Showing posts with label พุทธทำนายในอุรังคะทาดนิทาน. Show all posts
Showing posts with label พุทธทำนายในอุรังคะทาดนิทาน. Show all posts

Friday 13 July 2012

พุทธทำนายในอุรังคะทาดนิทาน


พุทธทำนายในอุรังคะทาดนิทาน
ชาวจีนสิบสองปันนาเรียกแม่น้ำโขงว่า “หลันชางเจียง” หรือแม่น้ำล้านช้าง มีนัยหมายถึงแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก ทว่าใน “นิทานอุรังคธาต” เรียกแม่น้ำนี้ว่า “ทะนะนะทีเทวา” อันหมายถึงแม่น้ำแห่งทรัพย์สินเงินทองอันเทวดาเสกสรรให้
ทรัพย์สมบัติดังกล่าว คำลาวเรียก “ของ” และเรียกทะนะนะทีเทวาว่า “แม่น้ำของ” และเพี้ยนมาเป็น “แม่น้ำโขง” ในสำเนียงคนไทยกรุงเทพฯ และ Mekong River ในภาษาอังกฤษ
หลันชางเจียง(แม่น้ำล้านช้าง) หรือแม่น้ำโขงตอนบน ภาพ โดยประสาท ตงศิริ ถ่ายจาก ระเบียงท้ายเรือเร็วปรับอากาศ “เทียนต๋า2” ซึ่งแล่นตามลำ แม่น้ำโขง จากท่าเรือเมือง เชียงรุ้งถึงท่าเรือเชียงแสน ของไทย
(ซ้าย) พระ ธาตุพนมองค์เดิม (นครพนม : ไทย) ประดิษฐานพระอุรังธาตุ (ธาตุทรวงอก) ที่ดอยกัปปนคีรี ภูกำพร้า (ขวา) พระธาตุหลวง (เวียงจันทน์ : สปป.ลาว) ดอนคอนพะเนา ภูเขาหลวง หนองคันแทเสื้อน้ำ
ผม จะลองสังเคราะห์กำเนิดภูมิประเทศ แม่น้ำลำคลอง ภูเขาเลากา สภาพบ้านเมืองและการลงหลักปักฐานลัทธิความเชื่อในพระพุทธศาสนา จากนิทานอุรังคธาตุ วรรณกรรมโบราณแห่งลุ่มแม่น้ำโขง พอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
แม่น้ำอู
แม่น้ำปิง : พินทะโยวัตตีนาค ขุดเป็นแม่น้ำไปเมืองเชียงใหม่ ชื่อแม่น้ำพิน หรือ พิงค์ และใส่ชื่อเมืองนั้นว่า โยนาควัตตีนคร หรือโยนกนาควัตตี หรือพิงคนครเชียงใหม่ ในเวลาต่อมา
“...ส่วน ว่าน้ำหนองแสนั้น สัตว์ทั้งหลาย มีแข่ เหี่ย เต่า และแลนก็ล้มตายเป็นอันมาก พวกผีทั้งหลายเห็นก็พากันไปเอามาซุมกันกิน เวลานั้นนาคทั้งหลาย คือสุวันนะนาค กุทโธปาปนาค ปัพพารนาค สุกขหัตถีนาค สีสัตตนาค และถหัตถีนาค เป็นต้น ตลอดนาคทั้งหลายผู้เป็นบริวารที่อยู่ในหนองแสบ่สามารถอาศัยอยู่ได้
แม่น้ำงึม : “...แต่ นั้นมานาคทั้งหลายมักใคร่อยู่บ่อนใดก็อยู่บ่ได้แล เงือก งูทั้ง หลายอันเป็นบริวารก็ไปนำทุกแห่ง ส่วนปัพพาสนาค (ปัพพารนาค) ก็ควัดไปอาศัยอยู่ภูเขาหลวง พญานาค พญางู โตบ่อยากอยู่ดอมนาคทั้งหลาย จึงควัดออกเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง เอิ้นว่าแม่น้ำเงือกงู ภายลุนมาจึงเอิ้นว่าแม่น้ำงึมเท่าทุกวันนี้แล...”หลี่ผี : “...ส่วนสุกขรนาคและหัตถีนาคอาศัยอยู่เวินสุก ส่วนว่าทะนะมุนละนาค ผู้อาศัยอยู่เมืองศรีโคตบองก็ควัดฮ่องจากนั้นลงไปฮอดเมืองอินทะปัตถะนคร จนฮอดแม่น้ำสมุทร ฮ่องนี้เอิ้นว่าน้ำหลี่ผีนั้นแล...”แม่น้ำมูน : “แม่ น้ำที่เป็นบ่อนอยู่ของทะนะมุนละนาคนั้นก็ไหลท่วมเป็นแกว่ง ดังนั้นทะนะมุนละนาคจึงควัดให้เป็นฮ่องฮอดเมืองกุลุนทนคร ฮ่องน้ำนี้มีชื่อว่า มุนละนที ตามชื่อพญานาคโตนั้นแล”
แม่น้ำซี : “ส่วน ซีวายนาค ก็ควัดแต่แม่น้ำมูนจนฮอดเมืองพญาสุรอุทกะผู้ปกครองหนองหานหลวง พร้อมทั้งเมืองใหญ่น้อยเขตนครนั้น และตลอดฮอดเมืองหนองหานน้อย ตราบเท่าฮอดเมืองกุลุนทนคร แต่นั้นมาน้ำนั้นจึงมีชื่อว่าซีวายนทีตามชื่อนาคโตนั้น...”
เรื่องราวที่หยิบยกมานี้เป็นส่วนหนึ่งในบั้นที่ 1 ของนิทานอุรังคธาตุ เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ลุ่มแม่น้ำโขงในวรรณกรรมโบราณ
ทีนี้ลองมาดูเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขงจากวรรณกรรมโบราณเรื่องนี้ในบั้นที่ 2 “บั้นอุรังคะทาดนิทาน”
“...เมื่อ พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และได้เสด็จประทับอยู่ในวัดเชตวัน เมื่อ เวลาใกล้รุ่ง พระอานนท์เถระเจ้าผู้เป็นอุปัฏฐากได้จัดแจงไม้สีฟันและน้ำส่วยหน้า (น้ำล้าง หน้า) ถวายแก่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชำระเรียบร้อยแล้ว ทรงหลิง (รำลึก) เห็นพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ที่ผ่านมาในอดีต พระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นยังได้ก่อธาตุไว้ในดอยกัปปันนคีรี (หมายถึงภูกำพร้า) อยู่ใกล้เมืองศรีโคตบอง (หมายถึงเมืองนครพนม) นั้น เมื่อหลิงเห็นอย่างนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงผ้ากำพลสีแดง ซึ่งนางโคตมีได้ถวายเป็นทาน ผ้ากำพลผืนนี้มีประวัติเล่าไว้ว่า นางโคตมีเมื่อจะปลูกฝ้ายนางได้เอาคำ (ทองคำ) มาทำอ่าง (กระถางปลูก) แล้วจึงเอาแก่นจันทน์แดงพร้อมทั้งคันธรสทั้งมวล แล้วเอาคำเป็นฝุ่น (เอาทองคำเป็นปุ๋ย) ใส่ลงในอ่างคำ (กระถางทองคำ) นั้น ครั้นแล้วจึงเอาฝ้ายมาปลูกลงที่นั้น เหตุนั้นดอกฝ้ายจึงแดงดั่งแสงสุริยะกำลังขึ้น (เหนือขอบฟ้า)(แลนเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ชนิดครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่างตะกวด แลนคำคือแลนที่มีเกล็ดทองคำ)
เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงผ้าแล้วจึงทรงบาตรผินหน้าไปทางทิศตะวันออก พระอานนท์เถระเจ้าผู้เป็นปัจฉาสมณะลีลานำทาง (เสด็จตาม)อากาศ และได้เสด็จมาประทับที่ดอนคอนพะเนานั้นก่อน จึงมาประทับที่หนองคันแทเสื้อน้ำ
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงหลิงเห็นแลนคำ
บ้าน เมืองจักย้ายที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปมาเป็นหลายชื่อหลายเสียงแล... เหตุว่า พระตถาคตเห็นแลนแลบลิ้นสองแง่ม (แฉก) เป็นนิมิตรแล หากเมื่อใด หากท้าวพญาองค์ เป็นหน่อพุทธังกูรได้มาเสวยราชบ้านเมือง พระพุทธศาสนาของพระตถาคตก็จักรุ่งเรือง เหมือนดังพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่นั้นแล...”
ตัวหนึ่งแลบลิ้นอยู่ที่โพนจิกเวียงงัว ใต้ปากห้วยคุก เมื่อทรงเห็นดังนั้นแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงทำอาการแย้มหัวให้เห็นเป็นนิมิตร พระอานนท์เถระเจ้าเมื่อเห็นดังนั้นจึงทูลถามหาเหตุแย้มหัว พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูราอานนท์ พระตถาคตเห็นแลนคำตัวหนึ่งแลบลิ้นให้เป็นเหตุแล แล้วพระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสไว้ว่า เมืองสุวรรณภูมินั้นเป็นที่อยู่ของนาคทั้งหลาย มีสุวรรณนาคเป็นเค้า (เป็นต้น) พร้อมทั้งผีเสื้อบก (บางสำนวนว่าพร้อมทั้งผีเสื้อบกและผี เสื้อน้ำ...) ทั้งหลายแล ในอนาคตภายหน้า คนทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในเมืองอันนี้ แม้นว่ารู้แตกฉานในธรรมของตถาคตก็ดี จักเลือกหาผู้มีสัจจะซื่อสัตย์สุจริตนั้นยาก แท้แล
ตาม เส้นทางโขงสองฝั่ง เราจะพบ เห็นการทำลายป่าต้นน้ำ เพื่อใช้ ประโยชน์ในการเพาะปลูก และถือ ครองเป็นเจ้าของ พบเห็นทั่วไป เกือบทุกเขตน้ำแดนดินทั้ง 6 ประ เทศ รวมทั้งในจีนตอนใต้
บั้น อุรังคะทาดนิทานนี้ เป็นที่มาของวรรณกรรมพุทธทำนายที่ศิลปินรุ่นครบรอบ 25 พุทธศตวรรษนำมาขยายความในรูปกลอนลำ แพร่หลายขยายตัวตามสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงที่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลักในชีวิต ประจำวัน
เพราะ ว่าน้ำหนองแสขุ่นมัวเป็นตมหมด จึงพากันออกมาอยู่แม่น้ำและบนบก ในที่ต่างๆ กัน พวกผีทั้งหลายรู้ว่าพวกนาคจักมายาด (แย่งชิง) ชิงกินนำ ก็เฮ็ดให้นาคทั้งหลายตาย บางพ่องพญาทั้งหลายก็ตาย ตลอดฮอดเงือกงูก็ตายเช่นเดียวกัน แล้วจึงพากันออกหนีจากแคมหนองแสนั้น นาคและเงือกงูทั้งหลายอยู่ตามน้ำของ (โขง) ก็ยอมมาเป็นบริวารของพญานันทกังฮีสุวันนะนาค และก็พากันไปอาศัยอยู่ภูกู่เวียน ภูนั้นจึงได้ชื่อว่าภูกู่เวียน ส่วนพุทโธปาปนาคควัด (ขุด) แต่ภูกู่เวียนจนเกิดเป็นหนองใหญ่ มีชื่อว่าหนองบัวบานในบัดนี้...”
: ชีวายนาคขุดคลองมาด้วย