Wednesday, 13 June 2012
Tuesday, 5 June 2012
Sunday, 3 June 2012
โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7
โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
1.สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2.ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3.วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
4.ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
5.ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
6.สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7.อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)
โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ หมายถึง ธรรมหรือข้อปฏิบัติเพื่อยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ กล่าวคือ ถึงที่สุดแห่ง
การดับทุกข์หรือการตรัสรู้ อันมี ๗ ประการ ซึ่งเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงามก็ดำเนินไปตามหลักอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบันธรรม อันเป็นไปดังนี้
๑. สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ ความระลึกได้บ่อยๆในกิจ(สิ่งที่ควร)ที่ทำมาไว้แล้ว ความไม่เผลอเรอ ความมีสติกํากับอยู่ในกิจ หรืองาน หรือธรรมที่ปฏิบัติ ดังเช่น การปฏิบัติธรรมวิจัย, การมีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนา, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันจิต ที่หมายถึงจิตตสังขาร เช่นความคิดปรุงแต่งคืออาการของจิตที่ฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันธรรม อันสติจักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ดังเช่น สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นการมีสติในกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอานิสงส์ที่เนื่องสัมพันธ์กับโพชฌงค์ ๗ จึงเป็นเครื่องสนับสนุน(ปัจจัย)ให้มีสติไปน้อมกระทำการธัมมวิจยะ
๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ธรรมวิจยะ) หรือธรรมวิจัย ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม การพิจารณาในธรรม อันครอบคลุมถึงการเลือกเฟ้นธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ถูกจริต และการค้นคว้า การพิจารณา การไตร่ตรองด้วยปัญญา หรือการโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องอย่างแท้จริง อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในธรรม(สภาวธรรมชาติ โดยเฉพาะของทุกข์ ก็เพื่อใช้ในการดับทุกข์) กล่าวคือธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อมีสติรู้เท่าทัน พร้อมทั้งวิจัยค้นคว้าพิจารณาในกาย เวทนา จิต ธรรม ที่สติเท่าทันนั้นๆ ย่อมยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริงในสภาวธรรมหรือธรรมต่างๆขึ้นเป็นลำดับ จึงไม่ได้เห็นเป็นไปตามความอยาก,ความเชื่อ การอ่าน การฟังแต่อย่างเดียวดังเช่นแต่กาลก่อน, ดังเช่น การเข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท พระไตรลักษณ์ อริยสัจ๔ ขันธ์๕ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ. เมื่อเกิดความเข้าใจจากการธัมมวิจยะ ปัญญาย่อมสว่างกระจ่าง จึงย่อมรู้คุณ จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมให้เกิดวิริยะ
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ความเพียร ท่านหมายถึงความเข้มแข็ง ความพยายาม บากบั่น สู้กิจ ไม่ย่อหย่อนท้อแท้ต่อการปฏิบัติและการพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ) ตลอดจนการเพียรยกจิตไม่ให้หดหู่ ท้อแท้, เมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมจากการพิจารณาธรรม ย่อมเป็นสุข เห็นประโยชน์ในการปฏิบัติ อุปาทานทุกข์น้อยลงหรือเบาบางลง จึงย่อมทำให้เกิดความเพียรขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อเห็นคุณย่อมปฏิบัติด้วยความเพียร เมื่อปฏิบัติด้วยความเพียร อย่างแน่วแน่ในระยะหนึ่ง ไม่ซัดส่ายสอดแส่ ย่อมเป็นปัจจัยครื่องสนับสนุนให้เกิดปีติ
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อมีสติพิจารณาในธรรม ด้วยความเพียรย่อมเกิดความอิ่มเอิบ อิ่มใจ ความดื่มดํ่า ใจฟู ความแช่มชื่น ความปลาบปลื้ม อันปราศจากอามิส(ไม่เจือด้วยกิเลส)ขึ้นเป็นรรมดา (จึงมิได้หมายถึง ปีติ ชนิดมีอามิส ความอิ่มเอิบ อันเกิดแต่การปฏิบัติฌานสมาธิอันมีองค์ฌาน ชนิดที่เกิดแต่การติดเพลิน,ติดสุข ทั้งโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี อันมักแสดงออกโดยอาการจิตส่งใน เพราะปีติชนิดนี้ยังให้โทษในภายหน้าแต่อย่างเดียว)เมื่อวิริยะ อย่างแน่วแน่ในธรรมที่พิจารณา ไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปปรุงแต่งในสิ่งอื่นๆได้ระยะหนึ่ง ย่อมบังเกิดอาการปีติความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นขึ้นนั้นๆ
ซึ่งเมื่อความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นจางคลายไป ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนให้เกิดปัสสัทธิ
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกายและความสงบใจ ความผ่อนคลายกายใจ อันเกิดแต่ปีติสุขที่ระงับไป,เมื่อปีติความแช่มชื่น อิ่มเอิบแช่มชื่น อันเกิดแต่ความเข้าใจกระจ่างสว่างในธรรมสงบระงับลงแล้ว ย่อมยังผลให้เกิดการผ่อนคลาย กล่าวคือ เกิดความสงบกายสงบใจตามมา จึงไม่เครียด ไม่กระวนกระวายกายใจโปร่งเบาสบาย กล่าวคือ เมื่อกายสงบระงับย่อมเกิดความสุข จึงเกิดการเสวยสุข เมื่อกายสงบระงับแล้วย่อมเป็นสุข เมื่อเป็นสุขแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมนำให้เกิดสมาธิสัมโพชฌงค์จิตตั้งมั่น
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความมีจิตตั้งมั่น เพราะเมื่อกายสงบ ย่อมพบสุข เมื่อพบสุข จิตย่อมตั้งมั่น เพราะย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปฟุ้งซ่าน หรือปรุงแต่ง จึงมีจิตหรือสติตั้งมั่นอยู่กับกิจหรืองานที่ทํา อันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ นั่นเอง เช่น มีสติอย่างต่อเนื่องกับธรรมที่พิจารณา หรือการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องไม่ซัดส่าย ไม่วอกแวก ดังเช่น มีสติเห็นเวทนา หรือมีสติระลึกรู้เท่าทันอาการของจิต เช่นรู้เท่าทันอาการปรุงแต่งหรือรู้เท่าทันว่าฟุ้งซ่านไปภายนอกอยู่เนืองๆและสมาธินั้นยังเป็นกําลังแห่งจิต ที่ทําให้จิตเข้มแข็งขึ้น ก็เนื่องเพราะความไม่ซัดส่ายไปสอดแส่ให้เกิดทุกข์ในเรื่องอื่นๆอีกด้วยนั่นเอง จึงย่อมยังให้การปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นเป็นไปอย่างมีกําลัง ดังนั้นสมาธิในสัมโพชฌงค์จึงหมายถึง การมีจิตตั้งมั่น อยู่ได้อย่างต่อเนื่องหรือแนบแน่นในการปฏิบัตนั่นเอง เป็นจิตชนิดที่มีสติปราดเปรียวว่องไว ที่เมื่อระลึกรู้เท่าทันในสิ่งใดแล้ว ก็ปล่อยวางโดยการ อุเบกขาในสัมโพชฌงค์องค์สุดท้าย สมาธิในโพชฌงค์ จึงเป็นสมาธิเพื่อการวิปัสสนา ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการปฏิบัติสมถสมาธิ ที่มีสติแนบแน่นหรือแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง โดยเฉพาะเท่านั้น อย่างไม่ปล่อยวาง ที่เมื่อสติจางคลายหรือขาดไปแล้ว มีองค์ฌานหรือสมาธิเป็นผลให้เกิดความสุขสงบสบายขึ้น แต่ย่อมเป็นไปในขณะหรือระยะหนึ่งๆเท่านั้น จึงยังจัดว่าเป็นเพียงวิกขัมภนวิมุตติ จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า สมถสมาธิหรือฌานที่ปฏิบัติกันทั่วไป อันมีมาแต่โบราณนั้น
ในทางพุทธศาสนาแล้วก็เพื่อเป็นไป เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิในขั้นวิปัสสนาต่อๆไปเท่านั้น กล่าวคือ สมาธิในโพชฌงค์คือสมาธิชนิดสัมมาสมาธิในองค์มรรคที่มีจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย อย่างต่อเนื่อง
เมื่อจิตตั้งมั่น แน่วแน่อย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างเนืองๆ ย่อมประกอบด้วยกำลัง และยังประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเป็นไปตามจริงตามที่ได้สั่งสมมา จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนในการน้อมนำไปในการอุเบกขา
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ การวางใจเป็นกลาง วางทีเฉย รู้ตามความจริงหรือยอมรับตามความจริง แล้วละเสียโดยการตั้งมั่นวางเฉย หรือปล่อยวางโดยอาศัยกำลังของจิตอันเกิดแต่สติ,สมาธิและปัญญานั่นเอง วางเฉย ที่หมายถึง รู้สึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดาไม่ต้องฝืน แต่ตั้งใจกระทำหรือปฏิบัติ ด้วยการไม่(คิดนึก)ปรุงแต่ง ไม่สอดแส่ไปในเรื่องหรือกิจนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย) กล่าวคือไม่คิดเอนเอียง ไม่สอดแส่ ไม่ซัดส่าย ไม่ยึดมั่นในสิ่งใด เช่น ไม่ไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิต ในเวทนา(ความรู้สึกรับรู้เมื่อกระทบสัมผัสอันอาจชอบใจหรือไม่ชอบใจ) หรือสังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น จิตฟุ้งซ่าน,จิตมีโทสะ ฯ. ถ้อยคิดหรือความคิดนึกที่เกิดขึ้น เช่น การคิดปรุงแต่งหรือการเอนเอียงไปคิดเห็นว่าสิ่งนั้นถูกหรือสิ่งนั้นผิด, ไม่ปรุงแต่งทั้งในบุญหรือบาป,ไม่ปรุงแต่งไปทั้งดีหรือชั่ว, ไม่ปรุงแต่งว่าเราถูกหรือเขาผิด, เกิดความรู้สึกอย่างไรก็เกิดอย่างนั้น ไม่เป็นไร เป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องเป็นธรรมดา เพียงวางจิตหรือสติหรือความคิดให้เป็นกลางด้วยการกระทำ วางทีเฉย เพราะการที่ไปปรุงแต่งแม้จะเป็นดีหรือสิ่งที่ถูกก็เป็นทุกข์ (แยกแยะให้เข้าใจความหมายถูกต้องด้วยมิได้หมายถึงไม่ทําความดี ไม่ทําบุญ แต่หมายถึงการไปคิดนึกปรุงแต่ง แล้วยึดว่าถูก ว่าดี อย่างนั้น อย่างนี้ อันล้วนยังให้เกิดเวทนา คือความคิดขึ้นใหม่ๆอันย่อมเกิดเวทนาขึ้นอีกทั้งสิ้น อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อุปาทาน ชาติอันเป็นทุกข์ขึ้นในที่สุด) ดังเช่น เรานั้นเป็นคนดีมากๆ ช่วยเหลือเกื้อหนุนบุคคลคนหนึ่งอย่างมากๆ เป็นความดีชนิดบริสุทธิ์ใจ แต่แล้วบุคคลคนนั้นกลับกระทำการสิ่งที่ไม่ดีต่างๆนาๆต่อเรา เพียงแต่เราคิดปรุงแต่งหรือกระทำโดยอาการพิรี้พิไรรำพันโอดครวญในความดีของเราหรือความชั่วของเขาในเรื่องนี้ขึ้นมา ที่แม้เป็นจริงอย่างที่สุดก็ตาม ท่านก็ย่อมต้องเสวยทุกข์ขึ้นทันที ความดีที่เรากระทำอยู่นั้นเราย่อมได้รับอยู่แล้วเพียงแต่อาจโดยไม่รู้ตัว แต่เมื่อใดที่เราไปคิดยึดมั่นในความดีด้วยกิเลส คือไปอยากให้ความดีนั้นตอบแทน ก็เกิดอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทันที ด้วยเหตุฉะนี้ พระอริยเจ้าท่านจึงมีคำกล่าวอยู่เนืองๆว่า ไม่ยึดดี ไม่ยึดชั่ว เป็นกลางวางทีเฉย
อุเบกขา จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการเจตนาขึ้นเท่านั้น จึงต้องหมั่นสั่งสมอบรมปฏิบัติ ไม่ใช่การวางใจเป็นกลางชนิดที่ต้องทําใจเป็นกลางเฉยๆ ชนิดจะไม่ให้รู้สึกรู้สาต่อทุกขเวทนา,สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด กล่าวคือ อยากจะไม่ให้มีทุกขเวทนาทางกายหรือทางใจใดๆมากระทบได้ เพราะยังไม่รู้ไม่เข้าใจด้วยอวิชชา อันอาจกระทําได้แค่เป็นครั้งคราวด้วยฌาน,สมาธิเท่านั้น อันยังเป็นเพียงโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์)เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้)และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่) เพราะตามความเป็นจริงแล้วทุกขเวทนานั้นยังมีอยู่เป็นธรรมดาแม้ในองค์พระอริยเจ้าแต่ท่านเหล่านี้ไม่มีอุปาทานทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕, จึงต้องเป็นการปฏิบัติด้วยความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วว่าเป็นโทษเป็นทุกข์ แล้วจึงปล่อยวางหรือทําใจเป็นอุเบกขา กล่าวคือรู้ตามความเป็นจริงแล้ว รู้สึก(เวทนา)อย่างไร ก็เป็นเยี่ยงนั้นนั่นเอง แต่ต้องเข้มแข็ง ไม่คิดนึกปรุงแต่งด้วยการไม่เอนเอียงหรือแทรกแซงไปด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆในเรื่องนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย), อุเบกขาจึงไม่ใช่อทุกขมสุขเวทนาหรือที่บางทีเรียกกันว่าอุเบกขาเวทนาอันเป็นความรู้สึกเฉยๆ แล้วไปยึดไปเข้าใจผิดว่าเป็นการอุเบกขา,อันอุเบกขาเวทนานั้นเป็นสภาวธรรมที่เกิดการรับรู้ขึ้นจากการผัสสะเป็นธรรมดา กล่าวคือเป็นไปโดยสภาวธรรมชาติ อย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรม ส่วนการอุเบกขาหรือตัตรมัชฌัตตตาเป็นสังขารขันธ์จึงต้องมีสัญเจตนาหรือเจตนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องหมั่นฝึกฝนอบรมด้วยความเพียรยิ่ง จนสามารถกระทำอุเบกขานั้นเป็นมหาสติ กล่าวคือ กระทำเองโดยอัติโนมัติ เป็นเฉกเช่นสังขารในปฏิจจสมุปบาท แต่ปราศจากเสียซึ่งอวิชชา
********************************************************************
คาถารักษาไข้ (โพชฌังโค)
****************************************************************************
โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัม ปิติ ปัสสัทธิ โพชณังคา จะ ตะถา ปะเร สะมาธุ เปกขะ โพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะ ทักขาตา ภาวิตา พะหุ ลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลา นัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ เตจะตัง อะภินัน ทิตตะวา โรคา มุจจิงสุข ตังขะเณ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเตโหตุ สัพพะทา เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคตัญเญ นาภิปิฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตตะวานะ สาทะรัง สัมโมทิตตะวา จะ อาพาธา ตัมหาวุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ปะหีนาเต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติ ธัมมะตัง เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
********************************************************************
ถ้าหากผู้ใดเป็นไข้ ให้ใช้คาถาบทนี้ เสกปัดเป่า หรือจะทำน้ำมนต์ให้ดื่มกินก็ยิ่งจะเป็นการดี จะทำให้ไข้หายเร็ว
********************************************************************
อริยกรธรรม เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ
ไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น
(อริยธรรม 5 หรือ ขันธ์ 5คือ 1.สีลขันธ์ 2.สมาธิขันธ์ 3.ปัญญาขันธ์ 4.วิมุตติขันธ์ 5.วิมุตติญาณทัสสนาขันธ์)
ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-
1.อนิจจตา (อนิจจลักษณะ)
- อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
2.ทุกขตา (ทุกขลักษณะ)
- อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ)
- อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้.
ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร คำว่า ไตรลักษณ์ นี้มาจากภาษาบาลีว่า "ติลกฺขณ" มีการวิเคราะห์ศัพท์ดังต่อไปนี้ :-
ติ แปลว่า สาม, 3.
ลกฺขณ แปลว่า เครื่องทำสัญลักษณ์, เครื่องกำหนด, เครื่องบันทึก, เครื่องทำจุดสังเกต, ตราประทับ เปรียบได้กับภาษาอังกฤษในคำว่า Marker.
ติลกฺขณ จึงแปลว่า "เครื่องกำหนด 3 อย่าง" ในแง่ของความหมายแล้ว ตามคัมภีร์จะพบได้ว่า มีธรรมะที่อาจหมายถึงติลกฺขณอย่างน้อย 2 อย่าง คือ สามัญญลักษณะ 3 และ สังขตลักษณะ 3 . ในคัมภีร์ชั้นฏีกา พบว่ามีการอธิบายเพื่อแยก ลักษณะทั้ง 3 แบบนี้ออกจากกันอยู่ด้วยส่วนในที่นี้ก็คงหมายถึงสามัญญลักษณะตามศัพท์ว่า ติลกฺขณ นั่นเอง.
อนึ่ง นักอภิธรรมชาวไทยนิยมเรียกคำว่า สังขตลักษณะ โดยใช้คำว่า "อนุขณะ 3" คำนี้มีที่มาไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังไม่พบในอรรถกถาและฏีกาของพระพุทธโฆสาจารย์และพระธรรมปาลาจารย์, และที่พบใช้ก็เป็นความหมายอื่น[2] อาจเป็นศัพท์ใหม่ที่นำมาใช้เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาก็เป็นได้. อย่างไรก็ตาม โดยความหมายแล้วคำว่าอนุขณะนั้นก็ไม่ได้ขัดแย้งกับคัมภีร์รุ่นเก่าแต่อย่างใด.
สามัญญลักษณะ 3 หมายถึง เครื่องกำหนดที่มีอยู่ทั่วไปในสังขารทั้งหมด ได้แก่ อนิจจลักษณะ - เครื่องกำหนดความไม่เที่ยงแท้, ทุกขลักษณะ - เครื่องกำหนดความบีบคั้น, อนัตตลักษณะ - เครื่องกำหนดความไม่มีตัวตน.
สามัญญลักษณะ ยังมีชื่อเรียกอีกว่า ธรรมนิยาม คือกฎแห่งธรรม หรือ ข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร และบางอย่าง คือ อนัตตลักษณะยังเป็นข้อกำหนดของวิสังขาร (พระนิพพาน) เป็นต้นอีกด้วย.
อนึ่ง ควรทราบว่า อนิจฺจํ กับ อนิจฺจตา เป็นต้น เป็นศัพท์ที่ใช้คนละความหมายกัน ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในตอนท้ายของบทความนี้ด้วย.
อนิจจะ กับ อนิจจลักษณะ ไม่เหมือนกัน
ตามคัมภีร์ฝ่ายศาสนาท่านให้ความหมายของขันธ์ กับ ไตรลักษณ์ไว้คู่กัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกันดังนี้ :-
• อนิจจัง (อนิจฺจํ) - หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง, คำว่า"อนิจจัง"เป็นคำไวพจน์ชื่อหนึ่งของขันธ์ 5.
• อนิจจลักษณะ (อนิจฺจตา,อนิจฺจลกฺขณํ) - หมายถึง เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง.
อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 เคยเกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 เคยมีขึ้นแล้วก็ไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.
ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนิจจลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ถึง 25 แบบ เรียกว่า โต 25 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนิจจลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะอาการที่เปลี่ยนไป จะเป็นการกำหนดอนิจจลักษณะ).
ทุกข์ กับ ทุกขลักษณะ ไม่เหมือนกัน
• ทุกขัง (ทุกฺขํ)
- หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง, คำว่า"ทุกขัง"เป็นคำไวพจน์ชื่อหนึ่งของขันธ์ 5.
•ทุกขลักษณะ (ทุกฺขตา,ทุกฺขลกฺขณํ)
- หมายถึง เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวทุกขัง.
ทุกขลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์ บีบคั้น น่ากลัวมาก ซึ่งได้แก่ อาการความบีบคั้นบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปอยู่เป็นเนืองนิจของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บีบบังคับตนจากที่เคยเกิดขึ้น ก็ต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่, อาการที่ขันธ์ 5 จากที่เคยมีขึ้น ก็ต้องกลับไปเป็นไม่มีอีกครั้ง เป็นต้น.
ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกทุกขลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ถึง 10 แบบ เรียกว่า โต 10 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงทุกขลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่บีบบังคับตัวเองให้ต้องเปลี่ยนไป ก็จะกลายเป็นการกำหนดทุกขลักษณะ).
อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ ไม่เหมือนกัน
อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน
อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่มีตัวตน ไร้อำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด ได้แก่ อาการที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ให้เสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่ไม่ได้, อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้มีขึ้นไม่ได้ ไม่ให้กลับไปไม่มีอีกครั้งไม่ได้ (บังคับให้ไม่หมดไปไม่ได้) เป็นต้น.
ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนัตตลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ 5 แบบ เรียกว่า โต 5 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนัตตลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่ไรอำนาจบังคับตัวเองใหไม่เปลี่ยนไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นการกำหนดอนัตตขลักษณะ).
หลักการกำหนดไตรลักษณ
ไตรลักษณ์แบบสามัญญลักษณะนี้ ไม่ได้แสดงตัวของมันเองอยู่ตลอดทุกเวลา เพราะเมื่อใดที่จิตไม่ได้เข้าไปคิดถึงขันธ์ 5 เทียบเคียง สังเกต ไตร่ตรอง ให้รอบคอบ ตามแบบที่ท่านวางไว้ให้ในพระไตรปิฎก เช่น "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น ไตรลักษณ์ก็จะไม่ปรากฏตัวขึ้น.โดยเฉพาะอนัตตลักษณะที่ทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุไว้ในหลายแห่งว่าพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะสามารถทำความเข้าใจเองแล้วเอามาบอกสอนให้คนอื่นเข้าใจตามได้.
สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์แบบสามัญญลักษณะ
อย่างไรก็ตาม แม้จะพิจารณาใคร่ครวญตามพระพุทธพจน์ แต่ไตรลักษณ์ก็อาจจะยังไม่ชัดเจนได้เหมือนกันทั้งนี้ อาจเป็นเพราะนิวรณ์อกุศลธรรมต่างๆเกิดกลุ้มรุม รุมเร้า, และอาจเป็นเพราะยังพิจารณาไม่มากพอจึงไม่มีความชำนาญ เหมือนเด็กเพิ่งท่องสูตรคูณยังไม่แม่นนั่นเอง. และนอกจากนี้ ในคัมภีร์ท่านยังแสดงถึงสิ่งที่ทำให้พิจารณาไตรลักษณ์ได้ไม่ชัดเจนไว้อีก 3 อย่าง คือ สันตติ อริยาบถ และฆนะ
สันตติปิดบังอนิจจลักษณะ
สันตติ คือ การสืบต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสายของขันธ์ 5 โดยสืบต่อเนื่องจากจิตดวงหนึ่งที่ดับไป จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นต่อกันในทันที, หรือรูป ๆ หนึ่งดับไป รูปใหม่ ๆ ก็เกิดต่อกันไปในทันที หรือบางทีรูปเก่ายังไม่ดับรูปใหม่ก็เกิดขึ้นมาสำทับกันเข้าไปอีก สันตติเป็นกฎธรรมชาติ เป็นนิยามห้ามไม่ได้ เว้นแต่จะดับขันธปรินิพพานแล้วเท่านั้น สันตติจึงจะไม่เป็นไป, แม้ในอสัญญสัตตภพ และผู้เข้านิโรธสมาบัติท่านก็ยังจัดว่ามีสันตติของจิตอยู่นั่นเอง.
สันตติที่เกิดขึ้นสืบต่อกันไปอย่างรวดเร็วไม่ขาดสายนี้ จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ขันธ์ 5 ไม่เกิดไม่ดับ ทั้งที่ความจริงแล้วเกิดดับต่อกันวินาทีละนับครั้งไม่ได้. ในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวว่า "สันตติปิดบังอนิจจลักษณะ" เพราะอนิจจลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความไม่สืบต่อของขันธ์ 5 ที่มีขอบเขตของเวลาในการดำรงอยู่จำกัดมาก ซึ่งตรงกันข้ามกับสันตติที่ต่อกันจนดูราวกับว่าไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย. การที่ยังพิจารณาอนิจจลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น ไม่บ่อย ไม่ต่อเนื่อง หรือเพิ่งเริ่มกำหนด จึงยังไม่เกิดความชำนาญ อนิจจลักษณะที่กำหนดอยู่ก็จะไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจกระจ่างเท่าไหร่สันตติจึงยังมีอำนาจรบกวนไม่ให้กำหนดอนิจจลักษณะได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง.
สำหรับวิธีการจัดการกับสันตติไม่ให้มีผลกับการกำหนดอนิจจลักษณะนั้นไม่มีวิธีจัดการกับสันตติโดยตรง เพราะสันตติเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาของขันธ์ไปห้ามกันไม่ได้. แต่ท่านก็ยังคงให้พิจารณาอนิจจลักษณะแบบเดิมเป็นต้นว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"ดังนี้ ต่อไป โดยทำให้มาก ให้ต่อเนื่อง ให้บ่อยครั้งเข้า อนิจจลักษณะก็จะปรากฏชัดขึ้น และสันตติแม้จะยังมีอยู่ตามเดิม แต่ก็จะไม่มีอำนาจปกปิดอนิจจลักษณะ หรือ ทำให้อนิจจลักษณะไม่ชัดเจนอีกต่อไป.
อนึ่ง สันตติไม่ได้ปิดบังอนิจจัง เพราะอนิจจัง ก็คือ ขันธ์ 5 ซึ่งขันธ์ 5 ที่เป็นโลกิยะโดยมากแล้วใคร ๆ แม้ที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สามารถจะเห็นได้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรว่า "กามํ อุตฺตานเสยฺยกาปิ ทารกา ถญฺญปิวนาทิกาเล สุขํ เวทยมานา สุขํ เวทนํ เวทยามาติ ปชานนฺติ น ปเนตํ เอวรูปํ ชานนํ สนฺธาย วุตฺตํ - ความจริงแล้ว แม้แต่พวกทารกแบเบาะมีความสุขอยู่ในเวลาขณะที่ดื่มนม ก็ย่อมรู้ชัดอยู่ว่า เรามีสุขเวทนา (คือ รู้ตัวว่ากำลังมีความสุข) อยู่ ดังนี้ แต่การรู้อย่างนี้ท่านไม่ได้ประสงค์เอา (ในการเจริญสติปัฏฐาน) "ดังนี้[13]. ดังนั้นแม้เราจะดูทีวีซึ่งมีการขยับเขยื้อน มีสีเปลี่ยนไปมาอยู่มากมายก็ตาม แต่หากไม่มนสิการถึงอนิจจลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น เราก็จะไม่เห็นสามารถอนิจจลักษณะได้เลย และความจริงหากยังดูทีวีอยู่ก็คงจะพิจารณาไตรลักษณ์ได้ไม่ดี หรือไม่ได้เลยด้วย เพราะอกุศลจิตนั่นเองจะเป็นตัวขัดขวางการพิจารณา ใคร่ครวญ ค้นคิดธรรมะ.
อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะ
อิริยาบถ คือ รูปแบบกิริยาการกระทำต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การแล การเหลียว เป็นต้น.การเปลี่ยนอิริยาบถนั้นบางครั้งก็อาจทำเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แต่โดยมากแล้ว เราเปลี่ยนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยที่ยังไม่ต้องเกิดความทุกข์ความเจ็บปวดขึ้นมาก่อนก็ได้ เช่น นั่งสมาธิ เดินจงกรม เป็นต้น อิริยาบถเป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปคล้ายกับวิญญัตติรูป ดังนั้น ท่านจึงระบุไว้ในตอนท้ายของอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรและฏีกาว่า "ไม่พึงพิจารณาตั้งแต่เพิ่งเริ่มต้นกำหนด " ส่วนเหตุผลท่านก็ให้ไว้เหมือนกับอสัมมสนรูป นั่นคือ เพราะเป็นเพียงความเปลี่ยนแปลงของรูป ไม่ใช่สภาวะธรรมโดยตรงจึงไม่ควรกำหนดนั่นเอง.
อิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดทั้งวันนี้ จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ขันธ์ 5ไม่ได้บีบคั้นบังคับตัวเองให้ต้องเปลี่ยแปลงไปแต่อย่างใด ทั้งที่ความจริงแล้ว แม้ขณะที่เราเปลี่ยนอิริยาบถอยู่โดยไม่ได้เป็นเพราะความเจ็บปวด เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ เป็นต้น ตอนนั้นขันธ์ 5 ก็ล้วนบีบคั้นบังคับตนเองให้ต้องเปลี่ยนแปลงแตกดับเสื่อมสลายไปเป็นปกติทั้งสิ้น. ในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "อิริยาบถปิดบังทุกลักษณะ" เพราะทุกขลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความบีบคั้นให้เปลี่ยนไปของขันธ์ 5 ที่ล้วนบีบคั้นบังคับตัวเองอยู่เป็นนิจ ซึ่งตรงกันข้ามกับอิริยาบถที่เมื่อเปลี่ยนแล้ว ก็ทำให้สุขต่อกันไปจนไม่รู้ตัวเลยว่า ขันธ์ 5 กำลังบีบคั้นขันธ์เองวินาทีละนับครั้งไม่ได้. การที่ยังพิจารณาทุกขลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น) ไม่บ่อย ไม่ต่อเนื่อง หรือเพิ่งเริ่มกำหนด จึงยังไม่เกิดความชำนาญ ทุกขลักษณะที่กำหนดอยู่ก็จะไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจกระจ่างเท่าไหร่อิริยาบถจึงยังมีอำนาจรบกวนไม่ให้กำหนดทุกขลักษณะได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง.
สำหรับวิธีการจัดการกับอิริยาบถไม่ให้มีผลกับการกำหนดทุกขลักษณะนั้นไม่มีวิธีการโดยตรง เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือ อิริยาบถไม่สม่ำเสมอก็อาจป่วยได้ ซึ่งจะกลายเป็นการซ้ำร้ายลงไปอีก ทั้งยังจะทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ทำให้อยู่ร่วมกับสังคมไม่ได้ไม่ว่าจะสังคมโยม หรือสังคมพระภิกษุก็อยู่ไม่ได้เหมือนๆกัน. แต่ท่านก็ยังคงให้พิจารณาทุกขลักษณะแบบเดิมเป็นต้นว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"ดังนี้ โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น ต่อไป โดยทำให้มาก ให้ต่อเนื่อง ให้บ่อยครั้งเข้า ทุกขลักษณะก็จะปรากฏชัดขึ้น และอิริยาบถแม้จะยังมีอยู่ตามเดิม แต่ก็จะไม่มีอำนาจปกปิดทุกขลักษณะ หรือ ทำให้ทุกขลักษณะไม่ชัดเจนอีกต่อไป.
อนึ่ง อิริยาบถไม่ได้ปิดบังปิดบังทุกขัง เพราะทุกขัง คือ ขันธ์ 5 ซึ่งขันธ์ 5 ที่เป็นโลกิยะโดยมากแล้วใคร ๆ แม้ที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สามารถจะเห็นได้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรว่า "กามํ อุตฺตานเสยฺยกาปิ ทารกา ถญฺญปิวนาทิกาเล สุขํ เวทยมานา สุขํ เวทนํ เวทยามาติ ปชานนฺติ น ปเนตํ เอวรูปํ ชานนํ สนฺธาย วุตฺตํ - ความจริงแล้ว แม้แต่พวกทารกแบเบาะมีความสุขอยู่ในเวลาขณะที่ดื่มนม ก็ย่อมรู้ชัดอยู่ว่า เรามีสุขเวทนา (คือ รู้ตัวว่ากำลังมีความสุข) อยู่ ดังนี้ แต่การรู้อย่างนี้ท่านไม่ได้ประสงค์เอา (ในการเจริญสติปัฏฐาน) "ดังนี้ดังนั้นไม่ว่าเราจะขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถหรือจะไม่กระดุกกระดิกเปลี่ยนอิริยาบถใดๆเลยก็ตาม แต่หากไม่มนสิการถึงทุกขลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (โดยมุ่งถึงความเบียดเบียนบีบคั้น) เราก็จะไม่สามารถเห็นทุกขลักษณะได้เลย. ฉะนั้นในวิสุทธิมรรคฏีกาท่านจึงกล่าวไว้ว่า "อิริยาบถเหมือนปิดบังทุกข์"เท่านั้น ไม่กล่าวว่า "อิริยาบถปิดบังทุกข์" เพราะอิริยาบถทำให้สุขเวทนาเกิดต่อเนื่องจึงไม่ได้รับทุกขเวทนาเท่านั้น แต่อิริยาบถไม่ได้ปิดบังทุกข์คือขันธ์ 5 แต่อย่างใด ส่วนสิ่งที่ปิดบังทุกข์ คือ ขันธ์ 5นั้นก็คือ อวิชชานั่นเอง.
อริยธรรม 5 หรือ ขันธ์ 5
อริยธรรม 5 หรือ ขันธ์ 5
1.สีลขันธ์
2.สมาธิขันธ์
3.ปัญญาขันธ์
4.วิมุตติขันธ์
5วิมุตติญาณทัสสนาขันธ์
--------------------------------------------------------------------------------
คำว่า ธรรมขันธ์ อาจจะแปลว่า หมวดแห่งธรรม หรือกลุ่มแห่งธรรม ซึ่งในบางแห่ง ท่านเรียกอริยธรรม คือธรรมที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ เป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเน้นมากก่อนจะปรินิพพาน เป็นการสรุปธรรมะลงในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารธรรม ธรรมะที่เป็นแก่นสารที่แท้จริง
การทำจิตของตนให้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส เป็นเป้าหมายในการประพฤติปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา แต่กว่าจะบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ จำเป็นจะต้องประพฤติปฏิบัติไปตามขั้นตอนที่ทรงแสดงไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เรื่องของไตรสิกขาซึ่งเป็นตัวเหตุใหญ่
1.สีลขันธ์ คือหมวดของศีลนั้น ได้แก่การประพฤติปฏิบัติ เช่น การสำรวมในปาฏิโมกข์ คือ บทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติเอาไว้ เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต
อินทรีย์สังวร การสังวรระวังในอินทรีย์ของตน เวลาตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องเย็นร้อนอ่อนแข็ง และแม้แต่ใจ จะเหนี่ยวนึกถึงอารมณ์ต่าง ๆ ก็ไม่ปล่อยให้ความยินดียินร้ายครอบงำใจจนเกินไป
โภชเน มัตตัญญุตา การรู้จักประมาณในการบริโภคภัตตาหารไม่ให้มากเกินไป ไม่ให้น้อยเกินไป หรือว่าการเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบไม่หลอกลวงฉ้อโกงเขามาเลี้ยง นี้ก็จัดเข้าในหมวดของสีลขันธ์ หรือพูดโดยนัยหนึ่ง วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ จัดเป็นสีลขันธ์
2.สมาธิขันธ์ การบำเพ็ญเพียรทางใจ เช่น ชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรเป็นผู้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปจาการเจริญสมถกรรมฐานในชั้นต่าง ๆ ตามที่ทรงแสดงเอาไว้ หรืออีกนัยหนึ่ง การปฏิบัติตามหลักของอริยมรรคคือ สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นในทางที่ชอบ ก็จัดเป็นสมาธิขันธ์
3.ปัญญาขันธ์ หมายถึงการใช้ปัญญาเพ่งพินิจพิจารณาในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ธัมมวิจยะ การพิจารณาสอดส่องธรรมเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมะเหล่านั้นตามความเป็นจริง วิปัสสนา การมองรูปนามให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา จนสามารถถ่ายถอนบรรเทาความยึดติดว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเราลงไปได้ หรือแม้แต่ กัมมัสสกตาญาณ คือ ความรู้ถึงการที่สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของ ๆ ตน ต้องเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ใครทำกรรมอันใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ก็จัดเข้าในกลุ่มปัญญาขันธ์ อีกนัยหนึ่งคือ ความสมบูรณ์ของสัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ เป็นปัญญาขันธ์
4.วิมุตติขันธ์ เมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือองค์อริยมรรคสมบูรณ์ก็เกิดญาณความรู้ในอริยสัจตามความเป็นจริงขึ้นมา คือรู้ว่านี่ทุกข์ นี่เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี่ความดับทุกข์ นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า สัจจญาณ รู้ว่าทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ รู้ว่าทุกข์ที่ควรกำหนดรู้ ได้กำหนดรู้แล้ว สมุทัย ที่ควรละ ได้ละแล้ว นิโรธที่ควรทำให้แจ้ง ได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรคที่ควรเจริญ ก็ได้เจริญแล้ว เรียกว่า กตญาณ เมื่อญาณทั้ง 3 นี้สมบูรณ์ ก็เรียกว่า สัมมาญาณะ คือความรู้ในทางที่ชอบก็บังเกิดขึ้น จิตของผู้ปฏิบัติก็จะเป็นสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นในทางที่ชอบ อันเป็นวิมุตติขันธ์
5.วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คือความรู้ความเห็นในวิมุตติ ที่ปรากฏเกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติ ดังที่ท่านแสดงเอาไว้ว่า เมื่อพระอริยบุคคลบำเพ็ญเพียรไปโดยลำดับ ก็จะเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายก็จะคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัด ก็ก็จะวิมุตติ คือหลุดพ้นจากอำนาจกิเลส เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่า เราหลุดพ้นแล้วดังนี้ และรู้ต่อไปว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ คือ ความประพฤติปฏิบัติเพื่อละความชั่ว ประพฤติความดีก็สมบูรณ์แล้ว กิจที่จะต้องทำต่อไปก็ไม่มี กิจในลักษณะเดียวกัน ก็ไม่มีเหมือนกัน ดังนั้นความรู้สึกที่เกิดผุดขึ้นในลักษณะนี้ เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คือ ความรู้ความเห็นในวิมุตติ
ธรรมหมวดนี้ บางครั้งก็อาจจะเรียกว่า สารธรรมทั้ง 5 หรือเรียกว่า อริยธรรม 5 ดังที่กล่าวมาแล้ว
ทั้งนี้เพราะพระธรรมที่บุคคลจะต้องประพฤติทั้งหมด สรุปรวมลงที่ ศีล สมาธิ ปัญญา ผลแห่งการทำความดีทั้งหมดรวมลงในกลุ่มของวิมุตติ คือ จิตหลุดพ้นจาก กิเลส ทุกข์ ตามสมควรแก่ฐานะของตน ความรู้เห็นในความหลุดพ้นที่จิตของตนก็จะเกิดขึ้นแก่เขาได้โดยอัตโนมัติตามควรแก่ฐานะเช่นเดียวกัน ธรรมขันธ์ 5 จึงเป็นมรรคสัจกับนิโรธสัจ เมื่อเข้าถึงความสมบูรณ์ก็จะทำหน้าที่ดับ สมุทัยอริยสัจ กับทุกขสัจ เข้าถึงความสุขที่แท้จริง คือนิพพาน
วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตามและในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท
วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญ วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (เดือน 6) ตรงกันทั้ง 3 คราว คือ
• เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ
• เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
• หลังจากตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกประกาศพระธรรมวินัยและโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)
เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นตรงกันในวันเพ็ญ เดือน 6 ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วันวิสาขบูชา" ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนหก (บางแห่งเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า หรือ พุทธชยันตี)
มงคลสูตร - มงคล 38 ประการ
มงคลสูตร เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เหล่าเทวดา ที่มาทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อตอบข้อสงสัยของมนุษย์และเทวดา โดยพระสูตรบทนี้ถือว่าเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคล หรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้วแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายความโดยพิศดารถึงสาเหตุของการที่พระพุทธเจ้าตรัสมงคลสูตรไว้ว่า ประมาณ 12 ปีก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล กล่าวว่า บ้างก็ว่า การมีสิ่งของ เช่นต้นไม้ สัตว์ หรือว่ารูปเคารพต่าง ๆ จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล เรื่องราวการอภิปรายเรื่องมงคล ก็ไปถึงภุมเทวา คือเทวาดาในระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไรคือมงคล ประเด็นนี้ก็ลุกลามไปถึงอากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสูธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ของมนุษย์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคลสูตร ซึ่งมีทั้งหมด 38 ประการดังกล่าว ตามเนื้อหาในพระสูตร มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง ซึ่งมีอยู่ 38 ประการ ดังนี้
1.ไม่คบคนพาล
2.คบบัณฑิต
3.บูชาคนที่ควรบูชา
4.อยู่ในปฏิรูปเทศ อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี
5.ได้ทำความดีให้พร้อมไว้แต่ก่อน
6.ตั้งตนไว้ชอบ
7.เล่าเรียนศึกษามาก
8.มีศิลปวิทยา
9.มีระเบียบวินัย
10.วาจาสุภาษิต
11.บำรุงมารดาบิดา
12.สงเคราะห์บุตร
13.สงเคราะห์ภรรยา
14.การงานไม่อากูล
15.รู้จักให้
16.ประพฤติธรรม
17.สงเคราะห์ญาติ
18.การงานไม่มีโทษ
19.เว้นจากความชั่ว
20.เว้นจากาการดื่มน้ำเมา
21.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
22.ความเคารพ
23.ความสุภาพอ่อนน้อม
24.ความสันโดษ
25.มีความกตัญญู
26.ฟังธรรมตามกาล
27.ความอดทน
28.เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
29.พบเห็นสมณะ
30.สนทนาธรรมตามกาล
31.มีความเพียรเผากิเลส
32.ประพฤติพรหมจรรย์
33.เห็นอริยสัจจ์
34.ทำพระนิพพานให้แจ้ง
35.ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว
36.จิตไร้เศร้า
37.จิตปราศจากธุลี
38.จิตเกษม
อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมไว้ชัดเจนดีแล้ว ก็มีผู้ที่เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง จึงได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ แนวทางการยึดถือความเป็นมงคล จึงมีอยู่ 2 แนวทาง คือ 1.มงคลจากการมีนู่นมีนี่ 2.มงคลจากการฝึกตัว
มงคลสูตร - มงคล 38 ประการ
(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะปาฐัง ภะณามะ)
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง, อากังขะ มานา โสตถานัง พฺรูหิ มังคะละมุตตะมัง,
เทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า, หมู่เทวดาและมนุษย์มากหลาย, มุ่งหมาย ความเจริญก้าวหน้า, ได้คิดถึงเรื่องมงคลแล้ว, ขอพระองค์ทรงบอกทางมงคลอันสูงสุดเถิด, สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสตอบดังนี้ว่า,
--- อะเสวะนา จะ พาลานัง,การไม่คบคนพาล, ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา,การคบบัณฑิต, ปูชา จะ ปูชะนียานัง,การบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชา, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
---ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ,การอยู่ในประเทศอันสมควร,ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา,การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อนแล้ว,อัตตะ สัมมา ปะณิธิ จะ,การตั้งตนไว้ชอบ,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด, พาหุสัจจัญจะ,การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,สิปปัญจะ,การมีศิลปวิทยา, วินะโย จะ สุสิกขิโต,วินัยที่ศึกษาดีแล้ว,สุภาสิตา จะ ยา วาจา,วาจาที่เป็นสุภาษิต, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
--- มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา,ปุตตะทารัสสะ สังคะโห,การสงเคราะห์บุตรและภรรยา,อะนากุลา จะ กัมมันตา,การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
--- ทานัญจะ,การบำเพ็ญทาน, ธัมมะจะริยา จะ,การประพฤติธรรม, ญาตะกานัญจะ สังคะโห,การสงเคราะห์หมู่ญาติ,อะนะวัชชานิ กัมมานิ,การงานอันปราศจากโทษ, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
--- อาระตี วิระตี ปาปา,การงดเว้นจากบาปกรรม,มัชชะปานา จะ สัญญะโม,การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จากการดื่มน้ำเมา,อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ,การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
---คาระโว จะ,ความเคารพอ่อนน้อม,นิวาโต จะ,ความถ่อมตัวไม่เย่อหยิ่ง,สันตุฏฐี จะ,ความสันโดษยินดีในของที่มีอยู่,กะตัญญุตา ความเป็นคนกตัญญู,กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง,การฟังธรรมตามกาล, เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจห้าอย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
---ขันตี จะ,ความอดทน,โสวะจัสสะตา,ความเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย,สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง,การพบเห็นสมณะ ผู้สงบจากกิเลส,กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา,
การสนทนาธรรมตามกาล,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
---ตะโป จะ,ความเพียรเผากิเลส, พรัหมะจะริยัญจะ,การประพฤติพรหมจรรย์,อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง,การเห็นอริยสัจ,นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ,การทำพระ
นิพพานให้แจ้ง,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
---ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ,จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย ถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว,อะโสกัง,เป็นจิตไม่เศร้าโศก,วิระชัง,เป็นจิตไร้ ธุลีกิเลส,เขมัง,เป็นจิตอันเกษมศานต์,เอตัมมังคะละมุตตะมัง,กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
---เอตาทิสานิ กัตฺวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา, สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติ, ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ,หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ได้กระทำมงคลทั้งสาม
สิบแปดประการเหล่านี้ให้มีในตนแล้ว, จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง, ย่อมถึงความสวัสดีในทุกสถาน, ทั้งหมดนี้เป็นมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญก้าวหน้าอันสูงสุด,ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้,
อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมไว้ชัดเจนดีแล้ว ก็มีผู้ที่เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง จึงได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ แนวทางการยึดถือความเป็นมงคล จึงมีอยู่ 2 แนวทาง คือ 1.มงคลจากการมีนู่นมีนี่ 2.มงคลจากการฝึกตัว
อุดมมงคล
ปฏิรูปเทสวาโส จ เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
อันนี้เป็นมงคลที่ ๔ การอยู่ในประเทศที่สมควร จัดว่าเป็นอุดมมงคล
อัน นี้ เห็นจะว่ากันอย่างย่อ ๆ คำว่าประเทศอันสมควรนี่ ไม่ใช่ประเทศเจ๊ก ประเทศไทย ประเทศแขก ประเทศมอญ ประเทศลาว ไม่ใช่ยังงั้น ประเทศที่สมควรก็คือ ในสถานที่นั้นมีบัณฑิตอยู่นั่นเอง มีบุคคลที่เราควรบูชาอยู่นั่นเอง ถ้าเราอยู่ในที่นั้นได้ ควรอย่างยิ่ง เป็นที่อยู่ที่สมควรเพราะเราปราศจากโทษ
คือว่าท่านผู้เป็นบัณฑิต ท่านผู้ทรงความดี ท่านจะไม่แนะนำให้เราทำความชั่ว เมื่อเราอยู่กับท่านอยู่ใกล้ท่าน เราปฏิบัติตามท่านเราก็มีความสุข ทีนี้ จะหาว่าที่ไหนเป็นประเทศที่สมควร ใครสมควรก็จะต้องไปพูดกันทำไมเพราะพูดกันมากแล้วนี่ ถึงบุคคลที่ควรบูชา ถึงบุคคลที่เป็นบัณฑิต ถ้าสถานที่ใดก็ตามมีบัณฑิตอยู่ที่ไหน สถานที่นั้นชื่อว่าเป็นประเทศอันสมควร มงคลข้อที่ ๔ นี่ ขอผ่านไป
มงคลที่ ๕ "การทำบุญไว้ในกาลก่อน"
ทีนี้มาถึงมงคลข้อที่ ๕ ปุพฺเพจกตปุญฺญตา เอตมฺมํคลมุตฺตมํ การทำบุญไว้ในกาลก่อนเป็นอุดมมงคล ท่านว่ายังงั้นนะ นี่มงคลข้อที่ ๕ ท่านว่ายังงี้นี่ คนที่มีบุญที่ทำไว้แล้วในกาลก่อน จัดว่าเป็นอุดมมงคล เรามาว่ากันถึงคำว่าบุญเสียก่อน บุญแปลว่าอะไร อันนี้ก็คือจะพูดให้ฟัง บุญ แปลว่าเหตุของความสุขหรือปัจจัยของความสุข หรือว่าตัวของความสุขก็ได้ ถ้าเราทำอะไรก็ตาม ทำแล้วมันเกิด
ความสุข สิ่งนั้นเราเรียกกันว่าบุญ อันนี้สมเด็จพระสังฆราชวัดบวร ฯ จะไม่ใช่กรมหลวงชินวรนะ ต่อมาอีกองค์ชื่ออะไรจำไม่ได้เสียแล้ว ท่านเคยแปลคำว่าบุญ แปลว่าจิตสะอาด แหม ท่านแปลสวยจริง ๆ สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ แต่ว่าองค์ไหนท่านจะแปลมาก่อนไม่ทราบ วันนั้นบังเอิญไปฟังวิทยุเข้า ท่านเทศน์ ท่านบอกว่าบุญนี่ก็คือจิตสะอาด ฉะนั้นเมื่อเรารู้ว่าบุญ แปลว่าจิตสะอาด สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราเคยทำจิตสะอาดมาแล้วในกาลก่อน จัดว่าเป็นอุดมมงคล แหม นี่สำคัญมาก ๆ การทำจิตสะอาดทำยังไงล่ะ ถ้าทำสูงเกินไปยังไม่ได้ เพราะมงคลข้อนี้ยังเป็นมงคลชั้นต่ำ พระพุทธเจ้าให้ค่อย ๆ ก้าวขึ้นไป การทำจิตสะอาด จะไปนั่งซ้ำกับพรหมวิหาร ๔ ก็จะหาว่าตาเถรคนนี้ไม่เป็นเรื่องไม่มีแยกเสียบ้างมันมีแค่นั้นน่ะรึ เขาจะว่า ยังงั้น แต่ความจริงพรหมวิหาร ๔ นะดีที่สุดอยู่แล้ว ยอดของความดียอดของความสะอาดของจิต ตานี้ ไม่ใช่จะอวดเบ่ง เรามานั่งช่วยกันคิดว่า ปุพฺเพจกตปุญฺญตา การที่เราสร้างความดี ทำความสะอาด ทำสิ่งที่เป็นบุญไว้ในกาลก่อนที่จัดว่าเป็นอุดมมงคลมีความสุขมันเป็นยังไง มานั่งพูดให้ฟัง พูดให้ฟังสักนิดหนึ่งเรา มีจิตประกอบไปด้วยความเมตตา และกรุณา เรามีความรัก เรามีความสงสารเมื่อเรารักเราสงสาร ถ้าเห็นเขามีความทุกข์เราก็ให้ทานคือเอาของไปให้ เอาเงินไปให้สงเคราะห์ด้วยการช่วยเหลือเป็นแรงงาน หรือให้ความแนะนำกับบุคคลที่ได้รับความคับแค้น ให้เขามีความสุข ทีนี้การที่เราให้เขาอย่างนี้ การสงเคราะห์เขาอย่างนี้ ถามกันจริง ๆ เถอะมันเป็นความดีหรือความชั่ว เอ้า เราไปนั่งคิดถึงคนอื่น มันมองไม่เห็นก็มานั่งคิดถึงตัวเรา ว่าถ้าเราได้รับการสงเคราะห์แบบนั้นบ้าง เราจะเกลียดคนสงเคราะห์ หรือว่าเราจะรักคนสงเคราะห์ นี่ถ้าเราไม่พูดกับคนบ้าหรือคนเมาก็จะพากันตอบเหมือนกันว่า คนที่สงเคราะห์เรา เราเกลียดเขาไม่ได้หรอก เราต้องรัก เพราะว่าเรามีความสุข เรามีชีวิตยืนยาวอยู่ได้เพราะเขาเป็นปัจจัย เขาเป็นผู้มีคุณอย่างนี้ ก็ชื่อว่าปุพฺเพจกตปุญฺญตา เอากันแค่นี้ก็แล้วกัน ไม่ต้องมาก ยกเป็นตัวอย่างแต่ความดีสั้น ๆ เพราะยังเป็นมงคลต่ำ ๆ เป็น อันว่าเราเป็นนักสงเคราะห์อย่างที่เขาตั้งนักสังคมสงเคราะห์กัน สังคมสงเคราะห์ ถ้าสงเคราะห์จริง ๆ ไม่หวังผลตอบแทน เป็นคุณหญิงคุณนายเป็นเจ้าคุณกันละก็ อย่างนี้จัดว่าเป็นปุพฺเพจกตปุญฺญตา หรือจัดว่าเป็นความดี ถ้าทำประเภทนี้หวังจะได้ผลตอบแทน หวังจะได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ รับการสรรเสริญเยินยอ ใช้ไม่ได้ หรือให้คะแนนไม่ได้ ถ้าจะให้คะแนนก็ให้สักห้าพันสูญ เพราะการทำประเภทนั้น ไม่ต้องการทำเพื่อความหวังดีกับคนอื่น ทำเพื่อหวังผลให้ตนเป็นผู้เลิศ ใช้ไม่ได้ ยังงี้เขาไม่ใช้กัน
ตานี้ การสงเคราะห์ด้วยการไม่หวังผลในการตอบแทน สงเคราะห์ให้เขามีความสุขชื่อว่าการทำบุญไว้ในกาลก่อน หมายความว่าเมื่อวานนี้ก็แล้วกัน ไม่ต้องเอากาลก่อนชาติก่อนอะไรหรอก เมื่อวานนี้ เราให้ทานกับสุนัขไว้ เราให้ทานกับคนขอทานไว้ เราให้ทานกับชาวบ้านที่ขาดฟืนขาดไฟขาดอาหารบ้านใกล้เรือนเคียง นี่เป็นปุพฺเพจกตปุญฺญตา เราเคยยกมือไหว้บุคคลที่มีอายุแก่กว่า ที่มีวัยวุฒิสูงกว่า มีคุณวุฒิสูงกว่า มีชาติวุฒิสูงกว่า เราเคยแสดงความเมตตาปรานีกับเด็กเมื่อวานนี้เอง เมื่อวานนี้ก็ถือว่าในกาลก่อนเหมือน กัน ตานี้พอมาวันนี้เข้า เราไปเจอะคนพวกนั้นเข้าไม่มีใครเขาประกาศตนเป็นศัตรูกับเรา เขาก็แสดงความเป็นมิตรยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงความเคารพ แสดงความขอบใจ เราก็มีความสุขใจอย่างนี้ จัดว่าเป็นอุดมมงคล นี่ว่ากันง่าย ๆ แบบนี้ มันจะได้ไม่ยาว ฉะนั้น การสร้างความดีไว้ในกาลก่อน ที่เราเกิดมาเป็นคนได้ก็เพราะอาศัยการสร้างความดีไว้ในกาลก่อนคือว่าคนที่จะ เกิดเป็นคนขึ้นมาได้
๑. เคยมีศีลห้า ต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ หรือเคยมีกรรมบถ ๑๐ บริสุทธิ์ หรือบริสุทธิ์บ้าง ไม่บริสุทธิ์บ้าง เป็นจังหวะจะโคน เป็นครั้งเป็นคราว นี่เราจึงมาเกิดเป็น
คน มีอาการ ๓๒ ครบถ้วนได้ ที่เรามามีผ้าผ่อนท่อนสไบมีทรัพย์สิน มีบ้านเรือนโรง มีข้าวกิน มีมากมีน้อยไม่สำคัญ พอมีอยู่บ้างก็เพราะอาศัยการทำความดีไว้ในชาติก่อน คือการให้ทาน คนไหนให้ทานมาก คนนั้นก็มีทรัพย์มาก คนไหนให้ทานน้อย คนนั้นก็มีทรัพย์น้อย คนไหนให้ทานกับท่านที่มีความบริสุทธิ์มาก คนนั้นก็มีทรัพย์มาก มีความสุขมาก คนไหนให้ทานแก่ท่านที่มีความบริสุทธิ์น้อย คนนั้นก็มีทรัพย์น้อย มีความบริสุทธิ์น้อย เอาไงกันแน่ ให้มาก แต่ให้กับคนเลวอานิสงส์มันก็น้อย ให้น้อยแต่ให้กับท่านที่เป็นคนดีก็มีความดี มีอานิสงส์มาก ทีนี้ ความดีที่ทำไว้ในกาลก่อน ความจริงจะปิดฉากเสียแล้วซี พูดไปพูดมา ก็นึกขึ้นมาได้ ว่าในพระธรรมบทขุททกนิกาย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาท่านตรัสว่า พระพุทธกัสสปท่านเคยเทศน์ ไว้อย่างนี้ว่า คนใดบริจาคทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนบุคคลอื่น คนนั้นเกิดไปในชาติต่อไป มีทรัพย์สินสมบัติมากแต่ไม่มีพวกพ้อง บุคคลใดชักชวนบุคคลอื่น แนะนำบุคคลอื่นให้ให้ทาน แต่ตนเองไม่ทำ เกิดในชาติต่อไปมีพวกมีพ้อง แต่ตนเองเป็นคนจน บุคคลใดให้ทาน ด้วยตนเองด้วย แล้วก็ชักชวนบุคคลอื่นให้ให้ทานด้วย บุคคลนั้นเกิดไปในชาติต่อไป มีทรัพย์สินมากด้วยแล้วก็มีพวกพ้อง พี่น้องบริวารมาก บุคคลใดไม่ให้ทานด้วยตนเองด้วย ไม่ชักชวนบุคคลอื่นด้วยในการให้ทาน เกิดในชาติต่อไปเป็นคนยากจนด้วย แล้วก็หาพวกพ้องไม่ได้ด้วยนี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า พระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง คือพระพุทธกัสสปท่านตรัสไว้อย่างนี้ แล้วองค์สมเด็จพระมหามุนีก็ทรงรับรองตามนั้นพวกเราที่เกิดมาในโลก ที่เป็นคนขึ้นมาได้อย่างนี้ก็เพราะอาศัยความดีในชาติก่อน เมื่อกี้นี้พูดแล้วนี่ ว่าความดีเมื่อวาน นี่ย่องเข้ามาเล่นชาติก่อนกันเสียหน่อยเป็นยังไงเพราะอาศัยมีศีลห้าและมี กรรมบถ ๑๐ เราจึงเป็นคน เป็นมนุษย์ เรามีทรัพย์สินได้ก็เพราะอาศัยการบริจาคทาน ที่เรามีเพื่อนฝูง
เรา มีบริวารก็เพราะการชักชวนกันสร้างความดีที่เรามีปัญญาคิดอะไรต่ออะไร ออกอย่างนี้ก็เพราะเราเคยอาศัยใช้ปัญญายอมรับนับถือกฎของความดี นี่เป็นอันว่าพวกเราเข้ามาเจอะความสุข คือเป็นมนุษย์ได้บริบูรณ์สมบูรณ์ ตาไม่บอด หูไม่หนวก แขนไม่ขาด หูไม่แหว่ง ปากไม่แหว่ง หรืออวัยวะสมบูรณ์ ทุกอย่างก็เพราะอำนาจของศีล อำนาจของกรรมบถ ๑๐ เรามีกินมีใช้ก็เพราะอำนาจทานบารมี เรามีสติปัญญาดีเท่าที่เราจะพึงมี คือรู้จักภาษาคนได้ รู้จักคิดได้ รู้จักสร้างตัวได้ สั่งสมความดีมีได้ หาได้ ก็เพราะอาศัยการยอมรับนับถือกฎของความดีตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นี่เป็นอันว่าเรามีความสุขกัน แล้วความสุขตามอัตภาพเพราะอาศัยความดีประเภทนี้มีมาในกาลก่อนตานี้ มาถึงชาตินี้น่ะ เราจะทำลายความดีหรือจะสร้างความดีต่อ เพราะว่าถ้าเรายังไม่ถึงซึ่งพระนิพพานเพียงใดแล้ว ท่านทั้งหลายมันยังต้องเกิด ถ้าเราจะเกิดไปข้างหน้าละ เราจะยอมเป็นคนจนหรือว่าเราจะอยากเป็นคนรวย เราจะเป็นคนหูแหว่งจมูกวิ่น เป็นคนอวัยวะไม่สมบูรณ์ หรือเราจะต้องการเป็นคนมีอวัยวะสมบูรณ์ เราอยากจะเป็นคนมีสติปัญญา หรืออยากเป็นคนโง่ เอาเลือกกัน ๓ อย่าง เลือกกันเอาตามชอบใจ ตานี้จะมีใครที่ไหนล่ะ ใครเขาอยากจะมานั่งเป็นคนจน ไม่มีหรอก หาไม่ได้ หรือจะย่องไปมีที่ไหนบ้างก็ไม่รู้นา คนพูดไม่ใช่สัพพัญญูวิสัย เอาแล้ว ย่องเข้ามาใช้ภาษาบาลีกันอีกแล้ว คำว่าสัพพัญญู แปลว่ารู้ทุกอย่างหรือว่ารู้หมด เช่น พระพุทธเจ้า นี่คนพูดนี่ไม่ได้รู้ตามพระพุทธเจ้า ก็เลยเดา ๆ เอา ว่าคนทุกคนที่เกิดมาใน โลกไม่มีใครอยากเป็นคนจน ถ้าบังเอิญจะมีใครเขาอยากเป็นคนจนกันบ้างละขอโทษด้วยนะ ว่าเจ้าคนพูดนี่มันโง่เกินไป แล้วยอมรับว่าตัวนี่โง่ ตานี้ เมื่อเราไม่อยากจะจน ก็ถอยหลังลงไป ว่านี่เรามีกินมีใช้ได้เพราะการให้ทาน การสงเคราะห์ ทีนี้ต่อไปชาติหน้า ถ้าเราอยากจะรวยอีก เอาให้มันรวยกว่านี้รวยแค่นี้มันมีการบกพร่องอะไรบ้าง เราเห็นบุคคลอื่นเขามีความสุขมากกว่าเรา เพราะมีทรัพย์สินมากกว่าเรา มีทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ นี่แสดงว่าชาติก่อนเราเสียท่าเขานี่ เราทำอะไรไม่ได้ครบ มาชาตินี้เรารู้ตัวแล้วนี่ ไม่ได้การ ชาติหน้าต้องไม่ยอม แพ้ยายคนนั้น ตาคนนั้น ต้องเอามันให้ครบ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาให้ทาน แล้วก็การให้ทานนี่ให้แค่พอเหมาะพอดีนะ อย่าให้เพื่อเป็นการเบียดเบียนตัวเอง คืออย่าให้เป็นการเกินวิสัยเรียกว่าทำไปแล้วเราไม่เดือดร้อน ไม่ใช่เรามีบาทแล้วให้หมดบาท มีบาทไม่ใช่ให้ ๑ สลึง ต้องดูก่อนว่าความจำเป็นอะไรมันมีบ้าง ที่เราจะต้องใช้ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านั้น สิ่งที่เราให้ก็คือนอกเหนือจากความจำเป็น มันเป็นเงิน
ปลอด นี่ การที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแนะนำพระพุทธเจ้าหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรืออีตาคนนี้พูด แต่พระพุทธเจ้าท่านพูดมานี่ก็พูดตามไป ท่านทรงแนะนำว่าเราช่วยกันให้ทาน นี่พวกบรรดาหัวนอกรีตนอกรอยก็ว่าเอ้อ ถ้าสอนกันแบบนี้ ก็สอนให้ชาวบ้านขี้เกียจละซี คนอื่นไม่ต้องทำมาหากินหรอก คอยรับทานจากบุคคลผู้ให้ทาน ถ้าคิดอย่างนั้นก็เป็นการผิดถนัด การให้ทานน่ะเป็นการสร้างมิตรนะ ไม่ใช่เป็นการสร้างศัตรู แล้วจะไปรู้กันในตอนให้ทานเราให้ทานจัดเป็นสังคหวัตถุ เป็นการเชื่อมความรักซึ่งกันและกัน ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันให้มีความสุข อย่างนี้ ถ้าต่างคนต่างมีจิตคิดแบบนี้ ก็เป็นการช่วยกันสร้างชาตินั่นเอง เพราะคนทั้งชาติมีจิตใจเสมอกัน ชาติของเราก็จะเต็มไปด้วยความสุข เมื่อชาติทั้งชาติมีความสุข เราจะไปหาความทุกข์ตรงไหน หาความทุกข์ไม่ได้ เพราะไปไหนมีแต่มิตร มีแต่เพื่อน มีแต่คนยิ้มแย้มแจ่มใสเพราะผลของทานบารมีที่เราให้ นี่ว่ากันถึงชาตินี้นะ ถ้าชาติหน้ารวยใหญ่บอกไม่ถูก นี่ว่ากันย่อ ๆ ตรงนี้ก็แล้วกัน ตา นี้ ถ้าว่าเราเกิดมาในชาตินี้มันสวยไม่เท่าเขาเสียแล้วซี เขาประกวดหญิงงามชายงามกัน แหม เราจะเข้าไปประกวดกับเขาบ้าง ถ้าจะได้ที่ ๑ ก็น่ากลัวมันข้างท้าย ใครเดินมาท้ายแถวเจอะเราแน่ อย่างคนพูดนี่ สวยเหน่งเลย คนพูดนี่เวลานี้สวยเหน่ง ที่ไม่ใช้คำว่าสวยเช้งก็เพราะว่ามันไม่ตรงความหมาย สวยเหน่งก็คือหัวล้านเหน่ง สวยน่ะ นี่มันสวยสู้เขาไม่ได้ ถ้าเราอยากจะเป็นคนสวยทำยังไง เราก็ทำตัวเป็นคนมีเมตตาจิต ระงับการละเมิดศีลข้อที่ ๑ เข้าไว้ มีจิตใจประกอบไปด้วยเมตตา คนประเภทนี้เกิดไปทุกชาติ ๆ สวยบอกไม่ถูก สวยจริง ๆ คราวนี้ ถ้าเรามีทรัพย์สินไม่อยากจะให้ขโมยขโจรลัก ไม่อยากให้มีอันตราย เราก็ไม่ลักไม่ขโมยไม่ยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของใคร เกิดมาชาติต่อไปมีทรัพย์สมบูรณ์ ไม่ต้องระวังของหาย ไม่มีอันตราย ใครจะเอาไฟเข้ามาจุดมันก็ไม่ติด น้ำก็ไม่ท่วม ลมก็ไม่พัดให้พัง ตานี้ เราต้องการให้คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือว่าสามีภรรยาของเราอยู่ในโอวาท ไม่นอกเหนือใจ จะพูดอะไร จะสอนอะไร เชื่อฟังอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เราก็ระวังศีลข้อที่ ๓ กล่าวคือไม่ทำกาเมสุมิจฉาจาร ถ้าเราต้องการให้เราเป็นคนปากหวาน ปากหอม พูดกับใครใครก็ชอบ เราก็ไม่โกหกมดเท็จใคร ถ้าเราตั้งใจให้เป็น
คนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความดี มีปัญญาดี เราก็ไม่ดื่มสุราและเมรัย และตั้งใจเคารพในความดี นี่ แหละ ท่านทั้งหลาย เพียงเท่านี้ ถ้าเราสร้างความดีไว้ให้ครบถ้วน ถ้าเราเกิดไปชาติหน้าเราก็จะมีความดี มีความสุขใจตามความประสงค์ เราก็จะเป็นคนสวยสดงดงามมีทรัพย์สมบัติ เยือกเย็น มีบุคคลใต้บังคับบัญชาว่านอนสอนง่ายอยู่ในโอวาท มีวาจาเป็นศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครคิดนอกเหนือคำสั่ง และมีสติสตังสมบูรณ์บริบูรณ์ นี่เราว่าชาติหน้านะแต่ความจริงถ้าเราทำความดีอย่างนี้ มันเริ่มให้ผลตั้งแต่ชาตินี้ เพราะว่าการให้ทานการสงเคราะห์นี่ ไป ที่ไหนก็มีคนยิ้มแล้ว มีคนชอบใจ มีคนรักแล้ว ตานี้ ถ้าเราเป็นคนมีความเมตตาปรานีไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ประทุษร้ายใคร ไม่กลั่นแกล้งใคร ถึงแม้ว่ารูปร่างไม่สวยเราก็เป็นคนสวย สวยเพราะอะไร สวยเพราะว่ามีคนรักเรามาก ไอ้คนสวยน่ะถ้ามีใครเขาเกลียด ความสวยก็ไม่มีความหมาย ทีนี้ ไปที่ไหนก็มีแต่คนชอบ เพราะเราเป็นคนใจดี ไม่ประทุษร้ายใคร ถ้าเราไม่ลักไม่ขโมยของใครนี่ แหม ท่านทั้งหลายไม่ต้องห่วง ไปที่ไหนมันก็มีแต่คนรักอีก เสน่ห์มันดีเหลือเกิน ถ้าเราไม่ละเมิดความรัก เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่นในเรื่องกาเม จะไปนอนค้างอ้างแรมบ้านใครก็ได้ จะเดินไปกับลูกชายลูกสาวใครก็ไม่มีใครเขาว่า เพราะอะไร เพราะว่าความดีข้อนี้เป็นเหตุให้เกิดเมตตาจากบุคคลอื่น ถ้าเราไม่เป็นคนโกหกมดเท็จ พูดแต่ความเป็นจริง ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เขาชอบฟังเราพูดอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าเราเป็นคนปากหอม มีเสียงเป็นเสน่ห์ ถ้าเราไม่กินเหล้าเมาสุรา เป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เราก็เป็นคนดีของสังคมแห่งความดี นี่ ขึ้นชื่อว่าความดีที่เราทำไว้เพื่อชาติหน้า ก็ให้ผลความดีตั้งแต่ชาตินี้ ถ้าทุกคนในประเทศของเราสร้างความดีอย่างนี้ทั้งหมด ท่านทั้งหลายที่เห็นว่าคำสั่งสอนทั้งหมดขององค์สมเด็จพระบรมสุคตนะ บั่นทอนประเทศชาติให้ทรุดโทรม หรือทำประเทศชาติให้เจริญ นี่ว่ากันถึงว่าคนรักประเทศชาติ เอ้า ลองมานั่งนึกดูกันอย่างที่พระเจ้าแผ่นดินท่านปล่อยฝนช่วยชาวบ้านน่ะ เสกน้ำเป็นน้ำมัน ทดลองอะไรต่อ ทดลองอะไรอย่างนี้น่ะ ทำให้ชาวบ้านที่ถูกความแล้งรบกวน ต้นพืชผักธัญญาหารตายวอดวายกันหมด แต่ว่าแทนที่จะปล่อยอย่างนั้น ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินเอาฝนไปให้ นี่พืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งหลายงอกงาม เป็นการให้ทานอย่างหนึ่ง อย่างนี้ทำให้ประเทศชาติทรุดโทรม หรือว่าทำให้ประเทศชาติเจริญ พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้เปลืองเงินชาวบ้าน หรือพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ช่วยเสริมชาวบ้านให้มีเงินมากขึ้น นี่เอากันจุดเดียว เอาตัวอย่างพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เห็นชัด ตานี้ ถ้าหากว่าพวกเราเป็นพสกนิกรของพระมหากษัตริย์ ในเมื่อพระองค์ทำใหญ่ได้ เราก็ทำมั่ง แต่ว่าทำเล็ก ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ คนละจุด ๒ จุด ทุกคนต่างช่วยกันทำคนละเล็กละน้อย มันก็ใหญ่ขึ้นมาเอง เป็นอันว่าความสุขที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะพึงได้ในชาติหน้านั้น ความจริงเราได้ตั้งแต่ชาตินี้ และองค์สมเด็จพระมหามุนีเวลาเทศน์ก็เทศน์แบบนั้นเหมือนกัน ว่าการทำความดี ไม่ใช่ว่าเราจะต้องการผลในชาติหน้า ให้ต้องการผลจริง ๆ ในชาตินี้ แต่เมื่อชาตินี้มันมีความดีมีความสุขแล้ว ความสุขนี้ก็มีปัจจัยให้ได้รับความสุขในชาติหน้าต่อไป ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงตรัสว่า ปุพฺเพจกตปุญฺญตา การสร้างความดี คือว่าทำบุญไว้ในชาติก่อน จัดว่าเป็นอุดมมงคล
อุปสมานุสสติกรรมฐาน
๑๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน
อุปสมานุสสติ แปลว่า ระลึกคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตามศัพท์ท่านน่าจะแปลว่าระลึกถึงคุณของความเข้าไปสงบระงับจิตจากกิเลสและตัณหา ก็คือการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเองท่านแปลเอาความหมายว่า ระลึกถึงคุณพระนิพพานนั้น เป็นการแปลโดยอรรถ ท่านแปลของท่านถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ที่เขียนถึงคำว่าสงบระงับไว้ด้วยก็เพื่อให้เต็มความประสงค์ของนักคิดเท่านั้นเอง
ระลึกตามแบบ
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนำมา
เขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึกดังต่อไปนี้
บาลีปรารภพระนิพพาน ๘
๑. มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความเป็นคนหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือคิดเป็นปกติเสมอว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้น มีความฉิบหายเป็นที่สุด
๒. ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่กำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส
๓. อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ถอนเสียซึ่งอาลัยในกามคุณ ๕ หมายความว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ ๕ เห็นกามคุณ ๕ เสมือนเห็นซากศพ
๔. วัฏฏปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่งวนสาม คือ กิเลสวัฏได้แก่ ตัดกิเลสได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรม อันเป็นบาปอกุศล วิปากวัฏ
คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง
๕. ตัณหักขโย, วิราโค, นิโรโธ แปลว่า นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหา ตัณหาไม่กำเริบอีก มีความหน่ายในตัณหา ไม่มีความพอใจในตัณหาอีก ดับตัณหาเสียได้สนิทตัณหาไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย
๖. นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรมอำนาจทั้ง ๔ นี้ ไม่มีโอกาสจะให้ผลแก่ท่านที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก
ตามข้อปรากฏว่ามีเพียง ๖ ข้อ ความจริงข้อที่ ๕ ท่านรวมไว้ ๓ อย่าง คือ ตัณหักขโย ๑วิราโค ๑ นิโรโธ ๑ ข้อนี้รวมกันไว้เสีย ๓ ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น ๘ ข้อพอดี ท่านลงในแบบว่า ๘
ก็เขียนว่า ๘ ตามท่าน ความจริงเมื่อท่านจะรวมกัน ท่านน่าจะเขียนว่า ๖ ข้อก็จะสิ้นเรื่อง เมื่อท่านเขียนเป็นแบบมาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่าน ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพานตามในบาลีทั้ง ๘ แม้ข้อใด ข้อหนึ่งก็ได้ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในที่เดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" นั่นแหละดีอย่างยิ่ง ภาวนาไปจนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ ๕ ได้สงบแล้วเข้าถึงอุปจารฌานเป็นที่สุด กรรมฐานนี้ ที่ท่านกล่าวว่าได้ถึงที่สุดเพียงอุปจารฌานก็เพราะเป็นกรรมฐานละเอียดสุขุม และใช้อารมณ์ใคร่ครวญเป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน
อานิสงส์
อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่คลุกเคล้าด้วยอำนาจกิเลสและตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลเป็นกำไร เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจกรรมฐานกองนี้ให้มาก ๆ และแสวงหาแนวปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อพระนิพพานมาปฏิบัติ ท่านมีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนักเพราะระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้ เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบัน ชื่อว่าท่านก้าวเข้าไปเป็นพระโสดาบันหนึ่งในสามขององค์พระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้
ครบถ้วน
พระนิพพานไม่สูญ
ท่านนักปฏิบัติได้กำหนดกรรมฐานในอุปสมานุสสตินี้แล้ว ท่านอาจจะต้องประสบกับปัญหายุ่งสมองในเรื่องพระนิพพานอีกตอนหนึ่ง เพราะบรรดานักคิดนักแต่งทั้งหลาย ได้พากันโฆษณามาหลายร้อยปีแล้วว่า พระนิพพานเป็นสภาพสูญ แต่พอมาอ่านหนังสือของพระอรหันต์ท่านเขียน คือหนังสือวิสุทธิ-มรรค ท่านกลับยืนยันว่า พระนิพพานไม่สูญ ดังท่านจะเห็นตามบาลีทั้ง ๘ ที่ท่านยกมาเป็นองค์ภาวนานั้น คือ มทนิมฺมทโน พระนิพพานตัดความเมาในชีวิต ปิปาสวินโย นิพพานบรรเทาความกระหายในกามคุณ ๕ อาลยสมุคฺฆาโต พระนิพพานถอนอาลัยในกามคุณ วัฏฏปัจเฉโท พระนิพพานตัดวนสามให้ขาด ตัณหักขโย พระนิพพานมีตัณหาสิ้นแล้ว หรือสิ้นตัณหาแล้วเข้าสู่นิพพาน วิราโค มีความเบื่อหน่ายในตัณหา นิโรโธ ดับตัณหาได้สนิทแล้ว โดยตัณหาไม่กำเริบอีก นิพพานัง มีความดับสนิทแล้วจากกิเลส ตัณหา อุปาทานกรรม อันเป็นเหตุให้เกิดอีกในวัฏสงสาร
อานาปานานุสสติกรรมฐาน
๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน
อานาปานานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงลมหายใจเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่คลุมกรรมฐานกองอื่น ๆ เสียสิ้น เพราะจะปฏิบัติกรรมฐาน ๔๐ กองนี้ กองใดกองหนึ่งก็ตาม จะต้องกำหนดลมหายใจเสียก่อน หรือมิฉะนั้นก็ต้องกำหนดลมหายใจร่วมไปพร้อม ๆ กับกำหนดพิจารณากรรมฐานกองนั้น ๆ จึงจะได้ผล หากท่านผู้ใดเจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าละเว้นการกำหนด
เสียแล้ว กรรมฐานที่ท่านเจริญ จะไม่ได้ผลรวดเร็วสมความมุ่งหมาย อานาปานุสสตินี้ มีผลถึงฌาน ๔สำหรับท่านที่มีบารมีเป็นพุทธสาวก ถ้าท่านที่มีบารมีในวิสัยพุทธภูมิ คือท่านที่เป็นพระโพธิสัตว์คือท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านผู้นั้นจะทรงฌานในอานาปาน์นี้ถึงฌานที่ ๕
อานาปานุสสติระงับกายสังขาร
เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นทางกาย ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสติ เข้าฌานในอานาปาน์จนถึงจตุตถฌานแล้ว ทุกขเวทนานั้นจะระงับไปทันที ทั้งนี้มิใช่หมายความว่าเวทนาหายไป แต่เป็นเพราะเมื่อเข้าถึงฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จิตจะแยกออกจากขันธ์ ๕ ไม่รับรู้ทุกขเวทนาของขันธ์ทันที ท่านที่ได้ฌานในอานาปานุสสตินี้ ท่านจะไม่ได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส เมื่อทุกข์ทางร่างกาย
เกิดขึ้น เพราะท่านหนีทุกข์ได้ด้วยการเข้าฌาน แยกจิตกับขันธ์ ๕ ออกจากกันเป็นกรรมฐานที่ให้ผลสูงมาก
รู้เวลาตายได้แน่นอน
ท่านที่ได้ฌานอานาปานุสสตินี้ สามารถรู้กำหนดเวลาตายของท่านได้ตรงตามความจริงเสมอ โดยกำหนดล่วงหน้าได้เป็นเวลาแรมปี เมื่อจะตาย ท่านก็สามารถบอกได้ว่า เวลาเท่านั้นเท่านี้
ท่านจะตาย และตายด้วยอาการอย่างไร เพราะโรคอะไร
ช่วยกรรมฐานกองอื่น
ท่านที่ได้ฌาน ๔ ในอานาปาน์นี้แล้ว จะปฏิบัติในกรรมฐานกองอื่น ๆ อีก ๓๙ กองนั้นท่านเข้าฌานในอานาปานน์ก่อน แล้วถอยหลังจิตมาดำรงอยู่แค่อุปจารสมาธิ แล้วกำหนดกรรมฐานกองนั้นๆ ท่านจะเข้าถึงจุดสูงสุดในกรรมฐานกองนั้น ๆ ได้ภายใน ๓ วัน เป็นอย่างช้า ส่วนมากได้ถึงจุดสูงสุดของกรรมฐานกองนั้น ๆ ภายในที่นั่งเดียว คือคราวเดียวเท่านั้นเอง
จุดจบของอานาปานุสสติ
จุดจบของอานาปานุสสตินี้ คือ ฌานที่ ๔ หรือที่ ๕ ก็ได้แก่การกำหนดลมหายใจจนไม่ปรากฏลมหายใจ ที่ท่านเรียกกันว่าลมหายใจขาด แต่ความจริงลมหายใจไม่ขาดหายไปไหน เพียงแต่ว่ากายกับจิตแยกกันเด็ดขาด จิตไม่รับทราบอาการทางกายเท่านั้น เมื่อจิตไม่รับรู้เสียแล้ว การหายใจ หรือการเคลื่อนไหวใด ๆ ทางกาย จึงไม่ปรากฏแก่จิตตามความนิยม ท่านเรียกว่า ลมขาด
วิธีปฏิบัติในอานาปานุสสติ
การปฏิบัติในอานาปานุสสตินี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพราะเป็นกรรมฐานที่ไม่มีในองค์ภาวนา และไม่มีพิธีรีตองอะไรมาก เพียงแต่คอยกำหนดลมหายใจเข้าออกตามฐานที่กำหนดไว้ให้รู้อยู่หรือครบถ้วนเท่านั้น เวลาหายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก พร้อมกับสังเกตลมกระทบฐาน ๓ ฐาน ดังจะกล่าวต่อไปให้ทราบ
ฐานที่กำหนดรู้ของลม
ฐานกำหนดรู้ที่ลมเดินผ่านมี ๓ ฐาน คือ
ก. ฐานที่ ๑ ท่านให้กำหนดที่ริมฝีปาก และที่จมูก เมื่อหายใจเข้า ลมจะกระทบที่จมูกเมื่อหายใจออกลมจะกระทบที่ริมฝีปาก
ข. ฐานที่ ๒ หน้าอก เมื่อลมผ่านเข้าหรือผ่านออกก็ตาม ลมจะต้องกระทบที่หน้าอก หมายเอาภายใน ไม่ใช่หน้าอกภายนอก ลมกระทบทั้งลมเข้าและลมออกเสมอ
ค. ศูนย์ที่ท้องเหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจเข้าหรือออกก็ตาม จะต้องกระทบที่ท้องเสมอทุกครั้ง
๓ ฐานนี้มีความสำคัญมาก เป็นเครื่องวัดอารมณ์ของจิต เพราะถ้าจิตกำหนดจับฐานใดฐานหนึ่งไม่ครบ ๓ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของจิตระงับอกุศลที่เรียกว่านิวรณ์ ๕ ได้ แต่อารมณ์หยาบอารมณ์อกุศลที่เป็นอารมณ์กลางและละเอียดยังระงับไม่ได้ สมาธิของท่านผู้นั้น อย่างสูงก็ได้เพียงขณิกสมาธิละเอียดเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงอุปจารสมาธิ ยังไกลต่อฌานที่ ๑ มาก
ถ้าท่านผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้ลมผ่านได้ ๒ ฐาน แสดงว่าอารมณ์ของท่านผู้นั้นดับอกุศล คือนิวรณ์ได้ในอารมณ์ปานกลาง ส่วนอารมณ์นิวรณ์ที่ละเอียดอันเป็นอนุสัย คือกำลังต่ำยังระงับไม่ได้
สมาธิของท่านผู้นั้นอย่างสูงก็แค่อุปจารสมาธิ จวนจะเข้าถึงปฐมฌานแล้ว
ถ้าผู้ใดกำหนดรู้ ลมผ่านกระทบได้ทั้ง ๓ ฐาน ท่านว่าท่านผู้นั้นระงับนิวรณ์ละเอียดได้แล้วสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน
ส่วนฌานต่าง ๆ อีกสามคือ ฌานที่ ๑, ๒, ๓, ๔ อยากทราบโปรดพลิกไปดูในข้อที่ว่าด้วยฌาน จะเข้าใจชัด
นับลม
การฝึกในอานาปาน์ จะว่าง่ายนั้น ก็ดูจะเป็นการยกเมฆเกินไป เพราะอานาปาน์เป็นกรรมฐานใหญ่ที่ครอบงำกรรมฐานทั้งหมด จะง่ายตามคิดนั้นคงเป็นไปไม่ได้แน่ ท่านที่ไม่เคยผ่านคงคิดว่าไม่น่ายากเลย เรื่องคิดแล้วไม่ทำ นำเอาไปพูดนั้น ที่ว่าไม่ยากก็ไม่เถียง เพราะพวกนี้มีความดีอยู่แค่ริมฝีปาก ส่วนอื่นทั้งตัวไม่มีอะไรดีเลย เลวเสีย ๙๙.๙๙ มีดีนิดเดียว ท่านจะคุยโม้อย่างไรก็ช่างท่านเถิด เรามาเอาดีทางปฏิบัติกันดีกว่า
การกำหนดลมเป็นของยาก เพราะจิตของเราเคยท่องเที่ยวมานาน ตามใจเสียจนเคยจะมาบังคับกันปุบปับให้อยู่นั้นเมินเสียเถอะ ที่จิตจะยอมหมอบราบคาบแก้ว เมื่อระวังอยู่แกก็ทำท่าเหมือนจะยอมจำนน แต่พอเผลอเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น แกก็ออกแน็บไปเหนือไปใต้ตามความต้องการของแก กว่าเจ้าของจะรู้ก็ไปไกลแล้ว อารมณ์ของจิตเป็นอย่างนี้ เมื่อทำไปถ้าเอาไม่อยู่ท่านให้ทำดังต่อไปนี้
ฝึกทีละน้อย
ท่านสอนให้นับลมหายใจเข้า หายใจออก เข้าครั้ง ออกครั้ง นับเป็นหนึ่ง ท่านให้กำหนดนับดังต่อไปนี้ นับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เอาแค่เข้าออก ๕ คู่ นับไปและกำหนดรู้ฐานทั้ง ๓ ไปด้วย กำหนดใจไว้ว่า เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออกเพียง ๔ คู่ พร้อมด้วยรู้ฐานลมทั้ง ๓ ฐาน แล้วก็เริ่มกำหนดฐานและนับลม พอครบ ๕ คู่ ถ้าอารมณ์ยังสบาย ก็นับไป ๑ ถึง ๕ เอาแค่นั้น พอใจเริ่มพล่าน ถ้าเห็นท่าจะคลุมไม่ไหว ก็เลิกเสียหาความเพลิดเพลินตามความพอใจ เมื่ออารมณ์ดีแล้วกลับมานับกันใหม่ ไม่ต้องภาวนา เอากันแค่รู้เป็นพอ เมื่อนับเพียง ๕ จนอารมณ์ชินไม่หนีไม่ส่ายแล้ว ก็ค่อยเลื่อนไปเป็น๖ คู่ คือ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ ถ้า ๖ คู่ สบายดีไม่มีอะไรรบกวน แล้วก็ค่อยเลื่อนไปเป็น ๗ คู่ ๘ คู่ ๙ คู่๑๐ คู่ จนกว่าอารมณ์จิตจะทรงเป็นฌานได้นานตามสมควร
ผ่อนสั้นผ่อนยาว
การเจริญอานาปานุสสตินี้ มีอาการสำคัญของนักปฏิบัติใหม่ ๆ อย่างหนึ่ง คืออารมณ์ซ่านเวลาที่จิตใจไม่สงบจริงมีอยู่ พอเริ่มต้น อารมณ์ฟุ้งซ่านก็เริ่มเล่นงานทันที บางรายวันนี้ทำได้เรียบร้อยอารมณ์สงัดเป็นพิเศษ จิตสงัดผ่องใส อารมณ์ปลอดโปร่งกายเบา อารมณ์อิ่มเอิบ พอรุ่งขึ้นอีกวัน คิดว่าจะดีกว่าวันแรก หรือเอาเพียงสม่ำเสมอแต่กลับผิดหวัง เพราะแทนที่จะสงัดเงียบ กลับฟุ้งซ่านจนระงับไม่อยู่ ก็ให้พยายามระงับ และนับ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕,๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ ถ้านับก็ไม่เอาเรื่องด้วย ยิ่งฟุ้งใหญ่ท่านตรัสสอนไว้ในบทอานาปานุสสติว่า เมื่อเห็นว่าเอาไว้ไม่ได้จริง ๆ ท่านให้ปล่อยอารมณ์ แต่อย่าปล่อยเลย ให้คอยระวังไว้ด้วย คือปล่อยให้คิดในเมื่อมันอยากคิด มันจะคิดอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไปตามสบาย ไม่นานนักอย่างมากไม่เกิน ๒๐ นาที อารมณ์ซ่านก็จะสงบระงับกลับเข้าสู่อารมณ์สมาธิ เมื่อเห็นว่าอารมณ์หายซ่านแล้วให้เริ่มกำหนดลมตามแบบ ๓ ฐานทันที ตอนนี้ปรากฏว่าอารมณ์สงัดเป็นอันดี มีอารมณ์เป็นฌานแจ่มใส อาการอย่างนี้มีแก่นักปฏิบัติอานาปานุสสติเป็นปกติ โปรดคอยระลึกไว้ และปฏิบัติตามนี้จะได้ผลดี
อานาปาน์พระพุทธเจ้าทรงเป็นปกติ
เพื่อความอยู่เป็นสุขในสมบัติ ไม่มีสมาบัติใดที่จะอยู่เป็นสุขเท่า อานาปานานุสสติ เพราะเป็นสมาบัติที่ระงับกายสังขาร คือดับเวทนาได้ดีกว่าสมาบัติอื่น แม้จะเป็นสมาบัติต้นก็ตาม พระอรหันต์
ทุกองค์ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็ทรงอยู่เป็นสุขด้วยอานาปานานุสสติดังพระปรารภของพระองค์ที่ทรงปรารภแด่พระอานนท์ว่า อานันทะดูก่อนอานนท์ ตถาคตก็มากไปด้วยอานาปานุสสติเป็นปกติประจำวัน เพราะอานาปานานุสสติระงับกายสังขารให้บรรเทาจากทุกขเวทนาได้ดีมากท่านที่ ได้อานาปานานุสสติแล้ว จงฝึกฝนให้ชำนาญและคล่องแคล่วฉับไวในการเข้าฌานที่ ๔ เพื่อผลในการระงับทุกขเวทนาอย่างยิ่ง และเพื่อผลในการช่วยฝึกฌานในกองอื่นอีกอย่างหนึ่ง
กายคตานุสสติกรรมฐาน
๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน
กายคตานุสสติ แปลว่า พิจารณากายให้เห็นว่า ไม่สวยไม่งาม มีความโสโครกตามกฎแห่งความเป็นจริงเป็นอารมณ์ กายคตานุสสตินี้เป็นกรรมฐานสำคัญที่พระอริยเจ้าทุกองค์ไม่เคยเว้น เพราะพระอริยเจ้าก่อนแต่จะได้สำเร็จมรรคผล ทุกท่านนิยมพิจารณาให้เห็นว่าไม่สวยไม่น่ารัก น่ารังเกียจ เพราะมีสภาพน่าสะอิดสะเอียนตามปกติเป็นอารมณ์ และกายคตานุสสตินี้ เป็นกรรมฐานพิเศษกว่ากรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะถ้าพระโยคาวจรพิจารณาตามกฎของกายคตานุสสติ
ผลที่ได้รับจะเข้าถึงปฐมฌาน แต่ถ้ายึดสีต่าง ๆ ร่างกายที่ปรากฏมีสีแดงของเลือดเป็นต้น ยึดเป็นอารมณ์ในการเพ่งเป็นกสิณ กรรมฐานกองนี้ก็มีผลได้ฌาน ๔ ตามแบบของกสิณ
การพิจารณาท่านเขียนไว้ในวิสุทธิมรรควิจิตรพิศดารมาก จะไม่ขอกล่าวตามจนละเอียดขอกล่าวแต่เพียงย่อ ๆ พอได้ความ หากท่านนักปฏิบัติมีความข้องใจ หรือสนใจในความละเอียดครบถ้วน ก็ขอให้หาหนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่าน จะเข้าใจละเอียดมากขึ้น ตามแนวสอนในวิสุทธิมรรคท่านให้พิจารณาอาการ ๓๒ คราวละ ๕ อย่าง เช่น พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ รวม ๕ อย่างเป็นหมวดหนึ่ง ท่านให้พิจารณาตามลำดับและย้อนกลับ เช่น พิจารณาว่า เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ย้อนจากปลายมาต้น เรียกว่าปฏิโลม คือถอยกลับ ให้พิจารณาทั้งสีและสัณฐาน สภาพตามความเป็นจริงว่าไม่มีอะไรสวยงาม เพราะมีความสกปรกโสโครกอยู่เป็นปกติ ต้องคอยขัดสีฉวีวรรณอยู่เสมอ ๆ ทั้ง ๆ ที่คอยประคับประคองอยู่เพียงใด สิ่งเหล่านี้ก็ยังจะมีการแปดเปื้อนสกปรกอยู่เสมอ เช่น ผมต้องคอยหวี คอยสระชำระอยู่ทุกวัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจเพียง ๓ วัน เหงื่อไคลก็จะจับทำให้เหม็นสาบ เหม็นสาง รวมกายทั้งกายนี้ ท่านแสวงหาความจริงจากกายทั้งมวลว่า มันสวยจริง สะอาดจริงหรือไม่ ค้นคว้าหาความจริงให้พบ กายทั้งกายที่ว่าสวยน่ารักนั้นมีอะไรเป็นความจริง ความสวยของร่างกายมีความจริงเป็นอย่างนี้ ร่างกายทั้งกายที่ว่าสวยนั้น ไม่มีอะไรสวยจริงตามที่คิด เพราะกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครกคืออวัยวะภายใน มีตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ที่หลั่งไหลออกมาภายนอกนั้น ความจริงขังอยู่ภายในของร่างกาย ที่มีหนังกำพร้าหุ้มห่ออยู่ ถ้าลอกหนังออก จะเห็นร่างนี้มีเลือดไหลโทรมทั่วกาย เนื้อที่ปราศจากผิวคือหนังหุ้มห่อ จะมองไม่เห็นความสวยสดงดงามเลย ยิ่งมีเลือดหลั่งไหลทั่วร่างแล้ว ยิ่งไม่น่าปรารถนาเลย แทนที่จะน่ารัก น่าประคับประคอง กลับกลายเป็นของน่าเกลียด ไม่มีใครปรารถนาจะอยู่ใกล้ ถ้าลอกเนื้อออก จะแลเห็นไส้ใหญ่ ไส้น้อย ปอด กระเพาะอุจจาระ กระเพาะปัสสาวะ และม้าม ไต น้ำเลือด น้ำเหลืองน้ำหนอง เสลด หลั่งไหลอยู่ทั่วร่างกาย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ถ้าจะฉีกกระเพาะออก ภายในกระเพาะจะพบอุจจาระ ปัสสาวะอยู่ภายใน เป็นภาพที่อยากหนีมากกว่าเป็นภาพที่น่ารักถ้าเอาอวัยวะต่าง ๆ ออกหมด จะเห็นแต่ร่างโครงกระดูกที่มีสภาพเหมือนโครงบ้านเรือนตั้งตระหง่านอยู่ โครงกระดูกทั้งสองร้อยท่อนนี้ ปะติดปะต่อกันอยู่เป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ มีเนื้อและเลือดติด
เกรอะกรัง ท่านคิดตามไป ท่านเห็นหรือยังว่า ส่วนที่มีเปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่า พอจะเป็นของสวยของงามมีนิดเดียวคือ ตอนหนังกำพร้าเท่านั้น หนังนี้ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปก็หาไม่ ต้องคอยชำระล้าง
ตลอดวันและเวลาเพราะสิ่งโสโครกภายในพากันหลั่งไหลมาลบเลือนความผุดผ่องของผิวตลอดวัน ถ้าไม่คอยชำระล้าง เจ้าตัวปฏิกูลนั้นก็จะพอกพูนเสียจนเลอะเทอะ แถมจะส่งกลิ่นเหม็นสาบเหม็นสางตลบไปทั่วบริเวณช่องทวาร อุจจาระ ปัสสาวะ ก็จะพากันหลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาที่มันต้องออก สิ่งที่น่าคิดก็คือ ผู้นิยมตนเองว่าสวย หรือเทิดทูนใครก็ตามว่าสวย ต่อเมื่อสิ่งโสโครกหลั่งไหลออกมาเขากลับไม่สนใจ ไม่พยายามมองหาความจริงจากของจริง กลับรอให้ชำระล้างสิ่งโสโครกเสียก่อน จึงใคร่ครวญและสนใจ ต่างคนต่างพยายามหลบหลีก ไม่รับรู้ความเป็นจริงของสังขารร่างกายในส่วนที่สกปรกโสโครก ทั้งนี้ เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความจริงไว้ ทั้งๆ ที่อุจจาระหลั่งไหลออกมาทุกวัน เหงื่อไคลมีเสมอ เสมหะน้ำลายออกไม่เว้นแต่ละนาที แต่เจ้ากิเลสและตัณหามันก็พยายามโกหกมดเท็จ ปัดเอาความจริงออกมาจากความรู้สึก หากทุกคนพยายามสอบสวน ทบทวนความรู้สึกค้นคว้าหาความจริง ยอมรับรู้ตามกฎของความจริงว่า สังขารร่างกายนี้ไม่มีอะไรน่ารัก มีสภาพเป็นส้วมเคลื่อนที่ เพราะภายในมีสิ่งโสโครกต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเรารัก เราก็รักส้วม ถ้าเราประคับประคองเราก็ประคับประคองส้วม ถ้าเราเทิดทูน เราก็เทิดทูนส้วม จะว่าส้วมปกติเลวแล้วความจริงส้วมปกติดีกว่าส้วมเคลื่อนที่มาก เพราะส้วมปกติมันตั้งอยู่ตามที่ของมัน มันไม่ไปรบกวนใคร เราไม่เดินเข้าใกล้ มันก็ไม่มาหาเรา ไม่รบกวนไม่สร้างทุกข์ ไม่หลอกหลอน ไม่ยั่วเย้ายียวนชวนให้เกิดราคะ แต่เจ้าส้วมเคลื่อนที่นี่มันร้ายกาจ เราไม่ไปมันก็มา เราไม่มองดูมันก็พูดให้ได้ยิน เสแสร้งแกล้งตกแต่งปกปิดสิ่งที่น่าเกลียดด้วยสีผ้าที่หลาก กลบกลิ่นเหม็นด้วยกลิ่นหอม หาอาภรณ์มาประดับ เพื่อปกปิดพรางตากันเห็นสิ่งที่ไม่น่าชม เพื่อตาจะได้หลงเหยื่อติดในอาภรณ์เครื่องประดับ ผู้เห็นที่ไร้การพิจารณา และมีสภาพเป็นส้วมเคลื่อนที่เช่นเดียวกัน เป็นส้วมที่ไร้ปัญญาเหมือนกัน ต่างส้วมต่างก็หลอกหลอนกัน ปกปิดสิ่งโสโครกมิให้กันและกันเห็นความจริงทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีครบถ้วนแทนที่จะเห็นตัว รู้ตัวว่า ข้านี้ก็เป็นผู้เลิศในความเหม็น เลิศในส่วนของความสกปรกเหมือนเธอแทนที่จะเป็นอย่างนั้นกลับปกปิดพยายามชมตนเองว่า ฉันนี่แหละยอดผู้ศิวิไลซ์ละ อนิจจา น่าสงสารสัตว์ผู้เมาไปด้วยกามราคะ มีอารมณ์หน้ามืดตามัวเพราะอำนาจกิเลสแท้ ๆ ถ้าเขาจะมองตัวเองสักนิดก็จะเห็นตัวเอง และจะมองเห็นผู้อื่นตามความเป็นจริง พระอริยเจ้าท่านนิยมความจริง รู้จริง เห็นจริง ค้นคว้าจริง ไม่หลอกหลอนตนเอง ท่านจึงได้บรรลุมรรคผล เพราะพิจารณาตนเองเป็นส่วนใหญ่ ขอท่านนักปฏิบัติเพื่อความสุขของตัวทั้งหลาย จงพิจารณาตนเองให้เห็นชัด จนได้นิมิตเป็นปฏิภาคนิมิต สร้างสมาธิให้เป็นอัปปนาสมาธิ โดยพิจารณาสังขารให้เห็นว่าไม่สวยงามนี้ เมื่อถึงอัปปนาสมาธิแล้ว จงยึดสีที่ปรากฏในร่างกายมีสีแดงเป็นต้นหรือจะเป็นสีอะไรก็ได้ยึดเอาเป็นอารมณ์กสิณ ท่านจะได้ฌานที่ ๔ ภายในเวลาเล็กน้อย ต่อไปก็ยึดสังขารที่ท่านเห็นว่าน่าเกลียดนี้ ให้เห็นอนิจจังคือความไม่เที่ยงเพราะมีความเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมไปทุกวันเวลาเป็นปกติ ทุกขังเพราะอาศัยที่มันเคลื่อนไปสู่ความทำลายทุกวันเวลา มันนำความไม่สบายกายไม่สบายใจจากโรคภัยไข้เจ็บ และในการกระทบกระทั่งทางอารมณ์ให้เกิดความเดือดร้อนทุกวันเวลา จึงจัดว่าสังขารร่างกายนี้เป็นรังของความทุกข์ ให้เห็นเป็นอนัตตา เพราะความเสื่อมความเคลื่อนและในที่สุดคือความทำลายขันธ์ เราไม่ต้องการอย่างนั้น แต่มันจะต้องเป็นไปตามนั้นเพราะเป็นกฎธรรมดาของขันธ์ จะต้องเป็นอย่างห้ามไม่ได้ บังคับไม่อยู่ ยอมรับนับถือว่ามันเป็นอนัตตาจริง เพราะความเป็นอนัตตา คือ บังคับไม่ได้ของสังขารร่างกายนี้แหละ พระพุทธเจ้าจึง
สอนให้ปล่อยอารมณ์ในการยึดถือเสีย เพราะจะยึดจะถือเพียงใดก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ สังขารร่างกายเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าที่มีใจครองหรือไม่มีใจครอง ตราบใดที่เรายังต้องการสังขาร
เราต้องประสบความทุกข์ ความทรมาน เพราะสิ่งโสโครกที่เข้าประกอบเป็นขันธ์ เราเห็นสภาพความจริงของสังขารร่างกายนี้ว่า เป็นของโสโครก ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา ควรปลีกตัวออกให้พ้นจริง เรา
เห็นสังขารร่างกายว่าเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนจริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นทุกข์จริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นอนัตตาจริง ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นทุกข์อย่างนี้ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็น
ทุกข์อย่างนี้ เราไม่ต้องการความเกิดอีก เราไม่ปรารถนาชาติภพอีก เพราะชาติความเกิดเป็นแดนอาศัยของความทุกข์ โรคนิทธัง เรือนร่างของขันธ์ ๕ เป็นรังของโรค ถ้าร่างกายไม่มี โรคที่จะเบียดเบียนก็
ไม่มี เพราะไม่มีร่างกายให้โรคอาศัย ปภังคุนัง เรือนร่างมีสภาพต้องผุพังถ้าไม่มีเรือนร่าง เรื่องการผุพังอันเป็นเครื่องเสียดแทงใจให้เกิดทุกข์ก็ไม่มี เมื่อร่างไม่มีจะเอาอะไรมาเป็นอนัตตา เราไม่ต้องการทุกข์ที่มีความเกิดเป็นสมุฏฐาน เราไม่ต้องการความเกิดในวัฏฏะอีก เราต้องการพระนิพพานที่ไม่มีความเกิดและความตายเป็นแดนเกษมที่หาความทุกข์มิได้ พระนิพพานนั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ท่านที่จะไปสู่พระนิพพานได้ไม่มีอะไรยาก ท่านสอนให้พิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกายว่าโสโครก ถอนความรักความอาลัยในสังขารเสีย บัดนี้เราปฏิบัติครบแล้ว เราเห็นแล้ว เราตัดความเห็นว่าสวยงามในสังขารได้แล้วเราเชื่อแล้วว่า สังขารร่างกายเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์ยึดมั่นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เราคือร่างกาย ร่างกายคือเรา ความคิดเห็นอย่างนี้เป็นความเห็นของผู้มีอุปาทานเรารู้แล้ว เราเห็น
ถูกแล้ว คือ เราเห็นว่าสังขารร่างกายไม่น่ารัก มีความสกปรกน่าสะอิดสะเอียน ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่มีสภาพไม่แก่ ไม่ตาย ไม่สลายตัวที่เข้ามาอาศัยร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันเป็นนามธรรม ๔ อย่าง เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องจักรกลที่บริหารตนเองโดยอัตโนมัติ ร่างกายนี้ค่อยเจริญขึ้นและเสื่อมลง มีการสลายตัวไปในที่สุด พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ตัด ฉันทะ ความพอใจในสรรพสังขารทั้งหมดเสียให้ได้ และให้ตัด ราคะ คือความกำหนัดยินดีในสรรพสังขารทั้งหมด คือ ไม่ยึดอะไรเลยในโลกนี้ว่า เป็นเรา เป็นของเรา ไม่มีอะไรในเรา เราไม่มีในอะไรทั้งสิ้น เราคือจิตที่มีคุณวิเศษดีกว่าอัตภาพทั้งปวง เราเกลียดสรรพวัตถุทั้งหมด เราไม่ยอมรับสรรพวัตถุ แม้แต่เรือนร่างที่เราอาศัยนี้ว่าเป็นของเราและเป็นเรา เราปล่อยแล้วในความยึดถือ แต่จะอาศัยอยู่ชั่วคราวเพื่อสร้างสรรค์ความดี สังขารจะเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องของสังขาร สังขารร่างกายจะผุพังก็เป็นเรื่องของสังขารร่างกาย เราไม่รับรู้รับทราบ เราว่างแล้วจากภาระในการยึดถือ เรามีความสุขแล้ว เรามีพระนิพพานเป็นที่ไปในกาลข้างหน้า สร้างอารมณ์ ความโปร่งใจให้มีเป็นปกติ ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์ ทำจนเป็นปกติ จิตยึดความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจนเป็นปกติ เห็นอะไร ได้อะไรมาคิดเห็นว่า นี่มันไม่ใช่ของเราจริง เขาให้ก็รับ เพื่อเกื้อกูลแก่อัตภาพชั่วคราว ไม่ช้าก็ต่างคนต่างสลาย ทั้งของที่ได้มาและอัตภาพ ใครไปก่อนไปหลังกันเท่านั้น จนอารมณ์มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ จิตก็จะว่างจากอุปาทาน ในที่สุดก็จะถึงพระนิพพานสมความมุ่งหมาย
มรณานุสติกรรมฐาน
๗. มรณานุสติกรรมฐาน
มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดาของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป ท่านผู้อ่านจะสงสัยว่า เมื่อความตายเป็นของธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ทราบว่าตัวจะต้องตาย แล้วพระพุทธเจ้ามาสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์อะไร ?
ปัญหาข้อนี้ตอบไม่ยากเพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นของธรรมดาจริง แต่ทว่าเห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนเองหรือญาติ คนที่รักของตนเข้า ก็ดิ้นรนเอะอะโวยวาย ไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายามทุกทางที่จะไม่ยอมตายปกติของคนเป็นอย่างนี้ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใครจะหนีความตาย
ไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวาย ต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้ เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดา ไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไร ความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสามอย่างด้วยกัน คือ
๑. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ ท่านเสร็จกิจ
แห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่านให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่าตายขาดตอน
ไม่กลับมาเกิดอีก
๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการเคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอด คือตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออก และเกิดต่อทุก ๆลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราว เมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่าร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทน แต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทดแทน ชีวิตก็จะต้องดับชีวิตที่ทรงอยู่ได้ ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันทีที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่า มีความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ
๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลกนิยม
เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตามแบบกาลมรณะ ตายไปแล้ว เสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือ รอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้ ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้น ต้องลำบากในเรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่าตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตาย คลอดลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่าตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตามธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยเหลือ สามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุ การสะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้แต่ถ้าต่อแบบหมอต่อยังมืดมนท์ด้วยกิเลสแล้วไม่มีทางสำเร็จผล ไม่ต่อดีกว่า ขืนต่อก็เท่ากับไปต่อชีวิตหมอให้มีความสุขส่วนผู้ต่อกลายเป็นผู้ต่อทุกข์ไป เรื่องต่ออายุนี้มีเรื่องมาในพระสูตรคือเรื่องของท่านอายุวัฒนสามเณร
เรื่องย่อดังนี้
วันหนึ่ง บิดามารดาพาท่านเมื่อยังเกิดไม่กี่เดือนไปหาพระพุทธเจ้า (ขอเล่าลัด ๆ)เมื่อบิดาลาพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า "ทีฆายุโก โหตุ"แปลว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน พอแม่เข้าลาท่าน
ก็ว่าอย่างนั้น ตอนท้าย สองผัวเมียให้ลูกชายกราบลาท่าน ท่านไม่พูด คือท่านเฉยเสีย สองผัวเมียแปลกใจถามว่า เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันสองผัวเมียกราบลา พระองค์ให้พรว่า ขอเธอจงมีอายุยืนนาน แต่พอเกล้ากระหม่อมฉันให้ลูกชายลา พระองค์ทรงนิ่ง เหตุอะไรจะมีแก่บุตรชายเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสองหรือพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสตอบว่า เพราะบุตรชายของเธอจะตายภายใน ๗ วันนี้ ตถาคตจึงไม่กล่าวอย่างนั้น สองผัวเมียฟังแล้วตกใจ ขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์สั่งให้ไปปลูกโรงพิธีกลางลานบ้านแล้วให้เอาพระไปนั่งล้อมเด็กสวดพระปริตครบ ๗ คืน ๗ วัน พอวันที่ ๗ เป็นวันตายของเด็ก เพราะยักษ์จะมาเอาชีวิตวันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเอง เมื่อพระองค์เสด็จ พรหมและเทวดาผู้ใหญ่มามาก ยักษ์เข้าไม่ถึง พอครบเวลาที่ยักษ์จะเอาชีวิต หมายความว่า ถ้าเลยเวลาเขาทำไม่ได้ เขาทำตามกฎของกรรมว่าจะให้ตายเวลาเท่าใดเวลาเท่านั้น เขาจะต้องทำให้ได้ ถ้าเลยเวลาแล้วเขาก็ไม่ทำ พอเลยเวลาที่เด็กจะต้องตาย พระพุทธเจ้าท่านก็พาพระกลับ เลิกพิธี ก่อนกลับพระองค์ให้พรแก่เด็กว่า ทีฆายุโกโหตุ ต่อมาเด็กคนนั้นมาบวชเณรเมื่ออายุ ๗ ปี ได้สำเร็จพระอรหันต์ ท่านมีอายุครบ ๑๒๐ ปี จึงนิพพาน พวกอกาลมรณะนี้ ต่อได้อย่างนี้ แต่การต่อต้องเป็นผู้รู้จริง ทำถูกต้องจริง และการทำให้ต้องไม่ปรารภสินจ้างรางวัล ทำเพื่อการสงเคราะห์จริงๆ จึงเกิดผลว่า จะพูดเรื่องตายเป็นกรรมฐานแอบมาเป็น
หมอต่ออายุเสียแล้ว ขอวกกลับไปเรื่องมรณานุสสติใหม่
นึกถึงความตายมีประโยชน์
ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้แสวงหาความดีใส่ตัว โดยรู้ตัวว่าชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่ยากจนอีก ก็พยายามให้ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอเหมาะพอดี ไม่เดือดร้อนภายหลังนั่นแหละจึงจะควรรู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอ ๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไป คนในบังคับบัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ในชาติหน้า จะได้พยายามรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้ว ก็จะได้รับอานิสงฆ์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มีโรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใครดื้อด้านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั่น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานพอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ ถ้าเห็นว่า ความเกิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูลสูงส่งประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความเกิดอีกก็เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้วเจริญวิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ซึ่งเป็นของไม่หนักเลยสำหรับท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่าเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เพราะกรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานหลักสำหรับเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านจะได้ดี เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ ก็ต้อง อาศัยการปรารภความตายเป็นปกติ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์แม้แต่จะเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทิ้งมรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูลตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายเป็นปกติเป็นของดี แม้แต่พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึงความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตายรู้ตัวว่าจะตายแล้วย่อมไม่สั่งสมความชั่ว คอยปลีกตัวออกจากความ-วและมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวในเมื่อความตายมาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่รู้อยู่เสมอแล้วว่า เราต้องตายแน่ ความตายนี้หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้ กำหนดการเกิดหมอบอกได้ แต่กำหนดเวลาตายไม่มีใครกำหนดได้แน่นอนสำหรับปุถุชนคนธรรมดา สำหรับพระอริยเจ้าหรือท่านที่ชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐานท่านสามารถบอกเวลาตายที่แน่นอนของท่านได้ พระอริยาเจ้าที่จะบอกเวลาตายได้ ก็ต้องเป็นท่านที่ได้วิชชาสามเป็นอย่างน้อย ถ้ามีความรู้พิเศษต่ำกว่านั้น ท่านก็กำหนดเวลาตายไม่ได้เหมือนกันท่านเปรียบชีวิตไว้คล้ายกับขีดเส้นบนผิวน้ำ ขีดพอปรากฏว่ามีเส้น แล้วในทันทีเส้นที่ขีดนั้นก็พลันสูญไป ชีวิตของสัตว์ที่เกิดมาก็เช่นเดียวกัน ความตายรออยู่แค่ปลายจมูก ถ้าสิ้นลมปราณเมื่อไร ก็สิ้นภาวะเมื่อนั้นเอาความยั่งยืนไม่ได้เลย
ท่านเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็นปกติธรรมดา เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์คือให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาพอสมควรแก่ความต้องการแล้ว ถ้าคิดให้ไกลไปอีกสักนิดว่า ความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว ความเกิดต่อไปก็มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีทุกข์ไม่พ้น เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็นเหยื่อของวัฏฏะอีก แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่ง จะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ก็สมบัติอะไรในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือ
พระนิพพาน ทำใจให้ว่างจากความเกิด ความเกาะในชาติภพ ปรารภพระนิพพานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านมีหวังสิ้นชาติสิ้นภพ ประสบผลอย่างยอด คือถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันแน่นอน
เทวตานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ ความจริงทางศาสนาเรานี้พระพุทธเจ้ายอมรับนับถือเรื่องเทวดา พระองค์เองทรงปรารภแก่บรรดาพุทธสาวกเรื่องเทวดาเสมอ
ขอให้ดูตามพุทธประวัติจะพบว่า พุทธศาสนาไม่เคยห่างเทวดาเลยจะเขียนให้ละเอียด ในที่นี้ก็เกรงจะเฟ้อเกินไปขอย้ำว่า พระพุทธศาสนายอมรับนับถือว่าเทวดามีจริง และยอมรับนับถือความดี
ของเทวดาด้วย พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสให้พุทธบริษัทที่มีบารมียังอ่อน ให้ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นปกติ เช่น กรรมฐานข้อที่ว่าด้วย เทวตานุสสติ ก็เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าสอนให้คิดถึง
ความดีของเทวดา
ความดีของเทวดา
เทวดา แปลว่า ผู้ประเสริฐ ความประเสริฐของเทวดามีอย่างนี้ ถ้าพูดกันตามความนิยมแล้วท่านที่จะเป็นเทวดาก็ต้องเกิดเป็นคนก่อน เมื่อเป็นคนก็ต้องศึกษาหลักสูตรของเทวดาว่าจะเป็นเทวดานั้นต้องเรียนรู้และปฏิบัติอะไรบ้าง หลักสูตรที่ทำคนให้เป็นเทวดานั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า มี ๒ แบบ คือ
เทวดาประเภทที่ ๑
เทวดาแบบที่ ๑ เป็นเทวดาชั้นกามาวจร คือ ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิตชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี รวม ๖ ชั้นด้วยกัน ทั้ง ๖ ชั้นนี้ บวกภูมิเทวดาที่เรียกว่าพระภูมิเจ้าที่ และรุกขเทวดา พวกเทวดาที่มีวิมานอยู่ตามสาขาของต้นไม้ ที่เรียกว่านางไม้ เข้ากับเทวดาชั้นจาตุ-มหาราช เทวดา ๖ ชั้นนี้ ท่านว่าใครจะไปเกิดในที่นั้น ๆ เพื่อเป็นเทวดา ต้องศึกษาและปฏิบัติตามเทวดาหลักสูตรเสียก่อน คือท่านให้เรียนรู้เทวธรรมที่ทำตนให้เป็นเทวดา ได้แก่
๑. หิริ ความละอายต่อความชั่วทั้งหมด ไม่ทำชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่วจะลงโทษ ไม่ยอมประพฤติชั่วทั้งกายวาจาใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
ทั้งนี้ก็หมายความว่าต้องเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และมีจิตเมตตาปรานี ตลอดกาลตลอดสมัย ถึงแม้ยังไม่ได้ฌานสมาบัติก็ไม่เป็นไร เอากันแค่ศีลบริสุทธิ์ มีจิตเมตตาปรานีใช้ได้ ท่านว่าใครศึกษาและปฏิบัติหลักสูตรนี้ได้ครบถ้วน เกิดเป็นเทวดาได้ ปฏิบัติได้อย่างเลิศ ก็เป็นเทวดาชั้นเลิศ ถ้าปฏิบัติได้อย่างกลางก็เป็นเทวดาปานกลาง ถ้าปฏิบัติได้ครบแต่หยาบ ก็เป็นเทวดาเล็ก ๆ เช่น ภูมิเทวดา หรือรุกขเทวดา พระพุทธเจ้าท่านตรัสหลักสูตรของเทวดาประเภทที่ ๑ ไว้อย่างนี้ ท่านผู้อ่านจงจำไว้ให้ขึ้นใจจะได้ไม่สงสัยเรื่องเทวดา
เทวดาประเภทที่ ๒
เทวดาประเภทที่ ๒ นี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "พรหม" ท่านจัดพรหมรวมหมด ๒๐ ชั้น ด้วยกัน ท่านแยกประเภทไว้ดังนี้
รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น
รูปพรหม คือ พรหมที่มีรูปนี้ ท่านแบ่งไว้เป็น ๑๖ ชั้น แยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ พรหมที่ได้ฌานโลกีย์ ท่านจัดไว้ ๑๑ ชั้น กับพรหมที่เป็นพระอนาคามี และได้ฌาน ๔ ด้วย ๕ ชั้น รวมพรหมที่มี
รูป ๑๖ ชั้น
อรูปพรหม ๔ ชั้น
พรหมที่ไม่มีรูปนี้ เป็นโลกียพรหม มีหมดด้วยกัน ๔ ชั้น รวมพรหมทั้งหมด ๒๐ ชั้นพอดี
หลักสูตรที่จะไปเป็นพรหม
การที่จะเกิดเป็นพรหม ต้องศึกษาและฝึกตามหลักวิชชาให้ได้ครบถ้วนเสียก่อน ถ้าสอบตกเป็นไม่มีทางได้เกิดเป็นพรหม จะยัดเงินอุดทอง วิ่งเข้าหาเทวดาหรือพรหมองค์ใดให้ช่วยนั้นไม่มีหวังต้องใช้ความสามารถจริง ๆ จึงจะไปได้ การสอบเป็นเทวดาหรือพรหมไม่มีคอรัปชั่น ท่านสอนกันอย่างนี้เดี๋ยวก่อน ก่อนบอกวิธีสอบ ขอบอกไว้ด้วยว่า กรรมการตรวจสอบนั้นไม่มี ต้องตรวจเองสอบเอง ถ้าสอบได้ก็เป็นพรหมทันที ถ้าสอบไม่ได้อาจต้องเป็นคนอยู่ต่อไป หรือเป็นเทวดา หรือไม่ก็ลงนรกไปเลยสุดแล้วแต่ใครจะมีกรรมอะไรเป็นเครื่องส่ง ก่อนจะพูดถึงหลักสูตรพรหม ขอพูดถึงหลักสูตรต่ำไปหาพรหมก่อนเพราะจะได้รู้ไว้เป็นเครื่องประดับ
หลักสูตรอบายภูมิ
อบายภูมิหมายถึงดินแดน นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดียรัจฉาน ใครจบหลักสูตรนี้ จะได้ไปเกิดในที่ ๔ สถานนี้ หลักสูตรนี้มีดังนี้ คือไม่รักษาศีล ไม่ให้ทาน ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ เท่านี้ไป
เกิดในอบายภูมิได้สบาย ไม่มีใครขัดคอ
หลักสูตรเกิดเป็นมนุษย์
หลักสูตรมนุษย์นี้ ท่านเรียกมนุษยธรรม คือธรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์มี ๕ อย่าง คือ
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ และไม่ทรมานสัตว์ให้ลำบากด้วยเจตนา
๒. ไม่ถือเอาของของผู้อื่นที่เขาไม่อนุญาตให้ ด้วยเจตนาขโมย
๓. ไม่ละเมิดสิทธิในกามารมณ์ที่เจ้าของไม่อนุญาต คือไม่ละเมิดภรรยา สามี ลูก หลาน
และคนในปกครอง ที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต
๔. ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน ไม่พูดเพ้อเจ้อ โดยไร้สาระ
๕. ไม่ดื่มสุราและเมรัย ที่ทำจิตใจให้มึนเมาไร้สติสัมปชัญญะ
ตามหลักสูตรนี้ ถ้าใครสอบได้ คือปฏิบัติได้ครบถ้วนท่านว่าตายแล้วเกิดเป็นมนุษย์ได้
หลักสูตรรูปพรหม
๑. ได้ฌานที่ ๑ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑, ๒, ๓
๒. ได้ฌานที่ ๒ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๔, ๕, ๖
๓. ได้ฌานที่ ๓ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗, ๘, ๙
๔. ได้ฌานที่ ๔ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑๐, และ ๑๑
ทั้งหมดนี้เป็นพรหมชั้นโลกีย์
หลักสูตรรูปพรหมอนาคามี
พรหมอีก ๕ ชั้นคือชั้นที่ ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๖ รวม ๕ ชั้นนี้ ต้องได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีได้ฌาน ๔ มาก่อน
สำหรับอรูปพรหม ๔ ชั้น
ท่านทั้ง ๔ ชั้นนี้ ท่านต้องเจริญฌานในกสิณแล้วเจริญอรูปฌาน ๔ ได้อีกจึงจะมาเกิดเป็นอรูปพรหมได้ แต่ท่านก็ได้เพียงฌานโลกีย์ ไม่ใช่พระอริยเจ้า
หลักสูตรเทวดาและพรหมมีอย่างนี้ ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงความดี คือคุณธรรมที่เทวดาและพรหมปฏิบัติมาแล้ว จนเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมได้ ก็ชื่อว่าท่านได้รับผลความดีที่ท่านปฏิบัติมาแล้ว
ถ้าเราปฏิบัติอย่างท่าน เราก็อาจจะมีผลความสุขเช่นท่าน เพราะเทวดาขนาดเลวนั้น ดีกว่ามนุษย์ชั้นดีอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย เพราะเทวดามีกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่เป็นทิพย์ ไปไหนก็เหาะไปได้ ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเหมือนเรา ฉะนั้นความดีของเทวดานี้ ถึงจะยังไม่ถึงความดีในนิพพาน แต่ก็เป็นสะพานสำหรับปฏิบัติเพื่อผลในพระนิพพานได้เป็นอย่างดี ดีกว่ามาคิดว่าเทวดาไม่เป็นเรื่อง เทวดาไม่มี เราเป็นพุทธสาวก เมื่อพระพุทธเจ้าท่านว่ามี เราก็ควรเชื่อไว้ก่อน แล้วสร้างสมาธิทำทิพยจักษุญาณให้เกิดตรวจสอบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง จะพบว่าที่ท่านสอนว่า เทวดา พรหม นรก สวรรค์มีจริงนั้น ท่านสอนตรง ไม่ใช่สอนแบบยกเมฆ ท่านบูชาเทวดา ท่านอาจดีตามเทวดา แต่ท่านด่าเทวดาท่านอาจไม่ได้พบเทวดาเลย
เทวตานุสสตินี้ ถ้าฝึกจนเกิดอุปจารฌานแล้ว ท่านเจริญวิปัสสนาญาณต่อ ท่านจะเข้าถึงมรรคผลได้ไม่ยาก เพราะเป็นภูมิธรรมที่ละเอียด และมีแนวโน้มเข้าไปใกล้พระนิพพานมาก
Saturday, 2 June 2012
นิวรณ์ 5
นิวรณ์ 5
นิวรณ์ 5 หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ
1.กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)
2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
3. ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)
4. อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้
5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น
นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ
นิวรณ์ทั้ง 5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน
----------------
จิตที่เป็นเดิมๆ ของมนุษย์นั้นมีลักษณะเป็นประภัสสร ประดุจน้ำใสบริสุทธิ์ แต่ได้สูญเสียความใสกระจ่างไป นำมาซึ่งความเป็นปุถุชน เพราะสิ่งภายนอก คือ นิวรณ์ แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิตใจมิให้บรรลุถึงธรรมที่สูงขึ้นไปนิวรณ์ ได้เข้าไปแทรกแซงปรุงแต่งใน 5 สถานะ อันได้แก่
1.กามฉันทะ หมายถึง ความกลัดกลุ้มด้วยความพอใจกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็นจริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือน น้ำใสแต่มีสีต่างๆมาเจือปน จนหมดความใส
2.พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง ซึ่งทำความมืดมัว ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่านเปรียบด้วยน้ำใสแต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่านอยู่ ไม่อาจทำให้ผู้มอง เห็นสิ่งต่างๆที่มีอยู่ภายใต้น้ำนั้นได้
3.ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถภาพ ในการที่จะเห็นแจ้งในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใสแต่มีตะไคร่เกิดอยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะมองเห็นสิ่งต่างๆใต้น้ำได้เช่นเดียวกัน
4.อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่ ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมาไว้เหมือนน้ำใสแต่ถูกทำให้เป็นละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อมอยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถจะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
5.วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้ หรือ มีอะไร มารบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้เกิดความมืดมัวแก่จิต ไม่อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใสแต่เกิดวังวน วกไปวนมาย่อมเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้
-----------------------
Subscribe to:
Posts (Atom)