พระสะหัสสะนัย
สุทธิกะปะฏิปะทา
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง
ขิปปาภิกญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะ-
ฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป
โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
สุญญะตะมูละกะปะฏิปะทา
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธา-
ภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภัญญัง สุญญะตัง ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
สุญญะตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
อัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะ-
ณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหายนายะ ปะฐะ-
มายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง
ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิ-
ปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ
อิเม ธัมมา กุสะลา
อะธิปะติ
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหา-
นายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะหัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิตเตยยัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ
อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารนัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง (อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง
วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิ-
ปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง) ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา ฯ
หมายเหตุ : บทสวดมนต์บทนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จันโท ได้บันทึกไว้สมัยที่อยู่กับหลวงปู่มั่นว่า....
......อยู่มาวันหนึ่ง เรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) ปลีกออกมาเดินจงกรมอยู่ในป่าที่ป่าเปอะ ในขณะที่เดินจงกรม มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาเดินไปทำไร่ เดินร้องเพลงไป เพลงที่เขาขับร้องนั้น เป็นสำเนียงทางอีสาน ผ่านมาใกล้ๆ ทางจงกรมที่เราเดินอยู่ คาดคะเนว่าน่าจะเป็นคนทางภาคอีสานมาอยู่ทางเหนือ เนื้อเพลงนี้มาสะดุดจิตในขณะที่ภาวนา โอปนยิโก คือน้อมมาใส่ตัวเรา มันร้องเสียงเพราะน่าฟังนะ ร้องเพลงขับอันประกอบด้วยอรรถรสแห่งธรรม ประสานกลมกลืนกับธรรมที่กำลังสัมผัสเพ่งพิศพินิจพิจารณาอยู่ ภาษาธรรมที่เขาร้องเอื้อนด้วยความไม่มีสตินั้น กลับย้อนเข้ามาสู่ดวงใจที่กำลังเพ่งพิศธรรมนั้นอยู่ จิตนั้นก็รวมลงสู่ฐานของจิตโดยฉับพลัน เพลงขับนั้นเขาร้องเป็นทำนองอีสานว่า
“ทุกข์อยู่ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์อยู่ในผ้าอ้อมป้อมผ้าฮ้าย โฮม อ้ายอยู่ผู้เดียว ทุกข์อยู่ในโลกนี้มีแต่สิทน ทุกข์อยู่ในเมืองคน มีแต่ตนเดียวอ้าย... ทุกข์ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว”
เขาร้องเป็นทำนองไพเราะมาก
พอได้ฟังเท่านั้นแหละจิตนี้รวมลงทันที เป็นการรวมที่อัศจรรย์ นี้แหละธรรมะเป็นสมบัติกลางที่ผู้ประพฤติปฏิบัติน้อมมาพินิจพิจารณา ก็จะก่อให้เกิดธรรมขึ้นมายในใจตน ถ้ารู้จักน้อมมาสอนตนเสียงร้องเหล่านี้เป็นเสียงธรรมได้ทั้งนั้น
สมัยนั้นก็ยังหนุ่มอยู่ แต่ว่ามันก็ไม่รู้ยังไง ฟังบทขับร้องแล้วชอบกลอยู่ เขาร้องอย่างนี้ “ทุกข์ในขันธ์ห้า... โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว” คนอีสานเขามาอยู่ทางเหนือ เขาขับร้องเพราะมาก มีเสียงเอื้อนตามแบบของคนอีสาน
ทุกข์ในขันธ์ห้า มีเมียก็ต้องเลี้ยงเมีย หากเมื่อมีลูกขึ้นมาหนึ่ง ก็ต้องเลี้ยงหนึ่ง เลี้ยงสอง เลี้ยงสามฯลฯ เมียสองก็ต้องเลี้ยงสี่ เลี้ยงห้า เอาเข้าไปแล้ว เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่สารพัด เลี้ยงกันมาจนกระทั่งถึงเรา นี่มันเป็นอย่างนั้น นี่ทุกข์ที่สุด เราก็มีพ่อมีแม่ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้เข้าวัดเข้าวาฮิ นึกแล้วน่าสงสาร แต่ดึงเท่าไหร่ก็ไม่ยอมขึ้น เราหลุดออกมานี่มีชีวิตอันประเสริฐที่สุด ใครสามารถพินิจพิจารณาได้แล้ว รอดลงไปได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นบ่วงลึกที่สุด ท่านอาจารย์ฝั้นท่านว่า..เรื่องการครองเรือน เรื่องความหลง ท่านพูดยิ่งเด็ดขาด... แต่เราพูดออกมาอย่างท่านไม่ได้
เพราะฉะนั้นอันนี้เอง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญา เมื่อเราน้อมนำมา พินิจพิจารณาใจของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องขัดเกลา เหมือนแฟ้บที่ซักเสื้อผ้า หรือเหมือนสบู่ที่ขัดเหงื่อไหลของเรา ขัดขี้เหงื่อคราบไคลของเราให้ออกไป เปรียบอย่างนั้นมันเหมาะดี
ธรรมะบทใดบทหนึ่ง เมื่อเราน้อมเข้ามาพินิจพิจารณาให้เกิดความสังเวชสลดใจได้แล้ว นั่นมีคุณค่าจะหาราคาอันใดมาเปรียบมิได้เลยนั่นท่านเรียกว่าเป็นปัญญา ส่วนที่ความรู้สึกในขณะที่พิจารณาอย่างนั้น จนเกิดความสังเวชสลดใจ เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ใจนั้นก็มีความสงบ เมื่อความสงบปรากฏอย่างนั้น ใจนั้นก็เป็นใจที่ปกติ เมื่อใจเป็นปกตินั่นเอง มีความรู้ตัวอยู่อย่างนั้น ใจไม่วอกแวกไปไหน นี่แหละท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ”
แม้ในสมัยพุทธกาล บทเพลงของพระอรหันต์ก็มีเช่นเดียวกัน เท่าที่ทราบท่านนิยมสวดเป็น ทำนองสรภัญญะ ในสมัยพุทธกาลมีเล่าไว้ว่า พระโสณะกุฏิกัณณะสวดสรภัญญะ ถวายพระพุทธเจ้า และได้รับคำชมจากพระพุทธองค์ว่า เธอสวดเสียงไพเราะดี
ปัจจุบันเราก็นิยมสวดสรภัญญะกัน แม้เราเองกชอบฟังสวดสรภัญญะบท พระสหัสสนัย ที่ท่านบรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติยากง่ายของแต่ละดวงจิต สวดสรภัญญะก็คือ ร้องเพลงแบบหนึ่งนั้นเอง เรื่องนี้มีมูลเหตุอยู่ว่า ปัณจสิขะเทพบุตรขณะรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์อยู่หน้าถ้ำแห่งหนึ่ง หยิบพิณขึ้นมาดีดขับเพลงรักของตนที่มีต่อคนรัก เปรียบความรักของเขากับความรักโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ ก็ได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์เซ่นเดียวกัน
ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุบางรูปยืนฟังนางทาสีขณะตักน้ำร้องเพลงด้วยความเพลิดเพลินใจ พิจารณาความตามเนื้อเพลงได้บรรลุพระอรหัตก็มี การสวดการร้องบ่อยๆ เสียงที่สวดอันเป็นบทกรรมที่ไพเราะ จะดึงให้จิตจดจ่อเฉพาะเสียง ลืมโลกภายนอกหมดสิ้น จิตเกิดดิ่งเป็นสมาธิ พลังสมาธิเช่นนี้ใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
สำหรับผู้รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ก็ไม่ต้องสวดหรือร้อง เพียงแต่ฟังเฉยๆ หรือพิจารณาสิ่งที่ได้ยินเข้าตามเนื้อเพลง น้อมเข้ามาใส่ตนให้เป็นธรรม ถ้าบทเพลงนั้นมีคติเตือนใจ บทเพลงวิมุตติหรือเรียกอีกอย่างว่าบทเพลงพระอรหันต์ เพราะพระภิกษุ ภิกษุณี ท่านได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เปล่งวาจาเป็นภาษากวี บรรยายความสุขใจที่ได้รับหลังการบรรลุธรรม
มีบทเพลงที่ท่านพระสิริมัณฑเถระ ได้เปล่งเป็นบทกวีไว้ เดิมพระเถระรูปนี้เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งเมืองสุงสุมารคิรี ท่านบวชมาแล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ขณะฟังพระปาฏิโมกข์แล้วพิจารณาว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ถ้าไม่เปิดเผย (ปกปิดความชั่วไว้) ย่อมเศร้าหมอง แต่ว่าไม่ปกปิด (บอกความจริงแล้วปลงอาบัติเสีย) ก็จะบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในที่สุด พระศาสนาของพระพุทธองค์ช่างบริสุทธิ์จริง ๆ ท่านคิดพิจารณาดังนี้ ด้วยความที่จิตฝึกมาดี ก็ได้บรรลุอรหัตผล หลังการบรรลุธรรมจึงได้เปล่งคาถาเป็นบทเพลงกวีว่าไว้ว่า......“สัตว์โลกถูกมฤตยูดักฆ่า ถูกชราไล่ต้อน
ยิงด้วยลูกศรคือความทะเยอทะยาน
เผาให้เป็นเถ้าถ่านด้วยความปรารถนา มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสาม
คือกองไฟลามลุกไหม้ แรงจะต้านใดก็ไม่มี จะบึ่งหนีก็ไม่พ้น
ไม่ควรปล่อยวันเวลาล่วงไปเปล่า ไม่ว่ามากหรือน้อย
กี่วันผันผ่าน ชีวิตกาลยิ่งใกล้ความตาย เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
วาระสุดท้ายอาจมาถึง จึงไม่ควรประมาท”
และบทเพลงกวีของพระเชนตะ ท่านเป็นคนช่างคิด คิดว่าครองเพศฆราวาสก็ยาก หาเงินทองมาเลี้ยงครอบครัวก็ลำบาก บวชก็ลำบาก จะเลือกทางดำเนินชีวิตแบบไหนดี ในที่สุดก็ตัดสินใจไปบวช ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็กล่าวโศลกเตือนใจเพื่อนมนุษย์ให้เห็นความเป็นอนิจจังของสิ่งทั้งปวงเป็นบทเพลงว่า .....“ครองเพศบรรพชิตนั้นแสนลำบาก
ฆราวาสวิสัยก็ยากเย็นเช่นเดียวกัน
พระธรรมอันคัมภีรภาพนั้นยากเข้าใจ
โค ทรัพย์กว่าจะหามาได้ก็เหน็ดเหนื่อย
มีชีวิตเรื่อยๆ อย่างสันโดษก็ยากเย็น
ฉะนี้น่าจะเห็น น่าจะคิด อนิจจังฯ”
ที่มา - http://larndharma.org