Thursday, 31 May 2012

กสิณ มีอยู่ทั้งหมด 10 กอง

กสิณ มีอยู่ทั้งหมด 10 กองด้วยกัน ดังนี้
1.ปฐวีกสิณ เป็นกสิณเพ่งดิน
2.อาโปกสิณ เป็นกสิณเพ่งน้ำ
3.เตโชกสิณ เป็นกสิณเพ่งไฟ
4.วาโยกสิณ เป็นกสิณเพ่งลม
5.นีลกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเขียว
6.ปีตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเหลือง
7.โลหิตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีแดง
8.โอทากสิณ เป็นกสิณเพ่งสีขาว
9.อาโลกกสิณ เป็นกสิณเพ่งแสงสว่าง
10.อากาสกสิณ เป็นกสิณเพ่งอากาศ

ปฐวีกสิณ กสิณ นี้เป็นการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ปฐวี แปลว่า ดิน กสิณ แปลว่า เพ่ง รวมแล้วหมายถึง เพ่งดิน อุปกรณ์กสิณ ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาด หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปมาได้ ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามมีสีอื่นปน หรือถ้าหาไม่ได้มาก ก็เอาสีอื่นไว้ข้างล่างแล้วเอาสีอรุณวางทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ท่านว่า หาได้จากดินขุยปู เมื่อได้ดินแล้ว ก็ทำสะดึงทำเป็นลานติดพื้นดินมีขนาดเท่ากัน ขนาดดวงกสิณ วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง ท่านให้ไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 คืบ 4 นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า 2 คืบ 4 นิ้ว ตั่งที่ วางวงกสิณ ให้สูงไม่เกิน 2 คืบ 4 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะที่พอดี เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำแต่สีดิน ไม่ต้องคำนึงถึงขอบและริ้วรอย กิจก่อนการเพ่งกสิณ เมื่อจัดอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ชำระล้างร่างกายให้สะอาด นั่งสมาธิ หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) เมื่อพิจารณาโทษของ กามคุณจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ก็ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณ จำให้ดี หลับตากำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ แล้วหลับ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย จนกว่าอารมณ์ของใจจะจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจตลอด เรียกว่า "อุคคหนิมิต" แปลว่า นิมิตติดตา เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตนี้แล้ว ท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตไว้จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต ซึ่งรูปและสี ของกสิณจะเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดคล้ายน้ำที่กลิ้งอยู่ในใบบัว จะกำหนดให้เล็กโต สูงต่ำได้ตามประสงค์ อย่างนี้เรียกว่า "ปฏิภาคนิมิต" และต้องรักษาอารมณ์ให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิ อย่าสนใจอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อย เพราะจะทำให้ สมาธิที่จะเข้าสู่ฌานนี้สลายตัวโดยฉับพลัน จิตเข้าสู่ระดับฌาน เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง 10 มีดังนี้
 ฌานในกสิณท่านเรียกฌาน 4 บ้างก็ฌาน 5 ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้
ฌาน 4 ฌาน 4 ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน
1.ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
2.ทุติยฌานมีองค์
3 คือ ละวิตกและวิจารเสียได้ ยังดำรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา
3.ตติยฌานมีองค์
2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ยังดำรงสุขอยู่ในเอกัคคตา 4.จตุตถฌานมีองค์
2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ฌาน 5
1.ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
2.ทุติยฌานมีองค์ 4 คือละวิตก ยังทรงวิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
3.ตติยฌานมีองค์ 3 คือ ละวิตก วิจาร ยังทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
4.จตุตถฌานมีองค์ 2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ ยังทรงสุขกับเอกัคคตา 5.ฌาน 5 หรือที่เรียกว่า ปัญจมฌาน มีองค์ 2 เหมือนกัน คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ ยังทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพ่ิมอุเบกขาเข้ามาอีก กสิณนี้ถ้าท่านปฏิบัติทำให้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่เจริญในกสิณ เมื่อได้แล้วก็ต้อง ฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่อง เมื่อเข้าฌานคล่องแล้ว ต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจกสิณให้ได้คล่องแคล่ว จึงจะชื่อว่า ได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ ควรย้ายไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น ถ้าชำนาญในการนิรมิต อธิษฐานแล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกัน ต่างกันแต่สี พยายามฝึกฝนจนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน จึงค่อยย้ายกองต่อไป
องค์ฌานในกสิณทั้ง 10 กอง ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ
1.วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมตินั้นเป็นอารมณ์
2.วิจาร พิจารณาปฏิภาค คือ พิจารณาว่ารูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงาม คล้ายแว่นแก้ว บริสุทธิ์สะอาด
3.ปีติ มี 5 ประเภทคือ ?ขุททากาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล
- ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ - โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง บ้างก็โยกไปโยกมา
- อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยได้ไกล
- ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายสูงใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
4.สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
5.เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ทั้ง 5 อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่น ๆ แต่กสิณนี้มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้า สู่จตุตถฌาน หรือปัญจมฌาน ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือจะเว้นจากการภาวนาไปเอง
        การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง เหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาค นิมิตจะสวยวิจิตรมากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขปราณีต ตติยฌาน มีองค์ 2 ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่สุขแบบเครียด ๆ มีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต ลมหายใจอ่อนระรวย ภาพนิมิตดูงามสง่า มีรัศมีผ่องใส อารมณ์ของจิตไม่สนใจกับอาการทางกายเลย จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุขและความทุกข์ใด ๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น ปล่อยวางต่ออารมณ์ มีจิต สว่างคล้ายใครเอาประทีบที่สว่างมากมาวางไว้ ไม่มีอารมณ์รับเสียง ลมหายใจสงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ 4 เป็นฌานสำคัญชั้นยอด เมื่อมี อารมณ์จิตถึงฌาน 4 จะไม่ปรากฎว่ามีลมหายใจ ทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึงฌาน 4 *************************

16 comments:

  1. กสิณ 10
    1.ปฐวีกสิณ เป็นกสิณเพ่งดิน
    2.อาโปกสิณ เป็นกสิณเพ่งน้ำ
    3.เตโชกสิณ เป็นกสิณเพ่งไฟ
    4.วาโยกสิณ เป็นกสิณเพ่งลม
    5.นีลกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเขียว
    6.ปีตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเหลือง
    7.โลหิตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีแดง
    8.โอทากสิณ เป็นกสิณเพ่งสีขาว
    9.อาโลกกสิณ เป็นกสิณเพ่งแสงสว่าง
    10.อากาสกสิณ เป็นกสิณเพ่งอากาศ

    ReplyDelete
  2. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  3. 1. อาโปกสิณ อาโป แปลว่า น้ำ กสิณ แปลว่า เพ่ง อาโปกสิณ แปลว่า เพ่งน้ำ กสิณน้ำ
    วิธีปฏิบัติคือ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนก็ยิ่งดี ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง
    การนั่ง หรือเพ่งมีอากรอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต ซึ่งอุคคหนิมติของอาโปกสิณนี้ จะปรากฎเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฎเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึงตอนนี้แล้วก็เจริญต่อไปให้ถึงจตุถฌาน บทภาวนาที่ใช้ในอาโปกสิณนี้คือ "อาโปกสิณัง"

    2. เตโช แปลว่า ไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชนแล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะ ทำเป็นช่องกว้าง 1 คืบ 4 นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้าง ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น

    การนั่งสูงหรือระยะ เหมือนกับปฐวีกสิณ การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฎตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ ภาวนาว่า "เตโชกสิณัง" หลาย ๆ ครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต ซึ่งปรากฎเป็นดวงเพลิงตามปกติ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทองหรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อได้ถึงขั้นนี้แล้วขอให้พยายามจนถึงจตุตถฌานเถิด

    3. วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิต จะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    กำหนดด้วยการเห็นนั้น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เพ่งเป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
    การถือด้วยการถูกต้องกระทบ ให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้จะใช้พัดลมเป่าแทนก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า "วาโยกสิณัง"
    อุคคหนิมิตของวาโยกสิณ ปรากฎว่ามีการไหว ๆ คล้ายกระไอแห่งการหุงต้ม ที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ คือมีปรากฏการณ์คล้ายตามมองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้ว

    4. ปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหว หรือคล้ายกับก้อนเมฆบางที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอย่างอื่นก็เหมือนกับที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ

    5. นีลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำสะถึงขึงด้วยผ้าหรือหนัง กระดาษก็ได้โดยเอาสีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทุกอย่างเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ เมื่อเพ่งภาวนาว่า "นีลกสิณัง" ไปเรื่อย ๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฎเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง

    6. ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่เป็นสีเหลือง บทภาวนาว่า "ปีตกสิณัง" ไปเรื่อย ๆ นอกนั้นเหมือนที่กล่าวแล้วข้างต้น

    7. โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง จะเพ่งดอกไม้สีแดง หรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ บทภาวนาว่า "โลหิตกสิณัง" นอกนั้นทุกอย่างเหมือนที่กล่าวแล้ว

    8. โอทากสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว โดยจะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้แต่สะดวก หรือจะทำแบบสะดึงโดยใช้สีขาว บทภาวนาคือ "โอทากสิณัง" นอกนั้นก็เหมือนที่กล่าวแล้วเบื้องต้น

    9. อาโลกกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่องหลังคา หรือเจาเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังช่องเท่า 1 คืบ 4 นิ้ว บทภาวนากล่าวว่า "อาโลกกสิณัง" ไปเรื่อย ๆ จนอุคคหนิมิตปรากฏ ซึ่งอุคคหนิมิตของอาโลกกสิณมีรูปเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิม ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับเอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ จากนั้นก็ทำต่อไปจนเข้าถึงจตุตถฌาน

    10. อากาสกสิณ แปลว่า เพ่งอากาศ คำภาวนาว่า "อากาสกสิณัง" ทำเหมือนอาโลกสิณ คือ เจาะเสื่อหรือหนัง หรือจะมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือช่องเสื่อ หนัง โดยกำหนดภาวนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดอุคคหนิมิต เป็นช่องตามรูปที่กำหนด ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่พิเศษตรงบังคับให้ขยายให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ นอกนั้นเหมือนกสิณอื่น ๆ ที่กล่าวไว้

    ReplyDelete
  4. อานุภาพกสิณ 10
    กสิณ 10 ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกให้ชำนาญในกสิณนั้น ๆ ถ้า

    ปฏิบัติถึงฌาน 4 แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่าง ๆ มีดังนี้
    •ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ เช่น นิรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้
    •อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถาน

    มีฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น
    •เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญ หรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำให้แสงสว่างเกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้

    เกิดความร้อนในทุกที่ทุกสถานได้
    •วาโยกสิณ อธิษฐานจิตในตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้
    •นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครื้มได้
    •ปีโตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
    •โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
    •โอทาตกสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฎ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
    •อาโลกกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้สว่างได้ เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง
    •อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดอับด้วยอากาศ ก็สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมี

    อากาศเพียงพอแก่ความต้องการได้

    ReplyDelete
  5. วิธีอธิษฐานฤทธิ์
    วิธีอธิษฐานจิตให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้เข้าฌาน 4 ก่อน แล้วออกจากฌาน 4 แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้า

    ฌาน 4 อีก ออกจากฌาน 4 แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฎสมความปรารถนา

    แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ
    ท่านผู้ฝึกกสิณ ถ้าต้องการให้ได้อภิญญา 6 ก็เจริญไปจนกว่าจะชำนาญทั้ง 10 กอง ถ้าท่านประสงค์ให้ได้รับผลพิเศษเพียงวิชชาสาม ก็เจริญเฉพาะอาโลกกสิณ

    หรือเตโชกสิณ หรือโอทาตกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฝึกทิพยจักษุญาณ แต่ท่านที่ประสงค์จะเข้าสู่พระนิพพานเร็ว ๆ ไม่มีความประสงค์จะได้ญาณพิเศษ

    เพราะเกรงจะล่าช้า ก็ขอให้พิจารณาดังนี้

    เข้าฌานออกฌานพิจารณาขันธ์ 5
    ท่านควรจะให้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 เมื่อได้แล้วก่อนจะพิจารณาวิปัสสนาญาณ ท่านต้องเข้าฌานให้ถึงที่สุดจนอารมณ์จิตเป็นอุเบกขาเงียบสงัดจากกิเลส

    เครื่องเศร้าหมองใจ มีอารมณ์ผ่องใสในกุศลธรรมแล้ว ออกจากฌาน 4 หรือฌาน 5 พิจารณาขันธ์ตามแบบวิปัสสนารวมดังนี้

    พิจารณาว่า ขันธ์ 5 คือ
    •รูป ได้แก่ สภาพที่เห็นได้ด้วยตา
    •เวทนา ความรับอารมณ์ที่เป็นสุขและทุกข์ อารมณ์สุข เรียกว่า สุขเวทนา อารมณ์ทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา อารมณ์ว่างเฉย ๆ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ เรียกว่า อุเบกขา
    •สัญญา แปลว่า ความจำ
    •สังขาร หมายถึงอารมณ์ที่เป็นบุญ คืออารมณ์ผ่องใส ที่เต็มไปด้วยความเมตตาปรานี อารมณ์ที่เป็นบาป คืออารมณ์ขุ่นมัว คิดประทุษร้ายที่เกิดขึ้นแก่ สังขาร
    •วิญญาณ แปลว่า ความรับรู้ เช่น รู้ร้อน หนาว หิว กระหาย เปรี้ยว เค็ม เป็นต้น

    ReplyDelete
  6. อาการทั้ง 5 นี้ เรียกว่า ขันธ์ 5 ซึ่งมีปรากฎประจำร่างกายมนุษย์และสัตว์ ท่านให้พิจารณาว่า ขันธ์ 5 นี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีใน

    เรา เพราะไม่มีความยั่งยืน มีเกิดขึ้นแล้วก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ในที่สุดก็สลายตัวไป มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน ซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมดาที่ไม่มี

    อะไรขัดขวางได้ การเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทั้งทางกายและใจ ใจมีทุกข์เพราะไม่ประสงค์ให้ขันธ์ 5 เสื่อมโทรม กายเป็นทุกข์เพราะได้รับ

    การบีดคั้นจากโรคภัยไข้เจ็บ การแสวงหาอาหารมาหล่อเลี้ยง ความไม่แน่นอนของในสภาพของขันธ์ 5 นี้ รูปนิมิตกสิณก็เ่ช่นกัน ขณะนี้รูปกสิณตั้งอยู่ ความ

    ผ่องใสมีอยู่ แต่ในบางครั้งรูปกสิณก็เศร้าหมอง และรูปกสิณนี้ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดไป ปรากฎขึ้นไม่นานก็สลายตัวไป เอาอะไรเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย

    ปลงไปพิจารณาไป ให้เห็นเหตุเห็นผล ถ้าปลงไปจิตจะซ่าน ก็เข้าฌานในกสิณใหม่ พอใจเป็นอุเบกขาดีแล้ว ก็คลายฌานพิจารณาใหม่ ทำอย่างนี้ ไม่ช้าก็จะเกิด

    นิพพิทาญาณ มีความเบื่อหน่ายในสังขาร แล้วจะปลงความห่วงใยในสังขารเสียได้ มีอารมณ์วางเฉยเมื่อทุกข์เกิดขึ้นแก่สังขาร ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ

    คือวางเฉยในสังขารด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ จากนั้นจิตจะเข้าโคตรภูญาณเป็นจิตอยู่ในระหว่างปุถุชนกับพระโสดาบัน หลังจากนั้นถ้าท่านไม่ประมาท

    พิจารณาสังขารตามที่กล่าวแล้ว โดยเข้าฌานให้มาก ออกจากฌานพิจารณาสังขารเป็นปกติ จิตจะตั้งมั่น ชำแรกกิเลสให้เด็ดขาดไปได้ โดยกำจัดสังโยชน์สาม

    เบื้องต้นสามประการได้ อันเป็นขั้นพระโสดาบันพึงกำจัดได้ คือ
    •สักกายทิฏฐิ คือ ตัดในที่เห็นว่า ร่างกายขันธ์ 5 เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 นี้ออกเสีย
    •วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้น
    •สีลัพพตปรามาส ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด

    ReplyDelete
  7. องค์พระโสดาบัน
    คู่มือในการพิจารณาตัวเอง ขององค์พระโสดาบัน คือ
    1.รักษาศีล 5 เป็นปกติ ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต
    2.เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด แม้จะพูดเล่น ๆ ก็ไม่พูด
    3.มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอื่นนอกจากพระนิพพาน

    พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์ดังที่กล่าวนี้ อาการนี้จะเป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนัก แต่ถ้าอารมณ์ใดในตอนในยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าคิดว่าท่าน

    เป็นพระโสดาบัน จะเป็นผลร้ายกับท่านได้ ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วก็ควรก้าวต่อไป เพราะมรรคเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก

    *************************

    ReplyDelete
  8. เรื่องของกสิณนั้น แม้ว่าจะเป็นกรรมฐานที่หยาบ มีนิมิต มีสัมผัสได้ จับได้ ต้องได้ แต่ว่ามันลำบากด้วย
    *การหานิมิตกสิณ* เพื่อที่จะใช้ในการเพ่งและพิจารณา ธาตุกสิณทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ กสิณทั้งสี่กองนี้เริ่มจาก
    • ปฐวีกสิณ เราก็ต้องหานิมิตกสิณก่อน สมัยโบราณท่านบอกว่าให้ใช้ดินสีอรุณ คือสีเหลืองอมแดง เพื่อนำมาทำเป็นนิมิตกสิณ ต้องเอาดินมาละเลงบนผ้าสดึง แต่ว่าสมัยนี้ของเราถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ดีแต่เนื่องจากว่าสมัยนี้บางทีการหาวัสดุมาทำมันยากอยู่สักนิดหนึ่ง เด็กรุ่นหลังๆ กระทั่งดินสีอรุณหรือดินขุยปูในลักษณะนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรยังไม่รู้จักเลย เราก็ใช้ดินทั่วๆไป อาจจะเอามานวดมาปั้นก็ได้ ปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ขนาดที่เราชอบใจก็ได้ หรือว่าจะปั้นให้เป็นสี่เหลี่ยมก็ได้ หรือว่าจะทำเป็นนิมิตกสิณอย่างของคนโบราณคือละเลงลงบนผ้าที่กว้างเมตรสองคืบสี่นิ้วก็ได้หรือว่าจะปัดกวาดสถานที่ใดที่หนึ่งให้สะอาด มองพื้นดินที่เห็นแล้วจับเป็นนิมิตกสิณก็ได้ สำหรับ
    • ธาตุน้ำ ง่ายสักนิดหนึ่ง เราใช้น้ำใส่ภาชนะ ใส่ขัน ใส่ถังอะไรก็ได้ที่เราจะสามารถนั่งแล้วมองได้ถนัด
    • เรื่องของ ธาตุลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่างๆ แล้วก็นำอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต แต่เนื่องจากว่าบางขณะลมสงัดถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัวเราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมาให้ใช้พัดลมเปิดเบาๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา จับอากาศกระทบเป็นระลอกๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้ หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้วใช้ลมหายเจ้าเข้าลมหายใจออกของเราเป็นนิมิตแทนก็ได้
    • ธาตุไฟ นั้น สมัยก่อนใช้ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นมาแล้วก็เจาะรูที่ผ้านำผ้านั้นขึงอยู่หน้ากองไฟมองเฉพาะไฟที่ผ่านจากรูกลมของผ้าเข้ามา แต่ว่าจริงๆ แล้วจะใช้แบบไหนก็ได้ จุดเทียนขึ้นมาแล้วเพ่งเปลวเทียนก็ได้ หรืออย่างสมัยที่ผมฝึกมันหาเทียนยากมีแต่ตะเกียงน้ำมันผมก็ใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเวลาหุงข้าวก็เอาฟืนทั้งเตาเป็นนิมิตกสิณได้ สมัยโน้นเตาแก๊สยังไม่มี หม้อไฟฟ้ายังไม่มี ถึงเวลาก็ต้องติดไฟหุงข้าวจะเป็นเตาถ่านเตาฟืนอะไรผมก็ใช้นิมิตไฟทั้งเตานั้นเป็นนิมิตกสิณแทน
    คราวนี้กล่าวถึง *อนุภาพของกสิณ* ก่อน ธาตุกสิณทั้งสี่กองนี้มีอนุภาพมาก
    • ปฐวีกสิณ นั้นถ้าหากว่าเราต้องการของอ่อนเป็นของแข็งเมื่อทำได้แล้วก็อธิษฐานได้ตามใจ สามารถเดินขึ้นบนอากาศได้เหมือนกับมีบันไดรองรับ เดินบนน้ำได้เหมือนยังกับว่าพื้นน้ำนั้นแข็งตัวอยู่
    • เรื่องของ อาโปกสิณ กสิณน้ำ สิ่งที่แข็งเราสามารถอธิษฐานให้อ่อนดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามใจของเราชอบ ที่ที่ไม่มีน้ำอดน้ำอยู่สามารถอธิษฐานให้น้ำเกิดที่นั่นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราทำเป็นก็สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้ โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า กสิณไฟ กสิณสีขาว กสิณแสงสว่างคืออาโลกสิณ เป็นพื้นฐานของทิพยจักษุญาณ เรื่องของอาโปกสิณคือกสิณน้ำถ้าหากว่าเรากำหนดใจจดจ่ออยู่กับน้ำในภาชนะนั้นก็เป็นอาโปกสิณ แต่ถ้าเราเพ่งจิตจนถึงก้นของภาชนะน้ำนั้น สามารถทำเป็น ทิพยจักษุญาณ ได้
    • เรื่องของ วาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหนๆ ได้ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่าเหาะไป แต่ว่าความจริงแล้วถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้วเราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริงๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้าๆ อย่างเช่นถ้านั่งอยู่ตรงนี้คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้จะเห็นเราหายไปเฉยๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯอีกทีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วเราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมาก มันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง หรือว่าที่ไหนไม่มีลมมันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลมให้มันเย็นสบายได้
    • เรื่องของ เตโชกสิณ คือกสิณไฟ ถ้าทำได้แล้วเราสามารถอธิษฐานให้ไฟติดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ จะให้ความอบอุ่นจะให้แสงสว่างหรือจะให้เผาผลาญสิ่งใดก็ได้ อำนาจของเตโชกสิณ เราสามารถควบคุมมันได้อย่างที่ต้องการ ถ้าจะเผาแค่เสื้อผ้ารับรองว่าตัวคนไม่มีอันตราย ทั้งๆ ที่ไฟลุกท่วมตัวอยู่อย่างนั้น

    ReplyDelete
  9. คราวนี้ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ยังสามารถใช้ใน การปรับธาตุ เพื่อรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วยได้ เนื่องจากว่าคนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากการที่ธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่อง ถึงมีอาการเจ็บป่วยถ้าเราอธิษฐานให้ธาตุสี่ประสานเสมอกันอาการเจ็บป่วยนั้นก็หาย แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่หน้าที่ของตนจริงๆ อย่าไปฝืนกรรม ทำในลักษณะนั้น เพราะว่าทุกคนต้องสร้างกรรมมาถึงจะเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเราไปฝืนกระแสกรรมโดยการช่วยเหลือผู้อื่นเขา กรรมอันนั้นจะเข้าถึงตัวเราอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราไปฝืนกฏของกรรม อำนาจของอภิญญาที่ได้จากกสิณจะเสื่อม
    ในเมื่อธาตุกสิณทั้งสี่ มีอนุภาพดังนี้ เวลาเรา *ปฏิบัติ* ก็เริ่มจากกองใดกองหนึ่งที่เราชอบ ถ้าจับ ปฐวีกสิณ ก่อนก็ลืมตาดูภาพนิมิตกสิณที่เราทำไว้ หลับตาลงนึกถึงภาพนั้นพร้อมกับคำภาวนาว่า "ปฐวีกสิณนัง ปฐวีกสิณนัง " ถ้าภาพเลือนหายไปลืมตาขึ้นมาดูใหม่แล้วหลับตาลงนึกถึงภาพนั้น ระยะแรกๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราวพอถึงเวลาหลับตาลงไม่ถึงอึดใจภาพก็หายไป ก็ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ ทำดังนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้งกว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ทั้งหลับตาและลืมตา ถ้าใช้ กสิณน้ำ เมื่อใช้ภาชนะบรรจุน้ำวางอยู่ตรงหน้าลืมตามองน้ำในภาชนะนั้น พร้อมกับหลับตาลงนึกถึงภาพของน้ำในภาชนะ ภาวนาว่า "อาโปกสิณนัง อาโปกสิณนัง " ดังนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าการกำหนดใน วาโยกสิณ เมื่ออาการของลมที่กระทบผิวกายเป็นระลอกระลอกอย่างใด ก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า "วาโยกสิณนัง วาโยกสิณนัง " ถ้าหากว่าจับ ภาพไฟ เป็นปกติ ก็ให้จับภาพของดวงเทียน หรือว่ากองไฟนั้นๆ พร้อมกับคำภาวนาว่า "เตโชกสิณนัง เตโชกสิณนัง " คราวนี้เรื่องของ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ ถ้าหากว่าเป็น *อุคหนิมิต* ก็จะเป็นนิมิตตามกองกสิณนั้นๆ คือว่าถ้าเราทำ นิมิตดิน เป็นรูปวงกลม เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างไรที่เราชอบใจก็ตาม ถึงวาระถึงเวลานั้นภาพนั้นก็จะปรากฏ ถ้าเป็น กสิณน้ำ ก็จะปรากฏเป็นวงตามภาชนะนั้นๆ ถ้าเป็น กสิณลม อันนี้จับยากสักนิดหนึ่งเพราะว่าเรามองลมไม่เห็นแต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อยๆ ๆ มันจะเริ่มเห็นขึ้นมา ลักษณะยังกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวเวลาร้อนมากๆ ถ้าหากว่าภาพกสิณนั้นมีความชัดเจนขึ้น ก็จะเหมือนกับไอน้ำที่เราต้มน้ำหรือว่าหุงข้าวแล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระลอก ระลอก อยู่อย่างนั้น ถ้าหากว่าเป็น กสิณไฟ ก็จะมีนิมิต ตามลักษณะของดวงกสิณที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเพ่งอยู่ ถ้าหากว่าเราเพ่งเปลวเทียนนิมิตก็จะเป็นดวงเทียนในลักษณะเปลวไฟลอยตั้งอยู่เฉยๆ ถ้าเราเพ่งภาพของกองไฟก็จะเห็นไฟทั้งกองนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าของเรา แต่ว่ามีอยู่จุดหนึ่งที่ว่าถ้าหากว่าบางท่านมีความคล่องตัวมาก่อนมันจะไม่เห็นเป็นเปลวไฟในลักษณะของดวงกสิณที่เราเพ่งแต่มันจะเห็นในลักษณะเหมือนยังกับ ตาลปัตรทองคำ คือมันจะพุ่งขึ้นไปแล้วแตกกระจายเป็นแฉกๆ อยู่ทางด้านบนซึ่งอันนี้ผมเจอมาด้วยตัวเอง เมื่อลักษณะของ อุคหนิมิต นี้ปรากฏขึ้น เราต้อง เพิ่มความระมัดระวัง เพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่งเอากำลังใจส่วนหนึ่งจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ พร้อมกับคำภาวนาเสมอ พอทำไปๆ สีสันของกสิณนั้นก็จะ อ่ อ น ล ง.. จ า ง ล ง ..จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อย ใ ส ขึ้ น ๆ ส ว่ า ง ขึ้ น จนกระทั่ง ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เหมือนยังกับเอากระจกสะท้อนไฟใส่ตา

    ReplyDelete
  10. แต่ว่ามันมีนิมิตกสิณอยู่สองกองคือ อาโปกสิณ กสิณน้ำ กับ เตโชกสิณ กสิณไฟ นิมิตทั้งสองกองนี้ถ้าเป็น ปฏิภาคนิมิต แล้วเมื่อเราอธิษฐานให้ใหญ่ให้เล็กให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวแล้ว บางทีอยู่ๆ จะเห็นกระแสน้ำไหลมาท่วมทุกทิศทุกทาง อันนั้นอย่าได้ตกใจ หรืออยู่ๆ เห็นเป็นไฟลุกไหม้พรวดพราดขึ้นมา บางทีไหม้ไปทั้งอาคารทั้งหลังอันนั้นก็อย่าไปตกใจ ไม่ว่าจะน้ำมาทุกทิศทุกทางหรือไฟลุกท่วมไปทั้งอาคารก็ตาม โปรดทราบว่าอันนั้นเป็นแค่นิมิตกสิณเฉยๆ เราสามารถที่จะควบคุมมันได้สบายมาก เราอธิษฐานให้ไฟลุกท่วมทั้งโบสถ์นี้ โบสถ์นี้ก็จะไม่มีอันตรายถ้าเราไม่ต้องการให้ไหม้ ให้น้ำท่วมมาทุกทิศทุกทางก็จริง แต่ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการให้มีอันตรายจากน้ำนั้น น้ำนั้นก็ทำอันตรายใครไม่ได้ มีหลายท่านที่ทำกสิณดังนี้แล้วพอนิมิตพวกนี้เกิดขึ้นแล้วตกใจกลัว วิ่งหนีก็ดีหรือว่าตื่นตกใจเรียกให้คนช่วยก็ดีในลักษณะนั้นเป็นการขาดสติ บางทีความตกใจมากทำป้ำๆ เป๋อๆ ทำกรรมฐานต่อไม่ได้เลยก็มี ดังนั้นขอให้เราทุกคนโปรดเข้าใจว่า ถ้านิมิตกสิณเหล่านี้เกิดขึ้น เราเป็นผู้ทำให้มันเกิด ต้องการให้มันมามันก็มา ต้องการให้มันหายไปมันก็หายไปเดี๋ยวนั้น มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถควบคุมมันได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปตกใจ ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวใดๆ ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้ เมื่อเป็น*ปฏิภาคนิมิต* แล้ว เราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดูคือ จับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่ กำหนดอธิษฐานให้หาย ให้มา จนคล่องตัวมั่นใจ
    แล้วถ้าหากว่าเป็น ปฐวีกสิณ ก็ลองนำน้ำมาสักขันหนึ่ง อธิษฐานว่า "ขอให้น้ำนี้จงแข็งเหมือนดิน" แล้วเสร็จแล้วคลายกำลังใจออกมาเข้าฌานเต็มระดับ คือจับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อคลายใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ แล้วอธิษฐานขอให้น้ำนี้แข็งตัวใหม่ น้ำนั้นจะแข็งเป็นดิน คือลักษณะแข็งเหมือนกับหินไปทั้งขัน สมัยที่อยู่วัดท่าซุงเด็กๆ นักเรียนทำได้แล้วก็แกล้งเพื่อนตัวเองลักษณะนี้ พอเข้าส้วมก็รอจังหวะพอเพื่อนจะตักน้ำล้างส้วมก็อธิษฐานให้น้ำมันแข็งเพื่อนตักน้ำไม่ได้ตัวเองก็ชอบใจไปหัวเราะเยาะเพื่อนได้ พยายามทำให้อยู่ในลักษณะที่เรียกว่ามีความชำนาญ นึกเมื่อไหร่น้ำก็แข็งเมื่อนั้น คราวนี้จะลองหัดเดินน้ำดูก็ได้แต่ว่าถ้าหัดเดินน้ำให้ อธิษฐานว่า "ให้น้ำทุกจุดที่เราเหยียบลงไปมีความแข็งและหนาแน่นเหมือนกับดิน" อย่าไปอธิษฐานให้น้ำทั้งหมดแข็งเพราะว่าจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นเขา ถ้าอธิ๋ษฐานผิดในลักษณะนั้นผลของกสิณจะไม่เกิด

    ReplyDelete
  11. ถ้าหากว่าเป็น กสิณน้ำ ก็ลองอธิษฐาน ของแข็งให้อ่อน ดู อาจจะน้ำไม้สักอันหนึ่ง เหล็กสักท่อนหนึ่งมาวางตรงหน้า เข้าสมาธิเต็มที่ จนภาพกสิณ ใ ส ... เ จิ ด จ้ า แล้วอธิษฐานขอให้ไม้หรือเหล็กนั้นอ่อนลง คลายกำลังใจลงมาเข้าสู่ภาวะฌานสมาบัติให้เห็นดวงกสิณ ใ ส เ จิ ด จ้ า แบบนั้นเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง พอลดกำลังใจลงมา อธิษฐานขอให้มันอ่อนตัวลง พอเข้าฌานใหม่ สิ่งนั้นก็จะอ่อนตัวลง จับบิดดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามที่เราต้องการ ถ้าหากว่าเป็น กสิณลม ก็เอาระยะใกล้ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็นเพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นว่าเราอธิษฐานว่า "จะไปในดงไผ่นั้น" เวลาเข้าสมาธิเต็มที่ อธิษฐานแล้วคลายกำลังใจออกมา อธิษฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่ ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้นๆ ถ้าเป็น กสิณไฟ ก็แอบๆ จุดไฟเล่นของเราก็ได้ จุดเทียนในกุฏิของเราตั้งใจอธิษฐาน "ขอให้ไฟมันติด " มันก็จะติดขึ้นมา ทำให้มีความคล่องตัวแบบนี้ทุกวัน ซ้อมทำอยู่เรื่อยๆ ทุกบ่อย ความจริงเรื่องของกสิณนั้น ถ้าเราทำกองใดกองหนึ่งได้แล้วกสิณที่เหลือก็เหมือนๆ กัน คำว่าเหมือนกันก็คือว่าใช้ลักษณะของนิมิตด้วยกำลังเท่าเดิมใช้กำลังของสมาธิเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนนิมิตเปลี่ยนคำภาวนาเล็กน้อยเท่านั้น กสิณกองต่อไปคือ อาโลกสิณ เป็นการจับแสงสว่าง สมัยก่อนเขาดูแสงสว่างที่ลอดฝา ลอดตามช่องเข้ามา ลอดตามหลังคาเข้ามา แต่ว่าสมัยนี้มีลูกแก้วใช้ลูกแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ หรือว่าใช้พระแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ อาโลกสิณนั้นเป็นกสิณสร้าง ทิพยจักษญาณ โดยตรง ใครทำอาโลกสิณได้สามารถมีทิพยจักษุญาณเห็นนรก สวรรค์ พรมหม นิพพานได้ง่ายๆ ขณะเดียวกันถ้าที่ใดมันมืดมิดต้องการจะให้สว่างมันก็สว่างตามที่เราต้องการได้ เวลาจับภาพนิมิตกสิณพร้อมกับคำภาวนา ก็ใช้คำว่า "อาโลกสิณนัง อาโลกสิณนัง" ส่วนกสิณกองต่อไปคือ อากาศกสิณ อันนี้ให้จับช่องว่างเป็นช่องใดช่องหนึ่งตามข้างฝาก็ได้ตามหลังคาก็ได้เป็นตัวนิมิต ตั้งใจภาวนาว่า "อากาศกสิณนัง อากาศกสิณนัง " ดังนี้ไปเรื่อยๆ เรื่องของอากาศกสิณนี้มีอนุภาพตรงที่ว่าสถานที่ใดมันจะทึบมันจะตันขนาดไหนก็ตามประตูหน้าต่างที่เขาล็อคไว้ขนาดไหนก็ตามถ้าเราต้องการจะผ่านไป ถึงเวลาอธิษฐานให้ตรงนั้นเป็นช่องว่างเราก็สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ ลักษณะของการดำดินหรือว่ามุดภูเขาไปทั้งลูกก็ใช้กำลังของอากาศกสิณนี้เอง ส่วน อาโลกสิณ นั้นเป็นกสิณเกี่ยวกับ ทิพยจักษุญาณโดยตรง ถึงเวลาอธิษฐานขอให้ภาพกสิณหายไปขอให้ภาพนรก เปรต อสุรกายปรากฏขึ้น ขอให้ภาพเทวดา พรมหม หรือพระนิพพานปรากฏขึ้น เราก็สามารถที่จะทำได้ง่าย

    คราวนี้ *กสิณทั้งหมดนั้นถ้าเราทำแค่นั้นมันเป็นโลกียอภิญญา*ไม่สามารถจะหลุดพ้น ก็ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยงของมันไม่ว่าจะดิน จะน้ำ จะลม จะไฟมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายตัวไปเช่นกัน ดวงกสิณทุกอย่างแรกๆ มันก็ไม่สามารถตั้งมั่นทรงตัวอยู่ได้ ถึงเวลาเป็นอุคหนิมิตทรงตัวก็แสดงว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติ แล้วถึงเวลาสามารถบังคับมันให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้เดี๋ยวก็ใหญ่เดี๋ยวก็เล็กความไม่เที่ยงของมันมีอยู่เป็นปกติ ตัวเราเองที่ทำกสิณอยู่กว่าจะทำได้แต่ละทีลำบากยากเย็นแสนเข็นขนาดต้องนั่งเมื่อยอยู่เป็นวันๆ จับภาพกสิณให้เป็นอุคนิมิตไม่ได้เลย

    ReplyDelete
  12. กสิณ 10 ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน 4 แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ กล่าวกันว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ

    ReplyDelete
  13. กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก
    พวกที่หนึ่ง คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6 แต่ต้องดูให้เหมาะกับจริตนิสัย ของแต่ละคน เช่น คนมีโทสะจริต ไม่ควรฝึกกสินไฟ เพราะจะไปเสริมธาตุไฟในตัว ทำให้ยิ่งมีโทสะมากขึ้น(ยิ่งทำให้หงุดหงิดง่าย)
    ปฐวีกสิณ (ธาตุดิน/ของแข็ง ไม่ใช่เฉพาะดิน) จิตเพ่งดิน โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดิน หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปฐวี" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง" เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณ์ธรรมเสียได้โดยลำดับ กิเลศก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะกล้าขึ้น จิตนั้นก็ชื่อว่าตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ เมื่อทำได้สำเร็จปฐมฌานแล้ว ก็พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้นให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌานสืบต่อไปได้
    เตโชกสิณ (ธาตุไฟ ธาตุร้อน) จิตเพ่งไฟ คือการเพ่งเปลวไฟ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นไฟ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "เตโช" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    วาโยกสิณ (ธาตุลม) จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นลม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "วาโย" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    อากาสกสิณ (ช่องว่าง) จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ คือการเพ่งช่องว่าง โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นช่องว่าง เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อากาศ" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง วิธีเจริญอาโลกกสิณให้ผู้ปฏิบัติยึดโดยทำความรู้สึกถึงความสว่าง ไม่ใช่เพ่งที่สีของแสงนั้น เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโลก" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง"
    อาโปกสิณ (ธาตุน้ำ/ของเหลว) จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ คือการเพ่งน้ำ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นน้ำ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโป" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง" ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 กสิณอื่น ๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด
    พวกที่สองคือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสจริต
    โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณัง
    นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณัง
    ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณัง
    โอทาตกสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตานึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณัง จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน
    ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขาอยู่กับภาพกสิณต่าง ๆ ที่จิตจับเอาไว้ เป็นเอกคดารมย์

    ReplyDelete
  14. อำนาจฤทธิ์ในกสิณทางพระพุทธศาสนา
    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น เนรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมาก ๆ ได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้ สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้กำลังการในเดินทาง
    อาโปกสิณ สามารถเนรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ขาดแคลนฝน ให้เกิดมีฝนอย่างนี้เป็นต้น
    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้ เมื่ออากาศหนาว สามารถทำให้เกิดความอบอุ่นได้
    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
    ปีตกสิณ สามารถเนรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
    โลหิตกสิณ สามารถเนรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
    โอทากสิณ สามารถเนรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
    อาโลกสิณ เนรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง
    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้

    ReplyDelete
  15. วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการท่านให้ทำดังต่อไปนี้

    ท่านให้เข้าฌาน 4 ก่อน
    แล้วออกจากฌาน 4
    แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น
    แล้วกลับเข้าฌาน 4 อีก
    ออกจากฌาน 4
    แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา

    ReplyDelete
  16. กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย

    ReplyDelete