Showing posts with label พงศาวดาร. Show all posts
Showing posts with label พงศาวดาร. Show all posts

Friday, 13 July 2012

พงศาวดาร


พงศาวดาร

พงศาวดาร คือ พงศาวดาร เป็นคำรวมระหว่าง พงศ กับ อวตาร ซึ่งหมายความว่า การอวตารของเผ่าพันธุ์ บางแห่งเขียนว่า พระราชพงศาวดาร ในที่นี้หมายความถึง การอวตารของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู (พระนารายณ์) ดังนั้น พงศาวดารจึงเป็นเรื่องราวที่บันทึกเหตุการณพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น หรือพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือศาสนาเป็นส่วนใหญ่

พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียดประกอบ กับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกันบางใช้ มหาศักราช บางใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ (พ.ศ.2223) เขียนขึ้นใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรอยุธยา เป็นต้น

พงศาวดารหลักๆในเมืองไทยมีหลายเล่ม เล่มที่จัดได้ว่าเก่าที่สุดคือ พงศาวดารกรุงเก่า หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เหตุที่เรียกพงศาวดารฉบับนี้ว่าเป็นฉบับหลวงหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เพราะต้องการจะให้เกียรต์แก่หลวงประเสริฐอักษรนิติ์หรือ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเอกสารสำคัญชิ้นนี้ โดยเมื่อครั้งที่ยังคงเป็น หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ไปได้จากบ้านราษฎรแห่งหนึ่งแถบเพชรบุรีแล้วเอามามอบให้หอสมุดวชิรญาณ เมื่อ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2450 หนังสือพงศาวดารฉบับนี้เป็นสมุดไทยเขียนตัวตรง ลายมือเขียนหนังสือเหมือนจะเป็นฝีมือครั้งกรุงเก่าตอนปลายหรือครั้งแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ของเดิมมี 2 เล่มจบ แต่ได้มาเล่ม 1 เล่ม กรรมการหอสมุดวชิราญาณได้ตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นหนังสือเก่าอย่างไม่มีเหตุผลอย่างใดควรสงสัย จึงได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่

หรืออย่างฉบับคำให้การของขุนหลวงหาวัด และฉบับคำให้การของชาวกรุงเก่า ก็เป็นเอกสารที่ได้มาจากฝั่งพม่า ในสมัยก่อนนั้นหากได้เมืองไหนแล้วก็จะนำตัวของคนในเมืองนั้นมาสอบถามถึงความเป็นมาและจารีตประเพณีต่างๆ เพื่อจดบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

นอกจากตัวอย่างพงศาวดารที่ยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นแล้วยังคงมีปรากฏพงศาวดารอีกหลายๆฉบับที่มักถูกอ้างถึงเมื่อมีการพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ผู้จดบันทึก และช่วงเวลา เช่น