Thursday 6 September 2012

บทสวดพระสหัสสนัย

 

พระสะหัสสะนัย
สุทธิกะปะฏิปะทา

 
 
(กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา)
กะตะเม ธัมเม กุสะมา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง
ขิปปาภิกญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะ-
ฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป
โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

สุญญะตะมูละกะปะฏิปะทา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธา-
ภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภัญญัง สุญญะตัง ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
สุญญะตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

อัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะ-
ณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหายนายะ ปะฐะ-
มายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง
ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิ-
ปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ
อิเม ธัมมา กุสะลา

อะธิปะติ
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหา-
นายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะหัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิตเตยยัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ
อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารนัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง (อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง
วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิ-
ปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง) ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา ฯ


หมายเหตุ : บทสวดมนต์บทนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จันโท ได้บันทึกไว้สมัยที่อยู่กับหลวงปู่มั่นว่า....

เสียงเพลงเสียงธรรม


......อยู่มาวันหนึ่ง เรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) ปลีกออกมาเดินจงกรมอยู่ในป่าที่ป่าเปอะ ในขณะที่เดินจงกรม มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาเดินไปทำไร่ เดินร้องเพลงไป เพลงที่เขาขับร้องนั้น เป็นสำเนียงทางอีสาน ผ่านมาใกล้ๆ ทางจงกรมที่เราเดินอยู่ คาดคะเนว่าน่าจะเป็นคนทางภาคอีสานมาอยู่ทางเหนือ เนื้อเพลงนี้มาสะดุดจิตในขณะที่ภาวนา โอปนยิโก คือน้อมมาใส่ตัวเรา มันร้องเสียงเพราะน่าฟังนะ ร้องเพลงขับอันประกอบด้วยอรรถรสแห่งธรรม ประสานกลมกลืนกับธรรมที่กำลังสัมผัสเพ่งพิศพินิจพิจารณาอยู่ ภาษาธรรมที่เขาร้องเอื้อนด้วยความไม่มีสตินั้น กลับย้อนเข้ามาสู่ดวงใจที่กำลังเพ่งพิศธรรมนั้นอยู่ จิตนั้นก็รวมลงสู่ฐานของจิตโดยฉับพลัน เพลงขับนั้นเขาร้องเป็นทำนองอีสานว่า

“ทุกข์อยู่ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์อยู่ในผ้าอ้อมป้อมผ้าฮ้าย โฮม อ้ายอยู่ผู้เดียว ทุกข์อยู่ในโลกนี้มีแต่สิทน ทุกข์อยู่ในเมืองคน มีแต่ตนเดียวอ้าย... ทุกข์ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว”

เขาร้องเป็นทำนองไพเราะมาก

พอได้ฟังเท่านั้นแหละจิตนี้รวมลงทันที เป็นการรวมที่อัศจรรย์ นี้แหละธรรมะเป็นสมบัติกลางที่ผู้ประพฤติปฏิบัติน้อมมาพินิจพิจารณา ก็จะก่อให้เกิดธรรมขึ้นมายในใจตน ถ้ารู้จักน้อมมาสอนตนเสียงร้องเหล่านี้เป็นเสียงธรรมได้ทั้งนั้น

สมัยนั้นก็ยังหนุ่มอยู่ แต่ว่ามันก็ไม่รู้ยังไง ฟังบทขับร้องแล้วชอบกลอยู่ เขาร้องอย่างนี้ “ทุกข์ในขันธ์ห้า... โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว” คนอีสานเขามาอยู่ทางเหนือ เขาขับร้องเพราะมาก มีเสียงเอื้อนตามแบบของคนอีสาน

ทุกข์ในขันธ์ห้า มีเมียก็ต้องเลี้ยงเมีย หากเมื่อมีลูกขึ้นมาหนึ่ง ก็ต้องเลี้ยงหนึ่ง เลี้ยงสอง เลี้ยงสามฯลฯ เมียสองก็ต้องเลี้ยงสี่ เลี้ยงห้า เอาเข้าไปแล้ว เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่สารพัด เลี้ยงกันมาจนกระทั่งถึงเรา นี่มันเป็นอย่างนั้น นี่ทุกข์ที่สุด เราก็มีพ่อมีแม่ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้เข้าวัดเข้าวาฮิ นึกแล้วน่าสงสาร แต่ดึงเท่าไหร่ก็ไม่ยอมขึ้น เราหลุดออกมานี่มีชีวิตอันประเสริฐที่สุด ใครสามารถพินิจพิจารณาได้แล้ว รอดลงไปได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นบ่วงลึกที่สุด ท่านอาจารย์ฝั้นท่านว่า..เรื่องการครองเรือน เรื่องความหลง ท่านพูดยิ่งเด็ดขาด... แต่เราพูดออกมาอย่างท่านไม่ได้

เพราะฉะนั้นอันนี้เอง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญา เมื่อเราน้อมนำมา พินิจพิจารณาใจของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องขัดเกลา เหมือนแฟ้บที่ซักเสื้อผ้า หรือเหมือนสบู่ที่ขัดเหงื่อไหลของเรา ขัดขี้เหงื่อคราบไคลของเราให้ออกไป เปรียบอย่างนั้นมันเหมาะดี

ธรรมะบทใดบทหนึ่ง เมื่อเราน้อมเข้ามาพินิจพิจารณาให้เกิดความสังเวชสลดใจได้แล้ว นั่นมีคุณค่าจะหาราคาอันใดมาเปรียบมิได้เลยนั่นท่านเรียกว่าเป็นปัญญา ส่วนที่ความรู้สึกในขณะที่พิจารณาอย่างนั้น จนเกิดความสังเวชสลดใจ เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ใจนั้นก็มีความสงบ เมื่อความสงบปรากฏอย่างนั้น ใจนั้นก็เป็นใจที่ปกติ เมื่อใจเป็นปกตินั่นเอง มีความรู้ตัวอยู่อย่างนั้น ใจไม่วอกแวกไปไหน นี่แหละท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ”


บทเพลงพระอรหันต์


แม้ในสมัยพุทธกาล บทเพลงของพระอรหันต์ก็มีเช่นเดียวกัน เท่าที่ทราบท่านนิยมสวดเป็น ทำนองสรภัญญะ ในสมัยพุทธกาลมีเล่าไว้ว่า พระโสณะกุฏิกัณณะสวดสรภัญญะ ถวายพระพุทธเจ้า และได้รับคำชมจากพระพุทธองค์ว่า เธอสวดเสียงไพเราะดี

ปัจจุบันเราก็นิยมสวดสรภัญญะกัน แม้เราเองกชอบฟังสวดสรภัญญะบท พระสหัสสนัย ที่ท่านบรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติยากง่ายของแต่ละดวงจิต สวดสรภัญญะก็คือ ร้องเพลงแบบหนึ่งนั้นเอง เรื่องนี้มีมูลเหตุอยู่ว่า ปัณจสิขะเทพบุตรขณะรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์อยู่หน้าถ้ำแห่งหนึ่ง หยิบพิณขึ้นมาดีดขับเพลงรักของตนที่มีต่อคนรัก เปรียบความรักของเขากับความรักโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ ก็ได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์เซ่นเดียวกัน

ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุบางรูปยืนฟังนางทาสีขณะตักน้ำร้องเพลงด้วยความเพลิดเพลินใจ พิจารณาความตามเนื้อเพลงได้บรรลุพระอรหัตก็มี การสวดการร้องบ่อยๆ เสียงที่สวดอันเป็นบทกรรมที่ไพเราะ จะดึงให้จิตจดจ่อเฉพาะเสียง ลืมโลกภายนอกหมดสิ้น จิตเกิดดิ่งเป็นสมาธิ พลังสมาธิเช่นนี้ใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ก็ไม่ต้องสวดหรือร้อง เพียงแต่ฟังเฉยๆ หรือพิจารณาสิ่งที่ได้ยินเข้าตามเนื้อเพลง น้อมเข้ามาใส่ตนให้เป็นธรรม ถ้าบทเพลงนั้นมีคติเตือนใจ บทเพลงวิมุตติหรือเรียกอีกอย่างว่าบทเพลงพระอรหันต์ เพราะพระภิกษุ ภิกษุณี ท่านได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เปล่งวาจาเป็นภาษากวี บรรยายความสุขใจที่ได้รับหลังการบรรลุธรรม

มีบทเพลงที่ท่านพระสิริมัณฑเถระ ได้เปล่งเป็นบทกวีไว้ เดิมพระเถระรูปนี้เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งเมืองสุงสุมารคิรี ท่านบวชมาแล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ขณะฟังพระปาฏิโมกข์แล้วพิจารณาว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ถ้าไม่เปิดเผย (ปกปิดความชั่วไว้) ย่อมเศร้าหมอง แต่ว่าไม่ปกปิด (บอกความจริงแล้วปลงอาบัติเสีย) ก็จะบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในที่สุด พระศาสนาของพระพุทธองค์ช่างบริสุทธิ์จริง ๆ ท่านคิดพิจารณาดังนี้ ด้วยความที่จิตฝึกมาดี ก็ได้บรรลุอรหัตผล หลังการบรรลุธรรมจึงได้เปล่งคาถาเป็นบทเพลงกวีว่าไว้ว่า
......“สัตว์โลกถูกมฤตยูดักฆ่า ถูกชราไล่ต้อน
ยิงด้วยลูกศรคือความทะเยอทะยาน
เผาให้เป็นเถ้าถ่านด้วยความปรารถนา มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสาม
คือกองไฟลามลุกไหม้ แรงจะต้านใดก็ไม่มี จะบึ่งหนีก็ไม่พ้น
ไม่ควรปล่อยวันเวลาล่วงไปเปล่า ไม่ว่ามากหรือน้อย
กี่วันผันผ่าน ชีวิตกาลยิ่งใกล้ความตาย เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
วาระสุดท้ายอาจมาถึง จึงไม่ควรประมาท”


และบทเพลงกวีของพระเชนตะ ท่านเป็นคนช่างคิด คิดว่าครองเพศฆราวาสก็ยาก หาเงินทองมาเลี้ยงครอบครัวก็ลำบาก บวชก็ลำบาก จะเลือกทางดำเนินชีวิตแบบไหนดี ในที่สุดก็ตัดสินใจไปบวช ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็กล่าวโศลกเตือนใจเพื่อนมนุษย์ให้เห็นความเป็นอนิจจังของสิ่งทั้งปวงเป็นบทเพลงว่า
.....“ครองเพศบรรพชิตนั้นแสนลำบาก
ฆราวาสวิสัยก็ยากเย็นเช่นเดียวกัน
พระธรรมอันคัมภีรภาพนั้นยากเข้าใจ
โค ทรัพย์กว่าจะหามาได้ก็เหน็ดเหนื่อย
มีชีวิตเรื่อยๆ อย่างสันโดษก็ยากเย็น
ฉะนี้น่าจะเห็น น่าจะคิด อนิจจังฯ”


ที่มา -
http://larndharma.org



17 comments:

  1. http://cyrus-fb.blogspot.com/2012/09/blog-post_6.html
    มนุษย์ประกอบด้วย
    1) ส่วนที่เป็นร่างกาย และ
    2) จิตใจ
    ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ในกลุ่มของ "ปรัชญาจิตวิทยา" (Psychological Philosophy) จึงจำแนกความสัมพันธ์ที่เป็นข้อถกเถียงกันออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

    1. กลุ่มที่เชื่อว่าจิตใจและร่างกายแยกจากกัน (Dualism) หรือ (ทวินิยม) ในกลุ่มนี้มีแนวคิดย่อยอีก 3 แนวคิด คือ
    1.1 ลัทธิปฏิสัมพันธ์ (Interactionism) มีความเชื่อว่า
    - เชื่อว่าจิตใจเป็นผู้รับรู้และสั่งการ
    - ร่างกายเป็นกลไกในการปฏิบัติ
    - ร่างกายและจิตใจจะมีปฏิสัมพันธ์กันอยู่เสมอ
    1.2 ลัทธิคู่ขนาน (Psychophysical Parallelism) มีความเชื่อว่า
    - จิตใจและร่างกายต่างก็เป็นอิสระ ไม่มีอิทธิพลต่อกัน
    - ปรากฎการณ์ทางร่างกายและจิตใจจะเกิดขึ้นแบบคู่ขนาน
    1.3 ลัทธิผลพลอยได้ (Epiphenomenatism) มีความเชื่อว่า
    - จิตใจเป็นผลพลอยได้จากการทำงานของร่างกาย

    2. กลุ่มที่เชื่อว่าจิตใจและร่างกายเป็นสิ่งเดียวกัน (Monism) หรือ (เอกนิยม) ในกลุ่มนี้มีแนวคิดย่อยอีก 3 แนวคิด คือ
    2.1 ร่างกายคือสิ่งเดียวของมนุษย์
    - การกระทำเป็นการทำงานของร่างกาย
    - กระบวนการทางจิตใจเป็นการทำงานของระบบประสาทซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย
    นักปรัชญาชาวอังกฤษชื่อ ฮอบส์ (Hobbes) นำมาเผยแพร่ในนามของ ลัทธิสสารนิยม (Materialism)
    2.2 จิตใจและร่างกายเป็นสิ่งเดียวกัน การรับรู้ว่าเป็นจิตใจหรือร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับมิติแห่งการรับรู้
    นักปรัชญาดัทซ์ชื่อ สปิโนซา (Spinoza) เป็นผู้ให้แนวคิดนี้ ในชื่อ "ทฤษฎีสองด้าน" (Double - Aspect Theory)
    2.3 จิตใจคือสิ่งเดียวของมนุษย์
    - การรับรู้สสารต่าง ๆ เป็นการทำงานของจิตใจ
    - ไม่มีจิตใจการรับรู้สสารย่อมไม่มีขึ้นได้
    - ถือเป็นลัทธิจิตนิยม (Idealism)

    ข้อถกเถียงเรื่องจิตใจกับร่างกายว่าเป็นส่วนเดียวหรือเป็นสองส่วน ในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่สรุปและพิสูจน์ไม่ได้

    ReplyDelete
  2. ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา จะเห็นได้จากความเชื่อที่หลายคน ได้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้ตนเอง หรืออวยพรให้ผู้อื่นได้รับความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว สุขภาพร่างกาย หรือเรื่องอื่น ๆ แต่การที่บุคคลใดจะประสบความสำเร็จได้นั้น ล้วนมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งซึ่งเหมือนกันคือ “ความมั่นใจ”
    ความมั่นใจ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายใน และขึ้นอยู่กับว่า เราสามารถจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร คนที่มีความมั่นใจจะสามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด ไม่ว่าปัญหานั้นจะใหญ่หรือเล็ก นอกจากนี้ ความมั่นใจ ยังเป็นความรู้สึกที่เกิดจากเรารู้คุณค่ากับชีวิตของตัวเราเอง คนที่มีความมั่นใจ มักจะมีความสุข มีความรู้สึกที่ดีให้กับตนเอง และมีความเชื่อมั่นว่าคนจะสามารถรับภาระกับปัยหาที่กำลังเผชิญอยู่ได้เสมอ



    ที่แห่งความมั่นใจ
    ประสบการณ์วัยเด็ก : สมัยเด็กหากเราเคยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และสามารถที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองหรือได้แสดงความสามารถต่าง ๆ ได้แล้วคนรอบข้างชื่นชม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะหล่อหลอมความมั่นใจให้เพิ่มขึ้นทีละน้อย
    กำลังใจ : แม้ว่าเราจะไม่มีความสามารถอะไรที่โดดเด่นนัก หรือผลงานออกมาอาจจะไม่ดีเท่าใดนักหากแต่มีคนแสดงความชื่นชมกับผลงานของเรา จะช่วยสร้างความมั่นใจได้เช่นกัน
    ความรัก : การได้มีโอกาสที่จะรักหรือการได้รับความรัก เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะเพิ่มความมั่นใจกับตนเองผู้ที่พร้อมด้วยความรัก ความอบอุ่น จะสามารถผ่านปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้
    ความกลัว : เป็นสาเหตุใหญ่แห่งความไม่มั่นใจคนส่วนใหญ่มักจะขาดความมั่นใจ หากเราอยู่ในสถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคย ความกลัวทำให้เราไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ควรทำ วีที่ดีที่สุดที่จะเริ่มสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง
    ก็คือ การขจัดความกลัว กล้าตัดสินใจ ลองลงมือทำอะไรบางอย่างที่ไม่เคยทำ และทำให้สำเร็จ หากล้มเหลว ยังดีกว่าไม่กล้าทำความพยายามที่เราจะทำไป จะทำให้เรามีโอกาสฝึกฝนที่จะลองวิธีใหม่ ๆ ต่างไปจากวิธีเดิม

    ReplyDelete
  3. วิธีการสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง
    หาต้นแบบ : ลองหาต้นแบบจากบุคคลสำคัญที่เราชื่นชม อ่านประวัติของเขา จะช่วยสร้างกำลังใจให้ได้ ไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาพรั่งพร้อม ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสร้างขึ้นมาด้วยตนเอง และทุกสิ่งทุกอย่างจะเริ่มเมื่อเราเข้มแข็ง ยึดมั่นในเป้าหมาย มุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไป
    และมั่นใจ ที่จะดำเนินชีวิต
    เปิดหูเปิดตา : เปิดโลกทัศน์ว่า ใครเขาทำอะไรที่ไหนอย่างไร เมื่อเรารู้สิ่งที่ควรจะเป็นหรือควรจะทำเป็นอย่างไร ก็จะช่วยลดความประหม่า ลดความกังวลลง และจะมีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ
    สร้างภาพ : หลับตานึกภาพตนเอง ในแบบที่เราต้องการจะเป็นสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญ เช่น ภาพของตัวเรายืนอยู่ต่อหน้าคนอื่น สร้างภาพให้ชัดเจนว่าเรามั่นใจดูดี เก่ง และน่าเชื่อถือ สร้างภาพคนรอบข้างกำลังยิ่งชื่นชมกับตัวเรา
    สร้างภาพว่า เรากำลังสนุกสนานกับสิ่งที่เผชิญและจินตนาการว่า วันนั้นเรากลับบ้านด้วยรอยยิ้มของความสำเร็จ เมื่องานนั้นลุล่วงด้วยดี
    ทำความคุ้นเคย : หากสิ่งใหม่ ๆ สำหรับงานใหม่ มันน่ากลัวทำให้เราไม่มั่นใจ คาดเดาไม่ถูกว่าจะพบกับอะไร ความกังวลจะเกิดขึ้น แต่หากเราได้มีโอกาสคลุกคลีกับสิ่งแวดล้อมหรือผู้คนกลุ่มนั้น เราจะรู้สึกสบายใจ และมีความมั่นใจมากขึ้น
    ยืดตัวตรง : คนที่มีความมั่นใจ และมีความสุข มักจะยืนและเดินอย่างสง่าผ่าเผย การยืดตัวตรงไม่เพียงแต่จะเป็นผลของความรู้สึกมั่นต่อผู้อื่น แต่ยังมีผลถึงความรู้สึกมั่นใจของเราด้วย
    หมั่นฝึกซ้อม : คนส่วนใหญ่มักมองข้ามความสำคัญของการฝึกซ้อม รับมือทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าได้รับเชิญไปพูดต่อหน้าสาธารณชนก็ควรมีการฝึกซ้อมก่อนเพื่อจะได้หาข้อบกพร่องและแก้ไขก่อนถึงวันจริง
    พร้อมรับมือ : ไม่มีอาชีพใด ที่จะยอมลงสนามขณะที่ยังไม่พร้อม และรับมือกับทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างชาญฉลาด และมั่นใจ

    ReplyDelete
  4. คุณลักษณะของผู้ที่ก้าวสู่ความสำเร็จ
    คนที่มีความมั่นใจมากไป จะกลายเป็นคนหลงตัวเองจึงกลายเป็นคนอวดฉลาด ชอบโอ้อวดตนหรือยกตนข่มท่านจึงทำให้ไม่น่าคบ บุคคลที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งการงานและเรื่องส่วนตัว ต้องมีความมั่นใจ พอเหมาะพอดี
    มั่นใจในทางที่ถูกต้อง มีสติและจิตใจที่งดงาม เป็นองค์ประกอบด้วย ดังนี้
    1. เป็นผู้นับถือตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถของตน
    2. เชื่อว่าตนเองเป็นคนพิเศษ ไม่ดูถูกตนเอง
    3. รู้จักตนเองดี สนใจ ใส่ใจ และรับรู้ ความคิด ความต้องการ และความรู้สึกของตนเอง
    4. แข่งขันกับตนเอง พยายามทำทุกสิ่งให้ดีที่สุดอย่างสุดความสามารถ
    5. ทะเยอทะยาน กล้ายอมรับ พร้อมกับมีความหวังมีแรงบันดาลใจ และพร้อมที่จะก้าวไปในอนาคต
    6. พัฒนาตนเองเสมอ พิจารณาตนเอง และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
    7. ดูแลตนเองได้ รู้จักพึ่งพาตนเอง
    8. มีความฝัน มองเห็นภาพตนเอง ในฐานะผู้ทำ ภาระตนเองหรือดีที่สุดในหน้าที่การงานของคน
    9. กล้าทำความฝัน กล้าตัดสินใจดำเนินชีวิต ตามวิถีชีวิตของตนทีวาดฝันไว ้ และกล้าลงมือทำในสิ่งที่ตนรักแม้จะแตกต่างจากคนอื่นก็ตาม
    10. รับผิดชอบในการตัดสินใจของตนเอง และเมื่อกล้าลงมือแล้วก็ต้องกล้ารับผิดชอบ ในสิ่งที่ทำไป หากผิดพลาดก็ต้องกล้ารับ และรู้จักพูดคำว่า “ขอโทษ”
    11. เพียรพยายาม ต้องมีความอดทนและพยายามที่จะทำตามสิ่งที่ฝันให้สำเร็จ แม้จะมีอุปสรรคก็ไม่ย่อท้อ รู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เสมอ
    12. รับคำชม ความนิยมชมชอบจากผู้อื่น ๆ ได้อย่างไม่เคอะเขิน สง่างาม สงบ มีสติ และรู้กาลเทศะ

    ReplyDelete

  5. เคล็ดลับการทำงานสู่ความสำเร็จ
    1. รู้จัก รู้รอบ ในข่าวเศรษฐกิจ และสิ่งรอบตัว เพื่อประโยชน์ในการสนทนา และทันเหตุการณ์ของโลก
    2. ต้องเป็นคนที่ขวนขวาย พยายามทำความเข้าใจกับงานที่ทำอย่างลึกซึ้ง อย่ากลัวที่จะต้องจัดการกับงานนั้นให้ลุล่วงไป คิดเสียว่างานที่ทำนั้นเป็นงานปกติ
    3. ทำรายงาน “ต้องทำ” หลังเลิกงาน ให้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เขียนรายงานที่จะต้องทำวันรุ่งขึ้น ในวันใหม่ของการทำงาน จะได้เริ่มงานได้ทันที
    4. จัดเรียงลำดับความสำคัญของงานก่อนลงมือ งานสำคัญที่สุดที่จะต้องมาก่อนนั้น หมายถึงงานด่วน งานที่จะต้องส่งผู้อื่นเป็นทอด ๆ อย่ามัวเลือกงานง่าย ๆ ที่ชอบ โดยละเลยความสำคัญของงานชิ้นอื่น ๆ ไป
    5. เตรียมหัวข้อการประชุม ก่อนเข้าประชุมให้จัดหัวข้อที่จะต้องปรึกษากัน ในการประชุมนั้น รวมทั้งเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการจากการประชุม
    6. เมื่อสัญญาอะไร ไว้กับใคร ไม่ว่าจะเป็นกับนายหรือลูกน้อย ให้รักษาไว้เป็นคำนั้น มันจะทำให้เราได้รับความไว้วางใจ และมีความน่านับถือ มากขึ้น
    7. หมดสมัยคำว่า “ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เป็น ไม่ได้” ปัญหาทุกอย่างมีทางออกทั้งนั้น เพียงแค่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้น หากหาทางออกไม่ได้ ก็อย่างกลัวที่จะยอมรับว่าไม่รู้แต่ควรพยายามที่จะขวนขวายหาคำตอบ จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หรือคนรอบข้างให้ได้ในที่สุด
    8. หากมีกิจใด ที่ไม่จำเป็นต่อหน้าที่การงาน และไม่ต้องการที่จะทำก็รู้จักปฏิเสธ เราจะได้สามารถควบคุมเวลาของตนเองได้
    9. ไม่สำคัญก็ทิ้งไป คนเราเสียเวลากับเอกสารข้อมูลที่เข้ามามากเกินความจำเป็นประมาณ 80 % ของเอกสารที่เราเก็บไว้ มักไม่ได้นำกลับมาใช้อีก
    10. ไม่รับโทรศัพท์ก็ไม่ผิด ถ้าพบว่าตนเองยุ่งยากจนไม่มีเวลาทำงานสิ่งใดเสร็จลุล่วง ลองนำเครื่องตอบรับอัตโนมัติมาใช้ และโทรกลับเมื่อว่างแล้ว
    คนส่วนใหญ่ มีความมั่นใจที่แตกต่างกันออกไป ตามสถานการณ์ แม้กระทั่งตัวเราเองก็ตาม บางเรื่องที่เราอาจมั่นใจว่าทำได้แน่ หากออกไปเจอผู้คนหมู่มาก กลับไม่มีความมั่นใจ ซึ่งแท้จริงแล้วคนเรามักจะเป็นเช่นนี้กันทั้งนั้น
    แต่หากคนเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมั่นใจในตนเอง มากพอที่จะพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ เราจะก้าวล้ำหน้าผู้อื่นไปอีกระดับหนึ่ง และมักจะทำความสำเร็จให้มากกว่าผู้อื่น นอกจากนั้น ผู้ที่มีความมั่นใจยังมีแนวโน้มที่จะมีความสุข ไม่ค่อยซึมเศร้า
    หรือไม่วิตกกังวลด้วย บางคนอาจจะคิดว่า ถึงแม้จะไม่มีความมั่นใจในตนเองแต่ฉันก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งเป็นความจริง แต่หากเราต้องการเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และมีความสุขด้วยความมั่นใจในตัวเองมีความสำคัญมากทีเดียว
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องออกไปสู่โลกภายนอกเท่าใด ก็ยิ่งจำเป็นต้องมีความรู้สึกเชื่อมั่นจากภายในมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบสูง และยิ่งต้องการความสำเร็จสูงมากเท่าใด ความมั่นใจย่อมต้องมีบทบาทมากขึ้นเท่านั้น

    ReplyDelete
  6. พื้นฐานสำคัญของการเป็นผู้นำที่จะมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเอง มีความมั่นใจ และให้ความเคารพตนเองอย่างมาก ความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองอาจแตกต่างกันไปในผู้นำแต่ละคน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก และปัจจัยภายนอก เช่น สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองก็สามารถยกระดับให้สูงขึ้นได้ ด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1)ภาพลักษณ์ต่อตนเอง (Self – Image) 2) การพูดคุยกับตนเอง (Self – Talk) และ 3) การกำหนดชีวิตของตนเอง (Self – Determination)
    ภาพลักษณ์ต่อตนเอง (Self-Image) ลองตั้งคำถามตัวเราเองซิครับว่า “ภาพลักษณ์ของเราเป็นอย่างไร” เราอาจจะไม่สามารถบอกออกมาเป็นคำพูดได้ว่า เรามองตัวเองอย่างไร แต่อย่างน้อยเราก็จะมีภาพลักษณ์ของตัวเราเองภาพหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในทุกๆ วันของเรา ภาพลักษณ์ของเราเกิดมาจากการที่เราตีความหมายในสิ่งที่ผู้อื่นพูดหรือทำต่อเรา และการที่เราที่เราเลือกที่จะปฏิบัติในสถานการณ์หนึ่งๆ
    เช่น เราเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น มีความเชื่อมั่นในตนเองพอสมควรแต่ก็ไม่มากจนกลายเป็นคนดื้อรั้นและมีทิฐิอย่างรุนแรง เป็นคนที่มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนร่วมงาน แต่ติดที่ไม่ค่อยมีระเบียบ และค่อนข้างพูดน้อย ขี้อาย ซึ่งตัวอย่างที่ผมยกมาให้เห็นนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในด้านภาพลักษณ์ของตัวเราที่เราหรือคนอื่นมองเห็น
    คำถามสำคัญก็คือ เรามีภาพลักษณ์อะไรที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ และมีภาพลักษณ์ใดที่ต้องเพิ่มเติมและเสริมสร้างให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นหรือไม่ วิธีการสำคัญ ก็คือ รบกวนเพื่อนที่ไว้วางใจได้อย่างน้อย 2-3 คน ช่วยเป็นกระจกสะท้อนภาพลักษณ์ของเรา และเราต้องยินดีรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้างนะครับ
    การพูดคุยกับตนเอง (Self – Talk) เราเคยพูดคุยกับตัวเองบ้างมั๊ยครับ ผมเชื่อว่าหลายคนมีประสบการณ์ในการพูดคุยกับตัวเองมาบ้างแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติอะไรเลย บางคนอาจพูดออกมาดังๆ หรือบางคนอาจคุยเหมือนโต้ตอบกันระหว่าง 2 คนก็มี คำถามสำคัญก็คือว่า “เราคุยกับตนเองอย่างไร” เราคุยกับตนเองในทางบวก ให้การสนับสนุนตัวเอง หรือ ถอนหายใจแล้วพูดกับตัวเองในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพูดคุยกับตนเองในแบบหลังนี้จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองมีระดับต่ำลงเรื่อยๆ
    ลองคิดดูว่า เราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเรามีหัวหน้างานที่มีนิสัยชอบวิจารณ์และตำหนิเรื่องของเราทุกวัน มองเราในแง่ลบว่าเราไม่มีอะไรดีเลย คอยว่ากล่าวเราอยู่เสมอว่าเราทำอะไรก็ไม่ดีไปหมด เราเป็นคนที่ไม่รู้จักปรับปรุงพัฒนาอะไรให้ดีขึ้นเลย และคอยแต่จะหาทางจับผิด ลงโทษ เราอยู่เสมอ การพูดคุยถึงตัวเองในแง่ลบก็ไม่ต่างอะไร
    หากสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับตัวเรา จิตใต้สำนึก (Subconscious Mind) ของเราก็จะรับรู้และเก็บบันทึกเรื่องร้ายๆ ทัศนคติเชิงลบเข้าไปเก็บไว้ในบันทึกความทรงจำของเราทุกวัน และในที่สุดก็จะทำให้ความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองลดน้อยลงไปด้วย และกลายเป็นภาพลักษณ์ของเราไปโดยอัตโนมัติ
    ดังนั้น วิธีการที่เราจะถ่ายโอนความคิดแย่ๆ เดิมๆ ออกไปจากตัวของเราอย่างง่ายๆ วิธีหนึ่ง ก็คือ เมื่อเราได้ยินตัวเองพูด ไม่ว่าจะพูดในใจหรือพูดออกมาดังๆ ก็ตาม ถึงสิ่งต่างๆ ในแง่ลบเกี่ยวกับตัวเราเอง ก็จงพยายามพูดกับตัวเองใหม่ให้ดูนุ่มนวลกว่าเดิม
    เช่น เมื่อมีสติรู้ทันที่เราพูดว่า “จะเป็นอย่างไรนะ ถ้าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับความคิดของเรา” ก็ให้พูดกับตัวเองใหม่ว่า “นี่เป็นความคิดที่ดีของเรา ที่เราทุ่มเทคิดมาอย่างเต็มที่ พวกเขาต้องชอบแน่นอน”
    “เราไม่เคยที่จะคิดแก้ปัญหาอะไรด้วยตัวเองได้เลย ต้องหวังพึ่งคนอื่นตลอดเวลา” ก็ให้พูดกับตัวเองใหม่ว่า “ ใจเย็นๆ น่า ค่อยๆ คิด เราทำได้ เราทำได้”
    การกำหนดชีวิตตนเอง (Self- Determination) เราเคยมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาอดีต แล้วสงสัยหรือไม่ครับว่า ทำไมเวลาได้ผ่านไปรวดเร็วเสียเหลือเกิน เร็วมากจนกระทั่งไม่สามารถตักตวงความสุขให้กับชีวิตได้เหมือนคนอื่น นั่นหมายถึงว่า เรากำลังเป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตผ่านไป
    โดยปล่อยให้เหตุการณ์ต่างๆ หรือคนอื่นๆ กำหนดการใช้ชีวิตของเรา ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรารู้จักให้อำนาจตนเองที่จะใช้ชีวิตแตกต่างจากคนกลุ่มแรก เราต้องรู้ดีว่าเป้าหมายที่เราต้องการให้บรรลุผลสำเร็จคืออะไร เราเข้าใจว่าเราต้องการอะไรจากชีวิต และจะก้าวเดินไปด้วย
    ความมั่นใจว่าเราจะได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในคุณค่าตนเองสูง และมีความคาดหวังในแง่บวกว่าจะประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

    ReplyDelete

  7. ลองตอบคำถามต่อไปนี้ ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่
    - เราตั้งเป้าหมายว่าต้องการทำอะไรให้สำเร็จในแต่ละปีเสมอ
    - เราตั้งเป้าหมายว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เราจะทำอะไรสำเร็จ
    - เราวางแผนงานหรือกำหนดรายการที่ต้องทำทุกวัน
    - เรามีความสุขกับการทำงาน และรู้สึกพึงพอใจกับการที่ได้ทำงานนี้
    - เราพูดคุยเรื่องคุณค่าและความต้องการของตัวเองกับครอบครัวและเพื่อน
    - เราสามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
    - เรารู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง
    - เราให้ความสำคัญกับงาน กิจกรรมส่วนตัว และเรื่องของครอบครัวอย่างเหมาะสม
    - เราบริหารการเงินอย่างดี และมีเงินเก็บหลังชีวิตวัยเกษียณ
    - เรารู้สึกพึงพอใจกับการใช้ชีวิตที่ผ่านมา
    ถ้าเราตอบว่าใช่ ตั้งแต่ 8 ข้อขึ้นไป แสดงว่าเราสามารถกำหนดชีวิตของเราได้ดีมาก ถ้าตอบใช่ 5-7 ข้อ แสดงว่า เราจัดการกับชีวิตของตนเองได้ในระดับปานกลาง แต่ถ้าตอบว่าใช่น้อยกว่า 5 ข้อ แสดงว่าเราเป็นคนที่ปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้ทิศทาง แต่ไม่ต้องกังวล
    เพราะอย่างน้อยเราได้รู้แล้วว่า เราควรต้องปรับปรุงและสร้างความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร
    ดังนั้น การมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเอง เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่เราต้องมี ต้องสร้าง และรักษาไว้ อย่างน้อยก็เพื่อให้เราสามารถที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่ท้อแท้ ไม่สิ้นหวังกับชีวิต แต่ที่ไกลไปกว่านั้น ก็เพื่อที่เราจะได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
    ในฐานะผู้นำองค์กร และประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของเราเอง

    ReplyDelete
  8. ปรัชญาเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือปรัชญาที่เป็นแนวคิด และปรัชญาปฏิบัติ
    ปรัชญาแนวคิด หมายถึง ฐานเชื่อที่มีอิทธิพลต่อการสรุปหรือตีความหมายจากการรับ สัมผัสของบุคคลและนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี “คนโกหกไม่ทำบาปย่อมไม่มี” ถือเป็นเกณฑ์ตัดสินถูกหรือผิดของบุคคล
    ปรัชญาปฏิบัติ หมายถึง ฐานคิดที่มีอิทธิพลต่อการนำไปใช้ในการกำหนดวิธีการปฏิบัติ ของบุคคล เช่น “มีความพยายามอยู่ที่ใดมีความสำเร็จอยู่ที่นั่น” “ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่ความสำเร็จ” ดังนั้น การนำฐานคิดนี้ไปใช้ก็เพื่อที่จะให้เกิดประสิทธิผล ฐานคิดดังกล่าวจึงถือเป็นปรัชญาปฏิบัติ
    เพราะความมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดผลตามเป้าหมายที่วางไว้จะเป็นตัวกำหนดวิธีการทำงานของบุคคล มิใช่เกณฑ์ตัดสินถูกหรือผิดเหมือนปรัชญาแนวคิด ดังนั้นการเพิ่มพูนปัญญาให้เกิดขึ้นจึงพึงคำนึงถึงทั้งปรัชญาปฏิบัติและปรัชญาแนวคิด
    จากความหมายที่กล่าวข้างต้นจะเห็นว่าเป็นการให้ความหมายตามอักษร แต่บางครั้งคำว่าปรัชญานั้นมีความหมายตามการใช้ด้วย ตัวอย่างเช่น
    ปรัชญาความรัก “รักพี่จงหนีพ่อ รักน้องจริงอย่าทิ้งน้อง”
    ปรัชญาขี้เมา “เมียตายไม่เสียดายเท่าเหล้าหก”
    ปรัชญารถเมล์ “เมียหึง อย่าดึงเบาะ”
    การให้คำจำกัดความของปรัชญานั้นยังไม่สามารถนิยามอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ทั้งนี้เพราะปรัชญาเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางมากและไม่เฉพาะเจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงไม่มีคำนิยามใดที่จะให้ความหมายของคำว่าปรัชญาได้อย่างสมบูรณ์และแน่นอนตายตัว
    ดังนั้นปรัชญาที่ใช้กันในความหมายข้างต้น จึงหมายถึง “แนวคิด คติ ความเชื่อ หรือข้อคิดที่พบเสมอในภาษาที่ใช้ประจำวัน”

    ReplyDelete


  9. อุดมการณ์ พอจำแนกคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
    1. หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อ
    2. เป้าหมายที่ต้องการ
    3. วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
    ดังนั้น ความหมายของคำว่า อุดมการณ์ จึงหมายถึง จินตนาการ ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่งความดีงาม และความจริง ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตอันสูงส่งที่จูงใจ ให้มนุษย์พยายามบรรลุถึงความหมายของการพัฒนาตนเอง



    องค์ประกอบของการพัฒนาตนเองมี 2 ลักษณะ คือ
    ด้านพฤติกรรมภายใน หมายถึง การพัฒนาจิตใจ เพื่อให้บุคคลมีความเจริญด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งจะได้นำปัญญาไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ ต่อไป อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
    ด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก หมายถึง การพัฒนาด้านทักษะความสัมพันธ์กับภายนอก เช่น การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ การประสานงาน การมีมนุษยสัมพันธ์ หรือแรงจูงใจ เป็นต้น

    ReplyDelete
  10. การพัฒนาตนเอง หมายถึง การที่คนเราต้องกระทำตัวให้เก่งขึ้น ซึ่งถ้าจะเก่งต้องประกอบด้วย 3 เก่ง คือ
    1. เก่งตน (self ability) หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันโลก ทันคน โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาตนเองนั้นพัฒนาได้ 3 ทางคือ
    - ทางกาย องค์ประกอบที่สำคัญ คือ รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดจุดด้อยหรือเสริมจุดเด่น หน้าตาสดชื่นแจ่มใส สะอาดหมดจด อากัปกิริยา การแสดงออก เข้มแข็งแต่ไม่แข็งกระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ การยืน การเดิน การนั่ง ต้องมั่นคง เรียบร้อย การแต่งกายต้องสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณ
    - ทางวาจา การพูดดีต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ พูดดี มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคนปลอดภัย ก่อนพูดทุกครั้งต้องคิดก่อนพูด คนที่พูดดี มีปิยะวาจา เป็นลมปากที่หวานหูไม่รู้หาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุก ๆ ฝ่ายที่ได้ยินได้ฟัง
    - ทางใจ การพัฒนาทางใจก็มีองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความมั่นใจ ถ้ามี ความมั่นใจในตนเอง จะทำอะไรก็สำเร็จ ความจริงใจ คือ เป็นคนปากกับใจตรงกัน ความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง แจ่มใส มีชีวิตชีวา ความมานะพยายามไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุขใจ ความอดกลั้น ความมีเหตุผล การมีสมรรถภาพในการจำและมีความคิดสร้างสรรค์

    2. เก่งคน (human ability) หมายถึง เป็นผู้มีความสามารถที่จะทำตัวให้เข้าไหนเข้าได้เป็นที่ รักใคร่ชอบพอแก่ทุกฝ่าย มีมนุษยสัมพันธ์ในครอบครัว พ่อแม่ควรรู้หลักจิตวิทยาในการปกครองลูก ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่ลูก ลูกก็ไม่ทำตนให้เป็นปัญหาให้พ่อแม่
    และมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน สามารถทำตนให้เข้ากับคนได้กับทุกคน หากมีผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาก็รัก หากมีลูกน้อง ลูกน้องก็รัก เพื่อนร่วมงานก็รัก บุคคลภายนอกหรือลูกค้าก็รัก ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

    ReplyDelete

  11. 3. เก่งงาน (task ability) หมายถึง เป็นผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร มานะ อดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค
    การพัฒนาตนเอง หมายถึง การพัฒนา ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้บริหารและบุคลากรด้วยตนเอง สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีความมั่นใจและสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องรอรับการตรวจสอบจากบุคคลอื่น
    การพัฒนาตนเอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง แก้ไข สรรค์สร้าง เกี่ยวกับตนเอง เพื่อนำไปสู่ความดี ความงาม ความเจริญในตนเอง โดยมีความมุ่งหมายสูงสุด คือ การมีชีวิตที่มีคุณภาพ มีความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่การงาน และมีความสุข
    การพัฒนาตนเอง หมายถึง การเสริมสร้างตนเองให้บรรลุมุ่งหมายแห่งชีวิต โดยไม่เบียดเบียนสิทธิของคนอื่น เป็นการสร้างสรรค์พัฒนาชีวิต และการงานของตนให้สูงเด่น มีคุณประโยชน์และมีความสุข การพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและมีสภาพของชีวิตที่ดีขึ้น
    เป็นสิ่งที่ทุกคนมุ่งมาดปรารถนา สำหรับจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตของบุคคลแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันไปอาจมีดังต่อไปนี้
    การพึ่งตนเองและเลี้ยงตนเองได้ หมายถึง ตนเองจะต้องสร้างตนเองให้สามารถ ประกอบอาชีพอย่างเป็นหลักฐานมั่นคง โดยมีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสมและมีเกียรติ ไม่ใช่ต้องคอยรับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นโดยตลอดหรือไม่สามารถช่วยตนเองได้
    การประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน หมายถึง การประกอบอาชีพการงานนั้น จะต้องมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพอย่างเหมาะสมและพึงพอใจ โดยได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งหรือความดีความชอบอย่างต่อเนื่องทัดเทียมหรือดีกว่าบุคคลอื่นในหน่วยงานเดียวกัน
    การที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิตการงานนั้น บุคคลนั้นจะต้องมีความรู้ ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบและมีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งจะต้องมีความประพฤติและนิสัยดีสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี
    การทำประโยชน์แก่สังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมใดสังคมหนึ่งควรจะต้องมี ความรับผิดชอบสังคมนั้น โดยหาทางช่วยเหลือ สนับสนุนให้สังคมของตนเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุข บุคคลจะมีชีวิตอย่างเป็นสุขได้
    จะต้องไม่เห็นแก่ตัวจนเกินไป จะต้องมีการเผื่อแผ่และช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยเพราะไม่มีใครสามารถอยู่คนเดียวในโลกได้จำเป็นต้องมี พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง และหมู่คณะ ฉะนั้นการทำประโยชน์และการช่วยเหลือสังคม เช่น การสร้างสาธารณะสถาน การร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อหมู่คณะ
    การสอนหรืออบรมบุคคลอื่นให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ เป็นต้น จะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของบุคคลอย่างสันติสุข
    ดังนั้น การพัฒนาตนเอง จึงมีความหมายโดยสรุปว่า เป็นการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าจนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นให้แก่ตนเอง โดยการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง แก้ไข สรรค์สร้าง เกี่ยวกับตนเอง เพื่อนำไปสู่ความดี ความเจริญในตนเอง และความมุ่งหมายสูงสุด กล่าวคือ
    การมีชีวิตที่มีคุณภาพ มีความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่การงาน และมีความสุข อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตนเองต้องเป็นการเสริมสร้างตนเองให้บรรลุมุ่งหมายแห่งชีวิต โดยไม่เบียดเบียนสิทธิของคนอื่น จากความหมายของคำต่าง ๆ ที่กล่าวมา พอจะสรุปได้ว่า ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง น่าจะมีความหมายรวมกันอย่างกว้าง ๆ คือ “หลักการที่บุคคลยึดถือไว้เพื่อการปฏิบัติสำหรับการพัฒนาตนเอง”

    ReplyDelete
  12. ความจำเป็นในการพัฒนาตนเอง การที่บุคคลแต่ละบุคคลเล็งเห็นการพัฒนาตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการอยู่ ร่วมกันในสังคมใดสังคมหนึ่งเสมอ ในฐานะปัจเจกบุคคลและหมู่คณะ ด้วยเหตุนี้จากการศึกษาความจำเป็นในการพัฒนาตนเองจึงควรมีประเด็นดังต่อไปนี้
    1. การพัฒนาตนเองเป็นจิตสำนึก
    ความเชื่อในความเป็นมนุษย์ที่พัฒนาได้ หรือเชื่อใน ความเป็นมนุษย์ว่าเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ จะทำให้เกิดจิตสำนึกที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตน ซึ่งแสดงอาการออกมาเป็นความอ่อนน้อมถ่อมตน อันชี้บ่งถึงความเป็นผู้พร้อมที่จะฝึกฝนพัฒนาตนนั้นขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตสำนึกในการศึกษาหรือ
    ฝึกฝนพัฒนาตน จะทำให้บุคคลมีท่าทีต่อประสบการณ์ทั้งหลายอย่างที่เรียกว่า “มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้หรือรับรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะเอามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตน”

    2. การพัฒนาตนเองเป็นสัจการแห่งตน
    มนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาไปสู่ระดับการมีสัจการแห่งตน (self actualization) ซึ่งหมายถึง การเป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์ มีความเป็นอิสระสามารถคิดและกระทำการใด ๆ ตามมโนธรรมและอุดมการณ์อย่างแท้จริง ซึ่งมาสโลว์ (Maslow) ได้ระบุคุณลักษณะ 16 ประการของคนที่บรรลุถึงขั้น
    การมีสัจการแห่งตน คือ

    ReplyDelete
  13. สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง
    มีความพร้อมที่จะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
    มีความรู้สึกนึกคิดเป็นไปตามธรรมชาติ
    สามารถแยกสนใจในปัญหาออกจากตนเอง
    มีความต้องการเป็นส่วนตัว
    มีความเป็นอิสระและพอเพียงแห่งตน
    มองสิ่งต่าง ๆ บุคคล และเหตุการณ์ให้เข้าถึงแก่นแท้สาระสำคัญตามจริงในขณะนั้น ปราศจากอคติหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
    มีประสบการณ์ที่จะเข้าถึงสัจธรรมหรือความจริงแท้ ของสิ่งต่าง ๆ ก้าวพ้นจากข้อจำกัดที่มีอยู่
    ดำรงตนตามพันธะทางสังคมกับผู้อื่นและสนองความเป็นมนุษย์ชาติ
    อาจมีเพื่อนน้อยหรือมาก แต่มีเพื่อนจำนวนหนึ่งที่มีความสนิทสนมอย่างลึกซึ้ง
    มีทัศนะเชิงประชาธิปไตยมุ่งมั่นเทิดทูนความเสมอภาคเท่าเทียมกันของมนุษย์
    มีค่านิยมที่ดีงามประจำใจ แยกแยะได้ระหว่างจุดหมาย กับวิถีทางไปสู่จุดหมาย
    มีอารมณ์ขันอย่างกว้างขวาง
    สามารถมองสิ่งต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ ๆ คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้
    สามารถต่อต้านแรงกดดันให้คล้อยตามสังคม
    สามารถนำสิ่งที่ขัดแย้งตรงข้ามกัน นำมาประสานเป็นประโยชน์ร่วมกันได้
    จากความคิดที่กล่าวถึงมนุษย์ ว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาไปสู่ระดับการมีสัจการแห่งตนนี้ได้สะท้อนคุณลักษณะของการเป็นคนที่สมบูรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถและเจตคติ ค่านิยมที่เหมาะสมหลายประการ

    ReplyDelete

  14. ในด้านความสามารถที่ทุกคนควรจะมีเป็นพื้นฐานประจำตนเอง ได้แก่ ความสามารถ ด้านการรับรู้ตามความเป็นจริง ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ตามความเป็นจริง โดยไม่นำอารมณ์ความรู้สึกของตนไปเกี่ยวข้อง เป็นการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ
    อย่างตรงไปตรงมาที่เรียกว่าแบบวัตถุวิสัย (objective) ที่ปราศจากอคติความลำเอียงคาดการณ์ตามความรู้สึกที่เรียกว่า อัตวิสัย (subjective) มีความสามารถที่จะคิดในแง่มุมมองใหม่ ๆ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และมีความสามารถทางด้านติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในส่วนของ
    การประสานประโยชน์ ไม่มีความขัดแย้ง รวมถึงความสามารถในการยืนหยัดต่อต้านต่อแรงกดดันให้คล้อยตามในสิ่งที่ไม่เหมาะสม
    ในด้านเจตคติค่านิยมที่สะท้อนลักษณะจิตใจและลักษณะนิสัยที่ดีงามของคนที่สมบูรณ์ เช่น มีความเป็นอิสระ นำตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง พอใจจะดำเนินชีวิตแบบพอเพียง กับสภาพของตน เชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์ที่เสมอภาค มีความสำคัญทัดเทียมกันตามวิถีของประชาธิปไตย
    มีความรักปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ มีค่านิยมที่ดีงามประจำใจ และพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีเหตุผล ไม่เครียด และมีลักษณะนิสัยที่มีอารมณ์ขัน
    แนวความคิดการพัฒนาตนเองเป็นสัจการแห่งตนนี้มีประโยชน์ต่อการให้บุคคลพิจารณามองตนเอง ค้นหาสิ่งที่ดีงามที่ควร ธำรงรักษาไว้ และค้นหาสิ่งที่ควรปรับปรุงสร้างเสริมให้สอดคล้องกับแบบแผนของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

    ReplyDelete
  15. 3. การพัฒนาตนเองเป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่การมีชีวิตที่มีคุณภาพ ชีวิตที่มีคุณภาพ คือ การดำรงชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทุกด้าน ปราศจากปัญหา และมีความสงบสุข ซึ่งมนุษย์มีชีวิตที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
    ชีวิตส่วนตัว คุณภาพชีวิตขึ้นกับการเจริญพัฒนาการครบส่วน ความสมบูรณ์ทาง ร่างกาย สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต สติปัญญา อารมณ์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพต่าง ๆ
    ชีวิตครอบครัว คุณภาพชีวิตขึ้นกับการมีครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น ความ สะดวกสบายของบ้าน เครื่องอำนวยความสะดวก ความเป็นอยู่ที่ไม่ขาดแคลน สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เอื้ออาทรส่งเสริมซึ่งกันและกัน และสนองความต้องการซึ่งกันและกัน
    ชีวิตการทำงาน คุณภาพชีวิตขึ้นกับการมีงานที่มีรายได้มั่นคง ได้ทำงานประกอบ อาชีพที่ตรงกับความรู้ความสามารถและความสนใจ มีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงานในฐานะที่เป็นสมาชิกในการทำหน้าที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเป็นคนเก่ง และคนดีในสายตาของผู้ร่วมงาน
    ชีวิตสังคม คุณภาพชีวิตขึ้นกับการมีเพื่อนสนิทที่รักใคร่ต่อกันอย่างมาก การเป็น สมาชิกในสังคมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นผู้ที่สังคมยอมรับในการมีบทบาทมีส่วนร่วมกิจกรรมของสังคมเสมอ ๆ เสียสละความสุขความสะดวกสบายส่วนตนเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม การมีชีวิตมีคุณภาพทั้ง 4 ด้านนี้จำเป็นจะต้องมีการศึกษา มีการเรียนรู้เพื่อให้มีความรู้ ความคิด ลักษณะนิสัย และการปฏิบัติที่เหมาะสม ถูกต้องดีงาม สิ่งที่สำคัญ คือ โลกและสังคม เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงในการประกอบอาชีพ รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การใช้เทคโนโลยีในระบบการผลิต ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินการคลัง หรือปัญหาอาชญากรรมยาเสพติด เป็นต้น บุคคลจึงต้องพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนให้อยู่รอดและรักษาความสงบสุขมั่นคงในชีวิต การเรียนรู้ตลอดจนชีวิต เพื่อการพัฒนาตนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เป็นการเรียนรู้จากทุกสิ่งในสภาพแวดล้อม ทั้งจากสื่อนานาชนิด และจากบุคคล เป็นการเรียนรู้ที่ตนเองต้องขวนขวายแสวงหาและสร้างโอกาสแทนที่จะรอโอกาส

    ReplyDelete
  16. 4. การพัฒนาตนเป็นที่พึ่งแห่งตน สัจธรรมสำคัญที่เป็นที่ประจักษ์ชัดและยอมรับกันทั่วไป คือ บุคคลจะต้องพึ่งพาตนเอง (self – reliance) เป็นสำคัญ บุคคลตั้งแต่เกิด อาจพึ่งพาพ่อ แม่ ญาติพี่น้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมบ่มนิสัย เมื่อได้รับการศึกษาก็พึ่งครูอาจารย์
    และพึ่งพาองค์การที่เข้าประกอบอาชีพการทำงาน พึ่งพากันในครอบครัว รวมถึงการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อาจช่วยเหลือเกื้อกูลทางทรัพย์สิน ช่วยให้คำแนะนำการแก้ปัญหา รวมถึงการปลอบขวัญให้กำลังใจ แต่การพึ่งพาเช่นนี้จะเกิดขึ้นในเพียงบางช่วงบางเวลา ไม่เป็นที่พึ่งได้ทุกเวลา
    และอาจช่วยเป็นที่พึ่งได้ในบางเรื่อง แต่ไม่เป็นที่พึ่งได้ทุกเรื่องในทุกสิ่งที่บุคคลเผชิญทั้งความทุกข์ ความสุข เศร้าโศกเสียใจ ดีใจพอใจมีปัญหารุมเร้าทางกายภาพหรือทางจิตใจ รวมถึงการคิดตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับชีวิต ครอบครัว กิจการงาน เป็นเรื่องที่บุคคลต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น ดังคำกล่าวว่า
    “ตัวใครตัวมัน” ดังนั้นการขวนขวายเพียรพยายามพัฒนาตนเอง ให้มีศักยภาพความสามารถเป็นที่พึ่งดูแลตนเองได้ตลอดเวลานำตนเองได้ ตัดสินใจเรื่องของตนเองได้อย่างฉลาด จึงเป็นความจำเป็นที่สำคัญ

    ReplyDelete
  17. 5. การพัฒนาตนเองเพื่อชีวิตตั้งต้นใหม่ได้เสมอ
    การดำเนินชีวิตของบุคคลจะพบผ่านประสบการณ์นานาชนิด อาจมีหลายครั้งที่สถานการณ์บังคับหรือชักนำให้คิด รู้สึก และกระทำการอะไรบางอย่างที่เมื่อวันเวลาผ่านไป การตัดสินใจเช่นนั้นอาจไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทุกวัน บุคคลจะได้ข้อมูลใหม่ ๆ เสมอ
    จากแหล่งต่าง ๆที่ช่วยชี้แนะความคิด ความรู้สึก และวิธีปฏิบัติตนใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น รวมถึงความคิดที่เกิดจากตนเองที่อยากจะปรับเปลี่ยนตนเอง ปรับตน ปรับความคิด ปรับวิถีการดำรงชีวิต และปรับลักษณะนิสัยของตนเอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเหมือนกับการตั้งต้นใหม่ ไม่มีสิ่งใดที่สายเกินไป
    และไม่มีสิ่งใดที่ปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ ขอเพียงให้ตนเองอยากจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเท่านั้น การพัฒนาตนเองจึงเกิดใหม่ได้ตลอดเวลา
    เหตุผลข้างต้นทำให้เห็นว่าการพัฒนาตนเองนั้นมีความจำเป็นต่อบุคคลมากมายหลายประการ ทั้งนี้เพื่อนำมาเพื่อให้บุคคลนั้น ๆ มีความสุข ความพึงพอใจในสิ่งที่ตนได้พึงมี พึงปฏิบัติ พึงปรารถนาดังที่บุคคลนั้น ๆ ประสงค์ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และทำให้พอสรุปได้ว่าขอบข่ายของ
    การพัฒนาตนเองจะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้

    ตระหนักในความจำเป็นของการพัฒนาตนเอง
    มีปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง
    มีเป้าประสงค์หรือจุดหมายของชีวิต
    สำรวจตนเองรู้จักตนเอง หากลวิธีปรับปรุงพัฒนาในส่วนที่ควรพัฒนา เช่น บุคลิกภาพ ค่านิยม การแก้ปัญหาและอุปสรรค หรือการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นต้น
    ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสรรค์สร้างการพัฒนาตนเองไปสู่เป้าประสงค์
    ประเมินผลการพัฒนาตนเองสร้างความภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองที่มี การพัฒนา

    ReplyDelete