Showing posts with label มงคลสูตร - มงคล 38 ประการ. Show all posts
Showing posts with label มงคลสูตร - มงคล 38 ประการ. Show all posts

Sunday 3 June 2012

มงคลสูตร - มงคล 38 ประการ

มงคลสูตร เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เหล่าเทวดา ที่มาทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อตอบข้อสงสัยของมนุษย์และเทวดา โดยพระสูตรบทนี้ถือว่าเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคล หรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้วแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายความโดยพิศดารถึงสาเหตุของการที่พระพุทธเจ้าตรัสมงคลสูตรไว้ว่า ประมาณ 12 ปีก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล กล่าวว่า บ้างก็ว่า การมีสิ่งของ เช่นต้นไม้ สัตว์ หรือว่ารูปเคารพต่าง ๆ จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล เรื่องราวการอภิปรายเรื่องมงคล ก็ไปถึงภุมเทวา คือเทวาดาในระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไรคือมงคล ประเด็นนี้ก็ลุกลามไปถึงอากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสูธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ของมนุษย์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น


เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคลสูตร ซึ่งมีทั้งหมด 38 ประการดังกล่าว ตามเนื้อหาในพระสูตร มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง ซึ่งมีอยู่ 38 ประการ ดังนี้ 1.ไม่คบคนพาล 2.คบบัณฑิต 3.บูชาคนที่ควรบูชา 4.อยู่ในปฏิรูปเทศ อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี 5.ได้ทำความดีให้พร้อมไว้แต่ก่อน 6.ตั้งตนไว้ชอบ 7.เล่าเรียนศึกษามาก 8.มีศิลปวิทยา 9.มีระเบียบวินัย 10.วาจาสุภาษิต 11.บำรุงมารดาบิดา 12.สงเคราะห์บุตร 13.สงเคราะห์ภรรยา 14.การงานไม่อากูล 15.รู้จักให้ 16.ประพฤติธรรม 17.สงเคราะห์ญาติ 18.การงานไม่มีโทษ 19.เว้นจากความชั่ว 20.เว้นจากาการดื่มน้ำเมา 21.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย 22.ความเคารพ 23.ความสุภาพอ่อนน้อม 24.ความสันโดษ 25.มีความกตัญญู 26.ฟังธรรมตามกาล 27.ความอดทน 28.เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย 29.พบเห็นสมณะ 30.สนทนาธรรมตามกาล 31.มีความเพียรเผากิเลส 32.ประพฤติพรหมจรรย์ 33.เห็นอริยสัจจ์ 34.ทำพระนิพพานให้แจ้ง 35.ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว 36.จิตไร้เศร้า 37.จิตปราศจากธุลี 38.จิตเกษม

อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมไว้ชัดเจนดีแล้ว ก็มีผู้ที่เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง จึงได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ แนวทางการยึดถือความเป็นมงคล จึงมีอยู่ 2 แนวทาง คือ 1.มงคลจากการมีนู่นมีนี่ 2.มงคลจากการฝึกตัว
มงคลสูตร - มงคล 38 ประการ (หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะปาฐัง ภะณามะ) พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง, อากังขะ มานา โสตถานัง พฺรูหิ มังคะละมุตตะมัง, เทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า, หมู่เทวดาและมนุษย์มากหลาย, มุ่งหมาย ความเจริญก้าวหน้า, ได้คิดถึงเรื่องมงคลแล้ว, ขอพระองค์ทรงบอกทางมงคลอันสูงสุดเถิด, สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสตอบดังนี้ว่า, --- อะเสวะนา จะ พาลานัง,การไม่คบคนพาล, ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา,การคบบัณฑิต, ปูชา จะ ปูชะนียานัง,การบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชา, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, ---ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ,การอยู่ในประเทศอันสมควร,ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา,การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อนแล้ว,อัตตะ สัมมา ปะณิธิ จะ,การตั้งตนไว้ชอบ,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, พาหุสัจจัญจะ,การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,สิปปัญจะ,การมีศิลปวิทยา, วินะโย จะ สุสิกขิโต,วินัยที่ศึกษาดีแล้ว,สุภาสิตา จะ ยา วาจา,วาจาที่เป็นสุภาษิต, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, --- มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา,ปุตตะทารัสสะ สังคะโห,การสงเคราะห์บุตรและภรรยา,อะนากุลา จะ กัมมันตา,การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, --- ทานัญจะ,การบำเพ็ญทาน, ธัมมะจะริยา จะ,การประพฤติธรรม, ญาตะกานัญจะ สังคะโห,การสงเคราะห์หมู่ญาติ,อะนะวัชชานิ กัมมานิ,การงานอันปราศจากโทษ, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, --- อาระตี วิระตี ปาปา,การงดเว้นจากบาปกรรม,มัชชะปานา จะ สัญญะโม,การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จากการดื่มน้ำเมา,อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ,การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, ---คาระโว จะ,ความเคารพอ่อนน้อม,นิวาโต จะ,ความถ่อมตัวไม่เย่อหยิ่ง,สันตุฏฐี จะ,ความสันโดษยินดีในของที่มีอยู่,กะตัญญุตา ความเป็นคนกตัญญู,กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง,การฟังธรรมตามกาล, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจห้าอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, ---ขันตี จะ,ความอดทน,โสวะจัสสะตา,ความเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย,สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง,การพบเห็นสมณะ ผู้สงบจากกิเลส,กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา, การสนทนาธรรมตามกาล,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, ---ตะโป จะ,ความเพียรเผากิเลส, พรัหมะจะริยัญจะ,การประพฤติพรหมจรรย์,อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง,การเห็นอริยสัจ,นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ,การทำพระ นิพพานให้แจ้ง,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, ---ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ,จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย ถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว,อะโสกัง,เป็นจิตไม่เศร้าโศก,วิระชัง,เป็นจิตไร้ ธุลีกิเลส,เขมัง,เป็นจิตอันเกษมศานต์,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, ---เอตาทิสานิ กัตฺวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา, สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติ, ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ,หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ได้กระทำมงคลทั้งสาม สิบแปดประการเหล่านี้ให้มีในตนแล้ว, จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง, ย่อมถึงความสวัสดีในทุกสถาน, ทั้งหมดนี้เป็นมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญก้าวหน้าอันสูงสุด,ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้,