมปจิตฉามิ"
(ก่อนภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ และต่อด้วยพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ และสวด อิติปิโสฯ 3 จบ จึงภาวนาเรื่อยๆ ไปในขณะที่ภาวนาให้ทำใจสบาย ๆ ผลของคาถาบทนี้ จะมีผลต่อผู้สั่ง รับคำสั่ง ผู้ร่วมมือ และผู้กระทำไสยศาสตร์มายังเราโดยฉับพลัน)
?----------------------
คาถามหาอำนาจ
เอวัง ราชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง สีหะนะเม สีละเตเชนะ นามะ ราชะสีโห, อิทธิฤทธิ์ พระพุทธัง
รักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง, อิทธิฤทธิ์ พระธัมมัง
รักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง, อิทธิฤทธิ์ พระสังฆัง
รักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง.
(ใช้เสกล้างหน้าทุกเข้า จะมีอำนาจคนยำเกรง ศัตรูพ่ายแพ้)
??----------------------
คาถาอิทธิฤทธิ์
พุทโธ พุทธัง น กันตัง อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ
(เป็นคาถาป้องกันตัว เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีศาสตราวุธร้ายแรงทุกชนิดทั้ง มีด ไม้ ปืน หรือระเบิด ให้ภาวนาดังนี้)
"อุทธัง อัทโธ นะโม พุทธายะ"
?----------------------
คำภาวนาซึ่งพระนิพพาน
อิมานิ ปุญญะกัมเมนะ นิพพานัง ปะระมัง สุขัง อะนาคะเต กาเล.
(แปล..ขอข้าพเจ้าจงได้ถึงพระนิพพาน อันเป็นสุขอย่างยิ่ง ด้วยกรรมอันเป็นบุญนี้ ในอนาคตกาลเบื้องหน้าเถิด)
------------------------
บทสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย
ReplyDeleteสวดทำนองสรภัญญะ
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธะสันดาน
ตัดมูลกิเลสมาร บ่ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี บ่ พันพัว สุวะคนธะกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆะกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้าฯ ขอประณตน้อม ศิระเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุณ- ย ภาพนั้นนิรันดร
***************************************
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ReplyDeleteสุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมฺตตา สุภาวิตา ํผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ ละเหตุทกุข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
ปาปานํ อกรณ์ สุขํ การไม่ทำชั่ว ให้เกิดสุข
สุขา สทฺธมฺมเทสนา การแสดงธรรมให้เกิดสุข
อโรคฺยปรมา ลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
อตีตํ นานฺราคเมยฺย ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว
อตีตํ นานฺวาคเมยฺย ไม่พึงหวนคนึงถึงอดีต
นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ ไม่พึงวิตกกังวลถึงอนาคต
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
ยถาวาที ตถาการี พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น
สจฺ จํ เว อมตา วาจา คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย
กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
ทุกขํ สยติ โกธโน คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ ํ ลวณํ โลณตํ ยถา พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
มโนปุพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีจิตนำหน้า
ชิเน กทริยํ ทาเนน พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ ความผิดของผู้อื่นเห็นได้ง่าย
อตฺตโน ปนา ทุทฺทสํ ความผิดของตน มองเห็นได้ยาก
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
สงฺขารา ปรามา ทุกฺขา สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
***********************************************