Thursday 31 May 2012

ลักษณะของการฝึกญาณ ๘

ลักษณะของการฝึกญาณ ๘ เราได้ทิพจักขุญาณก่อน คราวนี้ทิพจักขุญาณถ้าไม่ชัดเจนแจ่มใส บางทีเหมือนยังกับเราคิดเองเออเอง วิธีทดสอบง่ายๆ ก็คือว่าให้ถามปัญหาที่พิสูจน์ได้ในระยะเวลาสั้นๆ อย่างเช่นว่าถ้าพรุ่งนี้เราออกจากบ้านเราจะเจอใครเป็นคนแรก ผู้หญิงหรือผู้ชาย ใส่เสื้อผ้าสีอะไรอย่างนี้ พอตอนเช้าก็โผล่หน้าออกไปดูเลย ถ้ามันตรงก็ใช้ได้ ลองนั่งข้างถนนหลับตาทำใจสบายๆ วางอารมณ์อยู่ในทิพจักขุญาณของมโนมยิทธิ เสียงรถยนต์แล่นมาให้ถามว่ารถยนต์มาสีอะไร พอคำตอบเกิดขึ้นก็ลืมตาดู มันได้คำตอบในระยะสันๆ เลย ถ้าหากว่าผิดไม่ต้องจำ แต่ถ้าถูกให้จำว่าเราวางอารมณ์ไว้ยังไง แล้วก็กำหนดใจอย่างนั้นรถมาสีอะไร ต่อไปพอถูกสักแปดคันในสิบคัน ความมั่นใจเริ่มมี เพิ่มไปว่ารถมาสีอะไร คนนั่งมากี่คน พอมันถูกมากๆ เข้าสักแปดในสิบว่ารถมาสีอะไร คนนั่งมากี่คน ผู้หญิงเท่าไหร่ผู้ชายเท่าไหร่ ต่อไปรถมาสีอะไร นั่งมากี่คน ผู้หญิงเท่าไหร่ผู้ชายเท่าไหร่ แต่ละคนใส่เสื้อผ้าสีอะไร ท้ายๆ กระทั่งเลขทะเบียนรถก็บอกถูก ให้พิสูจน์กับสิ่งที่พิสูจน์ได้ระยะสั้นๆ เพื่อที่เราจะได้มั่นใจว่าความรู้นี้ถูกต้องจริงๆ ( ฝึกทุกวันต้องซ้อมไว้ทุกวันไม่งั้นสนิมขึ้น จะใช้งานแต่ละทีชักดาบไม่ออกสนิมกินติดกระบอกไปแล้ว ) เรารักษาอารมณ์ยังไง ? ทาน ศีล ภาวนาของเราทรงตัวแค่ไหน ? อารมณ์ใจนั้นถึงอยู่กับเรา เราปฏิบัติวันละเท่าไหร่ ? เช้ากี่ครั้งเย็นกี่ครั้ง ? รักษาอารมณ์ได้นานเท่าไหร่อย่างนั้น แล้วตอนนี้เราได้ทำอย่างนั้นมั้ย ? ถ้าเรายังทำอย่างนั้นผลอย่างนั้นก็ยังเกิดอยู่ แต่ถ้าเราเลิกทำเมื่อไหร่ผลอย่างนั้นก็หายไป หลังจากที่เรียกว่าเหมือนกับว่าเคยได้อย่างนี้คะ แล้วหนูรู้สึกว่ามันไม่ค่อยอยากจะทำแล้วก็ไม่ค่อยอยากจะสวดมนต์ ไม่ค่อยอยากจะไหว้พระ ? .....เราไม่สร้างเหตุแล้วผลจะเกิดได้อย่างไร ? เราก็ต้องทำเหตุอันนั้นใหม่ คนที่เคยทำได้แล้วไม่ยาก ถ้าเคยทำได้แล้วจะไม่ยากไปทบทวนอารมณ์เดิมของเรา พอถึงตรงจุดนั้นเมื่อไหร่ตัวรู้นี่ก็จะเกิดขึ้นมาใหม่ แรกๆ มันเป็นความรู้สึกพอนานไปๆ ความมั่นใจมันมากเข้าๆ อยู่มันจะเหมือนกับปรากฏภาพวาบขึ้นมาเฉยๆ ตอนนั้นก็จะลำบากอยู่อีกช่วงหนึ่ง พอภาพมันปรากฏขึ้นมาความเคยชินจะไปใช้สายตาเพ่งอยู่ เราต้องส่งจิตออกไปนะไปถึงสถานที่นั้นๆ ถึงจะรับรู้ภาพอย่างนั้นๆ ได้ ..

3 comments:

  1. ..-..การที่เราใช้สายตาเพ่งก็คือเรานึกถึงตา นึกถึงตาก็คือนึกถึงตัวมันเป็นการดึงจิตกลับภาพจะหายไป ก็จะต้องไปปล้ำกับภาพที่มาๆ หายๆ อีกยกใหญ่ บางคนเป็นปี ๆ เลยกว่าจะทำใจได้ว่าก่อนหน้านี้แค่ความรู็สึกเราก็รู้ได้ถูกต้องดีแล้ว ถึงภาพจะปรากฏไม่ปรากฏก็ช่างมันเถอะ ยังไงๆ ความรู้สึกนี้ถูกต้องเราพอใจ ถ้าทำอย่างนั้นได้ภาพจะปรากฏอยู่แล้วอยู่ได้นาน ไปหัดใหม่ไม่ยากแล้ว
    ..-..หากฝันแล้วพอตื่นขึ้นมาจำไม่ได้เแล้ว ปรากฏว่าเหตุการณ์มันก็เกิดขึ้นมา แล้วก็จะนึกได้ว่าอันนี้เราเคยฝัน ?
    ลักษณะนี้นั้นถ้าเป็นทิพจักขุญาณอย่างอ่อนมันจะเหมือนกับฝันหรือว่าเกิดความรู้สึก อย่างเช่นว่ารู้สึกว่าเพื่อนน่าจะโทรมา พักเดียวโทรศัพท์กริ๊งแล้วอย่างนี้ โบราณเขาเรียกว่าคนอย่างนี้ลางสังหรณ์ดี แต่ความจริงมันเป็นทิพจักขุญาณ เพียงแต่มันขาดการฝึกฝนต่อเนื่อง มันก็เลยไม่ชัดเจนแจ่มใส

    ReplyDelete
  2. ในทางพระพุทธศาสนา วิชชา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ เหตุและหนทางแห่งความดับทุกข์ ตรงข้ามกับคำว่า อวิชชา ซึ่งหมายถึงความไม่รู้แจ้ง..วิชชาสามต่ำกว่า อภิญญาหกมันจะมีอยู่จุดหนึ่งก็คือ อิทธิฤทธิ์ ตัวนี้จะแสดงฤทธิ์ผาดแผลงได้ทุกอย่างเลยเนื่องจากว่าพื้นฐานของอิทธิฤทธิ์มาจาก กสิณสิบ แต่ว่าวิชชาสามนี่พื้นฐานมาจากกสิณกองใดกองหนึ่งกองเดียวคือจะเป็นเตโชกสิณกสิณไฟ โอทาตกสิณ กสิณสีขาว อาโลกกสิณกสิณแสงสว่าง กสิณสามกองนี้กองใดกองหนึ่งนี่ทำให้เกิดทิพจักขุญาณได้ พอเกิดทิพจักขุญาณแล้วก็นำไปใช้ในปุพเพนิวาสนุสสติญาณคือระลึกชาตินะวิชาที่หนึ่ง วิชาที่สองจุตูปปาตาญาณ รู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหนตายแล้วจะไปไหน และตัวสุดท้ายคืออาสวักขยญาณคือทำกิเลสให้สิ้นไปสามอย่างนี้เขาเรียกว่าวิชชาสาม แต่อภิญญาหกนี่ครอบวิชชาสามอยู่หมัดเลย มีอิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้ทุกอย่าง ทิพยโสตหูทิพย์ ทิพจักขุอะไรอย่างนี้แล้วก็ปุพเพนิวาสานุสสติญาณระลึกชาติ จุตูปปาตญาณรู้ว่าคนสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหนตายแล้วจะไปไหน แล้วอาสวักขยญาณทำให้กิเลสสิ้นไปมากกว่าตั้งสาม
    แลพหาก ฆราวาสทำได้ง่ายกว่าเพราะว่าศีลน้อยกว่า คนที่รักษาของห้าชิ้นกับคนที่รักษาของสองร้อยกว่าชิ้นนี่ใครดูแลง่ายกว่ากัน ฆราวาสรักษาศีลแค่ห้าข้อทำได้ง่ายกว่า มันอยู่ที่ว่าเราเอาจริงมั้ย ? เรื่องของอภิญญาเป็นเรื่องของคนจริงคนจัง ของคนมีสัจจะทำต้องทำจริงๆ ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากว่าเราทำอย่างนั้นได้ มันได้ทุกคนไม่ใช่นักบวชหรอก นักบวชปัจจุบันนี้สาม-สี่แสนรูปกว่านี่ ทำได้ไม่ถึงพันหรอก
    ********************

    ReplyDelete
  3. ความที่มีศีลมากนั้น จะเป็นเครื่องระลึกมากกว่า ศีลน้อย เพราะนั่นเป็นตัว สติ แล สัมปชัญญะ เมื่อทำศีลสมบูรณ์แล้ว ก็เป็นเหตุให้เกิดสมาธิโดยธรรมชาติ แล้วจากนั้นก็จะเกิดความรู้จากสิ่งที่มากระทบ ตามสภาพความเป็นจริง เมื่อรู้แล้วก็รู้วิธีที่จะถอนออกจากสิ่งที่ยึดติดอยู่ และเมื่อถอนได้แล้ว
    ก็รู้ว่าหมดแล้ว เพราะเหตุไม่ครอบงำจิตให้เป็นทุกข์ได้อีก

    ReplyDelete