คำนำพระราชพงษาวดารกรุงเก่า
ฉบับหลวงประเสริฐ
พระราชพงษาวดารฉบับนี้ เดิมพระปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) แต่ยังเปนหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปพบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่ง ๑ จึงขอมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ กรรมการหอพระสมุดเห็นเปนหนังสือพระราชพงษาวดารแปลกจากฉบับอื่น ๆ ที่มีแล้ว จึงให้เรียกชื่อว่า "พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" ให้เปนเกียรติยศแก่ผู้พบ แลพามาให้หอพระสมุด
หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับนี้มีบานแพนกว่าเป็นหนังสือฉบับหลวง สมเด็จพระนารายน์มหาราชมีรับสั่งให้แต่งขึ้น เมื่อวัน๔๕ค่ำปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๐๔๒ กล่าวเนื้อความตั้งต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนันเชิง เมื่อจุลศักราช ๖๘๖ จะจบเพียงไหนทราบไม่ได้ ด้วยต้นฉบับที่หอพระสมุดได้มาได้แต่เล่ม ๑ เล่มเดียว ความค้างอยู่เพียงปีมโรงฉศก จุลศักราช ๙๖๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อเตรียมทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ คเนดูเห็นจะมีเล่ม ๒ อิกเล่มเดียวความจะมาจบเพียงแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองเปนอย่างมาก สมุดต้นฉบับที่ได้มา เปนสมุดดำเขียนด้วยตัวรง ฝีมือเขียนครั้งกรุงเก่า มีรอยถูกฝนชื้น ตัวหนังสือลบเลือนอยู่หลายแห่ง แต่โดยมากมีรอยพอเห็นตรงลบเลือนได้ กรรมการหอพระสมุดได้ให้พิมพ์พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ใน ร.ศ. ๑๖๖ ปีที่ได้มานั้นเปนครั้งแรก ครั้นปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้ หอพระสมุดได้หนังสือพระราชพงษาวดารความเดียวกับหลวงประเสริฐมาอิกฉบับหนึ่ง ๒ เล่มสมุดไทย เปนฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเขียนเมื่อปีมเมียฉศก พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเหตุให้ยินดี คาดว่าจะได้เรื่องราวพระราชพงษาวดารฉบับนี้จนจบ แต่ครั้นเอาหนังสือ ๒ ฉบับสอบกันเข้า ได้ความปรากฎว่า ฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเปนฉบับลอกจากเล่มของหลวงประเสริฐอักษรนิตินี้เอง เพราะที่สุดไปค้างเขินอยู่ตรงคำต่อคำ เหมือนกับฉบับหลวงประเสริฐ เปนอันได้ความว่า พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐนี้มีเพียงเท่าที่ได้มาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว จึงสิ้นหวังที่จะหาเรื่องต่อได้อิกต่อไป แต่ที่ได้ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีมามีประโยชน์อยู่อย่าง๑ ที่ได้ความซึ่งลบเลือนในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติบริบูรณ์
พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเปนอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ จึงเปนหลักแก่การสอบหนังสือพงษาวดารได้เรื่องหนึ่ง
เนื้อหา
หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับนี้มีบานแพนกว่าเป็นหนังสือฉบับหลวง สมเด็จพระนารายน์มหาราชมีรับสั่งให้แต่งขึ้น เมื่อวัน๔๕ค่ำปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๐๔๒ กล่าวเนื้อความตั้งต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนันเชิง เมื่อจุลศักราช ๖๘๖ จะจบเพียงไหนทราบไม่ได้ ด้วยต้นฉบับที่หอพระสมุดได้มาได้แต่เล่ม ๑ เล่มเดียว ความค้างอยู่เพียงปีมโรงฉศก จุลศักราช ๙๖๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อเตรียมทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ คเนดูเห็นจะมีเล่ม ๒ อิกเล่มเดียวความจะมาจบเพียงแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองเปนอย่างมาก สมุดต้นฉบับที่ได้มา เปนสมุดดำเขียนด้วยตัวรง ฝีมือเขียนครั้งกรุงเก่า มีรอยถูกฝนชื้น ตัวหนังสือลบเลือนอยู่หลายแห่ง แต่โดยมากมีรอยพอเห็นตรงลบเลือนได้ กรรมการหอพระสมุดได้ให้พิมพ์พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ใน ร.ศ. ๑๖๖ ปีที่ได้มานั้นเปนครั้งแรก ครั้นปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้ หอพระสมุดได้หนังสือพระราชพงษาวดารความเดียวกับหลวงประเสริฐมาอิกฉบับหนึ่ง ๒ เล่มสมุดไทย เปนฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเขียนเมื่อปีมเมียฉศก พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเหตุให้ยินดี คาดว่าจะได้เรื่องราวพระราชพงษาวดารฉบับนี้จนจบ แต่ครั้นเอาหนังสือ ๒ ฉบับสอบกันเข้า ได้ความปรากฎว่า ฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเปนฉบับลอกจากเล่มของหลวงประเสริฐอักษรนิตินี้เอง เพราะที่สุดไปค้างเขินอยู่ตรงคำต่อคำ เหมือนกับฉบับหลวงประเสริฐ เปนอันได้ความว่า พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐนี้มีเพียงเท่าที่ได้มาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว จึงสิ้นหวังที่จะหาเรื่องต่อได้อิกต่อไป แต่ที่ได้ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีมามีประโยชน์อยู่อย่าง๑ ที่ได้ความซึ่งลบเลือนในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติบริบูรณ์
พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเปนอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ จึงเปนหลักแก่การสอบหนังสือพงษาวดารได้เรื่องหนึ่ง
เนื้อหา
ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศกวอก นัก (ษัตร ณ วน พุธ) ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ (พ.ศ. ๒๒๒๓) ทรงพระ (กรุณาโปรด) เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอกกฎหมายเหตุของพระ โ(หราเขียน) ไว้แต่ก่อนและกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ และเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้
จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง
ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน (เสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕) เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา