Thursday, 31 May 2012
อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง”
อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึงนึกถึง มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มี
สมาธิถึงปฐมฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน 4 และฌาน 5 กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ อนุสสติทั้ง 10 อย่างนี้ เหมาะแก่อารมณ์ของนัก
ปฎิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่าน
ที่หนักไปในราคจริต กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริต อนุสสตินี้มีชื่อและอาการรวม 10 อย่างด้วยกัน จะนำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้
เพื่อทราบ ดังต่อไปนี้
1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
2.ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์
3. สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
4. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
5. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
6. เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
(อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
7. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
8.อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์
(อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
9. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
10.อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต
อนุสสติทั้ง 10 นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฎิบัติแต่ละอย่างดังนี้
กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10
กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้
พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง 7 นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ
ลีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึงปฐมฌานได้ ทั้งนี้ถ้าท่านนักปฎิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้้ แต่
ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียงปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฎิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอา
สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฎในอารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 4
ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น
อานาปานุสสติ สำหรับอานาปานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มาวาสนาบารมีสาวกภูมิ สำหรับท่านที่มีบารมี คือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็
สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 5 ฌาน 4
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 พุทธานุสสติกรรมฐาน
ReplyDeleteกรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้น
ผู้นั้นที่สอนไว้้โดยจำกัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมาย แล้วแต่บางท่านจะระลึกโดยใช้ว่า "พุทโธ" หรือ "สัมมาอรหัง" "อิติสุคโต" ต่าง ๆ ดังนี้เป็นต้น แล้วแต่ท่านจะถนัดหรือสะดวก ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
•ท่านตัดวิชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่านหมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ยั่งยืน ท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรมีเกิด แล้วก็มีเสื่อม และในที่สุดก็ต้องทำลาย ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ถืออะไร มีก็ใช้ ไม่มีก็ไม่มีทุกข์ ตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลก ไม่มีเยื่อใยแม้แต่สังขารของท่าน พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆ ทำอารมณ์ให้ผ่องใสในพระพุทธคุณมากขึ้น จะเป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้
2. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่าพระองค์ทรงรู้อริยสัจ 4 คือ รู้ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ รู้สมุทัยคือเหตุให้
ReplyDeleteเกิดทุกข์ ได้แก่่ ตัณหา 3 ประการ คือ
1.กามตัณหา อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากให้มีีขึ้น
2. ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้เปล่ียนแปลง
3.วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่ต้องสลายตัวนั้น ที่ี่เป็นตามกฎธรรมดา มีความปรารถนาไม่ให้กฎธรรมดาเกิดขึ้น คือไม่อยากให้สลายและไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตายนั้น ความรู้สึกอย่างนี้เป็นความรู้สึกทฝืนกฎธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์
ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฎิทาที่ปฎิบัติให้เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรค คือข้อ
ReplyDeleteปฎิบัติ 8 ประการดังต่อไปนี้
1.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
2.สัมมาสังกับโป ความดำริชอบ
3.สัมมาวาจา เจรจาชอบ
4.สัมมากัมมันโต มีการงานชอบ
5.สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ
6.สัมมาวายาโม ความพยายามชอบ
7.สัมมาสติ ระลึกชอบ
8.สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
ในมรรค คือข้อปฎิบัติที่จะเข้าถึงดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ ย่อลงเหลือสามคือ
•ศีล การรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ตามขอบเขตของสิกขาบท
•สมาธิ การดำรงความตั้งมั่นของจิตที่ไม่เป็นเวรเป็นภัยต่อสังคม คือดำรงฌานไว้ด้วยดี เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ
•ปัญญา ได้แก่การเจริญวิปัสสนาญาณจนรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดาไม่มีอารมณ์คิดที่จะฝืนกฎธรรมดานั้น
3. วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ ทรงมีความรู้รอบและความประพฤติครบถ้วน
วิชชา แปลว่า ความรู้ หมายถึงรู้ในวิชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ
1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติที่ล่วงแล้วมาอย่างได้อย่างไม่จำกัด ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้อย่างเยี่ยม
2.จุตุปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ความเกิดและความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นป ระการใด เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุขความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ
3.อาสวักขยญาณ ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป
จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วนยอดเยี่ยม ความประพฤติที่มี 15 ข้อด้วยกัน คือ
ReplyDelete1.สีลสัมปทา พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยศีล คือทรงปฎิบัติในศีลไม่บกพร่อง
2.อินทรีสังวร ทรงระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ
3.โภชเนมัตตัญญุตา ทรงรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
4.ชาคริยานุโยค ทรงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ คือ มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนบริบูรณ์
5.สัทธา ทรงมีความเชื่อมั่นในผลการปฎิบัติ ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย
6.หิริ ทรงมีความละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล
7.โอตตัปปะ ทรงเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล
8.พาพุสัจจะ ทรงสั่งสมวิชาการต่าง ๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี
9.วิริยะ ทรงมีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
10.สติ ทรงมีสติสมบูรณ์
11.ปัญญา มีปัญญารอบรู้ในวิทยาการทุกแขนง และทรงรู้แจ้งในอริสัจโดยที่มิได้ศึกษาจากผู้ใดมากาลก่อน ทรงค้นคว้าพบด้วยพระองค์เอง
12.ปฐมฌาน ทรงฝึกฌาน จนได้ปฐมฌาน
13.ทุติยฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนได้ฌานที่สอง
14.ตติยฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนได้ฌานที่สาม
15.จตุถฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนทรงฌานที่ 4 ไว้ได้ด้วยดีเป็นพิเศษ
ทั้งหมดนี้ จัดเป็นจริยา คือความประพฤติของพระองค์ อันเป็นแบบอย่างที่บรรดาพุทธสาวกจะพึงปฏิบัติตามให้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพื่อผลในการปฎิบัติเพื่อมรรคผล เพราะพระองค์ทรงมีความประพฤติอย่างนี้ จึงทรงบรรลุมรรคผล หากพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระองค์ปฎิบัติตาม ก็มีหวังได้บรรลุมรรคผลในชาติปัจจุบัน
4. สุคโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใดพระองค์นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้
ReplyDeleteไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฎิบัติ
5. โลกวิทูแปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกยมโลก คือโลกแห่งการทรมาน ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และพระนิพพาน อันเป็นแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฎิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้น ๆ
6. อนุตตโร ปุรสทัมมมสารถิ แปลว่า เป็นายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใดมีความสามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฎิบัติพระองค์ทรงมีญาณพิเศษที่เรียกว่า เจโตปริญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไรจึงจะได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วยพระญาณนั้นจึงทีความสามารถฝึกฝนได้ดีเป็นพิเศษ
7. สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสอนแต่มนุษย์เท่านั้น แม้เทวดาและพรหม พระองค์ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ท่านอาจไม่สงสัยแต่การสอนเทวดานั้นท่านอาจจะแปลกใจ ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่า พระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหมเป็นปกติเกือบทุกวัน เช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน
8. พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ความหมายถึงคำว่าพุทโธ คือพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลานั้นเอง
9. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใคร ๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทันอวิชชา คือความโง่เขลา ความโง่ไม่สามารถครอบงำพระองค์ได้ โดยอาศัยพระองค์ค้นพบอริยสัจ 4 จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชา คือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาดหลักแหลม ไม่ทำให้ พระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลสและตัณหาต่อไป พระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยมไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน
พระพุทธคุณทั้ง 9 ประการนี้ จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน คือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้า เพื่อพระโยคาวจร คือท่านนักปฎิบัตพระกรรมฐานได้คำนึงนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ตามนี้ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าในลักษณะอื่น แต่เป็นไปตามแบบพระพุทธจริยาแล้วจนจิตมีความเคยชิน ระงับนิวรณ์ธรรมห้าประการเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิแล้วเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านว่าท่านผู้นั้นสามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ เพราะอาศัยความเลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง คือจะสำเร็จมรรคผลได้
อนุสสติ ๑๐
ReplyDeleteอนุสสติ แปลว่า "ตามระลึกถึง" กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง
มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน
บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน ๔ และฌาน ๕ กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ เมื่อถึง
กรรมฐานหมวดใดมีกำลังเท่าใด จะได้เขียนไว้เพื่อทราบ อนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ก็เหมาะแก่อารมณ์
ของนักปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกัน บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวด
ก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปใน ราคจริตกองใด
หมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริตใด ก็จะได้เขียนบอกไว้เพื่อทราบเมื่อถึงกองนั้น ๆ อนุสสตินี้
มีชื่อและอาการรวม ๑๐ อย่างด้วยกัน จะได้นำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
๖. เทวานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
(อนุสสติทั้ง ๖ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
๗. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๘. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
(อนุสสติ ๒ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
๙. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
๑๐. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและวิตกจริต
อนุสสติทั้ง ๑๐ นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฏิบัติแต่ละอย่างดังนี้ ขอท่านนักปฏิบัติ
พึงทราบ และเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยของตน จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ตั้งมั่น
รวดเร็ว ไม่ล่าช้า
กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง ๑๐
กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง ๑๐ มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้
พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติ
ทั้ง ๗ นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ
สีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษถึงปฐมฌาน ทั้งนี้ถ้าท่าน
นักปฏิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้ แต่ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้
เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียง
ปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฏิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอาสีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฏใน
อารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ ท่านว่า กรรมฐานกองนี้
ก็สามารถทรงสมาธิได้ถึงฌาน ๔ ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น
อานาปานานุสสติ สำหรับอานาปานานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน ๔ สำหรับท่านที่มีวาสนาบารมีสาวกภูมิ สำหรับท่านที่มีบารมีคือปรารถนาพุทธภูมิแล้ว ก็สามารถทรงสมาธิได้ถึงฌาน ๕ ฌาน ๔ หรือ ฌาน ๕ มีอาการแตกต่างกันอย่างไรต้องการทราบโปรดพลิกดูตอนต้นที่ว่าด้วยฌาน เมื่อท่านทราบกำลังสมาธิและความเหมาะสมแก่จริตของบรรดาอนุสสติ ทั้งหมดนี้แล้ว ต่อแต่นี้ไป จะได้อธิบายอนุสสติเป็นกอง ๆ ไป เพื่อความเข้าใจพอสมควร เพราะการอธิบายนี้อาจไม่ละเอียดเท่าแบบ คือ วิสุทธิมรรคในบางตอนที่ควรย่อก็จะย่อลงให้สั้น บางตอนควรขยายก็จะขยายให้ยาวออกไป เพื่อความเข้าใจของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ หากตอนใดย่อสั้นเกินไปท่านไม่เข้าใจแล้ว ถ้าประสงค์จะให้เข้าใจชัด โปรดหาหนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่าน จะได้รับความรู้เพิ่มเติมครบถ้วนบริบูรณ์
ReplyDelete๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน
กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่า จะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นี้ที่สอนไว้โดยจำกัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายจะพรรณนาอย่างไรให้จบสิ้นนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ และถ้าจะมีใครมาวางแบบวางแผนว่า การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้านั้น ต้องจำกัดลงไปว่า ระลึกอย่างนั้นอย่างนี้จึงจะถูกต้องตามที่ปรากฏในปัจจุบันมีมาก
ระลึกตามแบบ
ระลึกตามแบบ หมายความท่านผู้ใดจะนั่งนอนระลึกนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า โดยยกเอาพระคุณของพระองค์มาระลึกถึง เช่น ระลึกถึงพระคุณสามประการ คือ
๑. ระลึกถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ ที่ทรงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด ไม่มีความชั่วเหลืออยู่ในพระกมลสันดาน พระองค์ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ เป็นความดีที่เราควรปฏิบัติตาม
๒. ระลึกถึงพระปัญญาอันเฉียบแหลมเฉลียวฉลาดของพระองค์ ด้วยพระองค์มีความรู้ความฉลาดยอดเยี่ยมกว่าเทวดา พรหม และมนุษย์ทั้งหลายเพราะนอกจากจะทรงรู้ในหลักวิชาการต่างๆ ตามความนิยมของปกติชนแล้ว พระองค์ยังทรงรู้ที่มาของความทุกข์ และรู้การปฏิบัติเพื่อทำลายต้นตอของความทุกข์นั้น ๆ ได้แก่ทรงรู้ในอริยสัจ ๔
๓. ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คือพระองค์เมื่อทรงเป็นผู้รู้เลิศแล้ว พระองค์มิได้ปกปิดความรู้นั้นเพื่อพระองค์เองโดยเฉพาะ พระองค์นำความรู้มาสั่งสอนแก่หมู่มวลชนอย่างเปิดเผยไม่ปกปิดความรู้แม้แต่น้อย พระองค์ทรงทรมานพระวรกาย เพราะสั่งสอนพุทธเวไนยให้เกิดความรู้ความฉลาด เพื่อกำจัดเหตุชั่วร้ายที่ฝังอยู่ในสันดานมานาน มีสภาพคล้ายผีสิง เหตุชั่วร้ายนั้นก็คือ
ก. ความโลภ อยากได้สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
ข. ความพยาบาท คือความโหดร้ายที่ฝังอยู่ในจิตใจ คิดที่จะประหัตประหารทำอันตรายผู้อื่นให้ได้รับความ พินาศ
ค. ความโง่เขลา ที่คอยกระตุ้นเตือนใจให้ลุ่มหลงในสรรพวัตถุจนเกินพอดี คือคิดปลูกฝังใจในวัตถุ โดยไม่คิดว่าของนั้นจะต้องเก่า จะต้องพังไปในสภาพ
พระองค์ทรงพระกรุณาสอนให้รู้ทั่วกันว่า การมุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนนั้นเป็นความเลวร้ายที่ควรจะละ เพราะเป็นเหตุของการสร้างศัตรู การคิดประทุษร้ายด้วยอำนาจโทสะเป็นเหตุบั่นทอนความสุขส่วนตน เพราะผู้คิดนั้นเกิดความทุกข์ตั้งแต่เริ่มคิด คือกินไม่อิ่มนอนไม่หลับ
ทำให้สุขภาพของตนเสื่อมโทรมยังไม่ทันทำอันตรายเขา ผู้คิดก็ค่อย ๆ ตายลงไปทีละน้อย ๆ แล้วเพราะเหตุที่กินน้อยนอนน้อย การหลงในทรัพย์เกินไป ที่ไม่คิดว่ามันจะต้องเก่า ต้องทำลายตามสภาพเป็นเหตุให้เกิดความคับแค้น คือเสียใจ เศร้าใจ ทำให้ชีวิตไม่สดใส สดชื่น มีความเศร้าหมอง มีทุกข์ประจำใจเป็นปกติ
ทางแก้ไข
ReplyDelete๑. ความโลภอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน พระองค์ทรงสอนให้รู้จักการให้ทานเป็นการแก้ความรู้สึกเดิม เพราะทานเป็นการสละออก มีอาการตรงข้ามกับการคิดอยากได้ผลทานนี้ก็มีผลเป็นเครื่องบันดาลความสุขในปัจจุบัน เพราะผู้รับทานย่อมมีความรักและเคารพในผู้ให้ทาน การให้ทานเป็นการสร้างมิตร ตรงกันข้ามกับการคิดอยากได้ดังผู้อื่น เป็นเหตุของความทุกข์เป็นเหตุของการสร้างศัตรู
๒. พยาบาท ท่านสอนให้รักษาศีลเป็นเครื่องบั่นทอนกำลังพยาบาท เพราะมาจากโทสะความคิดประทุษร้ายเป็นสมุฏฐาน สำหรับการรักษาศีลนั้น มีเมตตา ความแสดงออกถึงความรักความสงสารเป็นเป็นสมุฏฐาน เมื่อรักษาศีลก็ต้องมีเมตตา กรุณา ถ้าเมตตากรุณา ไม่มีแล้ว ศีลก็
ทรงตัวไม่ได้ ฉะนั้นที่พระองค์ทรงสอนให้รักษาศีล ก็คือฝึกจิตให้มีเมตตาปรานีนั่นเอง ซึ่งมีคติตรงข้ามกับพยาบาท และเป็นอารมณ์หักล้าง พยาบาทเป็นเหตุของความสุข เพราะคนที่มีความเมตตาปรานีนั้น ย่อมเป็นที่รักของมวลชน แม้สัตว์เดียรัจฉานก็รัก เราจะเห็นได้ว่าบ้านที่มีสุนัขดุ ๆ ใคร ๆ ก็เข้าไม่ได้ ถ้าเราหมั่นเอาอาหารไปให้สุนัขตัวนั้นบ่อย ๆ ไม่ช้าก็เชื่อง เป็นมิตรที่ดีไม่ทำอันตรายคนมีเมตตา มีความสุขเพราะเป็นที่รักของชนทั่วไปอย่างนี้ เป็นการแก้เหตุของความทุกข์ให้เป็นเหตุของความสุข จัดว่าเป็น พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างมหันต์
๓. ความหลง คือความโง่ ที่มีความคิดว่า อะไรที่เรามีแล้ว ต้องมีสภาพคงที่ ไม่เก่าไม่ทำลาย พอของสิ่งนั้นเก่าหรือทำลาย ความเสียใจก็เกิดขึ้น กฎข้อนี้เป็นปกติธรรมดาก็จริง ที่พอจะรู้ได้อย่างไม่ยาก แต่คนในโลกนี้ก็ไม่ค่อยคิดตาม กลับคิดฝืนกฎธรรมดาจนเป็นเหตุของความทุกข์อย่างมหันต์ เพราะคนเกิดแล้วต้องตาย ชาวบ้านชาวเมืองตายให้ดูเยอะแยะ ไม่จดจำ
แต่พอตัวจะตาย ญาติตาย เกิดทุกข์ร้องไห้เสียใจ ความจริงความตายนี้เป็นของปกติธรรมดา ไม่มีใครพ้น แต่คนไม่คิดมีแต่ความผูกพัน คิดว่าจะอยู่ตลอดกาล พระองค์เห็นว่าคนทั่วโลกโง่อย่างนี้ จึงทรงแก้ด้วยการสอนวิปัสสนาญาณ คือสอนให้รู้กฎของความเป็นจริง ยอมรับนับถือ
ตามความเป็นจริง เป็นการเปลื้องอุปาทาน คือความโง่ออกเสียจากความรู้สึก เป็นการสร้างความสบายใจให้เกิดแก่มวลพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ท่านจะคิดใคร่ครวญถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าตามนี้ก็ได้ หรือจะคิดอย่างอื่นก็ได้แต่ขอให้อยู่ในข่ายระลึกนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นใช้ได้
ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙ อย่าง
ReplyDeleteการระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้ เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ จะไม่นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้
๑. อรหัง คำว่า อรหังนี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ อารมณ์กิเลสที่พระอรหังหรือที่เรียกว่าพระอรหันต์ละได้นั้น มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. สักกายทิฎฐิ เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา ท่านละความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้ " โดยเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัยของนามธรรม คือ เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์ สัญญา มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้วสังขาร อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปรานีสดชื่น อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดีและอารมณ์ที่เป็นอกุศล คือความชั่วที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญ และอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้าควบคุมใจ
วิญญาณ คือ ความรู้ หนาว ร้อน หิวกระหาย เผ็ดเปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต วิญญาณกับจิตนี้คนละอันแต่นักแต่งหนังสือมักจะเอาไปเขียนเป็นอันเดียวกัน ทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามา
อาศัยกายและไม่ตายร่วมกับร่างกาย สิ่งนั้นก็คือจิต เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ ตายร่วมกับร่างกาย คือกายตายก็ตายด้วย แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่ คือดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตก็อาศัยอยู่ แต่ถ้าขันธ์ ๕ มีร่างกายเป็น
ประธานตายแล้วจิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่ คำว่าเราในที่นี้ ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามาอาศัยกาย เมื่อท่านทราบอย่างนี้ท่านจึงไม่หนักใจ และผูกใจว่า ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา เราไม่มีในกายกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยในกาย คือ ขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไปถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจ ไม่เสียดายห่วงใยใน
ขันธ์ ๕ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดาเสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสาร เมื่อยังไม่ถึงเวลาลงก็นั่งไป แต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร ก็ลงจากรถจากเรือ โดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถหรือเรือโดยสารนั้น เพราะทราบแล้วว่ามันไม่ใช่ของเราเขาก็ไม่ใช่เรา เราก็ไปตามทางของเราส่วนรถเรือโดยสารก็ไปตามทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย พระอรหันต์ทั้งหลายท่านมีความรู้สึกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมอรหันต์ พระองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านนักปฏิบัติที่ระลึกถึงพระคุณข้อนี้ ก็ควรทำความพอใจตามที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์อย่างนี้ จะเป็นเครื่องบั่นทอนกิเลสลงได้มาก จนเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์อย่างพระองค์ "
ข. วิจิกิจฉา พระอรหันต์ท่านเชื่อมั่นในธรรมปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วโดยไม่เคลือบแคลงสงสัยและปฏิบัติตามด้วยศรัทธายิ่ง
ReplyDeleteค. สีลัพพตปรามาส ท่านรักษาศีลเป็นอธิศีล คือ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองไม่แนะให้ใครละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล
ฆ. ละกามฉันทะ คือความยินดีในกามารมณ์ ท่านหมดความรู้สึกทางเพศเด็ดขาดมีอสุจิเหือดแห้ง ความรู้สึกพอใจในกามารมณ์ไม่มีในความรู้สึกของท่านเลย
ง. พยาบาท ท่านตัดความโกรธความพยาบาทได้สิ้นเชิง มีแต่ความเมตตาปรานีเป็นปกติ
จ. รูปราคะ ท่านตัดความสำคัญในรูปฌานว่าเลิศเสียได้ โดยเห็นว่ารูปฌานนี้เป็นกำลังส่งให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ตัวมรรคผลนิพพาน
ฉ.ท่านตัดความเห็นว่าเลิศในอรูปฌานเสียได้ โดยเห็นว่าอรูปฌานนี้ก็เป็นเพียงกำลังส่งให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณเช่นเดียวกับรูปฌาน
ช. มานะ ท่านตัดความถือตัวถือตนว่า เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา เราดีกว่าเขาเสียได้โดยวางอารมณ์เป็นอุเบกขา คือเฉย ๆ ต่อยศาบรรดาศักดิ์และฐานะความเป็นอยู่เพราะทราบแล้วว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดกาล
ซ. อุทธัจจะ ท่านตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ที่คิดนอกลู่นอกทางเสียได้ มีอารมณ์ผ่องใสพอใจในพระนิพพานเป็นปกติ
ฌ. ท่านตัดอวิชชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่านหมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยที่คิดว่าเป็นสมบัติยั่งยืนได้สิ้นเชิงท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นมีเกิดแล้วก็เสื่อมในที่สุดก็ต้องทำลาย ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ยึดถืออะไรมั่นคง มีก็ใช้ เมื่อสลายตัวไปก็ไม่มีทุกข์ ท่านตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลกเสียทั้งหมด ไม่มีเยื่อใยรักใคร่หวงแหนอะไรทั้งหมด แม้แต่สังขารของท่าน
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆ ทำให้อารมณ์ผ่องใสในพระพุทธคุณมากขึ้น เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างไม่ยากนัก
๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่า พระองค์ทรงรู้อริยสัจ ทั้ง ๔ คือ รู้ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ รู้สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่
ReplyDeleteตัณหา ๓ ประการ คือ
๑. กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมี อยากให้มีขึ้น
๒. ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง
๓.วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฎธรรมดา มีความปรารถนาไม่ให้กฎธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลายและไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตายนั่นเอง ความรู้สึกอย่างนี้เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์
ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฏิปทาที่ปฏิบัติให้เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติ ๘ ประการดังต่อไปนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันโต มีการงานชอบ
๕. สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ
๖. สัมมาวายาโม ความพยายามชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
ในมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ ย่อลงเหลือสาม คือได้แก่ ศีลการรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ตามขอบเขตของสิกขาบท สมาธิ การดำรงความตั้งมั่นของจิตที่ไม่เป็นเวรเป็นภัยต่อสังคม คือดำรงฌานไว้ด้วยดี เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ ปัญญา ได้แก่การ
เจริญวิปัสสนาญาณจนรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดา ไม่มีอารมณ์คิดที่จะฝืนกฎธรรมดานั้น
๓. วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ ทรงมีความรู้รอบและความประพฤติครบถ้วน
ReplyDeleteวิชชา แปลว่าความรู้ หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติที่ล่วงแล้วมาได้อย่างไม่จำกัดไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้อย่างเยี่ยม
๒. จุตูปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ ความเกิด และความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใด เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุขความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ
ReplyDelete๓. อาสวักขยญาณ ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป
จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วนยอดเยี่ยม ท่านประมวลความประพฤติที่พอจะนำมากล่าวไว้ได้โดยประมวลมี ๑๕ ข้อด้วยกัน คือ
๑. สีลสัมปทา พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยศีล คือ ทรงปฏิบัติในศีลไม่บกพร่อง
๒. อินทรียสังวร ทรงระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ
๓. โภชเนมัตตัญญุตา ทรงรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
๔. ชาคริยานุโยค ทรงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ คือ มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนบริบูรณ์
๕. สัทธา ทรงมีความเชื่อมั่นในผลการปฏิบัติ ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย
๖. หิริ ทรงมีความละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล
๗. โอตตัปปะ ทรงเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล
๘. พาหุสัจจะ ทรงสั่งสมวิชาการต่าง ๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี
๙. วิริยะ ทรงมีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
๑๐. สติ ทรงมีสติสมบูรณ์
๑๑. ปัญญา มีปัญญารอบรู้ในวิทยาการทุกแขนง และทรงรู้แจ้งในอริยสัจ โดยที่มิได้ศึกษาจากผู้ใดมาในกาลก่อน ทรงค้นคว้าพบด้วยพระองค์เอง
๑๒. ปฐมฌาน ทรงฝึกฌาน จนได้ปฐมฌาน
๑๓. ทุติยฌาน ทรงฝึกจนได้ฌานที่สอง
๑๔. ตติยฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนได้ฌานที่สาม
๑๕. จตุตถฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนทรงฌานที่ ๔ ไว้ได้ด้วยดีเป็นพิเศษ
ทั้งหมดนี้ จัดเป็นจริยา คือความประพฤติของพระองค์ อันเป็นแบบอย่างที่บรรดาพุทธสาวกจะพึงปฏิบัติตามให้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพื่อผลไพบูลย์ในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล เพราะพระองค์ทรงมีความประพฤติอย่างนี้ จึงทรงบรรลุมรรคผล หากพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระองค์ปฏิบัติตาม ก็มีหวัง
ได้บรรลุมรรคผลในชาติปัจจุบัน
๔. สุคโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใด พระองค์นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้ ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ
ReplyDelete๕. โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลก คือโลกแห่งการทรมาน ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และพระนิพพาน อันเป็นดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฏิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้น ๆ
๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ แปลว่า เป็นนายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใดมีความสามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ พระองค์ทรงมีญาณพิเศษที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไรจึงได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วยพระญาณนั้น จึงมีความสามารถฝึกได้ดีเป็นพิเศษ
๗. สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งนี้หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์เท่านั้น แม้เทวดาและพรหม พระองค์ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ท่านอาจไม่สงสัย แต่การสอนเทวดานั้นท่านอาจจะแปลกใจข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหมเป็นปกติเกือบทุกวันเช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน
๘. พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ได้เหมือนกัน ความหมายถึงคำว่าพุทโธก็มีอย่างนี้ คือ หมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
๙. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใคร ๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทันอวิชชา คือความโง่เขลาเบาปัญญา ความโง่ไม่สามารถครอบงำพระองค์ได้ โดยอาศัยที่พระองค์ทรงค้นพบอริยสัจ ๔ จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชาคือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาดหลักแหลม ความโง่ไม่สามารถจะบังคับบัญชาพระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลสและตัณหาได้ต่อไปพระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน
พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ พระอาจารย์รุ่นเก่าท่านประพันธ์ไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนระลึกนึกถึง จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน คือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้าเมื่อพระโยคาวจร คือท่านนักปฏิบัติพระกรรมฐานได้คำนึงถึงความดีของพระพุทธเจ้า ตามที่เขียนมานี้
ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าในลักษณะอื่น แต่เป็นไปตามแบบพระ-พุทธจริยาแล้ว จนจิตมีความเคยชิน ระงับนิวรณธรรมห้าประการเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิแล้วเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านว่าท่านผู้นั้นสามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ เพราะอาศัยความเลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง คือจะได้สำเร็จมรรคผลได้โดยฉับพลัน
พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธา-นุสสตินี้ ท่านสอนแบบควบหลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น
แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ReplyDeleteเริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้
ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแต่ท่านบอกว่า ก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้ โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี
ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้
ReplyDeleteกำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมจะกระทบสามฐานนี้ให้กำหนดรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อหายใจออก แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฏิบัติเคารพมาก
จะเป็นพระพุทธรูปวัดใด องค์ใดก็ได้ตามใจสมัคร
ท่านสอนดังนี้ ผู้เขียนเรียนกับท่าน ไม่เคยรู้เลยว่าตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณคิดว่าเป็นสมถะ ตอนที่ภาวนา คิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้กรรมฐาน ๔อย่างร่วมกัน คือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอานาปานานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔ อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณมีกำลังถึงฌาน ๔ รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูล หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัสสโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน
แบบท่านวัดปากน้ำภาษีเจริญ
ReplyDeleteท่านสอนแบบพุทธานุสสติควบแบบอื่นเหมือนกัน โดยท่านให้กำหนดลม ๗ ฐาน แล้วภาวนาว่าสัมมาอรหัง แล้วกำหนดดวงแก้ว ตามแบบของท่านควรวิจัยอย่างนี้
กำหนดฐานลมเป็นอานาปานานุสสติ ภาวนาเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน กำหนดดวงแก้วเป็นอาโลกกสิณ เป็นกสิณกลาง เป็นเหตุให้ได้ทิพยจักษุญาณและได้มโนมยิทธิ
รวมความว่าท่านอาจารย์ในกาลก่อนท่านฉลาดสอนเพราะท่านได้ผ่านถึง ท่านไม่ทำแบบสุกเอาเผากินและไม่ใช่สอนแบบเดาสุ่ม ขอท่านนักปฏิบัติควรทราบไว้และอย่าเอาคำภาวนาเป็นเหตุสร้างความสะเทือนใจในกันและกัน จะกลายเป็นสร้างบาปอกุศลไป
๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน
ReplyDeleteธัมมานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงาน เป็นงานในการระลึกนึกถึงคุณพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ คำว่าเป็นอารมณ์ หมายถึงให้เอาจิตใจจดจ่ออยู่ในคุณของพระธรรมเป็นปกติ ไม่เอาจิตไปนึกคิดอารมณ์อื่นนอกเหนือไปจากพระธรรม อาการที่คิดถึงคุณของพระธรรมนี้มีอารมณ์การคิดไว้มากมาย เช่นเดียวกับการคิดถึงคุณพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมมีความสำคัญมากกว่าสิ่งใด ๆ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็มีความเคารพในพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นหลักความประพฤติดี ประพฤติชอบประจำโลก การที่ พระพุทธเจ้าพระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้ ก็เพราะอาศัยพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติฉะนั้น ในพระพุทธศาสนานี้ จึงนิยมยกย่องพระธรรมว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสรณะหนึ่ง การระลึกถึงคุณพระธรรมนี้ ท่านอาจจะเลือกเอาคำสั่งสอนตอนใดตอนหนึ่งที่ท่านชอบในบรรดาคำสอน ๘๔,๐๐๐
พระธรรมขันธ์ มาเป็นอารมณ์ระลึกได้ตามชอบใจ แต่ท่านโบราณาจารย์ท่านประพันธ์บทสรรเสริญพระธรรมไว้ ๖ ข้อ จะขอนำมากล่าวไว้พอเป็นแนวปฏิบัติ
คุณของพระธรรม ๖
ReplyDelete๑. สวากขาโต ภควาตา ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้อนี้หมายถึงอาการคำนึงถึงคุณพระธรรมแบบรวม ๆ ว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวม ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ ย่อลงเหลือสาม คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีลที่บริสุทธิ์อย่างเยี่ยมสมาธิที่ตั้งมั่น
อย่างยิ่งคือ สมาบัติแปด อธิปัญญา ได้แก่การเจริญวิปัสสนาญาณได้มรรคผลคือ พระโสดา สกิทาคาอนาคา อรหัตตผล คุณธรรม ทั้งหมดนี้ประเสริฐยอดเยี่ยม ไม่มีสิ่งอื่นใดเสมอเหมือน เพราะสามารถกำจัดความทุกข์ ความเดือดร้อนได้ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และมรณะไปแล้ว คุณธรรมที่เบากว่านั้น เช่นทาน การให้ ศีล รักษาวาจาใจให้สงบจากเวร สมาธิรักษาใจให้สงบ
จากอกุศล ๕ ประการ คือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความคิดประทุษร้าย ถีนมิทธะ ความเคลิบเคลิ้มที่ขาดสติสัมปชัญญะ และความง่วงเหงาหาวนอนในเวลาทำความดี อุทธัจจกุกกจุจะ อารมณ์หงุดหงิดฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ วิจิกิจฉา ความสงสัยในผลของการปฏิบัติธรรม และปัญญา คือการฝึก
วิปัสสนาญาณเบื้องต้น
คุณธรรมขนาดเบา ๆ นี้ ก็มีผลมากแก่ผู้ปฏิบัติ เพราะ
ReplyDeleteก. ทาน การให้ เป็นคุณธรรมที่ทำลายอารมณ์โลภอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่น และเป็นเหตุแห่งความรักความเสน่หาของผู้รับทาน คนที่ให้ทานเป็นปกติ ย่อมเป็นที่รักของผู้รับทานทั่วไป เป็น
เหตุให้ปลอดภัยจากอันตราย
ข. ศีล เมื่อรักษาดีแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้ ศีลผู้รักษาไว้ดีแล้วย่อมเป็นที่รักของปวงชนเพราะผู้รักษาศีลมีเมตตาเป็นปกติ และจะมีชื่อเสียงในด้านความดีฟุ้งขจรไปทุกทิศ เมื่อเวลาใกล้จะตายจะมีสติสมบูรณ์ เมื่อตายแล้วจะได้ไปสู่สุคติ
ค. สมาธิ ย่อมส่งผลให้เป็นคนมีสติสมบูรณ์ และเป็นที่รักแก่ชนทั่วไป เพราะท่านที่ทรงสมาธิย่อมกำจัดเวร คือ อกุศล ๕ ประการ มีโลภะเป็นต้นเสียได้
ฆ. วิปัสสนาญาณ มีอานิสงส์ทำจิตใจให้มีความสุข เพราะจิตเคารพต่อกฎของธรรมดา เพราะรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดาทุกประการ หมดความหวั่นไหวในทุกข์ภัยที่ปรากฏ มีอารมณ์สงัดเยือกเย็นเป็นปกติ คล้ายต้นไม้ที่ไม่มีลมร้ายมาถูกต้องฉะนั้น
ในข้อนี้ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงคุณของพระธรรมตามที่กล่าวมาโดยย่ออย่างนี้ หรือท่านจดจำพระสูตร คือคำสอนที่ยกตัวบุคคล แล้วจะคิดตามนั้น หรือท่านจะคิดตามพระธรรมข้อใดก็ได้ตามใจชอบเป็นระลึกถึงคุณพระธรรมตามข้อนี้เหมือนกัน เพราะบทสวากขาโตนี้ท่านกล่าวรวม ๆ เข้าไว้
๒. สันทิฏฐิโก แปลว่า ผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง หมายความว่าผลของการปฏิบัติธรรมนี้ ไม่ใช่จะปฏิบัติกันไปตามเรื่อง ผลของการปฏิบัติธรรมนี้เป็นความสุขใจ ท่านปฏิบัติจริงจะได้รับผลจริงในชาตินี้
๓. อกาลิโก แปลว่า ไม่เลือกกาลไม่เลือกสมัย หมายถึงผลของการปฏิบัติธรรมนี้ ได้รับผลทุกขณะที่ปฏิบัติ ไม่จำกัดกาลเวลาว่า จะต้องเป็นเวลานั้นเวลานี้ ตัวอย่างเช่นผู้ปฏิบัติธรรมในด้านพรหมวิหาร ท่านที่ทรงพรหมวิหาร ย่อมประทานความรักให้แก่คนและสัตว์ไม่เลือกหน้า ท่านไม่ถือ
โกรธใครพบคนควรไหว้ท่านก็ไหว้ พบคนควรให้ท่านก็ให้ ท่านมีหน้ายิ้มตลอดเวลา ท่านลองคิดดูว่าถ้าท่านพบคนอย่างนี้เข้า ท่านควรจะรักเคารพหรือท่านควรจะคิดประทุษร้าย ขอให้ท่านคิดเอาเองผลของการปฏิบัติธรรมได้ผลไม่จำกัดกาลเวลาอย่างนี้ และในสมัยนี้มีคนพูดกันมานานว่า เวลาล่วงมาขณะนี้พระอริยะไม่มีแล้ว ท่านอย่าเชื่อเขาเลย เพราะคุณของพระธรรมยืนยันอยู่อย่างนี้ว่า ผลแห่งการบรรลุมีได้ไม่เลือกกาลเวลา ขอให้ปฏิบัติจริง ปฏิบัติตรงตามคำสั่งสอนเถอะ และปฏิบัติพอดี อย่าเกียจคร้านเกินไปและอย่าขยันเกินไป รับรองว่าท่านต้องการคุณธรรมขนาดไหน ก็มีหวังได้ทุกขนาดและไม่จำกัดกาลเวลา
๔. เอหิปัสสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู ข้อนี้ท่านกล้าท้าทายว่า การปฏิบัติธรรมนั้นของท่านกล้ายืนยันผล ขอให้ทำถูก ทำตรง ทำพอดีเถอะ ท่านรับรองผลว่า ต้องได้รับผลแน่นอน ขออย่างเดียว ขอให้เอาจริงเท่านั้น อย่าทำแบบสุกเอาเผากิน คนไม่จริงพระธรรมท่านก็ไม่จริงด้วยถ้าผู้ปฏิบัติจริง ผลของพระธรรมท่านก็ให้จริง ขอให้จริงต่อจริงพบกันเถอะ แล้วจะได้รับผลสมความมุ่งหมาย
๕. โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา ท่านหมายความว่า ผู้หวังผล คือความสุขทางใจสุขทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไปแล้ว เชิญเข้ามาฝึกได้ ไม่จำกัดกาลเวลา ไม่จำกัดเพศและวัยไม่จำกัดเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา ถ้าเข้ามาจริง ปฏิบัติจริง ท่านรับรองว่าต้องได้ผลจริง
๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ แปลว่า อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน คำว่า วิญญู หมายถึงท่านผู้รู้ คือผู้ปฏิบัติที่ได้รับผลแล้ว ท่านผู้นั้นจะรู้ผลเองว่า การปฏิบัติพระธรรมนี้มีผล คือความสุขอันประณีต และมีความเยือกเย็นใจเป็นพิเศษ มีความสุขประณีตกว่าความสุขอันเกิดขึ้นจากโลกวิสัยหลายพันล้านเท่า
๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน
ReplyDeleteสังฆานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ให้เป็นการเป็นงานในการระลึกถึงคุณพระสงฆ์ เป็นอารมณ์ การระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์นี้ ท่านให้คิดถึงความดีของพระสงฆ์ ในส่วนที่เป็นความดีอันเป็นเนื้อแท้ของพระศาสนา ไม่ใช่คิดถึงความดีอันเป็นส่วนประกอบที่ไม่เข้าถึงพระศาสนา เช่น เห็นว่าท่านมีเครื่องรางของขลัง คือของคงกระพันชาตรี ท่านเป็นหมอรดน้ำมนต์ ท่านให้หวยเก่ง ท่านเป็นหมอดูแม่น ท่านทำเสน่ห์เก่ง ท่านเล่นหมากรุกเก่ง ท่านมีวิทยาคมต่างๆ เช่น เสกอะไรต่ออะไรเก่ง ความเก่งอย่างนั้นของท่านเป็นความเก่งนอกความหมายในที่นี้ เพราะเป็นความเก่งที่ยังไม่เข้าถึงจุดเก่งทางศาสนา เป็นความเก่งเปลือกที่ยังเอาตัวไม่รอดยังไม่ควรจะเอามาคิดมานึกให้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน ความเก่งในการที่นักกรรมฐานควรเอามาคิดก็คือ
๑. ท่านเก่งในทางปฏิบัติ จนได้บรรลุพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ อย่างนี้เป็นเนื้อแท้ของความเก่งในเนื้อแท้ของพระสาวกในพระพุทธศาสนาและเป็นความเก่งที่ควรบูชาและระลึกถึงเป็นอารมณ์
๒. ความเก่งอีกอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ที่ควรเอามาคิดเอามาบูชาก็คือ ท่านเองได้บรรลุมรรคผลแล้ว ท่านมิได้แสวงหาความสุขเพราะผลการบรรลุนั้น เฉพาะตัวท่าน ท่านกลับพลีความสุขที่ท่านควรได้รับนั้น นำพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านได้รับผลแล้ว มาสั่งสอนบรรดาพุทธบริษัท อย่างที่
ไม่เห็นแก่ผลตอบแทนใด ๆ
การที่ระลึกถึงความดีของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามแบบก็คือ
ก. สุปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ข. อุชุปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตรง
ค. ญายปฏิปันโน ท่านปฏิบัติเป็นธรรม
ง. สามีจิปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติสมควร
ทั้งนี้หมายความว่า ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนจริง ๆ ไม่แก้ไขดัดแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านปฏิบัติสมควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง เพราะท่านปฏิบัติตนจนได้บรรลุมรรคผลที่บุคคลธรรมดาไม่สามารถจะเห็นได้ การบูชาและระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ต้องระลึกตามตามนัยนี้ จึงจะตรงตามความประสงค์ของพระพุทธเจ้า
ตามที่ท่านสอนให้เจริญใน พุทธานุสสติ ธัมนานุสสติ สังฆานุสสติ ก็เพื่อให้คิดตามความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เพราะการคิดตามความดีของท่านที่มีความดีอยู่เสมอๆจนขึ้นใจนั้น เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในผลของความดี และปสาทะ ความเลื่อมใส ปีติ
ความเอิบอิ่มใจ ความคิดคำนึงอย่างนี้เป็นปกติตลอดไป ย่อมเป็นเครื่องจูงใจให้ปฏิบัติตาม เมื่อใดได้ลงมือปฏิบัติตามแล้ว ผลที่มีศรัทธาอยู่แล้ว ย่อมเป็นกำลังใจให้ได้สำเร็จมรรคผลได้อย่างไม่มีอะไรเป็นเครื่องหนักใจนัก
๔. สีลานุสสติกรรมฐาน
ReplyDeleteสีลานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์ คำว่าศีล แปลว่า ปกติ สิกขาบทของศีล เป็นสิกขาบทที่บังคับให้เป็นไปตามปกติของความรู้สึกและพอใจของมวลชนโลก ทั้งที่เป็นสัตว์และมนุษย์ จะได้พูดให้ฟังแต่โดยย่อ
ปกติของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลกนี้ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างเพศต่างตระกูลกันเพียงใดก็ตาม สิ่งที่มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติ มีอยู่ ๕ ข้อ คือ
๑. ไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าตน และไม่ปรารถนาให้ผู้ใดมาทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถึงตายก็ตาม
๒. ไม่ต้องการให้ใครมาลักขโมย หรือยื้อแย่ง หลอกลวงเอาทรัพย์ของตนไปโดยที่ตนไม่เต็มใจอนุญาต
๓. ไม่มีความประสงค์ให้ใครมาทำลายหัวใจในด้านความรัก จะเป็นสามีภรรยา บุตร หลาน
หรือแม้แต่คนในปกครองที่มิใช่บุตรหลาน โดยที่ตนเองยังไม่เห็นชอบด้วย
๔. ไม่ปรารถนาให้ใครมาใช้วาจาที่ไม่ตรงความจริง ในเมื่อในขณะนั้นต้องการรู้เรื่องราวตามความเป็นจริง
๕. ไม่ต้องการให้ใครเห็นว่าตนเป็นคนบ้า ๆ บอ ๆ ด้วยอาการที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้ายเพราะเหตุใดก็ตาม
เมื่อความต้องการของปวงชาวโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติอย่างนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทตามความต้องการเป็นปกติของชาวโลกไว้ ๕ ข้อ ที่เรียกว่า ศีล ๕ หรือปกติศีล
ส่วนศีล ๘ หรือเรียกว่าศีลอุโบสถ มีสิกขาบท ๘ เหมือนกันหรือศีล ๑๐ ของสามเณร ศีล ๒๒๗ ของพระ ศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี ก็เป็นศีลที่บัญญัติตามปกติของท่านนั้นๆ
การที่ท่านสอนให้ระลึกถึงศีลเนืองๆ นั้น หมายถึงให้สำรวมใจ ระมัดระวังความประพฤติศีลเพื่อมิให้ศีลบกพร่อง เพราะศีลเป็นบาทที่จะสนับสนุนใจให้เข้าถึงสมาธิ ศีลนี้ผู้ใดปฏิบัติไม่ขาดตกบก-บกพร่องแล้วย่อมมีอานิสงส์คือ จะไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะอำนาจอกุศลกรรมจะเป็นที่รักของ
ปวงชน จะมีเกียรติคุณความดีฟุ้งไปในทิศานุทิศ จะเป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ในเมื่อมีคนโจษจันถึงเรื่องศีล เมื่อใกล้จะตายอารมณ์จิตจะผ่องใส อกุศลกรรมไม่สามารถเข้ามาข้องได้ เมื่อตายแล้วจะได้เกิดในสวรรค์ ก่อนตายศีลนี้จะเป็นสะพานใหญ่ให้อารมณ์สมาธิหลั่งไหลมาสู่จิต จะทำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ เป็นพื้นฐานให้ได้วิปัสสนาญาณ ได้ถึงพระนิพพานในที่สุด ท่านที่คิดถึงศีลและระมัดระวังรักษาศีลเป็นปกติ แล้วใคร่ครวญพิจารณาศีลเป็นปกติอย่างนี้ ท่านว่าจะมีอารมณ์สมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิเป็นที่สุด
เมื่อเข้าถึงสมาธิตามที่กล่าวแล้ว ถ้าท่านน้อมเอาวิปัสสนาญาณมาพิจารณา ท่านก็จะได้บรรลุมรรคผลภายในไม่ช้า
๕. จาคานุสสติกรรมฐาน
ReplyDeleteจาคานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงการบริจาคทานเป็นนิตย์ กรรมฐานกองนี้ท่านแนะให้ระลึกถึงการให้เป็นปกติ ผลของการให้เป็นการตัด มัจฉริยะ ความตระหนี่ ตัดโลภะ ความโลภ ซึ่งจัดว่าเป็นกิเลสตัวสำคัญไปได้ตัวหนึ่ง กิเลสประเภทรากเหง้าของกิเลสมีสาม คือ
๑. ความโลภ
๒. ความโกรธ
๓. ความหลง
ความโลภ ท่านสอนไว้ว่า ตัดได้ด้วยการบริจาคทาน เพราะการบริจาคทานเป็นการเสียสละที่มีอารมณ์จิตประกอบด้วยเมตตา การให้ทานที่ถูกต้องนั้น ท่านสอนให้ ๆ ทานด้วยความเคารพในทาน คือ ให้ด้วยความเต็มใจและให้ด้วยอาการสุภาพ ก่อนจะให้ให้ทำความพอใจ มีความยินดีในเมื่อมีโอกาสได้ให้ โดยคิดว่า ขณะนี้เราได้มีโอกาสทำลายล้างโลภะ ความโลภ อันเป็นรากเหง้าของกิเลสได้แล้ว มหา-ปุญญลาโภ บัดนี้ลาภใหญ่มาถึงเราแล้ว คิดแล้วก็ให้ทานด้วยความเคารพในทาน ผู้รับนั้นจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นผู้มีร่างกายบริบูรณ์ หรือทุพพลภาพก็ตาม ขอให้มีโอกาสได้ให้ก็ปลื้มใจแล้ว เมื่อให้ทานไปแล้วทำใจไว้ให้แช่มชื่นเป็นปกติเสมอ เมื่อมีโอกาสได้คิดถึงทานที่ตนให้โดยคิดตามความเป็นจริงว่า การให้ทานนี้ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นของดีนั้น เราเห็นความดีแล้วดังนี้ ในชาติปัจจุบันผลทานนี้ย่อมให้ความสุขแก่ผู้รับทาน เพราะผู้รับมีโอกาสเปลื้องทุกข์ของตน
ได้ด้วยทานที่เราให้ สำหรับเราผู้ให้ ก็มีโอกาสได้รับผลในปัจจุบันคือ ได้มีโอกาสทำลายโลภะ ความโลภตัวกิเลสที่ถ่วงไม่ให้ถึงนิพพาน บัดนี้เราตัดความโลภคือรากเหง้าของกิเลสตัวที่ ๑ ได้แล้ว ความเบาได้เกิดมีแก่เราแล้ว ๑ เปลาะ คงเหลือแต่ความโกรธและความหลง ซึ่งเราจะพยายามตัดต่อไป ทานยังให้ผลต่อไป คือผลทาน เป็นผลสร้างมิตร สร้างความสุขสงบ เพราะผู้รับทานย่อมรู้สึกรัก และระลึกถึงคุณผู้ให้อยู่เป็นปกติ ผู้รับทานย่อมพยายามโฆษณาความดีของผู้ให้ในที่ทุกสถาน เมื่อผู้ให้เป็นที่รักของผู้รับแล้ว ความปลอดภัยของผู้ให้ก็ย่อมมีขึ้นจากผู้รับทาน เพราะผู้รับจะคอยป้องกันอันตรายให้ตามสมควร ยิ่งให้มาก คนที่รักก็ยิ่งมีมาก ความปลอดภัยก็มีมากขึ้นเป็นธรรมดา ผู้ให้ทานย่อมมีอานิสงส์ที่ได้รับในชาติปัจจุบันอีกคือ ย่อมมีโอกาสได้รับโชคลาภที่เป็นของกำนัล เป็นเครื่องบำรุงเสมอผู้ให้ทานเป็นปกติ จะไม่ขาดแคลนฝืดเคืองในเรื่องการใช้สอยเมื่อใกล้จะขาดมือ หรือมีความจำเป็นสูงจะมีผลได้เป็นการชดเชยให้พอเหมาะพอดีแก่ความจำเป็นเสมอ นี่พูดตามผลที่ประสบมาในชาติปัจจุบัน สำหรับอนาคตท่านว่าผู้ที่บำเพ็ญทานเสมอ ๆ นั้น จิตใจจะชุ่มชื่นแจ่มใสเมื่อใกล้จะตายเมื่อตายแล้วทานจะส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ มีทิพยสมบัติมากมาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ที่บริบูรณ์พูนสุขด้วยสมบัติ นี่ว่ากันตามอานิสงส์
พูดกันตามความประสงค์แล้ว การระลึกถึงทาน ก็มุ่งทำลายล้างโลภกิเลสเป็นสำคัญท่านสอนให้คิดนึกถึงทานที่ให้แล้วไว้เสมอ ๆ และทำความปลื้มใจในการให้และคิดไว้อีกเช่นเดียวกันว่าเราพร้อมที่จะให้ทานตามกำลังศรัทธาทุกโอกาสที่มีคนมาขอ เพราะเราต้องการทำลายโลภะให้สิ้นไปเพื่อผลใหญ่ที่จะพึงได้ คือพระนิพพานในกาลต่อไป
ท่านที่ยินดีในทานเป็นปกติอย่างนี้จิตย่อมบริบูรณ์ด้วยเมตตาและกรุณาอันเป็นพรหมวิหารท่านว่าเพราะผลทานและพรหมวิหารร่วมกันมีบริบูรณ์แล้วจิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ต่อนั้นไปถ้าได้เจริญวิปัสสนาญาณ โดยใช้อุปจารฌานเป็นบาทแล้วจะได้บรรลุมรรคผลได้อย่างฉับพลัน