Thursday 31 May 2012

พระพุทธศาสนา กรรม นรก สวรรค์

พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (อังกฤษ: Buddhism, จีน: 佛教, บาลี: buddhasāsana, สันสกฤต: buddhaśāsana) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มี พระสงฆ์ หรือสังฆะแห่งพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย1ขอนอบน้อมเคารพ สุดจิตสุดใจต่อพระมหาศาสดาแห่งเราชาวพุทธ พระพุทธองค์ผู้บริสุทธิ์จากกิเลสและบาปทั้งมวล ผู้ปิดเผยพระธรรม ผู้อนุเคราะห์โลกด้วยธรรม และกำเนิดพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลและสมาธิและปัญญา เพื่ออนุเคราะห์โลก และมนุษย์ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด พระศาสดาของศาสนาพุทธคือพระโคตมพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกจนมีการรวบรวมขึ้น เป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของ นิกายเถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป[6] ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธแนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ นิกายมหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง บ้างก็จัดว่า วัชรยาน เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่การจัดมากกว่านั้นก็มีหลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก ประมาณ 700 ล้านคนด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล องค์ประกอบ-สิ่งเคารพสูงสุดพระรัตนตรัย คือสรณะที่พึ่งอันประเสริฐในศาสนาพุทธ สรณะ หมายถึง สิ่งที่ให้ศาสนิกชนถือเอาเป็นแบบอย่าง หรือให้เอาเป็นตัวอย่าง แต่มิได้หมายความว่าเมื่อเคารพแล้วจะดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการได้ พระรัตนตรัยนั้นประกอบด้วยองค์สาม ได้แก่ 1.พระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่บำเพ็ญสั่งสมบารมีมาหลายภพชาติ จนชาติสุดท้ายเกิดเป็นมนุษย์แล้วอาศัยความเพียรพยายามและสติปัญญาปฏิบัติจนได้บรรลุสิ่งที่ต้องการคือธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ มิใช่บรรลุได้ด้วยการดลบันดาลของเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใด ๆ แล้วชี้แนะหรือชี้ทางให้คนอื่นทำตาม 2.พระธรรม คือ คำสอนว่าด้วยธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทำให้พ้นทุกข์ และเป็นเครื่องมือนำออกจากทุกข์ 3.พระสงฆ์ คือหมู่ชนหรือชุมชนของพระสาวกไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ทำตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้าแล้ว ประสบผลสำเร็จพ้นทุกข์ตามพระพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นศากยะและเมื่อพระชนมายุ 16 ชันษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษา ทรงมีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล ในปีเดียวกัน พระองค์ทอดพระเนตรเทวทูตทั้งสี่ จึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นอันนำไปสู่การบรรลุความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที[17] และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณคือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 ชันษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือจวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พระชันษา ณ สาลวโนทยาน (ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6)

24 comments:

  1. คัมภีร์/หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา ในยุคก่อนจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีท่องจำ (มุขปาฐะ) โดยใช้วิธีการแบ่งให้สงฆ์หลาย ๆ กลุ่มรับผิดชอบท่องจำในแต่ละเล่ม เป็นเครื่องมือช่วยในการรักษาความถูกต้องของหลักคำสอน จนได้มีการบันทึกพระธรรมและพระวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นภาษาบาลี รักษาไว้ในคัมภีร์เรียกว่า "พระไตรปิฎก" ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่
    1.วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
    2.สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมทั่วไป และเรื่องราวต่าง ๆ
    3.อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่เป็นปรมัตถ์ธรรม หรือธรรมะที่แสดงถึงสภาวะล้วน ๆ ไม่มีการสมมุติ
    ผู้สืบทอดในทางศาสนาพุทธ ได้แก่ พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ ร่วมกันศึกษา และร่วมกัน ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษา ปฏิบัติตามคำสอน (ธรรม) และคำสั่ง (วินัย) และมีหน้าที่เผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศชาย และ พระภิกษุณีสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศหญิง สำหรับผู้บวชที่ตั้งแต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ 20 ปี จะเรียกว่าเป็น สามเณร สำหรับเด็กชาย และ สามเณรีและสิกขมานา (สามเณรีที่ต้องไม่ผิดศีล 6 ข้อตลอด 2 ปี) สำหรับเด็กหญิง ลักษณะการบวชสำหรับภิกษุหรือภิกษุณี จะเรียกเป็นการอุปสมบท สำหรับสามเณรหรือสามเณรีและสิกขมานา จะเรียกเป็นการ บรรพชา ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่า "ฆราวาส" หรืออุบาสก ในกรณีที่เป็นเพศชาย และอุบาสิกา ในกรณีที่เป็นเพศหญิง หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ พระโกณฑัญญะบรรลุเป็นพระโสดาบัน และกราบทูลขอบวช นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ในสมัยพุทธกาล พระองค์ได้เสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามที่ต่าง ๆ ในชมพูทวีปเป็นเวลานานกว่า 45 พรรษา จนกระทั่งปรินิพพาน
    ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 นี้เองที่พระพุทธศาสนาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกายและในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยสลับกัน เนื่องจากการส่งเสริมของผู้มีอำนาจปกครองในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาพรวมแล้ว พุทธศาสนาในอินเดียเริ่มอ่อนแอลงหลังพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา โดยศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในเอเชียกลาง จีน เกาหลี ในขณะที่ศาสนาพุทธได้เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในญี่ปุ่น และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 25 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น และได้มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อ "องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก"ศาสนาพุทธสอนว่า การเกิด แก่ เจ็บ และตาย ล้วนเป็นทุกข์ เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีจริง และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎแห่งธรรมชาติ 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) มีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่าง ๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือกฎสมตา (ปรับสมดุล) กฎวัฏฏตา (หมุนวนเวียน) และกฎชีวิตา (มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน) ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ รวมทั้งกฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) คือนามธาตุที่กลายเป็น ธรรมธาตุ 7 ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) กฎไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ทำให้มีการสร้าง ดำรงรักษาอยู่ และทำลายไปของทุกสรรพสิ่งเมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    วัฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ คือภพภูมิที่มนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดขึ้นมาในตามหลักของพุทธศาสนาซึ่งบัญญัติไว้ว่ามีทั้งสิ้น 31 ภูมิด้วยกัน
    สังสาร หรือ สงสาร แปลว่า ความท่องเที่ยวไป ในทางพุทธศาสนาหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด มิใช่หมายถึงความรู้สึกหวั่นไหวด้วยความกรุณาเมื่อเห็นผู้อื่น
    สังสารวัฏ แปลว่า ความท่องเที่ยวไปในอาการที่เป็นวัฏฏะ การหมุนวนอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฏสงสาร
    สงสารวัฏ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ของสัตว์โลกด้วยอำนาจกิเลส กรรม วิบาก หมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรรม วิบากไม่ได้

    ReplyDelete
  2. นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (บาลี: नरक, naraka; สันสกฤต: नरक, naraka; จีน: 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; ญี่ปุ่น: 地獄, จิโกะกุ; พม่า: ?????, งาเย; มาเลย์: neraka /เนอรากา/) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามพุทธศาสนาเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษตามคำพิพากษาของมัจจุราช มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น นิรยะ ยมโลก มฤตยูโลก พญายมราช ฯลฯ
    ตามไตรภูมิกถาแล้ว นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภพ" หรือ "ไตรภูมิ"นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี
    ในไตรภูมิ นรกเป็นดินแดนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ชมพูทวีปหรือมนุษยโลกลงไป และมีแปดชั้นหรือที่เรียกว่า "ขุม" สำหรับลงทัณฑ์ต่าง ๆ แก่สัตว์บาปที่ไปเกิดประกอบไปด้วยมหานรก 8 ขุม ยมโลกนรก 320 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆ ละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม และ อุสสทนรก 128 ขุม อยู่รอบๆ 4 ทิศ ๆ ละ 4 ของมหานรกแต่ละขุม ( เมื่อลงนรกไปจะมีบ่อน้ำเพื่อส่องดูกรรมที่ตนได้กระทำไว้และผู้คุมกฏเหล่านั้นจะพาไป ณ ขุมนรกต่าง ๆ )รายละเอียดของนรกแต่ละแบบได้แก่ มหานรกแปดขุม ไตรภูมิกถาว่า นรกแบ่งออกเป็นแปดขุมใหญ่ ขุมใหญ่นี้ยังแบ่งออกเป็นขุมย่อยหรือที่เรียกว่า "นรกบริวาร" อีกขุมละสิบหกขุมย่อย ขุมใหญ่ทั้งแปดได้แก่

    ReplyDelete
  3. 1. สัญชีวนรก ("นรกแห่งการเกิดอีกหน") : นรกขุมนี้มีผนังทำจากเหล็กร้อนกั้นรอบด้าน มองไปไม่เห็นขอบ มีอาณาเขตไพศาลยิ่งนัก และทั่วบริเวณมีไฟลุกโชนหาที่ว่างเว้นมิได้เลย ในไฟนรกนี้ปรากฏอาวุธต่าง ๆ เช่น หอก ดาบ มีด สัตว์ในขุมนี้จะวิ่งพล่านอยู่บนไฟนรกดังกล่าว เมื่อวิ่งแล้วก็กระทบกับอาวุธเหล่านั้นได้รับบาดเจ็บเป็นนักหนา เมื่อถึงแก่ชีวิตก็ดี หรืออวัยวะขาดไปก็ดี ร่างกายจะกลับมามีพลานามัยสมบูรณ์อีกครั้ง เพื่อให้รับโทษในขุมนี้จนกว่าจะสิ้นโทษสัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาสี่พันห้าร้อยล้าน (4,500,000,000) ปีมนุษย์ หรือห้าร้อยปีนรก
    เหตุที่ทำให้ไปตกในนรกใหญ่ขุมนี้ คือ บาป หรือ อกุศลกรรมที่สัตว์นรกเหล่านั้นกระทำไว้ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ คือ ได้ฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ ใหได้รับทุกขเวทนาด้วยตนเองบ้าง มอบอาวุธให้คนอื่นทำแทนตนบ้าง เป็นโจรปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์บ้าง บางคนเป็นข้าราชการมีตำแหน่งใหญ่โต แต่ขาดความยุติธรรม กดขี่ข่มเหงชาวบ้าน ใช้หน้าที่โดยมิชอบ โกงเอาเรือกสวนไร่นาของชาวบ้านบ้าง หรือตลอดจนถึงโกงที่ดินวัด หรือกลั่นแกล้งสั่งย้ายข้าราชการผู้น้อย โดยไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้อื่นพลัดพรากจากที่อยู่ที่ทำกิน บาปกรรมเหล่านี้เป็นต้นที่ส่งผลให้เขาต้องไปตกนรกในสัญชีวนรก
    2. กาฬสุตนรก ("นรกด้ายดำ") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่แล้วคือ สัตว์ในขุมนี้จะถูกตีเส้นบนเนื้อตัวโดยนายนิรยบาลด้วยการนำเส้นเหล็กเผาไฟมานาบเป็นลายบนตัว และจะถูกผ่า เลื่อย หรือตัดตามเส้นนั้น สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาสามหมื่นหกพันล้าน (36,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือหนึ่งพันปีนรก

    3. สังฆาฏนรก ("นรกตีกระทบ") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่แล้วคือ นรกนี้จะห้อมล้อมไปด้วยภูเขาเหล็กลูกมหึมามีไฟลุกท่วมคอยกลิ้งเข้ากระทบกระแทกสัตว์นรกจนเหลวเป็นวุ้นเลือด ผู้วิ่งหนีมิเข้าไปในระหว่างเขานี้จะถูกนายนิรยบาลไล่แทงไล่ฟันเป็นต้น เมื่อตายแล้วก็กลับเป็นปรกติเพื่อรับโทษอีกครั้งหมือนในขุมก่อน ๆ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาสองแสนเก้าหมื่นล้าน (290,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือสองพันปีนรก
    4. โรรุวนรก ("นรกแห่งเสียงหวีดร้อง") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่แล้วคือ ใจกลางขุมมีเหล่าดอกบัวกลีบเป็นเหล็กมีไฟลุกโชน สัตว์นรกจะถูกกรรมดลใจให้ดำผุดลงไปในดอกบัวเหล่านั้น กลีบบัวก็จะงับอวัยวะต่าง ๆ เช่น ศีรษะ แขน และขา เป็นต้น เมื่องับไว้แล้วก็ไม่ปล่อย ไฟจากบัวก็จะเผาผลาญสัตว์นั้นสัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาเก้าแสนสามหมื่นหกพันล้าน (936,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือสี่พันปีนรก

    ReplyDelete
  4. 5. มหาโรรุวนรก ("นรกแห่งเสียงหวีดร้องอย่างหนัก") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่แล้วคือ เหล่าบัวมิได้มีแต่ในกลางขุม แต่ขึ้นอยู่ทั่วไป และกลีบบัวนั้นเป็นกรด ช่องว่างที่บัวมิได้งอกจะมีอาวุธลุกเป็นไฟ เช่น แหลน หลาว หอก เป็นต้น งอกขึ้นมาแทน บัวจะไม่งับสัตว์นรกไว้แน่นนักเพื่อให้ดิ้นพร่านไปถูกอาวุธที่งอกขึ้น เมื่อดิ้นไปมาจนตกลงสู่พื้นแล้วจะมีสุนัขร้ายเข้ามากัดทึ้งจนเหลือแต่กระดูก และกลับมาสมบูรณ์เพื่อรับโทษใหม่อีกจนกว่าจะหมดโทษเหมือนในนรกที่แล้ว ๆ มา สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาเจ็ดหมื่นสามพันล้านเจ็ดแสนสองหมื่นแปดพันล้านล้าน (73,000,728,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือแปดพันปีนรก
    6. ตาปนรก ("นรกแห่งความร้อน") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่แล้วคือ นรกนี้มีไฟลุกท่วม ในไฟมีอาวุธ เช่น หอก แหลน หลาว เป็นต้น คอยพุ่งเข้าทิ่มแทงสัตว์นรกขึ้นตั้งไว้ย่างไฟ เมื่อเนื้อหนังมังสาของสัตว์นั้นกรอบหลุดร่วงลงมาจะยังให้สัตว์นั้นร่วงลงมาด้วย ครั้นร่วงแล้วจะถูกสุนัขขนาดใหญ่เท่าช้างวิ่งเข้ามากัดทึ้งจนเหลือแต่กระดูก สัตว์ใดหนีสุนัขได้จะถูกนายนิรยาลจับทิ่มหอกแล้วตั้งขึ้นย่างอีกครั้ง และเช่นเดิม เมื่อตายแล้วจะลับมาสมบูรณ์เพื่อรับโทษใหม่อีกจนกว่าจะหมดโทษ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลา สองพันเก้าร้อยสี่สิบเจ็ดล้านสามแสนเก้าหมื่นสองพันล้านล้านปีมนุษย์ (2,947,392,000,000,000) หรือหนึ่งหมื่นหกพันปีนรก
    7. มหาตาปนรก ("นรกแห่งความร้อนอย่างหนัก") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่แล้วคือ ไฟนรกนั้นจะพุ่งซัดเข้ามาจากกำแพงนรกรอบด้าน และใจกลางนรกก็จะมีภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟ เมื่อสัตว์นรกหนีไฟที่พุ่งมาโดยปีนขึ้นไปบนเขาก็จะถูกย่างสด และเมื่อร่วงลงมาก็จะถูกอาวุธร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นเสียบตัวตั้งไว้ย่างไฟอีกเหมือนนรกขุมที่แล้ว สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาครึ่งกัลป์หรือคือเวลาอันประมาณมิได้
    8. อเวจีมหานรก ("นรกอันมิขาดสาย") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่แล้วคือ นรกขุมนี้มีกำแพงหกด้านอยู่ขุมเดียว โดยสัตว์นรกจะเคลื่อนไหวร่างกายมิได้เลยเพราะถูกอาวุธร้อนตรึงไว้กับพื้นหมดในท่ายืนกางแขนและขา โดยมีไฟลุกท่วมย่างสัตว์นั้น นอกจากนี่ยังมีเตาเผาใหญ่ นายนิรยบาลจะจับสัตว์โยนลงไปย่างในเตานั้นด้วย สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาหนึ่งกัลป์หรือคือเวลาอันประมาณมิได้

    ReplyDelete
  5. ยมโลกนรก 320 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆ ละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม
    โลหกุมภีนรก เป็นหม้อเหล็กขนาดใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำแสบร้อนเดือดพล่านตลอดเวลา สัตว์ที่เกิดต้องรับทุกข์ทั้งแสบทั้งร้อน เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ถูกต้มเคี้ยวในหม้อเหล็กนรกนั้นจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วที่ตนได้ทำมา บุพกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆ มาต้มในหม้อน้ำร้อน แล้วเอามากินเป็นอาหาร สิมพลีนรก เต็มไปด้วยป่างิ้วนรก มีหนามแหลมคมเป็นกรดยาวประมาณ 36 องคุลี ลุกเป็นเปลวไฟแรงอยู่เสมอ สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกข์ทรมานจนสิ้นกรรมชั่วของตน บุพกรรม เช่น คบชู้สู่สาว ผิดศีลธรรมประเพณี ชายเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น หญิงเป็นชู้สามีของผู้อื่น หรือชายหญิงที่มีภรรยาหรือสามีประพฤตินอกใจไปสู่หาเป็นชู้กับผู้อื่นมักมากในกามคุณ อสินขะนรก สัตว์นรกที่เกิดมามีรูปร่างแปลกพิกล เช่น เล็บมือเล็บเท้าแหลมยาว กลับกลายเป็นอาวุธ หอก ดาบ จอบ เสียม สัตว์นรกเหล่านี้เหมือนคนบ้าวิกลจริต บ้างนั่ง บ้างยืน เอาเล็บมือถากตะกุยเนื้อหนังของตนกินเป็นอาหารตลอดเวลา จนกว่าจะสิ้นกรรม บุพกรรม เช่น เมื่อเป็นมนุษย์ชอบลักเล็กขโมยน้อยขโมยของในสถานที่สาธารณะและของที่เขาถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตามโพทะนรก มีหม้อเหล็กต้มน้ำทองแดงปนด้วยหินกรวด ร้อนระอุตลอดเวลา สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกข์ โดยการถูกกรอกด้วยน้ำทองแดง และกรวดหินเข้าไปทางปาก จนกว่าจะสิ้นกรรม บุพกรรม ด้วยผลกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนๆ เป็นคนใจอ่อน มัวเมาประมาท ดื่มกินสุราเมรัย แสดงอาการคล้ายค้นบ้าเป็นเนืองนิจ
    อโยคุฬะนรก เต็มไปด้วยก้อนเหล็กแดงเกลื่อนกลาดไปหมด อกุศลกรรมบันดาลสัตว์นรกที่มาเกิดเห็นก้อนเหล็กแดงเป็นอาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้วเหล็กแดงนั้นก็เผาไหม้ไส้พุง ได้รับทุกขเวทนาจนกว่าจะสิ้นกรรม บุพกรรม เช่น แสดงตนว่า เป็นคนใจบุญใจกุศล เรี่ยไรทรัพย์ ว่าจะนำไปทำบุญสร้างกุศล แต่กลับยักยอกเงินทำบุญของผู้อื่นมาเป็นของตน การกุศลทำบ้างไม่ทำบ้างตามที่อ้างไว้ หลอกลวงผู้อื่น
    ปิสสกปัพพตะนรก มีภูเขาใหญ่ 4 ทิศ เคลื่อนที่ได้ไม่หยุดหย่อน กลิ้งไปมาบดขยี้สัตว์นรกที่มาเกิดให้บี้แบนกระดูกแตกป่นละเอียดจนตายแล้วฟื้นขึ้นมาอีกถูกบดขยี้อีกจนตายเรื่อยไปจนสิ้นกรรมของตน บุพกรรม เช่น เคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ประพฤติตนเป็นคนอันธพาล กดขี่ข่มเหงราษฎร ทำร้ายร่างกายเอาทรัพย์เขามาให้เกินพิกัดอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่มีความกรุณาแก่คนทั้งหลาย
    ธุสะนรก สัตว์นรกที่มาเกิดมีความกระหายน้ำมาก เมื่อพบสระมีน้ำใสสะอาดก็ดื่มกินเข้าไป อำนาจของกรรมบันดาล ให้น้ำนั้นกลายเป็นแกลบ เป็นข้าวลีบลุกเป็นไฟเผาไหม้ท้องและลำไส้ เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส จากกรรมชั่วที่ทำมา บุพกรรม เช่น คดโกง ไม่มีความซื่อสัตย์ ปนปลอมแปลงอาหารและเครื่องใช้แล้วหลอกขายผู้อื่นได้ทรัพย์สินเงินทองมาโดยมิชอบ
    สีตโลสิตะนรก เต็มไปด้วยน้ำเย็นยะเยือก เมื่อสัตว์นรกที่มาเกิดตกลงไปก็จะตายฟื้นขึ้นมาก็ถูกจับโยนลงไปอีกเรื่อยไปจนสิ้นกรรมชั่วของตน บุพกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆ โยนลงในบ่อ ในเหว ในสระน้ำ หรือมัดสัตว์เป็นๆ ทิ้งน้ำให้จมน้ำตาย หรือทำให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้รับความทุกข์
    สุนขะนรก เต็มไปด้วยสุนัขนรก ซึ่งมี 5 พวกคือ หมานรกดำ หมานรกเหลือง หมานรกแดง หมานรกต่างๆ และยังมีฝูงแร้งกา นกตะกรุม สัตว์นรกที่เกิดจะถูกสุนัข แร้ง กา ไล่ขบกัด ตรงลูกตา ปากและส่วนต่างๆ ได้รับทุกขเวทนาจากผลกรรมชั่วทางวจีทุจริต บุพกรรม คือ ด่าว่าบิดามารดา ปู่ย่าตายาย พี่ชายพี่สาวและญาติทั้งหลายไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็น ผู้เฒ่าผู้แก่ ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์สามเณร
    ยันตปาสาณะนรก มีภูเขาประหลาด 2 ลูก เคลื่อนกระทบกันตลอดเวลา สัตว์นรกที่มาเกิดจะถูกภูเขาบีบกระแทก ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ตายแล้วก็กลับเป็นขึ้นมา จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน บุพกรรม เช่น เป็นหญิงชายใจบาปหยาบช้า ด่าตีคู่ครองด้วยความโกรธ แล้วหันเหประพฤตินอกใจไปคบชู้เป็นสามีภรรยากับคนอื่นตามใจชอบ
    อุสสทนรก คูถนรก สัตว์นรก ที่มาเกิดได้รับทุกขเวทนาอยู่ในนรกอุจจาระเน่า โดยถูกหนอนกัดกินทั้งเนื้อและกระดูกตลอดจนอวัยวะภายในทั้งหมด จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน

    ReplyDelete
  6. กุกกุฬนรก สัตว์นรกที่มาเกิดได้รับทุกขเวทนา โดยถูกเผาด้วยขี้เถ้าร้อนระอุ ร่างกายไหม้ยับย่อยละเอียดเป็นจุณ จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
    สิมปลิวนนรก สัตว์นรกที่ยังมีเศษอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้นจากนรกขี้เถ้าร้อนแล้วก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์จากนรกป่าไม้งิ้วต่อไปจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
    อสิปัตตวนนรก สัตว์นรกที่มาเกิดได้รับทุกข์จากป่าไม้ใบดาบ เช่น ใบมะม่วงซึ่งกลายเป็นหอกดาบ และมีสุนัข แร้งคอยทรมานขบกัดกินเลือดเนื้อจนกว่าจะสิ้นกรรม
    เวตรณีนรก สัตว์นรกที่มาเกิดได้รับทุกข์จากน้ำเค็มแสบ ที่มีเครื่องหวายหนามเหล็ก ใบกลีบบัวหลวงเหล็ก ตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งคมเป็นกรด มีเปลวไฟลุกโชนตลอดเวลาจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
    โลกันตนรก เป็นนรกขุมใหญ่ อยู่นอกจักรวาล มืดมนไม่มีแสง มองไม่เห็นอะไรเลยและเต็มไปด้วยทะเลน้ำกรดเย็น ที่ตั้งอยู่ระหว่างโลกจักรวาล 3 โลก เหมือนกับวงกลม 3 วงติดกัน บริเวณช่องว่างของวงทั้ง 3 สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกขเวทนาเป็นเวลา 1 พุทธันดร จากผลกรรมชั่ว เช่น ทรมานประทุษร้ายต่อบิดามารดา และผู้ทรงศีล ทรงธรรมหรือทำปาณาติบาต เป็นอาจิณ ฆ่าตัวตาย เป็นต้น
    นรกภูมิตามความเชื่อทางศาสนา ประกอบด้วยมหานรก เป็นนรกขุมหลัก มี 8 ขุม แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 15,000 โยชน์จากนั้นจะมี ยมโลกนรก 320 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆ ละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม อุสสทนรก 128 ขุม อยู่รอบๆ 4 ทิศ ๆ ละ 4 ของมหานรกแต่ละขุม และนรกขุมที่ลึกที่สุดเรียกว่าโลกันตนรก เป็นนรกขุมใหญ่ อยู่นอกจักรวาล มืดมนไม่มีแสง มองไม่เห็นอะไรเลยและเต็มไปด้วยทะเลน้ำกรดเย็น ที่ตั้งอยู่ระหว่างโลกจักรวาล 3 โลก เหมือนกับวงกลม 3 วงติดกัน บริเวณช่องว่างของวงทั้ง 3 สัตว์นรกที่มาเกิดต้องรับทุกขเวทนาเป็นเวลา 1 พุทธันดร จากผลกรรมชั่ว เช่น ทรมานประทุษร้ายต่อบิดามารดา และผู้ทรงศีลทรงธรรมหรือทำปาณาติบาต เป็นอาจิณ ฆ่าตัวตาย เป็นต้น
    มหานรก 8 ขุม ประกอบด้วย
    1.สัญชีวนรก นรกที่สัตว์นรกอายุ 500 ปีอายุกัป (1 วันนรกเท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์) สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ มีจิตใจที่อำมหิต ไร้มนุษยธรรม ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ปราณีเบียดเบียน ประทุษร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์
    2.กาฬสุตตนรก นรกที่ลงโทษด้วยเส้นเชือกสีดำ แล้วก็ถากหรือตัดด้วยเครื่องประหาร อายุ 1,000 ปี อายุกัป (1 วันนรกเท่ากับ 36 ล้านปีมนุษย์) สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ เป็นคนโหดร้าย มีใจบาป จับเอาสัตว์สี่เท้ามาแล้วตัด เท้าหน้า, เท้าหลัง, หู, จมูก, ปาก ทำให้สัตว์ลำบากทุกข์ทรมานหรือเผาป่าหรือเคยประทุษร้ายต่อบุพการีผู้บังเกิดเกล้า บิดา มารดา ครู ผู้มีพระคุณ
    3.สังฆาฏนรก นรกที่มีภูเขาเหล็กใหญ่มีไฟลุกโพลงบดขยี้สัตว์นรก อายุ 2,000 ปีอายุกัป (1 วันนรกเท่ากับ 145 ล้านปีมนุษย์) สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ มีใจบาปหยาบช้าด้วยอกุศลกรรม ไร้ความเมตตากรุณา ทารุณกรรมสัตว์ ฆ่าสัตว์เป็นประจำ
    4.โรรุวนนรก นรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ครวญครางดังของสัตว์นรกที่ถูกควันไฟอบอ้าว อายุ 4,000 ปีอายุกัป (1 วันนรกเท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์) สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ มีใจบาปหยาบช้าจับเอาสัตว์เป็น ๆ มาเผาหรือปิ้งให้สุกแล้วกินอาหารอยู่เนืองนิตย์ บางคนเคยเป็นตุลาการพิพากษาความยุติธรรม ด้วยอำนาจ โลภโกรธ หลง เห็นแก่สินจ้าง บางคนเป็นบุคคลที่โลภมาก รุกบ้านเรือกสวนไร่นาของผู้อื่นมาเป็นของตน บางคนเคยคบหาภรรยาของคนอื่น แล้วฆ่าสามีของเขาเพื่อเอาภรรยามาเป็นของตน บางคนเคยคบหาสามีของคนอื่น แล้วฆ่าภรรยาของเขาเพื่อเอาสามีมาเป็นของตน บางคนขโมยสิ่งของที่เขานำมาถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นของตน

    ReplyDelete
  7. 5.มหาโรรุวนรก นรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ครวญครางดังกว่าโรรุวนรก อายุ 8,000 ปีอายุกัป (1 วันนรกเท่ากับ 2,304 ล้านปีมนุษย์) สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ มีใจบาป โหดร้ายอำมหิต ตัดศีรษะมนุษย์หรือสัตว์
    6.ตาปนนรก นรกที่ทำให้สัตว์เร่าร้อน ด้วยการให้นั่งตรึงติดอยู่ในหลาวเหล็กอันร้อนแดง แล้วให้ไฟไหม้อยู่ อายุ 16,000 ปีอายุกัป (1 วันนรก 9,216 ล้านปีมนุษย์) สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ มีใจบาป เช่น เป็นนายพรานประหารสัตว์ ทิ่มแทงด้วยหอกหลาวแล้วเอาเนื้อมากิน
    7.มหาตาปนนรก นรกที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อนอย่างมากมายเหลือประมาณ อายุ ครึ่งอันตรกัปของมนุษย์ สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ ประหารคนหรือสัตว์ให้ตายเป็นหมู่
    8.อเวจีนรก นรกที่ปราศจากคลื่นคือความบางเบาแห่งความความทุกข์ อายุ ประมาณ 1 อันตรกัปของมนุษย์ สาเหตุที่ตกขุมนี้ คือ ฆ่าบิดาให้ตายหรือใช้ให้คนอื่นฆ่า , ฆ่ามารดาให้ตายหรือใช้ให้คนอื่นฆ่า , ฆ่าพระอรหันต์ให้ตายหรือใช้ให้คนอื่นฆ่า , ทำร้ายพระพุทธเจ้า , ยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน
    ยมโลกนรก ประกอบด้วย
    1.โลหกุมภีนรก เป็นหม้อเหล็กขนาดใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำแสบร้อนเดือดพล่านตลอดเวลา สัตว์นรกถูกต้มเคี่ยวในหม้อเหล็กนรกนั้นจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วที่ตนได้ทำมา
    2.สิมพลีนรก เต็มไปด้วยป่างิ้วนรก มีหนามแหลมคมเป็นกรดลุกเป็นเปลวไฟอยู่เสมอ สัตว์นรกที่มาเกิดต้องปีนป่ายต้นงิ้ว
    3.อสินขะนรก สัตว์นรกที่เกิดมามีรูปร่างแปลกพิกล เช่น เล็บมือเล็บเท้าแหลมยาว กลับกลายเป็นอาวุธ หอก ดาบ จอบ เสียม เอาเล็บมือถากตะกุยเนื้อหนังของตนกินเป็นอาหารตลอดเวลา
    4.ตามโพทะนรก มีหม้อเหล็กต้มน้ำทองแดงปนด้วยหินกรวด ร้อนระอุตลอดเวลา สัตว์นรกโดยการถูกกรอกด้วยน้ำทองแดง และกรวดหินเข้าไปทางปาก
    5.อโยคุฬะนรก เต็มไปด้วยก้อนเหล็กแดงเกลื่อนกลาดไปหมด สัตว์นรกเห็นก้อนเหล็กแดงเป็นอาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้วเหล็กแดงนั้นก็เผาไหม้ไส้พุง
    6.ปิสสกปัพพตะนรก มีภูเขาใหญ่ 4 ทิศ เคลื่อนที่ได้ไม่หยุดหย่อน กลิ้งไปมาบดขยี้สัตว์นรกที่มาเกิดให้บี้แบนกระดูกแตกป่นละเอียดจนตายแล้วฟื้นขึ้นมาอีกถูกบดขยี้อีกจนตายเรื่อยไป
    7.ธุสะนรก สัตว์นรกที่มาเกิดมีความกระหายน้ำมาก เมื่อพบสระมีน้ำใสสะอาดก็ดื่มกินเข้าไป น้ำนั้นกลายเป็นแกลบ เป็นข้าวลีบลุกเป็นไฟเผาไหม้ท้องและลำไส้
    8.สีตโลสิตะนรก เต็มไปด้วยน้ำเย็นยะเยือก เมื่อสัตว์นรกที่มาเกิดตกลงไปก็จะตายฟื้นขึ้นมาก็ถูกจับโยนลงไปอีกเรื่อยไป
    9.สุนขะนรก เต็มไปด้วยสุนัขนรก และยังมีฝูงแร้งกา นกตะกรุม สัตว์นรกที่เกิดจะถูกสุนัข แร้ง กา ไล่ขบกัด ตรงลูกตา ปากและส่วนต่างๆ
    10.ยันตปาสาณะนรก มีภูเขาประหลาด 2 ลูก เคลื่อนกระทบกันตลอดเวลา สัตว์นรกที่มาเกิดจะถูกภูเขาบีบกระแทก ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ตายแล้วก็กลับเป็นขึ้นมา

    ReplyDelete
  8. อุสสทนรก ประกอบด้วย
    1.คูถนรก สัตว์นรก อยู่ในนรกอุจจาระเน่า ถูกหนอนกัดกินทั้งเนื้อและกระดูกตลอดจนอวัยวะภายในทั้งหมด จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
    2.กุกกุฬนรก สัตว์นรกถูกเผาด้วยขี้เถ้าร้อนระอุ ร่างกายไหม้ยับย่อยละเอียดเป็นจุณ จนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
    3.สิมปลิวนนรก สัตว์นรกที่ยังมีเศษอกุศลกรรมเหลืออยู่ เมื่อพ้นจากนรกขี้เถ้าร้อนแล้วต้องเสวยทุกข์จากนรกป่าไม้งิ้วต่อไปจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่ว
    4.อสิปัตตวนนรก สัตว์นรกที่มาเกิดได้รับทุกข์จากป่าไม้ใบดาบ เช่น ใบมะม่วงซึ่งกลายเป็นหอกดาบ และมีสุนัข แร้งคอยทรมานขบกัดกินเลือดเนื้อจนกว่าจะสิ้นกรรม
    5.เวตรณีนรก สัตว์นรกที่มาเกิดได้รับทุกข์จากน้ำเค็มแสบ ที่มีเครื่องหวายหนามเหล็ก ใบกลีบบัวหลวงเหล็ก ตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งคมเป็นกรด มีเปลวไฟลุกโชนตลอดเวลาจนกว่าจะสิ้นกรรมชั่วของตน
    ติรัจฉานภูมิ (โลกเดรัจฉานอยู่ในโลกมนุษย์) สัตว์เดรัจฉาน โลกของสัตว์ที่มีความยินดีในเหตุ 3 ประการ คือ การกิน การนอน การสืบพันธ์ แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ อปทติรัจฉาน (ไม่มีเท้า ไม่มีขา) เช่น งู ปลา ไส้เดือน ฯลฯ ทวิปทติรัจฉาน (มี 2 ขา) เช่น นก ไก่ ฯลฯ จตุปทติรัจฉาน (มี 4 ขา) เช่น วัว ควาย ฯลฯ
    พหุปทติรัจฉาน (มีมากกว่า 4 ขา) เช่น ตะขาบ กิ้งกือ ฯลฯ อายุ ไม่แน่นอน แล้วแต่กรรมที่นำไปเกิดในสัตว์ประเภทต่างๆ ตามอายุขัยของสัตว์ประเภทนั้นๆ บุพกรรมเป็นมนุษย์จิตไม่บริสุทธิ์ ประพฤติอกุศลกรรมอันหยาบช้าลามกทั้งหลาย หรือเพราะอำนาจของเศษบาปอกุศลกรรมที่ตนทำไว้ให้ผล หรือเป็นเพราะเมื่อเป็นมนุษย์ ไม่ได้ก่อกรรมทำชั่วอะไร แต่เวลาใกล้จะตายจิตประกอบด้วยโมหะ หลงผิด ขาดสติ ไม่มีสรณะเป็นที่พึ่งจะยึดให้มั่นคง คตินิมิต นิมิตที่ชี้บอกถึงโลกเดรัจฉานที่ตนจะไป เช่น เห็นเป็นทุ่งหญ้า ป่าไม้ ดงหญ้า เชิงเขา ชายน้ำ แม่น้ำกอไผ่ และภูเขา เป็นต้น บางทีเห็นเป็นรูปสัตว์ทั้งหลาย เช่น ช้าง เสือ วัว ควาย หมูหมา เป็ด ไก่ แร้ง กา เหี้ย นก หนู จิ้งจก ฯลฯ หากภาพเหล่านี้มาปรากฏทางใจแล้วจิตยึดหน่วงเป็นอารมณ์เมื่อดับจิตตายขณะนั้นต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอย่างแน่นอน
    เปรตภูมิหรือเปตภูมิ
    เปตติวัสยภูมิ (โลกเปรต) โลกที่อยู่ของสัตว์ผู้ห่างไกลจากความสุข มีมหิทธิกเปรตเป็นเจ้าปกครองดูแล อายุ ไม่แน่นอนแล้วแต่กรรม ได้แก่ เปรต 12 ชนิด คือ
    1. วันตาสเปรต กินน้ำลาย เสมหะ อาเจียน เป็นอาหาร
    2. กุณปาสเปรต กินซากศพคน หรือสัตว์เป็นอาหาร
    3. คูถขาทกเปรต กินอุจจาระต่างๆ เป็นอาหาร
    4. อัคคิชาลมุขเปรต มีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
    5. สูจิมุขาเปรต มีปากเท่ารูเข็ม
    6. ตัณหัฏฏิตเปรต ถูกตัณหาเบียดเบียนให้หิวข้าว หิวน้ำอยู่เสมอ
    7. สุนิชฌามกเปรต มีลำตัวดำเหมือนตอไม้เผา
    8. สัตถังคเปรต มีเล็บมือเล็บเท้ายาวและคมเหมือนมีด
    9. ปัพพตังคเปรต มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
    10. อชครังคเปรต มีร่างกายเหมือนงูเหลือม
    11. เวมานิกเปรต ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่กลางคืนได้ไปเสวยสุขในวิมาน
    12. มหิทธธิกเปรต มีฤทธิ์มาก ที่อยู่ เชิงภูเขาหิมาลัยในป่าวิฌาฏวี

    ReplyDelete
  9. เปรต 4 ประเภท คือ
    1. ปรทัตตุปชีวิกเปรต มีการเลี้ยงชีวิตอยู่โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้
    2. ขุปปิปาสิกเปรต ถูกเบียดเบียนด้วยการหิวข้าว หิวน้ำ
    3. นิชฌามตัณหิกเปรต ถูกไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ

    4. กาลกัญจิกเปรต (ชื่อของอสูรกายที่เป็นเปรต) มีร่างกายสูง 3 คาวุต มีเลือดและเนื้อน้อยไม่มีแรง มีสีสันคล้ายใบไม้แห้ง ตาถลนออกมาเหมือนตาปู และมีปากเท่ารูเข็มตั้งอยู่กลางศีรษะ เปรต 21 จำพวก คือ มังสเปสิกเปรต มีเนื้อเป็นชิ้นๆ ไม่มีกระดูก, กุมภัณฑ์เปรต มีอัณฑะใหญ่โตมาก, นิจฉวิตกเปรต เปรตหญิงที่ไม่มีหนัง, ทุคคันธเปรต มีกลิ่นเหม็นเน่า, อสีสเปรต ไม่มีศีรษะ, ภิกขุเปรต มีรูปร่างสัณฐานเหมือนพระสามเณรเปรต มีรูปร่างสัณฐานเหมือนสามเณร ฯลฯ
    บุพกรรม ประพฤติอกุศลกรรมบถ 10 ประการ เมื่อขาดใจตาย จากมนุษย์โลก หากอกุศลกรรมสามารถนำไปสู่นิรยภูมิได้ ต้องไปเสวยทุกข์โทษในนรกก่อนพอสิ้นกรรมพ้นจากนรกแล้ว เศษบาปยังมีก็ไปเสวยผลกรรมเป็นเปรตต่อภายหลัง หรือมีอกุศลกรรมที่เกิดจากโลภะนำมาเกิด คตินิมิต นิมิตที่บ่งบอกถึงโลกเปรต เช่น เห็นหุบเขา ถ้ำอันมืดมิดที่วังเวงและปลอดเปลี่ยว หรือเห็นเป็นแกลบและข้าวลีบมากมาย แล้วรู้สึกหิวโหยและกระหายน้ำเป็นกำลัง บางทีเห็นว่าตนดื่มกินเลือดน้ำหนองที่น่ารังเกียจะอิดสะเอียน หรือเห็นเป็นเปรตมีร่างกายผ่ายผอมน่าเกลียดน่ากลัว เนื้อตัวสกปรก รกรุงรัง ฯลฯ หากภาพเหล่านี้มาปรากฏทางใจแล้วจิตยึดหน่วงเป็นอารมณ์ เมื่อดับจิตตายขณะนั้น ต้องบังเกิดเป็นเปรตเสวยทุกขเวทนาตามสมควรแก่กรรมอย่างแน่นอน
    อสุรกายภูมิ (โลกอสุรกาย)
    ภูมิอันเป็นที่อยู่ของสัตว์อันปราศจากความเป็นอิสระและสนุกรื่นเริง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เทวอสุรา เปตติอสุรา นิรยอสุรา เทวอสุรา มี 6 จำพวก คือ 1. เวปจิตติอสุรา 2. สุพลิอสุรา 3. ราหุอสุรา 4. ปหารอสุรา 5. สัมพรตีอสุรา 6. วินิปาติกอสุรา 5. จำพวกแรกเป็นปฏิปักษ์ต่อเทวดาชั้นตาวติงสา อยู่ใต้ภูเขาสิเนรุสงเคราะห์เข้าในพวกเทวดาชั้นตาวติงสา ส่วน วินิปาติกอสุรา มีรูปร่างสัณฐานเล็กกว่า และอำนาจน้อยกว่าเทวดาชั้นตาวติงสา เที่ยวอาศัยอยู่ในมนุษย์โลกทั่วไปเช่น ตามป่า ตามเขา และศาลที่เขาปลูกไว้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของภุมมัฏฐเทวดาทั้งหลาย แต่เป็นเพียงบริวารของภุมมัฏฐเทวดาเท่านั้น สงเคราะห์เข้าในจำพวกเทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกา เปตติอสุรา มี 3 จำพวก คือ 1. กาลกัญจิกเปรตอสุรา 2. เวมานิกเปรตอสุรา 3. อาวุธิกเปรตอสุรา เป็นเปรตที่ประหัตประหารกันและกันด้วยอาวุธต่างๆ นิรยอสุรา เป็นเปรตจำพวกหนึ่งที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ในนรกโลกกันตร์ นรกโลกกันตร์ตั้งอยู่ระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสาม อสุรกายนี้หมายเอาเฉพาะกาลกัญจิกเปรตรอุสรกายเท่านั้น อายุและบุพกรรม เช่นเดียวกันกับโลกเปรต โลกเบื้องกลาง

    ReplyDelete
  10. เทวภูมิ 6 กับโลกมนุษย์ 1 (แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 42,000 โยชน์)
    โลกมนุษย์
    มนุษยภูมิ เป็นที่อาศัยของสัตว์ผู้มีใจสูงในเชิงกล้าหาญที่จะประกอบกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม แบ่งเป็น 4 จำพวก คือ
    1. ผู้มืดมาแล้วมืดไป บุคคลที่เกิดในตระกูลอันต่ำ ยากจน ขัดสน ลำบาก ฝืดเคืองอย่างมากในการหาเลี้ยงชีพ มีปัจจัย 4 อย่างหยาบ เช่น มีอาหารและน้ำน้อย มีเครื่องนุ่งห่มเก่า ร่างกายมอซอ หม่นหมองหรือมีร่างกายไม่สมประกอบ บ้าใบ้ บอด หนวก หาที่นอน ที่อยู่อาศัย ยากรักษาโรค ไม่ใคร่ได้ และเขากลับประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงทุคติอบาย
    2. ผู้มืดมาแล้วสว่างไป บุคคลที่เกิดในตระกูลต่ำ ผิวพรรณหยาบ ฯลฯ แต่เขาเป็นคนมีศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ เป็นคนมีความดำริประเสริฐ มีใจไม่ฟุ้งซ่านย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับสมณะชีพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ ย่อมสำเหนียกในกริยามารยาทเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้ทาน เมื่อตายไปย่อมถึงสุคติโลก

    ReplyDelete
  11. สวรรค์
    3. ผู้สว่างมาแล้วมืดไป เป็นบุคคลผู้อุบัติเกิดในตระกูลสูง เป็นคนมั่งคั่งมั่งมี มีโภคสมบัติมาก เป็นผู้มีปัจจัย 4 อันประณีต ทั้งเป็นคนรูปร่างสมส่วน สะสวย งดงาม ผิวพรรณดูน่าชม แต่กลับเป็นคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ กรุณาอาทร มีใจหยาบช้า มักขึ้งโกรธ ย่อมด่า ย่อมบริภาษบุคคลต่างๆ ไม่เว้นแม่กระทั่งมารดาบิดา สมณะชีพราหมณ์ ย่อมห้ามคนที่กำลังให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงทุคติอบาย
    4. ผู้สว่างมาแล้วสว่างไป เป็นบุคคลที่อุบัติเกิดในตระกูลสูง มีผิวพรรณงามและเขาย่อมประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์แบ่งออกเป็นสี่ทวีป หรือสี่มิติ ได้แก่ ๑.ชมพูทวีป ๒. อุตตรกุรุทวีป ๓. บุพพวิเทหะ ๔.อมรโคยาน บุพกรรม กรรมของมนุษย์ที่ทำในกาลก่อน ส่งผลให้มีปฏิปทาต่างกัน เช่น บางคนเป็นคนดี บางคนบ้า บางคนรวย บางคนจน บางคนมีปัญญา บางคนเขลา ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัยต่างๆ อาทิ ปฏิปทาให้มีอายุสั้น เพราะเป็นคนโหดเหี้ยมดุร้าย มักคร่าชีวิตสัตว์ ปฏิปทาให้มีอายุยืน เป็นผู้เว้นขาดจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มีความละอาย เอ็นดูอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลสรรพสัตว์และภูติอยู่ ปฏิปทามีโรคมาก เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยมือ ท่อนไม้ ก้อนดิน ก้อนหิน หรือ ศาสตราอาวุธต่างๆ ปฏิปทามีโรคน้อย ไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยมือ หรือศาสตราอาวุธต่างๆ มีมีด ขวาน ดาบ ปืน เป็นต้น ปฏิปทาให้มีผิวพรรณทราม เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจโกรธเคือง พยาบาทมาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ปฏิปทาให้มีผิวพรรณงาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดาน้อย คือเป็นคนมีใจริษยามุ่งร้าย ผูกใจในการอิจฉาริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการาบูชาของคนอื่น ปฏิปทาให้เป็นคนมีศักดามาก เป็นคนไม่มีใจริษยาไม่มุ่งร้าย ยินดีด้วยในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของคนอื่น ปฏิปทาให้มีโภคะน้อย เป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ที่นอนที่อาศัยเป็นต้น ปฏิปทาให้มีโภคะมาก ชอบให้ทาน มีอาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ของหอม ที่นอนที่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือชีพราหมณ์ เป็นต้น ปฏิปทาให้เกิดในตระกูลต่ำ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่ควรให้ ไม่ให้ทางแก่คนที่ควรให้ทางเป็นต้น ปฏิปทาให้เกิดในตระกูลสูง เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน วจีไพเราะ สงเคราะห์เอื้อเฟื้อ รู้จักยืนเคารพ ยืนรับ ยืนคำนับ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ สักการะแก่คนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เป็นต้น ปฏิปทาทำให้มีปัญญาทราม คือ เป็นผู้ไม่เคยเข้าไปหาบัณฑิต สมณะหรือชีพราหมณ์แล้วสอบถามว่าอะไรเป็นกุศล อะไรไม่เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ เป็นต้น ปฏิปทาทำให้มีปัญญาหลักแหลมเป็นผู้มักเข้าไปสอบถาม บัณฑิตสมณะหรือชีพราหมณ์ แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรเมื่อทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน อะไรเมื่อทำไปแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ดังนี้
    เทวภูมิ 6
    จาตุมหาราชิกาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 1) เป็นที่อยู่ของเทพยดาชาวฟ้า มีท้าวมหาราช 4 พระองค์ปกครอง คือ
    1. ท้าวธตรฐมหาราช
    2.ท้าววิรุฬหกมหาราช
    3.ท้าววิรูปักษ์มหาราช
    4.ท้าวเวสสุวัณมหาราช (ท้าวกุเวร) อายุ 500 ปีทิพย์ (9 ล้านปีมนุษย์)

    ReplyDelete
  12. บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์ ชอบทำความดี สันโดษ ยินดีแต่ของๆ ตน ชักชวนให้ผู้อื่นประกอบการกุศล ชอบให้ทาน ในการให้ทาน เป็นผู้มีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทานให้ทานด้วยความคิดว่า “เราตายแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้” และเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
    ตาวติงสาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 2) ที่เรียกว่าไตรตรึงษ์หรือดาวดึงส์ เป็นเมืองใหญ่มี 1,000 ประตู มีพระเกศจุฬามณีเจดีย์ มีไม้ทิพย์ ชื่อ ปาริชาตกัลปพฤกษ์ สมเด็จพระอมรินทราธิราชเป็นผู้ปกครองอายุ 1,000 ปีทิพย์ (36 ล้านปีมนุษย์) บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์ มีจิตบริสุทธิ์ยินดีในการบริจาคทาน ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ ไม่มีการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “ตายแล้วเราจักได้เสวยผลทานนี้” แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “การให้ทานเป็นการกระทำดี” งดงามด้วยพยายามรักษาศีล ไม่ดูหมิ่นผู้ใหญ่ในตระกูล ฯลฯ
    ยามาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 3) เป็นที่อยู่ของเทพยดาผู้มีแต่ความสุขอันเป็นทิพย์ มีท้าวสุยามเทวราชเป็นผู้ปกครอง อายุ 2,000 ปีทิพย์ (144 ล้านปีมนุษย์) บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ พยามสร้างเสบียง ไม่หวั่นไหวในการบำเพ็ญบุญกุศล ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “การให้ทานเป็นการกระทำที่ดี” แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี” รักษาศีล มีจิตขวนขวายในพระธรรม ทำความดีด้วยใจจริง
    ตุสิตาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 4) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีความยินดีแช่มชื่นเป็นนิจ มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง อายุ 4,000 ปีทิพย์ (576 ล้านปีมนุษย์) บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ยินดีมากในการบริจาคทาน ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี” แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “เราหุงหากิน แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร” ทรงศีล ทรงธรรม ชอบฟังพระธรรมเทศนา หรือเป็นพระโพธิสัตว์รู้ธรรมมาก ฯลฯ
    นิมมานรตีภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 5) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้ยินดีในกามคุณอารมณ์ ซึ่งเนรมิตขึ้นมาตามความพอใจ มีท้าวสุนิมมิตเทวราชปกครอง อายุ 8,000 ปีทิพย์ (2,304 ล้านปีมนุษย์) บุพกรรมเมื่อเป็นมนุษย์มีจิตใจบริสุทธิ์ ยินดียิ่งในการบริจาคทาน ในการให้ทานเป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตใจผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทาน ด้วยความคิดว่า “เราหุงหากินได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร” แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “เราจักจำแนกแจกท่านเช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลายในกาลก่อน” ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ พยามรักษาศีลไม่ให้ขาดได้ มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล และมีวิริยะอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอันมาก เพราะผลวิบากแห่งทาน และศีลอันสูงเท่านั้น จึงอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้
    ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 6) เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าซึ่งเสวยกามคุณอารมณ์ แบ่งเป็น ฝ่ายเทพยดา มีท้าวปรนิมมิตเทวราช ปกครอง กับ ฝ่ายมารมีท้าวปรนิมิตวสวัตตีมาราธิราชเป็นผู้ปกครองอายุ 16,000 ปีทิพย์ (9,216 ล้านปีมนุษย์) บุพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ อุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่เป็นอุกฤษฎ์ อบรมจิตใจสูงส่งไปด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศีลก็ต้องบำเพ็ญกันอย่างจริงๆ มากไปด้วยความศรัทธาปสาทะอย่างยิ่งยวดถูกต้อง ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไมได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลายแต่กาลก่อน” แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส” เพราะวิบากแห่งทาน และศีลอันสูงส่งยิ่งเท่านั้น จึงอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้
    โลกเบื้องสูง ปฐมฌานภูมิ 3 ทุติยฌานภูมิ 3 ตติยฌานภูมิ 3 และ พรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ 10 – 20 (แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 5,508,000 โยชน์) • อสงไขยปีเท่ากับ เลข 1 ตามด้วยเลขศูนย์อีก 140 ตัว • 1 รอบอสงไขยปี เท่ากับ 1 อันตรกัป

    ReplyDelete
  13. พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 1 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหม ผู้เป็นบริษัทท้าวมหาพรหม พระพรหม อายุ 21 อันตรกัปเศษ บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จปฐมฌานได้อย่างสามัญ
    พรหมปุโรหิตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 2 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้ทรงฐานะอันประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่านมหาพรหม พระพรหม อายุ 32 อันตรกัป บุพกรรมผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จได้ปฐมฌานอย่างปานกลาง
    มหาพรหมาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 3 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระพรหม อายุ 1 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จปฐมฌานได้อย่างประณีต
    ปริตตาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 4 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งท่านพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่ศักดิ์สูงกว่าตน พระพรหม อายุ 2 มหากัป บุพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ต้องสำเร็จทุติยฌานได้อย่างสามัญ
    อัปปมาณาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 5 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ พระพรหม อายุ 4 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จทุติยฌานได้อย่างปานกลาง
    อาภัสราภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 6 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีประกายรุ่งโรจน์แห่งรัศมีนานาแสง พระพรหม อายุ 8 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จทุติยฌานได้อย่างประณีต
    ปริตตสุภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 7 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย พระพรหม อายุ 16 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จตติยฌานได้อย่างสามัญ
    อัปปามาณสุภาพภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 8 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีความสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มีประมาณ พระพรหม อาย 32 มหากัป บุพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ต้องสำเร็จตติยฌานได้อย่างปานกลาง
    สุภกิณหาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 9 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงาม แห่งรัศมีที่ออกสลับปะปนไปอยู่เสมอตลอดสรีระกาย พระพรหม อายุ 64 มหากัป บุพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ ต้องสำเร็จตติยฌานได้อย่างประณีต
    เวหัปผลาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 10 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ พระพรหม อายุ 500 มหากัป บุพกรรม ผู้ที่เจริญสมถภาวนาสำเร็จ จตุตถฌาน
    อสัญญสัตตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 11 ภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมทั้งหลาย ผู้ไม่มีสัญญา (พรหมลูกฟัก) อายุ 500 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จจตุตฌาน และเป็นผู้มีสัญญาวิราคภาวนา(ยึดมั่นว่ารูปมีสาระ นามไม่มีสาระ)เหลือเพียงหนึ่งขันธ์คือรูปขันธ์ ไม่มีนามขันธ์ทั้งสี่(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เหลือเพียงธรรมธาตุสาม คือ จิต มโน ภวังค์ อันทำให้มีชีวิตินทรีย์(มีชีวิต) อยู่
    อวิหาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 12 ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามี อริยบุคคลทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติของตน พระพรหมอนาคามี อายุ 1,000 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอาริยบุคคล โดยมีสัทธินทรีย์แก่กล้า
    อตัปปาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 13 ภูมิอันเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ไม่มีความเดือดร้อน พระพรหมอนาคามี อายุ 2,000 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตตุถฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีวิริยินทรีย์แก่กล้า
    สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 14 ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใส พระพรหมอนาคามี อายุ 4,000 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีสตินทรีย์แก่กล้า

    ReplyDelete
  14. สุทัสสิสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 15 ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอาริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า พระพรหมอนาคามี อายุ 8,000 มหากัปบุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌาน และเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จ เป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยสมาธินทรีย์แก่กล้า
    อกนิฎฐาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 16 ภูมิเป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ทรงคุณวิเศษโดยไม่มีความเป็นรองกัน พระพรหมอนาคามี อายุ 16,000 มหากัป บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุถฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จ เป็นพระอนาคามีอริยบุคคล โดยมีปัญญินทรีย์แก่กล้า
    อากาสานัญจายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 17 ภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติ ซึ่งไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ อรูปพรหม อายุ 20,000 มหากัป บุพกรรม โยคีฤๅษี ผู้จตุตถฌานแล้ว และสำเร็จอากาสานัญจายตนฌาน มี่นามขันธ์สี่ แต่ไม่รูปขันธ์
    วิญญาณัญจายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่18 ภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ อรูปพรหม อายุ 40,000 มหากัป บุพกรรม โยคี ฤๅษี ผู้ได้อากาสานัญจายตนฌานและสำเร็จวิญญาณัญจายตนฌาน มี่นามขันธ์สี่ แต่ไม่รูปขันธ์
    อากิญจัญญายตนภูมิพรหมโลก ชั้นที่ 19 ภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยนัตถิภาวนาบัญญัติเป็นอารมณ์ อรูปพรหม อายุ 60,000 มหากัป บุพกรรม เป็นโยคี ฤๅษี ผู้วิญญาณัญจายตนฌานและสำเร็จอากิญจัญญายตนฌาน มี่นามขันธ์สี่ แต่ไม่รูปขันธ์
    เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 20 ภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยความประณีตเป็นอย่างยิ่งมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อรูปพรหม อายุ 84,000 มหากัป บุพกรรม โยคีฤๅษีผู้ได้อากิญจัญญายตนฌานและสำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตฌาน มี่นามขันธ์สี่ แต่ไม่รูปขันธ์
    โสดาบันโลกุตตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ 1) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอริยบุคคลโสดาบัน แบ่งเป็น
    1. เอกพิชีโสดาบัน จะเกิดอีกชาติเดียว แล้วก็บรรลุพระอรหัตผล ปรินิพพาน
    2. โกลังโกละโสดาบัน จะเกิดอีก 2-6 ชาติ เป็นอย่างมากแล้วก็บรรลุพระอรหัตผล ปรินิพพาน
    3. สัตตักขัตตุปรมะโสดาบัน จะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน 7 ชาติ แล้วบรรลุพระอรหัตผล ปรินิพพาน
    สกทาคามีโลกุตตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ 2) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอริยบุคคลสกทาคามี ซึ่งจะเกิดอีกเพียงชาติเดียว แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ
    1. ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษย์โลก และบรรลุอรหัตผลในมนุษย์โลก
    2. ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษย์โลกแล้วไปบรรลุพระอรหัตผลในเทวโลก
    3. ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกแล้วมาบรรลุพระอรหัตผลในเทวโลก
    4. ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกแล้วมาบรรลุพระอรหัตผลในมนุษย์โลก
    5. ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษย์โลกแล้วจุติไปเกิดในเทวโลกแล้วกลับมาบรรลุพระอรหัตผลในมนุษย์โลก

    ReplyDelete
  15. อนาคามีโลกุตตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ 3) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอนาคามี จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีก แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
    1. อันตราปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
    2. อุปหัจจปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสภมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
    3. อสังขารปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยสะดวกสบายไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
    4. สสังขารปรินิพพายี สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานในพรหมโลก โดยต้องพยายามอย่างแรงกล้า
    5. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ไปเกิดในสุทธาวาสพรหมโลก ชั้นต่ำที่สุด (อวิหาสุทธาวาสพรหมโลก) แล้วจึงจุติไปเกิดชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ คือ อวิหา, อตัปปา, สุทัสสา, สุทัสสี แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานในอกนิฏฐพรหมโลก

    ReplyDelete
  16. อรหัตโลกุตตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นสูงสุด) มี 2 ประเภท
    1. เจโตวิมุตติ เป็นผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานได้ฌานก่อน แล้วเจริญวิปัสนากรรมฐานต่อจนสำเร็จพระอรหันต์ หรือ ผู้ที่ปฏิบัติเฉพาะวิปัสนากรรมฐาน เมื่อได้มรรคผลนั้นพร้อมกับได้วิชชา 3 อภิญญา 6 สามารถแสดงฤทธิ์ได้
    2. ปัญญาวิมุตติ สำเร็จพรอรหันต์ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานล้วน ๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถกรรมฐานมาก่อนเลย เรียกว่า สุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ ผู้ปฏิบัติทำให้ฌานแห้งแล้ง ผู้ถึงภูมินี้ เป็นผู้ที่สมควรแก่การบูชาของเหล่าเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะสิ้นกิเลสโดยตัดสังโยชน์ 10 ประการได้ สามารถเข้าอรหัตผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามปรารถนา และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฏสงสาร เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน
    ------------------

    ReplyDelete
  17. กฎแห่งกรรม คือกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยการกระทำและผลของการกระทำ ซึ่งการกระทำกับผลนั้นย่อมมีความสัมพันธ์กันเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กรรมในพระพุทธศาสนา (ภาษาสันสกฤต : กรฺม, ภาษาบาลี : กมฺม) แปลว่า "การกระทำ" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม กรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    1.กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญกรรม
    2.กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาปกรรม
    กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม - Kamma: action; deed
    1.อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ - Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed)
    2.กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed)
    กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้
    กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง
    กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง
    กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง
    กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง
    การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ
    1.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
    2.อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
    3.อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป
    4.อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
    กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ
    1.ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
    2.อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
    3.อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
    4.อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว

    ReplyDelete
  18. กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง
    1.ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม -- ครุกรรม (อ่านว่า คะรุกำ) แปลว่า กรรมหนัก คือกรรมที่มีผลมาก มีโทษรุนแรงที่สุด เป็นชื่อกรรมอย่างหนึ่งเรียกตามการให้ผลหนักเบาครุกรรมจัดเป็นกรรมที่หนักที่สุด ให้ผลเร็วและแรง มีทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลคือฝ่ายดีและฝ่ายที่เป็นอกุศลคือฝ่ายไม่ดี ครุกรรมที่เป็นกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ๘ ผู้ได้ฌานสมาบัติชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายกุศลที่ดีที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมได้เกิดในพรหมโลกทันที ส่วนครุกรรมที่เป็นอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม ๕ มี ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เป็น ผู้ทำอนันตริยกรรมชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายอกุศลที่ร้ายแรงที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในนรกทันที ครุกรรมย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเสมอ อุปมาเหมือนวัวแก่มีกำลังน้อย แต่ยืนอยู่ตรงปากประตูคอกพอดี ย่อมจะออกจากคอกได้ก่อนวัวหนุ่มอื่นๆ ทั้งหลาย ฉะนั้น ) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม((อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ
    1.มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
    2.ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
    3.อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
    4.โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล
    5.สังฆเภท - ยังสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์
    อนันตริยกรรม 4 ประการแรก คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต และโลหิตตุปบาท จัดเป็นสาธารณอนันตริยกรรม คือ เป็นอนันตริยกรรมที่ทั่วไปแก่ บรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งหลาย หมายความว่า บรรพชิตก็ทำได้ คฤหัสถ์ก็ทำได้
    ส่วนสังฆเภท เป็นอสาธารณอนันตริยกรรม คือ เป็นอนันตริยกรรมที่ไม่ทั่วไป หมายความว่า ภิกษุคือบรรพชิตเท่านั้น จึงจักกระทำสังฆเภทอนันตริยกรรม นี้ได้ในส่วนของโทษหนักเบา และลำดับการให้ผลก่อนหลัง ของอนันตริยกรรม เรียงลำดับจากแรงที่สุดลงไป ได้ดังนี้
    - สังฆเภทอนันตริยกรรม
    - โลหิตุปบาทอนันตริยกรรม
    - อรหันตฆาตอนันตริยกรรม
    - มาตุฆาตปิตุฆาตอนันตริยกรรม))
    2.พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
    3.อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
    4.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) กตัตตากรรมนี้ ในตำราทางพุทธศาสนาหลายแห่ง (เช่น หนังสือกรรรมทีปนี พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม และหนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความ) ได้บรรยายไว้ว่า หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล(กตัตตากรรม (อ่านว่า กะ-ตัด-ตา-กำ) แปลว่า กรรมที่เคยทำไว้แล้ว (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วาปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น คือ นอกจากครุกรรม อาจิณณกรรม และอาสันนกรรม, ฏีกากล่าวว่ากรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป.
    ในพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด บรรยายกตัตตากรรม ไว้ว่าเป็น กรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีที่ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น ภาษาวินัยว่าเป็นอจิตตกะ ทำไปก็สักแต่ว่าทำ แม้มีโทษก็ไม่รุนแรง ถือว่าเป็นกรรมที่มีโทษเบาที่สุดในบรรดากรรมทั้งหลาย ถ้าไม่มีกรรมที่หนักกว่าเช่นพหุล กรรม กรรมนี้จึงจะให้ผล

    ReplyDelete
  19. กตัตตากรรม ได้แก่ กรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีในชวนะดวงที่ 2-6 ซึ่งจะให้ผลได้ในภพที่ 3 เป็นต้นไป โดยจะรอให้ผลจนกว่าคนๆนั้นจะดับขันธปรินิพพาน.
    กรรมข้อนี้ ท่านเปรียบเหมือนคนบ้ายิงลูกศร เพราะคนปกติที่ไม่มีฤทธิ์จะไม่รู้เลยว่า เป็นกรรมอะไรที่จะมาให้ผลนำเกิด เนื่องจากทำไว้ในอดีตชาตินั่นเอง.
    ในประเทศไทย เข้าใจกันไปว่า เป็น "กรรมสักว่าทำ" อย่างไรก็ตาม ข้อนั้นไม่ตรงตามคำของพระอรรถกถาและฏีกาจารย์ และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ด้วย)
    กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย (ข้ออื่น ๆ ข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)
    1.อกุศลกรรม
    2.กามาวจรกุศลกรรม
    3.รูปาวจรกุศลกรรม
    4.อรูปาวจรกุศลกรรม
    นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม 4 ประการ คือ
    1.กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์ โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
    2.กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ
    3.กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน
    4.กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด

    ReplyDelete
  20. กฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติ ข้อหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกระทำ และผลแห่งการกระทำ ซึ่ง การกระทำและ ผลแห่งการกระทำนั้น ย่อมสมเหตุ สมผลกัน เช่น ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว เป็นต้น
    กรรมใดใครก่อ ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของสิ่งที่กระทำ กรรมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต และกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันเป็นเหตุที่จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต กรรมดี-กรรมชั่ว ลบล้างซึ่งกันและกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าการทำกรรมดีจะลบล้างกรรมชั่วเก่าที่มีอยู่เดิมไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้ผลจากกรรมชั่วที่มีอยู่เดิมผ่อนลง คือ การผ่อนหนักให้เป็นเบา (ข้อนี้ อุปมาได้กับการที่เรามีน้ำขุ่นข้นอยู่แก้วหนึ่ง หากเติมน้ำบริสุทธิ์ลงไปแล้ว มิสามารถทำให้น้ำขุ่นกลับบริสุทธิ์ได้ แต่ทำให้น้ำขุ่นข้นนั้นกลับเจือจางลงและใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
    อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ ในทางศาสนาพุทธคือ ไตรลักษณ์ เป็นลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะ แห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎไตรลักษณ์ อันได้แก่
    1.อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้)
    2.ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
    3.อนัตตา (ความไม่มีแก่นสาระ)
    เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท (หลักศรัทธาของพุทธศาสนา) พุทธศาสนา สอนว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากสิ่งใดดลบันดาล หากเกิดแต่เหตุและปัจจัยต่างๆ มาประชุมพร้อมกัน โดยมีรากเหง้ามาจากความไม่รู้หรือ อวิชชา ทำให้กระบวนการต่างๆ ไม่ขาดตอน เพราะนามธาตุที่เป็นไปตามกฎนิยาม ตามกระบวนการที่เรียกว่ามหาปัฏฐาน ทำให้เกิดสังขารเจตสิกกฎเกณฑ์การปรุงแต่งซึ่งเป็นข้อมูลอันเป็นดุจพันธุกรรมของจิต วิวัฒนาการเป็นธรรมธาตุอันเป็นระบบการทำงานของนามขันธ์ที่ประกอบกันเป็นจิต ( อันเป็นสภาวะที่รับรู้และเป็นไปตามเจตสิกของนามธาตุ) และเป็นวิญญาณขันธ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นธาตุแสง (รังสิโยธาตุ) อันเกิดจากการทำงานของนามธาตุอย่างเป็นระบบ จนสามารถประสานหรือกำหนดกฎเกณฑ์รูปขันธ์ ของชีวิตินทรีย์ (เช่นไวรัส แบคทีเรียต้นไม้ เซลล์ ที่มีชีวิตขึ้นมาเพราะกฎพีชนิยาม) ทำให้เหตุผลของรูปขันธ์เป็นไปตามเหตุผลของนามขันธ์ด้วย (จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว) ทำให้รูปขันธ์ที่เป็นชีวิตินทรีย์พัฒนามีร่างกายที่สลับซับซ้อนมีระบบการทำงานจนเกิดมีปสาทรูป 5 รวมการรับรู้ทางมโนทวารอีก 1 เป็นอายตนะทั้ง 6 และเกิดเป็นปัจจยาการ9 คือ
    1.เมื่ออายตนะกระทบกับสรรพสิ่งที่มากระทบจนเกิดผัสสะ
    2.จนเกิดเวทนา คือ ความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
    3.เมื่อได้สุขมาเสพก็ติดใจ
    4.อยากเสพอีก ทำให้เกิดความทะยานอยาก (ตัณหา)
    5.จึงเกิดการแสวงหาความสุขมาเสพ
    6.จนเกิดการสะสม
    7.นำมาซึ่งความตระหนี่
    8.หวงแหน
    9.จนในที่สุดก็ออกมา ปกป้องแย่งชิงจนเกิดการสร้างกรรม และยึดว่าสิ่งนั้นๆเป็นตัวกู (อหังการ) ของกู (มมังการ)

    ทำให้มีอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) และจิตเมื่อประสบทุกข์ ก็สร้างสัญญาอันเป็นภูมิคุ้มกันทางจิตขึ้นมาเพื่อให้พ้นทุกข์ (สมตา) เพราะมีสัญญาการสมมุติว่า เป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้จึงมี เช่น คนตาบอดแต่เกิด เมื่อมองเห็นภาพตอนโตย่อมต้องอาศัยสมมุติว่าภาพที่เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่เกิดการสำคัญผิดในมายาการของสัญญาเพราะจิตมีอวิชชา จึงมีความคิดเห็นเปรียบเทียบแบ่งสรรพสิ่งออกเป็นคู่ว่าเป็นโลกและบัญญัติว่าตนเองเป็นนั้นเป็นนี้ จึงเกิดจิตใต้สำนึก (ภพ) และสร้างกรรมขึ้นมา เพราะจิตต้องการพ้นทุกข์พบสุข ตามสติปัญญาที่มีของตน นั่นเอง สู่การเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิทั้ง 31 ภูมิ (มิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุด (นรก) ไปจนถึงสุขสบายที่สุด
    (สวรรค์)) ในโลกธาตุที่เหมาะสมในเวลานั้นที่สมควรแก่กรรม นี้เรียกว่า สังสารวัฏ สำหรับการเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงผิดในสิ่งสมมุติต่างๆซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย เมื่อจิตยังมีอวิชชาสัตว์โลกย่อมเวียนว่ายตายเกิด และประสบพบเจอพระไตรลักษณ์อันเป็นเหตุให้ประสบทุกข์มีความแก่และความตาย เป็นต้น ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะทำลายที่ต้นเหตุคืออวิชชาลงได้

    ReplyDelete
  21. ความดับทุกข์ (นิโรธ) คือ นิพพาน ( เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ) อันเป็น แก่นของศาสนาพุทธ เป็นความสุขสูงสุด หรือเรียกอีกอย่างว่า วิราคะปราศจากกิเลส-- วิโมกข์พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ-- อนาลโย ไม่มีความอาลัย-- ปฏินิสสัคคายะการปล่อยวาง-- วิมุตติ การไม่ปรุงแต่ง-- อตัมมยตา ไม่หวั่นไหว-- และสุญญตา ความว่าง
    เนื่องจากธรรมดาของสัตว์โลกมีปกติทำความชั่วมากโดยบริสุทธิ์ใจในความเห็นแก่ตัว ทำดีน้อยซึ่งไม่บริสุทธิ์ใจ ซ้ำหวังผลตอบแทน จึงมีปกติรับทุกข์มากกว่าสุข ดังนั้น ถ้าเป็นผู้มีปัญญาหรือเป็นพ่อค้าที่ฉลาดยอมรู้ว่าขาดทุนมากกว่าได้กำไร และ สุขที่ได้เป็นเพียงมายา ย่อมปรารถนาในพระนิพพาน เมื่อ ขันธ์5 แตกสลาย เจตสิกที่ประกอบกันให้เกิดเป็นจิตนั้นก็แตกสลายตามเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีเหตุปัจจัยจะประกอบกันให้เกิดเป็นจิตนั้น กรรมย่อมไม่อาจให้ผลได้อีก (อโหสิกรรม) เหลือเพียงแต่พระคุณความดี เมื่อมีผู้บูชาย่อมส่งผลกรรมดีให้แก่ผู้บูชาเหมือนคนตีกลอง กลองไม่รับรู้เสียง แต่ผู้ตีได้รับอานิสงส์เสียงจากกลอง
    วิถีทางดับทุกข์ (มรรค) คือ มัชฌิมาปฏิปทา (หลักการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนา) ทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว โดยยึดหลักทางสายกลาง อันเป็น
    อริยมรรค คือ การฝึกสติ (การทำหน้าที่ของจิตคือตัวรู้ให้สมบูรณ์) เป็นวิธีฝึกฝนจิตเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์หรือมหาสติปัฏฐาน โดยการปฏิบัติหน้าที่ทุกชนิดอย่างมีสติด้วยจิตว่างตามครรลองแห่งธรรมชาติ มีสติอยู่กับตัวเองในเวลาปัจจุบัน สิ่งที่กำลังกระทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญกว่าทุกสรรพสิ่ง ทำสติอย่างมีศิลปะคือรู้ว่าเวลาและสถานการณ์เช่นนี้ ควรทำสติกำหนดรู้กิจใดเช่นไรจึงเหมาะสม จนบรรลุญานตลอดจน มรรคผล เมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนของการบำเพ็ญเพียร ฝึกฝนทางจิต คือ
    1.ศีล (ฝึกกายและวาจาให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงการควบคุมจิตใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำด้วยการเลี้ยงชีวิตอย่างพอเพียง)
    2.สมาธิ (ฝึกความตั้งใจมั่นจนเกิดความสงบ (สมถะ) และทำสติให้รับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง) (วิปัสสนา) ด้วยความพยายาม
    3.ปัญญา (ให้จิตพิจารณาธรรมชาติจนรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) และตื่นจากมายาที่หลอกลวงจิตเดิมแท้ (ฐิติภูตัง))
    ปฏิจจสมุปบาท--ไตรลักษณ์--อิทัปปัจจยตา--ตถตา--สุญญตา--นิพพาน-- หลักปฏิบัติ
    ศาสนาพุทธมุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง รวมทั้งเน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา—ไตรสิกขา--การวางรากฐาน-- การเจริญสติ--อริยมรรค--มัชฌิมาปฏิปทา
    ศาสนสถาน วัดอันเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือ ที่จำพรรษา ของ พระภิกษุ สามเณรตลอดจน แม่ชี เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้าและเย็น และสังฆกรรมในพระอุโบสถ อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมเช่นการเวียนเทียนเป็นต้นในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ และยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรมในทางช่วยกันส่งเสริมพุทธศาสนาเช่นการมาทำบุญในวันพระของแต่ละท้องถิ่นของพุทธศาสนิกชน อีกด้วย
    สำหรับประเทศไทย วัดจะมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ พระอุโบสถ หรือ โบสถ์ ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมต่างๆ กุฏิ ใช้เป็นที่จำวัดของภิกษุ/สามเณร บางวัดอาจมีศาลาการเปรียญ เพิ่มเติม สำหรับใช้เป็นที่ทำบุญในวันพระและโรงเรียนพระปริยัติธรรมไว้ใช้ศึกษาธรรมะของภิกษุ/สามเณร วิหาร สถานที่เก็บพระพุทธรูปสำคัญ มณฑป สถานที่เปิดให้แสดงการสักการะต่อรูปเหมือนพระสงฆ์ที่น่านับถือ หอสวดมนต์ สถานที่ทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น เมรุ ที่กระทำการฌาปนกิจศพ(เผาศพ) ศาลาธรรมสังเวช สถานที่ประกอบพิธีกรรมแก่ผู้ล่างลับ หอไตร ที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและหนังสือทางพุทธศาสนาและหอระฆัง เป็นต้น

    ReplyDelete
  22. เจดีย์/สถูป เป็น สังเวชนียสถาน เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า หรือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในประเทศไทย มีเจดีย์สำคัญๆ หลายๆ แห่ง อาทิ พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม
    พิธีกรรมต่างๆในทางศาสนาพุทธรวมเรียกว่าศาสนพิธีในทางพุทธศาสนาพิธีกรรมที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างเป็นหลักการคือสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ และพิธีกรรมที่มีมาตามวัฒนธรรมคืออัญชลี (การประนมมือ) วันทา (การไหว้) และอภิวาท (การกราบ) รวมถึงการเวียนประทักษิณ (เดินวนขวาสามรอบหรือการเวียนเทียน) และการพรมน้ำมนต์ เนื่องจากศาสนาพุทธถือว่าพิธีกรรมเป็นเพียงอุบายในการช่วยให้เข้าสู่ความดีในผู้ที่ยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ทางศาสนา จึงไม่จำกัดหรือเจาะจงแน่ชัดลงไป ดังนั้นพิธีกรรมของชาวพุทธจึงมีความยืดหยุ่นและเป็นไปตามวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆตามความชอบของสังคมนั้น ทำให้ประเพณีชาวพุทธทั่วโลกจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน อันเนื่องจากพุทธไม่ถือว่าวัฒนธรรมตนเป็นวัฒนธรรมเอกและเห็นวัฒนธรรมอื่นเป็นวัฒนธรรมรองจนต้องทำลายหรือดูดกลืนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ใจกว้างในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยินดีในความหลากหลายทางประเพณี ยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่างของกันและกันได้ดี
    ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่เกิดในยุคที่สังคมอินเดียมีสภาพการณ์หลายอย่างที่วุ่นวาย เช่น มีการแบ่งแยกกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชัดเจน ถือชั้นวรรณะอย่างเข้มงวด มีความแตกต่างกันทางฐานะอย่างมากมาย (มีทั้งเศรษฐีมหาศาลและคนยากขาดแคลน) และลัทธิ ความเชื่อ ศาสดา อาจารย์เกิดขึ้นมากมาย ที่สอนหลักการยึดถือปฏิบัติอย่างผิดพลาด หรือสุดโต่ง เช่น การใช้สัตว์เป็นจำนวนมากเพื่อบวงสรวงบูชายัญ การบำเพ็ญทุกรกิริยาของนักบวชบางพวก การปล่อยชีวิตให้เป็นไปโดยไม่แก้ไขถือว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า รวมถึงการกีดกันไม่ให้คนบางพวก บางกลุ่มเข้าถึงหลักการ หลักคำสอนของตนได้ เนื่องจากข้อจำกัดของชาติกำเนิด ฐานะ เพศ เป็นต้น แต่พุทธศาสนาเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดได้เสมอกัน โดยไม่แบ่งแยกตามชั้นวรรณะ จึงเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคมอินเดียโบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น
    พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ ให้เสรีภาพในการพิจารณา ให้ใช้ปัญญาเหนือศรัทธา ในขณะที่บางศาสนาสอนว่าศาสนิกชนต้องมีศรัทธามาก่อนปัญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ผู้นับถือจะสงสัยในพระเจ้าไม่ได้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการศึกษา และการแสวงหาความจริง และส่งเสริม (ท้าทาย) ให้ศาสนิก พิสูจน์ หลักธรรมนั้นด้วยปัญญาของตนเองไม่สอนให้เชื่อง่ายโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน เช่น หลักกาลามสูตร
    พุทธศาสนาไม่มีการบังคับ ให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่ท้าทายให้เข้ามาเรียนรู้ และพิสูจน์หลักธรรม ด้วยตนเอง ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel) จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ชวนให้ใครต่อใครมานับถือพระศาสนา พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้นใครไม่สนใจฟัง ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญบังคับให้นับถือ ไม่เคยตั้งกฎให้คู่รักศาสนิกของตนต้องเปลี่ยนศาสนาย้ายมานับถือก่อนจึงจะให้แต่งงานได้ ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี แล้วสร้างเงื่อนไขให้ผู้รับทุนเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ ไม่เคยสร้างที่พักอาศัยให้หรือแจกทานให้อาหารฟรีๆ แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้องหันมานับถือศาสนาในภาวะจำยอม ความใจกว้างและมีหลักคำสอนที่เป็นสัจธรรม เชิญชวนให้มาพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติเองและเน้นให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนนับถือ ทำให้ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา ทั้งจุดมุ่งหมายเป็นอิสระจากกิเลสตัณหาและมายาสิ่งสมมุติทั้งปวง
    ในอีกนัยหนึ่ง พุทธศาสนา สอนว่าทุกคนมีอิสระ และเสรีที่จะเลือกทำ เลือกเป็น เลือกสร้าง โลก ได้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง โดยการสร้างเหตุ และเตรียมปัจจัยให้พร้อม ที่จะทำให้เกิดผลอย่างที่ต้องการ (เมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม ผลก็จะเกิดขึ้น) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับ การดลบันดาลของใคร หรือกรรมเก่า (ที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่ง หรือเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น)

    ReplyDelete
  23. ศาสนาอเทวนิยม เพราะเหตุว่าศาสนาพุทธไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า ไม่ยอมรับในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีจริง จึงจัดอยู่ในศาสนาประเภท อเทวนิยม ในความหมายที่ว่าไม่เชื่อว่า พระเจ้าบันดาลทุกสรรพสิ่ง ไม่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ผูกติดกับพระผู้ดลบันดาล หรือพระเจ้า ไม่ได้ผูกมัดตนเองไว้กับพระเจ้า ไม่พึ่งพาอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล และพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน ทรงบากบั่นละกิเลสโดยพระองค์เอง บริสุทธิ์ด้วยความเพียรของพระองค์เอง และไม่อ้างว่าเป็นทูตของพระเจ้าใดๆ แต่หากจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่มีพระเจ้า ชาวพุทธทุกคนคือพระเจ้าผู้สร้างของตัวเอง เนื่องจากตัวเองเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหรือมีความตกต่ำในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ดังคำพุทธพจน์ที่ว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่ง ต่างกับศาสนาที่มีพระเจ้าผู้เป็นใหญ่ ที่ชะตาชีวิตทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเจอเรื่องดีหรือร้ายก็ต้องทนรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ในกระบวนการนักคิดของโลก ศาสนาพุทธได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามศาสนาเกิดขึ้นในนามของพุทธศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้อื่นให้มานับถือ สอนให้มีความรักต่อสรรพชีวิตใดๆไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหมด ที่ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย รักสุข-เกลียดทุกข์เช่นเดียวกับเรา สอนให้เมตตาทั้งผู้อื่นและตัวเอง สอนให้รักษาปกป้องสิทธิของตนเองและไม่ให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสันติภาพโลกศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาท และมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานไม่ยอมรับว่าตนคือมหายาน เนื่องจาก มหายานมีต้นเค้ามาจากท่านโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ส่วนวชิรยานมีต้นเค้ามาจากท่านคุรุปัทสัมภวะ เถรวาท (หรือ 'หีนยาน' แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอน และ หลักปฏิบัติ จะเป็นไปตามพระไตรปิฎก นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว และกัมพูชา ส่วนที่นับถือเป็นส่วนน้อยพบทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเขมร), บังกลาเทศ (ในกลุ่มชนเผ่าจักมา และคนในสกุลพารัว) และทางตอนบนของมาเลเซีย (ในหมู่ผู้มีเชื้อสายไทย) มหายาน (ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ พบเป็นประชาชนส่วนน้อย ในประเทศเนปาล (ซึ่งอาจพบว่านับถือร่วมกับศาสนาอื่นด้วย) ทั้งยังพบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน วัชรยาน หรือ มหายานพิเศษ พบมากในเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน, ประเทศภูฏาน, มองโกเลีย และสาธารณรัฐคัลมืยคียาในรัสเซีย และเป็นประชากรส่วนน้อยในดินแดนลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีร์ ประเทศอินเดียเนปาล, ปากีสถาน (ในเขตบัลติสถาน)
    หมายเหตุ 1: ไตรสรณคมน์ หรือที่แปลว่า การสมาทานนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก (taking refuge in the triple gem) เดิมเคยเป็นเอกลักษณ์และข้อผูกมัดแห่งวิถีพุทธ และเป็นความแตกต่างทั่วไประหว่างชาวพุทธกับศาสนิกชนอื่น

    ReplyDelete
  24. ตาลายหรือยังท่านทั้งหลายสามรถ copy มาวางที่ word หรือ notepad ขยายอักษรจะอ่านได้ง่ายกว่านะครับ
    จากความปราถนาดี
    "ผู้ลี้ภัยจากสิ่งแวดล้อม"

    ReplyDelete