Tuesday 12 February 2019


โอวาทของพระโพธิสัตว์กวนอิม (สัจจคัมภีร์กัปป์สุดท้าย)

คัดลอกมาจากสังคมธรรมออนไลน์ 
หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน



พระศรีอาริยเมตไตรย พระโพธิสัตต์อวโลกิเตศวร ได้ฟังพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ให้ประคองช่วยเหลือเวไนยสัตว์สิบชั่วร้ายไม่ดีงาม ฟ้าเบื้องบนจะจัดส่งผู้คุมตารางสวรรค์เทียนเหลอเซียน ลงมายังโลกมนุษย์ตรวจดูคัมภีร์นี้ หากผู้ใดถวายด้วยความศรัทธาเคารพ สามารถหลุดพ้นจากดวงแห่งภัยพิบัติได้ ทุกชีวิตในครอบครัวไร้ทุกข์ ไร้กังวล หากคนชั่ว ร้ายที่ไม่เชื่อและศรัทธา แต่คอยดูปีวอก,ระกา,จอ,กุน มีข้าวไร้คนกิน มีเสื้อผ้าไร้คนใส่ มีถนนไร้คนเดิน มีบ้านไร้คนอยู่ มีที่นาไร้คนทำ จวบจนถึงเดือนห้า เดือนหกนั้น งูพิษร้ายเกลื่อนเต็มไปทั่ว เดือนแปด เดือนเก้า คนชั่วร้ายจะตายสิ้น ซากศพเต็มเกลื่อน
มีคนที่ละชั่วประพฤติดีไม่ต้องวิตกกังวล เศร้าสลดกับภัยพิบัติทั้งสิบประการนี้คือ
1. อัคคีภัย - อุทกภัย
2. ควันที่เป็นสัญญาณทำลายล้าง
3. มึนซึมหมดสติตาย
4. การหย่าร้างของสามี - ภรรยา
5. งูพิษทำร้ายคน
6. เศร้าสลดซากศพเต็มพื้นปฐพี
7. ภัยสงครามฆ่าฟันกัน
8. อากาศแปรเปลี่ยน วันคืนหนาวเย็น
9. มีบ้านต้องยกให้ผู้อื่นอยู่
10. เศร้าสลดไม่พบความสันติสุข
บนถนนคนตายนับไม่ถ้วน หนึ่งหมื่นตายเก้าพัน มหันตภัยมาแล้ว พืชพันธุ์ธัญญาหารเก็บเกี่ยวได้ผลน้อย เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง พญานาคดุร้าย เกะกะระรานทั่ว เวไนยสัตว์มีภัย องค์เง็กเซียนมหาราชจึงจัดส่งกวน, เจ้าสองขุนพลลงสู่โลกมนุษย์ และเทพยดาที่สัญจรอยู่เบื้องบน เหนือโลกมนุษย์เพื่อตรวจดูคัมภีร์นี้ หากมีคนชั่วร้ายทั้งหลาย จะให้ข้าวยากหมากแพง พระศรีอาริยเมตไตรยจะปรากฏกวน เจ้าสองขุนพลสู่แดนมนุษย์ จากปีจอเริ่มต้นด้วยโรคระบาดจนถึงปีกุน ประชาราษฎร์ในเก้าคน จะรอดตายเพียงหนึ่งคน จะเกิด มหันตภัยขึ้น เช่น
1. วาตภัย
2. อัคคีภัย
3. ฟ้าผ่าไฟฟ้าช๊อต
4. ภัยสงคราม
5. ภัยโรคร้าย
6. อดอยาก ขาดอาหาร
7. งูพิษร้ายกัด
8. ภัยจากการคลอดบุตร
9. อุทกภัย
10. ภัยจากการสูญสิ้นมนุษย์ชาติ
พระศากยมุนีพระพุทธองค์ ครองธรรมกาลหนึ่งหมื่นสามพันปีจนมาถึงปัจจุบันครบบริบูรณ์แล้วพระศรีอาริยเมตไตรยรับสืบต่อครองธรรมกาล เริ่มต้นแต่ปีวอก จนถึงปีชวด พืชพันธ์ธัญญาหารไม่สมบูรณ์คนจะอดอยากตาย ภัยสงครามยากที่จะหลีกหนี หากมีคนนำคัมภีร์นี้เผยแพร่ไปทั่วทุกหนทุกหนึ่งแพร่ไปถึงสิบ สิบแพร่ไปถึงร้อย ร้อยแพร่ไปถึงพัน จนถึงหมื่น จะรอดพ้นจากภัยพิบัติ ถึงยุค เหยาซุ่น มาถึง ( เหยา หมายถึง บ้านเมือง จะมีคง ความรุ่งโรจน์ ซุ่น หมายถึง สังคมจะมีความยุติธรรม) ก็จะได้ร่วมสุขสันต์กับโลกแห่งบัวบาน ผู้ใดรู้แล้วไม่ยอมเผยแพร่คัมภีร์นี้ จะต้องพบภัยพิบัติทั้งสิบประการ ยากที่จะกลับมา เกิดอีก ผู้ใดเขียนถ่ายทอดเผยแพร่ออกไป ทุกคนในครอบครัวจะอยู่เป็นสุข พบแต่ความ เป็นสิริมงคล สามารถรอดพ้นจากมหันตภัยได้ พระโพธิสัตต์อวโลกิเตศวรเข้าเฝ้าพระผู้ เป็นเจ้าเบื้องบน นำความดีชั่วของชาวโลกกราบบังคมทูลต่อเบื้องบน องค์เง็กเซียนมหา ราชทรงทราบข่าว ทรงพิโรธยิ่ง ต่อว่าบรรดาเทพยดาทั้งหลายเสียแรงเปล่าที่ชาวโลกจุดธูปเทียนบูชากราบไหว้ แต่ไม่ยอมอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายจวบจนบัดนี้ ในโลกเต็ม ไปด้วยคนชั่วร้ายไม่มีมโนธรรม จึงได้มีพระราชโองการให้เกิดภัยพิบัติหลายปี เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงประชาราษฎร์ ในเวลานั้นบรรดาเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ได้กราบทูลพร้อมด้วยพระโพธิสัตต์กวนอิมแห่งทะเลใต้ ได้ทรุดกายหมอบลงกับพื้นพระบรมมหาราชวัง ทูลขอ ให้ทรงโปรดกรุณาแก่ชาวโลกเป็นหลายครั้ง ว่าผู้ชั่วร้ายสมควรดับ ผู้ดีงามควรแบ่งแยก
องค์เง็กเซียนมหาราช ทรงบัญชาชี้ขาด ทรงเห็นว่าดี ชั่ว สองอย่างต่างกัน ให้สงครามเจาะจงเลือกที่เกิด ให้โรคระบาดเจาะจงเลือกคนเป็น และส่งจอมพลรับราชโองการเก็บกวาดล้างมนุษย์โลกตามที่มีผู้ทำชั่วร้ายดังนี้
1. เก็บผู้ที่กล่าวโทษด่าว่าฟ้าดิน
2. เก็บผู้ที่ไม่กตัญญูต่อบิดามารดา
3. เก็บผู้ที่กดขี่ราษฎรและฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. เก็บผู้ที่ประพฤติผิดในกาม มักมากตัณหา
5. เก็บผู้ที่ทิ้งขว้างพืชพันธุ์ธัญญาหาร
6. เก็บผู้ที่ทำลายศาสนา หลอกบางเทพยดา
7. เก็บผู้ที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
8. เก็บผุ้ที่ใช้เล่ห์เหลี่ยม คดโกงตาชั่ง
9. เก็บคนที่หลอกลวงให้คนหลงเชื่อ
10. เก็บผู้ที่ทำลายผุ้อื่นเพื่อประโยชน์สุขส่วนตน
11. ผู้สูงอายุนิดเดียวก็ไม่ยอมตักเตือนแก้ไข
12. คนรุ่นหลังไม่มีคุณสัมพันธ์ 5
13. คนชั่วรังแกคนดีที่ซื่อสัตย์
14. คนรวยใจไม้ไส้ระกำต่อคนยากจน
15. ชักศึกเข้าในเพื่อประโยชน์ภายนอก
16. ใช้กลอุบายวางแผนแก่งแย่งชิงดีกัน
17. ลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น
18. ขายยาปลอมหลอกลวงชาวบ้าน
19. พบคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริตถูกรังแกจนเข้ากระดูกดำ
20. พบคนเลวประจบสอพลอพะเน้าพะนอ
21. ซื้อขายหลอกลวงคนโง่เขลา
22. ย่ำยี เหยียบกระดาษตัวอักษร
23. มีแต่พวกแต่งกายเรียบร้อยสวมหน้ากากมนุษย์
24. ปฏิบัติดำเนินการผิดหลักฝ่าฝืนหลักธรรม
25. มีบางพวกอาศัยอำนาจใช้อิทธิพล
26. หลอกลวงใจตนเองและละเมิดหิริโอตัปปะ ทำลายคนโดยขาดศีลธรรม
27. มีบางพวกใจโหดเหี้ยม มุ่งกำไร หาผลประโยชน์ไม่คำนึงถูก - ผิด
28. ไม่คำนึงถึงหิริโอตัปปะ ไม่มีความสุจริตใจ
29. มีบางพวกอกตัญญู ไม่รู้คุณคน
30. รุ่นหลังจะเป็นคนกันอย่างไร
31. มีบางพวกรังแกข่มเหงเด็กและคนแก่
32. มีบางพวกทำลายการวิวาห์ให้แตกแยกสลาย
33. มีบางพวกทุบตี ปู่ ย่า ตา ยาย
34. มีบางพวกยกย่องคนรวย รังเกียจคนจน
35. มีบางพวก พี่ ป้า น้า อา ไม่สมานปรองดองกัน
36. มีบางพวกไม่เคารพรักสามี
37. มีบางพวกยุยงส่งเสริมให้ฟ้องร้องกัน
38. พี่น้องแก่งแย่งชิงดีกัน
39. จับงู ตีอวน ยิงนก
40. ปล่อยไฟเผาป่า ทำลายสุสาน
41. ส่งหนังสือทำลายพิธีภูติผีเวทมนต์
42. ใช้คาถาอาคมฝังรูปฝังรอยทำร้ายผู้อื่น
43. เจตนาเขียนยันต์สาปแช่งทำลาย
44. เกิดโทสะเมื่อผู้อื่นต่อว่า ต่อปาก ต่อคำ
45. ใช้เล่ห์กลกล่าวให้ร้ายป้ายสี
46. ธัญญชาติปะปนน้ำ ขายขูดรีด
47. เห็นคนมีเงินโกรธแค้น
48. เห็นคนร่ำรวยมีเกียรติเกิดความริษยา
49. เห็นคนทุกข์ยากไม่ช่วยเหลือ
50. พบคนตกอยู่ในความลำบากไม่ช่วยเหลือ
51. ไม่ประมาณดีชั่วของตนเอง
52. กลับกล่าวว่าผู้อื่นไม่เที่ยงธรรม
53. ตักเตือนให้ทำแต่ความดีไม่เชื่อฟัง
54. แนะนำให้ทำชั่วดำเนินทันที
นี่คือห้าสิบสี่ข้อกรรมชั่ว แต่ละรายควบคุมสอดส่องเก็บกวาดเรียบ มิให้เหลือไว้ในโลกา ส่งเข้าสู่หนทาง เปรตเดรัจฉานให้เขาเหล่านั้นสูญพันธุ์ทั้งครอบครัว ให้เขาบ้านแตกสาแหรกขาด ให้เขานองเลือด ให้กระดูกพวกเขาเหล่า นั้นดั่งพงพี่ มีที่นาไม่มีคนเพาะปลูกไถ มีบ้านให้ผู้อื่นอยู่อาศัย หากเปลี่ยนปแปลงแก้ไข ละความชั่ว สร้างความดี เขาจะหายเจ็บป่วย อายุยั่งยืน ดูเหล่าความคิดของเวไนยสัตว์ทั้งหลายรีบเร่งดำเนินปฎิบัติแต่ดีงาม กำหนดสามปีให้ ตรวจทั่ว กลับมากราบทูลทันที องค์เง็กเซียนมหาราชทรงทราบ พระองค์ทรงมีพระราชโองการดังนี้ ข้า ฯ จะลงมา ตรวจตระเวนทุกหนทุกแห่งควบคุมสอดลส่องละเอียดถี่ถ้วน ข้าฯ จะดำเนินการตัดสินให้เกิดภัยสงครามระลอก- หนึ่ง ให้โรคระบาดอีกบางส่วน ภายในเวลาไม่กี่เดือนทุกหนทุกแห่ง เก็บกวาดคนชั่วร้ายให้หมดสิ้น ต่อให้เจ้าวิง- วอนไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์มิตอบสนอง ต่อให้เจ้ากินยารักษาโรคไม่ได้ผล ถึงแม้ตำราเสินหนงยังอยู่. ถึงทานยาดีชั่วก็ต่างกัน คนดีมีคุณธรรม กินยารักษาได้ผล คนชั่วเลวร้ายกินยาแล้วไม่รอด บัดนี้ข้าฯ เห็นเหตุการณ์น่าเวทนา ไม่มี วิธีใดสามารถช่วยเวไนยสัตว์ได้ ต่อให้เจ้าจุดธูปบูชาข้าฯ เสียแรงเปล่าเห็นข้าฯ เป็นเทพยาดาน่าเคารพ แต่ปัจจุบัน มีทุกข์ ไม่ยอมช่วยเหลือ ใช่ว่าข้าฯ นั้นจะบิดเบือนต่อเบื้องบน ข้าฯ ได้วิงวอนด้วยความรีบเร่งร้อนรน และเบื้องล่างก็กล่าวพูดสัจธรรมตักเตือนให้ได้
บัดนี้ถึงกาลปลายกัปป์ ภัยพิบัติยุคสุดท้าย ปุถุชนธรรมดาเก้าตายไว้หนึ่งรอด สงครามอาวุธมีดพร้าเกิดขึ้นรอบด้าน โรคระบาดบุกรุกทุกแห่งหน ฟ้าอสุนีบาตฝ่าฟาดดังสนั่นสั่นสะท้าน อุทกภัยไหลหลากท้นท่วมบ้านเมือง วาตะพายุผกผันกวาดไปทุกหนแห่ง ภัยธรรมชาติแห้งแล้ง ชีวิตยากจะอยู่รอด พญามารเคาะประตูยามค่ำคืน โรคระบาดปรากฎในกลางวันประชิดตัว เสือร้ายออกจากป่าเขาจะหลบหนีอย่างไร งูพิษเต็มถนนหนทาง ยากที่จะเดิน หนี มีสิบมหันตภัย ยากหลีกหนี เมื่อมหันตภัยสิบได้ผ่านจึงนับว่ายอดคน
นี่แหละคือสิบมหาภัยอันยิ่งใหญ่ มีเพียงเตือนให้ท่านเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในจิตใจ สบโอกาสรีบ ๆ แก้ไข สำนึกผิดได้ยินได้รู้ เร่งกลับตัว กลับใจโดยทันใด อย่ารอจนภัยพิบัตินั้นมาถึงจะวิงวอนให้ช่วยเหลืออย่างไรก็ไร้ผล สร้างกุศลความดีกันแต่เนิ่น ๆ เพื่อหลบหลีกภัยพิบัติ เหล่าเวไนยสัตว์รีบตั้งจิตศรัทธา เคารพกตัญญู ฟ้า บิดา มารดา จงรักภักดีต่อชาติ บ้านเมือง ประชาราษฎร์คนจนจงรู้จักเจียมตัว ผู้มั่งมีจงเร่งรับช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ยากไร้ ผู้เปรื่องปัญญาตักเตือนชี้แนะผู้ด้อยรู้ให้ได้ผ่านพ้นภัยด้วยกันในโลกีย์ ผู้ไร้บุญบารมีตกลงสู่ทะเลทุกข์ มีบุญสัมพันธ์ ได้พบความสงบสุข บัดนี้ ข้าฯ แฝงกายยืมปากท่านไหว้วานบรรดาผู้ที่รู้จักอักษรเขียนถ่ายทอดให้ข้าฯ หนึ่งเล่ จะปกปักษ์รักษาให้ร่างกายสมบูรณ์ และแข็งแรง เขียนถ่ายทอดให้ข้าฯ สิบเล่ม ทั้งครอบครัวจะพ้นเคราะห์ภยันตราย เขียนถ่ายทอดให้ข้าฯ ร้อยเล่ม จะปกปักษ์รักษาให้อายุยั่งยืน อีกทั้งบลาภ วาสนา มีเงินรีบพิมพ์แจกทันทีทันใดจะปกปักษ์รักษาให้ได้เกียรติทั้งยศศักดิ์อันรุ่งโรจน์ หากพบผู้ไม่รู้ตัวอักษรช่วยบอกต่อให้เข้านั้นได้ฟังและเข้าใจ ถ้าหากมีคนชั่วร้ายไม่ศรัทธาเคราะห์ภัยจะใกล้ตัวในทันใด จะเกิดปวดเศียรเวียนศีรษะหน้ามืดและตาลาย เจ็ดทวารเลือดไหล ไปเมืองผี ภายในสิบชั่วร้ายนี้ ข้าฯ มิอาจกล้ากล่าวได้ให้ชัดแจ้งคิดจะเผยความลับของสวรรค์ ก็กลัวเบื้องบนจะลงโทษทัณฑ์ หากท่านทั้งหลายไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาว่าไม่จริง ไม่นานภยันตรายจะมาใกล้ตัวท่าน หากชาวโลก ศรัทธาและเชื่อฟัง เบื้องบนอาจทรงโปรดช่วยให้ไม่เกิดภัยพิบัติ
จงหัวหมินกั๊ว ปีที่ 5 จันทรคติ เดือน 10 คืนขึ้น 10 ค่ำ 3 ชั่วโมงลงสู่ ณ กู่ซี่ (โกวจิน) หงีเลียงเกาะ สถานธรรมจิบเลียง * หนังสือนี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกมาเมื่อ ค.ศ. 1916 พ.ศ. 2459 รวม 77 ปี *
เขียนโดย NUTPAPHAT ที่ 20:40 


Monday 30 December 2013

วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น

         วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว่า

    พรหมจรรย์นี้มิได้มีลาภสักการะสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิได้มีกามสุขในสวรรค์เป็นอานิสงส์ มิได้มีการเข้าถึงความเป็นอันเดียวกับพรหมในพรหมโลกเป็นอานิสงส์ แต่ว่ามีวิมุตติเป็นอานิสงส์ ดังนี้
    ตทังควิมุตติ คือ การพ้นไปจากอำนาจของ"ตัวกู-ของกู"ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
    วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง"ตัวกู" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
    สมุจเฉทวิมุตติ คือความดับ"ตัวกู" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง

เปรียบเทียบได้ว่า อย่างแรกนั้นอาศัยอำนาจของการประจวบเหมาะ อย่างที่ 2 หรืออย่างกลางนั้นอาศัยอำนาจของจิตที่ปฏิบัติถูกวิธี ส่วนอย่างที่ 3 หรืออย่างสูงนั้นอาศัยอำนาจของปัญญา

วิมุตติ 2 คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิและปัญญา ได้แก่
    เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ
    ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง
http://youtu.be/dpDLe7ek5bM

อานิสงส์ แปลว่า คุณเป็นเนื่องไหลไหลออกเนืองๆ แห่งผล คือ ให้ผลที่น่าชื่นใจโดยยิ่ง

อานิสงส์ หมายถึงผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ, ประโยชน์ที่เกิดจากการทำบุญ ใช้ว่า ผลานิสงส์ หรือผลอานิสงส์ ก็มี
อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ เปรียบเหมือนปลูกต้นมะม่วงย่อมจะได้ผลเป็นลูกมะม่วงก่อน ต่อมาลูกมะม่วงนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจต่อไปเมื่อนำไปเป็นอาหาร นำไปแลกเป็นของหรือนำไปขายเป็นเงิน
พิจารณาไตร่ตรองในพฤติกรรมและแนวทางของอนาคตอย่างถ่องแท้แน่แล้วหรือในรูปธรรมที่ชัดเจนโดยธรรม ลองคิดให้ลึกกว่านี้ดีไหมครับ จาก ผู้รักชาติ อีกคนนึงซึ้งเคยพลีชีพในสนามรบตัวจริง ประชาธิปไตยจริง ๆ คืออะไรครับ ในสากลโลกพิจารณาจากไหนครับ ที่กระทำกันทุกวันนี้ทำให้ประเทศเกินไปไหนกันแน่ อำนาจของประชาชนอยู่ที่ใครหรือ อย่านำพระองค์มาชี้วัดความจงรักภักดีเลยครับ
พระองค์ท่านอาจจะทรงเสียพระทัยในการกระทำของพสกนิกรบางส่วนหรือทั้งหมดเหล่านี้ก็ได้นะครับ เหตุใดไม่ตัดสินด้วยเสียงของคน 60 กว่าล้านตนล่ะครับ ว่าควรจะเลือกสิ่งใด ทุกคนก็เป็นคนไทยที่รักชาติเช่นกัน ผมคิดว่าคงไม่มีใครโง่ทั้งประเทศหรอกครับ ขออภัยด้วยครับ ผมยืนอยู่ข้างความเป็นจริง ที่สัมผัสได้ตลอดมาครับ อย่าโกรธกันเลยนะครับ ปัญญาชนควรใช้ปัญญามองให้ไกลกว่าที่คิดบ้างนะครับ http://th.wikipedia.org/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5...
http://youtu.be/vSlGn9L3tc4

สมาธิ คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน

การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้
การมีจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักไตร่ตรองความคิดให้ถูกต้อง
รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน
ในปี 2007 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐพบว่าเกือบ 9.4% ของผู้ใหญ่ (มากกว่า 20 ล้านคน) มีการฝึกสมาธิภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 7.6% (มากกว่า 15 ล้านคน) ในปี 2002
ตั้งแต่ปี 1960, การทำสมาธิได้รับการเพิ่มจุดเน้นของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และเต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น โยคะ
http://youtu.be/YsPXhTdb69k

ราคะ แปลว่า ความกำหนัดยินดี, ความพอใจ, ความติดใจ จริต แปลว่า ความประพฤติ, พฤติกรรมปกติ หมายถึงความประพฤติที่ติดต่อสืบเนื่องมานานจนเป็นเรื่องปกติของผู้นั้น ใช้ว่า จริยา ก็ได้

ราคะ หรือ ราคจริต หมายถึงพฤติกรรมของคนที่มีราคะเป็นปกติ คือรักสวยรักงาม มีกิริยาคือ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้นที่เรียบร้อย นิ่มนวล ชอบสะอาด ทำกิจต่างๆ ไม่รีบร้อน ชอบกินของที่บรรจงจัด ชอบของหวาน มีอารมณ์สุนทรีย์ ดูอะไรก็ดูนาน ละเอียดพิเคราะห์ อุปนิสัยเป็นคนเจ้าเล่ห์ ถือตัว แง่งอน ชอบอวด ชอบยอ อยากได้หน้า ราคจิตแก้ได้ด้วยการพิจารณากายคตาสติ หรือ อสุภกรรมฐาน
http://youtu.be/6mDLOEVP_18
อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง คือ ความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ โดยถูกต้องแจ่มแจ้ง มิได้หมายถึงความไม่รู้ศิลปะวิชาการต่างๆ หรือไม่รู้ร้อนรู้หนาวเป็นต้น แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่จะนำคำว่า อวิชชา ไปใช้เฉพาะกับวิชาในทางไสยศาสตร์เท่านั้น โดยเข้าใจกันว่า อวิชชาเป็นวิชาที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือหาประโยชน์เข้ามาใส่ตนเองโดยไม่สนใจผู้อื่น
อวิชชา หมายถึงความไม่รู้ในอริยสัจ คือ
    ไม่รู้ในทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นตัวทุกข์ เช่นไม่รู้ความเกิด ความแก่ ความตาย ความผิดหวัง เป็นตัวทุกข์
    ไม่รู้ในเหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากตัณหาในจิตของตนเอง มิใช่เกิดจากผีสาง เทวดา มิใช่เกิดจากการบันดาล
    ไม่รู้ในความดับทุกข์ ได้แก่ความไม่รู้ว่าทุกข์นั้นเมื่อเกิดแล้วสามารถดับได้ โดยการกำจัดตัณหาให้หมดไป
    ไม่รู้ในข้อปฏิบัติสำหรับดับทุกข์ ได้แก่ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นจะดับสนิทได้ด้วยมรรค 8 มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มิใช่ดับได้ด้วยการวิงวอนขอร้องให้คนอื่นช่วย
ความไม่รู้สึกต้วทั่วพร้อมโดยสมบูรณ์ในความเป็นจริงของสิ่งต่างๆในขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับมัน กล่าวคือไม่รู้กายในกาย ไม่รู้เวทนาในเวทนา ไม่รู้จิตในจิต และไม่รู้ธรรมในธรรม ก็คือไม่มีสติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์นั้นเองคือ อวิชชา
http://youtu.be/9OBKQFherY0

นิโรธแปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ

นิโรธ จัดเป็นอริยสัจอันดับที่ 3 ในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นิโรธ โดยภาวะคือนิพพานนั่นเอง
นิโรธ 5 หมายถึง ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้นนิโรธเป็นธรรมะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นิโรธ มี 5 ประการ โดยมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น
    ปหาน 5 (การละกิเลส 5 ประการ)
    วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ)
    วิเวก 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ)
    วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ)
    โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ)
นิโรธ 5 ได้แก่
    วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
    ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
    สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
    ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้น ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ
    นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน
http://youtu.be/V_fsZd0MItg
ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย
ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
    โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
    โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
    โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา
ปัญญา ๓ : สุตมยปัญญา
        สุตมยปัญญาเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ การเริ่มต้นในภาคการศึกษา การอ่านตำรา การฟังเทป การฟังธรรม การซักถามข้อข้องใจ จึงเรียกว่าภาคการศึกษา หรือเห็นสิ่งใด ๆ ในที่ทั่วไป ให้ศึกษาเหตุผลสิ่งนั้น ๆ ความถูกเป็นอย่างไร มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น ถ้าฝึกในวิธีนี้ได้ เราจะมีธรรมะ ได้ศึกษาในที่ทั่วไป สิ่งใดควรนำมาปฏิบัติได้ก็จดจำนำมาปฏิบัติต่อไป สิ่งใดไร้เหตุผลอย่างไรก็ศึกษาให้รู้ว่า เราจะไม่ทำไม่พูดในลักษณะอย่างนั้น แม้ในตำราต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามาก็อย่าเพิ่งเชื่อทีเดียว ใช้ปัญญาพิจารณาตีความหมาย ใช้เหตุผลมาเป็นตัวตัดสินให้รู้จักความผิดความถูกแล้วจึงตัดสินใจเชื่อในภายหลัง จึงจะเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะเป็นผลออกมาเป็นปฏิเวธ แนวทางปฏิบัติอย่างไรจะเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าทรงวางกฎเกณฑ์ไว้แล้วเป็นอย่างดี ถึงจะผ่านกาลเวลามายาวนานก็เป็นหลักความจริงตลอดมาไม่ล้าสมัย ยังมีประสิทธิภาพให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติตลอดมา การปฏิบัติได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับสติปัญญาและความสมารถของแต่ละท่าน หากมีความสงสัยในการปฏิบัติอย่างไร ก็ให้ศึกษากับท่านผู้รู้ผู้เข้าใจในธรรมอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรม การปฏิบัติก็จะก้าวหน้าไปด้วยดี
ปัญญา ๓ : จินตามยปัญญา
      จินตามยปัญญา เป็นคู่กับปฏิบัติ การปฏิบัติมี ๒ วิธี
๑. ปฏิบัติที่เป็นไปในขั้น กามาวจร
๒. ปฏิบัติให้เป็นไปใน โยคาวจร
ทั้งสองวิธีนี้มีอุบายในการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างไร เราปฏิบัติอยู่ในขณะนี้เป็นระดับขั้นกามาวจรหรือเป็นขั้นโยคาวจร จะรู้วิธีในการปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
๑. ปฏิบัติในขั้นกามาวจร เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างบารมี ที่เรียกว่า การบำเพ็ญกุศล ไม่หวังมรรคผลนิพพานในชาตินี้แต่อย่างใด ทำไปเพื่อให้เกิดความสุขภายในใจเท่านั้น เช่น การทำบุญให้ทาน การรักษาศีล การเจริญเมตตาภาวนา การทำสมาธิ การทำสมาธิทุกคนก็พอจะเข้าใจเพราะทำกันอยู่แล้ว ทำเพื่อความสุขสบายในใจไปชั่วคราวเท่านั้น ถึงจะทำสมาธิให้จิตมีความสงบลึกลงไปเป็นฌาน รูปฌาน อรูปฌาน อยู่ก็ตาม ก็จะได้ไปเกิดในภพของรูปพรหม อรูปพรหม เท่านั้น เมื่ออำนาจฌานเสื่อมลองก็จะได้มาเกิดในโลกนี้ต่อไป เว้นพระพรหมในพระอนาคามีเท่านั้น นอกนั้น จะต้องลงมาเกิดภายในภพทั้งสามต่อไป
๒. ปฏิบัติในขั้นโยคาวจร เป็นอุบายการปฏิบัติเพื่อจะพ้นไปจากภพทั้งสามในชาตินี้ให้ได้ จะไปได้หรือไม่ได้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความตั้งใจจะให้พ้นไปได้ในชาตินี้จริง ๆ การปฏิบัติในขั้นโยคาวจรใช้สติปัญญาเป็นหลักที่ยืนตัว การทำสมาธิก็เพื่อเป็นอุบายเสริมให้แก่สติปัญญาเท่านั้น การทำสมาธิก็ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ให้ทำเหมือนที่ได้ทำตามปกติทั่ว ๆ ไป ข้อสำคัญ อย่าให้มีความอยากในสิ่งใด ๆ อย่าหวังผลว่าให้เป็นอย่างนั้น ให้รู้อย่างนี้ การนึกคำบริกรรมก็เอาตามที่เรามีความถนัด หรือกำหนดสติระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเข้าหายใจออกก็ได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิตั้งใจมั่นได้แล้ว ให้สังเกตดูจิตตัวเองว่าจิตมีความต้องการที่จะสงบต่อไป หรือต้องการพิจารณาในสิ่งต่าง ๆ ถ้าจิตต้องการความสงบก็ปล่อยให้ลงสู่ความสงบอย่างเต็มที่ ในช่วงจิตมีความสงบอยู่นั้น อย่าไปบังคับให้จิตได้ถอน ปล่อยให้จิตอยู่ในความสงบจนอิ่มตัว เมื่อจิตอิ่มตัวในความสงบแล้วก็จะเริ่มถอนออกมาเอง ในขณะที่จิตถอนอย่าให้ถอนเร็ว ให้มีสติกำหนดรู้เอาไว้ไม่ให้ถอนออกหมด ให้อยู่ในขณิกะ อุปจารสมาธิ ในความตั้งใจมั่น จากนั้น ก็น้อมใจพิจารณาในหมวดธรรมต่าง ๆ ต่อไป เหมือนกับนอนหลับแล้วตื่นขึ้น อย่าให้ตื่นพรวดพราดลืมตาเลยทีเดียว ให้มีสติหลับตาเอาไว้ ถ้าหากมีความฝันอย่างไรจะได้เรียบเรียงดูความฝันนั้นได้ นี้ฉันใด เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิก็ให้เป็นในลักษณะฉันนั้น
ในบางกรณีหรือบางคน เมื่อจิตรวมอยู่ในสมาธิตั้งใจมั่นได้แล้ว จะกำหนดให้จิตลงสู่ความสงบต่อไปอีกไม่ได้ จิตชอบคิดในเรื่องนี้เป็นนิสัย ถ้าเป็นในลักษณะนี้ ให้หยุดคำบริกรรมเสีย ให้น้อมใจพิจารณาในหมวดธรรมต่าง ๆ ต่อไป การใช้ปัญญาพิจารณาในหมวดสัจธรรมนั้น ให้พิจารณาในสัจธรรมต่าง ๆ ที่เคยคิดพิจารณามาแล้ว เคยฝึกคิดพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่เที่ยง เคยฝึกคิดพิจารณาเรื่องความทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์ เคยคิดพิจารณาในเรื่องอนัตตา ว่าธาตุสี่ขันธ์ห้าไม่เป็นอัตตาตัวตน เป็นเพียงจิตได้อาศัยกันอยู่กับธาตุเท่านั้น อีกไม่นานก็จะได้ผุพังเปื่อยเน่าเป็นธาตุดิน ให้คิดพิจารณาในวัตถุสมบัติทั้งหลายว่า เป็นปัจจัยอาศัยประจำชีวิตเท่านั้น อีกไม่กี่วันเดือนปีก็จะได้ตายจากสมบัติไป คิดพิจารณาว่าไม่มีสมบัติอะไรเป็นของของเราที่แน่นอนตายตัว การคิดพิจารณาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ให้คิดเรียบเรียงไปตามความเปลี่ยนแปลงในสิ่งนั่น ๆ ว่ามีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในสิ่งนั้นให้ชัดเจน ทั้งสิ่งภายนอกที่มีอยู่เป็นอยู่ในที่ทั่วไป ภายในคือธาตุสี่ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ที่รวมกันอยู่เป็นรูปธาตุ ให้พิจารณาเรียบเรียงไปตามวัย วัยหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกวัยหนึ่ง จนถึงปัจฉิมวัย คือวัยที่แก่หง่อมเต็มที่ มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร ใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงอยู่บ่อย ๆ จิตก็จะค่อยรู้เห็นในก้อนธาตุที่ไม่เที่ยงนี้ได้อย่างชัดเจน ทั้งเราทั้งเขาและสัตว์ดิรัจฉานทุกชนิด ก็มีความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามวัยเช่นกัน
การพิจารณาความทุกข์ หมายถึงความทุกข์ทางใจ อย่างอื่นเพียงเป็นเหตุปัจจัยให้เป็นทุกข์เท่านั้น ลำพังใจอย่างเดียว จะไม่มีความสุขความทุกข์อะไร ใจที่เป็นทุกข์เป็นสุขไปตามเหตุนั้น ๆ เรียกว่า กิเลสตัณหา กิเลสตัณหา หมายถึงความรักความใคร่ ความกำหนัดย้อมใจอยู่ในกามคุณ ที่ใจหลงว่าเป็นความสุข ที่จริงก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์นั้นเอง ความสุขและความทุกข์เป็นผลเกิดขึ้นจากความสมหวังและความผิดหวัง ถ้าได้อะไรมาตามใจชอบก็ถือว่ามีความสุข ถ้าไม่ได้ตามใจก็ถือว่าเป็นทุกข์ ทั้งสุขทั้งทุกข์จึงเป็นกิเลสด้วยกันทั้งสอง ความสุขทุกคนมีความต้องการ ความทุกข์ไม่มีใครต้องการ แต่มีความหมั่นขยันในการสร้างเหตุให้เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา หารู้ตัวเองไม่ว่าเรากำลังสร้างเหตุแห่งทุกข์ให้แก่ตัวเอง ความไม่รู้นี้เองจึงเรียกว่า โมหะ อวิชชา จึงได้เกิดเป็นตัณหาความอยากความต้องการ อยากนั้นบ้างอยากนี้บ้าง จิปาถะจะนับเป็นตัวเลขไม่ได้เลย จึงเป็นความอยากเพื่อเสริมกิเลสให้มีกำลัง ถ้าทำลายหรือตัดความอยากออกจากใจได้แล้ว กิเลสก็จะหมดสภาพไปเอง
อนัตตา หมายถึงสูญสลายไป ไม่ใช่อัตตาตัวตนเราเขา การพิจารณาในอนัตตา ให้รู้จำในคำว่า อัตตา เอาไว้ เพราะอนัตตาเป็นลักษณะที่สูญไปจากอัตตานั้นเอง อัตตามี ๒ อย่าง รูปอัตตา หมายถึงธาตุธุลี คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ที่รวมกันอยู่เรียกว่า นามอัตตา หมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า อาการของจิต การพิจารณาในธาตุสี่ ให้แยกพิจารณาดูแต่ละธาตุให้เข้าใจ แล้วใช้ปัญญาพิจารณารวมกัน เรียกว่าเจริญอาการ ๓๒ ให้เป็นธาตุด้วยกันทั้งหมด และให้พิจารณาในอสุภะ ในความสกปรกโสโครกเน่าเฟะในทุกส่วนของธาตุนั้น ๆ คิดพิจารณาสร้างภาพตามความเป็นจริงอยู่บ่อย ๆ ใจก็จะค่อยเกิดความรู้เห็นเป็นไปตามความจริงชัดเจน ก็จะรู้เห็นความไม่สวยงามความสกปรกในร่างกายนี้ ให้พิจารณาดูร่างกายของตัวเอง และพิจารณาดูรูปร่างกายของคนอื่น ให้เป็นในลักษณะสกปรกเน่าเฟะเปื่อยผุพังเหมือนกับตัวเรา หรือให้พิจารณาซากศพคนและสัตว์ตายก็ได้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานยืนยันในความเป็นจริง เมื่อทิ้งไว้ก็จะเป็นอาหารของแมลงวันและหนอนไป เมื่อเอาไปเผาก็เหลือเพียงกระดูกออกมาให้เห็น เราก็จะเป็นในลักษณะนี้เช่นกัน หากใจยังครองร่างกายนี้อยู่ ก็เคลื่อนไหวไปมาได้ เมื่อใจออกจากร่างกายนี้ไป รูปกายทุกส่วนก็จะนอนทับถมสลายไปในแผ่นดินนี้ทั้งหมด จึงไม่เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใด จึงเป็นรูปังอนัตตา
อนัตตาในนามที่เป็นอาการของจิต มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อาการของจิตทั้ง ๔ นี้ มีวิญญาณการรับรู้เป็นประธาน วิญญาณการรับรู้นี้เอง จะเชื่อมโยงให้จิตได้รู้อารมณ์ที่เป็นสุข อารมณ์ที่เป็นทุกข์ อารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เรียกว่าเวทนา สัญญาความจดจำในสิ่งต่าง ๆ วิญญาณการรับรู้ในความจดจำนั้น ๆ จำในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กามคุณห้านี้เอง จึงเป็นอาหารที่เลิศรสให้แก่กิเลสตัณหา มีความต้องการอยากที่จะสัมผัส จึงทำให้เกิดเวทนา ความจำในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จำมาเพื่อให้เกิดความหลงรักหลงชัง จึงเรียกว่า สัญญา เมื่อจำมาได้ก็ปรุงแต่งให้ใจเกิดความรักขึ้นมาอย่างหยดย้อยทีเดียว ใจจึงหลงในความรัก มีความยินดีพอใจในความรัก ความอยากได้ อยากมีอยากสัมผัสในความรักนั้น ๆ อย่างฝังใจทีเดียว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่ชอบใจก็ใช้วิธีคิดปรุงแต่งให้ใจเกิดความโกรธ ไม่พอใจในสิ่งใดจึงได้เกิดความทุกข์ขึ้นมา ฉะนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงเป็นลักษณะอาการของใจ อาศัยการสัมผัสของอายตนะภายในภายนอก จึงเกิดกระแสแห่งความรักความชัง จึงได้เกิดความหลง ความเข้าใจผิดไปว่าเป็นตน กิเลสตัณหาน้อยใหญ่จึงเกิดมีในใจ จึงทำให้เกิดทิฏฐิมานะ จึงเกิดความยึดถือไปว่าเป็นอัตตาตัวตน จึงเกิดมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเราขึ้นมา กิเลสตัณหาน้อยใหญ่จะอาศัยอยู่ในนามจิตอย่างมืดมิดทีเดียว ถ้าสติปัญญาไม่มีความละเอียดแหลมลึกจริง ๆ จะเจาะเข้าไปให้รู้เห็นตามความจริงนี้ไม่ได้เลย ฉะนั้น อัตตาทั้งสองคือ รูปอัตตา นามอัตตา ที่เรียกว่าขันธ์ห้า มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเพียงให้กิเลสตัณหาอาศัยอยู่จึงฝึกสติปัญญาพิจารณาให้รู้เห็น ให้เป็นไปใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้รู้เห็นเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปตามเหตุปัจจัยของขันธ์นั้น ๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจน จะไม่เกิดความเห็นผิด ความเข้าใจผิดไปว่า ขันธ์ห้าเป็นอัตตาตัวตนแต่อย่างใด
จินตามยปัญญาในภาคปฏิบัตินี้เอง จึงเรียกว่าการเจริญวิปัสสนาในขั้นโยคาวจร เป็นอุบายการฝึกใจให้ปฏิเสธทอดอาลัยในสรรพสังขารทั้งหลาย ว่าไม่มีอะไรเป็นเราและเป็นของของเราโดยประการทั้งปวง การใช้ปัญญาพิจารณาในหมวดธรรมใด มิใช่ว่าจะให้เกิดความรู้เห็นเป็นไปในสัจธรรมเท่านั้น ต้องทำใจให้ปฏิเสธไปพร้อม ๆ กัน ใช้ความจริงจังในขณะพิจารณานั้นอย่างเข้มข้นฮึกเหิม จะใช้ความคิดพิจารณาด้วยปัญญาในเรื่องความจริงอะไร ต้องใช้กำลังภายในเป็นองค์ประกอบทุกครั้งไป เสียงภายในก็ใช้วิธีดุดันอย่างเผ็ดร้อน และปฏิเสธไปพร้อม ๆ กันในขณะนั้น ใช้กำลังปัญญาบวกกับกำลังเสียงกระตุกใจให้ตื่นตัว เหมือนกับไฟกำลังโหมไหม้บ้านตัวเองอยู่ ผู้ที่ยังนอนหลับหลงใหลไม่รู้ตัวก็ต้องตะโกนกระชากให้ตื่นขึ้น เพื่อจะได้หาน้ำมาดับไฟให้หมดไป นี้ฉันใด ไฟของราคะ ไฟของโทสะ ไฟของโมหะ ที่กำลังโหมตัวร้อนใจหลงใหลใฝ่ฝันเมามันอยู่ในกามคุณ จะใช้ปัญญาธรรมดาพรรณนาในเรื่องความจริงอย่างไร ใจก็ยังใฝ่ฝันไปในความรักความใคร่ในกามคุณที่เป็นฝ่ายต่ำหยาบคาย ก็ต้องใช้ปัญญาอย่างหยาบกระทบกระแทกใจให้ได้ตื่นตัว เมื่อใจไม่ยอมรับความจริงก็ต้องใช้วิธีดุด่าขู่เข็ญปัญญาจี้ให้ใจได้รู้เห็นในสิ่งที่ไม่เที่ยง จี้ให้ใจรู้เห็นในทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์ จี้บังคับให้ใจยอมรับความเป็นจริงเหมือนกับงูที่คาบเขียดกำลังจะกลืน จะบอกให้งูคายออกมาด้วยความนุ่มนวลอ่อนหวานด้วยคำพูดอย่างไร งูก็ไม่ยอมปล่อยวาง จึงให้ใช้วิธีตะคอกดุด่าตบตีให้งูเกิดความตกใจกลัว งูจึงจะวางเขียดออกไปได้ นี้ฉันใด กิเลสตัณหากำลังเกาะใจอย่างเหนียวแน่น จะใช้ปัญญาพิจารณาที่ถูกต้องตามหลักความจริง กิเลสตัณหาก็จะเกาะอยู่กับใจ ใจก็เกาะอยู่กับกิเลสตัณหา จึงใช้วิธีตะเพิดดุด่าตะคอกเพื่อให้ใจกับกิเลสตัณหาได้คลายออกจากกันไป ไม่ให้มีความผูกพันต่อกันดังที่เคยเป็นมา
การใช้ปัญญาสอนใจไม่ให้เป็นมิตรต่อกิเลสตัณหา ต้องเอาความความทุกข์ที่เป็นผลงานของกิเลสตัณหามาเป็นพยานหลักฐาน พรรณนาความทุกข์ที่ใจได้รับมาเป็นข้อมูล ให้ใจได้รู้ได้เห็นในทุกข์ โทษภัยในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมานจนถึงปัจจุบัน เป็นผลงานที่ทรมานเดือดร้อนให้แก่ใจมาตลอด ทำให้ใจได้หลงไปในทางที่ต่ำทรามมายาวนาน เป็นปัญหาที่สะสมหมักหมมกันมานับชาติไม่ถ้วน เมื่อมาถึงชาตินี้ ต้องชำระให้ปัญหาหมดไปจากใจเสียที สติปัญญาจะพิพากษาว่าการตัดสินลงโทษให้แก่กิเลสตัณหาให้สะใจ ให้ใจได้มีอิสระไม่มีพันธะผูกพันกับกิเลสตัณหาอีกต่อไป เหมือนกับต้นกำเนิดของไฟเกิดขึ้นในที่ใด จะต้องดับไฟในที่นั้น ไม่ปล่อยให้ไฟได้เกิดไหม้ลุกลามต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด นี้ฉันใด ไฟของราคะ ไฟของโทสะ ไฟของโมหะ ที่โหมทับถมใจให้มีความเดือดร้อนเป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นหน้าที่ของสติปัญญาต้องเข้าไปแก้ไขระงับเหตุให้หมดไป ใจจะได้รู้ตัวว่าถูกกิเลสตัณหาหลอกมายาวนาน มีความทุกข์ทรมานเดือดร้อนที่กิเลสตัณหาให้เป็นไป เมื่อมารู้เห็นทุกข์โทษภัยในกิเลสตัณหานี้แล้ว ใจจะได้รู้ตัว ไม่มั่วสุมลุ่มหลงอยู่กับกิเลสตัณหาอีกต่อไป เหมือนกับผู้เคยได้รับโทษภัยในหมู่คนพาลมาแล้ว จะได้เป็นบทเรียนจดจำในการกระทำของกลุ่มคนพาลเหล่านั้น จะไม่เข้าใกล้มั่วสุมกับกลุ่มคนพาลอีกต่อไป นี้ฉันใด ใจเมื่อถูกฤทธิ์ของกิเลสตัณหาได้พาให้เป็นทุกข์มาแล้ว จะเกิดความตื่นตัว จะไม่เป็นเพื่อนเป็นมิตรกับกิเลสตัณหาอีกต่อไป จึงใช้สติปัญญาระงับเหตุแก้ไขในปัญหาให้แก่ใจให้ได้ อย่าไปกลัวอิทธิพลศักดิ์ศรีของกิเลสตัณหาแต่อย่างใด บัดนี้จึงเป็นทีของสติปัญญาจะขึ้นสู่บัลลังก์ว่าการอย่างเต็มที่ มีทีเด็ดแพรวพราวอย่างไรก็แสดงออกมาด้วยความกล้าหาญ เหมือนเข้าสู่สนามรบ แล้วก็ต้องเตรียมพร้อมในอาวุธนานาประการ ไม่มีในคำว่าถอยหลังให้ข้าศึกตั้งหลักได้ อาวุธน้อยใหญ่มีเท่าไรจะต้องใส่กันอย่างเต็มที่ มีศัตรูน้อยใหญ่ขนาดไหนจะต้องสับฟันห้ำหั่นให้เรียบราบไป จนกว่าจะได้ชนะกลับมาอย่างสง่าผ่าเผย นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติต้องฝึกสติปัญญาศรัทธาความเพียรให้พร้อม ขณะนี้ขึ้นเวทีตัวจริง ไม่มีคำว่าเพื่อนไม่มีคำว่ามิตรอีกต่อไป ไม่มีคำว่าแพ้ ไม่มีคำว่าเสมอ มีแต่ชนะอย่างเดียว กิเลสตัณหาไม่ตาย เรายอมตาย เราไม่ตายให้กิเลสตัณหาได้ตายไป
ในครั้งแรกก็ใช้สติปัญญาพิจารณาในสัจธรรมตามความเป็นจริงอยู่บ่อย ๆ ในเมื่อกิเลสตัณหายังมาทำให้ใจได้เกิดความหลงใหลในกามคุณอยู่ ไม่ยอมรับความจริงที่สติปัญญาได้อบรมสั่งสอน ถ้าอย่างนี้ จะไม่มีในคำว่าอภัยอีกต่อไป จะต้องใช้พระเดชแบ่งเขตที่หวงห้ามในทันที กิเลสตัณหาเข้ามาหลอกใจเมื่อไร ในเมื่อนั้น สติปัญญาก็ฟาดฟันให้แตกหักกันไปในทันที แต่ก่อนมาหลงคิดว่าเป็นมิตร แต่บัดนี้จึงมารู้ว่าเป็นพิษภัยให้แก่ใจ ทำให้เกิดความทุกข์นานาประการ ในชาติที่ผ่านมากิเลสตัณหาได้ทำให้ใจได้รับความทุกข์มาตลอด ในชาตินี้ก็มีวิธีทำให้ใจได้รับความทุกข์อีก และยังวางแผนงานที่จะทำให้ใจได้รับความทุกข์ในชาติหน้าอีกต่อไป กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นี้เองหรือ เป็นต้นเหตุให้ใจหลงผิดเกิดความลุ่มหลง หลงในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หลงในวัตถุสมบัติ และหลงไปตามกระแสโลก จึงได้เกิดความพอใจยินดีอยู่ในภพทั้งสาม ซึ่งเป็นผลผลิตขึ้นมาจากตัณหานี้ทั้งสิ้น มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะแก้ไขให้ได้เกิดความรู้จริงเห็นจริงได้ แต่ก่อนมา กิเลสตัณหาได้อบรมสั่งสอนใจมาตลอด บัดนี้ได้ฝึกสติปัญญามาอบรมสั่งสอนใจบ้าง ให้ใจมีความรู้ความฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริง จะได้เกิดความสำนึกตื่นตัวขึ้นมาได้ จะไม่หลงใหลจมอยู่ในกิเลสตัณหา ดังที่เคยเป็นมาในชาติ อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัญญา ๓ : ภาวนามยปัญญา
               ภาวนามยปัญญา จะเกิดผลออกมาเป็นปฏิเวธ จะเป็นจุดที่สิ้นสุดของผู้ปฏิบัติธรรมในวาระสุดท้าย ถึงจุดนั้นจะมีอะไรเป็นพิเศษเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติอย่างสนิทใจ อุบายการปฏิบัติจะมีความเผ็ดร้อนเข้มข้นอย่างสุดตัวทีเดียว จึงเรียกว่า วิปัสสนาญาณ เป็นวิธีตัดสินชี้ขาดในระหว่างโลกกับวิสุทธิธรรมจะแยกทางกัน ผลที่ออกมาเป็นปฏิเวธนี้จะไม่มีสามภพปะปนกันอยู่เลย จะเป็นความบริสุทธิ์ในธรรมล้วน ๆ คำว่า ภาวนามยปัญญา ก็หมายถึงการเจริญในวิปัสสนาญาณนั้นเอง วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นจริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบที่หลายคนมีความเข้าใจกัน ฐานของวิปัสสนาญาณจะต้องเริ่มจาก สุตมยปัญญา เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบในภาคการศึกษา จะต้องศึกษาให้รู้หมวดธรรมที่เป็นปริยัติให้เข้าใจ ธรรมหมวดไหนอยู่ในขั้นกามาวจร ธรรมหมวดไหนอยู่ในขั้นโยคาวจร ศึกษาในวิธีการปฏิบัติให้ถูกกับหมวดธรรมนั้น ๆ ให้ถูกต้อง แล้วนำมาปฏิบัติระดับขึ้น จินตามยปัญญา เพื่อเป็นอุบายในการเจริญวิปัสสนาต่อไป เมื่อปฏิบัติให้เป็นไปในวิปัสสนา เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบ เกิดความรู้เห็นในสัจธรรมความเป็นจริง มีความละเอียดมากขึ้น จะมีความสมบูรณ์ในการเจริญในวิปัสสนาอย่างเต็มที่ จากนั้น ก็จะเชื่อมโยงขึ้นสู่ใน ภาวนามยปัญญา หรือเรียกอีกคำหนึ่งว่า วิปัสสนาญาณ ผลก็จะออกมาเป็นปฏิเวธ เรียกว่า มรรคผลนิพพานนั่นเอง นี้เพียงเรียบเรียงการเกิดขึ้นของปัญญา มิใช่ว่าปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธิแต่อย่างใด สมาธิเป็นเพียงอุบายเสริมให้แก่ปัญญา ได้พิจารณาในสัจธรรมนั้น ๆ ให้เกิดความรู้เห็นชัดเจนมากขึ้น จนถึงในระดับขั้นวิปัสสนาญาณ การทำสมาธิก็ทำเพื่อให้เป็นพลังหนุนให้แก่วิปัสสนาญาณ จึงเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงอย่างทั่วถึง ไม่มีสิ่งใดในสามภพจะปิดบังในวิปัสสนาญาณนี้ได้เลย นตถิโลเก รโหนาม ความลับที่ซ่อนเร้นปิดบังให้เกิดความหลงอีกต่อไปไม่มี กิเลสตัณหาน้อยใหญ่ในขั้นละเอียดขนาดไหน วิปัสสนาญาณก็ได้ชำระล้างให้หมดไปจากใจให้หมดสิ้น
             วิปัสสนาญาณ ที่จะเกิดขึ้นนั้น ไม่มีกาลเวลารู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะมีเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น บารมีที่พร้อมแล้ว และอินทรีย์ที่แก้กล้า สติปัญญามีความสมบูรณ์ ภพชาติจะสิ้นสุดลงเป็นครั้งสุดท้าย วิมุติก็จะได้หลุดพ้นจากภพทั้งสาม มรรคผลนิพพานก็จะเริ่มปรากฏ ความบริสุทธิ์ในธรรมได้รวมเป็น มัคคสมังคี ไม่มีความย่อหย่อนบกพร่องแต่อย่างใด ความพร้อมทุกอย่างนี้เองจึงเป็นกำลังใหญ่ จะทำให้เกิดความสิ้นสุดแห่งทุกข์นี้ไปในขณะนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อท่านทั้งหลายได้เดินทางไปธุดงควิเวกอยู่ในที่ไหนก็ดี เมื่ออารมณ์ของวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นในช่วงนั้น ให้หยุดพักเพื่อการเจริญในวิปัสสนาญาณ เมื่อทำกิจเสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไป วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้น จะมีเหตุให้เกิดขึ้นต่างกัน บางท่านก็เห็นฟองน้ำ บางท่านก็เห็นพยับแดด บางท่านก็เห็นดอกบัว บางท่านก็เห็นคนแก่ คนเจ็บป่วย หรือคนตาย อุบายที่จะให้เกิดวิปัสสนาญาณนั้นมีมาก เหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง ขึ้นอยู่กับบารมีที่บำเพ็ญมาไม่เหมือนกัน เมื่อนิสัยใครตรงกับอารมณ์ของวิปัสสนาญาณใด ก็จะเกิดความรู้สึกได้ว่า ปัญญาญาณเราเกิดขึ้นแล้ว จะรู้ชัดว่า ปัญญาเราได้เกิดขึ้นแล้ว จากนี้ไปปัญญาก็จะหมุนตัวเป็นอัตโนมัติ น้อมใจไปพิจารณาในเรื่องขันธ์ห้า ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่รูป รูปไม่มีในตน ตนไม่มีในรูป เวทนาไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่เวทนา เวทนาไม่มีในตน ตนไม่มีในเวทนา สัญญาไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่สัญญา สัญญาไม่มีในตน ตนไม่มีในสัญญา สังขารไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่สังขาร สังขารไม่มีในตน ตนไม่มีในสังขาร วิญญาณไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณไม่มีในตน ตนไม่มีในวิญญาณ
              ขันธ์ห้าเป็นเพียงสภาวธรรมที่เป็นกลาง ไม่อยู่ในอำนาจกับสิ่งใด ๆ กิเลสที่มีความเห็นผิดคิดว่าขันธ์ห้าเป็นตนต่างหาก จึงเกิดความยึดมั่นถือมั่นอย่างจริงจังตลอดมา กิเลสจึงพาให้ใจเกิดความเห็นผิดจึงได้เกิดความทุกข์ จึงใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงนั้นทั้งหมด เรื่องความเป็นมาในขันธ์ห้าในชาติอดีต ความเป็นอยู่ในขันธ์ห้าชาติปัจจุบัน และความเป็นไปในขันธ์ห้าชาติอนาคต ให้รู้จักเหตุและปัจจัยที่ขันธ์ห้าตัวหมุนเวียนไปมาในภพทั้งสาม นั้นคือ ตัณหา เป็นต้นเหตุ ทำให้กิเลสน้อยใหญ่ได้เป็นไปในความรักความชอบ คำว่าตัณหา ทุกคนได้อ่านรู้ในตำรามาแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่ทำให้ใจมีความรู้สึกอะไร เมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ตัณหา ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะเป็นกำลังใหญ่ที่พาให้ใจหมุนตามวัฏสงสาร หมุนไปในอบายภูมิ หมุนมาเป็นมนุษย์ หมุนไปสวรรค์ หมุนไปพรหมโลก หมุนเวียนไปมาตามตัณหาไม่มีที่จบสิ้น ตัวตัณหานี้เอง จึงเป็นเหตุให้ได้ทำกรรมต่าง ๆ กรรมดีบ้างไม่ดีบ้าง บาปบ้างบุญบ้าง เหตุเกิดจากตัณหาทั้งนั้น
              แม้พระบรมจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในบุญบารมี ก็ยังตกอยู่ในอำนาจของตัณหานี้เช่นกัน จะมีบุญมากบุญน้อยบาปมากบาปน้อยไม่สำคัญ ตัณหาจะเป็นกงจักรใหญ่พาให้หมุนไปในภพทั้งสามนี้ทั้งนั้น หรือผู้ทำสมาธิความสงบบำเพ็ญอยู่ในฌาน เมื่อตายก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก หากฌานเสื่อมก็ได้ลงมาเกิดในภพอื่นต่อไป เว้นเสียแต่พรหมของพระอนาคามีเท่านั้น การเจริญในวิปัสสนา เหมือนกับตัดกิ่งก้านสาขาและลำต้นทิ้งไป หรือเหมือนตัดเล่าเครือตูดหมู (ต้นกระพังโหม) ทิ้งไปเท่านั้น การเจริญในวิปัสสนาญาณ เหมือนกับขุดรากถอนโคนเง่าหัวทิ้งไปให้สิ้นซาก เป็นวิธีทำลายเหตุในการเกิดของภพทั้งสามให้หมดสภาพไป วิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อไร ผู้นั้นจะได้บรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งในไม่ช้านี้ จะได้บรรลุธรรมขั้นไหนจะขึ้นอยู่กับบารมีของท่านผู้นั้นในช่วงวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นนี้ ความรู้เห็นในสัจธรรมใดในสามภพที่จะเกิดความแยบคาย และหายสงสัยไปเสียทั้งหมด ความยึดมั่นถือมั่นเป็นความหลงผิดในสิ่งใด จะหลุดถอนออกจากใจทั้งสิ้น เชื้อของภพชาติใด ๆ ที่จะทำให้เกิดอีกต่อไป วิปัสสนาญาณจะประหารให้หมดไปในขณะนี้ แม้แต่บุญกุศลบารมีที่เป็นกำลังที่สำคัญ เป็นตัวสนับสนุนให้การปฏิบัติมาถึงจุดนี้เพียงเป็นกำลังส่งให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เท่านั้น จะติดตามต่อไปไม่ได้เลย การเป็นไปในลักษณะนี้จึงเรียกว่า นิโรธ ความรู้แจ้งในสามภพไม่มีอะไรปิดบังนั้นเอง
               นิโรธ ความดับทุกข์ ก็คือดับตัณหาที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ภายในใจ ถ้าดับได้จริงก็ไม่จำเป็นจะไปเล่าให้ใคร ๆ ได้รับรู้ และไม่จำเป็นที่จะไปรับคำพยากรณ์จากใคร ๆ จะเป็นในสมัยครั้งพุทธกาลหรือยุคปัจจุบัน ความเป็นพระอรหันต์ไม่ขึ้นอยู่กับกาลสมัย เหมือนกับน้ำตาลจะมีรสหวานอยู่ในตัวมันเอง ในสมัยครั้งพุทธกาลและยุคปัจจุบัน รสชาติของน้ำตาลก็มีรสหวานเหมือนกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง นี้ฉันใด พระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลกับพระอรหันต์ในยุคปัจจุบัน ก็ละกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจได้เท่ากัน นิพพานความดับอันสนิทของเชื้อของกิเลสตัณหาก็ดับได้เหมือนกัน ส่วนพระอรหันต์ในยุคนี้ ไม่มีเปอร์เซ็นต์ที่จะนับได้ เพราะมีน้อยไป อีกประการหนึ่ง สังคมส่วนใหญ่ได้ปฏิเสธไปแล้วว่า ในยุคนี้หมดยุคสมัยของพระอรหันต์ไปแล้ว ในเมื่อสังคมลงมติกันอย่างนี้ ถึงจะมีพระอรหันต์อยู่ สังคมส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อว่ามีอยู่นั่นเอง ฉะนั้น นิโรธความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่เหลือวิสัยที่คนธรรมดาจะรู้ตามได้ ถึงจะวิจัยวิเคราะห์วิจารณ์อย่างไรก็ไม่รู้จริงอยู่นั่นเอง หรือผู้มีนิโรธดับทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์ได้เหมือนกัน ท่านเหล่านั้นก็จะไม่ถามกันในเรื่องนี้ เพราะเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว จะนำมาบรรยายให้ผู้อื่นรู้ตามไม่ได้เลย ในทางที่ดีให้ปฏิบัติเข้าถึงจุดที่ดับทุกข์ได้ก่อน จึงจะให้คำตอบแก่ตัวเองได้ ไม่เป็นสิ่งที่ลึกลับสลับซับซ้อนอะไร ธรรมใดที่เหลือวิสัยแก่กุลบุตรปฏิบัติตามและรู้เห็นไม่ได้ ธรรมนั้นพระพุทธเจ้าไม่ทรงเอามาตรัสไว้ ธรรมใดที่กุลบุตรปฏิบัติแล้วรู้เห็นตามได้ ธรรมนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้นำมาตรัสสอนให้ผู้ปฏิบัติได้รู้จริงเห็นจริงต่อไป นิโรธความดับทุกข์ จะเริ่มการดับจากวิญญาณการรับรู้เป็นจุดแรก วิญญาณดับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น รูปขันธ์นามขันธ์ก็ดับไปด้วยกัน ไม่มีขันธ์ใดสัมผัสรับรู้ในสิ่งใดได้เลย วิญญาณดับจากการรู้ในเวทนา วิญญาณดับจากการรับรู้ในอารมณ์แห่งความสุข วิญญาณดับจากการรับรู้อารมณ์แห่งความทุกข์ วิญญาณดับจากการรับรู้อารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกว่า ดับในเวทนา วิญญาณดับจากสัญญาไม่มีการรับรู้ในความจำ ในรูปขันธ์นามขันธ์แต่อย่างใด แม้แต่อายตนะภายนอก มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่มาสัมผัส ก็ไม่มีวิญญาณการรับรู้ในความจำแต่อย่างใด วิญญาณดับจากสังขาร ไม่มีการรับรู้ในความคิดปรุงแต่งในเรื่องอะไร เพราะวิญญาณได้ดับจากสังขารไปแล้ว จะคิดปรุงแต่งในสมมติอะไรไม่ได้เลย เรียกว่าดับในสังขาร วิญญาณดับจากการรับรู้ในรูปขันธ์ ก็เป็นในลักษณะอย่างเดียวกัน วิญญาณการรับรู้ได้ดับไปในทางตา ถึงจะมีตาก็ไม่รับรู้ในรูปอะไรได้ วิญญาณการรับรู้ได้ดับไปในทางหู ถึงจะมีหูก็ไม่รับรู้ในเสียงอะไรได้ วิญญาณการรับรู้ได้ดับไปในทางจมูก ถึงจะมีจมูกก็ไม่รับรู้ในกลิ่นที่หอมเหม็นอะไรได้ วิญญาณการรับรู้ได้ดับไปในทางลิ้น ถึงมีลิ้นก็ไม่รับรู้ในรสชาติของอาหารอะไรได้ จะไม่รู้จักรสคาวหวาน ไม่รู้จักรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม แต่อย่างใด วิญญาณการรับรู้ได้ดับไปในทางกาย ถึงจะมีรูปกายก็ไม่รับรู้ในการสัมผัสในสิ่งที่อ่อนแข็ง ไม่รับรู้ในการสัมผัสร้อนหนาวแต่อย่างไร ร่างกายอยู่ในอิริยาบถใดก็จะอยู่ในอิริยาบถนั้น แม้แต่เปลือกตาก็ไม่รับรู้ที่จะกะพริบอยู่นั่นเอง วิญญาณการรับรู้ได้ดับไปในทางใจ ถึงจะมีใจก็ไม่มีความรับรู้ในสิ่งใด ๆ รู้ก็สักว่ารู้เท่านั้น รู้ไม่มีความหมายในสิ่งใด ๆ และไม่มีความหมายว่ารู้อะไร จึงเรียกว่าขันธ์ห้าไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่ขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในตน ตนไม่มีในขันธ์ห้า ก็เป็นลักษณะอย่างนี้ กายก็สักว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา จิตก็สักว่าจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ธรรมก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ก็เป็นในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน
             เมื่อเกิดในอาการที่ดับไปในลักษณะนี้อยู่ได้ไม่นานนัก ก็จะคอยคลายจากการดับออกมา วิญญาณการรับรู้ก็จะเริ่มรู้ขึ้นมาได้ จากนั้น ก็จะอยู่ในความสงบที่แนบแน่นแน่วแน่อีกต่อไป จะอยู่ในความสงบนี้ไม่นาน ก็จะถอนตัวออกจากความสงบนี้นิดหนึ่ง จากนั้นก็จะเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างไม่เคยรู้มาก่อน เป็นความรู้ขึ้นมาว่าจะเกิดในโลกนี้ครั้งสุดท้าย นั้นเรียกว่า อาสวักขยญาณ มีญาณรู้ว่า อาสวะจะสิ้นไปในขณะนี้นี่เอง จากนั้น ก็จะเกิดความกล้าหาญขึ้นมา ในความรู้สึกเหมือนจะกระทืบภูเขาให้เรียบราบไปในชั่วพริบตา เหมือนจะทำลายอะไรได้ทุกอย่างในโลกนี้ ในความรู้สึกเหมือนจะนั่งสมาธิในอิริยาบถเดียวนานเป็นชั่วโมงเหมือนจะได้นั่งหนึ่งนาที จะนั่งสมาธินานเป็นปีก็เหมือนจะได้นั่งหนึ่งชั่วโมง ความกล้าหาญนี้จะเกิดขึ้นที่ใจอย่างเต็มที่ ในชั่วจริมกจิตเดียวก็รู้ในลักษณะหลุดพ้น ตั๊บเดียวในชั่วพริบตา ก็รู้ว่า วิมุตตสมํ วิมุตตมิติ ญาณํ โหติ มีความหลุดพ้นแล้วในขณะใด ญาณก็รู้ว่าได้หลุดพ้นแล้วก็มีในขณะนั้น ขีณา ชาติ เป็นพระขีณาสพที่สมบูรณ์อย่างเต็มภูมิ รู้ว่าชาติแห่งความเกิดอีกต่อไปได้สิ้นสุดลงแล้ว วุสิตํ พรหมจริยํ พรหมจรรย์อันความบริสุทธิ์ในวิมุตินิพพานได้อยู่จบแล้ว กตํ กรณียํ กิจอื่นที่จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้อีกไม่มี หมายความว่า กิจที่จะหาอุบายธรรมมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความหลุดพ้นอีกไม่มีนั่นเอง ในช่วงอาสวักขยญาณเกิดขึ้น รู้ว่าอาสวะจะสิ้นไป จะไม่มีวิธีในการภาวนาปฏิบัติอะไร ในขณะนั้นจะอยู่ในอิริยาบถไหนก็จะหลุดพ้นในอิริยาบถนั้น หรือผู้อยู่ในครึ่งนั่งครึ่งนอนเหมือนพระอานนท์ก็หลุดพ้นได้เลย ผู้ได้บรรลุธรรมในระดับนี้ จะรู้วันเดือนปีและเวลาได้อย่างชัดเจน เพียงแต่ว่าใครจะพูดหรือไม่พูดเท่านั้น ถึงจะมีตำราบอกว่าหมดยุคหมดสมัยของพระอรหันต์แล้วก็ตาม ตำราก็คือตำรา พระอรหันต์ก็คือพระอรหันต์ ความจริงก็คือความจริง ดังคำว่า อรหันต อสุญโลโก ตราบใดยังมีผู้ตั้งใจปฏิบัติให้เป็นไปในพระธรรมวินัยอยู่ ในตราบนั้นพระอรหันต์จะไม่ขาดจากโลกดังนี้
           อาสวักขยญาณ จะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้บรรลุเป็นพรอรหัตผลเท่านั้น อาสวักขยญาณที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้กิเลสตัณหาได้หมดไปแต่อย่างใด เพียงเป็นญาณที่รู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปเท่านั้น ในตำราบอกว่า อาสวักขยญาณเป็นญาณที่ทำให้อาสวกิเลสได้สิ้นไป ข้าพเจ้าก็จะยืนคำเดิมว่า อาสวักขยญาณ เพียงเป็นญาณรู้ว่าอาสวะจะสิ้นไปเท่านั้น ไม่มีวิธีการทำอะไรและปฏิบัติอะไร เพราะวิธีการปฏิบัตินั้นได้ผ่านขั้นตอนมาจากการเจริญในวิปัสสนาและปฏิบัติในวิปัสสนาญาณมาแล้ว จึงได้เกิดในลักษณะอาการดับดังที่ได้อธิบายมา ก็ยังไม่ใช่เป็นวิธีปฏิบัติแต่อย่างใด เพียงเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นผลที่ยังไม่เปิดเผยอยู่ในขั้นอริยมรรคที่สมบูรณ์ เหมือนกับแกงอาหารที่สุกแล้ว ในหม้อนั้นมีเครื่องปรุงให้เกิดรสชาติที่อร่อยเป็นที่สุด ไม่มีความบกพร่องขาดเกินในรสชาติอะไร ไม่ต้องเพิ่มไม่ต้องลดในเครื่องปรุงอะไรอีกต่อไป ในขณะนี้อาหารอยู่ในหม้อพร้อมแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดฝาหม้อเอาอาหารออกมารับประทานเท่านั้น นี้ฉันใด การรวมศูนย์ใหญ่ในการสรุปผลงานได้ข้อยุติในอริยมรรคนี้แล้ว พร้อมที่จะประกาศผลออกมาเป็นทางการเท่านั้น การเปิดฝาหม้อออกมารู้ว่าอาหารสุกดีแล้ว และพร้อมที่จะรับประทานให้อิ่มได้ในขณะนี้ นี้ฉันใด อาสวักขยญาณเกิดขึ้นมีความรู้ว่า อาสวะจะสิ้นไปในขณะนี้ การรับประทานอิ่มจะรู้ในการอิ่มเพียงแป๊บเดียว เหมือนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในขณะที่หลุดพ้นเพียงตั๊บเดียวเท่านั้น ฉะนั้น อาสวักขยญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำอะไรและปฏิบัติอะไรให้อาสวะสิ้นไปแต่อย่างใด ไม่ต้องไปจัดหาทำอาหารใหม่มาเพิ่มเติมอีก เพียงคอยความอิ่มที่จะเกิดขึ้นในขณะนี้ นี้ฉันใด อาสวักขยญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะได้บรรลุอรหัตผลก็เป็นในลักษณะฉันนั้น
                 ผู้ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว จะประกาศให้คนอื่นได้รับรู้ หรือไม่ประกาศ ก็ไม่ทำให้ภูมิธรรมนั้นเจริญขึ้นหรือเสื่อมลงแต่อย่างใด จะพูดให้คนอื่นรู้ หรือไม่พูดก็มีความบริสุทธิ์เท่าเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงในภูมิธรรมนั้น ๆ ในสมัยครั้งพุทธกาลก็มีพระปิณโฑลภารทวาชชอบพูดให้พระองค์อื่นได้รู้ในการบรรลุธรรมของตัวเองอยู่เสมอ แม้พระพุทธเจ้าจะประทับในที่แห่งนั้นอยู่ก็ตาม ชอบพูดว่าท่านผู้ใดมีความสงสัยในหมวดธรรมอะไรให้ถามข้าพเจ้าได้ แต่ไม่ได้ประกาศให้ฆราวาสได้รู้ จนได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า เป็นผู้เลิศในการบรรลือสีหนาทนั้นเอง ถ้าผู้เกิดความเข้าใจผิดว่าตัวเองได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็ไม่ถือว่าพูดอวดอุตริแต่อย่างใด ถ้าพูดไปด้วยความเจตนา ทั้งที่รู้ตัวว่าไม่มีคุณธรรมอะไร นั้นเป็นอาบัติปาราชิก ขาดจากความเห็นพระในขณะนั้นทันที การดูพระผู้เป็นพระอรหันต์ และการดูพระผู้ยังเป็นปุถุชนนั้นดูได้ยาก มีการเปรียบเทียบดังนี้ น้ำลึกเงาลึก และน้ำลึกเงาตื้น น้ำตื้นเงาลึก และน้ำตื้นเงาตื้น ดังที่จะอธิบายต่อไป
๑. น้ำลึก หมายถึง ใจที่มีคุณธรรม เงาลึก หมายถึงกิริยามรรยาทดี มีความสำรวมกายวาจาที่เรียบร้อยเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ได้พบเห็น เกิดความเคารพ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา
๒. น้ำลึก หมายถึง ใจที่มีคุณธรรม เงาตื้น หมายถึงกิริยามรรยาทการแสดงออกไม่ดี ไม่มีการสำรวมกายวาจา จะทำ จะพูดอะไร ก็ทำก็พูดตามใจตัวเอง จึงทำให้ผู้อื่นขาดความเคารพเชื่อถือ
๓. น้ำตื้น หมายถึง ใจยังไม่เกิดคุณธรรม เงาลึก หมายถึงผู้มีความสำรวมดี มีกิริยามรรยาทที่น่าเคารพเลื่อมใส ทำให้ผู้ได้พบเห็นเกิดความศรัทธา ความเชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรม
๔. น้ำตื้น หมายถึง ใจไม่มีคุณธรรม เงาตื้น หมายถึง กิริยามรรยาทการแสดงออกไม่มีความสำรวม พูดทำในสิ่งใดไม่มีความระวัง แสดงความคะนองทางกายทางวาจาเป็นนิสัย
ถ้าเห็นพระน้ำลึกเงาลึก และเห็นพระน้ำตื้นเงาลึกอยู่ในแห่งเดียวกัน ความประพฤติ กิริยามรรยาท การสำรวมกายวาจาเรียบร้อยดีด้วยกัน ก็ยากที่จะรู้ว่าองค์ใดเป็นปุถุชน และเป็นพระอรหันต์ จึงยากที่จะเดาถูก ถ้าเห็นพระองค์ที่น้ำลึกเงาตื้น และพระน้ำตื้นเงาตื้นอยู่ด้วยกัน การสำรวมกายวาจาไม่เรียบร้อย ก็ไม่รู้ว่าองค์ไหนเป็นพระอริยเจ้าและพระปุถุชนเช่นกัน แม้แต่พระอรหันต์ด้วยกัน ก็ยากที่จะรู้กันได้ พระอรหันต์จะรู้กันได้มี ๒ อย่าง
๑. มีญาณหยั่งรู้ได้
๒. สนทนาธรรมกันจะมีจุดสำคัญที่จะรู้
จัก ถ้าปุถุชนสนทนาธรรมกับพระอรหันต์ จะเอาจุดสำคัญอะไรมาเป็นตัววัดไม่ได้เลย เป็นเพียงคาดการณ์สุ่มเดาเอาตามความเข้าใจไปเท่านั้น ในยุคนี้จึงมีพระอรหันต์ที่เกิดจากลูกศิษย์พยากรณ์ให้มากมาย
http://youtu.be/hXC8_KuXpFs
กาลามสูตร -   
 มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
    มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
    มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
    มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
    มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
    มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
    มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
    มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
    มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
    มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
http://youtu.be/azwNInNFCTc

Sunday 18 August 2013

มงคลสูตร๓๘ประการ




คำแปล ข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้ เมืองสาวัตถีครั้งนั้นแลเทพดาองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มี รัศมีอันงามยิ่งนัก ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค เจ้า แล้วได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดานั้นยืนในที่สมควรส่วนข้าง หนึ่งแล้วแล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอ พระองค์จงเทศนามงคลอันสูงสุด - ความไม่คบชนพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ ความบูชาชนควร บูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาอันชน กล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑ การงานทั้งหลายไม่ อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑ ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ กรรม ทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทใน ธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ ความเป็นผู้รู้ อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน ๑ ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอัน สูงสุด, - ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ ความเจรจา ธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑ ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่มีโศก ปราศจากธุลีเกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทพดาและ มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.------------------------------------------------ มงคลสูตร - มงคลชีวิต 38 ประการเหตุแห่งความเจริญทั้งหลาย ในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งหนึ่งในยามเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนพระธรรมเทศนาแก่เหล่าเทวดา ก็มีเทวดาองค์หนึ่งมีรัศมีงดงามมาก ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ หลังจากได้ทำการอภิวาทถวายความเคารพแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ ยืนอยู่ข้างหนึ่งแล้วได้ถามคำถามกับสมเด็จพระภวควัน แปลเป็นไทยว่าใจความว่า "เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ผู้หวังหวังความสวัสดี ได้พากันคิดถึงซึ่งมงคล คือเหตุแห่งความเจริญทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงตรัสบอกมงคลอันสูงสุดนั้นด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า" พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบ จำแนกเป็นข้อได้ ๓๘ ประการดังนี้ การไม่คบคนพาล คนพาลคือคนที่มีจิตใจหยาบช้า มีมิจฉาทิฐิ คือมีความเห็นผิด โดยรวมนั้นน่าจะหมายถึงคือคนชั่ว คนไม่ดี หรือคนจิตใจไม่ดีด้วย การคบคนประเภทนี้นานๆเข้าย่อมหล่อหลอมให้เรามีความคิดผิดไปด้วย คือเป็นอย่างเขาไป ดีไม่ดีเขาอาจจะพาไปทำสิ่งไม่ดีไปด้วย อันเป็นการที่ควรเลี่ยงให้ห่างจากคนพาลนี้ การคบบัณฑิต บัณทิตคือผู้ที่มีความรู้มาก บัณทิตในที่นี้นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้แล้ว ต้องเป็นผู้ที่มีสัมมาทิฐิคือมีความเห็นถูกด้วย โบราณว่า "คบคนพาล พาลไปหาผิด คบบัณฑิต บันฑิตพาไปหาผล" การคบบัณฑิตย่อมหล่อหลอมให้เรามีสติปัญญาเพิ่มพูน มีความเฉลียวฉลาดมากขึ้น การบูชาบุคคลที่ควรบูชา คนที่ควรบูชา คือใคร? คนที่ควรบูชาอันดับแรก ก็คือ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณ เป็นคนที่ควรบูชาในอันดับแรกอันดับต้น แต่บุคคลที่ควรบูชาอันสูง ก็คือ พระพุทธเจ้า เพราะการที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าได้นั้นต้องบำเพ็ญบารมีมากมาก หลายกัล์ป อบรมสั่งสมบารมีความดีมายาวนาน จนได้เป็นพระพุทธเจ้านำพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านทรงค้นพบนั้นจำแนกแจกจ่ายแก่เหล่าสรรพสัตว์ ให้พ้นออกจากกองทุกข์แห่งวัฏะสงสาร และท่านยังมีบารมีสูงสุดทั้ง 3 โลกธาตุนี้ไม่มี บารมีของผู้ใดจะเกินบารมีของพระพุทธเจ้า ท่านจึงเป็นบูชนียบุคคล เป็นบุคคลที่ควรเคารพบูชาสูงสุด รองลงมาก็ จะเป็นการบูชา พระอริยสงฆ์ คือสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เจริญวิปัสนากรรมฐานจนสามารถทำจิตให้รู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ พระอริยเจ้านั้นมี 4 ลำดับคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จากนั้นคนที่ควรบูชาก็คือพระมหากษัตริย์ หรือผู้ทรงคุณความดี พระมหากษัตริย์ นั้นคือผู้ที่ปรารถนาโพธิญานคือ ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ท่านลงมาเกิดเป็นพระมหากษัตริย์ ก็เพราะท่านต้องการมาสั่งสมความดีบารมี การบูชาท่านจึงเป็นมงคลเป็นอย่างมาก วิธีการปฏิบัติในข้อนี้ก็คือ การเลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ และผู้ที่บุญคุณ สวดมนต์ไหว้พระระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ คุณของพระมหากษัตริย์ และผู้ทรงคุณธรรมความดีทั้งหลาย การอยู่ในประเทศอันสมควร การอยู่ในประเทศอันสมควรหมายถึง การเลือกอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม สภาวะแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมย่อมเป็นมีอิทธิพลต่อ จิตใจคน หากเลือกอยู่สถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่นในเมืองประเทศ หรือสังคมที่ทีคนทำผิดศีลเยอะ หรือทำบาป ที่นั้นย่อมไม่เหมาะแก่การเจริญคุณงามความดี แต่หากไปอยู่ในที่ใดที่มีการทำแต่คุณงามความดี ที่นั้นย่อมเหมาะแก่การเจริญสิ่งที่ดีทั้งหลาย ดังนั้นหากหวังความเจริญแล้วควรเลือกถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่อยู่ให้เหมาะสม เคยทำบุญมาแต่กาลก่อน การที่เคยทำบุญมาแต่กาลก่อนนั้น หมายถึงว่าหากบุคคลเป็นผู้ที่เจริญ และมีมีความสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นผลเนื่องมาจากบุญกุศลความดีที่เขาทำมาในอดีตชาติ ดังนั้นหากผู้ใดปรารถนาให้ตัวเองได้รับความสุขความเจริญในอนาคต ก็ควรทำบุญกุศล และทำความดีในวันนี้ บางคนอาจจะคิดว่า เราก็ทำบุญมาบ่อยชาตินี้ ทำไมถึงไม่มีความสุขมีความเจริญอย่างเขา ก็อย่าลืมว่า คนเรานั้นมีบุญมีบาปติดตัวมาไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคราใดที่บุญให้ผลเราก็มีความสุข แต่คราใดที่บาปให้ผลก็มีความทุกข์เกิดขึ้นดังนั้น หากต้องการให้ตัวเองมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ก็ให้ละอกุศล ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง และทำบุญกุศลทำความดี ในอนาคตข้างหน้าก็จะมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ การตั้งตนไว้โดยชอบธรรม การตั้งตนไว้โดยชอบธรรม หมายถึงการมีสติสัมปชัญญะ การระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดว่าทำอะไร อย่างไร ไม่เผลอตัวเผลอใจไปกับโลกหรือสิ่งที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะโดยทั่วไปคนเรามันจะปล่อยใจไปกับสิ่งที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ ทางความคิดเสมอ ทำให้จิตใจจมไปความคิดนึก เป็นเหตุให้ไม่มีสติ ดังนั้นควรมีสติระลึกรู้ให้มากเสมอ การเป็นผู้เรียนรู้มาก ในข้อนี้หมายถึงการเป็นคนใฝ่เรียนรู้ การศึกษาหาความรู้ใส่ตัวเสมอ ย่อมทำให้มีความเฉลียวฉลาดคิดอ่านประการใดก็จะดี มีประโยช์ต่อตัวเอง สังคมคนรอบข้าง และประเทศชาติบ้านเมือง การมีศิลปวิทยา หมายถึงการนำความรู้มาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเฉลียวฉลาด เหมาะสมแก่รูปแบบและสถานการณ์ การมีวินัยที่ดี ระเบียบวินัย เป็นแบบแผนข้อปฏิบัติ การมีระเบียบวินัยดีทำให้เกิดเพียร และความสำเร็จ การพูดแต่วาจาที่ดี การพูดวาจาที่ดี ย่อมเป็นที่น่าฟังต่อคนรอบข้างที่เสวนาด้วย ย่อมทำให้เกิดมิตร มีแต่คนรัก คนชม ไม่สร้างศัตรู การบำรุงบิดามารดา พ่อแม่เป็นผู้ที่มีบุญคุณสูงสุดต่อลูก การจะทำสิ่งใด หากขาดความกตัญญูแล้วย่อมไม่มีความเจริญสำเร็จลงได้ การสงเคราะห์บุตร ข้อนี้คงไม่ต้องอธิบายเพราะคนมีลูกย่อมรู้ดี การสงเคราะห์ภรรยา การที่จะครองคู่ให้เป็นผลสำเร็จไปได้ด้วยดี จะต้องมีการครองตนให้ดีก่อน นั่นคือการมีศีลธรรมประจำใจ เพราะศีลคือความปกติของกาย วาจา ใจ ผู้ที่มีศีลจะไม่ทำร้ายกัน มีความจริงใจต่อกัน ไม่โป้ปดหลอกลวงกัน ไม่นอกใจกัน มีจิตใจเมตตาต่อกัน มองกันในมุมที่ดี จึงจะให้อภัยต่อกันได้ พระพุทธองค์ได้ให้หลักธรรมในการครองเรือนไว้ ๔ ข้อ ซึ่งจะต้องนำไปใช้ทุกๆ ข้อ จึงจะบังเกิดผลได้สมบูรณ์ เพราะทุกๆ ข้อมีความหมายเฉพาะ และโยงไปสู่ข้ออื่นๆ ส่งเสริมต่อกันให้ปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งหลักธรรมในการครองเรือนประกอบด้วย - สัจจะ (ความจริง จริงใจต่อกัน) รักที่จริงใจ...ไขปัญหาทุกสิ่ง - ทมะ (รู้จักข่มใจ ฝึกฝน ปรับตัว) ปรับเข้าหากันเติมเต็มส่วนที่ขาด - ขันติ (อดทน เข้มแข็ง ทนทาน) เพราะรักเขา...เราจึงทนได้ - จาคะ (ความเสียสละ) เมื่อเขาสุข เราก็สุขด้วย ทำงานไม่ให้คั่งค้าง การทำงานให้เสร็จไปย่อมทำให้เกิดความสบายใจ ฝึกนิสัยให้เป็นคนมีความรับผิดชอบ และขยันหมั่นเพียร การให้ทาน การให้ทานหมายถึง การแบ่งปัน การเสียสละด้วยใจที่เอื้อเฟื้อ การให้ทานเป็นการกำจัดความตะหนี่ขี้เหลียว ความยึดติดในทรัพย์ ทานเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขความเจริญ หากให้ทานด้วยใจบริสุทธิ์ปรารถนาจะให้ด้วยความเต็มใจและไม่หวังผลตอบแทนย่อมมีอานิสงฆ์มาก การประพฤติธรรม คือการตั้งตัวเป็นคนดีตามกรอบของศีล ไม่ละเมิดศีล มีความสำรวมในกาย วาจา และจิตใจ ให้มีความปรกติ การสงเคราะห์ญาติ ญาติคือผู้ที่เป็นมิตรต่อเรา การสงเคาราะห์ช่วยเหลือญาติ ตามสมควร ก็เป็นการสร้างสมมิตรที่ดี ในอนาคตทำอะไรก็จะมีแต่คนช่วยเหลือสงเคราะห์ไม่โดดเดี่ยว ทำงานที่ปราศจากโทษ การทำงานที่ปราศโทษคือ งานที่ถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดศีลธรรม เพราะงานที่เป็นโทษเช่นงานที่ผิดกฏหมายย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ตนได้ในภายหลัง หรือหากเป็นงานที่ผิดศีลธรรมก็ต้องเลี่ยงไม่พ้นในการที่ทำให้ตัวเองต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะต้องรับผลกรรมไม่ว่าในชาตินี้ หรือหลังจากตายไปแล้วกรรมนั้นก็ติดตามไปให้ผลต่อ ละเว้นจากความชั่ว การละเว้นจากความชั่วก็คือการรักษาศีล ให้บริสุทธิ์นั่นเอง หากเป็นฆราวาสก็เป็นศีล ๕ หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ กายใจย่อมเป็นปรกติ นำพาซึ่งความสุขความเจริญ การไม่ดื่มน้ำเมา การดื่มน้ำเมา หรือการดื่มสุรา เครื่องมึนเมา ย่อมทำลายสติสัมปชัญญะ อาจเป็นเหตุให้ทำผิดในข้ออื่นๆอีกมากมาย นำพาซึ่งความเดือดร้อนมาให้กับตัวเอง นอกจากนั้นการดื่มน้ำเมา สุรา เมรัย ยังเป็นปัจจัย เป็นกรรมให้เป็นคนบ้า ขาดสติในอนาคต ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ก็หมายถึงการมีสติรู้ตัวไม่ให้จิตใจ ตกไปในอิทธิพลของความคิดที่ไม่ดี ทั้งหลายเพราะความคิดที่ไม่ดีย่อมชักนำให้ เกิดการไปทำสิ่งที่ไม่ดีตามไปด้วย การมีสติรู้ตัวอยู่เสมอย่อม รักษาจิตใจ และการกระทำได้ การมีสัมมาคารวะ การมีสัมมาคารวะ คือการเคารพผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสกว่า ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่ถือตัว ถือตน ไม่ยกตนข่มท่าน มีความสันโดษ คือ ความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ไม่โลภมาก เป็นความโลภความปรารถในสิ่งที่เกินตน ย่อมนำพายึ่งความเดือดร้อนมาสู่ตนในภายหลังได้ มีความกตัญญู คือการปฏิบัติตามข้อ 11. นอกจากนั้นยังต้องกตัญญูต่อผู้ที่มีบุญคุญทุกคน ใครมีคุณก็ตอบแทนเขา กตัญญูต่ การฟังธรรมตามกาล คือ การสดับฟังพระธรรมเทศนา อันเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่อาจจะเป็นการแสดงโดยพระอริยสงฆ์ เพื่อเจริญปัญญาทางจิตใจให้เจริญงอกงาม ปลุกคุณงามความดีในตัวให้ตื่น มีความอดทน การมีความอดทนนั้นมีความสำคัญมาก เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดความสำเร็จ และผ่านปัญหาและอุปสรรคทั้งปวง อย่างชาญฉลาด เกิดความสงบสุข ไม่เดือดร้อน อย่างแท้จริง ความอดทนเป็นสิ่งที่ควรฝึกฝนสร้างสมไว้ให้มาก เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง การได้เห็นสมณะ คือผู้ที่ประพฤติธรรม อันหมายถึงพระอริยเจ้าหรือ พระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมวิเศษ และผู้ที่คุณวิเศษ การอยู่ใกล้บุคคลประเภทนี้ย่อมทำให้จิตใจของผู้นั้น เกิดความตั้งมั่นต่อความดีได้ง่าย เพราผู้ที่เป็นสมณะย่อมมีความพระพฤติและจิตใจที่ดีงามย่อม มีอิทธิพลต่อผู้ที่เข้าใกล้ได้โดยง่าย การสนทนาธรรมตามกาล ข้อนี้จะเกิดขึ้นได้ก็เนื่องด้วยผู้นั้นต้องเจริญหรือปฏิบัติธรรมก่อน เมื่อปฏิบัติไปแล้ว หากพบกาลยาณมิตรธรรมก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอาจจะการสนทนากับผู้ที่รู้เห็นมากกว่าก็ได้ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม อันเป็นประโยชน์มากต่อนักปฏิบัติธรรม มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส คือการปฏิบัติธรรม เพื่อทำกิเลส เครื่องที่ทำให้จิตเศร้าหมอง หมดไป คือการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมนั่นเอง การประพฤติพรหมจรรย์ คือการบวช การบวชคือการงดเว้นออกจากกาม กามนี้หมายถึง กามคุณ ๕ อันได้แก่ ความพอใจและติดใจใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และการความคิดทางใจ อันเป็นสิ่งที่ปุถุชนคนธรรมดา ปล่อยจิตใจให้หลงใหลไปในกามคุณนี้เสมอ เช่นเมื่อเห็นรูปสวยก็หลงไปในรูปนั้น ได้ยินเสียงเพราะก็ชอบใจหลงใหลไปในเสียงนั้น ได้กลิ่นหอมก็เพลิดเพลิน ได้สัมผัสรสอร่อยของอาหารก็มีจิตน้อมไป การประพฤติพรหมจรรย์ คือการดำริออกจากกามคุณ 5 นี้ ซึ่งเป็นการบวช เช่น ถ้าบวชพราห์มก็สวมชุดขาว รักษาศีล 8 หากบวชพระ ก็รักษาศีล 227 ข้อ แต่การประพฤติพรหมจรรย์นี้ไม่จำเป็นต้องบวชตามวิธีการก็ได้ หากเป็นคนมีกำลังใจเข้มแข็งก็สามารถบวชใจ คือใช้ใจรักษาพรหมจรรย์ก็ได้ ก็คือรักษาใจไม่ให้หลงใหลไปในกามคุณทั้ง 5 นี้ การเห็นอริยสัจ การจะเห็นอริยสัจได้ก็ต้องลงมือปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง อริยสัจธรรมไม่ใช่สิ่งที่จะรู้เห็นได้ด้วยการคิดนึก หรือการทึกทักเอาจากความคิดของคนธรรมดา ต้องเป็นการลงมือปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่าง ถูกต้อง ตามวิถีแห่งมรรค 8 จึงจะรู้เห็นได้ตามความเป็นจริง ผู้ที่เริ่มเห็นอริยสัจได้อย่างแท้จริงและเข้าสู่วิธีแห่งการพ้นทุกข์ได้นั้น เริ่มต้นที่พระอริยเจ้าในขั้นพระโสดาบันเป็นต้นไปเท่านั้น การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน การจะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ก็ต้องมากจากการปฏิบัติในข้อที่ 33. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม โลกธรรม 8 หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของโลก ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดานี้ 8 ประการอันประกอบด้วย โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา 1.ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์ 2.ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต 3.สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ เป็นที่น่าพอใจ 4.สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา 1.เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้ 2.เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่ 3.นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย 4.ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ รวมกันแล้วได้ 8 ข้อเรียกว่าโลกธรรม 8 ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และมนุษย์ก็มีความพอใจไม่พอใจ และเกิดความสุขทุกข์ขึ้น เมื่อโลกธรรม 8 นี้เกิดขึ้นเสมอ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้วางเฉยต่อโลกธรรม 8 นี้เสียเพราะเป็นของธรรมที่เกิดขึ้นกับโลก จิตไม่เศร้าโศก คือ การรักษาจิตไม่มีความเศร้าหมอง จิตหมดธุลี คือปราศจากกิเลส คือ รักษาจิตให้มีความผ่องใสอยู่เสมอ การทำจิตให้ผ่องใสนี้มีหลายระดับ หากเป็นปุถุชนคนธรรมดา การทำจิตให้ปราศจากกิเลสก็คือการ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ และเจริญสมาธิภาวนาให้จิตใจสะอาดผ่องใสชั่วคราว พอออกจาสมาธิกิเลสก็จะจรเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจได้อีก ส่วนการทำจิตให้ปราศจากกิเลสของชั้นพระอริยเจ้าจะไม่เหมือนของปุถุชน หากกิเลสเกิดขึ้น จิตพระอริยเจ้าท่านก็จะฆ่ากิเลสนั้นทันที ฆ่าไปทีละนิด ละหน่อย หรือทีละมากตามกำลังบุญวาสนาของท่าน จนสุดท้ายกิเลสหมดไปสิ่้นจากจิตใจ นั่นคือพระอรหันต์ จิตถึงซึ่งความเกษม การจะมีจิตเกษมได้ก็คือจิตหลุดพ้นจากกิเลส และเครื่องพันธาการทั้งปวงได้หมดสิ้นนั่นคือพระอรหันต์ตามที่ได้กล่ามาในข้อ 37 นั่นเอง เมื่อพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้ จิตย่อมเข้าถึงวิมุติสุข คือสุขที่เกิดจากการหลุดพ้นเป็นสุขถาวรและเกิดขึ้นชั่วนิรันดร ไม่มีเสื่อมไปเหมือนสุขของปุถุชนธรรมดา เมื่อเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายได้พากันปฏิบัติมงคลธรรมให้ถึงความเจริญเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่แพ้แก่ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสุขสวัสดี ในทุกสถานทุกกาลทุกเมื่อ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล

มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขความเจริญมาให้ คือสิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามที่ปรารถนา มงคลมี 2 อย่างคือ มงคลทางโลก กับ มงคลทางธรรม
มงคลทางโลก คือสิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่สิ่งของ สัตว์ และต้นไม้บางชนิด เช่นมงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงินใบทอง รวมถึงชื่อ อักษร กาลเวลาหรือฤกษ์ยามเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก
มงคลทางธรรม คือมงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำต้องปฏิบัติให้ได้จริงจึงจะเป็นมงคล มี 38 ประการ เช่นไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างว่า มงคลใน หรือ มงคล 38 หรือ มงคลชีวิต

มงคลสูตร
เป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคลหรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้ว ก็ได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายความโดยพิสดารถึงสาเหตุของการที่พระพุทธเจ้าตรัสมงคลสูตรไว้ว่า ประมาณ 12 ปีก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล กล่าวว่า บ้างก็ว่า วัตถุสิ่งของ เช่น ต้นไม้ สัตว์ หรือว่ารูปเคารพต่าง ๆ จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล[1] เรื่องราวการอภิปรายเรื่องมงคล ก็ไปถึงภุมเทวา คือเทวดาในระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไรคือมงคล ประเด็นนี้ก็ลุกลามไปถึงอากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสุธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ของผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคลสูตร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ หมวด นับเป็นรายการได้ 38 ประการ*

หมวดที่ ๑ : ไม่คบคนพาล,คบบัณฑิต,บูชาคนที่ควรบูชา
หมวดที่ ๒ : อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม,มีบุญวาสนามาก่อน,ตั้งตนชอบ
หมวดที่ ๓ : เป็นพหูสูต,มีศิลปะ,มีวินัย,มีวาจาสุภาษิต
หมวดที่ ๔ : บำรุงมารดาบิดา,เลี้ยงดูบุตร,สงเคราะห์ภรรยา(สามี),ทำงานไม่คั่งค้าง
หมวดที่ ๕ : บำเพ็ญทาน,ประพฤติธรรม,สงเคราะห์ญาติ,ทำงานไม่มีโทษ
หมวดที่ ๖ : งดเว้นจากบาป,สำรวมจากการดื่มน้ำเมา,ไม่ประมาทในธรรม
หมวดที่ ๗ : มีความเคารพ,มีความถ่อมตน,มีความสันโดษ,มีความกตัญญู,ฟังธรรมตามกาล
หมวดที่ ๘ : มีความอดทน,เป็นผู้ว่าง่าย,เห็นสมณะ,สนทนาธรรมตามกาล
หมวดที่ ๙ : บำเพ็ญตบะ,ประพฤติพรหมจรรย์,เห็นอริยสัจจ์,ทำพระนิพพานให้แจ้ง
หมวดที่ ๑๐ : จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม,จิตไม่โศก,จิตปราศจากธุลี,จิตเกษม

อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมไว้ชัดเจนดีแล้ว ก็มีผู้ที่เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง จึงได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ แนวทางการยึดถือความเป็นมงคล จึงมีอยู่ 2 แนวทาง คือ
1.มงคลจากการมีสิ่งนั้นมีสิ่งนี้
2.มงคลจากการฝึกตัว




ขออัญเชิญพระสูตร มงคลสูตร คำสอนของพระพุทธเจ้า คำอธิบายความหมายของพระธรรมปิฎกและมงคลสูตรคำฉันท์ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร. ศ. ๑๓๐ ที่พิมพ์แจกในงานฉลิมพระชนมพรรษา ปี ร. ศ. ๑๓๐ บทขัดมงคลสูตร นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๑) ยัญจะ ทะวาทะสะ วัสสานิ จินตะยึสุ สะเทวะกา (๒) จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานึสุ มังคะลัง จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง ยาวะ พรหมนิเวสนา (๓) ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง (๔) ยัง สุตะวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา (๕) เอวะ มาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณามะ เส มงคลสูตร (๑) เอวัมเม สุตัง ฯ (๒) เอกัง สะมะยัง ภะคะวา (๓) สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม (๔) อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อภิกกันตะวัณณา (๕) อภิกกันตายะ รัตตติยา อะภิกกันตะวัณณา (๖) เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา (๗) เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ (๘) อุปะสังกะมิตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตะวา (๙) เอกะมันตัง อัฏฐาสิ (๑๐) เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา (๑๑) ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ พะหู เทวา มะนุสสา จะ มัคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ๑. อะเสวะนา จะ พาลานัง(๑) ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา(๒) ปูชา จะ ปูชะนียานัง(๓) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๒. ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ(๔) ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา(๕) อัตตะสัมมาปะณิธิ(๖) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๓. พาหุสัจจัญจะ(๗) สิปปัญจะ(๘) วินะโย จะ สุสิกขิโต(๙) สุภาสิตา จะ ยา วาจา(๑๐) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๔. มาตาปิตุอุปัฏฐานัง(๑๑) ปุตตะ(๑๒) ทารัสสะ สังคะโห(๑๓) อะนากุลา จะ กัมมันตา(๑๔) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๕. ทานัญจะ(๑๕) ธัมมะจะริยา จะ(๑๖) ญาตะกานัญจะ สังคะโห(๑๗) อะนะวัชชานิ กัมมานิ(๑๘) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๖. อาระตี วิระติ ปาปา(๑๙) มัชชะปานา จะ สังยะโม(๒๐) อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ(๒๑) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๗. คาระโว จะ (๒๒) นิวาโต จะ(๒๓) สันตุฏฐิ จะ(๒๔) กะตัญญุตา(๒๕) กาเลนนะ ธัมมัสสะวะนัง(๒๖) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๘. ขันตี จะ(๒๗) โสวะจัสสะตา(๒๘) สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง(๒๙) กาเลนนะ ธัมมะสากัจฉา(๓๐) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๙. ตะโป จะ(๓๑) พรัหมะจะริยัญจะ( ๓๒) อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง(๓๓) นิพานะสัจฉิกิริยา จะ(๓๔) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๑๐. ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ(๓๕) อะโสกัง(๓๖) วิระชัง(๓๗) เขมัง(๓๘) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๑๑. เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ คำอ่าน ภาษาบาลี ตามมงคลสูตร ฉบับมหาสังคายนาสากลนานชาติ เล่มที่ ๑๘ ขุททกปาฐะ มงคลสูตรในขุททกปาฐะ [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ จบมงคลสูตร

Thursday 8 August 2013

Life of the Buddha


The Birth of the Bodhisatta. On a full-moon day in the month of May (Visakha) 2600 years ago was born a Prince named Siddhattha. His birth took place at Lumbini (modern Rumindei in Nepal), where his mother Mahamaya, the chief queen consort of King Suddhodana of Kapilavatthu, rested with her royal retinue, on her way to her parental home in Devadaha. In the picture Queen Mahamaya stands under a flowering sala tree holding on to one of its branches. Life as a Prince. Manifold was the variety of all the sensuous delights within the palace, the music and song that filled the palace halls by night and day; the beauty and grace of its dancing girls; the fragrance of subtle perfumes; the finest silks and priceless gems for jewellery and adornment; and rare delicacies and foods for the royal table. And yet, day after day, seated amidst all this luxury the Prince remains unmoved. Ever in thoughtful mood, with a far-away look in his beautiful eyes he muses on the fleeting nature of life's so called pleasures and its doubtful delights. The realities of life. All King Suddhodana's efforts to protect his son from the four sights of old-age, disease, death and a recluse are of no avail. On a certain occasion, on his way to the royal pleasure gardens the Prince is confronted by each one of these very sights, and is filled with doubts and deep misgiving. Soon after this he meets a wandering ascetic, impressed by the sombre garb and quiet demeanour of the homeless recluse the Prince looks long and hard at him, and then, makes up his mind to leave the palace for a life of homelessness. The Great going forth. On the day of the Esala full-moon (July) the Crown Prince receives the news brought from the palace, of the birth of a son to his wife, the beautiful Princess Yasodhara. Alarmed at this fresh development, this new fetter to bind him closer to the world, the Prince decides to leave the palace that very night. For the sake of his father, his queen, his son, for the sake of all mankind, he would leave the world to seek a way to save the world from all suffering. This is the Great Renunciation. Experiment with Asceticism. For six long years the ascetic Gotama, as Prince Siddhattha was now known, wanders along the highways and byways of India. He goes to Alara Kalama and Uddaka Ramaputta two of its greatest religious teachers, who teach him everything from their store of knowledge and wisdom. But the ascetic Gotama is not satisfied, for their teachings do not lead to the cessation of suffering. With unrelenting energy he undergoes rigorous ascetic discipline, both bodily and mental, seeking a way to the cessation of suffering through further suffering. In the end he becomes lean and emanciated and a mere skeleton. Enlightenment. Discarding both extremes of luxurious living and self mortification, the Bodhisatta Prince chooses the Middle Path of moderation based on the practice of virtue (sila), concentration of the mind (samadhi), and the intensive analysis of all psycho-physical phenomena that finally leads to full understanding of things as they really are (panna). Seated under the Bodhi-tree at Buddhagaya he attains Samma Smabodhi and becomes the Supreme Buddha. The First Discourse. Having realized the Four Noble Truths - the Noble Truth of Suffering; the Cause of Suffering; the Cessation of Suffering; and the Path leading to the Cessation of Suffering - by himself, the Buddha now decides to teach them to the five ascetics who had earlier served him at Uruvela, in Buddhagaya. At the end of this First Discourse, which is known as the "Dhammacakkappavattana Sutta" and given to the five ascetics who were now living at Isipatana in Benares, the oldest of them, Kondanna realises the first path and fruition of the Stream-winner (Sotapanna), or one who goes against the stream of Samsara (the recurring cycle of life and death). Go now and wander for the welfare of the many. The Buddha stays on at Isipatana for the rainy season. However, before that, within the first week of His giving of the Dhammacakkappavattna Sutta, all five ascetics reach the highest fruition of Sainthood and thus become the first five Arahant disciples of the Buddha. Before the rainy season is over fifty five others have followed suit. The Buddha now exports His sixty disciples: - 'Go forth ye bhikkhus, for the welfare of the many, for the happiness of the many, out of compassion for the world, for the good, welfare and happiness of gods and men'. Accordingly the disciples set forth to spread the new teaching. The law of Causation or Dependent Arising. After His Enlightenment under the Bodhi-tree at Buddhagaya, the Buddha reflects on the law of Dependent Origination (Paticca Samuppada). He ponders as to how things come into being due to past and present conditions to cause suffering. Next He muses on the cessation of these very things when their cause has been removed. Then he reflects on both the arising and the cessation of all things conditioned and inter dependent, in the present, the past and the future. The Philosophy of change. The Buddha teaches that all conditioned things are in a state of flux or change, and thus impermanent. The ever changing nature of both mind and matter proves the insubstantiality of life, and the instability of existence. Knowing this, Khema the consort of King Bimbisara avoided going to see the Buddha: for being very beautiful, she was afraid the Buddha would disparage her self-conscious awareness of her loveliness. As she went into his presence one day, the Buddha creates the illusion of a beautiful young woman before her, who gradually grows old before her very eyes and collapses at the feet of the Master. Alarmed and ashamed she realises the impermanence of the human body. Unsatisfactoriness of Life. According to the Buddha, whatever is impermanent is subject to suffering, and the world rests on this basic factor of suffering (Dukkha). However, having accepted this fact, He goes on to teach man how to gain his release from all suffering. The tragic story of Patacara who loss her whole family within a matter of a single day and night, points out only too well how suffering besets the unsuspecting worlding. After listening to the Buddha she gains peace and sanctity. Buddha teaches that all Phenomena is soulless. When a thing is impermanent, as all conditioned things are, and thus susceptible to change, there can be no overlord or Self. Helpless in arranging things according to its wishes there can be no soul as master over mind and body. The Buddha explains the soullessness of beings to the five bhikkhus at Isipatana in Benares, in the discourse on soullessness (Anattalakkana Sutta). Freedom of thought. At times referred to as the Buddha's Charter of Free inquiry this discourse was given by the Buddha to the Brahmin Kalamas at Kesaputta. 2500 years ago, preaching against blind belief in Buddha gave prominence to and encouraged the spirit of free inquiry and independence of thought and action, subject to sound judgment. He trained his disciples in the art of questioning as well as in the finer points of debate and discussion. Pointing out the dangers of haphazard thinking the Buddha teaches the Kalamas the art of reasoning for the sole purpose of arriving at true understanding of the Buddha's teaching of the Four Noble Truths. Towards human dignity. Sunita was a scavenger born into a so called outcaste community. On meeting the Buddha on his almsround one day, the humble youth prostrated himself before the Master in adoration. Asking for ordination he is taken to the temple where he soon becomes worthy of the highest obeisance of both deva and brahma gods. Thus the Buddha teaches that a man becomes neither a Brahmin nor a low-caste by birth, but by deeds alone. Equality of women. It was the Buddha who first gave women her rightful place in a society which had earlier ostracised her even to the extent of treating the birth of a girl as an inauspicious event. Knowing that being a woman was no bar to her attaining the highest fruition of Sainthood, the Buddha permitted the ordination of women as Bhikkhunis. Further, the establishment of a Bhikkhuni Sasana (Order of Nuns) by the Buddha was the first of its kind in the history of the world. In the picture, The Ven. Ananda, who has interceded on behalf of the Sakyan ladies including the step-mother Mahapajapati Gotami, stands by their side. Human freedom. In the time of the Buddha it was common for both men and women to enter into services in rich households due to their extreme poverty. In fact this traffic in human slaves was very common at the time, even though it was contra indicated for a follower of the Buddha. The state of slavery that existed at the time is well illustrated by the story of the slave girl Rajjumala who worked for a very wicked mistress who treated her without any mercy even for the slightest fault. Here the Buddha admonished both servant and mistress and teaching them the Doctrine, bestows permanent peace on both of them. Ministering to the sick. In spite of the fact that the study and practice of medicine and surgical science has advanced to a great extent by the Buddha's time, hardly any attention was paid to nursing or caring for the sick. Putigatta Tissa Thera was a monk who was stricken by a skin disease which spread covering his whole body with a mass of ulcerating matter. Lying unattended by the fellow monks his condition worsens. The Buddha going to the stricken monk who now lies dangerously ill, bathes him in warm water with the help of Ananda Thera, and cleans his robes. Having made him comfortable the Buddha expounds the Teaching to him, explaining the true nature of the human body. Enlightened by the discourse the Thera becomes an Arahant. The Buddha then addresses the other monks on the ennobling task of caring for the sick. Accepting the compassionate exhortation of the Master and following His noble example, the laity started to build wards for sick monks in all large monasteries. Later king Dhammasoka was to build hospitals not only for the public but also for sick animals. Hence the honour for the establishment of the first hospitals should be given to the Buddhists. Psychic Therapy. The Buddha speaking on the mind, has also spoken on mental disorders and on the treatment of psychic ailments. The Buddha has traced sorrow as one of the chief causes leading to the arising of mental disturbances. On the death of her only son, Kisa Gotami loses control of her senses and in her madness goes in search of medicine for her dead child. Failing all else she appeals to the Buddha, who realising that nothing would convince her until her mental equilibrium has been restored, sends her on an errand to get him a few mustard seeds from a house where there has been no death. Unabl to accomplish the Master's request, she comes to the conclusion that death is inevitbale and that her only son too had succumbed to it. Compassion to Animals. In the Buddha's time there were various animal sacrifices taking place in India. Innocent animals were killed as Offerings on sacrificial altars to appease the gods, for man's happiness both here and hereafter. The Buddha, however, showed man that it was impossible to obtain happiness for oneself by causing suffering to others, and that the followers of the Buddha if they were so, should avoid making animal sacrifices. At that time the King of Kosala had seen sixteen terrifying dreams in a single night, and was in great fear. To avert the evil influence of these dreams a great animal sacrifice with the killing of thousands of animals was arranged in accordance with the advice given by the Brahmins. Hearing of this, the Buddha advises the King against such a sacrifice, thus saving the lives of all those doomed creatures. From that day to this, no taking of life however small is involved in any ceremony of the Buddha's followers. Buddhist Economic System. Many who are not familiar with the Buddha's Teaching classify it as a religion for the next world, or for a future life. They are completely mistaken in this, because eighty percent of the objectives included in the Buddha's Teaching are for the world of today. According to the Buddha all except one of the five blessings that accrue to the virtuous are available in this life itself; ten of the eleven benefits obtainable through the development of Metta (loving-kindness) are immediate. One who leads a good life in this world is certain to be happy in the next. The Buddha emphasises this in His Teachings. Thus the Buddha who taught the way to the cessation of suffering also pointed out the path to a highly satisfactory way of life on earth. One aspect of this mundane progress refers to an economic system based on Buddhist principles with the objective of economic development together with the elimination of poverty. The Buddha defines righteous employment as engagement in agriculture, trade, dairy farming, defence services, government services and professional services. He prohibited trade in weapons, in slaves, in rearing animals for slaughter, in liquor, and in poisons, drugs and narcotics. Buddhist Education. It is a method of teaching that is based on the mental development of the individual: The primary object of Buddhist Education is to produce a cultured disciplined and educated society. With that object in view the first university to be established in the world was at Nalanda in India. It is reported that over ten thousand well disciplined, cultured and law abiding students had their education there in addition to the numerous lecture halls found there classes were also held in the open air under the cooling shade of trees. Administration of Justice. Certain statutes regarding the administration of justice, were set up by the Buddha for the benefit of bhikkhus, in order to facilitate the dispensation of moral justice according to sound judgment, whenever the occasion arose. By this act the Buddha ensured that the spirit of moral justice which enables us to interpret laws correctly, unlike the imperfect expression of certain aspects of our present day legal administration. At the time of the Buddha and even later, there were kings who took advantage of, and made use of these laws to supplement their own. The judicial procedure adopted by the Buddha is clearly illustrated in the case of the Arahant Theri Kumara-Kassapa's mother, who unaware of her pregnant condition, with her husband's consent left her home and entered the Bhikkuni order. Later, finding her in an advanced state of pregnancy, the bhikkuni was charged with a serious allegation of misconduct and summoned before a religious court of appeal. The Buddha ordered Upali Thera, foremost among His Arahant disciples in knowledge of Vinaya matters, (and thus equal to that of the Chief Justice of to-day), to preside, try the innocent victim and to deliver judgment on her. The audience consisted of bhikkhus, bhikkunis and laymen, including the lay-woman Visakha. She screened the victim from the presence of the Buddha and the rest, after careful examination and intimate questioning declared that she was quite innocent. The Arahant Upali on hearing the evidence absolved the bhikkuni of any transgression. World Peace. In the Buddha's Teaching the highest emphasis is laid on the law of cause and effect, or the conditionality of all mundane phenomena. Greed, hatred and delusion are the chief causes that lead to unsatisfactoriness in the world. If one seeks to escape from this state of dissatisfaction one should try to get rid of the underlying craving and anger or hatred due to ignorance of the true nature of things. War is diametrically opposed to peace. Conflict is due to the various malignant motives stagnating in the minds of men. The control of such thoughts as greed, jealousy, hate and so on will certainly lead to peace. Permanent peace will only come when one has completely eradicated these mental defilements. Wars will cease and peaceful dialogue between individuals will lead to a world of peaceful and harmonious living. Petty squabbles arose between the farmers on both sides of the river Rohini which served as the boundary between the Sakyan and the Koliyan Kingdoms, as each side tried to divert as much water as possible to their fields. Finally these led to a major confrontation of the two armies. The Buddha arriving on the scene exhorts them on the calamitous results of war and the advantage of arriving at a peaceful settlement. Thus war is averted and peace restored. It should be mentioned that the Buddha has been the only religious teacher to have visited a battlefront in person and acted as a true mediator in averting war. The Maha Parinibbana. The Buddha was born as a prince under a tree, gained Supreme Enlightenment under a tree and wandered about India for 45 years giving, His Teaching to the world, and finally passed away at the age of eighty at Kusinara under a tree as a human being.