Thursday, 31 May 2012

สิทธัตถะ โคตมะ सिद्धार्थ गौतम

สิทธัตถะ โคตมะ ในภาษาบาลี หรือ สิทฺธารฺถ เคาตมะ (/สิดทาด —/) ในภาษาสันสกฤต (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) หรือ พระโคตมพุทธเจ้า หรือที่นิยมเรียกว่า พระพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ และทรงเป็นผู้เผยแพร่พระธรรมวินัย ซึ่งต่อมาเรียกว่า "พุทธศาสนา" พุทธศาสนานิกายเถรวาทถือว่า การออกพระนามด้วยโคตรนั้นเป็นการไม่เคารพ เช่น เรียกว่า "พระสมณโคดม" เป็นต้น นิกายนี้จึงมักเรียกพระองค์ด้วยศัพท์ว่า "สตฺถา" แปลว่า "ศาสดา"
คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาแต่ช้านาน มีพระนามแต่แรกประสูติว่า สิทธัตถะ ในภาษาบาลี หรือ สิทธารถ ในภาษาสันสกฤต พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งแห่งมกุฏราชกุมารในครั้งนั้นด้วย เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงออกพระนามพระองค์เองว่า "ตถาคต" แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้นคือ ทรงปฏิญาณว่าทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเข้าสู่สภาพเช่นนั้น อันได้แก่ การดับทุกข์ กล่าวคือสภาวะแห่งอรหัตผลแล้ว พระนางสิริมหามายาแห่งโกลิยวงศ์ พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นโกศล ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า ช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้น ขณะทรงพระครรภ์แก่ได้ทรงขอพระราชานุญาติจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะอันเป็นพระมาตุภูมิเพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระพุทธมารดาได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าชื่อ ลุมพินีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ได้ประสูติพระราชกุมารเมื่อดำเนินได้ 7 ก้าวทรงเปล่งอาสภิวาจา ว่า "เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก การเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว" ซึ่งต่อมาจะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล[4] หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้ว 7 วัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสู่สวรรคาลัย ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และจึงจักต้องเสด็จสู่สวรรคาลัย หลังจากมีพระประสูติกาลแล้ว 3 วัน มีฤๅษีตนหนึ่งได้เข้าเยี่ยมพระราชกุมารมีนามว่า "อสิตดาบส หรือกาฬเทวิลดาบส" และได้วางพระบาทเหนือศีรษะฤๅษีอสิตดาบสเพื่อให้ชมดูรอยตำหนิแห่งการกำเนิด เมื่อพบว่าพระราชกุมารมีมหาปุริสลักษณะ ฤๅษีจึงทำนายไว้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 2. ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกเป็นแน่ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระประสูติกาลเพื่อประกอบพิธีขนานพระนามพระราชกุมารในพระราชพิธี พราหมณ์ 8 นายซึ่งได้รับเชิญมา 7 นายในจำนวนนั้นทำนายเป็นเสียงเดียวกันอย่างคำประกาศของฤๅษีอสิตดาบส เว้นแต่พราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะว่าจะเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น ฝ่ายพราหมณ์โกณฑัญญะเมื่อเชื่อมั่นในคำทำนายของตนแล้วก็ออกบวชล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวเป็นสาวกของพระราชกุมาร ในพระราชพิธีนี้ พระราชกุมารทรงได้รับขนานพระนามว่า "สิทธัตถะ" มีความหมายว่า ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือ ผู้ปรารถนาสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น เจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร ทรงเจริญวัยด้วยความสุขยิ่ง เพราะกำเนิดในราชตระกูลภายใต้เศวตฉัตร และได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตร ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุด เจ้าชายได้ทรงศึกษาอย่างรวดเร็ว และจบหลักสูตรสิ้นทุกประการ คือจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 สาขาวิชา พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่ม ที่ว่าเจ้าชายจะทรงออกผนวชแน่นอน จึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท 3 ฤดูให้อยู่ประทับ เมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษาได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหนคร เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขกับพระนางตลอดมา จนพระชนมายุได้ 29 พรรษา และมีพระราชโอรสองค์หนึ่งพระนามว่าราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง

 

พระพุทธศาสนา กรรม นรก สวรรค์

พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (อังกฤษ: Buddhism, จีน: 佛教, บาลี: buddhasāsana, สันสกฤต: buddhaśāsana) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มี พระสงฆ์ หรือสังฆะแห่งพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย1ขอนอบน้อมเคารพ สุดจิตสุดใจต่อพระมหาศาสดาแห่งเราชาวพุทธ พระพุทธองค์ผู้บริสุทธิ์จากกิเลสและบาปทั้งมวล ผู้ปิดเผยพระธรรม ผู้อนุเคราะห์โลกด้วยธรรม และกำเนิดพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลและสมาธิและปัญญา เพื่ออนุเคราะห์โลก และมนุษย์ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด พระศาสดาของศาสนาพุทธคือพระโคตมพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกจนมีการรวบรวมขึ้น เป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของ นิกายเถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป[6] ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธแนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ นิกายมหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง บ้างก็จัดว่า วัชรยาน เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่การจัดมากกว่านั้นก็มีหลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก ประมาณ 700 ล้านคนด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล องค์ประกอบ-สิ่งเคารพสูงสุดพระรัตนตรัย คือสรณะที่พึ่งอันประเสริฐในศาสนาพุทธ สรณะ หมายถึง สิ่งที่ให้ศาสนิกชนถือเอาเป็นแบบอย่าง หรือให้เอาเป็นตัวอย่าง แต่มิได้หมายความว่าเมื่อเคารพแล้วจะดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการได้ พระรัตนตรัยนั้นประกอบด้วยองค์สาม ได้แก่ 1.พระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่บำเพ็ญสั่งสมบารมีมาหลายภพชาติ จนชาติสุดท้ายเกิดเป็นมนุษย์แล้วอาศัยความเพียรพยายามและสติปัญญาปฏิบัติจนได้บรรลุสิ่งที่ต้องการคือธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ มิใช่บรรลุได้ด้วยการดลบันดาลของเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใด ๆ แล้วชี้แนะหรือชี้ทางให้คนอื่นทำตาม 2.พระธรรม คือ คำสอนว่าด้วยธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทำให้พ้นทุกข์ และเป็นเครื่องมือนำออกจากทุกข์ 3.พระสงฆ์ คือหมู่ชนหรือชุมชนของพระสาวกไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ทำตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้าแล้ว ประสบผลสำเร็จพ้นทุกข์ตามพระพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นศากยะและเมื่อพระชนมายุ 16 ชันษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษา ทรงมีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล ในปีเดียวกัน พระองค์ทอดพระเนตรเทวทูตทั้งสี่ จึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นอันนำไปสู่การบรรลุความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที[17] และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณคือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 ชันษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือจวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พระชันษา ณ สาลวโนทยาน (ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6)

ศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා; ทมิฬ: இலங்கை)

ศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා; ทมิฬ: இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (อังกฤษ: ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; ทมิฬ: இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลงกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 และเป็นชื่อที่ยังคงใช้ในบางโอกาส ซึ่งชื่อในปัจจุบันคือ ศรีลังกา ชีวิตบนเกาะนี้ ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ระหว่างรัฐบาล และกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam) ซึ่งได้มีข้อตกลงหยุดยิงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ชาวสิงหลและชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในศรีลังกาประมาณ 500 ปี และ 300 ปีก่อนคริสตกาลตามลำดับ โดยต่างก็อพยพมาจากอินเดีย อาณาจักรสิงหลได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของศรีลังกา โดยมีเมืองอนุราธปุระเป็นเมืองหลวงแห่งแรกยาวนานถึงประมาณ 1,200 ปี ต่อมาในศตวรรษที่ 13 จึงได้เสื่อมลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ โดยมีเมือง'โปลอนนารุวะเป็นเมืองหลวงยาวนานประมาณ 200 ปี ชาวทมิฬจึงได้อพยพไปตั้งอาณาจักรจัฟฟ์นาทางคาบสมุทรจัฟฟ์นา ตอนเหนือของประเทศส่วนชาวสิงหลได้ถอยร่นลงไปตั้งรกรากอยู่ทางใต้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรแคนดี ซึ่งมีเมืองแคนดีเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ก็มีอาณาจักรโกฏเฏและอาณาจักรรุหุนะ โดยอาณาจักรแคนดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดประมาณศตวรรษที่ 15 อิทธิพลของตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ตามลำดับ โดยมาทำการค้าตามเมืองท่าด้านตะวันตกของประเทศ และในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) โปรตุเกสได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและปกครองประเทศก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้าครอบครองดินแดนศรีลังกาในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) และต่อมาอังกฤษสามารถครอบครองศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภายใต้อนุสัญญา Kandyan รวมเวลาที่ศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติเกือบ 500 ปี และอังกฤษได้ใช้ศรีลังกาเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) รูปแบบการปกครอง รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรี การปกครองท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 24 เขตการปกครอง แต่ละเขตปกครองโดยผู้ว่าราชการ (Governor) ที่มาจากการแต่งตั้ง และแต่ละเขตมีสภาการพัฒนา(Development Council) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ประมุขของรัฐและหัวหน้า ประธานาธิบดีจันทริกา บันดารานัยเก กุมาราตุงคะ รัฐบาล (Mrs. Chandrika Bandaranaike Kumaratunga) เข้ารับตำแหน่งสมัยแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2537 (ค.ศ.1994) และสมัยที่สองเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 (ค.ศ. 1999) นายกรัฐมนตรี นายรัตนาสิริ วิเกรมานัยเก (Ratnasiri Wickremanayake) เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2543 (ค.ศ. 2000) สืบแทนนางสิริมาโว บันดารานัยเก (Sirimavo Bandaranaike) และได้รับการแต่งตั้งเป็น นรม. เป็นสมัยที่ 2 ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Lakshman Kadirgamar เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 (ค.ศ. 1994) คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรี 44 คน ประธานรัฐสภา นาย Anura Bandaranaike (น้องชายของประธานาธิบดี แต่สังกัดพรรคฝ่ายค้าน) พรรคการเมือง ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ - พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP) - พรรค United National Party (UNP) - พรรค Tamil United Liberation Front (TULF) - พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC) - พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP) - พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation - พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC) การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี

พุทธคยา, Bodh Gaya, Mahabodhi Temple

พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 ห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทาง วัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก ที่ตั้งพุทธคยา พุทธคยา เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุด 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน และถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระ พุทธศาสนา เป็นสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเวลากว่าสองพันห้าร้อยปีที่ สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายแสวงบุญของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลก ปัจจุบันพุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วัดมหาโพธิ์ (อังกฤษ: Mahabodhi Temple) ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร อดีตตำบลที่ตั้งพุทธคยาชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น อุเรล ในปัจจุบันพุทธคยาอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู2 และพุทธคยาได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2545 พุทธคยาในสมัยพุทธกาล ในสมัยพุทธกาล พุทธคยา อยู่ในดินแดนที่เรียกกันว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนิคมชื่อว่าอุรุเวลา ในแคว้นมคธ เป็นสถานที่ ๆ ร่มรื่นเป็นรมณียสถาน สะดวก ด้วยโคจรคาม เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางจิต สภาพของพุทธคยาในสมัยพุทธกาลอาจจะพิจารณาได้จากพุทธพจน์ในพระไตรปิฏก ที่ได้ทรงตรัสกับโพธิราช กุมาร ในโพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงพรรณาถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคมไว้ว่าราชกุมาร! เรานั้นเมื่อหลีกไปจากสำนักอุทกผู้รามบุตรแล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า, เที่ยวจาริกไปตามลำดับหลายตำบลในมคธรัฐ จนบรรลุถึงตำบล อุรุเวลาเสนานิคม พักแรมอยู่ ณ ตำบลนั้น. ณ ที่นั้น เราได้พบภาคพื้นรมณียสถาน มีชัฏป่าเยือกเย็น แม่น้ำใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ มีบ้านสำหรับโคจรตั้งอยู่โดยรอบ. ราชกุมาร! เราได้เห็นแล้ว เกิดความรู้สึกว่า "ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริง ชัฏป่าเย็นเยือก แม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ ทั้งที่โคจรก็ตั้งอยู่โดยรอบ, ที่นี้สมควรเพื่อจะตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการด้วยความเพียร" ดังนี้. ราชกุมาร! เรานั่งพักอยู่ ณ ตำบลนั้นเอง ด้วยคิดว่าที่นี้สมควรแล้วเพื่อการตั้งความเพียร ดังนี้. เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ได้ประทับอยู่ ณ พุทธคยา เพื่อเสวยวิมุตติสุข (ความสุขอันเกิดจากความหลุดพ้น) อยู่ 7 สัปดาห์ และเกิดเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ณ โพธิมณฑลแห่งนี้ภายในเวลา 7 สัปดาห์ดังกล่าว ซึ่งรวมถึงเรื่องราวของตปุสสะ และภัลลิกะ 2 พ่อค้า ที่เดินทางผ่านมาเห็นพระพุทธองค์มีพระวรกายผ่องใส จึงเข้ามาถวายข้าวสัตตุผลและสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นทวิวาจกอุบาสก ผู้ถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะคู่แรกของโลก และพระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระเกศาแก่พ่อค้าทั้งคู่เป็นที่ระลึกในพุทธานุสสติด้วย 3 พุทธคยาในสมัยพุทธกาล หลังจากการตรัสรู้และเสวยวิมุตติสุขของพระพุทธองค์แล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จมา ณ ที่แห่งนี้แต่อย่างใด มีกล่าวถึงในอรรถกถาแต่เมื่อคราวพระอานนท์ ได้มา ณ พุทธคยา เพื่อนำเมล็ดพันธ์ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้กลับไปปลูก ณ วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ตามความต้องการของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งปรารถนาให้มีสิ่งเตือนใจเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่อื่น ต่อมาต้นโพธิ์ต้นที่อยู่ ณ วัดพระเชตวันจึงได้ชื่อว่าอานันทโพธิ์ และยังคงยืนต้นมาจนถึงปัจจุบัน พุทธคยาหลังพุทธปรินิพพาน บริเวณกลุ่มพุทธสถานพุทธคยา อันเป็นอนุสรณียสถานระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช4 และสร้างต่อเติมเรื่อยมาโดยกษัตริย์ชาวพุทธในอินเดีย พระองค์ต่อ ๆ มา จนกระทั่ง เมื่อกองทัพมุสลิมบุกเข้ามาโจมตีอินเดีย พุทธคยาจึงถูกปล่อยให้รกร้างไม่มีผู้คอยเฝ้าดูแลสำหรับความเป็นไปของต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้นั้น ต้นแรกเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (เกิดวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ) มีอายุมาได้ 352 ปี จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกทำลายโดยพระชายาของพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะความอิจฉาที่พระเจ้าอโศกรักและหวงแหนต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้จนไม่สนใจพระนาง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สองนั้น ปลูกโดยพระเจ้าอโศกมหาราชจากหน่อพระศรีมหาโพธิ์ต้นเดิม และมีอายุยืนมาประมาณ 871-891 ปี จน ถูกทำลายในประมาณปี พ.ศ. 1143-1163 ด้วยน้ำมือของพระราชาฮินดูแห่งเบงกอลพระนามว่า ศศางกา ซึ่งพระองค์อิจฉาพระพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรืองมาก จึงทรงแอบนำกองทัพเข้ามาทำลายต้นโพธิ์ต้นนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามนั้นปลูกโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ และต้นที่สามนี้มีอายุยืนมากว่า 1,258-1,278 ปี จึงล้มลงในสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สี่ ที่ยังคงยืนต้นมาจนปัจจุบัน ปลูกโดยนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อ พ.ศ. 2423 สำหรับความเป็นไปขององค์พระมหาโพธิเจดีย์นั้น พระเจ้าหุวิชกะ (อังกฤษ: Huvishka) มีพระราชศรัทธาสร้างมหาเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ในปี พ.ศ. 694 เพื่อเป็นสถานที่สักการะสำหรับพุทธบริษัท โดยได้สร้างเป็นพระเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมทรงรีสวยงามติดกับพระแท่นวัชรอาสน์ทางทิศตะวันออก มี 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นสถานที่กราบนมัสการและชั้นบนเป็นห้องเจริญภาวนา ลักษณะของพระมหาโพธิเจดีย์มีเอกลักษณ์เฉพาะและตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ของมหาโพธิมณฑลมากว่าสองพันปี ในบางช่วงพระราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ ได้เข้ามาทำนุบำรุงอยู่เสมอ และได้รับการบูชารักษาจากชาวพุทธมาตลอด แต่มาขาดตอนไปเมื่อช่วงพันกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากแผ่นดินอินเดียแถบนี้ถูกคุกคามจากสงครามและการเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนา พุทธคยาจึงถูกปล่อยทิ้งร้างและถูกชาวฮินดู เข้าครอบครอง รวมทั้ง แปลงมหาโพธิเจดีย์เป็นเทวสถาน

Inside AdWords: Building a better shopping experience

Inside AdWords: Building a better shopping experience: (Cross-posted from the Google Commerce blog ) Truly great search is all about turning intentions into actions, lightning fast. In the earl...

สำหรับอิทธิบาท ๔

การเจริญพระกรรมฐาน ขอเอาพระธรรมอันหนึ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส ว่าบุคคลใดปฏิบัติได้ครบถ้วน ท่านผู้นั้นจะเข้าถึงความเป็นผู้ สำเร็จทุกอย่างตามที่ตนประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม แต่ว่าวันนี้ในที่นี้เราพูดกันเฉพาะธรรมเรื่องของโลกไม่เกี่ยว โลกจะดีโลกจะชั่วอย่างไรไม่มีความ สำคัญ เพราะคำว่าดีของโลกไม่มี โลกมีแต่เลว มันดีก็ดีแบบหลอกๆ โลกมันแปลว่ามีอันที่จะต้องฉิบหายไป ศัพท์นี้จงอย่าถือว่าเป็นคำหยาบเป็นศัพท์ปกติของ พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ของหยาบไม่ใช่ของโลน ไม่ใช่ของน่าเกลียด สำหรับอิทธิบาท ๔ นี้มีอย่างนี้ ฉันทะ ความพอใจ คือพอใจในการปฏิบัติความดี วิริยะ มีความเพียร จิตตะ มีใจจดจ่ออยู่ในสิ่งนั้น วิมังสา ใช้ปัญญาควบคุมอยู่เสมอ หมายความว่าใช้ปัญญาควบคุมอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าปัญญาในที่นี้ต้องใช้ใคร่ครวญเป็นตัวนำอยู่เสมอที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ ทีนี้อิทธิบาท ๔ ข้อที่ 1.ฉันทะ พอใจอะไร พวกเราบวชเข้ามาเพื่ออะไร หรือว่าเข้ามาอยู่ในเขตพระพุธศาสนาเพื่ออะไร ผมก็จะขอนำถ้อยคำการขอ บรรพชา เอาสมัยก่อน แต่สมัยใหม่นี่ผมไม่ค่อยอยากจะคบนัก เพราะอะไรๆ มันใหม่ไปหมดนี่ผมไม่ค่อยชอบ ของใหม่ราคาถูก ของเก่าราคาแพง อย่างพระ พุทธรูป ของเก่าๆ ราคาแพงกว่าของใหม่มาก นี้การคำขอบรรพชาก็เหมือนกันของเก่าราคาแพงกว่าของใหม่ มีจุดหนึ่งที่ได้กล่าวว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตวา จึงแปลเป็นใจความว่าข้าพเจ้าขอรับกาสาวพัสตร์เพื่อจะทำให้แจ้งเสียซึ่งพระนิพพาน นี้เราขอบรรพชามาเรามีความมุ่งหมายอย่างนี้ เวลานี้ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็ยังมีถ้อยคำว่าต้องการพระนิพพานอยู่เหมือนกัน นี้เป็นอันว่าคำปฏิญาณของเราที่เราจะบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเรา ต้องการอะไร เป็นอันว่าเราต้องการพระนิพพาน ในเมื่อเราต้องการพระนิพพานแล้ว เวลาเราพอใจอะไรอย่าพอใจอะไร ฉันทะความพอใจ เราก็ต้องพอใจใน พระนิพพาน ทีนี้การที่จะพอใจในพระนิพพานเนี่ยเขาทำยังไงกันถึงจะถึงพระนิพพาน ต่อนี้ไปเราก็ไปดูคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า บอกว่าคนที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้นี่ก็ต้องขุดรากขุดเหง้าของกรรมที่เป็นอกุศลทิ้งให้หมด ในขณะหนึ่งตัดโลภะความโลภออกจากจิต แม้นด้วยการให้ทาน สองขุดความโกรธความพยาบาทจองล้างจองผลาญออกจากจิตเสียให้หมด เมื่ออาศัยการทรงพรหมวิหาร ๔ สามตัดความหลงออกไปเสียให้หมดด้วยอำนาจ ของปัญญาที่พิจารณาเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกายและกายไม่มีในเรา เมื่อสรุปรวมง่ายๆ ได้อย่างนี้ก็เรียกว่าเราก็พอใจในอริยสัจ ๔ เมื่อเห็น ว่าสภาวะของโลกทั้งหมดเป็นทุกข์ เอากันง่ายๆ ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชะราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มะระณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปะริ เทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ และความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความจริงข้อนี้มันเป็นของไม่ยาก แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณาดูสักนิดซิว่า ไอ้อะไรที่มันเป็นทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์มันเป็นทุกข์ยังไง ขณะที่เราจะเกิดเรา อาจจะไม่รู้ ขณะที่นอนอยู่ในท้องแม่ท้องพ่อเราอาจจะไม่รู้ แต่ความจริงมันทุกข์ อยู่ในท้องแม่อีตอนนั้นถ้าแม่กินของร้อนจัด ร้อน เดือดร้อนเป็นทุกข์ กินของ เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เดือดร้อน เป็นทุกข์ แม่ใช้กำลังกายเคลื่อนไหวมากเกินไปเป็นทุกข์ อยู่ข้างในมันเหนื่อยถูกเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาแม่เดินแรง ๆ วิ่งแรง ๆ นี้ มันก็เป็นทุกข์ ต่อมาเมื่อร่างกายโตขึ้นมา เมื่อร่างกายโตขึ้นมาแล้วเหยียดขาเยียดแข้งเหยียดขาไม่ไหวนั่งคุดคู้อยู่ในท้องแม่เป็นทุกข์ มันจะเมื่อยก็เมื่อย มันจะปวดก็ ปวด มันก็เหยียดไม่ได้มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์ ว่างๆ ลองนั่งกอดเข่าเล่นโก้ๆ ซัก ๓ ชั่วโมง แบบคนที่อยู่ในท้องนั่งคุดคู้เอาเข่ายันเข้ามาถึงอก เอาแขนรัดเข้าไว้ อย่างนี้ลองนั่งพิจารณาดู แล้วอยู่ในท้องแม่เป็นเดือนๆ แบบนี้มันจะทุกข์ขนาดไหน เราจะมีทุกขเวทนาใดๆ ท่านผู้เป็นแม่ก็ไม่ทราบ เด็กที่ต้อง ตายในท้องเสียนับไม่ถ้วน ถึงว่ามารดาบิดามองไม่เห็นทุกข์ของลูกภายในว่าจะมีโรคภัยไข้เจ็บอะไรบ้าง ในขณะที่เกิดมันข้างในมันเป็นทุกข์ ถ้ามองไม่เห็น ออกมาจากครรภ์มารดา ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดานี้มันก็ทุกข์ ออกมาแล้ว อยู่ในครรภ์มารดาแล้วความอบอุ่นจากไฟธาตุของร่างกายมารดา ออกมากระทบกับ อากาศใหม่ๆ เกิดการแสบตัวเสียงร้องจ้าปรากฏนั่นแสดงว่ามันทุกข์หนัก เจ็บแสบทั้งตัวมันก็เป็นทุกข์ พอออกมาเป็นเด็กขี้ตรงนั้น เยี่ยวตรงนั้น มันเลอะเทอะ ไปหมด เด็กก็มีความรู้สึกเหมือนกับคนธรรมดา ในการสกปรกโสโครกอย่างนั้นมันทนไม่ไหวถึงได้ร้องออกมา แสดงถึงความทุกข์ ถ้าจะหิวอาหาร ต้องการ จะกินอาหาร แม่ก็ยังไม่รู้จะต้องร้องออกมาแล้วเขาถึงจะรู้ว่าหิว มันหิวจนทนไม่ไหวจึงต้องร้อง นี่มันก็เป็นอาการของความทุกข์ รวมความว่าเกิดเป็นทุกข์ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วหาอะไรเป็นสุขไม่ได้ บอกอารมณ์สั้นๆ ไปว่าความหิว ความกระหายทุกวันนี้เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายทุกวันนี้ ปรากฏมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ บางครั้งมีความปรารถนาไม่สมหวังมันมีความสุขหรือความทุกข์ อาการปวดอุจจาระ ปัสสาวะมันสุขหรือมันทุกข์ นี่แหละทุกข์ ถ้ามันจะตายขึ้นมาล่ะ มันสุขหรือมันทุกข์ นี่แล้วก็นั่งคิดเอากันไปตามความเป็นจริง ใช้ปัญญานิดเดียวนี่มันก็เห็นว่าทุกข์ แต่คนมีตากะทู้ หูกระทะเท่านั้นเป็น พวกพหูรูดไม่ใช่พหูสูต ถ้าพหูสูตนั้นก็เขารู้ทุกข์กันมานานแล้ว นี้เมื่อทุกข์มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้จะนั่งภาวนาเวลานี้ให้มันหมดน่ะมันเกินเวลา แล้วก็ไม่มีความจำ เป็น ทุกคนมันมีทุกข์อยู่แล้วถ้าใช้ปัญญานิดเดียวก็มองเห็น ทีนี้ก็ไปนั่งว่าทุกข์มันมาจากไหน นี่เราพอใจมองความทุกข์ ฉันทะ ทุกข์มันก็มาจากความอยากที่เรียกกันว่าตัณหา อยากอะไรอยากรักในเพื่อนใน เพศตรงกันข้าม อยากรวย อยากโกรธ อยากหลงว่านั่นเป็นของกู นี่เป็นของกู มันทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของกูไปหมด นี่อาศัยความอยากที่กล่าวมานี้แล้วมันเป็น ปัจจัยให้เกิด เพราะว่ายังติดความอยากอยู่เพียงใดเราก็ต้องเกิดมาหาความทุกข์ ในเมื่อเรามีความอยากอยู่มันทุกข์ เรายังขืนอยากต่อไปเราก็หาความสุขไม่ได้ ตอนนี้ทำยังไงก็หาทางทำลายความทุกข์ ทำลายเหตุของความทุกข์คือความอยาก อันที่ ๑ อยากรัก แหมทำลายยากเหลือเกิน อยากรวยมันอยากมาเสียนานแล้ว ทำลายยาก เพราะงั้นอยากโกรธอยากพยาบาทก็ทำลายยาก อยากหลงว่านั่นเป็นของเรา นี่เป็นของเราทำลายยาก ทำไมจึงว่ายากก็เพราะว่ามันติดใจมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว พ่อแม่ปู่ย่าตายายนี่แหละสำคัญนัก ส่งเสริมให้ลูกหลานทั้งหลายสร้างความทุกข์อยู่ตลอดเวลา

คุณธรรม 4 ประการ

พรหมวิหาร วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความประเสริฐ หรือเอาใจไปขังไว้ใน ความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ •เมตตา •กรุณา •มุทิตา •อุเบกขา คุณธรรม 4 ประการนี้ นอกจากความเป็นมนุษย์ผู้เประเสริฐแล้ว ยังเป็นอานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง 11 ประการ ดังนี้ 1.สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ 2.ตื่นขึ้นมีความสุข ไม่มีความขุ่นมัวในใจ 3.นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล 4.เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งหลาย 5.เทวดา พรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง 6.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง สรรพาวุธ และยาพิษ 7.จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม มีแต่จะเจริญยิ่งขึ้น 8.มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ 9.เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ 10.ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร 4 นี้ จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก 11.มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์

พุทธานุสสติกรรมฐาน

พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานทีมี อารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธานุสสตินี้ท่านสอนแบบควบหลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ 5 ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ 5 นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ 5 จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้ ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพียงแต่บอกว่า ก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ 4 ประชุมร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ 5 เสียได้ โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดีท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้ กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมกระทบสาม ฐานนี้ ให้กำหนดณรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อลมหายออก แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฎิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใดองค์ก็ได้ ท่านสอนดังนี้ ตอนที่ภาวนา ท่านให้กรรมฐาน 4 อย่างรวมกัน คือ ตอน พิจารณาขันธ์ 5 เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็น กสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว 4 อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณมีกำลังถึงฌาน 4 หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัส สโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน 2. ธัมมานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงาน เป็นงานในการระลึกนึกถึงคุณพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ คำว่าเป็นอารมณ์ หมาย ถึงให้เอาจิตใจจดจ่ออยู่ในคุณของพระธรรมเป็นปกติ ไม่เอาจิตไปนึกไปคิดอารมณ์อื่น นอกเหนือไปจากพระธรรม อาการที่คิดถึงคุณของพระธรรมนี้มีอารมณ์ การคิดมากมาย เช่นเดียวกับการคิดถึงคุณพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมมีีความสำคัญมากกว่าสิ่งใด ๆ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็มีความ เคารพในพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นหลักความประพฤติดี ประพฤติชอบประจำโลก การที่พระพุทธเจ้าพระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้ ก็ เพราะอาศัยพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนานี้จึงนิยมยกย่องพระธรรมว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสรณะหนึ่ง การระลึกถึงคุณพระ ธรรมนี้ อาจจะเลือกเอาคำสั่งสอนตอนใดตอนหนึ่งที่ท่านชอบในบรรดาคำสอน 84.000 พระธรรมขันธ์มาเป็นอารมณ์ระลึกได้ตามใจชอบ แต่ท่านโบรา ณาจารย์ท่านประะพับธ์บทสรรเสริญพระธรรมไว้ 6 ข้อ

อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง”

อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึงนึกถึง มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มี สมาธิถึงปฐมฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน 4 และฌาน 5 กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ อนุสสติทั้ง 10 อย่างนี้ เหมาะแก่อารมณ์ของนัก ปฎิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่าน ที่หนักไปในราคจริต กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริต อนุสสตินี้มีชื่อและอาการรวม 10 อย่างด้วยกัน จะนำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้ เพื่อทราบ ดังต่อไปนี้ 1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ 2.ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์ 3. สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์ 4. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์ 5. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์ 6. เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ (อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต) 7. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ 8.อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์ (อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต) 9. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต 10.อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต อนุสสติทั้ง 10 นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฎิบัติแต่ละอย่างดังนี้ กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง 7 นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ ลีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึงปฐมฌานได้ ทั้งนี้ถ้าท่านนักปฎิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้้ แต่ ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียงปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฎิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอา สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฎในอารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 4 ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น อานาปานุสสติ สำหรับอานาปานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มาวาสนาบารมีสาวกภูมิ สำหรับท่านที่มีบารมี คือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็ สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 5 ฌาน 4

กสิณ มีอยู่ทั้งหมด 10 กอง

กสิณ มีอยู่ทั้งหมด 10 กองด้วยกัน ดังนี้
1.ปฐวีกสิณ เป็นกสิณเพ่งดิน
2.อาโปกสิณ เป็นกสิณเพ่งน้ำ
3.เตโชกสิณ เป็นกสิณเพ่งไฟ
4.วาโยกสิณ เป็นกสิณเพ่งลม
5.นีลกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเขียว
6.ปีตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเหลือง
7.โลหิตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีแดง
8.โอทากสิณ เป็นกสิณเพ่งสีขาว
9.อาโลกกสิณ เป็นกสิณเพ่งแสงสว่าง
10.อากาสกสิณ เป็นกสิณเพ่งอากาศ

ปฐวีกสิณ กสิณ นี้เป็นการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ปฐวี แปลว่า ดิน กสิณ แปลว่า เพ่ง รวมแล้วหมายถึง เพ่งดิน อุปกรณ์กสิณ ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาด หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปมาได้ ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามมีสีอื่นปน หรือถ้าหาไม่ได้มาก ก็เอาสีอื่นไว้ข้างล่างแล้วเอาสีอรุณวางทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ท่านว่า หาได้จากดินขุยปู เมื่อได้ดินแล้ว ก็ทำสะดึงทำเป็นลานติดพื้นดินมีขนาดเท่ากัน ขนาดดวงกสิณ วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง ท่านให้ไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 คืบ 4 นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า 2 คืบ 4 นิ้ว ตั่งที่ วางวงกสิณ ให้สูงไม่เกิน 2 คืบ 4 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะที่พอดี เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำแต่สีดิน ไม่ต้องคำนึงถึงขอบและริ้วรอย กิจก่อนการเพ่งกสิณ เมื่อจัดอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ชำระล้างร่างกายให้สะอาด นั่งสมาธิ หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) เมื่อพิจารณาโทษของ กามคุณจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ก็ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณ จำให้ดี หลับตากำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ แล้วหลับ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย จนกว่าอารมณ์ของใจจะจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจตลอด เรียกว่า "อุคคหนิมิต" แปลว่า นิมิตติดตา เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตนี้แล้ว ท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตไว้จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต ซึ่งรูปและสี ของกสิณจะเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดคล้ายน้ำที่กลิ้งอยู่ในใบบัว จะกำหนดให้เล็กโต สูงต่ำได้ตามประสงค์ อย่างนี้เรียกว่า "ปฏิภาคนิมิต" และต้องรักษาอารมณ์ให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิ อย่าสนใจอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อย เพราะจะทำให้ สมาธิที่จะเข้าสู่ฌานนี้สลายตัวโดยฉับพลัน จิตเข้าสู่ระดับฌาน เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง 10 มีดังนี้
 ฌานในกสิณท่านเรียกฌาน 4 บ้างก็ฌาน 5 ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้
ฌาน 4 ฌาน 4 ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน
1.ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
2.ทุติยฌานมีองค์
3 คือ ละวิตกและวิจารเสียได้ ยังดำรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา
3.ตติยฌานมีองค์
2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ยังดำรงสุขอยู่ในเอกัคคตา 4.จตุตถฌานมีองค์
2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ฌาน 5
1.ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
2.ทุติยฌานมีองค์ 4 คือละวิตก ยังทรงวิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
3.ตติยฌานมีองค์ 3 คือ ละวิตก วิจาร ยังทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
4.จตุตถฌานมีองค์ 2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ ยังทรงสุขกับเอกัคคตา 5.ฌาน 5 หรือที่เรียกว่า ปัญจมฌาน มีองค์ 2 เหมือนกัน คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ ยังทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพ่ิมอุเบกขาเข้ามาอีก กสิณนี้ถ้าท่านปฏิบัติทำให้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่เจริญในกสิณ เมื่อได้แล้วก็ต้อง ฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่อง เมื่อเข้าฌานคล่องแล้ว ต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจกสิณให้ได้คล่องแคล่ว จึงจะชื่อว่า ได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ ควรย้ายไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น ถ้าชำนาญในการนิรมิต อธิษฐานแล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกัน ต่างกันแต่สี พยายามฝึกฝนจนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน จึงค่อยย้ายกองต่อไป
องค์ฌานในกสิณทั้ง 10 กอง ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ
1.วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมตินั้นเป็นอารมณ์
2.วิจาร พิจารณาปฏิภาค คือ พิจารณาว่ารูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงาม คล้ายแว่นแก้ว บริสุทธิ์สะอาด
3.ปีติ มี 5 ประเภทคือ ?ขุททากาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล
- ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ - โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง บ้างก็โยกไปโยกมา
- อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยได้ไกล
- ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายสูงใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
4.สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
5.เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ทั้ง 5 อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่น ๆ แต่กสิณนี้มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้า สู่จตุตถฌาน หรือปัญจมฌาน ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือจะเว้นจากการภาวนาไปเอง
        การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง เหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาค นิมิตจะสวยวิจิตรมากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขปราณีต ตติยฌาน มีองค์ 2 ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่สุขแบบเครียด ๆ มีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต ลมหายใจอ่อนระรวย ภาพนิมิตดูงามสง่า มีรัศมีผ่องใส อารมณ์ของจิตไม่สนใจกับอาการทางกายเลย จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุขและความทุกข์ใด ๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น ปล่อยวางต่ออารมณ์ มีจิต สว่างคล้ายใครเอาประทีบที่สว่างมากมาวางไว้ ไม่มีอารมณ์รับเสียง ลมหายใจสงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ 4 เป็นฌานสำคัญชั้นยอด เมื่อมี อารมณ์จิตถึงฌาน 4 จะไม่ปรากฎว่ามีลมหายใจ ทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึงฌาน 4 *************************

ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

จริต 6 จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ 1.ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูด จาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ 2.โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว 3.โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่ อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้ 4.วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ ยาก 5.สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา 6.พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณา วิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิด ฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อ ให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง •อสุภกรรมฐาน 10 •อนุสสติกรรมฐาน 10 •กสิณ 10 •อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 •จตุธาตุววัฏฐาน 1 •พรหมวิหาร 4 •อรูป 4 แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของ ท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้ 1. ราคจริต ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็ เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครก โดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา 2. โทสจริต คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสี เขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญ พิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป 3. โมหะ และ วิตกจริต อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลง ฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป 4. สัทธาจริต ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ 1.พุทธานุสสติกรรมฐาน 2.ธัมมานุสสติกรรมฐาน 3.สังฆานุสสติกรรมฐาน 4.สีลานุสสติกรรมฐาน 5.จาคานุสสติกรรมฐาน 6.เทวตานุสสติกรรมฐาน ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส 5. พุทธิจริต คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง 1.มรณานุสสติกรรมฐาน 2.อุปมานุสสติกรรมฐาน 3.อาหาเรปฏิกูลสัญญา 4.จตุธาตุววัฏฐาน กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่ สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่ เพราะอรูปละเอียดเกินไป *************************

อวิชชา หมายถึง อุปาทาน

อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ อุปาทาน ได้แก่ ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มี อยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ความจริงอารมณ์ตอนนี้ก็เข้มแข็งพอ คนที่เป็นอนาคามีแล้ว เป็น ผู้มีจิตสะอาด มีอารมณ์ขุ่นมัวบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อารมณ์ใจยังเนื่องอยู่ในอวิชชา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่เข้าถึงสุขที่สุด ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข ก็ควรจะใช้บารมี 10 นำมาประหัตประหารเสีย อวิชชานี้ ที่ว่า มีฉันทะ กับราคะ นั้น ท่านก็ตรัสว่า ฉันทะ คือมีความพใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์ ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความ ทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ในใจของท่านต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็น เอกัคตารมณ์ ในอุปสามานุสสติกรรมฐาน อะจีรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง ร่างกายนี้ ไม่ช้าก็มีวิญญาณไป ปราศจากวิญญาณแล้ว ร่างกายก็ถูกทอดทิ้งเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ *************************

สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์

สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา หรือตามศัพท์ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อารมณ์ขั้นต้นของพระโสดาบัน กับสกิทาคามี ท่านมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย เราต้องคิดว่า ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ร่างกายนี้น่าเกลียดโสโครก ต้องเกลียดจริง ๆ เราไม่ต้องการทั้งร่างกายเรา และร่างกายของคนอื่น หรือวัตถุธาตุใด อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามี และถ้ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอรหันต์ ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับ คือ อารมณ์ขั้นต้น ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาล ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือมีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด มีทั้ง อุจจาระ ปัสสวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น พยายามทำอารมณ์ให้ทรงจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ วิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน สังสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์ สีลัพพตปรามาส คือ ลูบคลำศีล รักษาศีลไม่จริงจัง อย่างนี้จงอย่ามีในเรา จงปฏิบัติให้ครบถ้วนด้วย 3 ประการ 1.มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะต้องตาย 2.ไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมยอมรับปฏิบัติตาม 3.รักษาศีลครบถ้วนโดยเคร่งครัด ทำอย่างนี้ได้ ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี กามฉันทะ คือมีความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เราต้องกำจัดในสิ่งเหล่านี้ ให้รู้ว่าสกปรก โสโครก เราไม่ต้องการ และกำจัด ปฏิฆะ คือ การกระทบกระทั่งความไม่พอใจออกจากจิต มีความเมตตา กรุณา เข้ามาแทน จิตมีความเบื่อหน่ายในร่างกายเป็นที่สุด ท่านตรัสว่า เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี รูปราคะ และ อรูปราคะ เป็นการหลงในรูปฌาน และอรูปฌาน เราต้องไม่หลงติด ไม่มัวเมาใน รูปฌาน และอรูปฌาน แต่จะรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่จิตใจ แล้วใช้่ปัญญาพิจารณาขันธ์ 5 ว่ามีแต่ความทุกข์ มีการสลายตัวไปในที่สุด เมื่อขันธ์ 5 ไม่ทรงตัวแบบนี้แล้ว มานะ การถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา วางอารมณ์แห่งการถือตัวถือตนเสีย มีเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง ตัดอุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน การถือตัวถือตน เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราควรวางใจแต่เพียงว่า ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วเกิดนี่มาจากไหน การเกิดมาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เราควรวางใจเป็นกลาง การถือตัวถือตนเป็นปัจจัยของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด ถ้ากำหนดอารมณ์อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะของตนได้

สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจ

สังโยชน์ 10 สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง 1.สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5) 2.วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย 3.สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง 4.กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์ 5.พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ 6.รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน 7.อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ 8.มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี 9.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล 10.อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

บารมี แปลว่า กำลังใจเต็ม

บารมี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มีดังนี้ 1.ทานบารมีี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ 2.ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล 3.เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น 4.ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป 5.วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ 6.ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ 7.สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี 8.อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ 9.เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น 10.อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ บารมี ที่องค์สมเด็จทรงให้เราสร้างให้เต็ม ก็คือ สร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ บารมีในขั้นต้นกระทำด้วยจิตอย่างอ่อนเป็นขั้นพระบารมี เมื่อจิตดำรงบารมีขั้นกลางได้ เรียกว่า พระอุปบารมี และเมื่อจิตดำรงบารมีขึ้นไปถึงที่สุดเลย เรียกว่า พระปรมัตถบารมี หรือบารมี 30 ทัศ หรือมีศัพท์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระสมติงสบารมี หมายถึง พระบารมีสามสิบถ้วน ซึ่งเป็นธรรมพิเศษหมวดหนึ่ง มีชื่อว่า พุทธกรณธรรม เป็นธรรมพิเศษที่กระทำให้ได้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้่า พระโพธิสัตว์ที่ต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญธรรมหมวดนี้ หรือมีชื่อหนึ่งเรียกว่า โพธิปริปาจนธรรม คือธรรมสำหรับพระพุทธภูมิ หรือชาวพุทธเราทั่วไปเรียกว่า พระบารมี หมายถึง ธรรมที่นำไปให้ถึงฝั่งโน้น คือ พระนิพพาน

นิวรณ์ 5

นิวรณ์ 5 อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดี ก็มีนิวรณ์ 5 คือ 1.กามฉันทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์ 2.พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ 3.ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม 4.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิด 5.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่เพียงใด *************************

อสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐาน อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน รวมได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการเป็นงานในอารมณ์ที่เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยสดงดงาม มีแต่ความสกปรก โสโครก น่าเกลียด กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน อสุภกรรมฐานมี 10 อย่าง มีกำลังสมาธิเพียงปฐมฌานเป็นอย่างสูงสุด ไม่สามารถจะทรงฌานให้มีกำลังให้สูงกว่านั้นได้ เป็นกรรมฐานด้านพิจารณามากกว่าการเพ่ง ใช้อารมณ์จิตใคร่ครวญพิจารณาอยู่เป็นปกติ จึงทรงสมาธิได้อย่างสูงก็เพียงปฐมฌาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คล้ายกับวิปัสสนาญาณมาก นักปฏิบัติที่พิจารณาอสุภกรรมฐานจนทรงปฐมฌานได้ดีแล้ว พิจารณาวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป จะบังเกิดผลรู้แจ้งเห็นจริงในอารมณ์วิปัสสนาญาณได้ อสุภกรรมฐานนี้เป็นสมถกรรมฐานที่ให้ผลในทางกำจัดราคจริตเหมือนกันทั้ง 10 กอง ท่านที่เจริญกรรมฐานหมวดอสุภนี้ชำนาญเป็นพื้นฐานแล้ว ต่อไปเจริญวิปัสสนาญาณ จะเข้าถึงการบรรลุเป็นพระอนาคามีผลได้ไม่ยากนัก อสุภกรรมฐาน 10 อย่าง 1.อุทธุมาตกอสุภ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายขึ้นบวมพอง ที่เรียกกันว่า ผีตายขึ้นอืดนั่นเอง 2.วินีลกอสุภ เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว ปะปนคน สีแดงในที่มีเนื้อมาก สีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก สีเขียวที่มีผ้าสีเขียวคลุม ร่างของผู้ตายส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยผ้า สีเขียวจึงมากกว่า ดังนั้นจึงเรียกว่า วินีลกะ แปลว่าสีเขียว 3.วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ 4.วิฉิทททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลาง มีกายขาดออกจากกัน 5.วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน 6.วิขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย 7.หตวิกขิตตกอสุภ คือซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ 8.โลหิตกอสุภ คือซากศพที่มีเลือดไหลอออกเป็นปกติ 9.ปุฬุวกอสุภ คือซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่ 10.อัฏฐกอสุภ คือซากศพที่มีแต่กระดูก

การเจริญสมถะและวิปัสสนา

การเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่าย ๆ ประจำวัน ซึ่งควรจะทำให้บ่อย ๆ ทำเนือง ๆ ทำให้มาก ๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ๆ คือไม่ว่าจะยืน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตของผู้นั้นไม่ห่างวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน" คือ ๑. มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพรากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า "มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด" อันมรณัสสติกรรมฐานนนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ้งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้วก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก" มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปรกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ก็คือการพิจารณาถึงความจริงทีว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่แล้วก็ตายไปในที่สุด ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ทุกผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนยากดี มี จน เด็ก หนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูงต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย "ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและสร้างบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า" ผู้ที่ประมาทมั่วเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า "หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด" และกล่าวไว้อีกว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมเนา" และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงใหลมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแนนอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมา ก็ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระ ประโยชน์อันใดมิได้เลย มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนาน ๆ จิตจะค่อย ๆ สงบและระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้วิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลายไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตวจะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักนิพพาน ฯลฯ สัตว์ทั้งปวงที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเสมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตัวเอง เราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้" และในวันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาทที่เรียกกันว่า "อัปปมาทธรรม" สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษา ได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"
การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่างคือ "สมถภาวนา (การทำสมาธิ)"และ "วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)" แยกอธิบายดังนี้ คือ ๑. สมถภาวนา (การทำสมาธิ) สมถภาวนาได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดปละด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากว่าศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน(เป็นกำลัง)ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่าวพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า "ขนิกสมาธิ" คือสมาธิเล็ก ๆน้อย ๆ สมาธิแบบเด็ก ๆที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดทรงจิตอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์(มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้นที่ ๒ คือ ดาวดึงส์) สมาธินั้นมีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน(อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือ ชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ต้องเสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินเสียทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ยังต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างเทียบกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้ ๒. วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ตาม แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป - นาม" โดย รูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย ๑. อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาวและเฒ่าแก่จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่าอุปาทานขั้นธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆมาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นมาก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองๆไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์" แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆเหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน ๒. ทุกขัง ได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้" ทุกขัง ในที่นี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทนตั้งอยู่ในสภาพนั้น ๆได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงตลอดไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็ก ๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไปแล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน ๓. อนัตตา ได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ" โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่าเซลล์ แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า "ธาตุดิน" ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า "ธาตุน้ำ" ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า "ธาตุไฟ" ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า "ธาตุลม" (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้หมายความอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ" อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบ ๆ เหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ และส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้ สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้นเอง ขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็น พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกระแสธรรมตัด กิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ" ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกันจะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผลต่อไป ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงทีว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าวิปัสสนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม้ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใดแต่ก็ได้กำไรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราย ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแล้วแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุดก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพานก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความจริงดังกล่าว" กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆะบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า

การทำทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ องค์ประกอบข้อที่ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์" วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะที่ไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ ด้วยนำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคโดยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างไร สมัยหนึ่งในรัชการที่ ๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อ "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะว่าเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูก ๆ แต่มาขายแพงจนเกินส่วนนั้น ย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลว ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่

บุญ เครื่องชำระสันดาน

************************* บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลธรรม บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือ ทาน, ศีล เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอนคือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด ดังนี้คือ "ทาน ศีล ภาวนา" *************************

เริ่มเจริญวิปัสสนา

เริ่มเจริญวิปัสสนา การเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่างแบบคิดว่า พอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น การปฏิบัติแบบคิดว่าพอเป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความเชื่อถือจริง และไม่ใช่นักปฏิบัติจริง ปฏิบัติตามเขาพอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนาคนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิกแล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไป โฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏเป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้น นักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่ง ทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง ก่อนพิจารณาวิปัสสนา ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อนเข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้วค่อยๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้น จะเกิดเป็นอารมณ์ ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌาน ต่อไปเป็น ลำดับ ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกันทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการ ทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้ ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้ ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อ สงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่น ละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือ สิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำก็ก็ปฐมฌาน ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรง อธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรง บรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว สำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจ รับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตก ว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ ไม่ให้ บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ

วิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป

วิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะ รวม ๔ อย่างด้วยกัน อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่ อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญสำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริง ตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือ ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่างเป็นสำคัญ อานิสงส์อรูปฌาน ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌานที่ได้ แล้วยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้ อรูปฌานนี้แล้วเมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็น พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือ มีคุณสมบัติพิเศษเหนือจากที่ทรงอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และคุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ อัตถปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ ท่านอธิบายมาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัด ไม่เสียความ ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้ พิสดารเข้าใจชัด นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่าง อัศจรรย์ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่าง อัศจรรย์ ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้ ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญาแล้วท่านมาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌานคือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึงจตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่าน ที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้วจึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับ ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอาโลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันทีในสมัยที่เป็นฌานโลกีย์ ส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรงปฏิสัมภิทาไม่ได้ ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะปรากฏ บังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์

ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐานถึง อันดับที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึง อันดับที่ ๒ เรียกว่า ทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒ ถึง อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่า ฌาน ๓ ถึง อันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔ ถึงอันดับที่แปด คือได้ อรูปฌาน ถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘ ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌาน ที่ ๒ ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียก จตุตถสมาบัติ ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือ สมาบัติแปด นั่นเอง คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็น ไทย ๆ เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ ิที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ รูปสมาบัติหรือรูปฌาน ฌานหรือสมาบัติ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือ รูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จมรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือ โลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่าน เรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือ โลกุตตรญาณ ศัพท์ว่าโลกุตตระ ตัดออกเป็นสอง ศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิ คือเอา โลกะ กับ อุตตระ มาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอาสระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็น โลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่า โลก อุตตระ แปลว่า สูงกว่า รวมความว่าสูงกว่าโลก โลกุตตระ ท่านจึงแปลว่า สูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่า ฌานที่สูงกว่าโลก โลกุตตรสมาบัติ แปลว่า สมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่า กรรมต่างๆที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้น ไปแล้วแม้บาปกรรมที่ชาวโลกต้องเสวยผลท่านที่ได้โลกุตตระท่านก็ไม่ต้อง รับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลกให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นาม ว่า โลกุตตรบุคคล รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อสมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบต่อไป อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์ วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับ ทราบอะไรเลยเป็นสำคัญ ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนดหมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกว่าอรูปสมาบัติ สมาบัติ ๘ ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘ ผลสมาบัติ คำว่าผลสมาบัติท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ ต้องเป็น พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปด มาก่อน ท่านเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌาน ระดับใด ท่านก็เข้าระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกันและท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดาสกิทาคา อนาคามี อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌานท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่าน ที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าฌานเพราะไม่มีมรรคผลต่างกันเท่านี้เอง กิริยา ที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง นิโรธสมาบัติ นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผล ถึงอนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้ ผลของสมาบัติ สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่าน ที่ได้สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้ พระวิจัยวิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้าพระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้ นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้ เวลาอย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลในวันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้าท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัติ นี้เข้าออกได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผล ไพบูลย์ในความเป็นอยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ ด้วยดีไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ เข้าผลสมาบัติ

สีของจิต

สีของจิต สีของจิตนี้ บางแห่งก็เรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ การที่จะรู้อารมณ์จิตนั้นต้องมี เจโตปริยญาณ ก่อนจึงจะรู้อารมณ์ของจิต สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัวหรือผ่องใส ท่านกล่าวไว้ดังนี้ 1.จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง 2.จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ 3.จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งมีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ 4.จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มตั่วหรือน้ำซาวข้าว 5.จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย เชื่อโดยไม่ใคร่ครวญทบทวนหาเหตุผล คนประเภทนี้ที่ถูกต้มตุ๋นอยู่เสมอ ๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว 6.คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำดี มีไหวพริบ คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึก หรือคล้ายน้ำกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร สีของจิตโดยย่อ เพื่อให้เห็นกันง่าย ๆ ยิ่งขึ้น โดยแบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่างคือ 1.จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง 2.จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ 3.จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส กายในกาย สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนั้น เป็นกายประเภทอทิสมานกาย คือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกาย หรือกายซ้อนกายนี้ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหนทำอะไรที่อื่น จากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไปและทำอะไรต่ออะไรอยู่ ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริง จำเรื่องราวที่ไปทำได้ กายนั้นแหละที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่มีอยู่ในมหาสติปัฏฐาน กายในกายนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ 1.กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรย หน้าตาซูบซีด ไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ 2.กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา จะต่างกันตรงที่ผิวพรรณ สัดส่วน ขาวดำ งดงามต่างกัน แต่ลักษณะบอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก 3.กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์ 4.กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม 5.กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม และเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย

อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐาน

อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐานมีมาก เรียกว่าเป็นกรรมฐานที่มีความละเอียด อานาปานุสสติกรรมฐานอาศัยลมเป็นสำคัญ ถ้าวันใดลมหายใจหยาบ แสดงว่าวันนั้นจะปรากฎว่าอาการคุมสมาธิไม่ดี จะมีอาการอึดอัด บางครั้งจะรู้สึกว่าแน่นที่หน้าอก หรือว่าหายใจไม่ทั่วท้อง ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น หรือเกรงว่าอาการอย่างนี้จะมี เมื่อเวลาเริ่มต้นที่จะกำหนดกรรมฐาน ให้เข้าชักลมหายใจยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง คือหายใจเข้า หายใจออกยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง เพื่อเป็นการระบายลมหยาบออกไป จากกนั้นก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าบังคับให้หนัก ๆ หรือเบา หรือยาว ๆ สั้น ๆ การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานต้องการสติสัมปชัญญะเป็นใหญ่ อาการของลมหายใจปล่อยไปตามสบาย ๆ แค่รู้ไว้เท่านั้น ว่าหายใจยาว หรือสั้น ก็รู้อยู่ และอีกแบบหนึ่งคือ กำหนด 3 ฐาน คือ เวลาหายใจเข้า ลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือริมฝีปาก คนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปาก ริมฝีปากงุ้มจะกระทบจมูก เป็นความรู้สึก จงอย่าบังคับลมหายใจให้แรง ปล่อยไปตามปกติ ความรู้สึกมีเพียงว่ากระทบจมูกอย่างเดียว ถ้ารู้ความสัมผัสจมูกก็แสดงว่า จิตทรงได้แค่อุปจารสมาธิ ถ้าสามารถรู้การสัมผัส 2 ฐาน คือหายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก และหายใจออกรู้กระทบหน้าอก กระทบจมูก 2 จุดนี้ แสดงว่า จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้ารู้ถึง 3 ฐาน หายใจเข้ากระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ และเวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูก รู้ได้ชัดเจน อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌาน ถ้าอารมณ์จิตละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ฌานที่ 2 ที่ 3 อย่างนี้ลมหายใจเข้าหายใจออกจะเหมือนกระแสน้ำไหลเข้าไหลออก ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌานละเอียด หรือว่าฌานที่ 2 ที่ 3 สำหรับปฐมฌานลมยังหยาบอยู่ แต่รู้สึกว่าจะเบากว่าอุปจารสมาธิ พอถึงฌานที่ 2 จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงอีก ไปถึงฌานที่ 3 ลมหายใจที่กระทบรู้สึกว่าจะเบามาก เกือบจะไม่มีความรู้สึก ถ้าเข้าถึงฌานที่ 4 ก็จะมีความรู้สึกว่าไม่หายใจเลย แต่ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติ ที่ความรู้สึกน้อยลงไปก็เพราะจิตกับประสาทห่างกันออกมา ตั้งแต่ปฐมฌานจิตก็ห่างจากประสาทไปนิดหนึ่ง มาถึงฌานที่ 2 จิตก็ห่างจากประสาทมากอีกหน่อย พอถึงฌานที่ 3 จิตก็ห่างจากประสาทมากเกือบจะไม่มีความสัมผัสกันเลย ถึงฌานที่ 4 จิตปล่อยประสาท ไม่รับรู้การกระทบกระทั่งทางประสาททั้งหมด จึงไม่รู้สึกว่าเราหายใจ อาการที่เข้าถึงอุปจารสมาธิ เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะมีความสงบสงัดดีขึ้น ดีกว่าอุปจารสมาธิมีความชุ่มชื่นมีความสบาย แต่ทรงได้ไม่นาน อาจจะ 1 -2 - 3 นาทีในระยะต้น ๆ แต่บางวันก็ทรงได้นานหน่อย เมื่อจิตมีความสุข รื่นเริง อาการของปิติมี 5 อย่าง ที่จะเรียกว่า อุปจารสมาธิ จิตที่เข้าถึงอุปจารสมาธิก็คือจิตมีปิติ และจิตเข้าถึงสุข ถ้าเข้าถึงสุขก็เรียกว่าเต็มอุปจารสมาธิ อาการของจิตที่ควรแก่การพิจารณา คือ มีขนลุกซู่ซ่า ขนพองสยองเกล้า จงอย่าสนใจกับร่างกาย พยายามสนใจกับอารมณ์ที่ทรงไว้ น้ำตาไหล เวลาเริ่มทำสมาธิน้ำตาไหล ใครพูดอะไรก็น้ำตาไหล บังคับไม่อยู่ อาการโยกโคลง โยกหน้าโยกหลัง มีอาการสั่นเคลิ้ม คล้ายเหมือนปลุกพระ บางคนมีอาการตัวลอย ไม่ใช่เหาะ เป็นปิติ อาการซาบซ่าน ซู่ซ่าในกาย ตัวกายเบาโปร่ง มีความรู้สึกเหมือนตัวใหญ่ หน้าใหญ่ ตัวสูง ปิติเมื่อเกิดขึ้น เราจะมีอารมณ์เป็นสุข ซึ่งเป็นความสุขที่อธิบายไม่ได้ เป็นความสุขสดชื่น ปราศจากอามิส อาการอย่างนี้จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิในอันดับขั้นสูงสุด เป็นการเต็มในขั้นกามาวจรสวรรค์ ขณิกสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวาจรสวรรค์ เมื่อเต็มขั้นกามาวจรแล้ว ถ้าเลยจากนี้ก็เป็นอาการของพรหม

การปฏิบัติอยู่ในมรรคสัจ

การปฏิบัติอยู่ในมรรคสัจ คือ ท่านต้องมีศีล ท่านต้องมีสมาธิ ท่านต้องมีปัญญา อย่างนี้ในมรรค 8 ก็รวมกันแล้วเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค 8 คือปฏิปทาให้เข้าถึงความดับทุกข์ คือเข้าถึงนิโรธ นิโรธสัจก็เหมือนกัน เป็นตัวผลนะขอรับ หมายความว่าคนกินข้าวอิ่มแล้วจะมาพูดกันเรื่องกินอะไรกันอีก มันกินอิ่มแล้วไม่ต้องพูดกัน นิโรธไม่มีอาการเป็นอย่างอื่น มันตัดเสียแล้ว กิเลสหมดแล้วก็หมดกันไป ว่าที่เราปฏิบัตินี่เพื่ออะไร เราปฏิบัติเพื่อนิพพานกัน ไม่ใช่ทำเพียงอุปนิสัย อย่าคิดว่าพอบวชเข้ามาแล้ว ก็ทำเสียหน่อยหนึ่ง หรือบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทประกาศตัวเป็นพุทธสาวกเสียแล้ว ก็ทำเสียนิดหนึ่ง ไม่ถึงความดีอะไร เราจะไปพระนิพพาน กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดที่ทำให้คนเข้าถึงนิพพานไม่ได้มันมีอยู่ 10 อย่าง นี่เราปฏิบัติกันยังก็ตามนะครับ ถ้าไม่รู้ไอ้สิบตัวนี้แล้วเข้านิพพานไม่ได้ เป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ก็เป็นไม่ได้สักอย่าง นั่นก็คือสังโยชน์ 10 การเจริญมหาสติปัฏฐานต้องทบทวนตลอดเวลา แล้วก็ใช้อารมณ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เวลาไหนควรใช้อานาปานสติ เวลาไหนควรใช้อิริยาบถ เวลาไหนควรใช้สัมปชัญญะ เวลาไหนควรใช้ปฏิกูลสัญญาธาตุ 4 นวสี 9 หรือว่าเวทนา จิตตา ธรรมา ส่วนใดส่วนหนึ่งให้เป็นกิจประจำวันไป หมายความว่า ทำเป็นกิจประจำวันนะครับ วันหนึ่งจงอย่าว่าง ใช้อารมณ์ตามสมควร ถ้าความรักความเมามันเกิดขึ้นมาก็ใช้ปฏิกูลสัญญาบ้าง ธาตุ 4 บ้าง นวสี 9 บ้าง แล้วก็ดู ถ้ามันเกิดความกลุ้มขึ้นมา เกิดความดีใจขึ้นมา ก็ดูจิต ดูจิตนะขอรับ แล้วก็ดูเวทนา แล้วก็ละนิวรณ์ พิจารณาขันธ์ 5 แล้วก็ทรงโพชฌงค์ 7 ตลอดเวลานะขอรับ แล้วก็มาว่าอริยสัจนี่ก็ควรจะทรงตลอดเวลาเหมือนกัน ทีนี้ มาจับจุดกัน ทำให้คล่องนะครับ นึกให้คล่อง ทำให้คล่องให้เป็นปกติ ต้องคล่องเสียก่อนนะครับ แค่จบยังไม่ได้อะไร ตอนนี้ก็มาจับจุดกันว่าสังโยชน์ 10 กิเลสเครื่องร้อยรัด ทำให้เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมันมีอะไรบ้าง จับตัวมันให้ได้ ตัวที่ 1 ก็สักกายทิฏฐิ เป็นกิเลสตัวที่ 1 ที่เมามันเห็นว่าอัตภาพร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา เมาชีวิตคิดว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขาตัวหนึ่งละครับ ตัวที่ 2 สงสัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างบรรดานักปราชญ์ทั้งหลายสงสัยพระสูตร และชาดกสมัยนี้ ประการที่ 3 สีลัพตปรามาส โกหกศีล โกหกพระ ไปรับศีลมาแล้วไม่ปฏิบัติเห็นศีลเป็นเครื่องเล่นไป ว่าส่งเดช ประการที่ 4 เมาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เรียกว่ากามคุณนะขอรับ กามฉันทะ ประการที่ 5 เมาในความโกรธ ความพยาบาท อยากจะเป็นคนเด่นในด้านความโกรธ ความพยาบาท อยากจะเป็นคนเก่ง ประการที่ 6 รูปราคะ เมาในรูปฌาน ข้อที่ 7 อรูปราคะ เมาในอรูปฌาน ข้อที่ 8 มานะถือตัวถือตนว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา ข้อที่ 9 มีอารมณ์ฟุ้งซ่านนอกรีดนอกรอย ข้อที่ 10 ความรู้ไม่ครบ คือรู้ผิด รู้นอกลูกนอกทาง อวิชชานี้ไม่ใช่ไม่รู้นา คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วนี้รู้หมด ต่างคนต่างมีความรู้ ต่างคนต่างมีความคิด แต่ว่าจะรู้ตรงรู้ถูกตามที่พระพุทธเจ้าประสงค์หรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง เรียกว่ารู้ไม่ตรงความประสงค์ของพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่ารู้ผิด ผิดจากอะไร ผิดจากทางพระนิพพาน นี่เป็น 10 ประการด้วยกันนะขอรับ ทีนี้ เราเป็นนักปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน จะเข้าถึงมรรคถึงผลก็อย่ากระโจนกลาง อย่ากินช้างทั้งตัว จงอย่าคิดว่าเราจะเอาอรหัตผลภายในวันนี้ ปฏิบัติทีเดียวจะเข้าถึงอหัตผล จงอย่าคิดอย่างนั้นนะขอรับ คิดอย่างนั้น มันกินช้างคำเดียวหมดตัว มันใช้ไม่ได้ แต่บังเอิญถ้าเราจะได้ละก็อีกเรื่องหนึ่ง ที่ท่านทำกันก็ได้อรหันต์เลย เรียกว่าผ่านโสดา สกิทาคา อนาคา เพียงชั่วขณะจิตเดียว แล้วได้อรหันต์เลยก็มีถมเถไป แต่ว่าท่านก็เริ่มต้นน้อยอย่างนี้เหมือนกัน ถ้าอารมณ์เข้มข้นอารมณ์เข้มข้นมันก็ได้ของมันเอง แล้วก็การบรรลุอรหัตผลก็มีตั้งหลายแบบหลายแผนนะขอรับ ไม่ใช่ว่าต้องเฉพาะมหาสติปัฏฐาน 4 เสมอไป แบบแผนที่เขาได้อริยมรรค แต่ว่านี่เราว่ากันเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตรนี่ขอรับ

สมุทัย คือเหตุให้เกิดความทุกข์

สมุทัย คือเหตุให้เกิดความทุกข์ คำว่าเหตุให้เกิดความทุกข์หรือสมุทัย เป็นประเภทได้ 3 ประเภท กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา คำว่า กาม แปลว่าความใคร่ หรือความต้องการ นี่ไม่ใช่หมายถึงกามารมณ์ คือว่าต้องการในเรื่องระหว่างเพศเสมอไปนะขอรับ ถ้าเราไปพูดกันว่าเจ้านี่บ้ากาม ก็จะมาโกรธหาว่าเป็นคนมักมากในกามารมณ์ อย่างนี้ไม่ใช่นะขอรับ ขึ้นชื่อว่าความใคร่ ความปรารถนา ความอยากได้ทั้งหมดจัดเป็นกาม เราอยากกินน้ำแข็ง เราอยากกินก๋วยเตี๋ยว เราอยากมีบ้านสวย ๆ เราอยากมีเสื้อมีกางเกงงาม ๆ นี่มันก็กามเหมือนกัน เราอยากจะไปเที่ยวก็กาม ความใคร่ ความอยาก อยากจะเที่ยว อยากจะกิน ก็เรียกว่าเรามีกาม ความใคร่ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ 3 ขั้น คือ กามตัณหา อยากได้ของหรือวัตถุ หรือบุคคล หรืออารมณ์ ที่ยังไม่ปรากฏให้มีขึ้น ภวตัณหา สิ่งที่มีอยู่แล้ว อยากให้ตั้งอยู่ตามรูปนั้น ไม่ให้เคลื่อนอย่างคนที่รักอยู่แล้วก็อยากจะให้รักตลอดกาล ของที่มีอยู่แล้วสวยสดงดงาม มันเป็นของใหม่ ก็ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้พัง วิภวตัณหา อาการดิ้นรนอาการคัดค้าน แต่สิ่งเหล่านั้นมันจะหายไป มันจะเก่าไปมันจะพังไป มันจะเศร้าหมองไปซึ่งไม่ตรงกับอัธยาศัยที่เราต้องการ เพราะเราต้องการให้มันทรงสภาพก็หาทางต้านทาน เช่น คนจะตายก็ให้ไปหาหมอมาเป่าหู หาฤาษีมาชุบ หาใครต่อใครมาต่ออายุ ไม่อยากให้ตาย หรือว่าหาหมอมาสะเดาะเคราะห์อย่างนี้หมอรวยไปหลายรายแล้ว หรือเราจะแค่ไม่อยากแก่ หาทางป้องกันความแก่เราเป็นคนไม่อยากป่วย หาทางป้องกันความป่วย มันก็ยังป่วย พอป่วยแล้วก็ดิ้นรน นี่เป็นวิภวตัณหา หรือว่าบ้านจะพังเราก็ไม่อยากให้มันพัง ไม้มันเก่าแล้วเราอยากให้มันเป็นไหม้ใหม่ อย่างนี้เป็นอาการของวิภวตัณหา

อริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

อริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ จัดว่าเป็นยอดของธรรม อริยสัจตัวนี้เป็นตัวบรรลุมรรคผล อริยะ แปลว่าประเสริฐ หรือสะอาดหมดจดบริสุทธิ์ สัจจะ แปลว่าความจริง ที่เข้าถึงความสะอาดหมดจด หรือความประเสริฐนี้ได้ หรือจะแปลว่าความจริงที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบก็ได้ หรือพระอริยเจ้าทรงเห็นแล้วก็ได้ ว่ายังไงก็ได้ คำแปลไม่สำคัญ สำคัญว่าเราเข้าถึงอริยสัจหรือเปล่า ตัวนี้สำคัญ อย่ามัวไปเถียงกันเรื่องคำแปล แปลว่ายังงั้นถูก แปลว่ายังงั้นผิด แต่ไอ้ใจของเรามันคิดถูกหรือคิดผิด มันปลงถูกหรือปลงผิด ดีกว่าไปเถียงกันเรื่องคำแปล อริยสัจนี้มีอยู่ 4 อย่าง คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ มี 4 อย่างด้วยกัน จะพูดถึงทุกขสัจ สัจจะ แปลว่าความจริง ทุกขะ แปลว่าทนได้ยาก อะไรก็ตามที่จำจะต้องทน สิ่งนั้นเป็นทุกข์ทั้งนั้น แล้วก็อย่ามานั่งเถียงกันนาว่า อะไรบ้างต้นทนอย่างที่กำลังนั่งอยู่ก็ดี กำลังนอนอยู่ก็ดี ฟังอยู่ก็ดี ถ้านั่งตามสบายยังไม่ทุกข์ ถ้าถึงกับต้องทนนั่งละก็เป็นทุกข์ละ ถ้ารู้สึกปวดโน่นเข้ามานิด ปวดนี่เขามาหน่อย เมื่อยโน้นเข้ามานิด เมื่อยเข้ามาหน่อย อันนี้ก็เป็นทุกข์ เพราะมันต้องทน หรือบางท่านที่กำลังนั่งฟังอยู่นี่ บางคนก็เป็นไข้หวัดลงคออย่างผม เสียงแหบเสียงแห้งมีเสมหะที่คอไม่หลุด อาการรำคาญเกิดขึ้น อย่างนี้มันเป็นทุกข์ นี่เป็นอาการของความทุกข์ ผมชี้ทุกข์กันเลยนะมันเป็นความจริง สัจจะแปลว่าความจริง มันทุกข์จริง ๆ ถ้าจะมาบอกว่านี่มันยังทนได้ไม่ชื่อความทุกข์ ถ้าหากท่านที่กำลังนั่งฟังอยู่นี่ หิวข้าวหิวน้ำขึ้นมาก็เกิดควาทุกข์ เห็นหรือยังว่ามันทุกข์ ทีนี้ถ้าปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะก็เป็นทุกข์ อย่าทนนะ ถึงทนก็ทนได้ยาก ทนได้ไม่นานก็ต้องไปปล่อยมัน ถ้าความหนาวปรากฏ ความร้อนปรากฏ ความกระสับกระส่ายปรากฏ นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์

โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้

โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ หมายความว่าคนที่เข้าถึงการบรรลุมรรคผล หรือว่าเข้าถึงความดีได้ต้องมีโพชฌงค์ 7 ประการ โพชฌงค์นี่มีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ สติ ความระลึกได้ ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม วิริยะ ความเพียร ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบ สมาธิ จิตตั้งมั่น อุเบกขา ความวางเฉย จัดว่าเป็นโพชฌงค์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องและทรงรับรองว่า ถ้าใครมีคุณธรรม 7 ประการนี้ไว้ประจำใจแล้ว เรียกว่าประจำ ให้รู้อยู่ว่าเรามีโพชฌงค์ 7 หรือไม่ หรืออาการโพชฌงค์ 7 เกิดขึ้นได้อย่างไร ยังคงอยู่หรือว่าเสื่อม

เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน

เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน อันเป็นการพิจารณาอารมณ์ คือ รู้ความสุข รู้ความทุกข์ หรือความไม่สุข ความไม่ทุกข์ของจิตเวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐานนี้ พระพุทธเจ้าให้ใช้อารมณ์คิด คือรู้อยู่ ตัวนี้เป็นสัมปชัญญะ ให้รู้อยู่ว่าเวลานี้เรามีทุกข์หรือเรามีสุข หรือว่าเราไม่สุขไม่ทุกข์ จำได้แล้วนะขอรับ ทีนี้คำว่าทุกข์หมายถึงว่าจำจะต้องทน สิ่งใดก็ตาม ถ้าจำจะต้องทนละก็ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เพราะว่าเป็นอาการฝืนอารมณ์อย่างเราหิวข้าวนี่มันทนหิว เพราะว่าต้องจำทนหิวจนกว่าจะกินอิ่ม อย่างนี้ก็ชื่อว่าทุกข์เพราะหิวข้าว เราป่วยไข้ไม่สบายอาการกายไม่ปกติ ปวดโน่นปวดนี่ เสียดโน่นเสียดนี่ นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ เขารักเรา จะเป็นผู้หญิงก็ตาม จะเป็นผู้ชายก็ตาม จะเป็นความรักเกี่ยวกับด้านกามารมณ์ หรือเป็นความรักเกี่ยวกับความเมตตาก็ตาม ถ้าเราใช้ความพยายามให้เขารัก ต้องเอาอกเอาใจเขา นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ ทีนี้เมื่อเรามีคนรักแล้ว มีคนที่เรารักเขาแล้ว แต่เกรงว่าความรักของเขาจะคลาย ต้องพยายามปฏิบัติเอาอกเอาใจเขา มันก็เป็นการฝืน นี่เป็นความทุกข์ แล้วการปวดอุจจาระปวดปัสสวะมันก็ทุกข์ มีทรัพย์สินมาก เกรงว่าทรัพย์สินจะสลายไปอย่างนี้มันเป็นความทุกข์ ทีนี้ เราเป็นคนยากจนเข็ญใจ ทรัพย์สินไม่พอใช้ ต้องแสวงหาทรัพย์ แสวงหาอย่างนี้ก็เป็นอาการของความทุกข์ การทำไร่ไถนา การค้าขาย อยากจะได้ทรัพย์สินเข้ามาต้องใช้ร่างกายด้วยความเหนื่อยยาก ต้องใช้สติปัญญา นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ ความเสื่อมไป ความเสื่อมไปทีละน้อย ๆ จากเด็กไปสู่ความเป็นหนุ่มสาวเป็นแก่ จากแก่ก็จะตาย อันนี้ ก็เป็นอาการของความทุกข์ ความทุกข์คือสิ่งใดที่จำจะต้องทนอะไรก็ตามจำที่จะต้องทน บางทีทนเสียจนชิน จนไม่รู้สึกว่ามันทน เห็นเป็นของธรรมดาอันนี้ต้องใช้ปัญญาพิจารณา ทีนี้มาว่ากันถึงความสุขบ้าง อาการใด ๆ ก็ตามถ้ามันมีความพอใจเกิดขึ้น นี่ว่าถึงทางโลกีย์ ไม่ใช่ความสุขโลกุตตระ สิ่งใดก็ตาม ถ้าเป็นความปรารถนาสมหวัง ถ้าเราพอใจสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นอาการของความสุข เมื่อสิ่งใดก็ตามถ้าเราปรารถนาสมหวัง หรือว่าเราชอบใจ นั่นเป็นอาการของความสุข คือสุขใจ ทีนี้อาการของอทุกข์ กับอสุข คือความไม่ทุกข์ไม่สุข จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่ จะว่าสุขก็ไม่ใช่ มันเฉย ๆ เป็นอารมณ์ว่างจากความสุขและความทุกข์ มีอารมณ์ปลอดโปร่ง นี่เรียกว่าอทุกข์กับอสุข เวทนาในมหาสติปัฏฐาน ท่านบอกให้มีความรู้อยู่ว่าในขณะนี้จิตเรามีความสุขหรือความทุกข์ หรือว่าเราไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วความทุกข์ก็ดี ความสุขก็ดี ความไม่ทุกข์ไม่สุขก็ดี มีอามิสสิงอยู่หรือเปล่า คำว่าอามิส หมายความว่าวัตถุหรือสิ่งของ หรือความสุขความทุกข์นั้น หรือความไม่สุขไม่ทุกข์นั้นไม่มีอามิสสิงอยู่ด้วย เป็นสัมปชัญญะเพราะว่าให้เป็นคนไม่เผลอ คิดว่าเวลานี้เราหนาวหรือเราร้อนถ้าหนาวมันก็ทุกข์ ร้อนมันก็ทุกข์ ให้รู้ว่า ทุกข์ ๆ เพราะสิ่งใด ให้รู้ว่าสุข ๆ เพราะสิ่งใด กำหนดรู้ไว้เท่านั้น รู้อย่างนี้ก็เพื่อจะให้มีสัมปชัญญะสมบูรณ์ เป็นความไม่ประมาทในชีวิต เป็นความไม่มัวเมาในชีวิต เป็นความไม่มัวเมาในชีวิตที่คิดว่าเป็นความสุขตลอดเวลา จัดว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เป็นคนไม่ประมาท รู้ความเป็นจริงของขันธ์ห้า

บทสวด บารมีสิบทัศ 10

อิริยาบถของนักปฏิบััติ

อิริยาบถของนักปฏิบััติ อิริยาบถที่ว่านี้ เป็นวิธีปฏิบัติในอิริยาบถ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านว่าได้ ทั้ง 4 อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน การนั่ง การนั่งนี้ท่านไม่จำกัด นั่งได้ตามสบาย ชอบขัดสมาธิหรือพับเพียบ หรือท่าใดท่าหนึ่งที่พอเห็นว่า เหมาะสม พอสบาย ทำได้ แต่ตามแบบที่พูดเป็นกลาง ๆ ไว้ว่า เข้าสู่ที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น การตั้งกายให้ตรงนั้น สังเกตดูด้วยการทดลองสูดลมหายใจเข้าออก เอาพอหายใจสบาย ๆ ถ้าคนหลังงอหลังโกง บังคับให้ตรงเป๋งย่อมไม่ได้ ต้องให้เหยียดพอดีเท่าที่จะเหยียดได้ นอน ท่านว่าควรนอนตะแคงขวา แบบสีหไสยาสน์ แต่ถ้านอนไม่ได้เพราะเหตุใดก็ตาม จะนอนท่าใดก็ได้ ตามแต่ที่จะเห็นว่าสบาย ยืน การยืนไม่มีหลายท่า เอากันแค่ยืนได้ ก็แค่ยืนกันแบบสบาย ๆ การเดิน การเดินนี้มีความสำคัญมาก เดินนี้ท่านเรียกว่า "จงกรม" ท่านสอนให้เดินหลายอย่าง 1.เดินนับก้าว ที่เท้าก้าวไป 2.เดินกำหนดรู้การก้าวไปและถอยกลับ รู้พร้อมทั้งการแกว่งแขนและยกขาว่า ก้าวเท้าซ้ายหรือเท้าขวา แกว่งแขนซ้ายหรือแขนขวา ก้าวไปข้างหน้า หรือข้างหลัง เป็นต้น 3.เดินกำหนดอารมณ์สมาธิ คือกำหนดนิมิตสมาธิตามอารมณ์กรรมฐานที่เจริญอยู่ โดยเดินไปตามปกติธรรมดา การเดินปฏิบัติ ท่านเรียกว่า เดินจงกรม คือเดินควบคุมสติให้รู้ว่า ก้าวไปหรือถอยกลับ ใหม่ ๆ ท่านให้ฝึกนับก้าว ว่าเดินไปได้กี่ก้าวจึงถึงที่หมาย ต่อมาให้กำหนดรู้ว่า เราเดินด้วยเท้าซ้ายหรือเท้าขวาให้กำหนดรู้ไว้ เพื่อรักษาสมาธิ ต่อไปก็เดินกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ถ้าเป็นกรรมฐานที่มีรูป ก็กำหนดรูปกรรมฐานไปพร้อมกัน กรรมฐานกองใด ได้สมาธิในขณะเดิน กรรมฐานกองนั้นสมาธิไม่มีเสื่อม วิธีเดิน ตอนแรก ๆ ควรเดินช้า ๆ เพราะจิตยังไม่ชิน ต่อเมื่อชินแล้ว ให้เดินตามปกติแล้วกำหนดรู้ไปด้วย เมื่อใดถ้าเดินเป็นปกติ รู้การก้าวไปและถอยกลับได้จิตไม่เคลื่อน และรักษาอารมณ์สมาธิ หรือนิมิตกรรมฐานได้เป็นปกติ ทั้งเดินในที่ฝึก หรือเดินในธุรกิจ ก็ชื่อว่าท่านเป็นนักปฏิบัติที่เข้าระดับแล้ว บังคับหยุด การเดินควรฝึกทั้งหลับตาและลืมตา ตอนแรก ๆ ฝึกลืมตา พอชำนาญเข้าให้ฝึกหลับตา แล้วกำหนดที่หยุดโดยกำหนดใจไว้ว่า ถึงตรงนั้นจงหยุด หรือบังคับการแยกทางว่า ถึงตรงนั้นจงแยกทาง หรือขณะเดินอยู่นั้นอธิษฐานให้กายเดินย้อนไปย้อนมาตามแนวเส้นทางให้ถูกต้อง ส่วนจิตถอดท่องเที่ยวไปในภพต่าง ๆ บังคับให้กายเดินให้ตรงทางที่มีส่วนตรงและโค้ง เลี้ยวไปเลี้ยวมาตามเส้นทาง หรือบังคับให้หยุดตรงที่กำหนด ให้หยุดกี่นาที แล้วเดินต่อไปตามกำหนดอย่างนี้ เป็นวิธีเดินจงกรมฝึกกรรมฐาน การเดินควรฝึกให้ถึงขั้นปกติ อานิสงส์เดินจงกรม การเดินจงกรมเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ให้เส้นสายยึดจนกลายเป็นคนง่อยเปลี้ย และยังทำให้ท้องไม่ผูกอีกด้วย ********************