Showing posts with label แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์. Show all posts
Showing posts with label แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์. Show all posts

Friday 13 July 2012

แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์

แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์ ประจำอยู่อย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแทบทุกแผ่นดิน ต้องรบทัพจับศึก เป็นประจำ ยามเราอ่อนแอจากพระเจ้าแผ่นดิน ชาติอื่นทั้ง พม่า รามัญ ญวน เขมร จะพากันมารุมทึ้ง แผ่นดินให้ต้องทำศึกอยู่เรื่อยๆ แพ้บ้างชนะบ้างว่ากันไป   แผ่นดินไหน พระเจ้าอยู่หัวมีพลานุภาพสูง บุญญา -บารมีแก่กล้า ก็ทรงยกทัพออกไปราวีชาติต่างๆโดยรอบ เพื่อแสดง ความ เป็นมหาอำนาจให้ประจักษ์ ใช่จะจะยอมให้ข่มเหงรังแกกันตะพึด และตราบ ใดที่แผ่นดินว่างศึกไม่มีใครมารุกรานหรือไม่ได้ออก รุกรบ ขยายอาณาจักร มักจะเกิด กบฏชิงราชบัลลังก์ กันภายในให้ต้อง ปราบปราม แทบไม่มี เวลา พัฒนาบ้านเมือง  
ในแผ่นดินของสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ ราชาธิราช ก็เช่นกัน เมื่อพระเจ้า กรุงหงสาวดียอมรับพระราช ไมตรีถอนทัพกลับ กรุงหงสาวดีแล้ว พระองค์ ก็ทรงจัดพระราชพิธีพระราชทาน เพลิงพระศพอัครมเหสี วีรสัตรีไทย ผู้ทรง แสดงความกล้าหาญเอาชีวิตเข้าปกป้องพระเจ้าอยู่หัวไว้คือ พระศรีสุริโยทัย การจัดงานครั้งนี้กระทำอย่างสมพระเกียรติยศยิ่ง  เสร็จแล้วทรงให้ สถาปนา ที่พระราชทานเพลิงศพ เป็น เจดีย์วิหารพร้อมวัดวาอารามเป็นพระราชอนุสรณ์ พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดสบสวรรค์ แล้วทรงทำการพัฒนา ไพร่บ้านพลเมือง ให้เอาบ้านทำจีนตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็น เมือง นนทบุรี ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรีแขวงเมืองสุพรรณบุรีตั้งเป็น เมือง นครชัยศรี แล้วทรงปรึกษา ว่า กำแพงเมืองลพบุรี เมืองนครนายก เมือง สุพรรณบุรี สามเมืองนี้ควรล้างเสียหรือจะเอาไว้ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช  กับมุขมนตรีพร้อมกัน ปรึกษากราบทูล ว่า จะให้ไปรับหัว เมืองนั้นถ้ารับได้ก็จะเป็นคุณ ถ้ารับมิได้ข้าศึกจะอาศัย ดังนั้นให้รื้อกำแพงเมืองดีกว่า 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็บัญชาตามแล้วให้ตั้ง พิจารณาเลิกสังกัด สมพรรค์ได้ สกรรจ์ลำเครื่องแสนเศษ  ต่อมาศักราช ๙๐๖ ปีมะโรง ฉศก (พ.ศ.๒๐๘๗)   พระศรีศิลป์น้องพระยอดฟ้า โอรสคนเล็กสุดของสมเด็จพระไชยราชาธิราช กับ  แม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งขุนพิเรนทรเทพ ละไว้ระหว่าง จู่โจมสังหาร ขุน วรวงศาธิราชกับเจ้าแม่ศรี สุดาจันทร์ และบุตรีน้อยในเรือพระที่นั่งระหว่าง เสด็จไปจับช้างป่า นำมาถวายพระเธียรราชา หรือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และทรงชุบเลี้ยงไว้บัดนี้ได้เติบโต อายุได้ ๑๓-๑๔ ปี จึงให้ออกบวช เป็น สามเณรอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน อันเป็นวัดที่พระเธียรราชาผนวชอยู่เดิม มีข่าวสะพัดว่าพระศรีศิลป์ มิได้ตั้งอยู่ในกตัญญู ส้องสุมพวกพลคิดการกบฎ จึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนาไปนำตัวมา พิจารณาผล ออกมาได้ ความเป็น สัตย์ โดยเหตุการณ์ผ่านมาแต่ละยุคนั้นจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตาเพียงให้นำตัวไปคุมไว้ ณ วัดธรรมมิกราชาหมื่นจ่ายวดได้รับมอบหมาย หน้าที่ เป็นผู้ควบคุม กระทั่ง เวลาล่วงไปจวนเข้าพระวัสสา ทรงพระกรุณาตรัสว่าพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นโทษ คุมไว้นั้นอายุจะได้ อุปสมบทเป็นภิกษุภาวะอยู่แล้วให้เอามาอุปสมบท  จึงทราบ ว่าพระศรีศิลป์ หลบหนีที่ ควบคุมไปได้สามวัน ซุ่มชุมนุมพล อยู่ที่บ้าน ม่วง -มดแดง  จึงทรงมีพระราชดำรัสให้ เจ้าพระยามหาเสนา ตามเอาตัว กลับคืน มาอีก  ระหว่างนั้นพระศรีศิลป์ได้ขอฤกษ์กระทำการ ใหญ่ "พลิกแผ่นดิน" จาก พระ พนรัตนป่าแก้วได้ฤกษ์มาว่า วันเสาร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ฤกษ์ดี ให้ยกเข้า มาเถิดจะกระทำการสำเร็จ ตาม เป้าหมาย  แต่ก่อนถึงเวลาฤกษ์ พระยาเดโช  พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีสวร หมื่นไภยนรินทร์ ผู้ร่วม ก่อการ กับ พระศรีศิลป์ซึ่งถูกจับได้และเป็นโทษจำไว้ในที่สงัด  ได้แอบส่ง สาร ลับ ไปถึงพระศรีศิลป์ ในวันแรม ๑๓ ค่ำ รำพันว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสไว้ วันรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ จะเอาตัวทั้งห้า ไปฆ่าเสียขอ ให้พระองค์ทรงเข้ามา ใน กลางดึก วันนี้(ที่ ๑๓ ค่ำ) อย่าให้ทันรุ่ง พระศรีศิลป์จึงเข้ามาทาง ประตู หอรัตนชัย โดยไม่คำนึงถึงฤกษ์พระพนรัตนป่าแก้วให้ไว้ว่า ให้เข้าวันเสาร์ขึ้น ๑ ค่ำ ด่วนเข้าก่อนฤกษ์        
เจ้าพระยามหาเสนา ซึ่งได้รับพระบัญชา จากพระเจ้าอยู่หัวให้ติดตาม พระศรีศิลป์ ทราบเรื่องว่าพระศรีศิลป์ ยกเข้ามาทางประตูดังกล่าว จึงตามเข้า มาจัดการ พอเห็นช้างเผือกลงมาอาบน้ำเจ้าพระยามหาเสนา ก็นำ ช้างเผือก ออกมารบกับพระศรีศิลป์ ที่ถนนหน้าบางตราถูกร้องสำทับว่า "เจ้าพระยา มหาเสนาจะสู้เราหรือ"  เจ้าพระยาก็ตะโกนตอบ "พระราชกำหนดโทษ พระองค์ฉันใด โทษข้าพเจ้าฉันนั้น" ว่าแล้วก็ไสช้างเข้าชนกัน เจ้าพระยา มหาเสนามีอายุกว่า ไม่แคล่วคล่องว่องไวเหมือนพระศรีศิลป์ จึงถูกตีด้วยขอ ตกช้างลง เปิดทาง ให้พระศรีศิลป์รุกเข้าทางประตูเสาธงชัยเข้าพระราชวังได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทราบเรื่องการบุก พระราชวังของพระศรีศิลป์ โดย กะทันหันเช่นนั้นก็ทรงลงเรือพระที่นั่งหนีไป ทางขึ้นเกาะ มหาพราหมณ์ เปิดโอกาสให้พระศรีศิลป์ปลดปล่อย พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยา พิชัยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร กับ หมื่นไภยนรินทร์ พ้นจากที่คุมขัง รับอาวุธ ร่วม ก่อการล้มราชบัลลังก์ต่อไป    
พระราเมศวร พระมหหินทราธิราช ตั้งตัวตั้งสติได้ พร้อมด้วยเสนาบดีทั้งหลาย เข้ารบกับพระศรีศิลป์ กับ พวกที่รับการปลดปล่อยน่าสลดสังเวชใจ ครั้งนั้น ต้องล้มตายกันทั้งสองฝ่ายมากมายแต่จะด้วยการ "แหกฤกษ์" หรือชะตาถึง ฆาต หลังจากรอดตายมาแต่เยาว์วัยสองครั้งสามครา ทำให้พระศรีศิลป์ ต้อง ปืนตาย ส่วนห้าสมุนเพิ่งรับการช่วยออกมาไม่ทันไร ก็ถูกจับเรียบอีก เมื่อ ปราบกบฎเรียบร้อย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิฯ เสด็จคืนเข้าพระราชวัง  ทรง ชำระคดีกบฎครั้งนี้เมื่อทราบว่า พระพนรัตน ป่าแก้วเป็นผู้ให้ฤกษ์ พระศรีศิลป์ ก่อการกบฎ ก็โปรดให้นำตัวมาสอบถามพร้อมกับห้านักโทษเดิม     
เมื่อสอบได้ความเป็นสัตย์ไม่มีสิ่งที่เคลือบแคลง จึงทรงพิพากษาโทษให้ ประหารชีวิตพระพนรัตนป่าแก้ว พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรนฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร และหมื่นไภยนรินทร์ แล้วให้นำศพเสียบ ประจานไว้ ณ ตะแลงแกง กับศพพระศรีศิลป์ที่ต้องปืนตายในที่รบ นอกจากนี้เมียน้อยขุนนางโจทก์ว่า ผัวเข้าด้วยพระศรีศิลป์ และ คอยรับ พระศรีศิลป์เข้าเมืองโค่นบัลลังก์ นำตัวมาสอบต่างรับเป็นสัตย์ ก็โปรดให้ ประหารเสียเป็นอันมากปราบเสี้ยนหนามแผ่นดินแล้ว เกิดศุภนิมิตดีซ้อนกัน คือศักราช ๙๐๗ ปีมะเส็ง สัปตศก(พ.ศ. ๒๐๘๘  )สมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จ ไปวังช้างตำบลไทรย้อยได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ ศอกสิบนิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อ พระรัตนากาศ ลุศักราช ๙๐๘  ปีมะเมีย อัฐศก(พ.ศ. ๒๐๘๙) เสด็จไปวังช้าง ป่าเพชรบุรีได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ศอกเศษ ให้ชื่อพระแก้วทรงมาศ และใน เดือนสิบปีมะเมียนั้น เสด็จไป ได้ช้างเผือก ตำบลป่ามหาโพธิ์ทั้งลูกทั้งแม่ ก็ เผือก
ปีต่อมาศักราช ๙๐๙ ปีมะแม นพศก(พ.ศ. ๒๐๙๐) เสด็จไปได้ ช้างป่าทะเล ชุบศร เป็นเผือกพลายสูงสี่ศอกห้านิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อพระบรมไกรสร พอเดือน อ้าย ปลายปีก็ได้ช้างเผือกพลายที่ตำบลป่าน้ำทรงสูงสี่ศอกคืบให้ชื่อ พระสุริยกุญชร ในรัชสมัยนั้นทรงได้ ช้างเผือกพลายพังถึง ๗  ช้าง พระเกียรติยศ ปรากฎไปในนานาประเทศทั้งปวง กระทั่งได้รับพระราชสมัญญา ใหม่ว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือก  เมื่อข่าวร่ำลือถึงกรุงหงสาวดีว่า พระนคร ศรีอยุธยามีช้างเผือกถึง ๗ ช้าง สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็มีพระทัยใคร่ได้สัก ๒ ช้าง นี่เองเป็นต้นเหตุว่า จะ เสียช้างหรือเสียเมือง