Thursday 31 May 2012

พุทธานุสสติกรรมฐาน

พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานทีมี อารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธานุสสตินี้ท่านสอนแบบควบหลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ 5 ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ 5 นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ 5 จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้ ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพียงแต่บอกว่า ก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ 4 ประชุมร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ 5 เสียได้ โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดีท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้ กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมกระทบสาม ฐานนี้ ให้กำหนดณรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อลมหายออก แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฎิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใดองค์ก็ได้ ท่านสอนดังนี้ ตอนที่ภาวนา ท่านให้กรรมฐาน 4 อย่างรวมกัน คือ ตอน พิจารณาขันธ์ 5 เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็น กสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว 4 อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณมีกำลังถึงฌาน 4 หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัส สโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน 2. ธัมมานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงาน เป็นงานในการระลึกนึกถึงคุณพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ คำว่าเป็นอารมณ์ หมาย ถึงให้เอาจิตใจจดจ่ออยู่ในคุณของพระธรรมเป็นปกติ ไม่เอาจิตไปนึกไปคิดอารมณ์อื่น นอกเหนือไปจากพระธรรม อาการที่คิดถึงคุณของพระธรรมนี้มีอารมณ์ การคิดมากมาย เช่นเดียวกับการคิดถึงคุณพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมมีีความสำคัญมากกว่าสิ่งใด ๆ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็มีความ เคารพในพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นหลักความประพฤติดี ประพฤติชอบประจำโลก การที่พระพุทธเจ้าพระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้ ก็ เพราะอาศัยพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนานี้จึงนิยมยกย่องพระธรรมว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสรณะหนึ่ง การระลึกถึงคุณพระ ธรรมนี้ อาจจะเลือกเอาคำสั่งสอนตอนใดตอนหนึ่งที่ท่านชอบในบรรดาคำสอน 84.000 พระธรรมขันธ์มาเป็นอารมณ์ระลึกได้ตามใจชอบ แต่ท่านโบรา ณาจารย์ท่านประะพับธ์บทสรรเสริญพระธรรมไว้ 6 ข้อ

24 comments:

  1. คุณของพระธรรม 6
    1. สวาขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมอันผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้อนี้ หมายถึงเอาการคำนึงถึงคุณพระธรรมแบบรวม ๆ ว่า พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวม 84,000 พระธรรมขันธ์ ย่อลงเหลือสาม คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ศีลที่บริสุทธิ์อย่างเยี่ยม สมาธิที่ตั้งมั่นอย่างยิ่งคือ สมาบัติแปด อธิปัญญา ได้แก่การเจริญวิปัสสนาญาณได้มรรคผล คือพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตตผล คุณธรรมทั้งหมดนี้ประเสริฐยอดเยี่ยม เพราะสามารถกำจัดความทุกข์ความเดือดร้อนได้ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และมรณะไปแล้ว

    คุณธรรมที่เบากว่านั้น เช่น ทาน การให้ ศีล รักษาวาจาใจให้สงบจากเวรสมาธิรักษาใจไห้สงบจากอกุศล 5 ประการ คือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความคิดประทุษร้าย ถีนมิทธะ ความเคลิบเคลิ้มที่ขาดสติสัมปชัญญะ และความง่วงเหงาหาวนอนในเวลาทำความดี อุทธัจจกุกกจจะ อารมณ์หงุดหงิดฟุ้งซ่านและความรำคาญใจวิจิกิจฉาความสงสัยในผลของการปฎิบัติธรรม และปัญญา คือการฝึกวิปัสสนาญาณเบื้องต้น

    คุณธรรมขนาดเบานี้ ก็มีผลมากแก่ผู้ปฎบัติ เพราะ
    •ทาน การให้เป็นคุณธรรมที่ทำลายอารมณ์โลภอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่น และเป็นเหตุแห่งความรักความเสน่หาของผู้รับทาน คนที่ให้ทานเป็นปกติ ย่อมเป็น

    ที่รักของผู้รับทานทั่วไป เป็นเหตุให้ปลอดภัยจากอันตราย
    • ศีล เมื่อรักษาดีแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้ ศีลผู้รักษาไว้ดีแล้วย่อมเป็นที่รักของปวงชน เพราะผู้รักษาศีล มีเมตตาเป็นปกติ และจะมีชื่อเสียงในด้านความดี เมื่อเวลาใกล้จะตายจะมีสติสมบูรณ์ เมื่อตายแล้วจะได้ไปสู่สุคติ
    •สมาธิ ย่อมส่งผลให้เป็นคนมีสติสมบูรณ์ และเป็นที่รักแก่ชนทั่วไป เพราะท่านที่ทรงสมาธิย่อมกำจัดเวร คือกุศล 5 ประการมีโลภะเป็นต้นเสียได้
    •วิปัสสนาญาณ มีอานิสงส์ทำจิตใจให้ทีความสุข เพราะจิตเคารพต่อกฎของธรรมดา เพราะรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดาทุกประการ หมดความหวั่นไหวใน

    ทุกข์ภัยที่ปรากฎ มีอารมณ์สงัด เยือกเย็นเป็นปกติ คล้ายต้นไม้ที่ไม่มีลมร้ายมาถูกต้อง

    ในข้อนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณของพระธรรมตามที่กล่าวมาโดยบ่ออย่างนี้หรือจะจำพระสูตร คือคำสอนที่ยกตัวบุคคล แล้วจะติดตามนั้นหรือท่านจะคิดตามพระธรรมข้อใดก็ตามใจชอบ เป็นที่ระลึกถึงคุณพระธรรมตามข้อนี้เหมือนกัน เพราะบทสวกขาโตนี้ท่านนี้กล่าวรวม ๆ เข้าไว้

    2. สันทิฎฐิโก แปลว่า ผู้บรรลุจะพึงมองเห็นเอง หมายความว่าผลของการปฎิบัติธรรมนี้ ไม่ใช่จะปฎิบัติกันไปตามเรื่อง ผลของการปฎิบัติธรรมนี้เป็นความสุขใจ ท่านปฎิบัติจริงจะได้รับผลจริงในชาตินี้

    3. อกาลิโก แปลว่า ไม่เลือกกาลไม่เลือกสมัย หมายถึงผลของการปฎิบัติธรรมนี้ได้รับผลทุกขณะที่ปฎิบัติ ไม่จำกัดกาลเวลาว่าจะต้องเป็นเวลานั้นเวลานี้

    ตัวอย่างเช่นผู้ปฎิบัติธรรมในด้านพรหมวิหาร ท่านที่ทรงพรหมวิหารย่อมประทานความรักให้แก่คนและสัตว์ไม่เลือกหน้า ท่านไม่ถือโกรธใคร พบคนควรไหว้

    ท่านก็ไหว้ พบคนควรให้ท่านก็ให้ ท่านที่หน้ายิ้มตลอดเวลา ท่านลองคิดดูว่าท่านพบคนอย่างนี้เข้า ท่านควรจะรักเคารพหร้อท่านควรจะคิดประทุษร้าย ผลของการปฎิบัติธรรมได้ผลไม่จำกัดกาลเวลาอย่างนี้ คุณของพระธรรมยืนยันอยู่อย่างนี้ ว่าผลแห่งการบรรลุ มีได้ไม่เลือกกาลเวลา ขอให้ปฎิบัติจริง ปฏิบัติตรงตามคำสั่งสอนและปฏิบัติพอดี รับรองว่าท่านต้องการคุณธรรมขนาดไหน ก็มีหวังได้ทุกขนาดและไม่จำกัดกาลเวลา

    4. เอหิปัสสิโก แปลว่า ควรเรียกให้มาดู การปฎิบัติธรรมนั้น ขอให้ทำถูก ทำตรง ทำพอดี ต้องได้รับผลแน่นอน ขออย่างเดียว ขอให้เอาจริงเท่านั้น ถ้าผู้ปฏิบัติจริง ผลของพระธรรมท่านก็ให้จริง

    5. โอปนยิโก แปลว่า ควรน้อมเข้ามา ท่านหมายความว่า ผู้หวังผล คือความสุขทางใจ สุขทั้งชาตินี้และชาติหน้าและชาติต่อ ๆ ไปแล้ว เชิญเข้ามาฝึกได้ ไม่จำกัดกาลเวลาไม่จำกัดเพศและวัย ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา ถ้าปฎิบัติจริงท่านรับรองว่าต้องได้ผลจริง

    6. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ แปลว่า อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน คำว่าวิญญูหมายความถึงผู้รู้ คือผู้ปฎิบัติที่ได้รับผลแล้ว ท่านผู้นั้นจะรู้ผลเองว่า การปฎิบัติพระธรรมนี้มีผล คือความสุขอันประณีต และความเยือกเย็นใจเป็นพิเศษ มีความสุขประณีต กว่าความสุขอันเกิดขึ้นจากโลกวิสัย

    *************************

    ReplyDelete
  2. 3. สังฆานุสสติกรรมฐาน
    สังฆานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ให้เป็นการระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์ การระลึกถึงพระคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์นี้ ท่านให้คิดถึงความดีของพระสงฆ์ ในส่วนที่เป็นความดีอันเป็นเนื้อแท้้ของพระศาสนา ไม่ใช่คิดถึงความดีอันเป็นส่วนประกอบที่ไม่เข้าถึงพระศาสนา เช่น เห็นว่าท่านมีเครื่องรางของขลังท่านเป็นหมอรดน้ำมนต์ ท่านให้หวยเก่ง ท่านเป็นหมอดูแม่น ท่านทำเสน่ห์เก่ง ท่านมีวิทยาคมต่าง ๆ ความเก่งอย่างนั้นของท่านเป็นความเก่งนอก

    ความหมายในที่นี้ เพราะเป็นความเก่งที่ยังไม่เข้าถึงจุดเก่งทางศาสนา ยังไม่ควรจะเอามาคิดมานึกให้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน ความเก่งในการที่นักกรรมฐานควรเอามาคิดก็คิดคือ

    ReplyDelete
  3. 1. ท่านเก่งในทางปฎิบัติ จนได้บรรลุพระโสดา พระกสิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ อย่างนี้เป็นเนื้อแท้ของความเก่งในเนื้อแท้ของพระสาวกในพระพุทธศาสนา และเป็นความเก่งที่ควรบูชาและระลึกถึงเป็นอารมณ์

    2. ท่านได้บรรลุมรรคผลแล้วท่านมิได้แสวงหาความสุขเพราะผลการบรรลุนั้นเฉพาะตัวท่าน ท่านกลับพลีความสุขที่ท่านควรได้รับนั้น นำพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านได้รับผลแล้วมาสั่งสอนบรรดาพุทธบริษัท อย่างที่ไม่เห็นแก่ผลตอบแทนใด ๆ

    การระลึกถึงความดีของพระสงฆ์ให้ถูกตามแบบก็คือ
    สุปฎิปันโน ท่านเป็นผู้ปฎิบัติดีแล้ว
    อุชุปฎิปันโน ท่านเป็นผู้ปฎิบัติตรง
    ญายปฎิปันโน ท่านปฎิบัติเป็นธรรม
    สามีจิปฎิปันโน ท่านเป็นผู้ปฎิบัติสมควร
    ทั้งนี้หมายความว่า ท่านปฎิบัติดี ปฎิบัติตรง ปฎิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนจริง ๆ ไม่แก้ไขดัดแปลงคำสั่งสอนของพีีระพุทธเจ้า ท่านปฎิบัติสมควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง เพราะระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ต้องระลึกตามนัยนี้จึงจะตรงตามความประสงค์ของพระพุทธเจ้า ตามที่ท่านสอนให้เจริญใน พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ก็เพื่อให้คิดตามความดีของท่านที่มีความดีอยู่เสมอ ๆ จนขึ้นใจนั้น เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในผลของความดี และปสาทะ ความเลื่อมใส ปีติเอิบอิ่มใจ ความคิดคำนึงอย่างนี้เป็นปกติตลอดไป ย่อมเป็นเครื่องจูงใจให้ปฎิบัติตาม เมื่อใดลงมือปฎิบัติตามแล้ว ผลที่ศรัทธาอยู่แล้ว ย่อมเป็นกำลังใจให้สำเร็จมรรคผลได้อย่างไม่มีอะไรเป็นเครื่องหนักใจนัก

    4. สีลานุสสติกรรมฐาน
    สีลานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์ คำว่า ศีล แปลว่าปกติ สิกขาบท ของศีลเป็นสิกขาบทที่บังคับให้เป็นไปตามปกติของความรู้สึกและพอใจ

    ของมวลชนโลก ทั้งที่เป็นสัตว์และมนุษย์

    ReplyDelete
  4. ปกติของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลกนี้ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างเพศ กันเพียงใดก็ตาม สิ่งที่มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติ มีอยู่ 5 ข้อ คือ
    ไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าตน และไม่ปรารถนาให้ผู้ใดมาทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถึงตายก็ตาม ไม่ต้องการให้ใครมาลักขโมย หรือยื้อแย่ง หลอกลวง เอาทรัพย์ของตนไปโดยที่ตนไม่เต็มใจอนุญาต ไม่มีความประสงค์ให้ใครมาทำลายหัวใจในด้านความรัก จะเป็นสามี ภรรยา บุตร หลาน หรือแม้แต่คนในปกครองที่มิใช่บุตรหลาน โดยตนเองยังไม่เห็นชอบด้วย ไม่ปรารถนาให้ใครมาใช้วาจาที่ไม่ตรงความจริง ในเมื่อในขณะนั้นต้องการรู้เรื่องราวตามความเป็นจริง ไม่ต้องการให้ใครเห็นว่าตนเป็นคนบ้าๆ บอๆ ด้วยอาการที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้ายเพราะเหตุใดก็ตาม เมื่อความต้องการของชาวโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติอย่างนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ตามความต้องการเป็นปกติของชาวโลกไว้ 5 ข้อ ที่เรียกว่าศีล 5 หรือปกติศีล

    ส่วนศีล 8 หรือที่เรียกว่าศีลอุโบสถ มีสิกขาบท 8 เหมือนกัน หรือศีล 10 ของสามเณร ศีล 227 ของพระ ศีล 311 ของนางภิกษุณี ก็เป็นศีลที่บัญญัติตามปกติของท่านท่านนั้น ๆ
    การที่ท่านสอนให้ระลึกถึงศีลเนือง ๆ นั้น หมายถึงให้สำรวมใจ ระมัดระวังความประพฤติศีลเพื่อมิให้ศีลบกพร่อง เพราะศีลเป็นบาทที่สนับสนุนในให้เข้าถึงสมาธิศีลนี้ผู้ใดปฎิบัติไม่ขาดตกบอพร่องแล้วย่อมมีอานิสงค์คือ จะไม่รับความเดือดร้อนเพราะอำนาจอกุศลกรรม จะเป็นที่รักของปวงชน จะทีเกียรติคุณความดีฟุ้งไปในทิศานุทิศจะเป็นผุ้แกล้วกล้าอาจหาญ ในเมื่อมีคนโจษจันถึงเรื่องศีล เมื่อใกล้จะตายอารมณ์จิตใจจะผ่องใส อกุศลกรรมไม่สามารถเข้ามาข้องได้เมื่อตายแล้วจะใด้เกิดในสวรรค์ ก่อนตายศีลนี้จะเป็นสะพานใหญ่ให้อารมณ์สมาธิหลั่งไหลมาสู่จิต จะทำให้จิตตั้งมั้น ในสมาธิ เป็นพื้นฐานให้ได้วิปัสสนาญาณ ได้ถึงพระนิพานในที่สุด ท่านที่คิดถึงศีลและระมัดระวังรักษาศีลเป็นปกติ แล้วใคร่ครวญพิจาณาศีลเป็นปกติอย่างนี้ ท่านว่าจะมีอารมณ์สมาธิตามที่กล่าวแล้ว ถ้าท่านน้อมเอาวิปัสสนาญาณมาพิจจรณาท่านก็จะได้บรรลุมรรคผลภายในไม่ช้า


    *************************

    ReplyDelete
  5. 5. จาคานุสสติกรรมฐาน
    จาคานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงการบริจาคทานเป็นนิตย์ กรรมฐานกองนี้ ท่านแนะให้ระลึกถึงการให้เป็นปกติ ผลของการให้เป็นการตัดมัจฉริยะ ความตระหนี่ ตัดโลภะความโลภ ซึ่งจัดว่าเป็นกิเลสตัวสำคัญไปได้ตัวหนึ่ง กิเลสมีรากเหง้าอยู่ คือ

    1.ความโลภ
    2.ความโกรธ
    3.ความหลง

    ความโลภ ท่านสอนไว้ว่า ตัดได้ด้วยการบริจาคทาน เพราะการบริจาคทานเป็นการเสียสละที่มีอารมณ์จิตประกอบด้วยเมตตา การให้ทานที่ถูกต้องนั้นท่านสอนให้ ๆ ทานด้วยความเคารพในทาน คือให้ด้วยความเต็มใจและให้ด้วยอาการสุภาพก่อนจะให้ ให้ทำความพอใจ มีความยินดีในเมื่อมีโอกาสได้ให้ โดยคิดว่า มหาปุญญลาโก บัดนี้ลาภใหญ่มาถึงแล้ว คิดก็แล้วให้ทานด้วยความเคารพในทาน ผู้รับนั้นจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นผู้มีร่างกายบริบูณ์ หรือทุพพลภาพก็ตาม ขอใด้มีโอกาสได้ให้ก็ปลื้มใจแล้วเมื่อให้ทานไปแล้วทำใจไว้ให้แช่มชื่นเป็นปกติเสมอ

    การให้ทานนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นของดีนั้น เราเห็นความดีแล้วดังนี้ ในชาติปัจจุบันผลทานนี้ย่อมสุขแก่ผู้รับทาน เพราะผู้รับมีโอกาสเปลื้องทุกช์ของตนได้ด้วยทานที่เราให้ สำหรับเราผู้ให้ก็มีโอกาสได้รับผลในปัจจุบัน คือมีโอกาสทำลายโลภะ ความโลภ ตัวกิเลสที่ถ่วงไม่ให้ถึงนิพพาน

    บัดนี้เราตัดความโลภคือรากเหง้าแห่งกิเลสตัวที่ 1 ได้แล้ว ความเบาได้เกิดมีแก่เราแล้ว คงเหลือแต่ความโกรธและความหลง ซึ่งเราจะพยายามตัดต่อไป ทานยังให้ผลต่อไป คือผลทานเป็นผลสร้างความสุขสงบ เพราะผู้รับทานย่อมรู้สึกรักและระลึกถึงคุณผู้ให้อยู่เป็นปกติ ผู้รับทานย่อมพยายามโฆษณาความดีของผู้ให้ในที่ทุกสถาน เมื่อผู้ให้เป็นที่รักของผู้รับแล้ว ความปลอดภัยของผู้ให้ก็ย่อมมีขึ้นจากผู้รับทาน เพราะผู้รับจะคอยป้องกันอันตรายให้ตามสมควร ยิ่งให้มาก คนที่รักก็ยิ่งมีมาก ความปลอดภัยก็มีมากขึ้นเป็นธรรมดา ผู้ให้ทานย่อมมีอนิสงส์ที่ได้รับในชาติปัจจุบันอีกคือ ย่อมมีโอกาสได้รับโชคลาภที่เป็นของกำนัล เป็นเครื่องบำรุงเสมอ ผูู้ให้ทานเป็นปกติจะไม่ขาดแคลนฝืดเคืองในเรื่องการใช้สอยเมื่อใกล้จะขาดมือ หรือมีความจำเป็นสูง จะมีได้เป็นการชดเชยให้เหมาะพอดีแก่ความจำเป็นเสมอ สำหรับอนาคตท่านว่าผู้ที่บำเพ็ญทานอยู่เสมอๆ นั้น จิตใจจะชุ่มชื่นแจ่มใสเมื่อใกล้จะตาย เมื่อตายแล้วทานจะส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ มีทิพย์สมบัติมากมาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ที่บริบูรณ์พูลสุขด้วยสมบัติ การระลึกถึงทาน ก็มุ่งทำลายล้างกิเลสเป็นสำคัญท่านสอนให้คิดถึงทานที่ให้แล้วไว้เสมอ ๆ และทำความปลื้มใจในการให้และคิดไว้อีกเช่นเดียวกันว่า เราพร้อมที่จะให้ทานตามกำลังศรัทธาทุกโอกาสที่มีคนมาขอ เพราะเราต้องการทำลายโลภะให้สิ้นไปเพื่อผลใหญ่ที่พึงได้ คือนิพพานในกาลต่อไป

    ท่านที่ยินดีในทานเป็นปกติอย่างนี้ จิตย่อมบริบูรณ์ด้วยเมตตาและกรุณา อันเป็นพรหมวิหาร ท่านว่าเพราะผลทานและพรหมวิหารร่วมกันมีบริบูรณ์แล้ว จิตก็เข้าสู่อุปจารสมาธิ ต่อนั้นถ้าได้เจริญวิปัสสนาญาณ โดยใช้อุปจารฌานเป็นบาทแล้วจะได้บรรมรรคผลได้อย่างฉับพลัน

    ReplyDelete
  6. 6. เทวตานุสสติกรรมฐาน
    เทวตานุสสติ แปลาว่า ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ เช่น ภาณยักษ์ ภาณพระที่กล่าวถึงท้าวมหาราชทั้ง 4 มีท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวกุเวร (ที่นิยมเรียกว่า ท้าวเวสสุวัณ) ดังนี้ก็ถือว่าเป็นการระลึกถึงเทวดาเช่นกัน

    พระพุทธเจ้ายอมรับนับถือเรื่องเทวดา พระองค์เองทรงปรารภแก่บรรดาพุทธสาวกเรื่องเทวดาเสมอ ขอให้ดูตามพระพุทธประวัติ จะพบว่าพุทธศาสนาไม่เคยห่างเทวดาเลย พระพุทธศาสนายอมรับนับถือว่ามีเทวดามีจริง และยอมรับนับถือความดีของเทวดาด้วย พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสให้พุทธบริษัทที่มีบารมียังอ่อน

    ให้ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นปกติ เช่นกรรมฐานข้อที่ว่าด้วยเทวตานุสสติ ก็เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าสอนให้คิดถึงความดีของเทวดา

    ความดีของเทวดา
    เทวดา แปลว่า ผู้ประเสริฐ ความประเสริฐของเทวดามีอย่างนี้ ท่านที่จะเป็นเทวดาก็ต้องเกิดเป็นคนก่อน จะเป็นเทวดานั้นต้องเรียนรู้และปฎิบัติอะไรบ้าง

    หลักสูตรที่ทำคนให้เป็นเทวดานั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า มี 2 แบบ คือ

    เทวดาประเภทที่ 1
    เทวดาชั้นกามาวจร คือ ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี รวม 6 ชั้นด้วยกัน ทั้ง 6 ชั้นนี้ บวกภูมิเทวดาที่เรียกว่าพระภูมิเจ้าที่ และรุกขเทวดา พวกเทวดาที่มีวิมานอยู่ตามสาขาของต้นไม้ ที่เรียกว่านางไม้ เข้ากับเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา 6 ชั้นนี้ ท่านว่าใครจะไปเกิดในที่นั้น ๆ เพื่อเป็นเทวดา ต้องศึกษาและปฎิบัติตามหลักสูตรเสียก่อนคือท่านให้เรียนรู้เพื่อเป็นเทวดา
    1.หิริ ความละอายต่อความชั่วทั้งหมด ไม่ทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
    2.โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลความชั่วจะลงโทษ ไม่ยอมประพฤติชั่วทั้งกายวาจาใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง

    ทั้งนี้ก็หมายความว่า ต้องเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และมีจิตเมตตาปราณีตลอดกาลตลอดสมัย ถึงแม้ยังไม่ฌานสมาบัติก็ไม่เป็นไร เอากันแค่ศีลบริสุทธิ์ มีจิตเมตตาปราณี ใครทำตามนี้ได้ครบถ้วน เกิดเป็นเทวดาปานกลาง ถ้าปฎิบัติได้อย่างเลิศก็เป็นเทวดาชั้นเลิศ ถ้าปฎิบัติได้อย่างกลางก็เป็นเทวดาชั้นกลาง ถ้าปฎิบัติครบแต่หยาบ ก็เป็นเทวดาเล็ก ๆ เช่นภูมิเทวดา หรือรุกขเทวดา

    เทวดาประเภทที่ 2
    พรหม ท่านจัดพรหมรวมทั้งหมด 20 ชั้นด้วยกัน ท่านแยกประเภทไว้ดังนี้

    ReplyDelete
  7. รูปพรหมมี 16 ชั้น
    รูปพรหมคือพรหมที่มีรูปนี้ ท่านแบ่งไว้เป็น 16 ชั้น แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่ได้ฌานโลกีย์ มี 11 ชั้น กับพรหมที่เป็นพระอนาคามี และได้ฌาน 4

    ด้วย 5 ชั้น รวมพรหมที่มีรูป 16 ชั้น

    อรูปพรหม 4 ชั้น
    พรหมที่ไม่มีรูปนี้ เป็นโลกีย์พรหม มีทั้งหมดด้วยกัน 4 ชั้น รวมพรหมทั้งหมด 20 ชั้นพอดี

    หลักสูตรที่จะไปเป็นพรหม
    การที่จะเกิดเป็นพรหม จะต้องตรวจสอบเอง ว่าสามารถไปเกิดในชั้นหลักสูตรต่ำไปหาพรหมก่อน

    หลักสูตรอบายภูมิ
    อบายภูมิ หมายถึงดินแดน นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดียรัจฉาน ใครจบหลักสูตรนี้ จะได้ไปเกิดในที่ 4 สถานนี้ หลักสูตรนี้มีดังนี้ คือ ไม่รักษาศีล ไม่ให้

    ทาน ไม่เคารพคนควรเคารพ เท่านี้ไปเกิิดในอบายภูมิได้สบาย

    หลักสูตรเกิดเป็นมนุษย์์
    หลักสูตรมนุษย์นี้ ท่านเรียกมนุษย์ธรรม คือธรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ มี 5 อย่าง คือ
    1.ไม่ฆ่าสัตว์ และไม่ทรมานสัตว์ให้วำบากด้วยเจตนา
    2.ไม่ถือเอาของของผู้อื่นที่เขาไม่อนุญาตให้ ด้วยเจตนาขโมย
    3.ไม่ละเมิดสิทธิมนกามารมณ์ที่เจ้าของไม่อนุญาต คือไม่ละเมิดภรรยา สามี ลูก หลาน และคนในปกครอง ที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต
    4.ไม่พูดบด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน ไม่พูดเพ้อเจ้อโดยไร้สาระ
    5.ไม่ดืมสุราและเมลัย ที่ทำให้จิตใจให้มึนเมาไร้สติสัมปชัญญะ ตามหลักสูตรนี้ ถ้าใครสอบได้ คือปฎิบัติได้ครบถ้วน ท่านว่าตายแล้วเกิดเป็นมนุษย์ได้

    หลักสูตรรูปพรหม
    1.ได้ฌานที่ 1 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 1. 2. 3.
    2.ได้ฌานที่ 2 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 4. 5. 6.
    3.ได้ฌานที่ 3 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 7. 8. 9.
    4.ได้ฌานที่ 4 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 10. 11.

    ทั้งหมดนี้เป็นพรหมชั้นโลกีย์

    ReplyDelete
  8. หลักสูตรรูปพรหมอนาคามี พรหมอีก 5 ชั้น คือชั้นที่ 12. 13. 14. 15. 16. รวม 5 ชั้นนี้ ต้องได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคนมีได้ฌาน 4 มาก่อน
    สำหรับอรูปพรหม 4 ชั้น
    ท่านทั้ง 4 ชั้นนี้ ท่านต้องเจริญฌานในกสิณแล้วเจริญอรูปฌาน 4 ได้อีกจึงจะมาเกิดเป็นอรูปพรหมได้ แต่ท่านก็ได้เพียงฌานโลกีย์ ไม่ใช่พระอริยเจ้า
    หลักสูตรเทวดาและพรหมมีอย่างนี้ ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงความดี คือคุณธรรมที่เทวดาและพรหมปฎิบัติมาแล้ว จนเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมได้ ก็ชื่อว่าท่านได้รับผลความดีที่ท่านปฎิบัติมาแล้ว ถ้าปฎิบัติอย่างท่าน เราก็อาจจะมีผลความสุขเช่นท่านเพราะเทวดาขนาดเลวนั้น ดีกว่ามนุษย์ชั้นดีอย่างเปรียบกันไม่ได้เลยเพราะเทวดามีกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่เป็นทิพย์ ไปไหนก็เหาะไปได้ ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเหมือนเรา ฉะนั้นความดีของเทวดานี้ ถึงจะยังไม่ถึงความดีในนิพพานแต่ก็เป็นสะพานสำหรับปฎิบัติเพื่อผลในนิพพานได้เป็นอย่างดี เราเป็นพุทธสาวกเมื่อพระพุทธเจ้าท่านว่ามีเราก็ควรเชื่อไว้ก่อน แล้วสร้างสมาธิทำทิพย์จักษุญาณให้เกิด ตรวจสอบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง จะพบว่าที่ท่านสอนว่า เทวดา พรหม นรก สวรรค์ มีจริงนั้น ท่านบูชาเทวดาท่านอาจดีตามเทวดา

    เทวดานุสสตินี้ ถ้าฝึกจนเกิดอุปปจารฌานแล้วท่านเจริญวิปัสสนาญาณต่อ ท่านจะเข้าถึงมรรคผลได้ไม่ยาก เพราะเป็นภูมิธรรมที่ละเอียด และมีแนวโน้มเข้าไปใกล้พระนิพพานมาก

    *************************

    ReplyDelete
  9. 7.มรณานุสสติกรรมฐาน
    มรณานุสสติ แปลว่านึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดาของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด พระพุทธเจ้าสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์อะไร ? เพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นธรรมดาจริง แต่ทว่าเห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนหรือคนที่หรือญาติคนที่รักของตนเข้า ก็ดิ้นรน้เอะอะโวยวาย ไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายามทุกทางที่จะไม่ยอมตาย ปกติของคนเป็นอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใครจะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวาย ต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้ เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดา ไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไรความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย่ำตามความเป็นจริงว่าภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้นความตายนี้แบ่งออกเป็นสามอย่างด้วยกัน คือ

    ReplyDelete
  10. 1.สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จกิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่านให้เกิดอีกไม่ได้ ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่าสมุจเฉทมรณะ แปลว่าตายขาดตอน ไม่กลับมาเกิดอีก

    2.ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับหรือการเคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันวันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอด คือตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือตายทุกลมหายใจออก และเกิดต่อทุก ๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราว เมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่าร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทน แต่ถ้าอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่าท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ขีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามีความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ ท่านเรียกว่าขณิกมรณะ แปลว่าตายทีละเล็กละน้อยหรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ

    3.กาลมรณะ และ อกาลมรณะกาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลสมัย ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างขนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะแปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้ พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายแบบกาลมรณะตายไปแล้ว เสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายแบบอกาลมรณะนี้ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้ ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้น ต้องลำบากในเรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ตายโหงนั้นเอง เช่น ถูกฆ่าตาย คลอดลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่า ตายแบบผิดปกติไม่ใช่ป่วยตายตามธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนดตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยเหลือ สามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่าสะเดาะเคราะห์ หรือต่ออายุ การสเดาะเคราะห์หรือต่ออายุนั้นต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงจะใช้ได้
    นึกถึงความตายมีประโยชน์
    ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้คนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้แสวงหาความดีใส่ตัว โดยรู้ตัวว่าชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่อยากจนอีก ก็พยายามให้ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอเหมอะพอดี ไม่เดือดร้อนภายหลังนั้นแหละจึงจะควร รู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไป คนในบังคับบัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ในชาติหน้า จะได้รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้วจะได้รับอนิสงส์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มีโรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใครดื้อด้าน มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั้น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์

    ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ

    ReplyDelete
  11. ถ้าเห็นว่า ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูลสูงส่งประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความเกิดอีกก็เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้ววิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่าเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานหลักสำหรับเจริญวิปัสสนาญาณ จะเป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องอาศัยการปรารภความตายเป็นปกติ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์แม้จะเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทิ้งมรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูลตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายเป็นปกติเป็นของดี แม้พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึงความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตายรู้ตัวว่าจะต้องตายแล้วย่อมไม่สั่งสมความชั่ว คอยปลีกตัวออกจากชั่วและมีอารมณ์ไม่หวั่นไหว ในเมื่อความตายมาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่รู้อยู่เสมอแล้วว่าเราต้องตายแน่ ความตายนี้หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้ กำหนดการเกิดหมอบอกได้ แต่กำหนดเวลาตายไม่มีใครกำหนดได้แน่นอน สำหรับปุถุชนคนธรรมดา สำหรับพระอริยเจ้าหรือท่านที่ชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐาน ท่านสามารถบอกเวลาตายที่แน่นอนของท่านได้ พระอริยเจ้าที่จะบอกเวลาได้ ก็ต้องเป็นท่านที่ได้วิชาสามเป็นอย่างน้อย ถ้ามีความรู้พิเศษต่ำกว่านั้นท่านก็กำหนดเวลาตายไม่ได้เหมือนกัน ท่านเปรียบชีวิตไว้คล้ายกับคนขีดเส้นบนผิวน้ำ ขีดพอปรากฎว่ามีเส้น แล้วในทันทีเส้นที่ขีดนั้นก็พลันสูญไป ชีวิตของสัตว์ที่เกิดมาก็เช่นเดียวกัน ความตายรออยู่แค่ปลายจมูก ถ้าสิ้นลมปราณเมื่อไร ก็สิ้นภาระเมื่อนั้น เอาความยั่งยืนไม่ได้เลย

    ReplyDelete
  12. ท่านที่เจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็นปกติธรรมดา เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ คือให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาพอสมควร แก่ความต้องการแล้ว ถ้าคิดให้ไกลไปอีกสักนิดว่าความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว ความเกิดต่อไปก็ไม่มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีีทุกข์ไม่พ้น เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็นเหยื่อของวัฏฏะอีก แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่งจะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ็สมบัติอะไรในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือพระนิพพาน ทำใจให้ว่างจากความเกิด ความเกาะในชาติภพ ปรารภพระนิพพานในชาติปกติ อย่างนี้ ท่านมีหวังสิ้นชาติสิ้นภพ ประสบผลอย่างยอด คือถึงพระนิพพานใจชาติปัจจุบันแน่นอน

    ReplyDelete
  13. 8. กายคตานุสสติกรรมฐาน
    กายคตานุสสติ แปลว่า พิจารณากายให้เห็นว่า ไม่สวยไม่งาม มีความโสโครก ตามกฎแห่งความเป็นจริงเป็นอารมณ์ กายคตานุสสตินี้เป็นกรรมฐานสำคัญที่พระอริยเจ้าทุกองค์ไม่เคยเว้น เพราะพระอริยเจ้าก่อนแต่จะได้สำเร็จมรรคผล ทุกท่านนิยมพิจารณาให้เห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก น่ารังเกียจ เพราะมีสภาพน่าสะอิดสะเอียนตามปกติเป็นอารมณ์ และกายคตานุสสตินี้เป็นกรรมฐานพิเศษกว่ากรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะถ้าพระโยควาจรพิจารณาตามกฎของกายคตานุสสติ ผลที่ได้รับจะเข้าถึงปฐมฌาน แต่ถ้ายึดสีต่าง ๆ ร่างกายที่ปรากฎมีสีแดงของเลือดเป็นต้น ยึดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณ กรรมฐานกองนี้ก็มีผลได้ฌาน 4 ตามแบบของกสิณ

    ReplyDelete
  14. การพิจารณา ตามแนวสอนในวิสุทธิมรรคท่านให้พิจารณาอาการ 32 คราวละ 5 อย่าง เช่น พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ รวม 5 อย่างเป็นหมวดหนึ่ง ท่านให้พิจารณาตามลำดับและย้อนกลับ เช่นพิจารณาทั้งสีและสัณฐาน สภาพตามความเป็นจริง ว่าไม่มีอะไรสวยงามเพราะมีความสกปรกโสโครกอยู่เป็นปกติ ต้องคอยขัดสีฉวีวรรณอยู่เสมอๆ ทั้ง ๆ ที่คอยประคับประคองอยู่เพียงใดสิ่งเหล่านี้ก็ยังจะมีการแปดเปืิ้ื้อนสกปรกอยู่เสมอ เช่น ผมก็ต้องคอยหวี คอยสระชำระอยู่ทุกวัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจเพียง 3 วัน เหงื่อไคลก็จะจับทำให้เหม็นสาบเหม็นสาง รวมกายทั้งกายนี้ ท่านแสวงหาความจริงจากกายทั้งมวลว่า มันสวยจริงสะอาดจริงหรือไม่ ค้นคว้าหาความจริงให้พบ กายทั้งกายที่ว่าสวยนั้นมีอะไรเป็นความจริง ความสวยของร่างกายมีความจริงเป็นอย่างนี้ ร่างกายทั้งกายที่ว่าสวยนั้น ไม่มีอะไรสวยจริงตามที่คิด เพราะร่างกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครก คืออวัยวะภายใน มีตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ที่หลั่งไหลออกมาภายนอก

    ReplyDelete
  15. ความจริงขังอยู่ภายในของร่างกาย เนื้อที่ปราศจากผิวคือหนังหุ้มห่อ จะมองเห็นไม่เห็นความสวยสดงดงามเลย ยิ่งมีเลือดหลั่งไหลทั่วร่างแล้ว ยิ่งไม่น่าปรารถนาเลย แทนที่จะน่ารัก น่าประคับประคอง กลับกลายเป็นของน่าเกลียด ไม่มีใครปรารถนาจะอยู่ใกล้ ถ้าลอกเนื้อออก จะแลเห็นใส้ใหญ่ ไส้น้อย ปอด กระเพาะอุจจาระ กระเพาะปัสสวะ และม้าม ไต น้ำเลือด น้ำหนอง เสลด หลั่งไหลอยู่ทั่วร่างกาย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ถ้าฉีกกระเพาะออก ภายในกระเพาะจะพบอุจจาระ ปัสสาวะอยู่ภายใน เป็นภาพที่อยากหนีมากกว่าเป็นภาพที่น่ารัก ถ้าเอาอวัยวะต่าง ๆ ออกหมด จะเห็นแต่ร่างโครงกระดูก ที่มีสภาพเหมือนโครงบ้านเรือน ตั้งตระหง่านอยู่ โครงกระดูกทั้งสองร้อยท่อนนี้ ปะติดปะต่อกันอยู่เป็นท่อนน้อยและอนใหญ่ มีเนื้อและเลือดติดเกรอะกรัง ท่านคิดตามไป ท่านเห็นหรือยังว่าส่วนที่มี เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่าพอจะเป็นของสวยของงาม มีนิดเดียวคือตอนหนังกำพร้าเท่านั้น หนังนี้ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปก็หาไม่ ต้องคอยชำระล้างตลอดวันและเวลา เพราะสิ่งโสโครกภายในพากันหลั่งไหลมาลบเลือนความผุดผ่องของผิวตลอดวัน ถ้าไม่คอยชำระล้าง เจ้าตัวปฎิกูลนั้นก็จะพอกพูนเสียจนเลอะเทอะแถมจะส่งกลิ่นเหม็นสาป เหม็นสางตลบไปทั่วบริเวณช่องทวาร อุจจาระ ปัสสาวะ ก็จะพากันหลั่งไหล่ออกมา ตามกำหนดเวลาที่มันต้องออก สิ่งที่น่าคิดก็คือ ผู้นิยมตนเองว่าสวยหรือเทิดทูนใครก็ตามว่าสวย ต่อเมื่อสิ่งโสโครกหลั่งไหลออกมา

    ReplyDelete
  16. แต่...เขากลับไม่สนใจ ไม่พยายามมองหาความเป็นจริงจากของจริง กลับรอให้ชำระล้างสิ่งโสโครกเสียก่อน จึงใคร่ครวญและสนใจ ต่างคนต่างพยายามหลบหลีกไม่รับรู้ความเป็นจริงของสังขารร่างกายในส่วนที่สกปรกโสโรก ทั้งนี้ เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความจริงไว้ ทั้ง ๆ ที่อุจาระหลั่งไหลโสโครก ทั้งนี้ เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความจริงไว้ ทั้ง ๆ ที่อุจาระหลั่งไหล ออกมาทุกวัน เหงื่อไคลมีเสมอ เสมหะน้ำลายออกไม่เว้นแต่ละนาที แต่เจ้ากิเลสและ ตัณหามันก็พยายามโกหกมดเท็จ ปัดเอาความจริงออกมาจากความรู้สึก หากพยายามสอบสวน ทบทวนความรู้สึกค้นคว้าหาความจริง ยอมรับรู้ตามกฎของความจริงว่า สังขารร่างกายนี้ไม่มีอะไรน่ารัก มีสภาพเป็นส้วมเคลื่อนที่ เพราะภายในมีแต่สิ่งโสโครกต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเรารักส้วม ถ้าเราประคับประคองเราก็ประคับประคองส้วม ถ้าเราเทิดทูน เราก็เทิดทูนส้วม จะว่าส้วมปกติเลวแล้ว ความจริงส้วมปกติดีกว่าส้วมเคลื่อนที่มาก เพราะส้วมปกติมันตั้งอยู่ตามที่ของมัน มันไม่ไปรบกวนใคร เราไม่เดินเข้าใกล้ มันก็ไม่มาหาเรา ไม่รบกวน ไม่สร้างทุกข์ ไม่หลอกหลอน ไม่ยั่วยวนชวนให้เกิดราคะ แต่เจ้าส้วมเคลื่อนที่นี้มันร้ายกาจ เราไม่ไปมันก็มา เราไม่มองดูมันก็พูดให้ได้ยิน เสแสร้งแกล้งตกแต่งปกปิดสิ่งที่น่าเกลียดด้วยสีผ้าที่หลายหลากสี กลบกลิ่นเหม็นด้วยกลิ่นหอม หาอาภรณ์มาประดับ เพื่อปกปิดพรางตากันเห็นสิ่งที่ไม่น่าชม เพื่อตาจะได้หลงเหยื่อติดในอาภรณ์เครื่องประดับ

    ผู้เห็นที่ไร้การพิจารณา และมีสภาพเป็นส้วมเช่นเดียวกัน เป็นส้วมที่ไร้ปัญญาเหมือนกัน ต่างส้วมต่างก็หลอกหลอนกัน ปกปิดสิ่งโสโครกมิให้กันและกันเห็น ความจริงทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีครบถ้วน แทนที่จะเห็นตัว รู้ตัวว่าข้านี้ก็เป็นผู้เลิศในความเหม็น เลิศในส่วนของความสกปรกเหมือนเธอ แทนที่จะเป็นอย่างนั้นกลับปกปิดพยายามข่มตนเองว่า ฉันนี้แหละยอดผู้ศิวิไลซ์ละ น่าสงสารสัตว์ผู้เมาไปด้วยราคะ มีอารมณ์ หน้ามืดตามัวเพราะอำนาจกิเลสแท้้ๆ ถ้าเขามองตัวเองสักนิด ก็จะเห็นตัวเอง และจะมองเห็นผู้อื่นตามความเป็นจริง พระอริยเจ้าท่านนิยมความจริง รู้จริง เห็นจริง ค้นคว้าจริง ไม่หลอกหลอนตนเอง ท่านจึงได้บรรลุมรรคผลเพราะพิจารณาตนเองเป็นส่วนใหญ่ ท่าน จงพิจารณาตนเองให้เห็นชัด จนเป็นนิมิตเป็นปฎิภาคนิมิต สร้างสมาธิให้เป็นอัปปนาสมาธิ โดยพิจารณาสังขารให้เห็นว่าไม่สวยไม่งามนี้ เมื่ออัปปนาสมาธิแล้ว จงยึดสีที่ปรากฎในร่างกายที่สีแดงเป็นต้น หรือจะเป็นสีอะไรก็ได้ ยึดเอาเป็นอารมณ์กสิณ ท่านจะได้ฌานที่ 4 ภายในเวลาเล็กน้อย ต่อไปก็ยึดสังขารที่ท่านเห็นว่าเป็นของน่าเกลียดนี้ ให้เป็น

    ReplyDelete
  17. อนิจจัง คือมีความไม่เที่ยง เพราะมีความเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมไปทุกวันเวลาเป็นปกติ

    ทุกขัง เพราะอาศัยที่มันเคลื่อนไปสู่ความทำลายทุกวันเวลา มันนำความไม่สบายกายไม่สบายใจจากโรคภัยไข้เจ็บ และในการกระทบกระทั่งทางอารมณ์ ให้เกิดความเดือดร้อนทุกวันเวลา จึงจัดว่าสังขารร่างกายนี้เป็นรังของความทุกข์ ให้เห็นเป็น

    อนัตตา เพราะความเสื่อม ความเคลื่อน และในที่สุดคือความทำลายขันธ์ เราไม่ต้องการอย่างนั้น แต่มันเป็นไปตามนั้นเพราะเป็นกฎธรรมดาของขันธ์ จะต้องเป็นอย่างห้ามไม่ได้บังคับไม่ได้ของสังขารร่างกายนี้แหละ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ปล่อยอารมณ์ในการยึดถือเสีย เพราะจะยึดจะถือเพียงใดก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ สังขารร่างกายเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าที่มีใจครองหรือไม่มีใจครองตราบใดที่เรายังต้องการ สังขารเราต้องประสบความทุกข์ ความทรมาน เพราะสิ่งโสโครก ที่เข้าประกอบเป็นขันธ์ เราเห็นสภาพความเป็นจริงของสังขารร่างกายนี้ว่า เป็นของโสโครก ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา ควรปลีกตัวออกให้พ้นจริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนจริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นทุกข์จริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นอนัตตาจริง ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นทุกข์ โรคนิทธัง เรือนร่างของขันธ์ 5 เป็นรังของโรค ถ้าร่างกายไม่มี โรคก็มาเบียดเบียนก็ไม่มี เพราะไม่มีร่างกายให้โรคอาศัย ปภังคุณัง เรือนร่างมีสภาพต้องผุพัง ถ้าไม่มีเรือนร่าง เรื่องการผุพังอันเป็นเครื่องเสียดแทงใจให้เกิดทุกข์ก็ไม่มี เมื่อร่างกายไม่มีจะเอาอะไรมาเป็นอนัตตา เราไม่ต้องการทุกข์ที่มีความเกิดเป็นสมุฎฐาน เราไม่ต้องการความเกิดในวัฎฎะอีก เราต้องการนิพพาน ที่ไม่มีความเกิดและความตาย เป็นดินแดนเกษมที่หาความทุกข์มิได้ พระนิพพานนั้น

    พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ท่านที่จะไปสู่พระนิพพานได้ไม่มีอะไรยาก ท่านสอนให้พิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกายว่าโสโครก ถอนความรักความอาลัยในสังขารเสีย เราเชื่อแล้วว่าสังขารร่างกายเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์ยึึดมั่นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เราคือร่างกาย ร่างกายคือเรา ความคิดเห็นอย่างนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้อุปาทาน เรารู้แล้ว เราเห็นแล้ว คือ เราเห็นว่าสังขารร่างกายไม่น่ารัก มีความสกปรกน่าสอิดสะเอียน ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่ในร่างกาย

    ร่างกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่มีสภาพไม่แก่ ไม่ตาย ไม่สลายตัว ที่เข้ามาอาศัยร่างกายที่ประกอบไปด้วย

    ReplyDelete
  18. ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    นามธรรม 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
    อันเป็นอย่างเป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องจักรกลที่บริหารตนเองโดยอัตโนมัติ ร่างนี้ค่อยเจริญขึ้นและเสื่อมลง มีการสลายตัวไปในที่สุด พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ตัด ความพอใจในสรรพสังขารทั้งหมดเสีย ให้ได้ และให้ตัดราคะ คือความกำหนัดยินดีในสรรพสังขารทั้งหมด คือไม่ยึดอะไรเลย ในโลกนี้ว่า เป็นของเรา ไม่มีอะไรในเรา เราไม่มีในอะไรทั้งสิ้น เราคือจิต ท่ีมีคุณวิเศษดีกว่าอัตตภาพทั้งปวง เราเกลียดสรรพวัตถุทั้งหมด เราไม่ยอมรับสรรพวัตถุ แม้แต่เรือนร่างที่เราอาศัยนี้เป็นของเรา และเป็นเรา เราปล่อยแล้วในความยึดถือ แต่จะอาศัยอยู่ชั่วคราวเพื่อสร้างสรรค์ความดี สังขารจะเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องของสังขาร สังขารร่างกายจะผุพัง ก็เป็นเรื่องของสังขารร่างกาย เราไม่รับรู้รับทราบ เราวางแล้ว จากภาระในการยึดถือ เรามีความสุขแล้ว เรามีพระนิพพานเป็นเป็นที่ไปในกาลข้างหน้า สร้างอารมณ์ความโปร่งใจให้มีเป็นปกติ ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์ทำจิตเป็นปปกติ จิตยึดความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา จนเป็นปกติ เห็นอะไร ได้อะไรมา คิดเห็นว่า นี่มันไม่ใช่ของเราจริง เขาให้รับ เพื่อเกืื้อกูลแก่อัตภาพชั่วคราว ไม่ช้าก็คนต่างสลาย ทั้งของที่ได้มาและอัตตภาพ ใครไปก่อนไปหลังกันเท่านั้น จนอารมณ์มีความรู้สึกอย่างนี้ีเป็นปกติ จิตก็ว่างจากอุปาทาน ในที่สุดก็ถึงพระนิพพานสมความมุ่งหมาย

    *************************

    ReplyDelete
  19. 9. อานาปานานุสสติกรรมฐาน
    อานาปานานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงลมหายใจเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่คลุมกรรมฐานกองอื่น ๆ เสียสิ้น เพราะจะปฎิบัติกรรมฐาน 40 กองนี้ กองใดกองหนึ่งก็ตาม จะต้องกำหนดลมหายใจเสียก่อน หรือมิฉะนั้นก็ต้องกำหนดลมหายใจร่วมไปพร้อม ๆ กับกำหนดพิจารณากรรมฐานกองนั้น ๆ จึงจะได้ผล หากท่านผู้ใดเจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าเว้นการกำหนดเสียแล้ว กรรมฐานที่ท่านเจริญจะไม่ได้ผลรวดเร็วสมความมุ่งหมาย อานาปานานุสสตินี้ มีผลผลถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มีเป็นพุทธสาวก ถ้าท่านที่มีบารมีในวิสัยพุทธภูมิ ท่านผู้นั้นจะทรงฌานในอานาปานานุสสติถึงฌานที่ 5

    อานาปานานุสสติระงับกายสังขาร
    เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นทางกาย ท่านที่ได้ฌานในอานาปานานุสสติ เข้าฌานในอานาปาน์จนถึงจตุตถฌานแล้ว ทุกขเวทนานั้นจะระงับไปทันที ทั้งนี้มิใช่หมายความว่าเวทนาหายไป แต่เป็นเพราะเมื่อเข้าถึงฌาน 4 ในอานาปาน์นี้แล้ว จิตจะแยกออกจากขันธ์ 5 ไม่รับรู้ทุกขเวทนาของขันธ์ทันที ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสตินี้ ท่านจะไม่ได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส เมื่อทุกข์ทางร่างกายเกิดขึ้น เพราะท่านหนีทุกข์ได้ด้วยการเข้าฌาน แยกจิตกับขันธ์ 5 ออกจากกันเป็นกรรมฐานที่ให้ผลสูงมาก

    รู้เวลาตายได้ที่แน่นอน
    ท่านที่ได้ฌานอานาปานานุสสตินี้ สามารถรู้กำหนดเวลาตายของท่านได้ ตรงตามความเป็นจริงเสมอ โดยกำหนดล่วงหน้าเป็นแรมปี เมื่อจะตาย ท่านก็สามารถบอกเวลาได้ว่า เวลาเท่านั้นเท่านี้ท่านจะตาย และตายด้วยอาการอย่างไร เพราะโรคอะไรช่วยกรรมฐานกองอื่น
    ท่านที่ได้ฌาน 4 ในอานาปาน์นี้แล้ว จะปฎิบัติในกรรมฐานกองอื่น ๆ อีก 39 กองนั้น ท่านเข้าฌานในอานาปาน์ก่อน แล้วถอยหลังจิตมาดำรงอยู่แค่อุปจารสมาธิ แล้วกำหนดกรรมฐานกองนั้น ๆ ท่านจะเข้าถึงจุดสูงสุดในกรรมฐานกองนั้น ๆ ได้ภายไน 3 วันเป็นอย่างช้า ส่วนมากได้ถึงจุดสูงสุดของกรรมฐานกองนั้น ๆ ภายในที่นั่งเดียว คือคราวเดียวเท่านั้นเอง

    จุดจบของอานาปานานุสสติ
    จุดจบของอานาปานานุสสตินี้ คือ ฌานที่ 4 หรือที่ 5 ก็ได้แก่การกำหนดลมหายใจจนไม่ปรากฎลมหายใจ ที่ท่านเรียกกันว่าลมหายใจขาด แต่ความจริงลมหายใจไม่ขาดหายไปไหน เพียงแต่ว่าร่างกายกับจิตแยกกันเด็ดขาด จิตไม่รับทราบอาการทางกายเท่านั้น เมื่อจิตไม่รับรู้เสียแล้ว การหายใจหรือการเคลื่อนไหวใด ๆ ทางกาย จึงไม่ปรากฎแก่จิตตามความนิยม ท่านเรียกว่าลมขาด

    ReplyDelete
  20. วิธีปฏิบัติในอานาปานานุสสติ
    การปฎิบัติในอานาปานานุสสตินี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่มีองค์ภาวนา และไม่มีพิธีรีตองอะไรมากนัก เพียงแต่คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกตามฐานที่ท่านกำหนดไว้ให้รู้อยู่ว่าครบถ้วนเท่านั้น เวลาหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้าหายใจออกก็รับรู้ว่าหายใจออก พร้อมกับสังเกตลมสังเกตลมกระทบฐาน 3 ฐาน

    ฐานที่กำหนดรู้ของลม
    ฐานกำหนดรู้ที่ลมเดินผ่านมี 3 ฐาน คือ
    ฐานที่ 1 ท่านให้กำหนดที่ริมฝีปาก และที่จมูก เมื่อหายใจเข้า ลมกระทบที่จมูก เมื่อหายใจออกลมกระทบที่ริมฝีปาก
    ฐานที่ 2 หน้าอก เมื่อลมผ่านเข้าหรือผ่านออกก็ตาม ลมจะต้องกระทบที่หน้าอก หมายเอาภายใน ไม่ใช่หน้าอกภายนอก ลมกระทบทั้งลมเข้าและลมออกเสมอ ศูนย์ที่หน้าท้องเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจเข้าหรือออกก็ตาม จะต้องกระทบที่หน้าท้องเสมอทุกครั้ง
    3 ฐานนี้มีความสำคัญมาก เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิต เพราะจิตกำหนดจับฐานใดฐานหนึ่งไม่ครบ 3 ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของจิตระงับอกุศลที่เรียกว่านิวรณ์
    5 ได้ แต่อารมณ์หยาบ อารมณ์อกุศลที่เป็นอารมณ์กลางและละเอียดยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้น อย่างสูงก็ได้เพียงขณิกสมาธิละเอียดเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงอุปจารสมาธิยังไกลต่อฌานที่ 1 มาก

    ถ้าท่านผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้ลมผ่านได้ 2 ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของท่านผู้นั้นดับอกุศลคือนิวรณ์ได้ในอารมณ์ปานกลาง ส่วนอารมณ์นิวรณ์ที่ละเอียด อันเป็นอนุสัย คือกำลังยังต่ำยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้นอย่างสูงก็แค่อุปจารสมาธิ จวนจะเข้าถึงปฐมฌานแล้วถ้ากำหนดรู้ลมผ่านกระทบได้ทั้ง 3 ฐาน ท่านว่าท่านผู้นั้นระวับนิวรณ์ละเอียดได้แล้ว สมาธิเข้าปฐมฌาน ส่วนฌานต่าง ๆ อีกสาม คือ ฌานที่ 1. 2. 3. 4. อยากทราบโปรดพลิกไปดูข้อที่ว่าด้วยฌาน จะเข้าใจชัด
    การกำหนดลมเป็นของยาก เพราะจิตของเราเคยท่องเที่ยวมานาน ตามใจเสียจนเคย จะมาบังคับกันปุบปับให้อยู่นั้น ยากที่จิตใจจะยอมหมอบราบคาบแก้ว เมื่อระวังอยู่แกก็ทำท่าเหมือนจะยอมจำนน แต่พอเผลอเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น แกก็ออกไปเหนือไปใต้ตามความต้องการของแก กว่าเจ้าของจะรู้ก็ไปไกลแล้ว อารมณ์ของจิตเป็นอย่างนี้ เมื่อทำไปถ้าเอาไม่อยู่ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้

    ReplyDelete
  21. ท่านสอนให้นับลมหายใจเข้าหายใจออก เข้าครั้ง ออกครั้ง นับเป็นหนึ่ง ท่านให้กำหนดนับดังต่อไปนี้ นับ 1. 2. 3. 4. 5. เอาแค่เข้าออก 5 คู่ นับไปและกำหนดรู้ฐานทั้ง 3 ไปด้วย กำหนดใจไว้ว่า เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเพียง 4 คู่ พร้อมด้วยรู้ฐานลมทั้ง 3 ฐาน แล้วก็เริ่มกำหนดฐานและนับลม พอครบ 5 คู่ ถ้าอารมณ์ยังสบาย ก็นับไป 1 ถึง 5 เอาแค่นั้น พอใจเริ่มพล่าน ถ้าเห็นท่าจะคุมไม่ไหว ก็เลิกเสียหาความเพลิดเพลินตามความพอใจ เมื่ออารมณ์ดีแล้วก็นับใหม่ ไม่ต้องภาวนา เอากันแค่รู้เป็นพอ เมื่อนับเพียง 5 จนอารมณ์ชินไม่หนีไม่สายแล้ว ก็เลื่อนไปเป็น 7 คู่ 8 คู่ 9 คู่ 10 คู่ จนกว่าอารมณ์จิตจะทรงเป็นฌานได้นานตามสมควร

    ผ่อนสั้นผ่อนยาว
    การเจริญอานาปานานุสสตินี้ มีอาการสำคัญของนักปฏิบัติใหม่ ๆ อย่างหนึ่ง คืออารมณ์ซ่าน เวลาที่จิตไม่สงบจริงมีอยู่ พอเริ่มต้น อารมณ์ฟุ้งซ่านก็เริ่มเล่นงานทันที บางรายวันนี้ทำได้เรียบร้อยอารมณ์สงัดเป็นพิเศษ จิตสงัดผ่องใส อารมณ์ปลอดโปร่งกายเบา อารมณ์อิ่มเอิบ พอรุ่งขึ้นอีกวัน คิดว่าจะดีกว่าวันแรก หรือเอาเพียงสม่ำเสมอแต่กลับผิดหวัง เพราะแทนที่จะสงัดเงียบ กลับฟุ้งซ่านจนระงับไม่อยู่ ก็ให้พยายามระนับ และนับ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. ถ้านับก็ไม่เอาเรื่องด้วย ยิ่งฟุ้งใหญ่ ท่านตรัสสอนไว้ในบทอานาปานานุสสติว่า เมื่อเห็นว่าเอาไว้ไม่ได้จริง ๆ ท่านให้ปล่อยอารมณ์ แต่อย่าปล่อยเลย ให้คอยระวังไว้ด้วย คือปล่อยให้คือในเมื่อมันอยากคิด มันคิดอะไรก็ปล่อยมันคิดไปตามสบาย ไม่นานนักอย่างมากไม่เกิน 20 นาที อารมณ์ซ่านก็สงบระงับ กลับเข้าสู่อารมณ์สมาธิ เมื่อเห็นว่าอารมณ์หายซ่านแล้ว ให้เริ่มกำหนดลมตามแบบ 3 ฐานทันที ตอนนี้ปรากฏว่าอารมณ์สงัดเป็นอันดี มีอารมณ์แจ่มใส อาการอย่างนี้มีแก่นักปฎิบัติอานาปานานุสสติเป็นปกติ โปรดคอยระลึกไว้ และปฎิบัติตามนี้จะได้ผลดี

    ReplyDelete
  22. อานาปาน์พระพุทธเจ้าทรงเป็นปกติ
    เพื่อความอยู่เป็นสุขในสมาบัติ ไม่มีสมาบัติใดที่จะอยู่เป็นสุขเท่า อานาปานานุสสติ เพราะเป็นสมาบัติที่ระงับกายสังขาร คือดับเวทนาได้ดีกว่าสมาบัติอื่น แม้จะเป็นสมาบัติต้นก็ตาม พระอรหันต์ทุกองค์ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็ทรงอยู่เป็นสุขด้วยอานาปานานุสสติ ดังพระปรารภของพระองค์ที่ทรงปรารภแด่พระอานนท์ว่า อานันทะดูก่อนอานนท์ ตถาคตก็มากไปด้วยอานาปานานุสสติเป็นปกติประจำวัน เพราะอานาปานานุสสติระงับกายสังขารให้บรรเทาจากทุกขเวทนา จากทุกขเวทนาได้ดีมาก ท่านที่ได้อานาปานานุสสติแล้ว จงฝึกฝนให้ชำนาญและคล่องแคล่วฉับไว ในการเข้าฌานที่ 4 เพื่อผลการระงับทุกขเวทนาอย่างยิ่ง และเพื่อผลในการช่วยฝึกฌาน ในกองอื่นอีกอย่างหนึ่ง

    อานาปานานุสสติเป็นบาทของวิปัสนาฌาน
    ผลกำไรใหญ่อีกอย่างหนึ่งของอานาปานานุสสติก็คือ เอาอานาปานานุสสติเป็นบาทของวิปัสนาญาณ เพราะฌานที่ 4 ของอานาปาน์เป็นฌานระงับกายสังขาร ดับทุกขเวทนาได้ดี เมื่อเจริญวิปัสนาญาณต่อไป ท่านให้เข้าฌาน 4 พอเป็นที่สบายแล้วถอยสมาธิมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ แล้วใคร่ครวญพิจารณาว่า ทุกขเวทนาที่เกิดแก่สังขาร เราจะรู้ว่าเป็นทุกข์ก็เพราะจิตที่ยึดติด ถือเอาสังขารเข้าไว้ ขณะที่เราเข้าฌาน 4 จิตแยกจากสังขาร ทุกขเวทนาไม่ปรากฎแก่เราเลย ฉะนั้น ทุกข์ทั้งปวงที่เรารับอยู่ ก็เพราะอาศัยสังขารเป็นเหตุ การยึดถือสังขารเป็นทุกข์อย่างนี้ เราจะปล่อย ไม่รับรู้เรื่องสังขารต่อไป คือไม่ต้องการสังขารอีก การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็กลับมามีสังขารอีกเมื่อหมดบุญ เราไม่ประสงค์การกลับมาเกิดอีก เทวดาหรือพรหมยังมีปัจจัยให้มาเกิด เราไม่ต้องการ เราต้องการนิพพานเท่านั้น ที่หมดปัจจัยในการเกิดเราทราบแล้ว เพราะการเข้าฌาน 4 ที่ขาดปัจจัยในสังขาร เป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ฌานที่เข้าไปสามารถจะทรงได้ตลอดกาล สิ่งที่ทรงการละทุกขเวทนา ได้ตลอดกาลก็คือการปล่อยอุปาทาน ได้แก่ไม่รับรู้รับทราบสมบัติของโลกีย์ คือตัดความใคร่ความยินดีใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และไม่เดือดร้อน เมื่อสิ้นลาภ สิ้นยศ มีคนนินทา และประสบกับความทุกข์ จัดว่าเป็นอารมณ์ขัดข้อง และเราจะปล่อยอารมณ์จากความต้องการใน ความรัก ความอยากได้ ความโกรธและพยาบาท ความเป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งปวง เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นต้นเหตุของความทุกข์ แล้วทำจิตให้ว่างจากอารมณ์นั้น ๆ พยายามเข้าฌานออกฌาน แล้วคิดอย่างนี้เป็นปกติ จิตจะหลุดพ้นจากอาสวกิเลส ได้อย่างไม่ยากเลย

    *************************

    ReplyDelete
  23. 10. อุปสมานุสสติกรรมฐาน
    อุปสมานุสสติ แปลว่า ระลึกคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตามศัพท์ท่านน่าจะแปลว่าระลึกถึงคูรของความเข้าไปสงบระงับจิตจากกิเลสและตัณหา ก็คือการเข้าถึงพระนิพพานนั้นเอง ท่านแปลเอาความหมายว่า ระลึกถึงคุณพระนิพพานนั้น เป็นการแปลโดยอรรถ คำว่าสงบระงับไว้ด้วย ก็เพื่อให้เต็มความประสงค์ของนักคิดเท่านั้นระลึกตามแบบท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ ขั้นปฎิสัมภิทาญาณ ท่านอธิบายถึงการ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี 8 ข้อไว้เป็นแนวเครื่องระลึก

    บาลีปรารภพระนิพพาน 8
    1.มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความเป็นหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือคิดเป็นปกติเสมอว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้น มีความฉิบหายเป็นที่สุด
    2.ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่ กำหนัดยินดีในกามคุณ 5 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส
    3.อาลยสมคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่งอาลัย ในกามคุณ 5 หมายความว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ 5 เห็นกามคุณ 5 เสมือนเห็นซากศพ
    4.วัฎฎปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่งวนสาม คือ กิเลสวัฏ ได้แก่ ตัดกิเลสได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรม อันเป็นบาปอกุศล วิบากวัฏ คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง
    5.ตัณหักขโย, วิราโค, นิโรโธ แปลว่า นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหา ตัณหา ไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย
    6.นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรมอำนาจทั้ง 4 นี้ ไม่มีโอกาส จะให้ผลแก่ท่าน ที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก

    ตามข้อปรากฎว่าทีเพียง 6 ข้อ ความจริงข้อที่ 5 ท่านรวมไว้ 3 อย่าง คือ ตัณหักขโย 1 วิราโค 1 นิโรโธ 1 ข้อนี้รวมกันไว้เสีย 3 ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น 8 ข้อ พอดี
    ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพานตามในบาลีทั้ง 8 แม้ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในที่เดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า “นิพพานัง” นั่นแหละดีอย่างยิ่ง ภาวนาไปจนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ 5 ได้สงบแล้วเข้าอุปจารฌานเป็นที่สุด กรรมฐานนี้ ที่ท่านกล่าวว่าได้ถึงที่สุดเพียงอุปจารฌาน ก็เพราะเป็นกรรมฐานละเอียดสุขุม และใช้อารมณ์ใคร่ครวญ เป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน

    ReplyDelete
  24. อานิสงส์์
    อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่คลุกเคล้าด้วยกิเลสและตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลกำไร เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจกรรมฐานกองนี้ให้มาก ๆ และแสวงหาแนวปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อ พระนิพพานมาปฏิบัติ ท่านมีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนัก เพราะระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้ เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้ครบถ้วน

    พระนิพพานไม่สูญ
    ท่านนักปฏิบัติได้กำหนดกรรมฐาน ในอุปสมานุสสตินี้แล้ว ท่านอาจจะต้องประสบกับปัญหายุ่งสมองในเรื่องพระนิพพานอีกตอนหนึ่ง เพราะบรรดานักคิดนักแต่งทั้งหลายได้พากันโฆษณามาหลายร้อยปีแล้วว่า พระนิพพานเป็นสภาพสูญ แต่พอมาอ่านหนังสือ ของพระอรหันต์ท่านเขียน คือหนังสือวิสุทธิมรรค ท่านกลับยืนยันว่าพระนิพพานไม่สูญ ดังท่านจะเห็นตามบาลีทั้ง 8 ที่ท่านยกมาเป็นองค์ภาวนานั้น คือ มทนิมฺมทโน พระนิพพานตัดความเมาชีวิต ปีปาสวินโย นิพพานบรรเทาความกระหายในกามคุณ 5 อาลยสมุคฺฆาโต พระนิพพานถอนอาลัยในกามคุณ วัฏฏปัจจเฉโท พระนิพพานตัดวนสามให้ขาด ตัญหักขโย พระนิพพานมีตัณหาสิ้นแล้ว หรือสิ้นตัณหาแล้วเข้าสู่นิพพาน วิราโค มีความเบื่อหนายในตัณหา นิโรโธ ดับตัณหา ได้สนิทแล้ว โดยตัณหาไม่กำเริบอีก นิพพานัง มีความดับสนิทแล้วจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม อันเป็นเหตุให้เกิดอีกในวัฎสงสาร

    ความหมายตามบาลีที่ท่านว่าไว้นี้ ไม่ได้บอก ท่านที่ถึงพระนิพพานแล้วสูญ เพราะความเห็นว่าตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นความเห็นผิด เมื่อบาลีท่านยันว่านิพพานไม่สูญแล้ว ท่านบรรดานักแต่งทั้งหลายเอามาจากไหนว่านิพพานสูญ อันนี้น่าจะเกิดความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง เพราะบาลีบทหนึ่งว่า “นิพพานัง ปรมัง สูญญัง” แปลว่า นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะไปคว้าเอา โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้

    *************************

    ReplyDelete