Saturday, 2 June 2012

ปาฏิหาริย์ยิ่งใหญjกว่า ใช้ในตัวตน

20 comments:

  1. ปาฏิหาริย์ คือ สิ่งอัศจรรย์อันเหลือวิสัยของมนุษย์ธรรมดา ตรงกับคำฝรั่งว่า Suppernatural power ซึ่งคนธรรมดาเห็นเป็นของแปลกประมหัศจรรย์ แต่เป็นธรรมดาของผู้ที่ทำได้
    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ เช่นคนเดียวทำเป็นหลายคน หลายคนทำเป็นคนเดียว เหาะไปในอากาศ ดำดิน เดินน้ำ และทำอะไรอื่นๆ อีกได้ด้วยอำนาจจิต (Psychic power) อันตนได้ฝึกฝนอบรมมาอย่างดีแล้ว ตัวอย่างแบบอิทธิปาฏิหาริย์ เช่น
    - ทรงบันดาลไม่ให้เศรษฐีเห็นบุตร
    - ทรงโปรดชฎิลสามพี่น้อง
    - ทรงแก้ความสงสัยของเสลพราหมณ์
    - ทรงแสดงพระองค์ช่วยพระสาวก
    - ทรงโปรดโจรองคุลิมาลฯ
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ คือ การดักใจคนอื่นได้ว่าเขาคิดอย่างไร หรือเพียงแต่เห็นเครื่องหมายบางอย่างก็ทำนายได้ว่า จิตใจของผู้นั้นผู้นี้เป็นอย่างไร รวมความว่าสามารถกำหนดรู้วาระจิตของผู้อื่นได้ ตัวอย่างแบบอาเทสนาปาฏิหาริย์ (ดักใจ,เดาใจผู้ฟัง,คาดคะเน, ประเมิน) เช่น
    - ทรงปราบความหัวดื้อของพระปัญจวัคคีย์
    - ทรงทำให้ชายหนุ่ม ๓๐ คนได้คิด
    - ทรงสะกดองคุลิมาลด้วยคำพูด (ทึ้ง, กระตุกด้วยคำพูด)
    - ทรงสอนพาหิยะอย่างย่อๆ
    - การสอนแบบไม่พูด แต่ให้ลงมือทำ เช่น ทรงให้จูฬปันถกลูบผ้าขาว, ทรงให้นางกีสาโคตรมีรู้จักหรือเข้าใจเรื่องความตายเอง
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ การสอนให้ผู้อื่นได้รู้ได้เห็นสภาพชีวิตตามความเป็นจริง สอนให้รู้จักนึกคิด ให้รู้จักสนใจสิ่งอันควรสนใจให้ละสิ่งควรละบำเพ็ญสิ่งควรบำเพ็ญ พระพุทธเจ้าทรงโปรดรูปแบบอนุสาสนีปาฏิหาริย์มากที่สุดเพราะพระองค์ทรงพิจารณารู้จักจริต ภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้ฟัง และเกิดผลที่ยั่งยืนมากกว่าซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เหตุผลของการใช้วิธีการนี้มากกว่า ตัวอย่างปาฏิหาริย์ทั้งสองอย่าง เพราะว่า
    ๑. ทรงพิจารณาจนรู้จักจริต ภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้ฟัง เช่น
    - ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
    - ทรงเลือกสอนคนประเภทต่างๆ
    - ทรงสอนตามจริตของคน
    - ทรงสอนตามภูมิสติปัญญาของคนฟัง
    - ทรงสอนตามภูมิหลังผู้ฟัง
    - ทรงระมัดระวังในการใช้ภาษา
    - ทรงใช้ภาษาง่ายๆ, ภาษาของคนฟัง

    ReplyDelete
  2. รูปแบบการสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ วิธี
    พระพุทธเจ้าตรัสถามสังคารวพราหมณ์ว่า บรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ อย่างไหนดีกว่า ประณีตกว่า พราหมณ์ทูลตอบว่า ๒ อย่างแรกไม่ประเสริฐ เพราะใครทำก็ได้แก่คนนั้น และเป็นสิ่งอันอาจเป็นมายาได้ ส่วนประการสุดท้ายคือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์นั้นดี ประณีต ข้าแต่พระโคดม ! จะมีภิกษุอื่นสักรูปหนึ่งไหม เว้นพระโคดมที่ประกอบพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ ประการนี้
    พระพุทธเจ้า : มีมากกว่า ๕๐๐ ทีเดียว พราหมณ์ !
    พราหมณ์ : ภิกษุเหล่านั้นอยู่ไหนนะ พระโคดม
    พระพุทธเจ้า : อยู่ในหมู่ภิกษุนี่เอง, พราหมณ์
    ยังมีข้อความสนับสนุนรูปแบบการสอนของพระพุทธเจ้า ๓ วิธีนั้นเกี่ยวกับอย่างใดดีกว่า ประณีตกว่า ดูเหมือนว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงโปรดอาเทสนาวิธี อาจจะเป็นเพราะว่า อาจก่อให้เกิดความรู้ได้ระดับทิฏฐิเป็นส่วนมาก และใช้ได้ผลกับคนบางคนเท่านั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่โปรดวิธีดักใจนี้ ทรงได้ตรัสไว้ในเกวัฏฏสูตรมีใจความว่า การทายใจนั้นมีทั้งแง่ดีและแง่ร้าย ใจผู้มีจิตศรัทธาก็อาจจะว่าดี ผู้ไม่มีศรัทธาก็อาจจะเยาะเย้ยว่าไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะคนธรรมดาที่เรียนวิชาทีเรียกว่า “มณิกา” ก็อาจทายใจคนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น “เราเล็งเห็นโทษของอาเทสนาปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงไม่มีประสงค์ที่จะใช้วิธีนี้” แม้แต่อิทธิปาฏิหาริย์ คือการใช้ความสามารถพิเศษแบบ ฤทธิเดชนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงใช้เฉพาะในรายที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น พระพุทธองค์แสดงท่าทีต่ออิทธิปาฏิหาริย์ไว้ว่า“ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรมยิ่งยอดของมนุษย์หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบเช่นนี้ เธอจะปรารถนาการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ไปทำไมนอกจากนี้แล้วพระพุทธองค์ยังได้ตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาตอีกว่า “อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งหลักการ(องค์แห่งธรรมกถึก) ๕ อย่างไว้ในใจ คือ :-
    ๑. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
    ๒. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
    ๓. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
    ๔. เราจะไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
    ๕. เราจะแสดงไปโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น

    ReplyDelete
  3. ผู้สอนธรรม คือผู้ทำหน้าที่เหมือนราชทูตอ่านราชสาส์นของพระราชา ผู้กล่าวธรรม ผู้เทศน์ ปาฐกถา บรรยายธรรมะนั้น จะต้องตระหนักในประเด็นนี้ ที่เป็นหน้าที่ของพระธรรมกถึก ซึ่งต้องมีคุณสมบัติสามารถแสดงออกถึงพระคุณ ๓ ประการของพระพุทธเจ้า คือ ปัญญาคุณ บริสุทธิคุณ และมหากรุณาคุณเป็นการโดยเสด็จตามรอยยุคลบาทของพระพุทธเจ้า คือ
    ๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดคัดให้ขาดความการแสดงธรรมะนั้น ลำดับความเป็นอย่างไร ก็แสดงไปตามนั้น เป็นการชี้แจงอรรถาธิบายจากง่ายไปหายาก จากใกล้ไปหาไกล จากตื้นไปหาลึก จากหยาบไปหาละเอียด จากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งที่เขารู้แล้วไปหาสิ่งที่เขาไม่รู้ โดยพูดให้จบถ้วนกระบวนความที่ยกขึ้นมาในแต่ละเรื่อง
    ๒. อ้างเหตุผล ชี้แจง แนะนำ ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ มีเรื่องอันมากที่จะต้องยกตัวอย่าง อุปมาอุปไมย เทียบเคียง มีนิทานเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจแก่บุคคลเหล่านั้น ผู้กล่าวธรรมะจะต้องตั้งปัญหาว่าจะแสดงอะไร จะแสดงแก่ใคร แสดงอย่างไร เมื่อแสดงไปแล้วเขาจะรับประโยชน์อะไร ฉะนั้นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อในการสั่งสอนจึงต้องมีความหลากหลาย ให้สอดคล้องกับพื้นฐานของผู้ฟัง การอาศัยสิ่งที่เขาคุ้นเคยเป็นตัวอย่าง มาเป็นอุปมา มาเป็นเครื่องมือในการเทียบเคียงจึงมีความจำเป็น
    ๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาที่จะให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังนี่คือ การทำงานตามโครงสร้างหลักที่กล่าวไว้แล้ว คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ต่อชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย การแสดงธรรมะจึงต้องงามทั้งตอนต้น ตอนกลาง และก็ตอนปลาย ผู้ฟังมีพื้นฐานที่จะรับรู้ได้โดยวิธีใด ก็ใช้วิธีการเหล่านั้นอธิบายเหมือนการสอนหนังสือเด็กที่มีพื้นฐานวุฒิภาวะแตกต่างกัน ครูก็ต้องยักย้ายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แม้จะพูดเรื่องเดียวกัน แต่วิธีการใช้สื่อในการพูดให้เกิดความเข้าใจนั้น จะใช้แตกต่างกันตามพื้นฐานที่เธอสามารถจะรับรู้ได้โดยมุ่งประโยชน์ต่อผู้ฟังเป็นที่ตั้ง

    ReplyDelete
  4. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับยกย่องว่า ทรงแสดงธรรมะเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้คนมีตาได้เห็นแสงสว่าง เพราะทรงแสดงธรรมด้วยการตรวจสอบพื้นเพจริงอัธยาศัยของผู้ฟังมาก่อน ดูว่าเขามีภูมิหลังอย่างไร มีอะไรเป็นพื้นฐาน วาสนาบารมีและแสดงธรรมอะไร แสดงอย่างไร แสดงไปแล้วเขาจะได้รับผลอะไร มีการศึกษาข้อมูล ประเมิลผล และสรุปผลไว้เสร็จก่อนที่จะทรงแสดงธรรมปรากฏการณ์มหัศจรรย์ต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมนั้น ที่จริงแล้วสำหรับพระองค์ไม่ใช่เป็นเรื่องอัศจรรย์ เป็นปกติธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะพระองค์ทรงมีหลักการในการแสดงธรรมอยู่ ๔ ประการใหญ่ๆ คือ
    ๑) สันทัสสนา แสดงเรื่องนั้นอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง ซึ่งผู้รับฟังสามารถรู้สามารถเข้าใจได้
    ๒) สมาทปนา มีการเชิญชวน ชักชวน ให้เห็นคล้อยตาม และติดตามเรื่องเหล่านั้นไปด้วยความสนใจ
    ๓) สมุตเตชนา ปลุกเร้าให้เกิดความอาจหาญ เชื่อมั่นในตนเอง มีความพร้อมที่จะศึกษาและประพฤติปฏิบัติตาม
    ๔) สัมปหังสนา ผู้ฟังรู้สึกเพลิดเพลิน บันเทิง ปลื้มใจ ในการแสดงธรรมะทุกครั้งของพระพุทธเจ้า ในตอนท้ายแห่งพระสูตรจะจบลงด้วยคำว่าภิกษุทั้งหลาย มีความเพลิดเพลิน ชื่นชมยินดีในธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
    เพราะฉะนั้นการตั้งจิตเมตตาปรารถนาที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังจึงต้องโดยเสด็จการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า และยิ่งขึ้นไปกว่านั้นหลักการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่ ๔ วิธี คือ

    ReplyDelete
  5. ๑). เอกังสพยากรณ์ ทรงแสดงไปโดยนัยะเดียว เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความเกิดเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ จะไม่มีทางเป็นอย่างอื่นไปได้ ทำนองเดียวกับการพูดถึงไฟว่าร้อนและมีแสงสว่าง แสงสว่างและความร้อนมิอาจที่จะแยก จากไฟได้ เมื่อพูดถึงไฟก็ต้องมีความร้อน เหมือนเมื่อพูดถึงเกลือก็ต้องมีความเค็ม พูดโดยนัยเดียวยืนยันเป็นอย่างนั้นตลอดไป
    ๒). วิภัชชพยากรณ์ มีการจำแนกแบ่งแยกชี้ประเด็น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าที่ชัดเจน เช่นถามว่า เมล็ดพืชเมล็ดนี้ปลูกงอกหรือไม่ ในแง่ของความเป็นจริงก็ไม่สามารถตอบได้ทันที เพราะต้องดูเงื่อนไขของความเป็นเมล็ดพืชเหล่านั้นก่อนว่า แห้งกรอบแล้วหรือยัง หน่อถูกทำลายแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่แห้งกรอบ หน่อยังไม่ถูกทำลาย เมื่อเมล็ดพืชเหล่านั้นได้อุณหภูมิที่เหมาะสมก็งอกได้ จึงจะชี้แจงว่างอกได้ แต่ถ้าหากว่าองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี เมล็ดพืชนั้นก็ปลูกงอกไม่ได้ อย่างที่คนพูดกันว่า คนเราตายแล้วไปไหน ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยจำแนกก็คือว่าใครตาย คนตายนั้นยังมีกิเลสอยู่หรือไม่ ถ้ามีกิเลสก็ต้องไปตามกรรมของเขา ถ้าไม่มีกิเลสก็ไม่มีการเกิด เพราะไม่มีตัวที่จะทำให้เกิด เนื่องจากเหตุให้เกิดได้ถูกทำลายไปแล้ว ทำนองเมล็ดพืชได้แห่งกรอบแล้ว แม้จะได้อุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างไร ก็งอกขึ้นมาไม่ได้
    ๓). ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ตอบด้วยการย้อนถาม เป็นการถามความ คิดของเขา แล้วเอาความคิดของเขานั้นเองถามย้อน ถามเข้าไปหาเขาเมื่อถามไปโดยลำดับก็จะออกมาเป็นคำตอบ ส่วนมากจะใช้กับคนที่หัวดื้อถือดี ให้ความสำคัญแก่ตัวเอง เข้าใจว่าตัวเองเป็นนักปราชญ์
    ๔). ฐปนียะ นิ่งไว้ไม่ตอบ เพราะพูดไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร คล้ายๆกับเด็กเล็กๆมาถามสูตรทางเคมี จะอธิบายอย่างไรก็อธิบายไม่ได้ ต้องรอให้เจริญเติบโตเสียก่อน ปัญหาบางอย่างเป็นปัญหาที่จะต้องใช้ระบบ กระบวนการในการชี้แจง และเมื่อฐานความเข้าใจเกี่ยวกับระบบหรือขบวนการนั้น ยังไม่มีอยู่ภายในใจบุคคลเหล่านั้น ขืนพูดไปก็เสียเวลาเปล่า จึงทิ้งไว้ไม่ตอบ
    ๔.1 ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภเพราะเป็นการทำงานเพื่อบุคคลอื่น ผู้แสดงธรรมะนั้น หรือพระสงฆ์ เป็นการอนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ด้วยพื้นฐานของเมตตา กรุณา ในฐานะของผู้ให้ในฐานะของผู้อนุเคราะห์ต่อชาวโลก เพราะฉะนั้นใครแสดงธรรมโดยมุ่งลาภ มุ่งสักการะ ชื่อว่าเป็นการขโมยธรรมะของพระพุทธเจ้าไปขาย ซึ่งธรรมกถึกที่ดีไม่ควรจะประพฤติกระทำ การที่ชาวบ้านเขาสักการบูชาธรรมะนั้น เป็นเรื่องของเขา มีหรือไม่มี การทำงานของผู้สอนธรรมะก็ต้องมีจิตใจสม่ำเสมอ
    ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและคนอื่นตามปกติแล้ว การแสดงธรรมะเป็นการสะท้อนกุศลและอกุศล ซึ่งแต่ละข้อมีอยู่ภายในพฤติกรรมของคน เช่น พูดถึงโทษของสุรา ก็พูดถึงตัวโทษของสุราไม่ต้องไปพูดถึงผู้ดื่มสุราหรือคนดื่มสุราซึ่งนั่งอยู่ที่นั้น แต่ว่าโทษของสุรานั้น ก็คงเกิดขึ้นแก่ผู้ดื่มสุราทุกๆคน ขอเพียวแต่ผู้พูดไม่เจาะจงจะด่าว่ากระทบกระทั่งคนอื่นเท่านั้น เป็นจุดเน้นที่สำคัญพึงสังเกตว่า คุณสมบัติของผู้สอนธรรมหรือพระธรรมกถึก ๕ ประการ เป็นการสะท้อนปัญญา ความบริสุทธิ์ และความเมตตา กรุณา ให้ปรากฏเด่นชัดมากยิ่งขึ้น เพราะท่านเหล่านี้ต้องทำงานไปตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
    ท่าทีที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ๓
    พระพุทธเจ้าทรงโปรดรูปแบบอนุสาสนีปาฏิหาริย์มากที่สุด พระองค์ทรงพิจารณารู้จักจริต ภูมิปัญญาและภูมิหลังของผู้ฟัง และเกิดผลที่ยั่งยืนมากกว่าเพราะว่า
    ๑. ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังได้รู้เห็นสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น (อภิญญาย)
    ๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุผลที่อาจตรองตามให้เห็นจริงได้ (สนิทานํ)
    ๓. ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้รับประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติ (สปฺปาฏิหาริยํ)
    พระศาสดาทรงแสดงหัวข้อนี้ที่โคตมกเจดีย์ แขวงเมืองเวสาลี ในมโนรถปูรณี ภาค ๒ หน้า ๓๑๑ อธิบายว่า “คำว่า โคตมกะ นั้นเป็นที่อยู่ของยักษ์ ชื่อโคตมกะ แล้วท่านขยายความว่า ตลอดเวลาปฐมโพธิกาล ๒๐ ปีนั้น ส่วนมากพระศาสดา บางคราวประทับ ณ ปาวาลเจดีย์ บางคราวสารันทเจดีย์ บางคราวพหุปุตตเจดีย์ บางคราวสัตตัมพเจดีย์” คำว่าเจดีย์จึงหมายถึงเทวาลัย อันเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน บางทีเป็นต้นไม้หรืออาราม เช่นคำว่า อารามรุกขเจตยานิ = อารามหรือต้นไม้อันเป็นเจดีย์คือเป็นที่เคารพบูชาของปวงชน ไม่ใช่เจดีย์อย่างในเมืองไทย ซึ่งสร้างขึ้นเป็นสัญญลักษณ์ของวัดหรือเพื่อบรรจุพระธาตุต่าง ๆ

    ReplyDelete
  6. การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า อาจจำแนกได้ ๓ ลักษณะคือ
    ๑) อาณาเทศนา เป็นบทบัญญัติทรงแต่งตั้งขึ้น บัญญัติขึ้น เพื่อเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสม แก่สถานภาพของความเป็นพุทธบริษัทในหมู่นั้นๆ มีบทกำหนดเป็นโทษแก่ผู้ล่วงละเมิดข้อที่ทรงห้ามและไม่ทำตามข้อที่ทรงประทานพุทธานุญาติไว้
    ๒) อนุโลมเทศนา หรือ โวหารเทศนา เป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงหลากหลาย คล้อยตามพื้นเพจริต อัธยาศัย วาสนา บารมีของคนฟัง คนฟังใน ขณะนั้นสามารถได้รับผลด้วยธรรมเทศนาระดับใด ก็จะทรงแสดงในระดับนั้น
    ๓) ปรมัตถเทศนา เป็นการแสดงความจริงที่แท้จริงขององค์ธรรม ๔ ประเภท คือ จิต เจตสิก คือ กุศล อกุศล และอัพยากฤต ที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตของคน ให้เปลี่ยนแปลงตามอำนาจของธรรมเหล่านั้น รูป คือ สิ่งที่คนสามารถสัมผัสได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้ นิพพาน คือผลสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาที่พัฒนาจิตเข้าถึงความดับเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์ได้อย่างแท้จริง
    ๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟัง ศึกษา พิจารณา ปฏิบัติ และจะเห็นจริงตามที่ทรงแสดงไว้ แม้จะมีการยักย้ายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม นั้น คือการแสดงเหตุเพื่อให้เกิดผลเป็นปัญญา ความบริสุทธิ์และความเมตตากรุณาขึ้นภายในจิตใจของผู้ฟังเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ในการ แสดง จึงได้รับการยกย่องจากผู้ฟังในสมัยนั้นๆว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเหมือน “หงายของที่คว่ำไว้ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนที่หลงทาง และ ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้คนที่ตาไม่บอดได้เห็นแสงสว่างในสถานที่นั้นๆ” ทรงแสดงธรรมมีเหตุผลนั้น ไม่ใช่งมงายเลื่อนลอย และธรรมที่ทรงแสดงแล้ว ผู้ฟังย่อมตรองตามให้เห็นจริงได้ เหมาะสมกับภูมิปัญญาของผู้ฟังแต่ละท่าน แต่ละกลุ่มด้วย(ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ) พระธรรมของพระตถาคตเจ้านั้นไม่ยากเกินไปจนตรองแล้วก็ไม่เห็นเหตุผล และไม่ง่ายเกินไปจนไม่ต้องตรองก็มองเห็น(โยนิโสมนสิการ) เทียบให้เห็น เช่น ข้อสอบยากเกินไป เด็กคิดเท่าไรก็ตอบไม่ได้ ข้อสอบง่ายเกินไป เด็กไม่ต้องคิดก็ทำได้ แต่ข้อสอบที่พอดี ไม่ยากไม่ง่ายนั้นต้องคิดจึงเห็นทำได้ ไม่คิดไม่เห็น ทำไม่ได้
    พระธรรมของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ไม่ยากไม่ง่าย พอดี ๆ สำหรับมนุษย์ทั่วไป หมั่นตรึกหมั่นตรองก็จะเห็นเหตุผลที่พระองค์ตรัสไว้ (ยถา ภูตํ ปชานาติ)
    ๓. ทรงมีคำสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ประพฤติปฏิบัติตามจะได้รับผลตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ปาฏิหาริย์อย่างอื่น แสดงให้เห็นว่าเป็น คุณ เป็นโทษอย่างไร เมื่อใครปฏิบัติตามที่ทรงสอน ล่วงละเมิดในข้อที่ทรงสั่งห้ามไว้ เขาจะประสบคุณแห่งกุศลธรรม และโทษจากอกุศลธรรม ตรงตามที่ ทรงแสดงไว้เสมอ ใครปฏิบัติชอบมากย่อมได้รับผลมาก ปฏิบัติน้อย ได้รับผลน้อย (ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ)

    ReplyDelete
  7. อภินิหาร แปลว่า การนำไปฝังไว้ คือฝังความตั้งใจความปรารถนาไว้ ใช้หมายถึงอำนาจหรือพลังเหนือปกติธรรมดาแห่งความดีและบารมีที่สั่งสมไว้ เช่นใช้ว่า บุญญาภินิหาร หมายถึงอำนาจบุญบารมีปาฏิหาริย์ หมายถึง ความอัศจรรย์ สิ่งที่นำอัศจรรย์ ซึ่งพ้นวิสัยของมนุษย์ธรรมดา ปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นภาษาปาก ภาษาพูด หรือคำอุทาน จะหมายถึง กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น "ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา" ปาฏิหาริย์ = สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ
    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์
    การสอนตามลักษณะรูปแบบแห่งอนุสาสนีปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า โดยสรุป ๓ รูปแบบ (ประเภท) แบบธรรมสากัจฉา แบบบรรยาย และแบบตอบปัญหาเพราะฉะนั้นการสอนตามรูปแบบแห่งอนุสาสนีปาฏิหาริย์และหลัก การ ๓ ประการของพระพุทธเจ้านั้นก็สรูปเป็นหัวข้อได้ดังนี้
    ๑. ทรงสอนด้วยเนื้อหาที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ฟัง
    ๒. พระพุทธองค์ทรงนำเอาเนื้อหาต่างๆมาสอนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง พระองค์ทรงสอนผู้ฟัง (สาวก) โดยการเริ่มต้นจากสิ่งที่เห็นได้ ง่ายไปสู่สิ่งที่เห็นได้ยาก หรือสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม(ขุ. ธ. ๒๕/๑๓ – ๑๔/๒๘) สอนลุ่มลึกไปตามลำดับ สอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งควรรู้ควรเห็น, สอนตรงตามเนื้อหาต่างๆ สอนมีเหตุผล, สอนเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นและเหมาะสมต่อผู้ฟัง, สอนในสิ่งที่เป็นประโยชน์, สอนอย่างรับรองผล และทรงสอนครบตามหลักคำสอนของพระศาสดา 9 ประการ (นวังคศัตถุศาสน์)

    ReplyDelete
  8. ๒.ทรงมีวิธีสอนที่เหมาะสมแก่แต่ละบุคคล
    พระพุทธเจ้าทรงมีบทบาทในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สั่งสอนและเป็นผู้ชี้แนวทางแก้ปัญหาชีวิต คือ ความทุกข์ต่างๆ มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นต้น แก่สาวกของพระองค์ พระองค์จึงทรงคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทรงปรับรูปแบบการสอนอยู่เสมอ, คำนึงถึงความพร้อม (วุฒิภาวะ) ของผู้ฟังเป็นเกณฑ์ เปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี พร้อมกับเนะนำให้ผู้ฟังลงมือปฏิบัติธรรมด้วยตัวของเขาเอง ให้ความสนใจต่อผู้ฟังเป็น รายๆไป และทรงเปิดโอกาสให้แก่ผู้ฟังที่ด้อยโอกาสและทุพพลภาพ เช่น ในกรณีของบุรุษโรคเรื้อชื่อว่า สุปพุทธกุฏฐิ และกรณีของพระปูติคัตตติสส เถระ
    เป็นต้น ให้ได้รับรสแห่งพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว

    ReplyDelete
  9. ๓.ทรงมีลีลาการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม
    พุทธวิธีสอนของพระพุทธเจ้านับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการสั่งสอนของพระองค์อย่างยิ่ง เพราะพุทธวิธีสอนของพระองค์นี้ พระองค์จะต้องนำมาใช้ทุกครั้งที่มีการสอน ดังนั้น วิธีการสอนของพระองค์จึงมีมากมาย เป็นต้นว่า ทรงรู้จักการเริ่มต้นในการสอน การสร้างบรรยากาศในการสอน สอนมุ่งไปสู่หลักเนื้อหา สอนโดยเคารพ สอนโดยอาการอันสุภาพ สอนด้วยความละมุนละไม สอนด้วยวิธีการที่รุนแรง และทรงสอนอย่างประนีประนอม ขอร้อง เป็นต้น
    ๔. ทรงปรับรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และผู้ฟัง

    ReplyDelete
  10. ๕. ทรงใช้กุสโลบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสอนแต่ละครั้งพุทธอุบายประกอบวิธีสอนของพระพุทธเจ้าที่มีปรากฏในพระสูตรและพระวินัย ดังนี้คือ ทรงยกตัวอย่างมาประกอบการสอน, ใช้อุปกรณ์ต่างๆ , ลงมือปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ผู้ฟังเห็นดีด้วยแล้วเอาตาม, ใช้ภาษาเล่นคำต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดปัญญาขึ้นมา เลือกสรรบุคคลที่จะทรงสอนว่าใครจะได้บรรลุคุณธรรมขั้นไหน อย่างไร, รู้จักใช้จังหวะและโอกาสอันเหมาะอันควรมีอุบายอันยืดหยุ่นและทรงประทานรางวัลให้ผู้ฟังที่ทำดีและลงโทษผู้กระทำผิดตามสมควรแก่ฐานะ

    ReplyDelete
  11. ๖. กลวิธีและอุบายประกอบการสอน เป็นเทคนิคที่นำมาใช้ในการสอนเมื่อศึกษาในวิธีการใช้อุปมาแล้ว มีอยู่ 4 วิธี คือ
    ๑) การเล่าอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบคำอธิบาย ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจน กระตุ้นความจำและยังทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เช่น บุรพกรรมของพรานกุกุฏมิตรและของเปรต เป็นต้น
    ๒) การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา ช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก ปรากฏความหมายเด่นชัด เข้าใจง่าย เช่น เปรียบคนมักง่วงเหมือนสุกร เป็นต้น
    ๓) การใช้อุปกรณ์ในการสอน ยกตัวอย่างสิ่งที่พบเห็นได้ง่ายมาเป็นอุปกรณ์ช่วยในการสอน หรือบางทีก็ยกเอาสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า มาสอนให้ เห็นภาพธรรมชัดเจน อันเป็นวิธีการดึงดูดผู้ฟังให้สนใจและเข้าใจธรรมได้ในขณะนั้น เช่น อุปมาหญ้าคาที่จับไม่ดีย่อมบาดมือเหมือนคุณเรื่องความเป็นสมณะที่บุคคลลูบคลำไม่ดีย่อมคร่าสู่นรกเช่นกัน
    ๔) การทำให้เป็นตัวอย่าง เป็นวิธีการสอนที่ดีที่สุดอีกอย่างหนึ่ง ยกตัวเองเปรียบเทียบและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เรียกว่าเป็นการสอนจริยธรรมโดยนำให้ปฏิบัติ
    ตามผู้สอน เช่น ตรัสสอนว่าบุคคลพร่ำสอนบุคคลเช่นไรพึงทำตัวเช่นนั้นเป็นต้น

    ReplyDelete
  12. วิธีสอนของพระพุทธเจ้า ต้องพิจารณาดูเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วย
    - คุณสมบัติของครู ต้องดูคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง
    - มีพระกรุณาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณเป็นพื้นฐานของจิต : สอนแบบแบมือ
    - ไม่ถือตัว ไม่หยิ่งยโส : ไม่มีวรรณะ
    - มีความอดทน ใจเย็น : อกฺโกสวตฺถุ
    - มีความยุติธรรม ไม่มีอคติเห็นแก่หน้าใคร : การให้ลงพรหม-ทัณฑ์แก่พระฉันนะ
    - มีความสุขุมรอบคอบลุ่มลึก
    - มีความประพฤติน่าเคารพบูชา
    - รู้จักภูมิปัญญาของผู้ฟัง (นักเรียน) : บุคคล ๔ ประเภท

    ReplyDelete
  13. การที่จะทำให้ตนเองนั้นมีความสุข ความเจริญหรือทำให้ตนเองนั้นดวงดีและเกิดปาฏิหาริย์แบบง่ายๆ คือ
    - ประการที่หนึ่ง ต้องเป็นผู้ให้ทานแบบสม่ำเสมอ หลายคนบอกว่าวันๆ แทบจะไม่มีกินอยู่แล้ว จะเอาอะไรไปให้ทานอีก ซึ่งในความจริงแล้วการให้ทานไม่ได้หมายถึง เงินเพียงอย่างเดียว แต่แบ่งออกเป็นอามิสทาน ธรรมทานและอภัยทาน ใน 2 ประเภทหลังนี้เป็นการทำทานที่ไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียวที่ได้มหาบุญกุศลสูงขึ้นไป
    อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน เป็นการแบ่งปัน การเสียสละสิ่งของของตนให้แก่ผู้อื่น ด้วยมุ่งสงเคราะห์อนุเคราะห์บ้างมุ่งตอบแทนพระคุณบ้าง มุ่งบุญกุศลบ้าง มุ่งสร้างบารมีบ้าง ซึ่งจะหมายถึงวัตถุที่เป็นทานหรือทานวัตถุ มี 10 อย่าง คือ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ มาลัยหรือดอกไม้ ของหอม(ธูปเทียน) เครื่อง ลูบไล้ (สบู่เป็นต้น) ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป (ไฟฟ้า) ซึ่งในสมัยนี้นิยมให้เป็นเงินเพื่อไปซื้อหาทานวัตถุนั้นก็ถือว่าไม่ได้เป็นการผิดแต่อย่างใด ดูที่เจตนาเป็นสำคัญ
    อามิสทาน เป็นเหตุให้ได้มนุษย์สมบัติและสวรรค์สมบัติ เป็นเหตุให้ครองใจคน ยึดเหนี่ยวน้ำใจกันไว้ได้ การให้ธรรมทาน คนในยุคนี้ที่ขาดความเข้าใจดีพอ มักจะนึกไปถึงการทำหนังสือธรรมะ หนังสือสวดมนต์ออกมาแจกจ่ายเท่านั้น ซึ่งในความหมายของธรรมทานนั้นกว้างมาก เพราะหมายถึง การให้ความรู้ที่ถูกต้องมีประโยชน์แก่ผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สำหรับทางโลกนั้น หรือวิทยาทานทางโลก เป็นการสอนให้เกิดความรู้ความสามารถในเชิงศิลปวิทยาการ เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ด้วยความสะดวกสบายทุกอย่าง มีความยินดีเต็มใจที่จะสอนอยากให้คนอื่นเจริญ มีปัญญาใช้นำทางชีวิตที่ถูกต้อง

    ReplyDelete
  14. สำหรับทางธรรมหรือวิทยาทานทางธรรมนั้น คือ การให้ความรู้ที่เป็นธรรมะนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ด้วยเหตุที่ว่า การดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั้น หากขาด เสียซึ่งหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ก็จะพบแต่ความทุกข์ เดือดร้อน ผิดหวังตลอดไป ต่อเมื่อได้ยินได้ฟังธรรม และนำมาประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม ย่อมเกิดความเจริญงอกงามในชีวิตของตน ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ในที่สุดก็ทำให้รู้แจ้งเห็นแจ้งในพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้
    สำหรับการให้อภัยทานนั้น เชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจกันดีว่า เป็นการให้อภัยต่อเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย คำว่า “สรรพสัตว์” นั้นรวมถึงทั้งเทวดา คน สัตว์เดรัจฉาน ดวงจิตวิญญาณด้วย ไม่ได้หมายถึงแค่สัตว์แบบที่เราเข้าใจกัน การให้อภัยทานนั้น เป็นการ ไม่ถือโทษโกรธเคืองในการ ล่วงเกินของผู้อื่น ไม่มีเวร ไม่ผูกเวรกับผู้ใด ทั้งยังมีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นนิตย์ หากเรานั้นเป็นผู้มีใจเบิกบาน ไม่ยึดโทษถือโกรธ ยินดีและพร้อมให้อภัย จะทำให้ใจนั้นมีกำลังมากทำอะไรก็ไม่มีอะไรมาขวางกั้นได้ การให้อภัยนั้นอาจจะยากสำหรับคนบางคนต้องอาศัยการฟังธรรม ประพฤติปฏิบัติธรรมบ่อยๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นคุณ เห็นประโยชน์ของการให้อภัย แล้วจะทำให้อภัยได้ง่ายขึ้น ขอแนะนำแนวทางที่จะทำให้เราให้อภัยต่อผู้อื่นได้ง่ายขึ้น โดยขอให้ยึดหลักพรหมวิหาร 4 มาเป็นตัวช่วย คือมีเมตตา กรุณา มุติทาหรือความยินดี และสุดท้ายถ้าไม่ไหวจริงขอให้อุเบกขาหรือวางใจเป็นกลางนิ่งเฉย จะช่วยให้ท่านให้อภัยได้ง่าย
    สรุปสั้นๆ ถ้าอยากเป็นคนดวงดี ต้องทำทานให้สม่ำเสมอทั้งวัตถุทาน อภัยทานและธรรมทาน อย่าได้ขาด บุญกุศลที่เกิดจากทานนี้จะหนุนนำให้พบกับความสุขความเจริญ ไม่ขัดสน ไม่ขาดแคลน หากเจออุปสรรคใดๆ ก็จะผ่านไปได้ด้วยบุญที่ทำมา
    - ประการที่สอง ต้องเป็นผู้รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด เพราะการรักษาศีล 5 นั้นเป็นเรื่องกำลังพื้นฐานในการที่จะนำไปสู่การเป็นคนดวงดีตลอดกาล เป็นการ ล้างชำระจิตใจให้สะอาด ชำระให้ตนเองนั้นเป็นมงคล เป็นภาชนะที่สะอาดหมดจดเพื่อจะรองรับความเป็นมงคล หรือสิ่งที่ดีงามที่กำลังจะเข้ามาในชีวิต สำหรับวิธีการรักษาศีลให้ถูกต้องและให้ได้ผล เราต้องมีการสมาทานศีล การสมาทานก็คือ การรับเอาเข้ามาเพื่อปฏิบัติด้วยการแสดงเจตนาหรือตั้งใจเริ่มด้วยการบอกกล่าวโดยเปล่งวาจาหรือจะว่าในใจก็ได้ การสมาทานศีลหากเป็นอย่างทางการแล้ว ก็ทำได้โดยวิธีที่เราไปขออาราธนาศีลและรับสมาทานศีลจากพระภิกษุโดยตรงนั่นเอง นั่นเป็นรูปแบบตามพิธีการ ซึ่งกระทำเมื่อเวลามีงานบุญ หรือพิธีทางศาสนาต่างๆ โดยพระสงฆ์จะให้ศีลเป็นภาษาบาลี แต่เพื่อความลงใจที่มากขึ้น เราต้องรู้และเข้าใจความหมายหรือคำแปลในศีลแต่ละข้อด้วย แต่การไปรับศีลจากพระ โดยทั่วไปนั้น เรามักไม่ค่อยมีโอกาสได้กระทำกันนอกจาการที่ไปทำบุญที่วัด จิตก็เลยอาจจะไม่ได้ระลึกถึงศีลอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    ReplyDelete
  15. ดังนั้นวิธีการที่สะดวกที่สุด ให้เราสามารถตั้งใจสมาทานศีลเอง โดยกระทำในที่พักอาศัยหรือบ้านของเราก็ได้ โดยกระทำต่อหน้าพระรัตนตรัย ( ทำเอง ณ.เบื้องหน้า หิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชา ถ้าไม่มี ก็ให้ตั้งจิตเอาเองก็ได้ ในสถานที่อันควร) และควรสมาทานศีลให้ได้ ทั้งเช้าและ ค่ำ ซึ่งในความจริงแล้วกระบวนการสมาทานศีลนั้นใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีด้วยซ้ำ แต่เกิดผลดีมหาศาลต่อชีวิต แค่ 5 นาทีในแต่ละครั้งในทุกวัน คนที่อยากมีความสุขความเจริญจะทำไม่ได้เชียวหรือ โดยตั้งใจไว้ว่าจะรักษาศีลให้ดีที่สุด ในแต่ละวัน เริ่มในเวลาเช้า เมื่อตื่นนอนรู้สึกตัว ก็ให้ทำเลย ก่อนที่จะไปทำงานหรือไปศึกษาเล่าเรียน ทำภารกิจประจำวันต่าง ๆ ส่วนในเวลาค่ำ ก็ให้ทำก่อนนอนทุกๆวัน ในระหว่างวัน ถ้ารู้ตัวว่าละเมิดศีล ผิดศีลในข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบสมาทานศีลใหม่หมดทุกข้อทันที และก่อนที่จะสมาทานศีลในตอนค่ำนั้น ให้เราตรวจดูศีลอีกครั้งหนึ่ง หากเห็นว่าสมบูรณ์บริบูรณ์ดีแล้ว ก็โมทนาสาธุให้กับตนเอง และขอน้อมถวายบุญกุศลอันเกิดจากการที่เรารักษาศีลมาได้สมบูรณ์ บริบูรณ์ดีแล้วในวันนี้ บูชาพระรัตนตรัย อธิษฐานให้ผลบุญนี้เป็นพละ(กำลัง) ปัจจัย ให้เราประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา (จะเป็นเรื่องประพฤติปฏิบัติ และหรือสิ่งที่เราปรารถนาอันชอบธรรมก็ว่าไป) แต่ถ้าหากตรวจดูแล้วเห็นว่าบกพร่องผิดพลาดในศีลไป ก็ให้อโหสิกรรม (ยกโทษ) ให้กับตนเอง ไม่ต้องไปเสียใจ หรือวิตกกังวลกับสิ่งที่ผิดพลาดบกพร่องไปแล้ว และให้ตั้งใจว่าในครั้งต่อไป วันต่อไป เราจะทำให้ดีที่สุด ในการรักษาศีล และพยายามระมัดระวังไม่ให้มีการผิดพลาดบกพร่องขึ้นอีก ให้หมั่นทำหมั่นตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน เมื่อทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวันแล้ว ศีลของเราก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ จนเรามีศีลมั่นคง ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของอริยบุคคลขั้นต้น (พระโสดาบัน) การมีศีลมั่นคงก็คือ จะไม่มีการผิดหรือละเมิดศีล (ศีล 5หรือศีล 8 ) อีกต่อไปตลอดชีวิต ไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบ บีบคั้นอย่างไร ก็ไม่อาจจะไปละเมิดศีลหรือผิดศีลได้ จนแม้กระทั่งสามารถยอมสละชีวิตได้ เพื่อไม่ให้ผิดศีล เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว จะได้มีการสมาทานศีลหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่จำเป็นแล้วเพราะศีลได้เข้าไปอยู่ในจิตใจแล้วอย่างแท้จริง เรียกว่ามีสติสมบูรณ์ในศีลแล้วนั่นเอง หากถามว่า ถ้าเรามุ่งมั่นจะรักษาศีลให้มั่นคงแล้ว เราจำเป็นต้องสมาทานศีลไหม ตอบว่าจำเป็น เพราะอานิสงส์ของศีลนั้น เกิดจากจิตที่ตั้งใจ (เจตนา) งดเว้นจากการเบียดเบียน การอยู่เฉยๆ โดยไม่ได้แสดงเจตนางดเว้นจากการเบียดเบียน จึงไม่ได้เป็นการรักษาศีล เป็นแต่เพียงยังไม่ได้ไปผิดศีลเท่านั้นเอง ดังนั้น จึงยังมิได้รับอานิสงส์ในส่วนของการรักษาศีลแต่อย่างใด ให้ลองนึกถึงตัวอย่างง่ายๆ เช่น คนเจ็บไข้ได้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล ที่เขาไม่ได้ระลึกถึงศีลเลย แต่เขาก็ไม่ได้ไปละเมิดศีล หรือทำผิดศีลเลยแม้แต่เพียงข้อเดียว นั่นก็ยังไม่ได้ถือว่าเขาผู้นั้นรักษาศีลหรือถือศีลแต่อย่างใด ก็เพราะเขามิได้มีเจตนา (ตั้งใจ) งดเว้นจากการเบียดเบียน (รักษาศีล) นั่นเอง การที่จะเป็นผู้ที่มีเจตนางดเว้นจากการเบียดเบียนได้ตลอดเวลาทุกขณะจิต (มีสติในศีล) คือการมีศีลมั่นคงแล้วนั้น ก็ต้องมีวิธีการเพื่อให้จิตระลึกถึงศีลได้ โดยเริ่มต้นจากการสมาทานศีลก่อนนั่นเอง

    ReplyDelete
  16. “ศีล” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากของการประพฤติปฏิบัติที่มักจะมองข้ามกัน ดูแล้วน่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังปฏิบัติกันได้ยาก ต้องมีกำลังใจ และสติปัญญา กระทำด้วยความอดทน หมั่นเพียร หากศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ก็ป่วยการในอันที่จะไปศึกษาประพฤติปฏิบัติ และเรียนรู้ธรรมในขั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถึงเรียนรู้ไปอย่างไร มากมายขนาดไหน ก็เป็นเพียงความรู้จากการจดจำ มิใช่ความรู้แท้ที่เป็นปัญญาญาณ จึงยังไม่สามารถแก้ทุกข์ได้อย่างจริงจัง อย่างที่เรียนไปแล้วว่าต้องสมาทานศีล 5 เสียก่อน เพื่อปรับตนเองให้เป็นภาชนะที่สะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นการปรับกายทิพย์ให้บริสุทธิ์เท่าที่จะมากได้ ปรับจิตจากความวุ่นวายให้นิ่งสงบ
    การรักษาศีล 5 อย่างยิ่งยวดไม่ย่อท้อ นั้นเป็นการเปิดทางให้บุญนั้นส่งผลอย่างเต็มที่เมื่อเราเป็นเครื่องรับที่มีกำลัง บุญกุศลที่เราเพียรทำมาก็จะส่งผลกับชีวิตของเราได้อย่างเต็มที่ทำอะไรก็เจริญ ทำอะไรก็สำเร็จโดยง่าย สุดท้ายนี้อยากขอย้ำอีกครั้งขอได้โปรดจำไว้ขึ้นใจว่าถ้าอยากดวงดีและอยากให้ปาฏิหาริย์เกิดในชีวิตตลอดเวลา ควรทำในสองประการที่แนะนำนี้ทุกวันหนึ่ง ต้องหมั่นทำทานอย่างสม่ำเสมอทั้งอามิสทานหรือวัตถุทาน ธรรมทาน อภัยทาน สอง รักษาศีลอย่างมั่นคง เพียง 2 ประการเท่านี้ ทุกท่านจะเป็นคนดวงดีตลาดกาล ไม่เพียงแต่ชาตินี้ แต่ยังตามไปส่งผลให้ดี ให้สุข ให้รวยไปทุกภพชาติด้วย

    ReplyDelete
  17. ในปาฏิหาริย์ 3 อย่าง พระพุทธเจ้าทรงโปรดอนุสาสนีปฏิหาริย์กว่าปาฏิหาริย์อื่นอีกสองอย่าง เพราะอะไร ? เพราะไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา และไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงพระพุทธศาสนา สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเกิดของพระพุทธศาสนา และเป็นตัวพระพุทธศาสนาคือความรู้ที่ทำให้ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า อาสวักขยญาณ แปลว่า ญาณที่ทำอาสวะให้สิ้นไป แต่มนุษย์จะสนใจปาฏิหาริย์ข้อ 1- 2 มากว่าการสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์,เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์
    ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์ คือ การเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว”เพราะชีวิตเราเต็มไปด้วยเรื่อง “ธรรมดา” เราจะหวนมาคิดเสียดายความ “ธรรมดา” จนใจแทบจะขาด...ความพลัดพรากสูญเสีย จนเกิดเป็นกฎประจำใจเลยว่า ให้เรารีบชื่นชมกับความ “ธรรมดา” ที่เรามีและใช้ชีวิตประหนึ่งว่า สิ่งนั้นคือ สิ่งมหัศจรรย์ของจักรวาล เพราะสิ่งธรรมดาๆ แท้จริงแล้วคือสิ่งที่พิเศษที่สุดแล้ว
    วิธีฝึกคนด้วยหลักการที่เรียกว่า
    ๑. นิคมหมุขเทศนา คือ ทรงแสดงธรรมกำหราบให้เกิดความสำนึกก่อนสำหรับคนที่ยังมีลักษณะกระด้าง ดื้อด้าน ทำนองการนำเอาไม้ซุงมาทำเครื่องเรือน จะต้องจัดการให้ไม้นั้นผ่านขั้นตอนมาโดยลำดับ จากนั้นจึงตามด้วยวิธีที่ละเอียด
    ๒. อนุคหมุขเทศนา เป็นการแสดงในลักษณะโอบอุ้มด้วยความกรุณาต่อบุคคลเหล่านั้น ในกรณีที่ผู้ฟังมีความพร้อม หรือมีปัญหาที่จะต้องปลุกปลอบให้เกิด ขวัญกำลังใจ จนมีความพร้อมที่จะศึกษา พิจารณา ปฏิบัติ
    การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าจึงออกมาในลักษณะ ๔ คือ
    ๑. สันทัสสนา ทรงแสดงเรื่องนั้นให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามสถานะของธรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หรือกลางๆก็ตาม จนผู้ฟังเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ไปตามเรื่องที่ทรงแสดงมา
    ๒. สมาทปนา ทรงเชิญชวน ชักชวนให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในธรรม ในพระองค์ และในตัวของผู้ฟัง จนเกิดฉันทะ อุตสาหะ ที่จะประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อสัมผัสผลตามที่ทรงแสดงไว้
    ๓. สมุตเตชนา ทรงกระตุ้น เร่งเร้า ให้คนที่ขาดความเชื่อมั่น มีปัญหาตกค้างอยู่ภายในใจ หรือดูหมิ่นตนเองว่า เราไม่รู้ ไม่สามารถ แม้จะต้องหกล้มหกลุก ไปบ้าง ก็ต้องปลุกให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมา จนผู้ฟังมีความอาจหาญ พร้อมที่จะศึกษาปฏิบัติด้วยความกระตือรือร้นไม่ขาดสาย
    ๔. สัมปหังสนา ให้ความเพลิดเพลิน หรือธรรมปีติ แก่ผู้ฟังจนไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักเบื่อในการฟัง เมื่อฟังอยู่ก็เพลิดเพลินในธรรม ดังนั้นตอนท้ายของพระสูตร แต่ละสูตร มักจะจบลงด้วยคำว่า “เมื่อพระสูตรนี้อันพระผู้มีพระภาคตรัสจบลง ภิกษุทั้งหลายเพลิดเพลิน ชื่นชม ในภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
    การแสดงธรรมนั้นคือ การพูด การแสดง การกล่าว การสนทนา แม้แต่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องธรรมะทางศาสนา เรียกว่า ธรรมสากัจฉา เกิด ขึ้นจากกุศลเจตนาของบุคคลที่มุ่งจะให้ผู้อื่นรู้หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา แสดงว่าจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณาต่อบุคคลผู้นั้น แต่ในขณะ ที่แสดงตนเองก็จะต้องรอบรู้ในเรื่องที่แสดง ซึ่งก็ได้ขจัดโมหะคือความหลงในเรื่องนั้นๆ ออกไปในขณะนั้นๆ
    การให้ธรรมะเป็นทาน คือการแสดงธรรม จึงทรงยกย่องว่า ชนะการให้ทั้งปวง ตามนัยะแล้วทางพุทธดำรัสที่มี สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    เท่าที่กล่าวมาแล้วนั้นเพื่อจะเข้าใจได้ถูกต้องว่าพระพุทธเจ้าทรงโปรดรูปแบบอนุสาสนีปาฏิหาริย์มากที่สุดเพราะพระองค์ทรงพิจารณารู้จักจริต ภูมิปัญญา ภูมิ หลังของผู้อ่าน และปฏิบัติได้ง่ายแต่เกิดผลที่ยั่งยืนมากกว่า
    พุทธศาสนาดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ที่ยังไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนมาก่อน ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์ ที่มีเหตุผล พิสูจน์ได้ ไม่มีความงมงาย และไม่มีใครจะโต้แย้งด้วยเหตุผลได้ ที่ทุกคนสามารถจะ "เข้าใจ" และ "เห็นแจ้ง" ได้ หรือ ศึกษาแล้วเกิด "ดวงตาเห็นธรรม"
    ------------------------------

    ReplyDelete
  18. ความกรุณาที่แสดงออกในทางการอบรมสั่งสอน ย่อมเป็นส่วนประกอบสำคัญให้เกิดคุณลักษณะของผู้สอนอย่างที่เราเรียกว่า องค์คุณของกัลยาณมิตร ซึ่งมี ๗ ประการ ดังต่อไปนี้ :-
    ๑. ปิโย – น่ารัก (ในฐานะเป็นที่วางใจและสนิทสนม)
    ๒. ครุ – น่าเคารพ (ในฐานะให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึงได้ และปลอดภัย)
    ๓. ภาวนีโย – น่ายกย่อง (ในฐานะทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง)
    ๔. ตฺตา – รู้จักพูด (คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี)
    ๕. วจนกฺขโม – อดทนต่อถ้อยคำ (พร้อมที่จะรับฟังคำซักถามต่างๆอยู่เสมอ และสามารถรับฟังได้ด้วยความอดทนไม่เบื่อ)
    ๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา – (กล่าวชี้แจ้งแถลงเรื่องต่างๆที่ลึกซึ้งได้)
    ๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย – (ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย)
    อย่างพุทธพจน์ที่ว่า พระองค์ทรงมีพระเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจาตามหลัก ๖ ประการ คือ :-
    ๑. คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – ไม่ตรัส
    ๒. คำพูดที่จริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – ไม่ตรัส
    ๓. คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์,ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – เลือกการตรัส
    ๔. คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – ไม่ตรัส
    ๕. คำที่พูดจริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – ไม่ตรัส
    ๖. คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น – เลือกกาลตรัส
    ตามความเหมาะสมแก่โอกาสหรือสถานการณ์ ดังเช่น ทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตรแก่หมู่ภิกษุ เป็นต้น มหาสติปัฏฐานสูตรว่าด้วยหลักใหญ่หรือหลักสำคัญในการปฏิบัติกรรมฐาน ๔ ประการ คือ หลักพิจารณากาย เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หลักพิจารณาเวทนาเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หลักพิจารณาจิตเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และหลักพิจารณาธรรม เรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานหลักปฏิบัติ ๔ ประการนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงว่าเป็นทางอันเอก (เอกายนมรรค) เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะเพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม และเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ดังเช่น ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่พระเบญจวัคคีย์ ก็เพราะทรงเล็งเห็นว่า การแสดงเรื่องมัชฌิมาปฏิปทาและเรื่องอริสัจสี่นั้น เหมาะแก่อัธยาศัยของพระเบญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นผู้ที่พยายามแสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น และเมื่อพระเบญจวัคคีย์ได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตร ก็ได้บรรลุธรรม หรือได้บรรลุผลตามที่ตนมุ่งหวัง เป็นต้น

    ReplyDelete
  19. ส่วนความสุขของผู้ปฏิบัติธรรม คือ นิพพานัง ปรมัง สุขขังความสุขอื่นเสมอนิพพานไม่มี ทุกชีวิตที่เกิดมาเป็นคน โดยเฉพาะในช่วงที่มีพุทธศาสนาอยู่ ต่างก็ตั้งจิตอธิฐานมาเพื่อนิพพานด้วยกันทั้งนั้นนิพพาน แปลว่า สุขถาวร หลักฐานที่บอกว่า คนต้องการนิพพาน;
    1) ไม่มีใครต้องการความสุขชั่วคราว วันนี้รวยมาก พรุ่งนี้จน ไม่มีใครเอา
    2) เราหาแต่สิ่งที่ดีๆ หรือดีที่สุดเท่าที่จะหาได้มาบำรุงบำเรอตัวเอง เพราะต้องการความสุขที่สุด
    3) ไม่มีใครต้องการความทกุข์
    4) ทุกคนกลัวตาย
    สภาวะเหล่านี้สั่งมาจากสัญญาในอดีตชาติ ที่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า มาจากจิตใต้สำนึก ความตายนั้นเป็นผลของความเกิด เพราะฉะนั้นแล้ว ชาตินี้เกิดมาแล้วต้องตายเลี่ยงไม่ได้ การดับตวามตายก็คือการดับความเกิดในชาติภพต่อไป ซึ่งก็คือ นิพพาน สิ่งที่เรา(มนุษย์)ต้องการที่แท้จริง คือ ความสุข ว่าด้วย การมี การรักษา การใช้ชีวิตเกี่ยวข้องกับความสุขความสุขของผู้ครองเรือน หรือสุขของคฤหัสถ์นั้น ท่านเรียกว่าคิหิสุข หรือกามโภคีสุข ได้แก่
    อัตถิสุข สุขของการมีทรัพย์
    โภคสุข สุขของการใช้ทรัพย์
    อัณณสุข สุขของการไม่เป็นหนี้
    อนวัชชสุข สุขของความประพฤติที่ไม่มีโทษ โดยที่การมีทรัพย์นั้นก็ต้องได้มาโดยสัมมาอาชีวะ ที่ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองและผู้อื่น สัตว์อื่น พร้อมกันนั้น พุทธศาสนาก็สอนให้รู้จักตั้งตนไว้ชอบในสังคมปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรืออำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น ได้แก่
    ๑ ) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบ อาชีพอันสุจริต มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง
    ตรวจตรา หาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
    ๒ ) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์ และผลงานอันตน ได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม ด้วยกำลัง
    งานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย
    ๓ ) กัลยาณมิตตตา คนคนดีเป็นมิตร คือรู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเหนียกศึกษา เยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณ
    ๔ ) สมชีวิตา มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำทางด้านการใช้โภคทรัพย์อีกด้วย เช่นโภควิภาคสี่ หนึ่งส่วนเลี้ยงตนและทำประโยชน์ สองส่วนลงทุนประกอบการงาน หนึ่งส่วนเก็บไว้คราวจำเป็น และโภคอาทิยะ ๕ เลี้ยงตน- บิดา –มารดา- บุตร -ภรรยา -บำรุงเลี้ยงเพื่อนร่วมงาน -มีไว้ป้องกันภยันตราย -ใช้ในทางพลีกรรม
    ๔ . ๑ ) ญาติพลี เลี้ยงญาติ
    ๔ . ๒ ) อติถิพลี เลี้ยงแขก
    ๔ . ๓ ) ปุพพเปตพลี เพื่อผู้ล่วงลับไปแล้ว
    ๔ . ๔ ) ราชพลี เสียภาษีอากร
    ๔ . ๕ ) เทวตาพลี เพื่อความเหมาะสมทางธรรมชาติ
    ๕ ) บำรุงสมณพราหมณ์

    ReplyDelete
  20. สรุปแล้วสิ่งที่มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายอยากจะได้ก็คือ ความรู้สึกที่ทนได้ง่าย (หรือที่เราเรียกกันว่าความสุข) และต้องการให้มีความสุขมากที่สุดและตลอดไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น (อมตะ) โดยไม่มีความทุกข์ใดๆเลยแม้แต่น้อยนิดซึ่งสิ่งที่อยากจะได้นี้มันไม่ได้เป็นไปตามที่เราอยากจะให้เป็นเสมอไป คือมันก็พอจะมีความสุขอยู่บ้าง แต่ไม่ได้ตามใจอยากเสมอไป และมันก็ไม่สามารถมีอยู่ตลอดไปอีกด้วย ซึ่งนี่คือธรรมชาติของโลก และเมื่อติดใจในความสุข แต่พอต้องประสบกับสิ่งตรงข้ามกับความสุข (คือความรู้สึกทุกข์) เข้าบ้าง จึงทำให้จิตเกิดความทุกข์ที่รุนแรงมากขึ้นกว่าธรรมดาดังนั้นสิ่งที่ดีหรือมีคุณค่าที่สุดของมนุษย์ก็คือ ความไม่มีทุกข์ทางใจอย่างสิ้นเชิง (นิพพาน) แต่มนุษย์ก็ไม่ชอบนิพพาน เพราะรู้สึกว่าจืดชืด ไม่สนุก สู้การมีความสุขไม่ได้ ซึ่งนี่เองที่ทำให้ปุถุชนทั้งหลายที่ติดใจอยู่ในความสุขที่เป็นเหยื่อล่อของโลก จึงต้องประสบกับความทุกข์ที่เป็นของคู่กันไปในที่สุดความสุข ที่สุดคือ นิพพาน หลังจากได้รู้ด้วยตัวเองด้วยโลกุตระธรรม ว่า "โง่ "มานานมากมายหลายกับป์ หลายกัณฑ์" นิพพานัง ปรมัง สุขัง "
    ยึดมั่น....มั่นคง เด็ดเดี่ยว กล้าลุย พร้อมชนด้วยใจอย่างเป็นเรา สบายใจแต่มั่นคงจิต
    ยึดติด....เกาะไม่ปล่อยความคิด เอาความคิดมาบดบังความว่าง เรื่องที่ต้องยึดติดที่ดีก็มี
    ยึดมั่นคงจิตตามที่คิด เห็นพร้องเสมอมั่นสวยงาม ตามจิตตน
    ยึดติด เป็นความหมายที่ดูไม่ค่อยดี อาจจะติดในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล และไม่อยากเปลี่ยนอะไรทั้งสิ้น
    ยึดมั่น เป็นความหมายที่ดูดีกว่า อาจจะใช้กับคำว่าอุดมการณ์ ความดีงาม ส่วนใหญ่จะใช้กับความหมายในเชิงบวก
    “ปุถุชฺชโน อุมฺมตฺตโก” *(ปุถุชน เป็นหมือนคนวิกลจริต ไว้เสมอ)มนุษย์เราทุกคนแก่ลงเรื่อยๆแต่ ก็จะใช่ว่าจะต้องเติบโตขึ้นด้วยคนที่คุณรับมืออยู่ น่าจะเหมือนพวกเด็กที่แก่เกินวัย ตราบใด ที่คุณยังวิ่งหนีจากผู้คนไม่ได้ก็ต้องพยายามใช้ทั้งปัญญาและกรุณา เมื่อ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คนหากเราไม่มีอะไรสัก อย่างที่เหมือนคนอื่นก็ย่อมไม่มีเรื่องใดแบ่งปันเล่าสู่กันฟังกับเขา เธอผู้นั้นได้ คุณจะรู้สึกเป็นคนแปลกหน้าอยู่อย่างนั้นหากคุณต้องการมิตรคุณต้อง ลองนึกดูว่า คุณกับพวกเขามีอะไรเหมือนกันบ้าง หากคุณสนใจพวกเขาเขา ก็ย่อมจะรู้สึกสนิทสนมกับคุณไปเอง คนส่วนใหญ่ล้วนแต่มีความ คิดความสนใจที่ผิวเผินโชคดีที่อาตมาเป็นพระภิกษุจึงสามารถหลีก เลี่ยงคนที่ตัวเองรับไม่ได้ แต่อย่างไรเสียเราก็เป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ สังคมเราอยู่ตามลำพังไม่ได้ยังต้องพบปะสัมผัสกับมนุษย์ด้วยกันอีก ทั้งเรายังอยู่ในโลกที่คนส่วนใหญ่ขาดสติ เห็นแก่ตัว ขาดความเกรงใจโง่ งมหยิ่งผยอง ขี้อิจฉา ริษยา ฯลฯ เพราะ ฉะนั้นก็จำเป็นอยู่เองที่คนฉลาด และไวต่อความรู้สึกจะต้องทนทุกข์ จากการพบปะเกี่ยวข้องกับผู้คนความเข้าใจผู้คนให้ลึกซึ้งและความอดกลั้น จึงสำคัญยิ่งก่อน ที่คุณจะ ลด ปลด วาง ความยึดติดในบุคคล หรือสิ่งหนึ่งส่งใดได้ พึงสำรวจ ความยึดติดนั้นในใจตนเองเสียก่อน การเข้า ใจความยึดติดนั้นสำคัญยิ่งเพราะคุณต้องเข้าใจมันให้ลึกซึ้งได้เสียก่อนจิต จึงจะเป็นอิสระ หากคุณดึงดันบังคับจิตให้ละลดปลดวาง สิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งๆที่ยังไม่เห็นความยึดติดนั้นตามความเป็นจริงได้ แล้วล่ะก็ไม่ช้าไม่นานมันก็จะหวนคืนขึ้นมาใหม่หนทางเดียวที่จะกำจัดมันได้อย่างเด็ดขาดก็คือ ต้องมองเห็นมันจนชัดเจนและ เข้าใจมันจนลึกซึ้งเท่านั้น การบีบบังคับตัวเองให้ละลดปลดวางหาใช่การละวางที่แท้จริงไม่ คน ส่วนมากสร้างเกราะที่มองไม่เห็นแต่ทะลลุทะลวงเข้าไปไม่ได้ขึ้นมาป้องกัน ตนจากการถูกทำร้ายจิตใจแล้วก็ต้งหน้าตั้งตาแสวงหาความพอใจจากเงิน ทอง ลาภยศ ความบันเทิงเริงรมย์ สิ่งเสพติด สุราเมรัย และความสุขทางเพศ เพียงเพราะพวกเขารู้สึกเหงาที่ ไม่มีใครรักและเข้าใจเขาอย่างแท้จริงทุกคนล้วนขลาดเกินกว่าที่จะกล้า เปิดใจออกมากลัวเกินกว่าจะปล่อยใจให้บอบบางต่อการกระทบกระทั่งใดใดมัน อาจจะมีความรักความกรุณาแบบฝืนใจความจำต้องพอใจในสิ่งที่มีและความ ถ่อมตนแบบข่มใจด้วยเช่นกันเบื้องหลังความรู้สึกเหล่านี้อาจ แฝงไว้ด้วยความเกลียด กลัว และหยิ่งผยองในตัวเองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ เราจะต้องมองให้เห็นความเกลียด ความกลัว ความหยิ่งผยอง ฯลฯการมองให้ทะลุก็อาจจะเป็นหน ทางลัดอีกเส้นหนึ่งด้วยเช่นกันความต้องการ คือ ตัณหา เป็นเหตุแห่งทุกข์แล้วท่านคิดว่ายังต้องการอะไรอีกแม้อยากพ้นทุกข์ก็เป็นตัณหาอันหนึ่ง เมื่อไม่ต้องการอะไรแล้วนั่นแหละถึงใช่...

    “--------ขอกัลยามิตรแห่งธรรมของพระพุทธองค์จงมีดวงตาเห็นธรรมอันบริสุทธ์ด้วยเทอญ------“

    ReplyDelete