Showing posts with label พุทธานุสสติกรรมฐาน. Show all posts
Showing posts with label พุทธานุสสติกรรมฐาน. Show all posts
Thursday, 31 May 2012
พุทธานุสสติกรรมฐาน
พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานทีมี
อารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธานุสสตินี้ท่านสอนแบบควบหลาย ๆ
อย่างรวมกัน เช่น
แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ 5 ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ 5 นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ 5 จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป
ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้ ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี
แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพียงแต่บอกว่า ก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่
ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ 4 ประชุมร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ 5
เสียได้ โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี
ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดีท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้ กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมกระทบสาม
ฐานนี้ ให้กำหนดณรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อลมหายออก
แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฎิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใดองค์ก็ได้ ท่านสอนดังนี้ ตอนที่ภาวนา ท่านให้กรรมฐาน 4 อย่างรวมกัน คือ ตอน
พิจารณาขันธ์ 5 เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็น
กสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว 4 อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณมีกำลังถึงฌาน 4 หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัส
สโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน
2. ธัมมานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงาน เป็นงานในการระลึกนึกถึงคุณพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ คำว่าเป็นอารมณ์ หมาย
ถึงให้เอาจิตใจจดจ่ออยู่ในคุณของพระธรรมเป็นปกติ ไม่เอาจิตไปนึกไปคิดอารมณ์อื่น นอกเหนือไปจากพระธรรม อาการที่คิดถึงคุณของพระธรรมนี้มีอารมณ์
การคิดมากมาย เช่นเดียวกับการคิดถึงคุณพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมมีีความสำคัญมากกว่าสิ่งใด ๆ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็มีความ
เคารพในพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นหลักความประพฤติดี ประพฤติชอบประจำโลก การที่พระพุทธเจ้าพระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้ ก็
เพราะอาศัยพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนานี้จึงนิยมยกย่องพระธรรมว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสรณะหนึ่ง การระลึกถึงคุณพระ
ธรรมนี้ อาจจะเลือกเอาคำสั่งสอนตอนใดตอนหนึ่งที่ท่านชอบในบรรดาคำสอน 84.000 พระธรรมขันธ์มาเป็นอารมณ์ระลึกได้ตามใจชอบ แต่ท่านโบรา
ณาจารย์ท่านประะพับธ์บทสรรเสริญพระธรรมไว้ 6 ข้อ
Subscribe to:
Posts (Atom)