Wednesday 30 May 2012

เหตุทั้งปวง คือ ห้วงแห่งอารมณ์


ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ 
คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ 
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมากมีนามว่าอินทกะ เหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมากมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดี ได้มายืนอยู่แล้ว ฯ) 

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ 
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ 
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต 
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมากมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)

ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ 
นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ 
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต 
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าววิรูปักษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด  ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ) 

อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต 
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ทั้งหลาย เป็น เทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่า อินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากมีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดี ได้มายืนอยู่แล้ว ฯ) 

ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง 
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโรทิสา 
ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าวธตรฏฐ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันตก ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ)ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ ทั้ง ๔ ท่านนี้เป็นท้าวมหาราชได้มายืนอยู่ทำทิศทั้ง ๔ ให้รุ่งเรืองสว่างไสวแล้ว ฯ) 

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน 
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต 
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา 
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,

(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดีชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่ง สถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้นในบ้าน บนต้นไม้ และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบกและที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียงจงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย จงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ที่เรากล่าวอยู่นี้,) 

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา 
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา 
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา





78 comments:

  1. กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
    1.อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
    2.อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
    3.อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
    4.อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
    5.อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
    6.อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
    7.อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
    8.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
    9.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
    10.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

    ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน
    ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking)
    ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว

    --------------

    ReplyDelete
    Replies
    1. สังขารทั้งปวง เกิดแต่ปฏิจจสมุปบันธรรม

      จึงเป็นเหตุให้เกิดสามัญญลักษณะของสังขารทั้งปวง คือ พระไตรลักษณ์

      สังขาร เกิดขึ้นมาแต่ มีเหตุต่างๆหรือก็คือสิ่งต่างๆ มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น ดังนั้นฆนะมวลรวมหรือกลุ่มก้อนที่เห็นล้วนคือมายาให้เห็นผิดไปจากความจริง คือไม่ใช่สิ่งๆเดียวหรือชิ้นเดียวกันแท้จริงโดยสมบูรณ์ จึงล้วนมีความไม่สมบูรณ์ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเอง สภาวะของแรงที่แอบแฝงบีบเค้นขึ้นโดยธรรมหรือธรรมชาติต่อสังขาร เพื่อให้คืนสู่สภาพเดิมหรือธรรมชาติเดิมก่อนการปรุงแต่ง จึงทำให้เกิดสภาวะของอนิจจังหรือความไม่เที่ยงเกิดขึ้น คือเกิดการแปรปรวนต่างๆจากอำนาจของแรงบีบเค้นนั้นๆขึ้นเป็นธรรมดา

      เมื่อไม่เที่ยง คือมีอาการของการแปรปรวนไปมาแล้ว ในที่สุดย่อมมาถึงที่สุดของอาการแปรปรวน คือทุกขัง สภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้อีกต่อไป จึงดับไปเป็นที่สุด

      สังขารทั้งปวงจึงล้วนอนัตตา ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวตนแท้จริง เป็นเพียงมายาของกลุ่มก้อนที่ปรุงแต่งกันขึ้น ดังกล่าวข้างต้น ส่วนอสังขตธรรมนั้นก็เป็นเพียงธรรมหรือนามธรรมและยังไม่เกิดเป็นปรากฏการณ์ขึ้น ของการที่มีเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น ให้เป็นตัวเป็นตนเป็นผลขึ้นแต่อย่างใด จึงเป็นอนัตตาอยู่โดยธรรมหรือโดยในที ด้วยเหตุดังนี้ ธรรมทั้งปวงจึงล้วนอนัตตา ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง

      Delete
    2. สังขาร เมื่อถูกปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดย่อมคืนสู่สภาพเดิมหรือธรรมชาติเดิมก่อนการปรุงแต่งโดยธรรมหรือธรรมชาติ กล่าวคือย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา จึงบังเกิดอาการของอนิจจังความไม่เที่ยงขึ้น ที่มีอาการของความแปรปรวนเพื่อคืนสู่ธรรมชาติเดิมเป็นธรรมดา จนทุกขังทนอยู่ไม่ได้ในที่สุด จึงย่อมต้องดับไปเป็นธรรมดา จึงล้วนเป็นอนัตตาเพราะไม่มีตัวตนแท้จริงอีกแล้ว เพราะดับไปเสียแล้ว



      เมื่อนำภูมิรู้ทางโลก ที่พอรู้กันบ้างในโลกปัจจุบันนี้มาพิจารณากันอย่างหาเหตุหาผลกัน ตามที่มนุษย์ผู้ชาญฉลาดในโลกแต่แสวงหาเติมเต็มไปด้วยทุกข์ ได้ค้นพบรวบรวมความรู้หรือปัญญาญาณระดับทางโลกเกี่ยวกับมวลหรือสิ่งต่างๆอย่างลึกซึ้งมาเป็นลำดับไม่ช้านานมานี้เอง พึงนำความรู้นี้มาพิจารณาตามธรรมหรือเปรียบเทียบกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ท่านทรงตรัสรู้ด้วยตัวพระองค์เองตั้งแต่ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ว่าธรรมของท่านจริงเท็จประการใด มีเหตุมีผลหรือไม่ อันเป็นไปตามหลักกาลามสูตรของพระองค์ท่านเช่นกัน

      พระองค์ท่านทรงสอนไว้ว่า ธรรมหรือสิ่งทั้งหลาย ล้วนเกิดแต่เหตุ

      Delete
    3. กล่าวคือ มีเหตุหรือสิ่งต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน จึงเกิดผลต่างๆขึ้น หรือก็คือหลักอิทัปปัจจยตา หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยในปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง

      สังขารก็เช่นกัน สังขาร มิได้มีความหมายว่า สังขารร่างกายแต่อย่างเดียว แต่มีความหมายครอบคลุมถึงสังขารต่างๆทั้งสิ้น อันยกเว้นก็แต่เพียงอสังขตธรรมเท่านั้น เพราะสังขารในทางธรรม หมายถึง สิ่งปรุงแต่ง หรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น หรือถ้าจะให้ระบุชัดลงไปอีกก็คือ สิ่งที่มีเหตุ(สิ่งอื่นต่างๆ) มาเป็นปัจจัยหรือประชุมปรุงแต่งกันขึ้นมา พูดดังนี้อาจไม่เข้าใจชัด ลองพิจารณาดังต่อไปนี้

      ข้าวผัด เป็นสังขาร เกิดแต่เหตุต่างๆอันมี ข้าว น้ำมัน เนื้อ กระเทียม ซอส ผู้ลงมือกระทำ ฯลฯ. มาประชุมปรุงแต่งกันจึงเกิดสังขารที่ เราเรียกกันทั่วๆไปว่า ข้าวผัด

      สังขารร่างกาย ก็เป็นสังขาร กล่าวคือ เกิดแต่เหตุต่างๆอันมี ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือธาตุ ๔ มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยกัน ดังที่ได้กล่าวไว้โดยละเอียดในเรื่องพระไตรลักษณ์

      เวทนา ก็เป็นสังขาร กล่าวคือ เกิดแต่เหตุต่างๆเช่นกัน อาทิเช่น เหล่าอายตนะภายนอก๑ อายตนะภายใน๑ วิญญาณของอายตนะนั้นๆ๑ การผัสสะกัน๑ สัญญา๑ เหตุต่างๆเหล่านี้มาปรุงแต่งกันหรือมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ดังกระบวนธรรมนี้

      Delete
    4. อายตนะภายนอก กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป อายตนะภายใน การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ๖ การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นสุข, ทุกข์, ไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดา

      คราวนี้ เรามาพิจารณาในบรรดามวลที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ค้นพบและพอรู้กันอยู่โดยทั่วไปในทางโลกทางวิทยาศาสตร์ดูกันบ้าง ก็คือ บรรดาอะตอม ที่มีอิเลคตรอน โปรตอน ฯ.เป็นส่วนประกอบ หรือเป็นเหตุปัจจัย

      ในบรรดาอะตอมทั้งหลายนี้ ต่างล้วนประกอบปรุงแต่งขึ้นด้วย อิเลคตรอน โปรตอน และนิวตรอน เหมือนกันล้วนสิ้น ไม่ว่าจะสิ่งของหรือในสิ่งมีชีวิตใดๆก็ตามที จึงล้วนคือสังขาร จึงเป็นพื้นฐานมวลขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ภูมิปัญญาของมนุษย์โดยทั่วไปในปัจจุบันเข้าถึง อันปรากฏการณ์นี้ ถ้าจะกล่าวกันโดยธรรมหรือภาษาธรรมแล้ว ก็คือ อิเลคตรอน และโปรตอน และนิวตรอน เป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยกันหรือปรุงแต่งแก่กันและกัน จนเกิด ผล เป็นอะตอมขึ้นมา หรือเกิดขึ้นและเป็นไปภายใต้ปฏิจจสมุปบันธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

      Delete
    5. This comment has been removed by the author.

      Delete
    6. สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา

      (เวทนาปริคคหสูตร)

      เมื่อสิ่งทั้งหลายอันคือสังขาร มีการเปลี่ยนแปลง แปรปรวน อยู่ตลอดเวลาดังนี้ ในที่สุดก็ย่อมมาถึงจุดๆหนึ่งอันเป็นจุดที่ สังขารทนอยู่ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว กล่าวคือจึงเกิดการแตก แตกสลาย แยกย้าย แปรเปลี่ยน สูญ หรือภาษาธรรมก็ใช้คำว่า ดับ ในทุกสิ่งนั่นเอง

      เมื่อเกิดสูญ หรือดับไปแล้วขึ้น อันเนื่องจากการ แตกสลาย แยกย้าย แปรเปลี่ยน ฯ. สังขารที่เกิดแต่เหตุมาประกอบเป็นปัจจัยกันนั้นๆ ก็ย่อมทรงสภาพเดิมๆของมันไม่ได้อีกต่อไป จึงแสดงอาการแปรปรวนในขั้นต้น จนดับไปเป็นที่สุด ตัวตนหรือสังขารนั้นๆจึงไม่สามารถทรงสภาพอยู่ได้อีกต่อไป จึงแสดงสภาวะที่เรียกกันในพระพุทธศาสนาว่า "อนัตตา" ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวใช่ตน อีกต่อไป.

      สิ่งต่างเหล่านี้พระองค์ท่านทรงรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่งมาแต่ ๒๕๐๐ กว่าปีก่อนมาแล้วว่า สิ่งของหรือวัตถุต่างๆเหล่านี้ ล้วนเกิดแต่เหตุ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน นอกจากนั้นด้วยพระปัญญาญาณอันยิ่ง พระองค์ท่านทรงเห็นลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้นอีก จนบันลือไปทั่วทุกโลกธาตุว่า ไม่ใช่เฉพาะเพียงสิ่งของ,วัตถุหรือสังขารฝ่ายวัตถุเท่านั้น อันจัดเป็นฝ่ายรูปธรรมหรือสิ่งที่สัมผัสรู้ได้ด้วยอายตนะต่างๆเท่านั้น เพราะพระองค์ท่านยังทรงประกาศไปอีกว่า เห็นยิ่งไปกว่านั้นว่าแม้แต่ฝ่ายนามธรรมหรือความสุขความทุกข์หรือสิ่งที่สัมผัสรู้ได้ด้วยใจนั้น ก็เกิดขึ้นและเป็นไปในลักษณาการเดียวกันกับฝ่ายนามธรรม กล่าวคือ ล้วนเกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยเช่นกัน ตลอดจนยิ่งไปกว่านั้นเป็นการตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยม ละเอียดละออ ทุกขั้นตอน อย่างถ่องแท้ในเหตุปัจจัยของความทุกข์ทั้งหลาย ที่เผาลนมนุษย์ชาติมาทุกกาลสมัย แต่โบราณกาล ตราบจนปัจจุบัน และตลอดไปในอนาคต จนกว่าจะมีวิชชาของพระองค์ท่าน

      เมื่อพิจารณาแบบโยนิโสมนสิการโดยแยบคายแล้ว จักพึงเห็นได้ด้วยตนเองว่า สังขารหรือสิ่งต่างๆล้วนเกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เกิดสามัญญลักษณะหรือลักษณะประจำตัวโดยทั่วไปของบรรดาสังขารทั้งปวงขึ้นนั่นเอง กล่าวคือ

      มีความไม่เที่ยง ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงหรืออนิจจัง๑

      มีความคงทนอยู่ไม่ได้หรือทนอยู่ด้วยยาก จึงดับไปหรือทุกขัง๑

      ไม่ใช่ตัวใช่ตนอย่างแท้จริง เพราะล้วนเกิดขึ้นมาแต่เหตุมาเป็นปัจจัยกันชั่วระยะหนึ่ง จึงไม่มีตัวตนหรืออะไรเป็นของตัวของตนอย่างเป็นแก่นแกนแท้จริง จึงเพียงแต่แลดูประหนึ่งหรือเสมือนหนึ่งว่า เป็นสิ่งๆเดียวกันหรือชิ้นเดียวกัน หรืออนัตตา๑

      Delete
  2. ความดีเด่นของกาลามสูตร

    กาลามสูตร เป็นพระสูตรสำคัญสูตรหนึ่งในพระพุทธศาสนา ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ จากนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน แท้ที่จริง ในพระไตรปิฎก ชื่อกาลามสูตรไม่ได้มีปรากฏอยู่ หากมีแต่ชื่อว่า เกสปุตตสูตร ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้แก่ชาวกาลามะ ซึ่งอยู่ในเกสปุตตนิคม เพราะฉะนั้น จึงตั้งชื่อพระสูตรนี้ตามชื่อของนิคมนี้ว่า เกสปุตตสูตร แต่คนที่อยู่ในนิคมหรือ ตำบลนี้เป็นเชื้อสาย หรือมีสกุลเดียวกัน คือ สกุลกาลามะ เขาจึงเรียกประชาชนเหล่านี้ว่ากาลามชน ซึ่งมีโคตรอันเดียวกัน สกุลเดียวกัน คือ กาลามโคตร เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกพระสูตรนี้ว่า เกสปุตตสูตร แต่ชาวโลกทั่วไป มักจะเรียกพระสูตรนี้ว่า กาลามสูตร เพราะรู้สึกว่าจะเรียกได้ง่ายกว่า

    ReplyDelete
  3. พระสูตรนี้เป็นพระสูตรที่ไม่ยาว แต่มีใจความลึกซึ้งน่าคิดประกอบด้วยหตุผล ซึ่งผู้นับถือ พระพุทธศาสนาหรือผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาควรจะได้ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการใช้เหตุผลตามหลัก วิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับกฎทางวิทยาศาสตร์
    พระสูตรนี้มีความเป็นมาโดยย่อว่า ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยัง
    เกสปุตตนิคม อันเป็นที่ อยู่ของพวกชาวกาลามโคตรหรือกาลามชน ชาวกาลามชนในเกสปุตตนิคมทราบข่าวมาก่อนแล้วว่า พระพุทธเจ้ามีชื่อเสียงโด่งดังอย่างไรก่อนที่พระองค์จะได้เสด็จมายังหมู่บ้านของพวกเขา จึงต่างก็พากันไปเฝ้าเป็น จำนวนมาก เพราะชื่อเสียงของพระพุทธเจ้าดังก้องไปว่า
    อิติปิ โส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทธโธ" เป็นต้น ดังที่เราสวดสรรเสริญกันในบทสวดมนต์ ซึ่งปรากฏมากในพระสูตรต่าง ๆว่า"แม้เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์, เป็นผู้ตรัสรู้ เองโดยชอบ, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ, เสด็จไปดีแ ล้ว,เป็นผู้รู้แจ้งโลก,เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า, เป็นผู้รู้ เป็นผู้เบิกบานเป็นผู้จำแนกธรรม เป็นต้น"
    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่เกสปุตตนิคมนั้น มีประชาชนมาเฝ้ากันมากคนอินเดียมีเรื่อง แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นนักบวชนับถือลัทธินิกายใด หรือว่าพวกเขาจะไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ตามแต่พวกเขา ก็อยากจะฟังความรู้ความเข้าใจ และต้องการปัญญา

    ReplyDelete
  4. ดังนั้น พวกที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในครั้งนี้ เป็นพวกที่ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาปก็มี พวกที่ไม่นับถือ พุทธศาสนาก็มีพวกที่สงสัยอยู่ก็มี พวกที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งอยู่แล้วก็มี เพราะฉะนั้น ประชาชนที่ไปเฝ้า พระพุทธเจ้าในสมัยนั้นจึงมีลักษณะอาการที่ไปเฝ้าแตกต่างกัน ซึ่งอาการที่ไปเฝ้าของประชาชนเหล่านั้น มีลักษณะ ดังนี้
    บางพวกเมื่อได้ทราบเสร็จแล้วก็นั่งนิ่ง ไม่พูดจาอะไร
    บางพวกเป็นเพียงแต่แสดงความยินดีแล้วก็นั่งนิ่งอยู่
    บางพวกกล่าวชมเชยพระพุทธเจ้าแล้วก็นั่งนิ่งอยู่
    บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตนว่า ตนเองชื่ออะไร โคตรอะไรแล้วก็นั่งนิ่งอยู่
    บางพวกก็ไม่กล่าวอะไร ไม่แสดงอาการอะไร ได้แต่นั่งเฉย ๆ
    บางพวกเป็นเพียงแต่ประนมมือไหว้ แล้วก็นั่งเฉยอยู่
    เพราะฉะนั้น ประชาชนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมีวรรณะใด ก็สามารถเข้าเฝ้า ได้อย่างใกล้ชิด เพราะพระพุทธเจ้ามิได้ทรงถือชั้นวรรณะ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นโอรสกษัตริย์ประสูติอยู่ใน วรรณะกษัตริย์ แต่พระองค์ถือว่าคนไม่ได้ประเสริฐเพราะสกุลกำเนิดแต่จะประเสริฐได้ก็เพราะการกระทำของ ตนเองดังนั้นจึงมีประชาชนไปเฝ้าพระองค์เป็นจำนวนมากและเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด

    ReplyDelete
  5. ประชาชนที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น ได้กราบทูลขึ้นว่า
    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเกสปุตตนิคมนี้ มีสมณพราหมณ์คือนักบวชในศาสนาต่าง ๆ เดินทางเข้ามาเผยแพร่คำสอนศาสนาของตนอยู่เสมอๆและ
    สมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาเหล่านั้นได้กล่าวยกย่อง คำสอนแห่งศาสนาของตน แต่ได้ติเตียนดูหมิ่น เหยียดหยาม คัดค้านศาสนาของคนอื่นแล้วสมณพราหมณ์นักสอน ศาสนาเหล่านี้ก็จากเกสปุตตนิคมไป
    ต่อมาไม่นาน ก็มีสมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาพวกอื่นได้เข้ามายังนิคมนี้ แล้วก็กล่าวยกย่อง เชิดชูศาสนาของตนแต่ดูหมิ่น เหยียดหยาม ติเตียน คัดค้านศาสนาของคนอื่น
    เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกข้าพระองค์ก็มีความสงสัยเกิดขึ้นว่าบรรดาศาสดาหรือนักสอนศาสนาเหล่านั้น ใครเป็นคนพูดจริงใครเป็นคนพูดเท็จ ใครถูกใครผิดกันแน่"
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงความเห็นใจต่อประชาชนเหล่านั้นว่า"ชาวกาลามะทั้งหลาย น่าเห็นใจที่ ท่านทั้งหลายตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ พวกท่านทั้งหลายควรสงสัยในเรื่องที่ควรสงสัยเพราะท่านทั้งหลายตกอยู่ใน ฐานะที่ต้องสงสัย ตัดสินใจไม่ได้ แต่เราเองจะบอกให้ ชาวกาลามะทั้งหลาย"

    ReplyDelete
  6. สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

    พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง
    มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
    มา ปรมฺปราย อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
    มา อิติกิราย อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
    มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
    มา ตกฺกเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
    มา นยเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
    มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
    มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
    มา ภพฺพรูปตา อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
    มา สมโณ โน ครูติ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
    สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้
    ข้อความประเภทนี้ตรงกับกฎทางวิทยาศาสตร์ เพราะนักวิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อถ้าเขายังไม่ได้ ทดสอบหรือพิจารณาเหตุผลให้ปรากฏก่อน และข้อความเช่นนี้ไปตรงกันได้อย่างไรในข้อที่ไม่ให้เชื่อเพราะเหตุ เหล่านี้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราควรจะเชื่อแบบใดเมื่อปฏิเสธไปหมดเลยทั้ง 10 ข้อ และเราควรจะเชื่ออะไรได้บ้าง
    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของเหตุและผล ไม่โจมตีศาสนา ไม่โจมตีผู้ใด
    ชี้แต่เหตุและผลที่ยกขึ้นมา อธิบายเท่านั้น

    ReplyDelete
  7. พระพุทธวจนะทั้ง 10 ประการข้างต้นนั้น ท่านทั้งหลายฟังดูแล้วอาจคิดว่า ถ้าใครถือตามแบบ นี้ทั้งหมดก็มองดูว่าน่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ คือ ไม่เชื่ออะไรเลย แม้แต่ครูของตนเอง แม้แต่พระไตรปิฎกก็ไม่ให้เชื่อ พิจารณาดูแล้ว น่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ

    ReplyDelete
  8. แต่ก็ไม่ใช่
    คำว่า "มา" อันเป็นคำบาลีในพระสูตรนี้ เป็นการปฏิเสธมีความหมายเท่ากับNoหรือนะคืออย่า แต่โบราณาจารย์กล่าวว่า ถ้าแปลว่า อย่าเชื่อ เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งไปควรแปลว่า"อย่าเพิ่งเชื่อ" คือให้ ฟังไว้ก่อน สำนวนนี้ ได้แก่สำนวนแปลของสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส นักปราชญ์ รูปหนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ แต่บางอาจารย์ให้แปลว่า"อย่าเพิ่งปลงในเชื่อ" แต่บางท่านแปลตามศัพท์ว่า "อย่าเชื่อ" ดังนั้น การแปลในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่ 3 แบบคือ
    1. อย่าเชื่อ
    2. อย่าเพิ่งเชื่อ
    3. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ

    ReplyDelete
  9. การแปลว่า "อย่าเชื่อ" นั้น เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งเป็นการไม่ค่อยยอมกัน ส่วนการ แปลอีก 2 อย่างนั้น คือ "อย่าเพิ่งเชื่อ" และ "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" นั้นก็มีความหมายเหมือนกันแต่คำว่า "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" นั้นเป็นสำนวนแปลที่ค่อนข้างยาว

    ReplyDelete
  10. ดังนั้น คำว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ" เป็นสำนวนที่สั้นกว่า ง่ายกว่าและเข้าใจได้ดีกว่า ฉะนั้น การที่จะแปลให้ฟังง่ายและเหมาะสมก็ต้องแปลว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ"
    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครจะพูดก็พูดไปเราก็ฟังไป อย่าไปว่าหรือค้านเขา แต่อย่าเพิ่งเชื่อ ต้องพิจารณาดูก่อนว่าถูกหรือผิด เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์
    นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสอีกมากในพระสูตรนี้แต่ในที่นี้จะขออธิบายความหมายของ ข้อแนะนำทั้ง 10 ประการเสียก่อน เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากของพระสูตรนี้ และได้รับการแปลออกเป็น ภาษาต่างๆ หลายภาษา เพราะเขาถือว่าเป็นกฏทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่คาดคิดเลยว่าจะมีกล่าวไว้ในครั้งสมัยเมื่อ ประมาณ 2,600ปีมาแล้ว ที่ใช้ความคิดแบบอิสระอย่างนี้ เป็นความคิดที่มีเหตุผล 10 ประการ คือ

    ReplyDelete
  11. 1. อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา บางคนเมื่อฟังตามกันมาก็เกิดความเชื่อ เมื่อคนนั้นว่าอย่างนั้น คนนี้ว่าอย่างนี้ ก็เชื่อตามกันไป โดยบอกว่า "เขาว่า"ปัจจุบันนี้การเชื่อตามเขาว่านี้ ถ้า ไปเป็นพยานในศาลจะไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะการที่ "เขาว่า" นั้น มันไม่แน่การฟังตามกันมาก็เชื่อตามกันมา ฉะนั้นสุภาษิตปักษ์ใต้จึงมีอยู่บทหนึ่งว่า

    "กาเช็ดปาก คนว่ากาเจ็ดปาก ปากคนมากกว่าปากกาเป็นไหนๆ"
    สุภาษิตนี้หมายความว่า ชายคนหนึ่งเห็นกากินเนื้อแล้วเช็ดปากที่กิ่งไม้ ก็มาเล่าให้เพื่อนฟังว่า "ฉันเห็นกาเช็ดปาก"เพื่อนคนนั้นฟังไม่ชัด กลายเป็นว่า"ฉันเห็นกาเจ็ดปาก" ก็ไปเล่าต่อว่า คนโน้นเล่าให้ฟัง เมื่อวันก่อนว่าเขาเห็นกาเจ็ดปาก ก็เล่าต่อกันมาเรื่อย ๆ ว่า กามีเจ็ดปาก นี่เป็นการเชื่อตามคำเขาว่า ซึ่งบางคนก็ฟัง มาไม่ชัดเพราะฉะนั้น ก็อาจฟังผิดได้ การที่เขาว่าจึงอาจจะถูกหรือผิดได้ เช่น บัตรสนเท่ห์
    เขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ว่าตามที่เขาว่านั้น ซึ่งมีจริงบ้างไม่จริงบ้าง ปนกันอยู่
    เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งเชื่อตามที่เขาว่า แต่ให้ฟังไว้ก่อนชาวพุทธจะไม่ปฏิเสธการที่เขาว่า แต่จะฟังไว้ ก่อน โดยยังไม่เชื่อทีเดียว บางทีก็ฟังตามกันมาตั้งแต่โบราณ เช่น สมมุติว่าฝนแล้งก็ต้องแห่นางแมวแล้วฝนจะตก เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าแห่
    นางแมวแล้วฝนจะตก บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่เขาเล่ากันมาอย่างนี้ คือเชื่อตามเขาว่า ซึ่งก็ อาจจะไม่เป็นจริงตามเขาว่าก็ได้ ดังนั้น เราต้องเชื่อตามเหตุผล อย่าเชื่อตามเขาว่า

    ReplyDelete
  12. 2. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดว่าเป็นของเก่า เล่าสืบๆ กันมา บางคนบอกว่าเป็นของเก่า เป็นความเชื่อ ตั้งแต่สมัยโบราณเราควรจะเชื่อ เพราะเป็นของเก่า ถ้าไม่เชื่อ เขาก็หาว่าจะทำลายของเก่า บางคนเห็นผีพุ่งไต้ ก็บอกว่านั่นแหละวิญญาณจะลงมาเกิด อย่าไปทัก เพราะเป็นความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณ เมื่อมีแผ่นดินไหว คนโบราณจะพูดว่าปลาอานนท์พลิกตัว หรือเวลามีฟ้าผ่าก็บอกว่ารามสูรขว้างขวาน ฟ้าแลบก็คือนางเมขลา ล่อแก้วเข้าตารามสูร รามสูรโกรธ จึงขว้างขวานลงมาเป็นฟ้าผ่า
    ความเชื่อเช่นดังกล่าวมานี้เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล ดังนั้นความเชื่อของคนโบราณนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกหรือดีเสมอไป แต่เป็นความเชื่อปรัมปรา เราจึงไม่ควรจะเชื่อ ถ้ายังไม่แน่ใจถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องนำสืบๆกันมา

    ReplyDelete
  13. 3. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นข่าวเล่าลือ หรือตื่นข่าว เรื่องข่าวนั้นมีมาก ไม่ว่าจะเป็นข่าวทันโลก ข่าวช่วงเช้า ข่าวช่วงเย็น ข่าวเขาว่า ซึ่งมีอยู่มากมาย ถ้าเราไปเชื่อตามข่าว เราก็อาจจะเป็นคนโง่ได้ เช่น บางคน อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ก็คิดว่าเป็นเรื่องจริงแน่แล้ว แต่ข่าวจากหนังสือพิมพ์นั้น บางทีลงข่าวตรงกันข้าม จากข่าวจริง ๆ เลยก็มี หรือมีจริงอยู่บ้างเพียงบางส่วนก็มี เราจึงควรพิจารณาให้ดีเสียก่อน เพราะข่าวบางข่าวนั้น หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นต้องมาลงขอขมากันภายหลังที่ลงข่าวผิด ๆ ไปแล้วก็มี ดังนั้น ข่าวลือจึงมีมาก เช่น ลือว่าจะมีการปฏิวัติ ลือว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งบางทีก็จริง บางทีก็ไม่จริง หรือลือกันว่าคนเกิดวันนั้นวันนี้ จะตายในปีหน้า ต้องรีบทำบุญเสีย ก็เลยพากันเฮมาทำบุญกัน นี้ก็เพราะฟังเขาลือกันมา บางคนก็ลือกันแบบ กระต่ายตื่นตูมเป็นข่าวเขาว่าไม่ใช่ข่าวเราว่า เพราะฉะนั้นก็อย่าเพิ่งเชื่อ

    ReplyDelete
  14. 4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา ถ้าใครเอาตำรามาอ้างให้เราฟัง เราก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะตำราก็อาจจะผิดได้บางคนอาจจะค้านว่า "ที่เราพูดถึงกาลามสูตรนี้ ไม่ใช่ตำราหรอกหรือ" จริงอยู่ เราก็อ้าง กาลามสูตรซึ่งเป็นตำราเหมือนกัน แต่ท่านว่า อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอาจจะผิดได้ ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเอาตำราอะไรก็ตามมาอ้างเราก็ต้องอย่าเพิ่งเชื่อ พระพุทธเจ้าตรัสว่าให้พิจารณาดูก่อน บางคนกล่าวยืนยันว่าตนเอง อ้างตามตำรา ซึ่งแท้จริงแล้วเขาไม่ได้อ่านตำรานั้นเลย แต่ว่าเอามาอ้างขึ้นเอง บางคนก็ต้องการ โดยการอ้างตำรา ดังมีเรื่องเล่ากันมาว่า
    "อุบาสก 2 คนเถียงกัน ระหว่างสัตว์น้ำกับสัตว์บกอย่างไหนมีมากกว่ากัน
    อุบาสกคนหนึ่งบอกว่า สัตว์บกมีมากกว่า เพราะบนบกนั้นมีสัตว์นานาชนิด เช่น มีแมลงต่างๆ มีมดต่างๆ มากมาย
    ส่วนอีกคนหนึ่งค้านว่า สัตว์น้ำมีมากมายหลายชนิดนับไม่ถ้วน แม้แต่กุ้ง ปลา ก็นับไม่ถ้วนเสียแล้ว สัตว์น้ำต้องมากกว่าสัตว์บกแน่นอน
    ทั้งสองคนจึงไม่อาจตกลงกันได้
    อุบาสกคนหนึ่งหัวไวได้ยกบาลีมาอ้างว่า "พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์น้ำมีมากกว่าสัตว์บก ดังพระบาลีที่ว่านัตถิ เม สรณัง อัญญัง แปลว่า สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก"
    อุบาสกอีกคนหนึ่งไม่กล้าค้านเพราะกลัวจะตกนรก
    แท้ที่จริง คำว่า "นัตถิ เม สรณัง อัญญัง" นั้น ไม่ได้แปลว่า "สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก" แต่แปลว่า "ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี" ผู้อ้างคิดแปล
    เอาเองเพื่อให้คำพูดของตนมีหลักฐานการอ้างตำรา อย่างนี้จึงไม่ถูกต้องถ้าใครหลงเชื่อก็อาจถูกหลอกเอาได้
    นอกจากนี้ ตำราบางอย่างก็อ้างกันมาผิด พวกที่ไม่รู้ภาษาบาลี เมื่อเห็นเขาอ้างก็คิดว่าจริง เช่น นักหนังสือพิมพ์ บางคนกล่าวว่า "ทุกขโต ทุกขถานัง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตน" ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นบาลีที่ไม่ถูกต้อง เป็น ประโยคที่ไม่มีประธาน ไม่มีกริยา เป็นภาลีที่แต่งผิด ซึ่งอาจารย์บางท่านเรียกบาลีเช่นนี้ว่า "เป็นบาลีริมโขง" แต่คนกลับคิดว่าเป็นคำพูดที่ซึ้งดี เพราะฟังดูเข้าที่ดี นี้ก็เป็นการอ้างตำราที่ผิด ถึงแม้ว่าตำรานั้นจะเขียนถูกแต่ถ้าหาก ว่าไม่มีเหตุผล เราก็ไม่ควรเชื่อ
    ปัจจุบันนี้ มีการโฆษณาหนังสือยอดกัณฑ์พระไตรปิฎกว่า ถ้าถ้าใครสวดเป็นประจำก็จะร่ำรวยเป็น เศรษฐี ได้ทรัพย์สมบัติและจะปลอดภัย ปลอดโรคต่าง คนก็พากันสวดและพิมพ์แจกกันมาก ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ไม่ ทราบว่าจะทำอย่างไรเมื่อมีผู้นำหนังสือนี้มาถวายให้ จะเผาทิ้งก็ติดที่มีคำบาลีอยู่ด้วย หนังสือนี้ได้พิมพ์ต่อเนื่องกัน มาผิด ๆ และไม่มีพระสงฆ์รูปใดสวดยอดกัณฑ์พระไตรปิฎก นอกจากในหมู่ฆราวาส
    บางคนที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา
    ดังนั้นใครอ้างบาลี เราก็จงอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูให้ดีว่ามีอะไรถูกหรือผิดบ้างเสียก่อน

    ReplyDelete
  15. 5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง ท่านใช้คำว่า ตักกเหตุ คือ การตรึก หรือการคิด ตรรกวิทยาเป็นวิชา แสดงเรื่องความคิดเห็น อ้างหาเหตุผล แต่พระพุทธเจ้าทรงกล้าค้านตรรกวิทยาได้ว่า การอ้างหาเหตุผลโดยการ คาดคะเนนั้นอาจจะผิดก็ได้การอ้างหาเหตุผลนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกไปเสียทุกอย่าง
    การนึกคาดคะเนหรือการเดาเอาของคนเรานั้นผิดได้ เช่นหลักตรรกวิทยากล่าวว่า "ที่ใดมีควัน ที่นั้นมีไฟ" ซึ่งก็ไม่ แน่เสมอไป เดี๋ยวนี้ที่ใดมีควัน ที่นั้นอาจจะไม่มีไฟก็ได้ เช่น เขาฉีดสารเคมี พ่นยาฆ่าแมลง ก็มองดูว่าเป็นควันออกมา แต่หามีไฟไม่
    หรือบางคนก็คิดเดาเอาเองว่าคงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ คำว่า คงจะ นั้น มันไม่แน่ เพราะฉะนั้น เราก็อย่าเพิ่งตัดสินว่าเรื่องนี้ถูกแน่นอนแล้ว คำว่า คงจะ นั้นเป็นการนึกเดาเอา

    ReplyDelete
  16. 6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยการคิดคาดคะเนหรืออนุมานเอา ตัวอย่างเช่น เราคิดว่าเราจะแซงรถคันหน้าพันถ้าเรา ขับรถเร็วกว่านี้ ซึ่งเป็นการคาดคะเนเอา บางทีเราคาดคะเนความเร็วไม่ถูก ก็อาจจะชนรถคันหน้าที่วิ่งสวนมา โครมเข้าไปเลยก็ได้ การคาดคะเนหรืออนุมานเอาอย่างนี้ ทำให้คนตายมามากแล้ว การอนุมานเอานี้มันไม่แน่
    บางคนคิดว่าฝนคงจะตกแน่เพราะเห็นเมฆดำก่อตัวขึ้นมาก็เป็นการอนุมานเอาว่าฝนคงจะตก แต่บางที ลมก็จะพัดเอาเมฆนี้ลอยพ้นไปเลยก็ได้ ซึ่งก็ไม่แน่เพราะอนุมานเอา
    ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้อนุมานเอาก็อย่าเพิ่งเชื่อ

    ReplyDelete
  17. 7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ คือเห็นอาการที่ปรากฏแล้วก็คิดว่าใช่แน่นอน เช่น เห็นคนท้องโตก็คิดว่าเขาจะมีลูก ซึ่งก็ไม่แน่ บางคนแต่งตัวภูมิฐานก็คิดว่าคนนี้เป็นคนใหญ่โต ร่ำรวย ซึ่งก็ไม่แน่ อีกบางทีก็เป็นขโมย แต่งตัวเรียบร้อยมาหาเรา บางคนทำตัวเหมือนเป็นคนบ้าคนใบ้มานั่งใกล้กุฏิพระ คนก็ไม่สนใจนึกว่าเป็นคนบ้า แต่พอพระเผลอก็ขโมยของของพระไป ดังนั้น เราจะดูอาการที่ปรากฏก็ไม่ได้ บางคนปวดหัว ก็คิดว่าเป็นโรคอะไรที่หัว แต่ก็ไม่แน่ สาเหตุอาจจะเป็นที่อื่นแล้วทำให้เราปวดหัวก็ได้ เช่น ท้องผูก เป็นต้นหรือเราขับรถมาถึงสะพานซึ่งมองดูแล้วคิดว่าสะพานนี้น่าจะมั่นคงพอจะขับข้ามไปได้ แต่ก็ไม่แน่ สะพานอาจจะพังลงมาก็ได้

    ReplyDelete
  18. 8. อย่าเพิ่งเชื่อว่าต้องกับลัทธิของตน คือ เข้ากับความเชื่อของตน เพราะตนเชื่ออย่างนี้อยู่แล้ว เมื่อใครพูดอย่างนี้ให้ฟัง ก็ยอมรับว่าใช่และถูกต้อง ซึ่งก็ไม่แน่เสมอไป เพราะสิ่งที่เราเชื่อมาก่อนนั้นอาจผิดก็มี บางทีคนอื่นก็มาหลอกเรา เพราะเห็นว่าเราเชื่ออยู่ก่อนแล้ว จึงอาศัยความเชื่อของเรา เป็นเหตุมันจึงไม่แน่เสมอไป
    บางคน เมื่อมีใครมาพูดตรงกับความคิดเห็นของตนก็เชื่อแล้ว ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบใครอยู่สักคนหนึ่ง พอใครมาบอกเราว่าคน ๆ นั้นไม่ดี ก็เชื่อว่าเป็นคนชั่วแน่ เพราะตนเองก็ไม่ชอบหน้าเขาอยู่แล้ว เรื่องอย่างนี้ก็ไม่ แน่เสมอไป เพราะคนที่เราไม่ชอบอาจจะเป็นคนดีก็ได้ แต่ว่ามีคนอื่นมาพูดยุยงให้เราเข้าใจไปอย่างนั้น เราจึง มองผิดไปได้
    หรือคนที่เชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก หรือเรื่องเครื่องลางของขลัง พอมีใครมาพูดเรื่องเช่นนี้ก็เชื่อสนิท เพราะไปตรงกับความเชื่อของตน
    เพราะฉะนั้น จงอย่าเพิ่งเชื่อ แม้ในกรณีดังกล่าวมานี้

    ReplyDelete
  19. 9. อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้ คือ เห็นว่าคนที่เป็นคนใหญ่คนโตนั้น พูดจาควรเชื่อถือได้ เช่น เป็น ถึงชั้นเจ้า หรือตำแหน่งสูง เราก็ควรจะเชื่อคำพูดของเขา แต่มันก็ไม่แน่ แม้แต่พระสงฆ์ก็ไม่แน่ เราจึงต้องฟังดูให้ ดีเสียก่อน แม้แต่คณะรัฐมนตรีเองก็ไม่แน่ อย่าเพิ่งไปเชื่อคำพูดของท่านเหล่านั้นทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ว่าผู้พูด มียศมีตำแหน่งอย่างนี้แล้ว จะพูดเรื่องน่าเชื่อถือได้เสมอไป เราควรจะฟังหูไว้หู ฟังให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วจะ ถูกหลอกได้ง่าย
    อย่าเพิ่งเชื่อในที่นี้ มิได้หมายความว่าไม่ให้เชื่อ แต่ควรจะพิจารณาดูก่อนแล้วถึงจะเชื่อ

    ReplyDelete
  20. 10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของเรา ข้อนี้แรงมาก คือ แม้แต่ครูของตนก็ไม่ให้เชื่อ ทั้งนี้ เพราะครูของเราก็อาจจะพูดผิดหรือทำผิดได้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องฟังให้ดี
    ไม่มีศาสนาใดสอนเราไม่ให้เชื่อครูของตน แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนว่าไม่ให้เชื่อ แต่ ทรงสอนว่าอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ
    พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุผลในข้อที่อย่าเพิ่งเชื่อดังกล่าวมาดังนี้ โดยตรัสว่า " ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นอกุศล มีโทษ ก่อความทุกข์ เดือดร้อน วิญญูชนติเตียน ถ้าประพฤติเข้าแล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์เดือดร้อน ท่านทั้งหลายจงละทิ้งสิ่งเหล่านี้เสีย " พระองค์ไม่ได้ตรัสว่าดีหรือไม่ดี แต่ให้พิจารณาดูว่าถ้าไม่ดีก็ทิ้งเสีย
    พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสต่อไปว่า " ชาวกาลามะทั้งหลายท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ความโลภ ซึ่งเกิดขึ้นในใจของคนเราแล้ว เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ความโลภเป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่ใช่ประโยชน์ "

    ReplyDelete
  21. ชาวกาลามะก็ทูลตอบว่า "ไม่เป็นเพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า"
    "เมื่อความโลภเกิดขึ้นแล้ว ทำให้คนฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ประพฤติผิดในกามบ้าง และสิ่งใดที่ ไม่เป็นประโยชน์เขาจะชักนำให้ทำสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่จริง" พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อ
    ชาวกาลามะก็ทูลตอบว่า "จริง พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามอีกว่า "แต่ถ้าจริงแล้ว ท่านทั้งหลายจะสำคัญความนี้เป็นไฉน เมื่อความโลภเกิด ขึ้นในใจของคนแล้ว เป็นเหตุให้เขาฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและชักชวนให้คนทำชั่วแล้ว ความ โลภนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "แล้วมีโทษหรือไม่มี"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "มีโทษ พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อว่า "วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ติเตียน พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือเป็นไปเพื่อความทุกข์"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความทุกข์ พระเจ้าข้า"
    พระสูตรนี้มีลักษณะของการถามตอบ คือให้ผู้ที่ถูกถามคิดเอาเอง ไม่ได้ยัดเยียดความคิดให้ หรือ บังคับให้ตอบ
    ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสถามเกี่ยวกับความโกรธบ้างว่า "ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ เป็นไฉน คนที่ถูกความโกรธครอบงำเข้าแล้ว อาจจะฆ่าคนก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ประพฤติผิดในกามก็ได้ สิ่งใด ที่มีโทษ เขาก็ชักชวน
    แนะนำให้คนอื่นทำสิ่งนั้นก็ได้ ดังนั้น ความโกรธนี้ดีหรือไม่ดี"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่ดี พระเจ้าข้า"
    พระองค์ตรัสถามว่า"แล้วคนที่ความโกรธเข้าครอบงำแล้วนั้นความโกรธเป็นกุศลหรืออกุศล"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นอกุศล พระเจ้าข้า"
    พระองค์ตรัสถามว่า"มีโทษ หรือไม่มีโทษ"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า"มีโทษ พระเจ้าข้า"
    พระองค์ตรัสถามว่า"วิญญูชนติเตียนหรือไม่"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ติเตียน พระเจ้าข้า"
    พระองค์ตรัสถามว่า "แล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์หรือความสุข"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความทุกข์ พระเจ้าข้า"
    ต่อไป พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามถึงความหลงต่อไปว่า"คนที่ถูกความหลงเข้าครอบงำนั้น ความหลง เป็นกุศลหรืออกุศล"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นอกุศล พระเจ้าข้า"
    พระพุทธองค์ตรัสถามว่า "คนที่ถูกความหลงเข้าครอบงำนั้น ทำดีหรือทำชั่ว"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ทำชั่ว พระเจ้าข้า"
    พระพุทธองค์ตรัสถามว่า "วิญญูชนติเตียนหรือไม่"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ติเตียน พระเจ้าข้า"
    พระพุทธองค์ตรัสถามว่า"แล้วเขาชักนำคนอื่นไปในทางดีหรือทางชั่ว"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ทางชั่ว พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ดูก่อน ชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจงอย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเพิ่งเชื่อ โดยฟังตามกันมา อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังพูดสืบ ๆ กันมา" จนกระทั่งถึงข้อสุดท้ายว่า "อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็น ครูของเรา" ซึ่งเป็นการตรัสย้ำครั้งที่สองในเรื่องของการเชื่อ
    ดังนั้นก็เกิดคำถามว่า ถ้าเราไม่เชื่อดังเหตุผลประการต่าง ๆ นี้แล้ว เราจะเชื่อใครได้
    คำตอบก็คือให้เชื่อตัวเอง โดยการพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ว่าสิ่งที่เขาพูดกันนั้นดีหรือไม่ดี
    ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

    ReplyDelete
  22. พระพุทธองค์ได้ตรัสถามชาวกาลามะต่อไปอีกว่า
    "ชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจะพิจารณาเห็นความข้อนี้เป็นไฉน ความไม่โลภนั้นดีหรือไม่ดี เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลวิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์ ผู้ที่ไม่โลภ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ชักนำผู้อื่นไปในทางที่เสียหาย ดังนั้น ความไม่โลภนั้นจึงเป็นกุศลหรือ อกุศล"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นกุศล พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "มีโทษหรือไม่มีโทษ"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "สรรเสริญ พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามต่อไปถึงความไม่โกรธ ความไม่หลง ในทำนองเดียวกันอีกว่า "คนที่ไม่โกรธ ไม่หลงนั้น จะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ชักนำคนอื่นไปในทางที่เสีย ชักนำคนอื่นไป ในทางที่ดี ก็ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นกุศล พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "มีโทษหรือไม่มีโทษ"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "สรรเสริญ พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าจึงได้สรุปต่อไปว่า "ชาวกาลามะทั้งหลายเพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูด้วย ตนเอง ท่านอย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเชื่อโดยพูดสืบๆ กันมา จนถึงข้อสุดท้ายว่า อย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็น ครูของเรา"
    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาดูว่า "สิ่งเหล่านี้ดีหรือไม่ดี ถ้าไม่ดีก็ทิ้งเสีย ถ้าดีก็ทำตาม พระองค์ ไม่ได้บังคับให้เชื่อแต่ให้พิจารณาดูเอาเอง เหมือนคนที่ขายอาหาร หรือขายของโดยให้ผู้ซื้อได้เลือกซื้อหรือ พิจารณาเอาเอง แล้วก็ถามเรื่องความเห็นว่าดีหรือไม่ดี ชี้แจงเหตุผลให้ฟัง"
    ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ทรงสรุปให้ฟังอีกครั้งหนึ่งว่า อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเชื่อโดยนำสืบๆกันมา แล้ว จนกระทั่งอย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็นครูของเรา
    ข้อความที่กล่าวย้ำเช่นนี้ในกาลามสูตรมีถึง 4 ครั้ง เฉพาะ 10 ข้อนี้ และในที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    "ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย อริยสาวกในศาสนานี้ มีเมตตาจิต ไม่โกรธ ไม่พยาบาทใคร แผ่เมตตา ไปทิศเบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องต่ำ เบื้องสูง เบื้องขวาง ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีภัย การแผ่เมตตา อย่างนี้มีโทษหรือไม่มีโทษ"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า"

    ReplyDelete
  23. พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นกุศลหรืออกุศล"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นกุศล พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "สรรเสริญ พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์"
    ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสเช่นเดียวกันถึงเรื่อง กรุณา มุทิตา และอุเบกขา หรือพรหมวิหารทั้ง 4 ที่แผ่ไปยัง คนอื่น สัตว์อื่นและตรัสถามว่า เมื่อประกอบด้วยความไม่มีเวรเช่นนี้ มีความไม่เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตใจหมดจดอย่างนี้ ก็ย่อมจะได้ความอุ่นใจ 4 ประการคือ
    1. ถ้าหากว่าชาติหน้ามีจริง บาปบุญที่ทำไว้มีจริง ก็เมื่อเราทำแต่ดี ไม่ทำชั่ว เราจะชื่นใจว่าเราจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์แน่นอน นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่หนึ่ง
    2. ถ้าหากว่าชาติหน้าไม่มีจริงบาปบุญที่คนทำไว้ไม่มีจริงก็เมื่อเราไม่ทำชั่ว ทำแต่ดีชาตินี้เราก็สุข แม้ชาติหน้าจะไม่มีก็ตามนี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สอง
    3. ถ้าหากว่าบาปที่คนทำไว้ ชื่อว่าเป็นอันทำ คือได้รับผลของบาป ก็เมื่อเราไม่ทำบาปแล้ว เราจะได้ รับผลของบาปที่ไหน นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สาม
    4. ถ้าหากว่าบาปที่คนทำแล้วไม่ได้เป็นบาปอันใดเลยหรือไม่เป็นอันทำ ก็เมื่อเราไม่ได้ทำบาป เราก็ พิจารณาตนว่าบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน คือ ส่วนที่เราไม่ได้ทำชั่ว และในส่วนที่เราทำดี เราก็มีความสุขในปัจจุบัน

    ReplyDelete
  24. เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ได้ทำชั่ว นรกสวรรค์จะมีหรือไม่มีบาปบุญจะมีหรือไม่มี เขาก็ได้ดีทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่คนที่ทำชั่วนรกสวรรค์จะมีหรือไม่มี บาปบุญจะมีหรือไม่มี เขาก็เดือดร้อนทั้งขึ้นทั้งล่อง ถ้าหากว่าสวรรค์มีจริง เขาก็ไม่ได้ขึ้นสวรรค์ ถ้านรกมีจริง เขาก็ต้องลงนรก ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีจริง เราก็ไม่ต้องเดือดร้อน เพราะ เราไม่ได้ทำชั่วในปัจจุบัน และเราก็มีความสุขในปัจจุบัน เพราะเราทำดี การให้พิจารณาอย่างนี้ เป็นการพิจารณา ที่สร้างเหตุสร้างผลขึ้น
    ท่านทั้งหลายจงพิจารณาข้อความนี้ดูว่า ในกาลามสูตรนี้ถ้าหากคณาจารย์อื่น ๆ มาพบชาวกาละมะเข้า อาจจะพูดเหมือนบรรดาอาจารย์อื่น ๆ ที่เคยผ่านมา คือ พูด ติเตียนศาสนาอื่นแล้วยกย่องศาสนาของตนเอง แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงกระทำเช่นนั้นคือ ไม่โจมตีศาสนาอื่นเลย แม้แต่สักคำเดียว พระองค์เพียงแต่บอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อถ้าใครพูดชักนำมา ทรงเตือนว่าอย่าเพิ่งเชื่อและให้พิจารณา ด้วยตนเองเท่านั้น เมื่อได้พิจารณาด้วยตนเองแล้วเห็นว่าเป็นกุศล ก็ให้ทำตาม แต่ถ้าเป็นอกุศลก็ให้ละเสีย
    ยกตัวอย่างเช่น โลภ โกรธ หลง นั้นเป็นอกุศล ไม่ดี มีโทษ วิญญูชนติเตียน เป็นไปเพื่อทุกข์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสให้ละเสีย แต่ถ้าหากเห็นว่า ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้นเป็นกุศลไม่มีโทษ วิญญูชน สรรเสริญ เป็นไปเพื่อความสุข พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บำเพ็ญ โดยให้ชาวกาลามะพิจารณาเห็นด้วยตนเอง จากการที่พระองค์ทรงตั้งคำถามให้ชาวกาลามะ คิดพิจารณาเอาเอง โดยไม่ให้งมงาย คือ พระองค์มิได้ทรงบอก ว่าท่านต้องเชื่อหรือบอกว่าถ้าท่านไม่เชื่อท่านต้องตกนรกหมกไหม้หรือว่าท่านต้องเชื่อแล้วท่านจะได้ขึ้นสวรรค์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้แต่ตรัสบอกให้พิจารณาเอาเอง
    ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าเราทำดีโดยการมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาแล้ว เราจะมี ความอุ่นใจถึง4 อย่าง ซึ่งคนทำชั่วนั้นจะไม่มีความอุ่นใจดังกล่าวเลย

    ReplyDelete
  25. การพิจารณาอย่างนี้เป็นข้อความสำคัญในกาลามสูตร แท้ที่จริง ยังมีข้อความอื่นอีกในพระสูตรนี้ แต่เป็นข้อปลีกย่อย จึงไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้
    ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ นักคิดชาวตะวันตก ได้สรรเสริญพระพุทธศาสนาในแง่ของการมีเหตุผล ไว้มาก เพราะเป็นคำสอนอันมีเหตุผลและสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ของพระพุทธศาสนา

    ดังนั้น กาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้อิสระในด้านความคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เราเชื่อ แต่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยเชื่อ อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา แม้แต่พระคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิจารณา ดูเสียก่อน ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับการเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อ หรือไม่เพียงไร
    เราจึงควรภูมิใจที่เราได้นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่มีเหตุผล สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ในโลกปัจจุบันไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น และเป็นไปเพื่อความ สิ้นทุกข์ในที่สุด แม้ทุกข์ยังไม่หมด แต่ก็มีความสงบสุขในชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเราได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามพุทธธรรม ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

    ReplyDelete
  26. มะพร้าวเอ๋ย มะพร้าวนาฬิเกร์
    ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง
    ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง
    อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงแต่ผู้พ้นบุญเอย

    คำอธิบาย
    “ มะพร้าวนาฬิเกร์ กลางทะเลขี้ผึ้ง นั้นมันอย่างไร มีใจความสำคัญว่า ความทุกข์อยู่ที่ไหน ความดับทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นให้หาพระนิพพานให้พบจากท่ามกลางแห่งวัฏฏสงสารนั่นเอง* ”
    “ มะพร้าวนาฬิเกร์ที่อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง ที่ว่าต้นมะพร้าวนาฬิเกร์ อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง ก็หมายความว่า นิพพานนั้นอยู่กลางวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารเหมือนทะเลขี้ผึ้ง คือเป็นได้ทั้งบุญทั้งบาป เมื่อร้อนมันก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อเย็นมันก็เป็นอีกอย่างหนึ่งตามธรรมดาของขี้ผึ้ง แต่แล้วมันก็ต้องเป็นขี้ผึ้งอยู่นั่นเอง เมื่อสักว่าเป็นขี้ผึ้ง แล้วมันก็เป็นวัฏฏสงสาร ส่วนต้นมะพร้าวอยู่กลางทะเลขี้ผึ้งนั้น มันไม่ร้อน จึงเรียกว่าฝนตกไม่ต้องฟ้าร้องไม่ถึง อยู่ได้ กลางทะเลขี้ผึ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยความร้อน ความเย็น ชนิดที่เป็นความทุกข์* ”
    หลักคำสอนในศาสนาพุทธ ในเบื้องต้น คือให้ทำความดี ละเว้นการทำความชั่ว หากการปฏิบัติในระดับที่สูงขึ้นไป แม้แต่ความดี ก็ให้ปล่อยวาง ไม่ยึดถือมั่นค่ะ เพราะการยึดถือมั่นไม่ว่าจะในอะไรก็ทำให้ทุกข์ได้ทั้งนั้น
    การปล่อยวางในความดี ไม่ได้หมายถึงไม่ทำความดีค่ะ แต่ความดีที่ทำนั้น ให้เป็นเพียงกิริยา อย่ายึดมั่นว่านั่นคือความดีที่ “ฉัน” ทำ ผลงานนั้นเป็นความดี “ของฉัน”
    เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่หวังว่าจะมีใครเห็น และไม่หวังว่าจะได้รับผลตอบแทน จึงไม่ทุกข์ เมื่อกิริยาที่ทำไม่มีคนสรรเสริญ ไม่มีผลตอบแทนใดๆ จึงอยู่ได้อย่างสงบ
    เป็นความหมายของ ผู้พ้นบุญ"

    ReplyDelete
  27. ข้าพเจ้าฯ เขียนไว้เพื่อเตือนตนเองมากกว่าจะเผยแพร่ เพราะบางครั้งก็ไม่แน่ใจเท่าที่ควร หากผิดพลาดประการใด ท่านผู้รู้แล ปราชญ์ทั้งหลายแห่งธรรมนี้โปรดกรุณชี้ทางให้ข้าพเจ้า มีรัตตัญญูในตนขึ้นมาบ้างด้วยเถิด
    กราบขอบพระคุณท่านกัลยาณมิตรด้วยใจเคารพ ขอรับ
    kritt kawinn

    ReplyDelete
  28. ระบบความเชื่อ ย่อมรวมถึงศาสนา และความเชื่อในลัทธิต่างๆ ศาสนา ในความหมายกว้าง ๆ คือการบวงสรวงบูชาหรือการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างมนุษย์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ซึ่งมนุษย์เชื่อว่าสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือวิถีทางของธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์ ศาสนาตามทัศนะทางมานุษยวิทยาจึงบ่งบอกนัยถึงการขยายความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ออกไปสู่ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอำนาจเหนือมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้นศาสนาและความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นสิ่งสากลที่เราพบเห็นได้ในทุกสังคมตลอดมาทุกยุคทุกสมัย (ยศ สันตสมบัติ, 2537 : 214) ศาสนาอาจจัดว่าเป็นวัฒนธรรมทางนามธรรมที่มีผลต่อการสร้างวัฒนธรรมทางรูปธรรม การทำความเข้าใจศาสนาเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แรกเริ่มทีเดียวศาสนาและความเชื่อถือกำเนิดจากความกลัว ความต้องการความมั่นคงทางจิตใจ และความสงสัยในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวมนุษย์ ในสมัยโบราณ มนุษย์ดำเนินชีวิตในท่ามกลางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นความมืด ความสว่าง ความร้อน ความหนาว พายุฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ ทำให้เกิดความกลัวและเชื่อว่าต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจลี้ลับอยู่เหนือปรากฏการณ์เหล่านี้ซึ่งสามารถบันดาลคุณและโทษแก่มนุษย์ได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงพยายามหาวิธีการอ้อนวอนเอาใจหรือต่อรองกับอำนาจลึกลับของธรรมชาติด้วยการบูชา บนบานหรือเซ่นไหว้

    โดยทั่วไปศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2532 : 10) คือ
    1) ศาสดาหรือผู้ประกาศศาสนา (เช่น พระพุทธเจ้า พระไครสต์ พระนะบีมูฮัมหมัด เป็นต้น)
    2) ปรัชญาและหลักปฏิบัติ แนวคิด ความเชื่อ ซึ่งก็คือพระธรรมคำสั่งสอน ทั้งในรูปของตำรับตำรา การเทศนาสั่งสอน
    3) นักบวชหรือพระสงฆ์ และศาสนิกหรือผู้นับถือศาสนา
    4) ศาสนสถานและศาสนวัตถุ ซึ่งมักปรากฏในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ
    5) พิธีกรรม ซึ่งก็คือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและย่อมจะต้องมีวัตถุประสงค์มีความหมายตามความเข้าใจอันเกิดจากพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาของตน

    ReplyDelete

  29. ศาสนา - ความเชื่อในสังคมไทย
    ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะลักษณะของศาสนาความเชื่อที่แพร่หลายในสังคมไทยและมีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมไทยในวงกว้าง นั่นก็คือรูปแบบของศาสนาความเชื่อที่มีทั้งผี พราหมณ์และพุทธปะปนกันอยู่
    1. ผีและอำนาจลึกลับในธรรมชาติ
    หรือที่เราใช้คำว่าไสยศาสตร์ (ไสยะ = ความหลับไหล มัวเมา ตรงข้ามกับคำว่า พุทธะ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยที่มีมาก่อนศาสนาพราหมณ์และก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ ผีในความเชื่อของชาวไทยน่าจะแบ่งทำความเข้าใจง่าย ๆ
    ออกเป็นประเภทต่างๆ คือ
    ผีที่เป็นผู้พิทักษ์รักษาหรือเทวดาอารักษ์ เช่น ผีแถน ซึ่งชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดโลก เป็นผู้ที่สามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกและข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นก็มีผีที่เชื่อว่าสิงสถิตตามธรรมชาติต่าง ๆ เช่น เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าที่เจ้าทาง แม่ธรณี แม่โพสพ รุกขเทวดา นางไม้
    และยังมีผีประจำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ผีเตา ผีนางด้ง ผีนางสาก เป็นต้น ความเชื่อเกี่ยวกับศาลหลักเมืองก็เชื่อว่าผีเทพยดาที่ทำหน้าที่ปกปักรักษาบ้านเมือง ในชุมชนเล็ก ๆ ตามชนบทมักมีหลักบ้านหรือใจบ้าน (หัวใจหรือศูนย์กลางของบ้าน) มีสัญลักษณ์ (ต่างรูปแบบกันไป)
    ที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ อยู่กึ่งกลางชุมชน และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านด้วย ชุมชนบางแห่งเมื่อเจริญขึ้นเป็นตำบลเป็นจังหวัด ก็จะมีศาลหลักเมืองเช่นกัน ดังเราได้เห็นอยู่เกือบทุกจังหวัด
    ผีบรรพบุรุษและผีวีรบุรุษ มนุษย์เชื่อว่า เมื่อญาติพี่น้องตายไปแล้ว วิญญาณจะออกจากร่างไปสู่ที่ต่าง ๆ บ้างก็ไปเกิดใหม่ บ้างก็ยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์ ผีเหล่านี้คือผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่าตายาย หรือบางทีก็เรียก ผีเรือน ส่วนผีวีรบุรุษนั้นคือบุคคล เมื่อยังมีชีวิต เป็นคนดีที่มี
    ความเก่งกล้าสามารถเป็นพิเศษ เป็นผู้นำ เป็นเจ้าเมืองหรือเป็นผู้ก่อตั้งบ้านเมืองหรือนักรบซึ่งเมื่อตายไปก็ยังมีผู้เคารพนับถืออย่างเช่น ผีเจ้าเมืองของชาวไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน ย่าโมของชาวโคราช พระยาพิชัยดาบหักของชาวอุตรดิตถ์ เจ้าพ่อพญาแลของชาวชัยภูมิ
    หรือเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวของชาวปัตตานี ตลอดจนพระเจ้าตากสิน และรัชกาลที่ 5 ที่มีผู้นับถือกันอย่างแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ทั้งผีบรรพบุรุษ และผีวีรบุรุษจัดว่า เป็นผีดีเพราะเป็นผู้คุ้มครองรักษาลูกหลานหรือชาวบ้านชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข
    นอกจากนี้แล้วยังคอยควบคุมให้ลูกหลานหรือคนในหมู่บ้านมิให้ทำผิดขนบจารีตประเพณี หากลูกหลานทำผิดประเพณีที่เรียกว่า ขึด (ทางเหนือ) หรือขะลำ (ทางภาคอีสาน) อย่างเช่น พี่น้องทะเลาะวิวาทกัน หรือลูกสาวหลานสาวถูกผู้ชายแตะเนื้อต้องตัว
    อย่างที่เรียกว่า ทำผิดผี คนในครอบครัวก็จะต้องทำพิธีขอขมาต่อวิญญาณผีปู่ย่า หรือปู่ตา เป็นต้น

    ReplyDelete

  30. 2. ศาสนาพราหมณ์
    ศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่ในคติความเชื่อและวัฒนธรรมไทยหลายรูปแบบ ได้แก่
    ความเชื่อในเทพเจ้า มีเทพเจ้าหลายองค์ในศาสนาพราหมณ์ที่กลายมาเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย เช่น พระพรหมที่คนไทยนิยมไปกราบไหว้บนบาน พระอิศวร พระพิฆเนศวร เทพแห่งศิลปะ หรือพระอินทร์ ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
    อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะของเทพแต่ละองค์ ตามตำนานเทวกำเนิดแล้ว ก็จะพบว่าอุปนิสัยของเทพเหล่านี้ สะท้อนถึงภาวะหมุนเวียนของโลก โดยเริ่มจากพระอิศวร ซึ่งมักให้พรคนที่บำเพ็ญตบะแก่กล้า
    ผู้ได้รับพรก็มักลืมตัวใช้อิทธิฤทธิ์ ก่อความวุ่นวาย ความทุกข์ร้อนแก่สังคม จนพระนารายณ์ ต้องลงมาปราบด้วยวิธีล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ ต่อจากนั้นพระพรหม ก็จะสร้างโลกขึ้นใหม่หมุนเวียนไปเช่นนี้
    ความเชื่อในเรื่องเวทมนต์คาถา ยันต์ ความเชื่อในโชคลาง และการดูฤกษ์ยาม เป็นต้น
    พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมต้อนรับเทพเจ้าของพราหมณ์ พิธีแรกนาขวัญ พิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พิธีขอฝน พิธีสะเดาะเคราะห์ การตั้งศาลพระภูมิ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ใช้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ
    เช่น การรดน้ำมนต์ รดน้ำสังข์ในพิธีแต่งงาน การเจิมแป้งกระแจะ เป็นต้น

    ReplyDelete

  31. 3. ศาสนาพุทธ
    พระพุทธศาสนา ซึ่งวางรากฐานอย่างมั่นคงและเป็นที่ยอมรับให้เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงปัจจุบันนั้นได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ครั้งที่ผู้คนในดินแดนแถบนี้นับถือผีอยู่ก่อนแล้ว และจากการที่พุทธศาสนามีความยืดหยุ่นสูงและมิได้มีการบังคับให้เลิกเชื่อลัทธิอื่น ๆ
    รูปแบบของพุทธศาสนาที่ยึดถือปฏิบัติกันในสังคมไทยส่วนใหญ่จึงมีลักษณะของความเชื่อเกี่ยวกับผีและไสยศาสตร์ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม ตลอดจนพิธีกรรมและความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ผสมผสานอยู่ไม่น้อย อย่างเช่น การนับถือในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระเครื่อง
    การบนบานศาลกล่าวต่อพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อย่างหลวงพ่อพระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร ตลอดจนการที่พระสงฆ์บางรูปทำพิธีรดน้ำมนต์ (พราหมณ์) พ่นน้ำหมากเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บหรือปัดเสนียดรังควาน การเอ่ยชื่อพระพุทธรูปองค์สำคัญโดยใช้คำนำหน้าว่า “หลวงพ่อ”
    นั้น สะท้อนให้เห็นถึงการดึงเอาพระพุทธรูปให้มาสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์เพื่อความอบอุ่นใจ มั่นคงทางใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้การทำบุญเลี้ยงพระมักจะต้องจัด “ข้าวพระ” คือ ข้าวปลาอาหารสำรับเล็ก ๆ เพื่อถวายพระพุทธรูปด้วย ซึ่งหากพิจารณาตามหลักพุทธศาสนาแล้ว
    พระพุทธรูปคือตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงหลุดพ้นจากโลกนี้แล้วจึงย่อมไม่หิว ไม่กระหาย ไม่หนาว ไม่ร้อน การจัดของเซ่นไหว้ จึงเหมือนผสานเอาความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
    โดยเนื้อแท้แล้วศาสนาพุทธมิได้ให้ความสำคัญกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และอำนาจเหนือธรรมชาติ แต่เน้นการปฏิบัติทางศีลธรรมและการทำจิตให้บริสุทธิ์ โดยมีหลักทั่วไปคือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ชำระจิตใจให้สะอาด และการฝึกสมาธิ
    จนกระทั่งบรรลุถึง “วิมุตติ” คือความหลุดพ้นจากบ่วงกรรมทั้งปวง
    หลักธรรมทางพุทธศาสนา จึงสามารถนำมาเลือกใช้แก้ปัญหาสังคม ปัญหาชีวิตได้ เช่น การทำงานหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนประสบผลสำเร็จได้ ควรจะนึกถึงธรรมะเรื่อง อิทธิบาท 4 (ฉันทะ = ความพอใจ, วิริยะ = เพียร,
    จิตตะ = จดจ่อ, วิมังสา = ใคร่ครวญ) เป็นต้น หรือการสอนให้มนุษย์รู้จักความพอดีหรือเดินสายกลาง ไม่มากไม่น้อยเกินไป (มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพระราชดำริในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน คือ การมีชีวิตพอเพียง

    ReplyDelete
  32. ประโยชน์ของศาสนา
    ๑. ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนเรา ถ้าคนเราปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทนอดกลั้น ขยันขันแข็ง ไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความกตัญญูกตเวที ก็จะมีคนรักใคร่นับถือ มีความสุข ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ
    ๒. ศาสนาช่วยสนองความต้องการด้านจิตใจของคนเรา คนทุกคนต้องการความหวังและกำลังใจที่จะมีชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งจะเห็นว่าทุกศาสนามีหลักปฏิบัติที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนได้อย่างชัดเจน
    ๓. ศาสนาช่วยให้สังคมสงบสุข ถ้าสมาชิกในสังคมนำหลักคำสอนทางศาสนามาประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะทำให้เป็นคนดีทั้งกาย วาจา และใจ ไม่กระทำความชั่วมีความเมตตากรุณาต่อกัน เมื่อทุกคนปฏิบัติดังนี้ สังคมย่อมเกิดความสงบสุข

    ReplyDelete
  33. ความเชื่อ (Belief)
    คนในสังคมไทยมักมีความเชื่อในเรื่องต่างๆ กันได้แก่ ความเชื่อทางศาสนา เช่น คนทำดีได้ไปสวรรค์ คนทำชั่วต้องตกนรก, ความเชื่อในลัทธิการเมือง เช่น พรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน, ความเชื่อในเรื่องโชคชะตา เช่น
    ชีวิตจะดำเนินไปตามวันเดือนปีเกิด หรือ ชีวิตถูกลิขิตไปตามเส้นลายมือของคนนั้น, ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เช่น เชื่อเรื่องผีสางเทวดา การทำเสน่ห์, ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น เชื่อเรื่องคาถาอาคม วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังต่างๆ
    หรือความเชื่อในเรื่องที่คนโบราณเล่าสืบต่อกันมา เช่น พิธีทำบุญต่างๆ ผีปอบ ผีแม่ม่าย จิ้งจกทัก, ความเชื่อในเรื่องอื่นๆ เช่น การกลับชาติมาเกิด เป็นต้น
    1. ความหมายของความเชื่อ
    2. ประเภทของความเชื่อ
    3. การเกิดและการเปลี่ยนความเชื่อ
    4. ประโยชน์และโทษที่จะได้รับจากความเชื่อ

    ReplyDelete
  34. 1. ความหมายของความเชื่อ
    โรคีช (M. Rokeach) ได้อธิบายความหมายของความเชื่อว่า หมายถึง “ความคิดใดๆ ที่เป็นไปได้ หรือแน่ใจเกี่ยวกับการมีอยู่ การเป็นอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ ทั้งนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้คนแสดงพฤติกรรมตามความเชื่อนั้น”
    ....“ความเชื่อคือการยอชมรับนับถือว่าเป็นความจริง หรือมีอยู่จริง การยอมรับหรือการยึดมั่นนี้ อาจมีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ หรืออาจไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์สิ่งนั้นให้เห็นจริงได้”
    ... “ความเชื่อเป็นความนึกคิดยึดถือ โดยที่เจ้าตัวจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เป็นสิ่งที่สามารถจะศึกษาและวัดได้จากคำพูดและการกระทำของคน”
    ...“ความเชื่อหมายถึงการยอมรับข้อเสนออย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริง การยอมรับนี้อาจจะเกิดจากสติปัญญา เหตุผลหรือศรัทธา โดยไม่ต้องมีเหตุผลใดๆ รอบรับก็ได้”
    สรุปได้ว่า ความเชื่อ หมายถึง ความคิด ความเข้าใจและการยอมรับ นับถือ เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่ต้องมีเหตุผลใดมาสนับสนุนหรือพิสูจน์ ทั้งนี้บางอย่างอาจมีหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ หรืออาจจะไม่มีหลักฐานที่จะนำมาใช้พิสูจน์ให้เห็นจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นก็ได้

    ReplyDelete
  35. 2. ประเภทของความเชื่อ
    โรคีช (M. Rokeach) ได้จัดแบ่งประเภทของความเชื่อว่ามี 4 ประเภท ได้แก่
    1. ความเชื่อตามที่เป็นอยู่ เป็นการเชื่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่า จริง-เท็จ ถูก-ผิด เชื่อ ความเชื่อว่าโลกกลม พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เป็นต้น
    2. ความเชื่อเชิงประเมินค่า เป็นความเชื่อที่แฝงความรู้สึก รวมทั้งมีการประเมินในขณะเดียวกัน เช่น เชื่อว่าบุหรี่เป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น
    3. ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำและควรห้าม เป็นความเชื่อว่าสิ่งใดที่พึงปรารถนา-ไม่พึงปรารถนา เช่น เชื่อว่าเด็กควรเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นต้น
    4. ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุ เป็นความเชื่อในสภาพที่ก่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามมา เช่น เชื่อว่าการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดความแห้งแล้ง การสร้างเขื่อนเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เป็นต้น

    ReplyDelete
  36. ทั้งนี้ประเภทของความเชื่อตามแบบของสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า สังคมไทยมีความเชื่อที่หลากหลาย หากจะแบ่งประเภท อาจแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ ดังนี้
    1. ความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิและศาสนา เช่น เชื่อในเรื่องการทำสมาธิเพื่อรักษาโรค เชื่อในพลังอำนาจของพระเจ้า เชื่อในเรื่องนรก-สวรรค์ เชื่อในเรื่องบาป-บุญ ด่าพ่อแม่ชาติหน้าปากจะเท่ารูเข็ม เป็นต้น
    2. ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เชื่อในเรื่องคาถาอาคม การทำเสน่ห์ การเสกตะปูเข้าท้อง การเสดาะเคราะห์ เชื่อในเรื่องผีบ้านผีเรือน ผีปอบ ผีแม่หม้าย หรือ เชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลัง บั้นไฟพญานาค หรือสิ่งที่มีปาฏิหาริย์ต่างๆ
    3. ความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์ โหงวเฮ้ง และฮวงจุ้ย เช่น เชื่อในเรื่องของการดูดวงชะตา ดูลายมือ เชื่อในเรื่องบุคลิกลักษณะสัมพันธ์กับชีวิต หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำงานและที่อยู่อาศัยสัมพันธ์การดำเนินชีวิต
    4. ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและฤกษ์ยาม เช่น เชื่อในเรื่องของการไม่ตัดผมในวันพุธ การไม่เดินทางไกลถ้าจิ้งจกทัก หรือ การหาฤกษ์ยามสำหรับการทำงานมงคลต่างๆ
    5. ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและคำทำนายฝัน เช่น เชื่อว่าถ้าฝันว่าเห็นงู จะได้เนื้อคู่ ถ้าฝันว่าฟันหัก ญาติผู้ใหญ่จะเสียชีวิต ฝันเห็นคนตาย จะเป็นการต่ออายุ
    6. ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแห่นางแมวขอฝน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบุญต่างๆ
    7. ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก เอาไม้กวาดตีกันชีวิตจะไม่เจริญ กินข้าวเกลี้ยงจานจะได้แฟนสวยหรือหล่อ ห้ามปลูกต้นลั่นทม ระกำ ไว้ในบ้าน ให้ปลูกต้นมะยม มีคนนิยมชมชอบ ปลูกขนุน จะทำให้มีผู้สนับสนุนค้ำจุน

    ReplyDelete
  37. 3. การเกิดและการเปลี่ยนความเชื่อ
    1. การเกิดของความเชื่อ ความเชื่ออาจจะเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
    1.1 เกิดจากประสบการณ์ตรง เป็นความเชื่อที่บุคคลได้ประสบมาด้วยตนเอง อาจจะด้วยความบังเอิญ เป็นเรื่องของธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้นก็ตาม ทั้งนี้อาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้
    1.2 เกิดจากการได้รับข่าวสารต่อๆ กันมา หรืออ้างถึงคำโบราณที่ยึดถือกันมา หรือการโฆษณาชวนเชื่อ เป็นความเชื่อที่เกิดจากการคำกล่าวอ้างต่อๆ กันมาก หรืออ้างถึงคำกล่าวโบราณที่เชื่อถือและยอมกันมา หรือใช้สื่อต่างๆ ในการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งสามารถโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อถือได้
    1.3 เกิดจากการที่ได้ปฏิบัติสืบต่อๆ กันมาของคนรุ่นก่อน เป็นความเชื่อที่เกิดจาก พิธีกรรม หรือการปฏิบัติที่ทำสืบต่อกันมา อาจถือเป็นเรื่องของวัฒนธรรมและประเพณีทางสังคม ซึ่งสร้างให้เกิดความเชื่อในกลุ่มคนได้ง่าย
    1.4 เกิดจากการนึกคิดเอาเองตามความรู้สึกของตน เป็นความเชื่อที่คาดเดา หรือคิดเอาเอง หรือรู้สึกไปเอง อาจจะไม่มีข้อมูลใดๆ มาสนับสนุน

    ReplyDelete
  38. 2. การเปลี่ยนความเชื่อ มีหลายปัจจัยที่ทำให้คนเปลี่ยนความเชื่อได้ ดังนี้
    1.1 ประสบการณ์ตรง โดยที่ตนเองได้ประสบกับเหตุการณ์ หรือสิ่งใหม่อื่น ๆ ที่คัดค้านกับความเชื่อเดิม
    1.2 ความเชื่อบางอาจได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่าไม่เป็นจริงตามที่เชื่อถือ
    1.3 การล้มเลิกพิธีกรรมหรือประเพณีการปฏิบัติบางอย่างที่ทำสืบต่อกันมา
    1.4 การรู้จักใช้เหตุและผลในการวิเคราะห์ความเชื่อของตนเอง หรือปฏิบัติด้วยตนเองจนรู้ความเป็นจริง

    ReplyDelete
  39. 4. ประโยชน์และโทษที่จะได้รับจากความเชื่อ
    ประโยชน์ที่จะได้รับจากความเชื่อ
    1. ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น เพราะมีสิ่งที่เชื่อถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
    2. ทำให้เกิดกำลังใจและพลังที่จะต้องสู้กับอุปสรรค หากรู้สึกว่าตนเองมีสิ่งที่เชื่อถือคุ้มครอง
    3. ทำให้เกิดความสุขใจหากได้ปฏิบัติตามความเชื่อที่มีอยู่
    โทษที่จะได้รับจากความเชื่อ
    1. อาจทำให้หลงผิดและปฏิบัติตนไปในทางที่ผิดได้
    2. อาจทำให้เสียโอกาสในการกระทำสิ่งต่างๆ ได้เพราะมัวแต่รอฤกษ์ยาม
    3. อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากเกินไปจนกลายเป็นความประมาทและทำให้เกิดความสูญเสียได้
    4. อาจทำให้ขาดการไตร่ตรองที่ดีหรือขาดการใช้เหตุใช้ผลในการกระทำสิ่งต่างๆ
    5. อาจทำให้การแสดงออกต่างๆ ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม

    ReplyDelete

  40. ประเพณี – พิธีกรรมในสังคมไทย
    คำว่า ประเพณี (tradition) กับคำว่าพิธีกรรม (rite) มีความหมายใกล้เคียงกันมาก บางครั้งก็ใช้ในความหมายเดียวกัน แต่เท่าที่ผ่านมา คำแรก น่าจะมีความหมายกว้างกว่าคือ กินความไปถึงวิถีชีวิต (way of life) ในขณะที่คำว่า พิธีกรรมมีความหมายไปในเชิงพิธีการ หรือกิจกรรมเฉพาะกิจมากกว่า พิธีกรรมที่พบในสังคมไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ พิธีกรรมตามเทศกาล (festival) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต (rite of passage) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งแต่ละพิธีกรรมที่แจกแจงแยกย่อยนี้ ก็ยังมีความเหลื่อมซ้อนกันด้วย
    1. พิธีกรรมตามเทศกาล
    ในรอบปีหนึ่ง ๆ จะมีเทศกาลหรือวาระสำคัญมากมาย เช่น ในราชสำนักก็จะมีพระราชพิธีสิบสองเดือน หรือทางภาคอีสานก็จะมี ฮีตสิบสองเดือน เป็นต้น พิธีกรรมตามเทศกาลจึงมักเป็นพิธีกรรมชุมชนหรืออาจเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำมาหากินก็ได้ สามารถทราบกำหนดเวลาของงานได้ชัดเจน ในขณะที่เราอาจรู้กำหนดการจัดพิธีกรรมวงจรชีวิตได้ในบางพิธีเท่านั้น เช่นเรากำหนดวันบวช วันแต่งงานได้ แต่กำหนดวันถึงแก่กรรมไม่ได้ ยกเว้นบางรายแต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก พิธีกรรมตามเทศกาลจึงต้องทำทุกปี ในขณะที่พิธีกรรมเกี่ยวกับวงจรชีวิตอาจไม่ทำทุกปีในครอบครัวเดียวกัน
    พิธีกรรมตามเทศกาลเสมือนหนึ่งเป็นการวางแผนการดำเนินชีวิตในแต่ละปีด้วย เสมือนว่ามีแผนหลัก (master plan) ไว้ เช่น ในช่วงหน้าหนาวจะมีประเพณีถวายฟืนให้ทางวัดเพื่อคลายอากาศหนาว (ประเพณีไทยใหญ่ทาง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น)
    นอกจากนี้ พิธีกรรมตามเทศกาลเฉพาะที่ปรากฏในสังคมไทยซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้น น่าสังเกตว่าในแต่ละปีจะมีเทศกาลถือศีลเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลในเรื่องของการรักษาจิตใจให้สงบ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยา พร้อมกับการรักษาสุขภาพกายไปในตัว โดยเฉพาะการงดบริโภคอาหารบางจำพวก หรืองดเป็นช่วงเวลา เช่น ในกลุ่มพี่น้องชาวอิสลามจะมีพิธีถือศีลอด (ตลอดเดือน เรียกเดือนรอมฎอน) งดบริโภคอาหาร-น้ำก่อนตะวันตกดินไปจนถึงตะวันขึ้นของอีกวันหนึ่ง ในขณะที่พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนจะมีเทศกาลกินเจ งดการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นเวลาสิบวัน ส่วนพี่น้องชาวไทยนั้นมีเทศกาลเข้าพรรษาที่พุทธศาสนิกชนจะถืออุโบสถศีล (ศีลแปด ซึ่งมีข้อห้ามในการบริโภคอาหารยามวิกาล งดบริโภคเครื่องดองของเมา บทบัญญัติในศาสนาเหล่านี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ต้องการให้มนุษย์หยุดสำรวจตนเองทั้งกายและใจ อย่างน้อยก็อาจเป็นกุศโลบายให้ระบบย่อยอาหารในร่างกายได้มีโอกาสพักฟื้นการทำงานลงบ้าง เป็นที่น่าสังเกตว่า เทศกาลถืออุโบสถศีลนี้เริ่มจากเข้าพรรษาในช่วงกลาง ๆ ปี ไปจนถึงออกพรรษาในช่วงต้น ๆ ของปลายปี ซึ่งจะซ้อนเหลื่อมหรือไล่เลี่ยกับเทศกาลกินเจกับเทศกาลถือศีลอดรอมฎอน อย่างไรก็ตามเทศกาลเหล่านี้ก็ควรได้รับการพิจารณาทบทวนว่าดำเนินไปอย่างที่ไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตโดยปกติของคนส่วนใหญ่ หรือทำกันเป็นค่านิยมหรือตื่นตามกระแสสังคม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เทศกาลกินเจตามคติจีนที่ภายหลังทำให้พืชผักมีราคาสูงกว่าปกติมาก และเครื่องประกอบอาหารเจบางชนิดก็เข้าสู่กระแสธุรกิจแบบทุนนิยมมากขึ้น จนเกิดการโฆษณาแข่งขันกันอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการบิดผันเจตนารมณ์ของการกินเจไปเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์อันไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของกุศลจิตในเรื่องกินเจ

    ReplyDelete
  41. 2. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต
    ในชั่วชีวิตของคนเราตั้งแต่เกิดไปจนกระทั่งตายย่อมจะต้องผ่านเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิตหลายช่วงด้วยกัน ดังนั้น จึงต้องมีพิธีกรรมในแต่ละช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหรือช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เพื่อเสริมความมั่นใจ กล่าวคือ เมื่อแรกเกิดก็ต้องมีพิธีทำขวัญเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่เกิดมานั้นจะมีชีวิตรอดได้ไม่ตายเสียใน 3 วัน 7 วัน เมื่อโตขึ้นย่างเข้าสู่วัยรุ่นก็มีพิธีโกนจุก เพื่อแสดงว่าเด็กนั้นกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจะได้เป็นคนที่มีกำลังใจมั่นคง และประพฤติแต่สิ่งที่ชอบที่ควร เฉพาะผู้ชายยังต้องเข้าพิธีบวชเรียนอีก 3 เดือนเมื่ออายุ 20-21 ปี จากนั้นก็ถึงระยะของการสร้างครอบครัว ต้องเข้าพิธีหมั้นและแต่งงาน เมื่อเจ็บไข้หรือประสบเคราะห์ก็ยังต้องประกอบพิธีเรียกขวัญหรือสะเดาะเคราะห์ เช่นภาคกลางมีพิธีสวดโพชฌงค์ต่ออายุ ส่วนทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตา และเมื่อตายไปก็ยังต้องทำพิธีเกี่ยวกับงานศพ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการปลอบประโลมญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง พิธีกรรมในวงจรชีวิตจะช่วยเสริมความเข้มแข็งสามัคคีในหมู่เครือญาติได้ดี

    ReplyDelete
  42. 3. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน
    ในชนบทไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรมนั้น การทำมาหากินอันเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ชาวไร่ชาวนาต้องพึ่งพาผลผลิตจากธรรมชาติ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจึงเป็นวิถีชีวิตสำคัญของพวกเขา ดังนั้นจึงต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อเอาอกเอาใจหรืออ้อนวอนสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อดลบันดาลให้มีน้ำเพียงพอแก่การเพาะปลูก และให้มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาและทำขวัญข้าวในช่วงเวลาต่าง ๆ ของการทำนา นอกจากนี้ในภาคเหนือที่มีภูเขามากมาย จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกไม่ให้มีมากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งเรียกว่าระบบเหมืองฝาย เขาจึงต้องทำพิธีเลี้ยงผีฝาย หรือในภาคอีสาน เมื่อมีความแห้งแล้งเกิดขึ้นในฤดูทำนาก็ต้องทำพิธีจุดบั้งไฟเพื่อขอฝนจากพญาแถน เพราะต้องอาศัยน้ำฝน ส่วนชาวประมงในลุ่มแม่น้ำโขงทางตอนเหนือเมื่อถึงฤดูกาลล่าปลาบึกก็ต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อขจัดอุปสรรคในการจับปลา ในขณะที่คนทำนาเกลือแถบสมุทรสงคราม สมุทรสาครยังมีศาลผีประจำนาเกลือ เป็นที่สักการะบูชา เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจในธรรมชาติที่อยู่เหนือการควบคุมของตนให้การทำมาหากินของตนสะดวกขึ้น ปลอดภัย และได้ผลผลิตมาก

    ReplyDelete
  43. 4. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับท้องถิ่นหรือกลุ่มชน
    พิธีกรรมนี้มักจะเกี่ยวข้องกับเทวดา หรือผีที่ปกปักรักษาและคุ้มครองหมู่บ้าน เป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะต้องมีส่วนร่วม เพื่อสวัสดิภาพ ความมั่นคง ความเจริญของหมู่คณะ อย่างเช่น การเลี้ยงผีเจ้าเมืองของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การทำพิธีไหว้เสาอินทขิลของชาวเชียงใหม่ พิธีเลี้ยงศาลผีปู่ตาของชาวอีสาน พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน หรืองานทำบุญเดือนสิบของชาวปักษ์ใต้ ในแถบอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ ก็พบว่ามีพิธีส่งเรือเสดาะห์เคราะห์ที่ชาวบ้านจะปั้นดินเหนียวเป็นรูปคนและสัตว์ (เช่น วัว ควาย หมู หมา) เท่าจำนวนชีวิตในแต่ละบ้าน ใส่เรือที่ทำจากวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น ขนาดลำไม่ใหญ่นัก พร้อมข้าวปลาอาหารตามสมควร นำมารวมกันในช่วงหลังสงกรานต์ แล้วทำพิธีเลี้ยงผีประจำถิ่นของตน จากนั้นก็จะลอยเรือนี้ไปตามสายน้ำเสมือนว่าได้ส่งสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดในบ้านให้ภูติผีแล้ว เชื่อว่าเป็นการเสดาะเคราะห์ให้และจะทำเช่นนี้เพื่อหลอกผีเป็นปี ๆ ไป
    จะเห็นว่าพิธีกรรมทั้ง 4 ประเภทนี้อาจคาบเกี่ยวกันก็ได้ เช่น ประเพณีวิ่งควาย เป็นทั้งประเพณีตามเทศกาล (เข้าพรรษา) และเป็นทั้งประเพณีในชุมชน (จ.ชลบุรี) หรือประเพณีกินเหนียว (แต่งงาน) เป็นทั้งประเพณีในวงจรชีวิต ในขณะเดียวกันก็เป็นประเพณีท้องถิ่นชาวไทยมุสลิม (ภาคใต้) หรือประเพณีแซยิดวันเกิดของชาวจีนที่เป็นการแสดงความยินดีในวาระที่ผู้ใหญ่มีอายุครบปีนักกษัตร เช่น 60 ปี 72 ปี ก็มีความคาบเกี่ยวระหว่างประเพณีวงจรชีวิตกับประเพณีในกลุ่มชนชาวจีน เป็นต้น
    สำหรับพิธีกรรมหรือกิจกรรมในรอบปีนั้น มีข้อน่าสังเกตว่าระยะหลังยังมีการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเน้นย้ำถึงความสมานสามัคคีและความจงรักภักดีต่อชาติและพระมหากษัตริย์ เช่น วันฉัตรมงคล วันจักรี เป็นต้น ประเพณี – พิธีกรรม หรือกิจกรรมตามวันสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้ มีบทบาทในการทำให้สมาชิกมีความรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมทำบุญทำทาน กินเลี้ยง และรื่นเริงสนุกสนานร่วมกัน หนุ่มสาวก็มีโอกาสพบปะกัน อีกทั้งยังเป็นเหตุให้มีการรวมญาติรวมมิตรที่อาศัยอยู่ห่างไกลได้มาร่วมสังสรรค์กัน ทั้งหมดนี้คือ พิธีกรรมที่จะทำให้ทุกคนรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคมหรือประเทศชาติในที่สุด นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน หากใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ก็เท่ากับว่าเราไม่ตกเป็นทาสของพิธีกรรม แต่เป็นนายของพิธีกรรม แต่มีข้อน่าสังเกตว่า เทศกาลสงกรานต์ในระยะหลังมานี้ กลับกลายเป็นเทศกาลของการเดินทางไกล และทำให้เกิดอุบัติเหตุมากจนน่าทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางฝ่ายรัฐบาลและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไป

    ReplyDelete
  44. ระบบความเชื่อ : ความเห็นเชิงลบและเชิงบวก
    ระบบความเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่จะแยกทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นคือ ตำนาน สัญลักษณ์ และพิธีกรรม ตำนานหรือ (myth) คือ เรื่องเล่าอันแสดงที่มาหรือต้นเค้าว่าทำไมจึงเกิดสัญลักษณ์นั้น ๆ หรือพิธีกรรมนั้น ๆ หรือความเชื่อเช่นนั้น เช่น ประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ มีที่มาแต่ครั้งก่อนพุทธกาลว่าเมื่อพระโพธิสัตว์ใกล้จะบรรลุพระโพธิญาณ ได้มีกองทัพพญามาร (เปรียบได้กับกิเลส) ยกมาขัดขวางมิให้ทรงตรัสรู้ พญามาราธิราชถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นใคร สั่งสมบุญมาแต่ชาติไหน จึงคิดว่าจะตรัสรู้เป็นมหาบุรุษได้ในโลก พระโพธิสัตว์หรือเจ้าชายสิทธัตถะในเพศบรรพชิตทรงตอบว่า พระองค์ได้สั่งสมบุญบารมีมาเป็นอเนกชาติ ยักษ์ก็ท้าทายต่อไปว่าให้หาพยานมา พระโพธิสัตว์จึงชี้นิ้วไปที่พื้นดิน ทันใดนั้นแม่พระธรณีก็ปรากฏขึ้นและบีบมวยผมให้น้ำออกมาท่วมกองทัพพญามารแตกพ่ายไปและพระองค์ก็บรรลุพระโพธิญาณในที่สุด
    เหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนนี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัยในท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลาขวา นิ้วพระดัชนีชี้ไปเบื้องต่ำ คือดิน และเกิดภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนมารผจญ (น.ณ ปากน้ำ, 2530 : 237) ซึ่ง จิตรกรมักเขียนไว้ที่ผนังตรงข้ามพระประธาน นอกจากนี้ก็เกิดประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญทุกครั้ง จากความเชื่อว่า เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญบารมีครั้งใดก็จะหลั่งน้ำไปสะสมไว้ที่แม่พระธรณีทุกครั้ง และทำให้เกิดประติมากรรมรูปแม่พระธรณีบีบมวยผมด้วย (ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มุมสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน) อันที่จริง การกรวดน้ำก็เท่ากับเป็นการตั้งสมาธิจิต ตั้งความปรารถนาดีต่อญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ต่อเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งก็คือสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกให้ได้รับผลกุศลของเรา ซึ่งถ้าไม่สะดวกหรือลืม เราก็มักได้รับคำสอนจากผู้ใหญ่เสมอให้กรวดแห้งเอาก็ได้ หมายถึง ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ สิ่งสำคัญคือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่อการอุทิศกุศล
    ทุกสิ่งในโลก น่าจะมีทั้งคุณและโทษเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ศาสนา คติความเชื่อที่สะท้อนผ่านวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าศิลปกรรม ประเพณี พิธีกรรม หรือข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี ล้วนมีคุณค่าในขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียก็ได้ สุดแต่ผู้นำไปใช้จะมีดุลยพินิจเพียงใด ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะตกเป็นทาสของประเพณีหรือเราจะนำประเพณีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ การปฏิบัติตามประเพณีโดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง โดยอ้างว่าทำตามกันมา เพราะสิ่งนี้จะเข้าข่ายของความงมงายได้
    ในสังคมไทยเรามักได้ยินคำกล่าวนี้เสมอคือ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” นั่นคือ เมื่อจัดงานประเพณี-พิธีกรรมทีไรก็มักจะสิ้นเปลืองเงินทองมากมาย ส่วนใหญ่หมดไปกับการจัดเลี้ยงแขก เป็นการรักษาศักดิ์ศรีฐานะของเจ้าภาพ แม้จะกู้หนี้ยืมสินก็ตาม หรือเมื่อจัดงานศพก็มักมีคำพูดว่า “คนตายขายคนเป็น” หมายถึง คนเป็นซึ่งหมายถึงเจ้าภาพและญาติพี่น้องก็มักจะต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ ไปกับการจัดงาน ซึ่งคำพูดนี้ไม่ยุติธรรมกับคนตายที่ไม่ได้มารู้เรื่องรู้ราวด้วยเลย อันที่จริงแล้วถ้าคนตายไม่ได้สั่งเสียให้ญาติจัดงานใหญ่โตก็น่าจะต้องกล่าวโทษเจ้าภาพที่เอาคนตายมาขาย นอกจากนี้ช่วงหลัง ๆ มานี้ เจ้าภาพถึงกับให้มีบ่อนการพนันมาเล่นในงานศพเพื่อเก็บค่าเช่า (ค่าต๋ง) ตัวอย่างนี้ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า เราใช้ประเพณีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเป็นการนำไปสู่อบายมุขโดยตรง
    ที่กล่าวไปแล้วนี้ เป็นตัวอย่างของการใช้วัฒนธรรมความเชื่อไปในเชิงลบ ในส่วนที่เป็นเชิงบวกนั้น ก็มีอยู่ไม่น้อย ดังจะขอจำแนกเป็นประเด็นต่อไปนี้

    ReplyDelete
  45. 1. วัฒนธรรม-พิธีกรรม เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง
    การมีความคิด ความเชื่อในสิ่งเดียวกันย่อมหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความกลมเกลียวที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเป็นปึกแผ่น ความเข้มแข็งของสังคมในที่สุด
    ดังนั้น ความเชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องผี เรื่องวิญญาณ จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่มนุษย์ต่อไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความคิดทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของมนุษย์ได้เราก็จะไปที่ระบบ ความเชื่อ
    ดังนั้น สังคมไทยในอดีตจึงจัดระบบความเชื่อเรื่องผีไว้อย่างสลับซับซ้อน มีเหตุมีผล ประกอบด้วยผีดีที่ให้คุณ และผีร้ายที่ให้โทษเมื่อทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของสังคม ความเชื่อในเรื่องนี้จึงกลายเป็นกลไกควบคุมสังคมที่สำคัญ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34) แต่สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันด้วยการเติบโตของระบบทุนนิยม รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองที่ลบล้างจารีตประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องผีที่เคยเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมสังคมก็ลดบทบาทที่เป็นระบบลง (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34)
    แต่ถ้าพิจารณาใคร่ครวญเรื่องของความเชื่อในความหมายที่ตรงกันข้ามแล้ว เราก็จะพบว่า ความเชื่อ พิธีกรรมก็อาจเกิดผลเชิงลบเช่นกัน หากผู้คนงมงายอย่างไร้เหตุผล เช่น การแจกน้ำมนตร์คาถานครฐานสูตรของกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2545 ซึ่งเกิดทุจริตชนปลอมน้ำมนตร์มาเร่ขาย เพราะมีผู้คนแตกตื่นมาขอรับมากมายจนน้ำมนตร์ไม่พอแจก ทั้งยังเกิดภาวะระส่ำระสายจากฝูงชนที่แสดงความต้องการน้ำมนตร์อย่างแรงกล้า จึงปรากฏทุจริตชนที่ปลอมน้ำมนตร์ขายหาประโยชน์ให้ตนเอง

    ReplyDelete
  46. 2. เป็นที่พึ่งทางใจ ขจัดความกังวล ความไม่มั่นใจ
    มนุษย์มีสัญชาตญาณของความกลัว ยิ่งในยุคที่ยังไม่มีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ มนุษย์ก็ยิ่งกลัว ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า พายุ น้ำท่วม ฯลฯ มนุษย์จึงเชื่อว่ามีผีวิญญาณสิงอยู่ตามป่า เขา ทะเล ต้นไม้ แม้กระทั่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การเซ่นสรวงไหว้พลี อ้อนวอน แม้กระทั่งติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ทำให้มนุษย์หายหวาดกลัว สบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น และเกิดเป็นรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ขึ้น
    อย่างไรก็ตาม แม้วิทยาศาสตร์จะอธิบายสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้ได้ แต่บางครั้งก็ยังอธิบายไม่ได้ทั้งหมด เราจึงเห็นว่า คนในยุคปัจจุบันก็ยังนับถือภูติผีวิญญาณอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความตาย (แสงอรุณ, 2542 : 38) เมื่อญาติพี่น้องคนใกล้ชิดถึงแก่ความตาย จึงมักมีพิธีกรรมเข้ามาช่วยลดความหวาดกลัวลงไป ต้องเอาข้าวเอาน้ำไปเซ่นไหว้ที่โลงศพให้มากินเครื่องเซ่น เพราะเกรงว่าวิญญาณจะหิวโหย ถึงเทศกาลที่เชื่อว่าโลกของผีจะเปิดประตูให้ลงมาเยี่ยมญาติในเมืองมนุษย์ก็จะมีพิธีทำบุญให้ และพิธีกรรมทำนองนี้จะพบว่ามีทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มชนในสังคมไทย เช่น ภาคกลางมีพิธีทำบุญบังสุกุลอัฐิวันสงกรานต์ ภาคใต้มีประเพณีชิงเปรตหรือที่เรียกสารทเดือนสิบ คนจีนมีประเพณีไหว้เช็งเม้ง เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงโลกของคนเป็นกับโลกของคนตายให้มาอยู่ใกล้กัน ทำให้คนเป็นไม่รู้สึกว้าเหว่มากนัก เพราะได้มีกิจกรรมติดต่อกับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นครั้งเป็นคราว
    นอกจากนี้หากทบทวนดี ๆ เราจะพบว่าประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิตยังสร้างความเชื่อมั่นต่อสภาวะที่เรียกว่าจุดเปลี่ยนผ่านของชีวิตให้ดูสนิทแนบเนียนขึ้น เช่น ประเพณีบวชก็จะมีพิธีทำขวัญนาค เสมือนหนึ่งการกล่อมเกลาจิตใจนาคให้ก้าวเข้าสู่สภาวะภิกขุผู้นุ่งห่มผ้าเหลืองและจะใช้ชีวิตเยี่ยงคนในธรรมะที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อก้าวเข้าสู่การบวชเรียนให้เป็นคนสุกตามคติคนไทยก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับนับถือในสังคม และเข้าพิธีแต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานสืบไป เราจึงมีคำพูดล้อเลียนกันมาว่า “อย่าเบียดก่อนบวช”
    ในพิธีแต่งงานก็เช่นกัน การที่คนสองคนจะตกลงใจหรือได้รับการตกลงจากผู้ใหญ่ให้ใช้ชีวิตร่วมกันไปตลอดชีวิต อาจเป็นความไม่คุ้นหน้า (ในยุคที่สังคมยังให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ของทั้งคู่บ่าว-สาว) ความแปลกหรือความไม่คุ้นเคยนี้ทำให้ต้องมีพิธีแต่งงานเข้ามาเกี่ยวข้อง พิธีกินดอง (กินเลี้ยงเพื่อดองความเป็นญาติกันทั้งสองฝ่าย) ของทางภาคอีสาน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ่าวสาวตลอดจนญาติทั้งสองฝ่าย กล่าวคือมีการ “ผูกข้อต่อแขน” ให้ญาติที่จะมาเป็นเขยหรือสะใภ้กับฝ่ายตนด้วย เท่ากับว่า พิธีกรรมเปิดโอกาสให้สร้างความคุ้นเคย ความอบอุ่นในระหว่างญาติมิตรที่จะมาเกี่ยวดองกันด้วยอากัปกิริยาใกล้ชิดสนิทสนม จากสัมผัสและเส้นฝ้ายที่ใช้ เท่ากับเป็นการสร้างความสบายใจ ความมั่นใจให้ทุกคนโดยเฉพาะบ่าว-สาว

    ReplyDelete
  47. 3. ระบบความเชื่อ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ
    เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่วิปริตผิดผันไปจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติเช่นปรากฏการณ์เอลลินโญ่ เกิดจากการที่มนุษย์ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าตัดไม้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (น้ำมัน แก๊ส) หรือน้ำจำนวนมหาศาล เพื่อใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การฝ่าฝืนนี้ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล มีผลให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ถึงฤดูฝน ฝนไม่ตก ถึงหน้าแล้งฝนกลับตกแบบกระเซ็นกระสาย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมส่งผลมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันประมาณค่ามิได้ และเป็นผลกระทบในวงกว้างทุกภูมิภาคของโลก และน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในช่วงหลังๆ มานี้
    ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ในขณะที่สังคมแต่ก่อนซึ่งยังเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ มีวิญญาณสถิตประจำ คือ แม่พระธรณี (ดิน) แม่พระคงคา (น้ำ) พระพายุ (ลม) ไฟ (พระอัคนี) สามารถดลบันดาลภัยพิบัติได้หากไปลบหลู่ท่าน หรือนำท่านมาใช้อย่างประมาท
    มีความเป็นไปได้ว่าการที่คนแต่ก่อนทำพิธีเซ่นสรวง พลีบูชาธรรมชาติเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ทำให้มนุษย์ไม่กล้าฝ่าฝืน ไม่กล้าทำลายธรรมชาติ จะตัดต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องมีพิธีเซ่นสรวงขออนุญาตเทพารักษ์ เพื่อให้เทพารักษ์รู้ตัวและไม่โกรธคนตัด คนแต่ก่อนจึงตัดไม้เท่าที่ตนเองจะนำไปใช้สอย ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโตทัน ในขณะที่ระบบอุตสาหกรรมไม่เกรงกลัวเทพารักษ์จึงตัดทีละมาก ๆ หรือทีละภูเขา การขาดรากไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ยึดน้ำไว้กับดิน จึงทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากจะใช้คำพูดอย่างคนโบราณก็คงจะเป็นคำว่า “ถูกฟ้าดินลงโทษ” ซึ่งก็ไม่ผิดความจริงมากนัก
    พวกกะเหรี่ยง สะกอ หรือปกากะญอมีพิธีเอากระบอกสายสะดือเด็กเกิดใหม่แขวนกับต้นไม้ใหญ่ในป่า แสดงว่าห้ามตัด ถ้ามีเด็กเกิดใหม่มากต้นไม้ที่ห้ามตัดก็มากขึ้นด้วย เป็นวิธีเก็บรักษาป่าแบบกะเหรี่ยง (อรศิริ ปาณินท์, 2545) ภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงที่โยงความเชื่อกับการรักษาธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เป็นแนวเดียวกับการที่คนไทยแต่ก่อนจะฝังรกไว้ที่ใต้ต้นไม้ หรือปลูกต้นไม้บนหลุมที่ฝังรกนี้ พร้อมกับบอกเล่าให้เด็กฟังเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็จะรักษาต้นไม้นี้เสมือนเป็นต้นไม้คู่ชีพของเขา (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2545 : 37)
    สังคมไทยยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับธรรมชาติอีกมาก เช่นทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตาแม่น้ำ พิธีสืบชาตาต้นไม้ สืบชาตาป่า ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ที่คนไทยทุกภูมิภาครู้จักกันดี คือ ประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือ การขอขมาแม่พระคงคา (วิญญาณที่เชื่อว่ารักษาแม่น้ำลำคลอง) ที่ตนได้ล่วงเกิน ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงไป และขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้มนุษย์ได้ใช้อุปโภค บริโภค น่าเสียดายที่ประเพณีลอยกระทงเกิดความผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมาสู่สาระเพียงแค่ความสนุกสนาน และเพื่อให้หนุ่มสาวได้อธิษฐานร่วมกันภายใต้แสงจันทร์วันเพ็ญ ก่อนที่ (อาจจะ) จะนำไปสู่โศกนาฏกรรมในคลินิกเถื่อนหากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการที่หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทยหวังผลเพียงเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยไม่คำนึงถึงกระทงธรรมชาติหรือกระทงวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นขยะในน้ำ (แม่พระคงคา) ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปกติ
    นอกจากนี้ ทางภาคใต้เราพบว่าบริเวณที่เป็นป่าช้านั้น จะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติอันยากที่ผู้ใดจะกล้าล่วงล้ำเข้าไปได้ในขณะที่ธรรมชาติบริเวณอื่น ๆ ถูกมนุษย์รุกล้ำนำไปใช้จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม แต่บริเวณป่าช้าจะไม่มีใครเข้ามารบกวน จึงยังคงความสมบูรณ์อยู่ และชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเข้าไปขอเก็บผักหญ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะไม่ถูกภูติผีลงโทษ นอกจากจะโลภนำออกไปทีละมาก ๆ เท่ากับธรรมชาติไม่มีโอกาสฟื้นตัว ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในชนบททางภาคอีสานเช่นกัน คือบริเวณศาลผีปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน จะคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับป่าช้าทางภาคใต้
    ในสังคมไทย วัฒนธรรม คติความเชื่อ มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนมาช้านาน ผู้ปกครองสมัยโบราณอาศัยความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ผสานกับความเชื่อท้องถิ่นในระดับชาวบ้าน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองก็จะต้องมีคุณธรรมด้วย นอกจากนี้ความเชื่อไม่ว่าจะเป็นทางคติพุทธ พราหมณ์ หรือผี จะให้คุณหรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะมีวิจารณญาณอย่างไร จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะตกเป็นทาสด้วยความเชื่องมงาย ไร้เหตุผลก็ได้ เพราะแก่นพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเหตุผล เดินสายกลาง และผลเกิดจากเหตุ การมี “สติ” อาจทำให้ไม่เสีย “สตังค์” ค่างมงาย เช่น เสดาะเคราะห์ด้วยราคา 999 หรือ 99 บาท ซึ่งนอกจากเสียเงินทองแล้ว บางครั้งยังอาจเสียตัวด้วย โดยเฉพาะสตรี และต้องไม่ลืมคำนึงถึงความต่างของ 2 คำนี้ คือ

    ReplyDelete
  48. ไสยศาสตร์ (ไสยะ - ความหลับไหล งมงาย โง่เขลา มัวเมา)
    พุทธศาสตร์ (พุทธะ - ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส)
    จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนา-ความเชื่อ เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งมีสถาบันหลักคือ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามยังมีวัฒนธรรมส่วนต่าง ๆ อีกมากมายในทุกภูมิภาคของไทยที่เกิดจากความเชื่อท้องถิ่นนั้น ๆ และสิ่งนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของสังคม โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เห็นเด่นชัดคือ ประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ แต่จะต้องตระหนักว่า ในปัจจุบันมีการใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์มากมายเพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้คนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในหลักธรรมทางศาสนา จึงเปิดโอกาสให้คนทุจริตอาศัยความงมงายเป็นช่องทางทำมาหากิน ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิจารญาณในเรื่องนี้ให้ดีและถ้วนถี่ เพราะความเชื่อทางศาสนามิใช่แสดงออกทางวัตถุเครื่องลางของขลังติดตัวเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงแบบแผนวิถีชีวิตทุกเรื่อง ไม่ว่าการกิน การอยู่ การรักษาพยาบาล แม้การนุ่งห่มหรือข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นจารีตหรือกลไกให้คนในสังคมได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์จากวัฒนธรรมหลากมิติ
    ระบบความเชื่อ : ความเห็นเชิงลบและเชิงบวก

    ReplyDelete
  49. ระบบความเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่จะแยกทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นคือ ตำนาน สัญลักษณ์ และพิธีกรรม ตำนานหรือ (myth) คือ เรื่องเล่าอันแสดงที่มาหรือต้นเค้าว่าทำไมจึงเกิดสัญลักษณ์นั้น ๆ หรือพิธีกรรมนั้น ๆ หรือความเชื่อเช่นนั้น เช่น ประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ มีที่มาแต่ครั้งก่อนพุทธกาลว่าเมื่อพระโพธิสัตว์ใกล้จะบรรลุพระโพธิญาณ ได้มีกองทัพพญามาร (เปรียบได้กับกิเลส) ยกมาขัดขวางมิให้ทรงตรัสรู้ พญามาราธิราชถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นใคร สั่งสมบุญมาแต่ชาติไหน จึงคิดว่าจะตรัสรู้เป็นมหาบุรุษได้ในโลก พระโพธิสัตว์หรือเจ้าชายสิทธัตถะในเพศบรรพชิตทรงตอบว่า พระองค์ได้สั่งสมบุญบารมีมาเป็นอเนกชาติ ยักษ์ก็ท้าทายต่อไปว่าให้หาพยานมา พระโพธิสัตว์จึงชี้นิ้วไปที่พื้นดิน ทันใดนั้นแม่พระธรณีก็ปรากฏขึ้นและบีบมวยผมให้น้ำออกมาท่วมกองทัพพญามารแตกพ่ายไปและพระองค์ก็บรรลุพระโพธิญาณในที่สุด
    เหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนนี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัยในท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลาขวา นิ้วพระดัชนีชี้ไปเบื้องต่ำ คือดิน และเกิดภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนมารผจญ (น.ณ ปากน้ำ, 2530 : 237) ซึ่ง จิตรกรมักเขียนไว้ที่ผนังตรงข้ามพระประธาน นอกจากนี้ก็เกิดประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญทุกครั้ง จากความเชื่อว่า เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญบารมีครั้งใดก็จะหลั่งน้ำไปสะสมไว้ที่แม่พระธรณีทุกครั้ง และทำให้เกิดประติมากรรมรูปแม่พระธรณีบีบมวยผมด้วย (ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มุมสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน) อันที่จริง การกรวดน้ำก็เท่ากับเป็นการตั้งสมาธิจิต ตั้งความปรารถนาดีต่อญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ต่อเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งก็คือสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกให้ได้รับผลกุศลของเรา ซึ่งถ้าไม่สะดวกหรือลืม เราก็มักได้รับคำสอนจากผู้ใหญ่เสมอให้กรวดแห้งเอาก็ได้ หมายถึง ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ สิ่งสำคัญคือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่อการอุทิศกุศล
    ทุกสิ่งในโลก น่าจะมีทั้งคุณและโทษเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ศาสนา คติความเชื่อที่สะท้อนผ่านวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าศิลปกรรม ประเพณี พิธีกรรม หรือข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี ล้วนมีคุณค่าในขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียก็ได้ สุดแต่ผู้นำไปใช้จะมีดุลยพินิจเพียงใด ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะตกเป็นทาสของประเพณีหรือเราจะนำประเพณีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ การปฏิบัติตามประเพณีโดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง โดยอ้างว่าทำตามกันมา เพราะสิ่งนี้จะเข้าข่ายของความงมงายได้
    ในสังคมไทยเรามักได้ยินคำกล่าวนี้เสมอคือ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” นั่นคือ เมื่อจัดงานประเพณี-พิธีกรรมทีไรก็มักจะสิ้นเปลืองเงินทองมากมาย ส่วนใหญ่หมดไปกับการจัดเลี้ยงแขก เป็นการรักษาศักดิ์ศรีฐานะของเจ้าภาพ แม้จะกู้หนี้ยืมสินก็ตาม หรือเมื่อจัดงานศพก็มักมีคำพูดว่า “คนตายขายคนเป็น” หมายถึง คนเป็นซึ่งหมายถึงเจ้าภาพและญาติพี่น้องก็มักจะต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ ไปกับการจัดงาน ซึ่งคำพูดนี้ไม่ยุติธรรมกับคนตายที่ไม่ได้มารู้เรื่องรู้ราวด้วยเลย อันที่จริงแล้วถ้าคนตายไม่ได้สั่งเสียให้ญาติจัดงานใหญ่โตก็น่าจะต้องกล่าวโทษเจ้าภาพที่เอาคนตายมาขาย นอกจากนี้ช่วงหลัง ๆ มานี้ เจ้าภาพถึงกับให้มีบ่อนการพนันมาเล่นในงานศพเพื่อเก็บค่าเช่า (ค่าต๋ง) ตัวอย่างนี้ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า เราใช้ประเพณีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเป็นการนำไปสู่อบายมุขโดยตรง
    ที่กล่าวไปแล้วนี้ เป็นตัวอย่างของการใช้วัฒนธรรมความเชื่อไปในเชิงลบ ในส่วนที่เป็นเชิงบวกนั้น ก็มีอยู่ไม่น้อย ดังจะขอจำแนกเป็นประเด็นต่อไปนี้

    ReplyDelete
  50. 1. วัฒนธรรม-พิธีกรรม เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง
    การมีความคิด ความเชื่อในสิ่งเดียวกันย่อมหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความกลมเกลียวที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเป็นปึกแผ่น ความเข้มแข็งของสังคมในที่สุด
    ดังนั้น ความเชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องผี เรื่องวิญญาณ จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่มนุษย์ต่อไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความคิดทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของมนุษย์ได้เราก็จะไปที่ระบบ ความเชื่อ
    ดังนั้น สังคมไทยในอดีตจึงจัดระบบความเชื่อเรื่องผีไว้อย่างสลับซับซ้อน มีเหตุมีผล ประกอบด้วยผีดีที่ให้คุณ และผีร้ายที่ให้โทษเมื่อทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของสังคม ความเชื่อในเรื่องนี้จึงกลายเป็นกลไกควบคุมสังคมที่สำคัญ
    แต่สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันด้วยการเติบโตของระบบทุนนิยม รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองที่ลบล้างจารีตประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องผีที่เคยเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมสังคมก็ลดบทบาทที่เป็นระบบลง
    แต่ถ้าพิจารณาใคร่ครวญเรื่องของความเชื่อในความหมายที่ตรงกันข้ามแล้ว เราก็จะพบว่า ความเชื่อ พิธีกรรมก็อาจเกิดผลเชิงลบเช่นกัน หากผู้คนงมงายอย่างไร้เหตุผล เช่น การแจกน้ำมนตร์คาถานครฐานสูตรของกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2545
    ซึ่งเกิดทุจริตชนปลอมน้ำมนตร์มาเร่ขาย เพราะมีผู้คนแตกตื่นมาขอรับมากมายจนน้ำมนตร์ไม่พอแจก ทั้งยังเกิดภาวะระส่ำระสายจากฝูงชนที่แสดงความต้องการน้ำมนตร์อย่างแรงกล้า จึงปรากฏทุจริตชนที่ปลอมน้ำมนตร์ขายหาประโยชน์ให้ตนเอง

    ReplyDelete
  51. 2. เป็นที่พึ่งทางใจ ขจัดความกังวล ความไม่มั่นใจ
    มนุษย์มีสัญชาตญาณของความกลัว ยิ่งในยุคที่ยังไม่มีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ มนุษย์ก็ยิ่งกลัว ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า พายุ น้ำท่วม ฯลฯ มนุษย์จึงเชื่อว่ามีผีวิญญาณสิงอยู่ตามป่า เขา ทะเล ต้นไม้ แม้กระทั่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การเซ่นสรวงไหว้พลี อ้อนวอน
    แม้กระทั่งติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ทำให้มนุษย์หายหวาดกลัว สบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น และเกิดเป็นรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ขึ้นอย่างไรก็ตาม แม้วิทยาศาสตร์จะอธิบายสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้ได้ แต่บางครั้งก็ยังอธิบายไม่ได้ทั้งหมด เราจึงเห็นว่า คนในยุคปัจจุบันก็ยังนับถือภูติผีวิญญาณ
    อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความตาย เมื่อญาติพี่น้องคนใกล้ชิดถึงแก่ความตาย จึงมักมีพิธีกรรมเข้ามาช่วยลดความหวาดกลัวลงไป ต้องเอาข้าวเอาน้ำไปเซ่นไหว้ที่โลงศพให้มากินเครื่องเซ่น เพราะเกรงว่าวิญญาณจะหิวโหย ถึงเทศกาลที่เชื่อว่าโลกของผีจะเปิดประตูให้ลงมาเยี่ยมญาติ
    ในเมืองมนุษย์ก็จะมีพิธีทำบุญให้ และพิธีกรรมทำนองนี้จะพบว่ามีทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มชนในสังคมไทย เช่น ภาคกลางมีพิธีทำบุญบังสุกุลอัฐิวันสงกรานต์ ภาคใต้มีประเพณีชิงเปรตหรือที่เรียกสารทเดือนสิบ คนจีนมีประเพณีไหว้เช็งเม้ง เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงโลกของคนเป็น
    กับโลกของคนตายให้มาอยู่ใกล้กัน ทำให้คนเป็นไม่รู้สึกว้าเหว่มากนัก เพราะได้มีกิจกรรมติดต่อกับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นครั้งเป็นคราวนอกจากนี้หากทบทวนดี ๆ เราจะพบว่าประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิตยังสร้างความเชื่อมั่นต่อสภาวะที่เรียกว่าจุดเปลี่ยนผ่านของชีวิตให้ดูสนิทแนบเนียนขึ้น
    เช่น ประเพณีบวชก็จะมีพิธีทำขวัญนาค เสมือนหนึ่งการกล่อมเกลาจิตใจนาคให้ก้าวเข้าสู่สภาวะภิกขุผู้นุ่งห่มผ้าเหลืองและจะใช้ชีวิตเยี่ยงคนในธรรมะที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อก้าวเข้าสู่การบวชเรียนให้เป็นคนสุกตามคติคนไทยก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับนับถือในสังคม และเข้าพิธีแต่งงานมี
    ครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานสืบไป เราจึงมีคำพูดล้อเลียนกันมาว่า “อย่าเบียดก่อนบวช”ในพิธีแต่งงานก็เช่นกัน การที่คนสองคนจะตกลงใจหรือได้รับการตกลงจากผู้ใหญ่ให้ใช้ชีวิตร่วมกันไปตลอดชีวิต อาจเป็นความไม่คุ้นหน้า (ในยุคที่สังคมยังให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ของทั้งคู่บ่าว-สาว)
    ความแปลกหรือความไม่คุ้นเคยนี้ทำให้ต้องมีพิธีแต่งงานเข้ามาเกี่ยวข้อง พิธีกินดอง (กินเลี้ยงเพื่อดองความเป็นญาติกันทั้งสองฝ่าย) ของทางภาคอีสาน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ่าวสาวตลอดจนญาติทั้งสองฝ่าย กล่าวคือมีการ “ผูกข้อต่อแขน”
    ให้ญาติที่จะมาเป็นเขยหรือสะใภ้กับฝ่ายตนด้วย เท่ากับว่า พิธีกรรมเปิดโอกาสให้สร้างความคุ้นเคย ความอบอุ่นในระหว่างญาติมิตรที่จะมาเกี่ยวดองกันด้วยอากัปกิริยาใกล้ชิดสนิทสนม จากสัมผัสและเส้นฝ้ายที่ใช้ เท่ากับเป็นการสร้างความสบายใจ ความมั่นใจให้ทุกคนโดยเฉพาะบ่าว-สาว

    ReplyDelete

  52. 3. ระบบความเชื่อ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ
    เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่วิปริตผิดผันไปจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติเช่นปรากฏการณ์เอลลินโญ่ เกิดจากการที่มนุษย์ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าตัดไม้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (น้ำมัน แก๊ส) หรือน้ำจำนวนมหาศาล เพื่อใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
    การฝ่าฝืนนี้ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล มีผลให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ถึงฤดูฝน ฝนไม่ตก ถึงหน้าแล้งฝนกลับตกแบบกระเซ็นกระสาย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมส่งผลมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันประมาณค่ามิได้ และเป็นผลกระทบในวงกว้างทุกภูมิภาคของโลก และน่าสังเกตว่า
    เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในช่วงหลังๆ มานี้ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ในขณะที่สังคมแต่ก่อนซึ่งยังเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ มีวิญญาณสถิตประจำ คือ แม่พระธรณี (ดิน) แม่พระคงคา (น้ำ) พระพายุ (ลม) ไฟ (พระอัคนี) สามารถดลบันดาลภัยพิบัติได้หากไปลบหลู่ท่าน หรือนำท่านมาใช้อย่างประมาท
    มีความเป็นไปได้ว่าการที่คนแต่ก่อนทำพิธีเซ่นสรวง พลีบูชาธรรมชาติเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ทำให้มนุษย์ไม่กล้าฝ่าฝืน ไม่กล้าทำลายธรรมชาติ จะตัดต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องมีพิธีเซ่นสรวงขออนุญาตเทพารักษ์ เพื่อให้เทพารักษ์รู้ตัวและไม่โกรธคนตัด คนแต่ก่อนจึงตัดไม้เท่าที่
    ตนเองจะนำไปใช้สอย ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโตทัน ในขณะที่ระบบอุตสาหกรรมไม่เกรงกลัวเทพารักษ์จึงตัดทีละมาก ๆ หรือทีละภูเขา การขาดรากไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ยึดน้ำไว้กับดิน จึงทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากจะใช้คำพูดอย่างคนโบราณก็คงจะเป็นคำว่า “ถูกฟ้าดินลงโทษ”
    ซึ่งก็ไม่ผิดความจริงมากนักพวกกะเหรี่ยง สะกอ หรือปกากะญอมีพิธีเอากระบอกสายสะดือเด็กเกิดใหม่แขวนกับต้นไม้ใหญ่ในป่า แสดงว่าห้ามตัด ถ้ามีเด็กเกิดใหม่มากต้นไม้ที่ห้ามตัดก็มากขึ้นด้วย เป็นวิธีเก็บรักษาป่าแบบกะเหรี่ยง (อรศิริ ปาณินท์, 2545) ภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงที่
    โยงความเชื่อกับการรักษาธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เป็นแนวเดียวกับการที่คนไทยแต่ก่อนจะฝังรกไว้ที่ใต้ต้นไม้ หรือปลูกต้นไม้บนหลุมที่ฝังรกนี้ พร้อมกับบอกเล่าให้เด็กฟังเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็จะรักษาต้นไม้นี้เสมือนเป็นต้นไม้คู่ชีพของเขา
    สังคมไทยยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับธรรมชาติอีกมาก เช่นทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตาแม่น้ำ พิธีสืบชาตาต้นไม้ สืบชาตาป่า ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ที่คนไทยทุกภูมิภาครู้จักกันดี คือ ประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือ การขอขมาแม่พระคงคา
    (วิญญาณที่เชื่อว่ารักษาแม่น้ำลำคลอง) ที่ตนได้ล่วงเกิน ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงไป และขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้มนุษย์ได้ใช้อุปโภค บริโภค

    ReplyDelete
  53. น่าเสียดายที่ประเพณีลอยกระทงเกิดความผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมาสู่สาระเพียงแค่ความสนุกสนาน และเพื่อให้หนุ่มสาวได้อธิษฐานร่วมกัน
    ภายใต้แสงจันทร์วันเพ็ญ ก่อนที่ (อาจจะ) จะนำไปสู่โศกนาฏกรรมในคลินิกเถื่อนหากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการที่หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทยหวังผลเพียงเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยไม่คำนึงถึงกระทงธรรมชาติหรือกระทง
    วัสดุสังเคราะห์ที่เป็นขยะในน้ำ (แม่พระคงคา) ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปกตินอกจากนี้ ทางภาคใต้เราพบว่าบริเวณที่เป็นป่าช้านั้น จะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติอันยากที่ผู้ใดจะกล้าล่วงล้ำเข้าไปได้ในขณะที่ธรรมชาติบริเวณอื่น ๆ ถูกมนุษย์รุกล้ำนำไปใช้จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม แต่บริเวณป่าช้า
    จะไม่มีใครเข้ามารบกวน จึงยังคงความสมบูรณ์อยู่ และชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเข้าไปขอเก็บผักหญ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะไม่ถูกภูติผีลงโทษ นอกจากจะโลภนำออกไปทีละมาก ๆ เท่ากับธรรมชาติไม่มีโอกาสฟื้นตัว ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในชนบททางภาคอีสานเช่นกัน คือบริเวณศาลผีปู่ตา
    ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน จะคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับป่าช้าทางภาคใต้ในสังคมไทย วัฒนธรรม คติความเชื่อ มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนมาช้านาน ผู้ปกครองสมัยโบราณอาศัยความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ผสานกับความเชื่อ
    ท้องถิ่นในระดับชาวบ้าน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองก็จะต้องมีคุณธรรมด้วย นอกจากนี้ความเชื่อไม่ว่าจะเป็นทางคติพุทธ พราหมณ์ หรือผี จะให้คุณหรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะมีวิจารณญาณอย่างไร จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะตกเป็นทาสด้วยความเชื่องมงาย
    ไร้เหตุผลก็ได้ เพราะแก่นพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเหตุผล เดินสายกลาง และผลเกิดจากเหตุ การมี “สติ” อาจทำให้ไม่เสีย “สตังค์” ค่างมงาย เช่น เสดาะเคราะห์ด้วยราคา 999 หรือ 99 บาท ซึ่งนอกจากเสียเงินทองแล้ว บางครั้งยังอาจเสียตัวด้วย โดยเฉพาะสตรี และต้องไม่ลืมคำนึงถึงความต่าง
    ของ 2 คำนี้ คือ

    ReplyDelete
  54. ไสยศาสตร์ (ไสยะ - ความหลับไหล งมงาย โง่เขลา มัวเมา)
    พุทธศาสตร์ (พุทธะ - ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส)
    จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนา-ความเชื่อ เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งมีสถาบันหลักคือ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามยังมีวัฒนธรรมส่วนต่าง ๆ
    อีกมากมายในทุกภูมิภาคของไทยที่เกิดจากความเชื่อท้องถิ่นนั้น ๆ และสิ่งนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของสังคม โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เห็นเด่นชัดคือ ประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ แต่จะต้องตระหนักว่า
    ในปัจจุบันมีการใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์มากมายเพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้คนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในหลักธรรมทางศาสนา จึงเปิดโอกาสให้คนทุจริตอาศัยความงมงายเป็นช่องทางทำมาหากิน ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิจารญาณในเรื่องนี้ให้ดีและถ้วนถี่
    เพราะความเชื่อทางศาสนามิใช่แสดงออกทางวัตถุเครื่องลางของขลังติดตัวเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงแบบแผนวิถีชีวิตทุกเรื่อง ไม่ว่าการกิน การอยู่ การรักษาพยาบาล แม้การนุ่งห่มหรือข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นจารีตหรือกลไกให้คนในสังคมได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์จากวัฒนธรรมหลากมิติ

    ReplyDelete
  55. การสร้างแรงบันดาลใจ
    1.1 ความหมายของแรงบันดาลใจ
    แรงบันดาลใจ (Inspiration) หมายถึง พลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใด ๆ ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งจูงใจภายนอกก่อให้เกิด แรงจูงใจขึ้นภายในจิตใจเสียก่อน เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการคิด
    และการกระทำในสิ่งที่พึงประสงค์เหมือนเช่นปกติวิสัยของมนุษย์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นจะยากสักเพียงใด ตนก็พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการให้จงได้ แม้จะต้องเสียสละบางสิ่งของตนเองไปบ้าง ก็พร้อมที่จะเสียสละได้เสมอ ถ้าจะช่วยนำมาซึ่งผลสำเร็จ
    ที่ต้องการนั้นได้จริง ๆ
    มนุษย์ส่วนใหญ่ที่ใช้พฤติกรรมทางอารมณ์นำหน้าสติปัญญาหรือยังไม่อาจเข้าถึงการใช้ปัญญาญาณได้ จะมีโอกาสรู้จักกับอำนาจแห่งแรงบันดาลใจของตนเองน้อยมาก ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเองโดยมิได้จงใจเจตนาเสียมากกว่ามนุษย์จึงไม่รู้ว่าแรงบันดาลใจคืออำนาจภายในตนเองที่
    ยอดเยี่ยมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเสริมอำนาจการเป็นผู้นำของตนได้เป็นอย่างดี เพราะได้แต่ตกเป็นทาสของสิ่งแวดล้อม ตกเป็นทาสของสิ่งเร้า และตกเป็นทาสของเงื่อนไขที่ผู้อื่นจัดวางเอาไว้ตลอดเวลา จนต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่ไม่มีอำนาจในตนเอง เพราะไม่อาจควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดและ
    ความต้องการที่แท้จริงของตนเองได้ อำนาจทางการคิดและการกระทำใด ๆ ในชีวิต ล้วนถูกจูงใจด้วยสิ่งเร้าแทบทั้งสิ้น
    การแสดงบทบาทใดในชีวิต จึงเป็นไปตามอำนาจของสิ่งเร้าภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจภายใน ไม่ใช่เกิดจากอำนาจการปลุกเร้าตนเองด้วยแรงบันดาลใจภายในเลย
    ด้วยเหตุนี้จึงพอจะบ่งชี้ให้เห็นความแตกต่างของที่มาของคำสองคำได้อย่างชัดเจน ระหว่างคำว่า “แรงจูงใจ”กับคำว่า “แรงบันดาลใจ” โดยด้านของแรงจูงใจก็คืออำนาจ รับรู้สิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นตัวบงการให้เกิดพฤติกรรมภายนอกต่อไป ส่วนด้านของแรงบันดาลใจ
    ก็คืออำนาจอันเกิดจากจิตวิญญาณซึ่งเป็นแก่นแท้ของตนเอง โดยใช้เงื่อนไขภายในจิตใจของตนด้วยตัวเอง ซึ่งเรียกว่า “การสำนึกรู้”

    ReplyDelete

  56. 1.2 การสร้างแรงบันดาลใจ
    ผู้นำกับการสร้างแรงบันดาลใจ มีดังนี้
    1. รับฟังความคิดและให้คุณค่าของบุคคล (Appeal to the person’s ideals and values) คนส่วนมากต้องการเป็นคนสำคัญ อยากมีคุณค่า ประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือผู้อื่น มีส่วนร่วมในความสำเร็จ แรงบันดาลใจเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการดึงดูดทางอารมณ์ที่ดี ตัวอย่างเช่น การพัฒนางานด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีลักษณะทางอารมณ์อื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เสรีภาพ อิสรภาพ ความยุติธรรม ความโปร่งใสความเสมอภาค ความรัก ความก้าวหน้า เป็นต้น
    2. เชื่อมโยงสิ่งร้องขอให้เข้ากับภาพลักษณ์ของบุคคล (Link the request to the person’s self-image)ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากค้นพบวิทยาการใหม่ ๆ ซึ่งมีคุณค่าต่อมนุษยชาติ แพทย์และพยาบาลมีคุณค่าต่อการรักษาสุขภาพของผู้คน วัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไปหรือการกระทำนั้นอาจอธิบายได้ว่าเป็นการพัฒนาความรู้ให้ก้าวหน้า ช่วยพัฒนาการดูแลสุขภาพทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
    3. เชื่อมโยงคำร้องขอเข้ากับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (Link the request to the clear and appealing vision)พยายามนำเสนอการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่จะประสบความสำเร็จ เมื่อวิสัยทัศน์ถูกทำให้เป็นจริง คุณค่าทางความคิดนั้นสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องละทิ้งประโยชน์ส่วนตัวเลย
    4. ใช้การตื่นเต้นเร้าใจ ใช้แสดงออกทางการพูด (Use a dramatic, expressive of speaking) การแสดงออกทางคำพูดจะช่วยเพิ่มความรู้สึกด้านอารมณ์ ความรู้สึกอัดอั้นและเก็บกดมักแสดงทางน้ำเสียง ควรใช้คำพูดที่หนักแน่น มีระดับเสียงสูงต่ำ เว้นระยะอย่างเหมาะสม เว้นช่วงสำคัญเพื่อสร้างความรู้สึกสนใจ
    5. ใช้คำพูดที่เป็นบวก มองโลกในแง่ดี (Use positive, optimistic language) ความเชื่อมั่นและมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนั้น สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนงานที่ทำยาก และถ้าหากผู้ปฏิบัติขาดความเชื่อมั่น ก็ควรใช้ภาษาสื่อสารที่เป็นบวก สร้างความมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาซึ่งความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น ใช้คำว่า “สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้น” แทนคำว่า “สิ่งดี ๆ อาจเกิดขึ้นได้” เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
    1.3 บันได 3 ขั้นของการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำ

    ReplyDelete
  57. บันได 3 ขั้นของการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำมีดังต่อไปนี้
    1. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
    มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงพอ ผู้นำต้องเชื่อมั่นในตนเองว่า ผลสำเร็จที่ต้องการจะได้รับจากการคิดหรือจาก การกระทำนั้น สามารถพิชิตมันได้อย่างแน่นอน โดยต้องไม่มีความวิตกกังวล ความลังเลใจ ความสับสนสงสัย และความไม่มั่นใจในตนเองเข้ามาสอดแทรกในระหว่างการคิดคำนึงหรือในขณะที่กำลังลงมือกระทำสิ่งนั้นอยู่โดยเด็ดขาดเพราะมันจะเป็นตัวการลดทอนหรือบ่อนทำลายความเชื่อมั่นในตนเองจนหมดสิ้น เมื่อพลังแห่งความเชื่อมั่นสูญสิ้นพลังความคิด พลังจิต และพลังกายก็จะพลอยถดถอยตามไปด้วย
    ผู้นำที่มีพลังอำนาจในการกระทำสิ่งใด ๆ ได้สำเร็จ แม้เป็นสิ่งยากก็เหมือนง่าย ล้วนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงด้วยกันทั้งสิ้น (ปริญญา ตันสกุล, 2550 : 145–147)
    2. ความมุ่งมั่นในการลงมือทำ
    เมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงจนเป็นที่น่าพอใจได้แล้ว ก่อนที่จะก้าวสู่ขั้นที่สอง บันไดขั้นที่สอง คือ “ความมุ่งมั่น”
    ความมุ่งมั่น หมายถึง ความตั้งใจล้นเปี่ยม ในอันที่จะทำสิ่งใด ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จให้จงได้ ไม่ว่าจะต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และกำลังสติปัญญามากน้อยแค่ไหน ไม่ว่ามันจะต้องเปลืองเวลาเนิ่นนานสักเท่าใด และ ไม่ว่าจะยากสักปานใด ก็จะไม่ย่อท้อโดยเด็ดขาด
    พลังอำนาจแห่งความมุ่งมั่น จะแสดงตัวออกมาภายนอกผ่านพฤติกรรมของการมีมานะพยายาม ความบากบั่นหมั่นเพียร ความอดทนต่อความเหนื่อยล้า และความกล้าหาญต่อการฟันฝ่าอุปสรรค ปัญหา ซึ่งมันจะช่วยให้คุณสามารถทำงานใด ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะประสบผลสำเร็จได้
    3. ความมีศรัทธาในผลสำเร็จที่มุ่งหวัง
    ความมีศรัทธาในผลสำเร็จที่มุ่งหวัง หมายถึง การมองเห็นผลสำเร็จที่จะได้จากการกระทำที่มีคุณค่าสูงสุดและมีความรู้สึกว่า ถ้าเข้าถึงมันได้จะเป็นสิ่งที่น่าท้าทายที่สุดในชีวิต

    ReplyDelete
  58. เจตคติ
    2.1 ความหมายและประเภทของเจตคติ
    เจตคติบางครั้งก็เรียกทัศนคติ มีความหมายตามคำอธิบายของนักจิตวิทยา เช่น อัลพอร์ท (Allport อ้างถึงในนวลศิริ เปาโรหิต, 2545 : 125) ได้ให้ความหมายของเจตคติว่า เป็นสภาวะของความพร้อมทางจิตใจซึ่งเกิดจาก
    ประสบการณ์ สภาวะความพร้อมนี้เป็นแรงที่กำหนดทิศทางของปฏิกิริยาระหว่างบุคคลที่มีต่อบุคคล สิ่งของและ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เจตคติจึงก่อรูปได้ดังนี้
    1. เกิดจากการเรียนรู้ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมในสังคม
    2. การสร้างความรู้สึกจากประสบการณ์ของตนเอง
    3. ประสบการณ์ที่ได้รับจากเดิม มีทั้งทางบวกและลบ จะส่งผลถึงเจตคติต่อสิ่งใหม่ที่คล้ายคลึงกัน
    4. การเลียนแบบบุคคลที่ตนเองให้ความสำคัญ และรับเอาเจตคตินั้นมาเป็นของตน
    เบลกินและสกายเดล (Belkin and Skydell อ้างถึงใน จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, 2549 : 58) ให้ความสำคัญ ของเจตคติว่า เป็นแนวโน้มที่บุคคลจะตอบสนองในทางที่พอใจหรือไม่พอใจต่อสถานการณ์ต่าง ๆ

    ReplyDelete
  59. เจตคติจึงมีความหมายสรุปได้ดังนี้
    1. ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ หลังจากที่บุคคลได้มีประสบการณ์ในสิ่งนั้น ความรู้สึกนี้จึงแบ่งเป็น3 ลักษณะ คือ
    1.1 ความรู้สึกในทางบวก เป็นการแสดงออกในลักษณะของความพึงพอใจ เห็นด้วย ชอบและสนับสนุน
    1.2 ความรู้สึกในทางลบ เป็นการแสดงออกในลักษณะไม่พึงพอใจ ไม่เห็นด้วย ไม่ชอบและไม่สนับสนุน
    1.3 ความรู้สึกที่เป็นกลางคือไม่มีความรู้สึกใด ๆ
    2. บุคคลแสดงความรู้สึกทางด้านพฤติกรรม ซึ่งแบ่งพฤติกรรมเป็น 2 ลักษณะ คือ
    2.1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ มีการกล่าวถึง สนับสนุน ท่าทางหน้าตาบ่งบอก ความพึงพอใจ
    2.2 พฤติกรรมภายใน เป็นพฤติกรรมที่สังเกตไม่ได้ ชอบหรือไม่ชอบก็ไม่แสดงออก เจตคติแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่
    1. เจตคติในด้านความรู้สึกหรืออารมณ์ (Affective Attitude) ประสบการณ์ที่คนได้สร้างความพึงพอใจและความสุขใจ จนกระทำให้มีเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้น ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
    2. เจตคติทางปัญญา (Intellectual Attitude) เป็นเจตคติที่ประกอบด้วยความคิดและความรู้เป็นแกน บุคคลอาจมีเจตคติต่อบางสิ่งบางอย่างโดยอาศัยการศึกษา ความรู้ จนเกิดความเข้าใจและมีความสัมพันธ์กับจิตใจ คืออารมณ์และความรู้สึกร่วม หมายถึง มีความรู้สึกจนเกิดความซาบซึ้งเห็นดีเห็นงามด้วย เช่น เจตคติที่มีต่อศาสนาเจตคติที่ไม่ดีต่อยาเสพติด
    3. เจตคติทางการกระทำ (Action-oriented Attitude) เป็นเจตคติที่พร้อมจะนำไปปฏิบัติ เพื่อสนอง ความต้องการของบุคคล เช่น เจตคติที่ดีต่อการพูดจาไพเราะอ่อนหวานเพื่อให้คนอื่นเกิดความนิยม เจตคติที่มีต่องานในสำนักงาน
    4. เจตคติทางด้านความสมดุล (Balanced Attitude) ประกอบด้วยความสัมพันธ์ทางด้านความรู้สึกและอารมณ์เจตคติทางปัญญาและเจตคติทางการกระทำ เป็นเจตคติที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจในการทำงาน ทำให้บุคคลสามารถทำงานตามเป้าหมายของตนเองและองค์การได้
    5. เจตคติในการป้องกันตัวเอง (Ego-defensive Attitude) เป็นเจตคติเกี่ยวกับการป้องกันตนเองให้พ้นจากความขัดแย้งภายในใจ ประกอบด้วยความสัมพันธ์ทั้ง 3 ด้าน คือ ความสัมพันธ์ด้านความรู้สึก อารมณ์ ด้านปัญญาและด้านการกระทำ

    ReplyDelete
  60. 2.2 องค์ประกอบของเจตคติ
    โดยทั่วไป เจตคติประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
    1. องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Component) เป็นองค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้านั้น ๆ เพื่อเป็นเหตุผลที่จะสรุปความ และรวมเป็นความเชื่อ หรือช่วยในการประเมินค่าสิ่งเร้านั้นๆ
    2. องค์ประกอบด้านความรู้สึกและอารมณ์ (Affective Component) เป็นองค์ประกอบด้านความรู้สึก หรืออารมณ์ของบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเร้า ต่างเป็นผลต่อเนื่องมาจากที่บุคคลประเมินค่าสิ่งเร้านั้น แล้วพบว่าพอใจหรือไม่พอใจ ต้องการหรือไม่ต้องการ ดีหรือเลว
    องค์ประกอบทั้งสองอย่างมีความสัมพันธ์กัน เจคติบางอย่างจะประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจมาก แต่ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านความรู้สึกและอารมณ์น้อย เช่น เจตคติที่มีต่องานที่ทำ ส่วนเจตคติที่มีต่อแฟชั่นเสื้อผ้าจะมีองค์ประกอบด้านความรู้สึกและอารมณ์สูง แต่มีองค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจต่ำ
    3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioural Component) เป็นองค์ประกอบทางด้านความพร้อม หรือความโน้มเอียงที่บุคคลประพฤติปฏิบัติ หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าในทิศทางที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ หรือความรู้สึกของบุคคลที่ได้รับจากการประเมินค่าให้สอดคล้องกับความรู้สึกที่มีอยู่
    เจตคติที่บุคคลมีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด ต้องประกอบด้วยทั้งสามองค์ประกอบเสมอ แต่จะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไป โดยปรกติบุคคลมักแสดงพฤติกรรมในทิศทางที่สอดคล้องกับเจตคติที่มีอยู่แต่ก็ไม่เสมอไปทุกกรณี ในบางครั้งเรามีเจตคติอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้แสดงพฤติกรรมตามเจตคติที่มีอยู่ก็มี

    ReplyDelete

  61. 2.3 คุณลักษณะของเจตคติ
    เจตคติมีคุณลักษณะที่สำคัญดังนี้
    1. เจตคติเกิดจากประสบการณ์ สิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวบุคคล การอบรมเลี้ยงดู การเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดเจตคติ แม้ว่าจะมีประสบการณ์ที่เหมือนกันก็เป็นเจตคติที่แตกต่างกันได้ ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น สติปัญญา อายุ เป็นต้น
    2. เจตคติเป็นการเตรียม หรือความพร้อมในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เป็นการเตรียมความพร้อมภายในของจิตใจมากกว่าภายนอกที่สังเกตได้ สภาวะความพร้อมที่จะตอบสนอง มีลักษณะที่ซับซ้อนของบุคคลว่า ชอบหรือ ไม่ชอบ ยอมรับหรือไม่ยอมรับ เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย
    3. เจตคติมีทิศทางของการประเมิน ทิศทางของการประเมินคือลักษณะความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นความรู้สึกหรือประเมินว่าชอบ พอใจ เห็นด้วย ก็คือเป็นทิศทางในทางที่ดี เรียกว่าเป็นทิศทางในทางบวก และถ้าประเมินออกมาในทางไม่ดี เช่น ไม่ชอบ ไม่พอใจ ก็มีทิศทางในทางลบ เจตคติทางลบไม่ได้หมายความว่าไม่ควรมีเจตคตินั้นเป็นเพียงความรู้สึกที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้น
    4. เจตคติมีความเข้ม คือมีปริมาณมากน้อยของความรู้สึก ถ้าชอบมากหรือไม่เห็นด้วยอย่างมากก็แสดงว่ามี ความเข้มสูง ถ้าไม่ชอบเลยหรือเกลียดที่สุดก็แสดงว่ามีความเข้มสูงไปอีกทางหนึ่ง
    5. เจตคติมีความคงทน เจตคติเป็นสิ่งที่บุคคลยึดมั่นถือมั่น และมีส่วนในการกำหนดพฤติกรรมของคนนั้น การยึดมั่นในเจตคติต่อสิ่งใด ทำให้การเปลี่ยนแปลงเจตคติเกิดขึ้นได้ยาก
    6. เจตคติมีทั้งพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมภายในเป็นสภาวะทางจิตใจ ซึ่งหากไม่ได้แสดงออก ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลนั้นมีเจตคติอย่างไรในเรื่องนั้น เจตคติเป็นพฤติกรรมภายนอกแสดงออกเนื่องจากถูกกระตุ้น และการกระตุ้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย
    7. เจตคติต้องมีสิ่งเร้าจึงมีการตอบสนองขึ้น ไม่จำเป็นว่าเจตคติที่แสดงออกจากพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอกจะต้องตรงกัน เพราะก่อนแสดงออกนั้นก็จะปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพของสังคม แล้วจึงแสดงออกเป็นพฤติกรรมภายนอก

    ReplyDelete
  62. 2.4 การเกิดและการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
    เจตคติเกิดจากการมีประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากประสบการณ์ที่เราได้รับเพิ่มเติมแตกต่างจากประสบการณ์เดิม เราก็อาจเปลี่ยนแปลงเจตคติได้ การเปลี่ยนแปลงเจตคติมี 2 ทาง
    1. การเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกัน (Congruent Change) หมายถึง เจตคติเดิมของบุคคลที่เป็นไปในทางบวกจะเพิ่มมากขึ้นในทางบวก แต่ถ้าเจตคติเป็นไปทางลบก็เพิ่มมากขึ้นในทางลบด้วย
    2. การเปลี่ยนแปลงไปคนละทาง (Incongruent Change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเจตคติเดิมของบุคคลที่เป็นไปในทางบวกจะลดลงและไปเพิ่มทางลบ
    หลักการของการเปลี่ยนแปลงเจตคติ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน หรือการเปลี่ยนแปลงไป คนละทางนั้น มีหลักการว่า เจตคติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันเปลี่ยนได้ง่ายกว่าเจตคติที่เปลี่ยนแปลงไปคนละทาง เพราะการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันมีความมั่นคง ความคงที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงไปคนละทางการเปลี่ยนแปลงเจตคติเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่อไปนี้
    1. ความสุดขีด (Extremeness) เจตคติที่อยู่ปลายสุดเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเจตคติที่ไม่รุนแรงนัก เช่น ความรักที่สุดและความเกลียดที่สุดเปลี่ยนแปลงยากกว่าความรักและความเกลียดที่ไม่มากนัก
    2. ความซับซ้อน (Multicomplexity) เจตคติที่เกิดจากสาเหตุเดียวกันเปลี่ยนได้ง่ายกว่าเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ
    3. ความคงที่ (Consistency) เจตคติที่มีลักษณะคงที่มาก หมายถึงเจตคติที่เป็นความเชื่อฝังใจ เปลี่ยนแปลงยากกว่าเจตคติทั่วไป
    4. ความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง (Interconnectedness) เจตคติที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะที่เป็นไปในทางเดียวกันเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเจตคติที่มีความสัมพันธ์ไปในทางตรงกันข้าม
    5 ความแข็งแกร่งและจำนวนความต้องการ (Strong and Number of Wants Served) หมายถึง เจตคติที่มีความจำเป็นและความต้องการในระดับสูง เปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเจตคติที่ไม่แข็งแกร่งและไม่อยู่ในความต้องการ
    6. ความเกี่ยวเนื่องกับค่านิยม (Centrality of Related Values) เจตคติหลายเรื่องเกี่ยวเนื่องจากค่านิยมความเชื่อว่าค่านิยมนั้นดีน่าปรารถนา และเจตคติสืบเนื่องจากค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก

    ReplyDelete
  63. ค่านิยม
    3.1 ความหมายของค่านิยม
    ตามความคิดเห็นของโรคีช (Rokeach อ้างถึงใน นวลศิริ เปาโรหิต, 2545 : 132) เห็นว่าเป็นความเชื่อที่มีลักษณะค่อนข้างถาวร และเชื่อว่าวิถีปฏิบัติบางอย่าง หรือเป้าหมายบางอย่างนั้น เป็นสิ่งที่ตัวเองหรือสังคมเห็นสมควรที่จะยึดถือหรือปฏิบัติ ค่านิยมจึงเป็นความสำคัญที่บุคคลนั้นให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และสิ่งนั้นมีคุณค่าพร้อมที่จะปฏิบัติตามความเชื่อนั้น ค่านิยมของแต่ละคนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับ ประสบการณ์ของแต่ละคนแตกต่างกัน ค่านิยมที่เรายึดถือจึงแตกต่างกันไป แม้จะอยู่ในสังคมเดียวกัน แต่ค่านิยมมีการเลียนแบบ เราจึงเห็นว่าบางคนมีค่านิยมที่คล้อยตามคนอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความเชื่อ ความศรัทธาของเขา นอกจากนี้ค่านิยมมีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงไปตามวุฒิภาวะและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
    โรคีชให้หลักการสำคัญว่า ค่านิยมมีองค์ประกอบ 5 ประการด้วยกัน คือ
    1. ค่านิยมเป็นสิ่งที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรม สถาบันทางสังคม และบุคลิกภาพของกลุ่มคนในสังคมนั้น
    2. ในขณะเดียวกัน อิทธิพลของค่านิยมก็จะแสดงออกทางเจตคติและพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ทุกรูปแบบ
    3. ปริมาณของค่านิยมมีอยู่ไม่มากนักและอยู่ในข่ายที่จะรวมเป็นระบบและศึกษาได้
    4. ความแตกต่างของค่านิยมแสดงออกทางระดับมากกว่าทางอื่น
    5. ค่านิยมอาจรวมกันเข้าเป็นระบบค่านิยมได้

    ReplyDelete

  64. นอกจากนี้ โรคีชยังได้อธิบายธรรมชาติของค่านิยมดังนี้
    1. ค่านิยมมีลักษณะสม่ำเสมอและคงที่ หมายถึง การไม่เปลี่ยนแปลงง่าย เป็นสาเหตุที่ทำให้บุคลิกภาพ ของกลุ่มคนในสังคมหนึ่งแตกต่างจากอีกสังคมหนึ่ง ทำให้เกิดลักษณะประจำกลุ่มหรือลักษณะประจำชาติ เป็นค่านิยมที่บุคคลจัดว่าสำคัญมาก เปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าค่านิยมที่มีความสำคัญน้อย การเปลี่ยนแปลงจึงไม่ใช่เป็น ลักษณะชั่วครู่ชั่วยามตามอารมณ์ของบุคคล
    2. ค่านิยมมีลักษณะเปรียบเทียบระดับความสำคัญ ซึ่งเป็นการปลูกฝังค่านิยมให้แก่นักเรียนจากการอบรม และเรียนรู้ แต่ละคนจะได้รับการเน้นถึงความสำคัญของค่านิยมแตกต่างกัน เช่น บางสังคมให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลา ในขณะที่อีกสังคมหนึ่งเห็นว่าสำคัญ แต่ยังรอง ๆ ลงไปกว่าความซื่อสัตย์ กตัญญู บุคคลเกิด การเปรียบเทียบระดับความสำคัญของค่านิยมต่าง ๆ จากประสบการณ์ที่เขาได้รับตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เกิดการเรียนรู้ ที่จะแยกแยะพวกค่านิยมที่ได้รับการสั่งสอนมาอย่างเต็มที่แล้ว จัดเป็นระดับสูงต่ำรวมเข้าเป็นระบบซึ่งมีการเรียงลำดับความสำคัญมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
    3. ค่านิยมมีลักษณะเป็นความเชื่อ โรคีชได้อธิบายว่า ค่านิยมเป็นความเชื่อ มี 3 รูปแบบ คือ
    3.1 ความเชื่อแบบพรรณนา (Descriptive Belief) ความเชื่อที่สามารถทดสอบได้ว่าถูกต้องหรือไม่
    3.2 ความเชื่อแบบประเมิน (Evaluative Belief) ความเชื่อที่ประเมินว่าสิ่งใดดีหรือไม่
    3.3 ความเชื่อแบบกำหนดการ (Prescriptive Belief) ความเชื่อที่มีทิศทางและเป้าหมายของการกระทำที่ถูกตัดสินว่าเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่

    ReplyDelete
  65. 3.2 ประเภทของค่านิยม
    ค่านิยมตามแนวความคิดของสแปรงเกอร์ (Sprangers อ้างถึงในจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, 2549 : 254) แบ่งเป็น 6 ด้าน คือ
    1. ค่านิยมทางด้านทฤษฎี เป็นค่านิยมด้านการแสวงหาความรู้
    2. ค่านิยมทางด้านเศรษฐกิจ เป็นค่านิยมที่กระตุ้นให้บุคคลสะสมเงินทองมีฐานะมั่นคง
    3. ค่านิยมทางด้านการปกครอง ช่วยผลักดันให้บุคคลแสวงหาอำนาจทางการเมือง และสนใจการปกครองประเทศ
    4. ค่านิยมทางด้านสังคม เป็นค่านิยมที่บุคคลสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นและเข้าร่วมในสังคม
    5. ค่านิยมทางสุนทรียภาพ ช่วยให้บุคคลเกิดความพึงพอใจในประสบการณ์ที่เกิดจากความซาบซึ้งในศิลปะและดนตรี
    6. ค่านิยมทางด้านศาสนา ทำให้บุคคลปรารถนาที่จะนับถือและศรัทธาในศาสนา

    ReplyDelete

  66. นอกจากจะมีการจำแนกค่านิยมออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลในด้านการศึกษาของไทยในอดีต ได้จำแนกค่านิยมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
    เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ คือ ค่านิยมพื้นฐานกับค่านิยมวิชาชีพ
    ค่านิยมพื้นฐาน เป็นค่านิยมที่ทุกคนในสังคมนั้น ๆ ต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความผาสุกเกิดความเจริญมั่นคง สังคมได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น ทุกคนในสังคมปฏิบัติตามกฎระเบียบ เคารพกฎหมาย มีมารยาทดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนกันด้วยคำพูดหรือการกระทำใด ๆ สังคมก็จะสงบสุข บ้านเมืองก็จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว ค่านิยมประเภทนี้ ประกอบด้วย
    ศีลธรรม คุณธรรม ธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมายต่าง ๆ สำหรับปกครองบ้านเมือง
    ค่านิยมวิชาชีพ คือ ค่านิยมที่บุคคลในอาชีพหรือวิชาชีพนั้นจะต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงาน ทำให้งานวิชาชีพมีความเจริญก้าวหน้า สังคมให้ความศรัทธาเลื่อมใส ขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่าง
    ต่อเนื่อง ค่านิยมประเภทนี้ประกอบด้วยอุดมการณ์วิชาชีพ วินัยวิชาชีพ มารยาททางวิชาชีพ และพระราชบัญญัติวิชาชีพ

    ReplyDelete
  67. 3.3 การพัฒนาค่านิยม
    ค่านิยมเกิดจากประสบการณ์และการประเมินค่าของบุคคล ขณะเดียวกันก็มาจากความเชื่อและเจตคติ ส่วนประกอบที่สำคัญของพฤติกรรมที่แสดงว่าเกิดค่านิยมขึ้น ได้แก่ การเกิดแรงจูงใจ ไม่ได้เกิดจากความต้องการที่เชื่อฟังหรือปฏิบัติตาม แต่เกิดจากความชอบที่เกิดในตัวบุคคลที่มี
    ค่านิยมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวนำให้เกิดการปฏิบัติการต่าง ๆ การเกิดค่านิยมมีพฤติกรรม 3 อย่าง คือ
    1. การยอมรับค่านิยม พฤติกรรมในขั้นแรกนี้ เป็นการลงความคิดเห็นว่า เหตุการณ์ สิ่งของ การกระทำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า บุคคลมีความเชื่อซึ่งมีมากน้อยแตกต่างกันไป ความเชื่อนี้เป็นการยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งพร้อมที่จะวัดและประเมินสิ่งนั้น
    2. ความชอบในค่านิยม พฤติกรรมความชอบแทรกอยู่ระหว่างการยอมรับ การเกิดค่านิยมและความรู้สึกถูกผูกมัดอยู่กับค่านิยมนั้น ความชอบนี้ประเมินจากทั้งตนเองและจากบุคคลข้างเคียงด้วยว่าเขามีค่านิยมในสิ่งนั้น
    3. การผูกมัด เป็นขั้นที่มีความเชื่อมั่นว่ายอมรับค่านิยม เช่น การเคารพผู้ใหญ่ การแสดงความอ่อนน้อม ซึ่งบ่งบอกว่าเขามีค่านิยมในสิ่งนั้น
    ค่านิยมในแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป บุคคลเดียวกันมีค่านิยมหลาย ๆ อย่าง เราสามารถจัดให้เป็นระบบ โดยการเข้ากลุ่มกัน สร้างแนวคิดเกี่ยวกับค่านิยม และจัดระบบค่านิยม เป็นการเรียงลำดับโดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของค่านิยมนั้น ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดปรัชญาชีวิตของเรา
    อาจเป็นเป้าหมายในอุดมการณ์ของชีวิตเป็นการแสดงลักษณะค่านิยม ความยึดถือ และพฤติกรรมต่อมาก็คือ การปฏิบัติซึ่งสังเกตจากพฤติกรรมภายนอกในสถานการณ์หนึ่ง บางครั้งเป็นพฤติกรรมภายในที่ไม่ได้นำไปปฏิบัติก็ได้

    ReplyDelete
  68. การพิจารณาว่าคุณลักษณะใดเป็นค่านิยมหรือไม่ (Rath and others อ้างถึงใน จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, 2549: 215) ได้พิจารณาตามเกณฑ์ต่อไปนี้
    1. การเลือก
    1.1 เป็นการเลือกอย่างเสรี หากมีการบังคับให้เราจำต้องเลือกค่านิยมแล้ว เรียกว่าเป็นค่านิยมที่แท้จริงไม่ได้
    1.2 เป็นการเลือกจากค่านิยมหลาย ๆ ประการ เราสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติของค่านิยมต่าง ๆ ได้
    1.3 เลือกหลังจากได้พิจารณาผลต่อเนื่อง อันเกิดจากการปฏิบัติตามค่านิยมแต่ละอย่างแล้ว
    2. การเทิดทูน
    2.1 รักษาค่านิยมที่เลือกแล้วและมีความพึงพอใจในค่านิยมนั้น
    2.2 พร้อมที่จะยืนหยัดในค่านิยมนั้นอย่างแท้จริง
    3. การกระทำ
    3.1 กระทำตามค่านิยมนั้นตามที่ได้ยึดถือ
    3.2 การกระทำเป็นประจำจนเป็นแนวทางของการดำเนินชีวิต
    ตามคุณลักษณะทั้ง 3 ขั้นตอนนี้มีความสัมพันธ์กับค่านิยมที่แต่ละบุคคลยึดถืออยู่อย่างเหนียวแน่น และ นำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาค่านิยมที่บุคคลนั้นมีอยู่ โดยคำนึงความรู้สึก ความคิด ความต้องการ การกระทำและ ความผสมผสานเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
    ค่านิยมที่ผู้นำควรนิยม คือ ค่านิยมที่นักปราชญ์หรือบัณฑิตและสังคมส่วนใหญ่นิยมยกย่องว่าดี หากนำมา ประพฤติปฏิบัติแล้วจะนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตนเองและชาติบ้านเมือง

    ReplyDelete



  69. ตัวอย่างเช่น
    1. การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
    2. การประหยัดและอดออม
    3. การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
    4. การปฏิบัติตามศีล 5 (หรือข้อกำหนดในศาสนาที่ตนนับถือ)
    5. ความซื่อสัตย์สุจริต
    6. ความยุติธรรม
    7. การรักษาสุขภาพอนามัยให้สมบูรณ์
    8. ความนิยมไทย
    9. การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย
    10. การหมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพและความรู้ทั่วไป
    11. ความสันโดษ
    12. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    13. ความสุภาพนอบน้อม
    14. การรักษาอุดมการณ์ในวิชาชีพ
    15. การยึดมั่นในคำสอนของศาสนา
    16. ความเสียสละ
    17. ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและสิ่งแวดล้อมที่ให้ประโยชน์
    18. ความเมตตากรุณา
    19. ความกล้าหาญอย่างสมเหตุสมผล
    20. ความสามัคคี
    21. การยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    3.4 ผู้นำกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติและค่านิยมในหน่วยงาน

    ReplyDelete
  70. เจตคติเป็นแนวโน้มที่เราตอบสนองต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ส่วนค่านิยมเป็นสิ่งที่เราคิดว่า เป็นความเชื่อถือ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ก็ตาม เป็นสิ่งที่บุคคลในกลุ่มมีความเห็นเหมือน ๆ กัน เช่น สังคมที่มีความเจริญทางวัตถุ คนมองเห็นว่าเงินและอำนาจเป็นค่านิยม อาจจะแตกต่างกับค่านิยมของบุคคลอีก
    กลุ่มหนึ่งที่เห็นเรื่องของน้ำใจ คุณธรรมเป็นค่านิยมที่สำคัญกว่า โดยทั่วไปแล้ว เจตคติและค่านิยมมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาก จนบางครั้งก็ยากที่จะแสดงออกให้เห็นความแตกต่างที่เด่นชัด การเปลี่ยนแปลงเจตคติทำได้โดยง่ายกับเจตคติที่ไม่ซับซ้อนและมีทิศทางเดียวกันการสร้างเจตคติเน้น
    สิ่งจำเป็นในด้านการบริหารงานบุคคล ถ้าบุคคลมีเจตคติที่ดีต่องาน ถ้าผู้นำมีเจตคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อหน่วยงานที่ปฏิบัติ ก็จะเกิดความผูกพันกับองค์การและสามารถอยู่ในองค์การได้อย่างมีความสุข

    ReplyDelete
  71. http://www.facebook.com/v/109200912565518

    ReplyDelete