Thursday, 6 September 2012

บทสวดพระสหัสสนัย

 

พระสะหัสสะนัย
สุทธิกะปะฏิปะทา

 
 
(กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา)
กะตะเม ธัมเม กุสะมา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง
ขิปปาภิกญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะ-
ฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป
โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

สุญญะตะมูละกะปะฏิปะทา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธา-
ภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภัญญัง สุญญะตัง ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
สุญญะตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

อัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะ-
ณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหายนายะ ปะฐะ-
มายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง
ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิ-
ปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ
อิเม ธัมมา กุสะลา

อะธิปะติ
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหา-
นายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะหัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิตเตยยัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ
อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารนัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง (อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง
วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิ-
ปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง) ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา ฯ


หมายเหตุ : บทสวดมนต์บทนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จันโท ได้บันทึกไว้สมัยที่อยู่กับหลวงปู่มั่นว่า....

เสียงเพลงเสียงธรรม


......อยู่มาวันหนึ่ง เรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) ปลีกออกมาเดินจงกรมอยู่ในป่าที่ป่าเปอะ ในขณะที่เดินจงกรม มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาเดินไปทำไร่ เดินร้องเพลงไป เพลงที่เขาขับร้องนั้น เป็นสำเนียงทางอีสาน ผ่านมาใกล้ๆ ทางจงกรมที่เราเดินอยู่ คาดคะเนว่าน่าจะเป็นคนทางภาคอีสานมาอยู่ทางเหนือ เนื้อเพลงนี้มาสะดุดจิตในขณะที่ภาวนา โอปนยิโก คือน้อมมาใส่ตัวเรา มันร้องเสียงเพราะน่าฟังนะ ร้องเพลงขับอันประกอบด้วยอรรถรสแห่งธรรม ประสานกลมกลืนกับธรรมที่กำลังสัมผัสเพ่งพิศพินิจพิจารณาอยู่ ภาษาธรรมที่เขาร้องเอื้อนด้วยความไม่มีสตินั้น กลับย้อนเข้ามาสู่ดวงใจที่กำลังเพ่งพิศธรรมนั้นอยู่ จิตนั้นก็รวมลงสู่ฐานของจิตโดยฉับพลัน เพลงขับนั้นเขาร้องเป็นทำนองอีสานว่า

“ทุกข์อยู่ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์อยู่ในผ้าอ้อมป้อมผ้าฮ้าย โฮม อ้ายอยู่ผู้เดียว ทุกข์อยู่ในโลกนี้มีแต่สิทน ทุกข์อยู่ในเมืองคน มีแต่ตนเดียวอ้าย... ทุกข์ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว”

เขาร้องเป็นทำนองไพเราะมาก

พอได้ฟังเท่านั้นแหละจิตนี้รวมลงทันที เป็นการรวมที่อัศจรรย์ นี้แหละธรรมะเป็นสมบัติกลางที่ผู้ประพฤติปฏิบัติน้อมมาพินิจพิจารณา ก็จะก่อให้เกิดธรรมขึ้นมายในใจตน ถ้ารู้จักน้อมมาสอนตนเสียงร้องเหล่านี้เป็นเสียงธรรมได้ทั้งนั้น

สมัยนั้นก็ยังหนุ่มอยู่ แต่ว่ามันก็ไม่รู้ยังไง ฟังบทขับร้องแล้วชอบกลอยู่ เขาร้องอย่างนี้ “ทุกข์ในขันธ์ห้า... โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว” คนอีสานเขามาอยู่ทางเหนือ เขาขับร้องเพราะมาก มีเสียงเอื้อนตามแบบของคนอีสาน

ทุกข์ในขันธ์ห้า มีเมียก็ต้องเลี้ยงเมีย หากเมื่อมีลูกขึ้นมาหนึ่ง ก็ต้องเลี้ยงหนึ่ง เลี้ยงสอง เลี้ยงสามฯลฯ เมียสองก็ต้องเลี้ยงสี่ เลี้ยงห้า เอาเข้าไปแล้ว เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่สารพัด เลี้ยงกันมาจนกระทั่งถึงเรา นี่มันเป็นอย่างนั้น นี่ทุกข์ที่สุด เราก็มีพ่อมีแม่ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้เข้าวัดเข้าวาฮิ นึกแล้วน่าสงสาร แต่ดึงเท่าไหร่ก็ไม่ยอมขึ้น เราหลุดออกมานี่มีชีวิตอันประเสริฐที่สุด ใครสามารถพินิจพิจารณาได้แล้ว รอดลงไปได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นบ่วงลึกที่สุด ท่านอาจารย์ฝั้นท่านว่า..เรื่องการครองเรือน เรื่องความหลง ท่านพูดยิ่งเด็ดขาด... แต่เราพูดออกมาอย่างท่านไม่ได้

เพราะฉะนั้นอันนี้เอง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญา เมื่อเราน้อมนำมา พินิจพิจารณาใจของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องขัดเกลา เหมือนแฟ้บที่ซักเสื้อผ้า หรือเหมือนสบู่ที่ขัดเหงื่อไหลของเรา ขัดขี้เหงื่อคราบไคลของเราให้ออกไป เปรียบอย่างนั้นมันเหมาะดี

ธรรมะบทใดบทหนึ่ง เมื่อเราน้อมเข้ามาพินิจพิจารณาให้เกิดความสังเวชสลดใจได้แล้ว นั่นมีคุณค่าจะหาราคาอันใดมาเปรียบมิได้เลยนั่นท่านเรียกว่าเป็นปัญญา ส่วนที่ความรู้สึกในขณะที่พิจารณาอย่างนั้น จนเกิดความสังเวชสลดใจ เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ใจนั้นก็มีความสงบ เมื่อความสงบปรากฏอย่างนั้น ใจนั้นก็เป็นใจที่ปกติ เมื่อใจเป็นปกตินั่นเอง มีความรู้ตัวอยู่อย่างนั้น ใจไม่วอกแวกไปไหน นี่แหละท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ”


บทเพลงพระอรหันต์


แม้ในสมัยพุทธกาล บทเพลงของพระอรหันต์ก็มีเช่นเดียวกัน เท่าที่ทราบท่านนิยมสวดเป็น ทำนองสรภัญญะ ในสมัยพุทธกาลมีเล่าไว้ว่า พระโสณะกุฏิกัณณะสวดสรภัญญะ ถวายพระพุทธเจ้า และได้รับคำชมจากพระพุทธองค์ว่า เธอสวดเสียงไพเราะดี

ปัจจุบันเราก็นิยมสวดสรภัญญะกัน แม้เราเองกชอบฟังสวดสรภัญญะบท พระสหัสสนัย ที่ท่านบรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติยากง่ายของแต่ละดวงจิต สวดสรภัญญะก็คือ ร้องเพลงแบบหนึ่งนั้นเอง เรื่องนี้มีมูลเหตุอยู่ว่า ปัณจสิขะเทพบุตรขณะรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์อยู่หน้าถ้ำแห่งหนึ่ง หยิบพิณขึ้นมาดีดขับเพลงรักของตนที่มีต่อคนรัก เปรียบความรักของเขากับความรักโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ ก็ได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์เซ่นเดียวกัน

ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุบางรูปยืนฟังนางทาสีขณะตักน้ำร้องเพลงด้วยความเพลิดเพลินใจ พิจารณาความตามเนื้อเพลงได้บรรลุพระอรหัตก็มี การสวดการร้องบ่อยๆ เสียงที่สวดอันเป็นบทกรรมที่ไพเราะ จะดึงให้จิตจดจ่อเฉพาะเสียง ลืมโลกภายนอกหมดสิ้น จิตเกิดดิ่งเป็นสมาธิ พลังสมาธิเช่นนี้ใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ก็ไม่ต้องสวดหรือร้อง เพียงแต่ฟังเฉยๆ หรือพิจารณาสิ่งที่ได้ยินเข้าตามเนื้อเพลง น้อมเข้ามาใส่ตนให้เป็นธรรม ถ้าบทเพลงนั้นมีคติเตือนใจ บทเพลงวิมุตติหรือเรียกอีกอย่างว่าบทเพลงพระอรหันต์ เพราะพระภิกษุ ภิกษุณี ท่านได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เปล่งวาจาเป็นภาษากวี บรรยายความสุขใจที่ได้รับหลังการบรรลุธรรม

มีบทเพลงที่ท่านพระสิริมัณฑเถระ ได้เปล่งเป็นบทกวีไว้ เดิมพระเถระรูปนี้เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งเมืองสุงสุมารคิรี ท่านบวชมาแล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ขณะฟังพระปาฏิโมกข์แล้วพิจารณาว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ถ้าไม่เปิดเผย (ปกปิดความชั่วไว้) ย่อมเศร้าหมอง แต่ว่าไม่ปกปิด (บอกความจริงแล้วปลงอาบัติเสีย) ก็จะบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในที่สุด พระศาสนาของพระพุทธองค์ช่างบริสุทธิ์จริง ๆ ท่านคิดพิจารณาดังนี้ ด้วยความที่จิตฝึกมาดี ก็ได้บรรลุอรหัตผล หลังการบรรลุธรรมจึงได้เปล่งคาถาเป็นบทเพลงกวีว่าไว้ว่า
......“สัตว์โลกถูกมฤตยูดักฆ่า ถูกชราไล่ต้อน
ยิงด้วยลูกศรคือความทะเยอทะยาน
เผาให้เป็นเถ้าถ่านด้วยความปรารถนา มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสาม
คือกองไฟลามลุกไหม้ แรงจะต้านใดก็ไม่มี จะบึ่งหนีก็ไม่พ้น
ไม่ควรปล่อยวันเวลาล่วงไปเปล่า ไม่ว่ามากหรือน้อย
กี่วันผันผ่าน ชีวิตกาลยิ่งใกล้ความตาย เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
วาระสุดท้ายอาจมาถึง จึงไม่ควรประมาท”


และบทเพลงกวีของพระเชนตะ ท่านเป็นคนช่างคิด คิดว่าครองเพศฆราวาสก็ยาก หาเงินทองมาเลี้ยงครอบครัวก็ลำบาก บวชก็ลำบาก จะเลือกทางดำเนินชีวิตแบบไหนดี ในที่สุดก็ตัดสินใจไปบวช ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็กล่าวโศลกเตือนใจเพื่อนมนุษย์ให้เห็นความเป็นอนิจจังของสิ่งทั้งปวงเป็นบทเพลงว่า
.....“ครองเพศบรรพชิตนั้นแสนลำบาก
ฆราวาสวิสัยก็ยากเย็นเช่นเดียวกัน
พระธรรมอันคัมภีรภาพนั้นยากเข้าใจ
โค ทรัพย์กว่าจะหามาได้ก็เหน็ดเหนื่อย
มีชีวิตเรื่อยๆ อย่างสันโดษก็ยากเย็น
ฉะนี้น่าจะเห็น น่าจะคิด อนิจจังฯ”


ที่มา -
http://larndharma.org



เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)

เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)




เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?

(๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๑) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.






อานิสงส์ : ถ้าท่านสวด ณ ที่ใด
 จะสามารถป้องกันภัยธรรมชาติ ณ บ้านนั้น ตำบลนั้น อำเภอนั้น
(ถ้าสวดกันทั้งหมู่บ้านจักป้องกันภัยธรรมชาติได้)
ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิปานกลางก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้มากถึง ๑ โยชน์ (๑๖ กิโล) ไปทุกทิศ
ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิมากก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้ถึงชั้นเทวดา และชั้นภพเบื้องล่าง ได้
โดยใช้ชื่อว่า “พระคาถาอภิมหามงคลคาถา” เมื่อสวดแล้วจะแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ให้สวดกันให้มาก


[1] พุทธกิจ ๕ ประการ : (งานของพระพุทธเจ้าประจำวัน)

๑. เช้าโปรดสัตว์ บิณฑบาต
๒. เย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน
๓. ค่ำโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์
๔. เที่ยงคืน แก้ปัญหาเทวดา
๕. ใกล้รุ่ง ตรวจดูอุปนิสัยเวไนยสัตว์ที่จะเสด็จไปโปรดในวันใหม่

Friday, 13 July 2012

แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์

แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์ ประจำอยู่อย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแทบทุกแผ่นดิน ต้องรบทัพจับศึก เป็นประจำ ยามเราอ่อนแอจากพระเจ้าแผ่นดิน ชาติอื่นทั้ง พม่า รามัญ ญวน เขมร จะพากันมารุมทึ้ง แผ่นดินให้ต้องทำศึกอยู่เรื่อยๆ แพ้บ้างชนะบ้างว่ากันไป   แผ่นดินไหน พระเจ้าอยู่หัวมีพลานุภาพสูง บุญญา -บารมีแก่กล้า ก็ทรงยกทัพออกไปราวีชาติต่างๆโดยรอบ เพื่อแสดง ความ เป็นมหาอำนาจให้ประจักษ์ ใช่จะจะยอมให้ข่มเหงรังแกกันตะพึด และตราบ ใดที่แผ่นดินว่างศึกไม่มีใครมารุกรานหรือไม่ได้ออก รุกรบ ขยายอาณาจักร มักจะเกิด กบฏชิงราชบัลลังก์ กันภายในให้ต้อง ปราบปราม แทบไม่มี เวลา พัฒนาบ้านเมือง  
ในแผ่นดินของสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ ราชาธิราช ก็เช่นกัน เมื่อพระเจ้า กรุงหงสาวดียอมรับพระราช ไมตรีถอนทัพกลับ กรุงหงสาวดีแล้ว พระองค์ ก็ทรงจัดพระราชพิธีพระราชทาน เพลิงพระศพอัครมเหสี วีรสัตรีไทย ผู้ทรง แสดงความกล้าหาญเอาชีวิตเข้าปกป้องพระเจ้าอยู่หัวไว้คือ พระศรีสุริโยทัย การจัดงานครั้งนี้กระทำอย่างสมพระเกียรติยศยิ่ง  เสร็จแล้วทรงให้ สถาปนา ที่พระราชทานเพลิงศพ เป็น เจดีย์วิหารพร้อมวัดวาอารามเป็นพระราชอนุสรณ์ พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดสบสวรรค์ แล้วทรงทำการพัฒนา ไพร่บ้านพลเมือง ให้เอาบ้านทำจีนตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็น เมือง นนทบุรี ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรีแขวงเมืองสุพรรณบุรีตั้งเป็น เมือง นครชัยศรี แล้วทรงปรึกษา ว่า กำแพงเมืองลพบุรี เมืองนครนายก เมือง สุพรรณบุรี สามเมืองนี้ควรล้างเสียหรือจะเอาไว้ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช  กับมุขมนตรีพร้อมกัน ปรึกษากราบทูล ว่า จะให้ไปรับหัว เมืองนั้นถ้ารับได้ก็จะเป็นคุณ ถ้ารับมิได้ข้าศึกจะอาศัย ดังนั้นให้รื้อกำแพงเมืองดีกว่า 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็บัญชาตามแล้วให้ตั้ง พิจารณาเลิกสังกัด สมพรรค์ได้ สกรรจ์ลำเครื่องแสนเศษ  ต่อมาศักราช ๙๐๖ ปีมะโรง ฉศก (พ.ศ.๒๐๘๗)   พระศรีศิลป์น้องพระยอดฟ้า โอรสคนเล็กสุดของสมเด็จพระไชยราชาธิราช กับ  แม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งขุนพิเรนทรเทพ ละไว้ระหว่าง จู่โจมสังหาร ขุน วรวงศาธิราชกับเจ้าแม่ศรี สุดาจันทร์ และบุตรีน้อยในเรือพระที่นั่งระหว่าง เสด็จไปจับช้างป่า นำมาถวายพระเธียรราชา หรือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และทรงชุบเลี้ยงไว้บัดนี้ได้เติบโต อายุได้ ๑๓-๑๔ ปี จึงให้ออกบวช เป็น สามเณรอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน อันเป็นวัดที่พระเธียรราชาผนวชอยู่เดิม มีข่าวสะพัดว่าพระศรีศิลป์ มิได้ตั้งอยู่ในกตัญญู ส้องสุมพวกพลคิดการกบฎ จึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนาไปนำตัวมา พิจารณาผล ออกมาได้ ความเป็น สัตย์ โดยเหตุการณ์ผ่านมาแต่ละยุคนั้นจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตาเพียงให้นำตัวไปคุมไว้ ณ วัดธรรมมิกราชาหมื่นจ่ายวดได้รับมอบหมาย หน้าที่ เป็นผู้ควบคุม กระทั่ง เวลาล่วงไปจวนเข้าพระวัสสา ทรงพระกรุณาตรัสว่าพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นโทษ คุมไว้นั้นอายุจะได้ อุปสมบทเป็นภิกษุภาวะอยู่แล้วให้เอามาอุปสมบท  จึงทราบ ว่าพระศรีศิลป์ หลบหนีที่ ควบคุมไปได้สามวัน ซุ่มชุมนุมพล อยู่ที่บ้าน ม่วง -มดแดง  จึงทรงมีพระราชดำรัสให้ เจ้าพระยามหาเสนา ตามเอาตัว กลับคืน มาอีก  ระหว่างนั้นพระศรีศิลป์ได้ขอฤกษ์กระทำการ ใหญ่ "พลิกแผ่นดิน" จาก พระ พนรัตนป่าแก้วได้ฤกษ์มาว่า วันเสาร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ฤกษ์ดี ให้ยกเข้า มาเถิดจะกระทำการสำเร็จ ตาม เป้าหมาย  แต่ก่อนถึงเวลาฤกษ์ พระยาเดโช  พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีสวร หมื่นไภยนรินทร์ ผู้ร่วม ก่อการ กับ พระศรีศิลป์ซึ่งถูกจับได้และเป็นโทษจำไว้ในที่สงัด  ได้แอบส่ง สาร ลับ ไปถึงพระศรีศิลป์ ในวันแรม ๑๓ ค่ำ รำพันว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสไว้ วันรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ จะเอาตัวทั้งห้า ไปฆ่าเสียขอ ให้พระองค์ทรงเข้ามา ใน กลางดึก วันนี้(ที่ ๑๓ ค่ำ) อย่าให้ทันรุ่ง พระศรีศิลป์จึงเข้ามาทาง ประตู หอรัตนชัย โดยไม่คำนึงถึงฤกษ์พระพนรัตนป่าแก้วให้ไว้ว่า ให้เข้าวันเสาร์ขึ้น ๑ ค่ำ ด่วนเข้าก่อนฤกษ์        
เจ้าพระยามหาเสนา ซึ่งได้รับพระบัญชา จากพระเจ้าอยู่หัวให้ติดตาม พระศรีศิลป์ ทราบเรื่องว่าพระศรีศิลป์ ยกเข้ามาทางประตูดังกล่าว จึงตามเข้า มาจัดการ พอเห็นช้างเผือกลงมาอาบน้ำเจ้าพระยามหาเสนา ก็นำ ช้างเผือก ออกมารบกับพระศรีศิลป์ ที่ถนนหน้าบางตราถูกร้องสำทับว่า "เจ้าพระยา มหาเสนาจะสู้เราหรือ"  เจ้าพระยาก็ตะโกนตอบ "พระราชกำหนดโทษ พระองค์ฉันใด โทษข้าพเจ้าฉันนั้น" ว่าแล้วก็ไสช้างเข้าชนกัน เจ้าพระยา มหาเสนามีอายุกว่า ไม่แคล่วคล่องว่องไวเหมือนพระศรีศิลป์ จึงถูกตีด้วยขอ ตกช้างลง เปิดทาง ให้พระศรีศิลป์รุกเข้าทางประตูเสาธงชัยเข้าพระราชวังได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทราบเรื่องการบุก พระราชวังของพระศรีศิลป์ โดย กะทันหันเช่นนั้นก็ทรงลงเรือพระที่นั่งหนีไป ทางขึ้นเกาะ มหาพราหมณ์ เปิดโอกาสให้พระศรีศิลป์ปลดปล่อย พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยา พิชัยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร กับ หมื่นไภยนรินทร์ พ้นจากที่คุมขัง รับอาวุธ ร่วม ก่อการล้มราชบัลลังก์ต่อไป    
พระราเมศวร พระมหหินทราธิราช ตั้งตัวตั้งสติได้ พร้อมด้วยเสนาบดีทั้งหลาย เข้ารบกับพระศรีศิลป์ กับ พวกที่รับการปลดปล่อยน่าสลดสังเวชใจ ครั้งนั้น ต้องล้มตายกันทั้งสองฝ่ายมากมายแต่จะด้วยการ "แหกฤกษ์" หรือชะตาถึง ฆาต หลังจากรอดตายมาแต่เยาว์วัยสองครั้งสามครา ทำให้พระศรีศิลป์ ต้อง ปืนตาย ส่วนห้าสมุนเพิ่งรับการช่วยออกมาไม่ทันไร ก็ถูกจับเรียบอีก เมื่อ ปราบกบฎเรียบร้อย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิฯ เสด็จคืนเข้าพระราชวัง  ทรง ชำระคดีกบฎครั้งนี้เมื่อทราบว่า พระพนรัตน ป่าแก้วเป็นผู้ให้ฤกษ์ พระศรีศิลป์ ก่อการกบฎ ก็โปรดให้นำตัวมาสอบถามพร้อมกับห้านักโทษเดิม     
เมื่อสอบได้ความเป็นสัตย์ไม่มีสิ่งที่เคลือบแคลง จึงทรงพิพากษาโทษให้ ประหารชีวิตพระพนรัตนป่าแก้ว พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรนฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร และหมื่นไภยนรินทร์ แล้วให้นำศพเสียบ ประจานไว้ ณ ตะแลงแกง กับศพพระศรีศิลป์ที่ต้องปืนตายในที่รบ นอกจากนี้เมียน้อยขุนนางโจทก์ว่า ผัวเข้าด้วยพระศรีศิลป์ และ คอยรับ พระศรีศิลป์เข้าเมืองโค่นบัลลังก์ นำตัวมาสอบต่างรับเป็นสัตย์ ก็โปรดให้ ประหารเสียเป็นอันมากปราบเสี้ยนหนามแผ่นดินแล้ว เกิดศุภนิมิตดีซ้อนกัน คือศักราช ๙๐๗ ปีมะเส็ง สัปตศก(พ.ศ. ๒๐๘๘  )สมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จ ไปวังช้างตำบลไทรย้อยได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ ศอกสิบนิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อ พระรัตนากาศ ลุศักราช ๙๐๘  ปีมะเมีย อัฐศก(พ.ศ. ๒๐๘๙) เสด็จไปวังช้าง ป่าเพชรบุรีได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ศอกเศษ ให้ชื่อพระแก้วทรงมาศ และใน เดือนสิบปีมะเมียนั้น เสด็จไป ได้ช้างเผือก ตำบลป่ามหาโพธิ์ทั้งลูกทั้งแม่ ก็ เผือก
ปีต่อมาศักราช ๙๐๙ ปีมะแม นพศก(พ.ศ. ๒๐๙๐) เสด็จไปได้ ช้างป่าทะเล ชุบศร เป็นเผือกพลายสูงสี่ศอกห้านิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อพระบรมไกรสร พอเดือน อ้าย ปลายปีก็ได้ช้างเผือกพลายที่ตำบลป่าน้ำทรงสูงสี่ศอกคืบให้ชื่อ พระสุริยกุญชร ในรัชสมัยนั้นทรงได้ ช้างเผือกพลายพังถึง ๗  ช้าง พระเกียรติยศ ปรากฎไปในนานาประเทศทั้งปวง กระทั่งได้รับพระราชสมัญญา ใหม่ว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือก  เมื่อข่าวร่ำลือถึงกรุงหงสาวดีว่า พระนคร ศรีอยุธยามีช้างเผือกถึง ๗ ช้าง สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็มีพระทัยใคร่ได้สัก ๒ ช้าง นี่เองเป็นต้นเหตุว่า จะ เสียช้างหรือเสียเมือง

ฟ้าสมิงฅำหลวง

ตำนานฟ้าสมิงฅำหลวง
ลักษณะของจดหมายลูกโซ่ในอดีต มักจะกล่าวถึงเรื่องร้ายๆ ที่อาจเกิดขึ้น หากผู้ที่ได้รับไม่ได้ปฏิบัติตามข้อความที่กล่าวไว้ในจดหมาย อย่างไรก็ดี ตำนานฟ้าสมิงฅำหลวงที่คัดลอกมานี้ มีคุณค่าในแง่ที่สอนให้ผู้ที่ได้รับอยู่ในศีลในธรรมตามอย่างพุทธศาสนิกชนที่ดี
โดยนำเอาความเชื่อเข้ามากระตุ้นให้เกิดการปฏิบัตินั่นเอง
ตำนานฟ้าสมิงฅำหลวง เป็นตำนานบันทึกไว้ในใบลาน จากต้นฉบับของวัดบ้านช่าง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จารไว้เมื่อปีจุลศักราช ๑๒๘๓ (พ.ศ.๒๔๖๔) ปีร้วงเล้า เดือน ๑๒ ออก ๗ค่ำ วันพฤหัสบดี ยามเที่ยง
 ผู้จารชื่อปัญญติกภิกขุ กาวิไชยวังโส วรรณกรรมเรื่องนี้มีลักษณะอย่าง "จดหมายลูกโซ่" ที่ชวนให้คนคัดลอกต่อ ๆ กันไปเพื่อเก็บไว้ในบ้านเรือน เนื่องจากกล่าวว่า อานุภาพของตำนานฟ้าสมิงฅำหลวง ซึ่งพระอินทร์ประทานมาให้นี้จะช่วงให้คนพ้นภัยพิบัติต่างๆ ได้
 โดยที่คนที่ได้รับมาจะต้องคัดลอกไว้และขยายต่อไปยังผู้อื่นด้วย
...ไชยยะมังคลัง ศักราชะได้ ๑๒๗๐ ตัวปี เดือน ๕ เพ็ญ พระอินทร์ได้มาประพาสสวนและทรงเห็นว่าคนทั้งหลายจะเกิดภัยอุบาทว์มากนักก็สงสาร จึงได้ทำหนังสือใส่ไว้ในพับฅำแดง คือตำราอันเป็นคำสอนที่มีค่าดั่งทองคำสุกปลั่ง
 แล้วหย่อนหนังสือนั้นลงมาที่ ธาตุทะโค่ง(เจดีย์ชะเวดากอง) ว่าในเดือน ๑๐ เพ็ญ ฝนจักตกในเมืองชุมพูทวีป จะเกิดอุบาทว์และโรคภัยทั่วไป ผู้คนจะล้มตายด้วยอหิวาตกโรคมากนัก สักราช ๑๒๕๐ คนทั้งหลายจะชิงทรัพย์กัน โลภเอาที่บ้านที่นา โกงตาชั่งขี้ขโมย ฆ่าฟันกัน และชอบดื่มเหล้าและยาเสพย์ติด ไม่รู้จักพระรัตนตรัย ไม่เคารพยำเกรงผู้มีอายุ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ภิกขุและสังฆะสามเณรทังหลายก็จักค้าขายกิน ไม่ปฏิบัติตามคลองธรรม จะล้มตายด้วยโรคต่างๆ ผู้หญิงก็จักตายเพราะตกเลือด หากลงน้ำเงือกก็จะกิน เข้าป่าก็จะถูกเสือกัด จะตกตายกันมากใน จ.ศ. ๑๒๕๕ เป็นต้นไปจะเกิดศึก ให้คนทั้งหลายหมั่นทำบุญรักษาศีลจึงจะพ้นภัยที่กล่าวมา
ศักราช ๑๒๔๐ จะเกิดโรคห่าระบาด สามีภรรยาจะทะเลาะกัน น้ำและดินก็ไม่สม่ำเสมอกันควรจะมีแดดก็กลับมีฝน ถึงยามควรมีฝนก็กลับมีแดด ทำการเกษตรลำบาก เกิดข้าวยากหมากแพง จะหาคนสืบศาสนาไม่ได้

พระราชพงษาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ


คำนำพระราชพงษาวดารกรุงเก่า

ฉบับหลวงประเสริฐ

 พระราชพงษาวดารฉบับนี้ เดิมพระปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) แต่ยังเปนหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปพบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่ง ๑ จึงขอมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ กรรมการหอพระสมุดเห็นเปนหนังสือพระราชพงษาวดารแปลกจากฉบับอื่น ๆ ที่มีแล้ว จึงให้เรียกชื่อว่า "พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" ให้เปนเกียรติยศแก่ผู้พบ แลพามาให้หอพระสมุด
 หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับนี้มีบานแพนกว่าเป็นหนังสือฉบับหลวง สมเด็จพระนารายน์มหาราชมีรับสั่งให้แต่งขึ้น เมื่อวัน๔๕ค่ำปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๐๔๒ กล่าวเนื้อความตั้งต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนันเชิง เมื่อจุลศักราช ๖๘๖ จะจบเพียงไหนทราบไม่ได้ ด้วยต้นฉบับที่หอพระสมุดได้มาได้แต่เล่ม ๑ เล่มเดียว ความค้างอยู่เพียงปีมโรงฉศก จุลศักราช ๙๖๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อเตรียมทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ คเนดูเห็นจะมีเล่ม ๒ อิกเล่มเดียวความจะมาจบเพียงแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองเปนอย่างมาก สมุดต้นฉบับที่ได้มา เปนสมุดดำเขียนด้วยตัวรง ฝีมือเขียนครั้งกรุงเก่า มีรอยถูกฝนชื้น ตัวหนังสือลบเลือนอยู่หลายแห่ง แต่โดยมากมีรอยพอเห็นตรงลบเลือนได้ กรรมการหอพระสมุดได้ให้พิมพ์พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ใน ร.ศ. ๑๖๖ ปีที่ได้มานั้นเปนครั้งแรก ครั้นปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้ หอพระสมุดได้หนังสือพระราชพงษาวดารความเดียวกับหลวงประเสริฐมาอิกฉบับหนึ่ง ๒ เล่มสมุดไทย เปนฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเขียนเมื่อปีมเมียฉศก พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเหตุให้ยินดี คาดว่าจะได้เรื่องราวพระราชพงษาวดารฉบับนี้จนจบ แต่ครั้นเอาหนังสือ ๒ ฉบับสอบกันเข้า ได้ความปรากฎว่า ฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเปนฉบับลอกจากเล่มของหลวงประเสริฐอักษรนิตินี้เอง เพราะที่สุดไปค้างเขินอยู่ตรงคำต่อคำ เหมือนกับฉบับหลวงประเสริฐ เปนอันได้ความว่า พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐนี้มีเพียงเท่าที่ได้มาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว จึงสิ้นหวังที่จะหาเรื่องต่อได้อิกต่อไป แต่ที่ได้ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีมามีประโยชน์อยู่อย่าง๑ ที่ได้ความซึ่งลบเลือนในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติบริบูรณ์
 พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเปนอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ จึงเปนหลักแก่การสอบหนังสือพงษาวดารได้เรื่องหนึ่ง

                                                              เนื้อหา

 ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศกวอก นัก (ษัตร ณ วน พุธ) ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ (พ.ศ. ๒๒๒๓) ทรงพระ (กรุณาโปรด) เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอกกฎหมายเหตุของพระ โ(หราเขียน) ไว้แต่ก่อนและกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ และเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้
 จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง
 ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน (เสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕) เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา

พงศาวดาร


พงศาวดาร

พงศาวดาร คือ พงศาวดาร เป็นคำรวมระหว่าง พงศ กับ อวตาร ซึ่งหมายความว่า การอวตารของเผ่าพันธุ์ บางแห่งเขียนว่า พระราชพงศาวดาร ในที่นี้หมายความถึง การอวตารของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู (พระนารายณ์) ดังนั้น พงศาวดารจึงเป็นเรื่องราวที่บันทึกเหตุการณพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น หรือพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือศาสนาเป็นส่วนใหญ่

พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียดประกอบ กับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกันบางใช้ มหาศักราช บางใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ (พ.ศ.2223) เขียนขึ้นใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรอยุธยา เป็นต้น

พงศาวดารหลักๆในเมืองไทยมีหลายเล่ม เล่มที่จัดได้ว่าเก่าที่สุดคือ พงศาวดารกรุงเก่า หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เหตุที่เรียกพงศาวดารฉบับนี้ว่าเป็นฉบับหลวงหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เพราะต้องการจะให้เกียรต์แก่หลวงประเสริฐอักษรนิติ์หรือ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเอกสารสำคัญชิ้นนี้ โดยเมื่อครั้งที่ยังคงเป็น หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ไปได้จากบ้านราษฎรแห่งหนึ่งแถบเพชรบุรีแล้วเอามามอบให้หอสมุดวชิรญาณ เมื่อ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2450 หนังสือพงศาวดารฉบับนี้เป็นสมุดไทยเขียนตัวตรง ลายมือเขียนหนังสือเหมือนจะเป็นฝีมือครั้งกรุงเก่าตอนปลายหรือครั้งแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ของเดิมมี 2 เล่มจบ แต่ได้มาเล่ม 1 เล่ม กรรมการหอสมุดวชิราญาณได้ตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นหนังสือเก่าอย่างไม่มีเหตุผลอย่างใดควรสงสัย จึงได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่

หรืออย่างฉบับคำให้การของขุนหลวงหาวัด และฉบับคำให้การของชาวกรุงเก่า ก็เป็นเอกสารที่ได้มาจากฝั่งพม่า ในสมัยก่อนนั้นหากได้เมืองไหนแล้วก็จะนำตัวของคนในเมืองนั้นมาสอบถามถึงความเป็นมาและจารีตประเพณีต่างๆ เพื่อจดบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

นอกจากตัวอย่างพงศาวดารที่ยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นแล้วยังคงมีปรากฏพงศาวดารอีกหลายๆฉบับที่มักถูกอ้างถึงเมื่อมีการพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ผู้จดบันทึก และช่วงเวลา เช่น








พุทธทำนายในอุรังคะทาดนิทาน


พุทธทำนายในอุรังคะทาดนิทาน
ชาวจีนสิบสองปันนาเรียกแม่น้ำโขงว่า “หลันชางเจียง” หรือแม่น้ำล้านช้าง มีนัยหมายถึงแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก ทว่าใน “นิทานอุรังคธาต” เรียกแม่น้ำนี้ว่า “ทะนะนะทีเทวา” อันหมายถึงแม่น้ำแห่งทรัพย์สินเงินทองอันเทวดาเสกสรรให้
ทรัพย์สมบัติดังกล่าว คำลาวเรียก “ของ” และเรียกทะนะนะทีเทวาว่า “แม่น้ำของ” และเพี้ยนมาเป็น “แม่น้ำโขง” ในสำเนียงคนไทยกรุงเทพฯ และ Mekong River ในภาษาอังกฤษ
หลันชางเจียง(แม่น้ำล้านช้าง) หรือแม่น้ำโขงตอนบน ภาพ โดยประสาท ตงศิริ ถ่ายจาก ระเบียงท้ายเรือเร็วปรับอากาศ “เทียนต๋า2” ซึ่งแล่นตามลำ แม่น้ำโขง จากท่าเรือเมือง เชียงรุ้งถึงท่าเรือเชียงแสน ของไทย
(ซ้าย) พระ ธาตุพนมองค์เดิม (นครพนม : ไทย) ประดิษฐานพระอุรังธาตุ (ธาตุทรวงอก) ที่ดอยกัปปนคีรี ภูกำพร้า (ขวา) พระธาตุหลวง (เวียงจันทน์ : สปป.ลาว) ดอนคอนพะเนา ภูเขาหลวง หนองคันแทเสื้อน้ำ
ผม จะลองสังเคราะห์กำเนิดภูมิประเทศ แม่น้ำลำคลอง ภูเขาเลากา สภาพบ้านเมืองและการลงหลักปักฐานลัทธิความเชื่อในพระพุทธศาสนา จากนิทานอุรังคธาตุ วรรณกรรมโบราณแห่งลุ่มแม่น้ำโขง พอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
แม่น้ำอู
แม่น้ำปิง : พินทะโยวัตตีนาค ขุดเป็นแม่น้ำไปเมืองเชียงใหม่ ชื่อแม่น้ำพิน หรือ พิงค์ และใส่ชื่อเมืองนั้นว่า โยนาควัตตีนคร หรือโยนกนาควัตตี หรือพิงคนครเชียงใหม่ ในเวลาต่อมา
“...ส่วน ว่าน้ำหนองแสนั้น สัตว์ทั้งหลาย มีแข่ เหี่ย เต่า และแลนก็ล้มตายเป็นอันมาก พวกผีทั้งหลายเห็นก็พากันไปเอามาซุมกันกิน เวลานั้นนาคทั้งหลาย คือสุวันนะนาค กุทโธปาปนาค ปัพพารนาค สุกขหัตถีนาค สีสัตตนาค และถหัตถีนาค เป็นต้น ตลอดนาคทั้งหลายผู้เป็นบริวารที่อยู่ในหนองแสบ่สามารถอาศัยอยู่ได้
แม่น้ำงึม : “...แต่ นั้นมานาคทั้งหลายมักใคร่อยู่บ่อนใดก็อยู่บ่ได้แล เงือก งูทั้ง หลายอันเป็นบริวารก็ไปนำทุกแห่ง ส่วนปัพพาสนาค (ปัพพารนาค) ก็ควัดไปอาศัยอยู่ภูเขาหลวง พญานาค พญางู โตบ่อยากอยู่ดอมนาคทั้งหลาย จึงควัดออกเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง เอิ้นว่าแม่น้ำเงือกงู ภายลุนมาจึงเอิ้นว่าแม่น้ำงึมเท่าทุกวันนี้แล...”หลี่ผี : “...ส่วนสุกขรนาคและหัตถีนาคอาศัยอยู่เวินสุก ส่วนว่าทะนะมุนละนาค ผู้อาศัยอยู่เมืองศรีโคตบองก็ควัดฮ่องจากนั้นลงไปฮอดเมืองอินทะปัตถะนคร จนฮอดแม่น้ำสมุทร ฮ่องนี้เอิ้นว่าน้ำหลี่ผีนั้นแล...”แม่น้ำมูน : “แม่ น้ำที่เป็นบ่อนอยู่ของทะนะมุนละนาคนั้นก็ไหลท่วมเป็นแกว่ง ดังนั้นทะนะมุนละนาคจึงควัดให้เป็นฮ่องฮอดเมืองกุลุนทนคร ฮ่องน้ำนี้มีชื่อว่า มุนละนที ตามชื่อพญานาคโตนั้นแล”
แม่น้ำซี : “ส่วน ซีวายนาค ก็ควัดแต่แม่น้ำมูนจนฮอดเมืองพญาสุรอุทกะผู้ปกครองหนองหานหลวง พร้อมทั้งเมืองใหญ่น้อยเขตนครนั้น และตลอดฮอดเมืองหนองหานน้อย ตราบเท่าฮอดเมืองกุลุนทนคร แต่นั้นมาน้ำนั้นจึงมีชื่อว่าซีวายนทีตามชื่อนาคโตนั้น...”
เรื่องราวที่หยิบยกมานี้เป็นส่วนหนึ่งในบั้นที่ 1 ของนิทานอุรังคธาตุ เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ลุ่มแม่น้ำโขงในวรรณกรรมโบราณ
ทีนี้ลองมาดูเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาในลุ่มแม่น้ำโขงจากวรรณกรรมโบราณเรื่องนี้ในบั้นที่ 2 “บั้นอุรังคะทาดนิทาน”
“...เมื่อ พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และได้เสด็จประทับอยู่ในวัดเชตวัน เมื่อ เวลาใกล้รุ่ง พระอานนท์เถระเจ้าผู้เป็นอุปัฏฐากได้จัดแจงไม้สีฟันและน้ำส่วยหน้า (น้ำล้าง หน้า) ถวายแก่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชำระเรียบร้อยแล้ว ทรงหลิง (รำลึก) เห็นพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ที่ผ่านมาในอดีต พระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นยังได้ก่อธาตุไว้ในดอยกัปปันนคีรี (หมายถึงภูกำพร้า) อยู่ใกล้เมืองศรีโคตบอง (หมายถึงเมืองนครพนม) นั้น เมื่อหลิงเห็นอย่างนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงผ้ากำพลสีแดง ซึ่งนางโคตมีได้ถวายเป็นทาน ผ้ากำพลผืนนี้มีประวัติเล่าไว้ว่า นางโคตมีเมื่อจะปลูกฝ้ายนางได้เอาคำ (ทองคำ) มาทำอ่าง (กระถางปลูก) แล้วจึงเอาแก่นจันทน์แดงพร้อมทั้งคันธรสทั้งมวล แล้วเอาคำเป็นฝุ่น (เอาทองคำเป็นปุ๋ย) ใส่ลงในอ่างคำ (กระถางทองคำ) นั้น ครั้นแล้วจึงเอาฝ้ายมาปลูกลงที่นั้น เหตุนั้นดอกฝ้ายจึงแดงดั่งแสงสุริยะกำลังขึ้น (เหนือขอบฟ้า)(แลนเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ชนิดครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่างตะกวด แลนคำคือแลนที่มีเกล็ดทองคำ)
เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงผ้าแล้วจึงทรงบาตรผินหน้าไปทางทิศตะวันออก พระอานนท์เถระเจ้าผู้เป็นปัจฉาสมณะลีลานำทาง (เสด็จตาม)อากาศ และได้เสด็จมาประทับที่ดอนคอนพะเนานั้นก่อน จึงมาประทับที่หนองคันแทเสื้อน้ำ
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงหลิงเห็นแลนคำ
บ้าน เมืองจักย้ายที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปมาเป็นหลายชื่อหลายเสียงแล... เหตุว่า พระตถาคตเห็นแลนแลบลิ้นสองแง่ม (แฉก) เป็นนิมิตรแล หากเมื่อใด หากท้าวพญาองค์ เป็นหน่อพุทธังกูรได้มาเสวยราชบ้านเมือง พระพุทธศาสนาของพระตถาคตก็จักรุ่งเรือง เหมือนดังพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่นั้นแล...”
ตัวหนึ่งแลบลิ้นอยู่ที่โพนจิกเวียงงัว ใต้ปากห้วยคุก เมื่อทรงเห็นดังนั้นแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงทำอาการแย้มหัวให้เห็นเป็นนิมิตร พระอานนท์เถระเจ้าเมื่อเห็นดังนั้นจึงทูลถามหาเหตุแย้มหัว พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูราอานนท์ พระตถาคตเห็นแลนคำตัวหนึ่งแลบลิ้นให้เป็นเหตุแล แล้วพระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสไว้ว่า เมืองสุวรรณภูมินั้นเป็นที่อยู่ของนาคทั้งหลาย มีสุวรรณนาคเป็นเค้า (เป็นต้น) พร้อมทั้งผีเสื้อบก (บางสำนวนว่าพร้อมทั้งผีเสื้อบกและผี เสื้อน้ำ...) ทั้งหลายแล ในอนาคตภายหน้า คนทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในเมืองอันนี้ แม้นว่ารู้แตกฉานในธรรมของตถาคตก็ดี จักเลือกหาผู้มีสัจจะซื่อสัตย์สุจริตนั้นยาก แท้แล
ตาม เส้นทางโขงสองฝั่ง เราจะพบ เห็นการทำลายป่าต้นน้ำ เพื่อใช้ ประโยชน์ในการเพาะปลูก และถือ ครองเป็นเจ้าของ พบเห็นทั่วไป เกือบทุกเขตน้ำแดนดินทั้ง 6 ประ เทศ รวมทั้งในจีนตอนใต้
บั้น อุรังคะทาดนิทานนี้ เป็นที่มาของวรรณกรรมพุทธทำนายที่ศิลปินรุ่นครบรอบ 25 พุทธศตวรรษนำมาขยายความในรูปกลอนลำ แพร่หลายขยายตัวตามสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงที่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลักในชีวิต ประจำวัน
เพราะ ว่าน้ำหนองแสขุ่นมัวเป็นตมหมด จึงพากันออกมาอยู่แม่น้ำและบนบก ในที่ต่างๆ กัน พวกผีทั้งหลายรู้ว่าพวกนาคจักมายาด (แย่งชิง) ชิงกินนำ ก็เฮ็ดให้นาคทั้งหลายตาย บางพ่องพญาทั้งหลายก็ตาย ตลอดฮอดเงือกงูก็ตายเช่นเดียวกัน แล้วจึงพากันออกหนีจากแคมหนองแสนั้น นาคและเงือกงูทั้งหลายอยู่ตามน้ำของ (โขง) ก็ยอมมาเป็นบริวารของพญานันทกังฮีสุวันนะนาค และก็พากันไปอาศัยอยู่ภูกู่เวียน ภูนั้นจึงได้ชื่อว่าภูกู่เวียน ส่วนพุทโธปาปนาคควัด (ขุด) แต่ภูกู่เวียนจนเกิดเป็นหนองใหญ่ มีชื่อว่าหนองบัวบานในบัดนี้...”
: ชีวายนาคขุดคลองมาด้วย

พระสุบินนิมิต 16 ประการ

พุทธทำนาย พระสุบินนิมิต 16 ประการ
พุทธทำนายในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนายว่า เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้น ในยุคสมัยที่ศาสนาได้เสื่อมลง ซึ่งหลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เนื้อความดังกล่าวปรากฏใน อรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้
1.โคอุสุภราชทั้งหลาย
2. ต้นไม้ทั้งหลาย
3. แม่โคทั้งหลาย
4.โคทั้งหลาย
5. ม้า
6. ถาดทอง ๑
7. สุนัขจิ้งจอก
8. หม้อน้ำ
9. สระโบกขรณี
10. ข้าวไม่สุก
11. แก่นจันทน์
12. น้ำเต้าจม
13. ศิลาลอย
14. เขียดหยอกงู
15. หงส์ทองล้อมกา
16. เสือกลัวแพะ

..........................................................................................
สุบินนิมิตข้อที่ 1 : ภัยธรรมชาติ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นโคล่ำสัน 4 ตัว วิ่งมาจากทิศทั้ง 4 มีลักษณะอาการเกรี้ยวกราด ประดุจจะชนกัน ด้วยความโกรธแค้นกันมานาน พอโคทั้ง 4 วิ่งเข้ามาใกล้กันแล้ว กลับถอยห่างออกจากกันไป ไม่ชนกันเลย
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น จะเกิดภัยธรรมชาติขึ้น คือ ฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล จะมีก้อนเมฆขนาดใหญ่ลอยมาจากทิศทั้ง 4 เหมือนกับฟ้าฝนจะตกลงมาในพื้นปฐพีอย่างหนัก เมื่อก้อนเมฆทั้ง 4 ลอยเข้ามาใกล้กันแล้ว ก็ลอยถอยห่างออกจากกันไป ไม่มีฝนตกลงมาในพื้นปฐพีเลย
สุบินนิมิตข้อที่ 2 : เยาวชนมั่วสุมเสพกาม
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นต้นไม้นานาชนิด ยังไม่ใหญ่โตพอที่จะมีดอกมีผล แต่ต้นไม้นั้นเต็มไปด้วยดอกและผล จนกิ่งก้านสาขาจะรอรับดอกผลนั้นไม่ไหว
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น กุมารีที่มีวัยยังไม่สมควรจะมีสามี แต่กุมารีนั้นอยากแต่งงานให้เป็นครอบครัว เพราะมีความกระสัน ใฝ่ฝันในราคะตัณหา ใจมีความกำเริบในกามคุณ มีความยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอย่างมาก มีความอยากในกามารมณ์แห่งความรักความใคร่ จึงได้แต่งงานกันเมื่ออายุยังวัยเด็ก ถูกต้องตามประเพณีนิยม บางคนมั่วสุมกัน ไม่มีความละอาย เยี่ยงสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมา ก็หาวิธีฆ่าลูกในท้องของตัวเอง จึงเป็นบาปกรรมต่อไปในภายภาคหน้ายิ่งนัก เด็กบางคน ยังมีพ่อแม่เลี้ยงดูอยู่บ้าง เด็กบางคนพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ไหว จึงได้ปล่อยปละละเลยให้หาขอทานกินตามลำพัง เป็นเด็กเร่ร่อนจรจัด ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีตระกูล ไม่มีการศึกษา ไม่มีที่พึ่งพาอาศัยในบ้านเรือน ค่ำที่ไหนนอนที่นั่น อดบ้าง อิ่มบ้าง น่าเวทนายิ่งนัก เหตุการณ์อย่างนี้ จะมีในภายภาคหน้าโน้นใครได้ไปเกิดในยุคนั้น สมัยนั้น ก็จะต้องเจอเหตุการณ์อย่างนี้แล
สุบินนิมิตข้อที่ 3 : พ่อแม่ต้องเอาใจลูก
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิต เห็นฝูงพ่อแม่โคทั้งหลายพากันดูดกิน นมลูกของตัวเอง
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น พ่อแม่ทั้งหลาย จะได้อาศัยกินหยาดเหงื่อแรงงานของลูก อาศัยข้าวปลาอาหารเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่ลูกแสวงหามาเลี้ยงดู พร้อมทั้งเงินทอง ก็ต้องแบ่งปันให้พ่อแม่ได้จับจ่ายใช้สอย ในยุคนั้นสมัยนั้น พ่อแม่ก็ต้องเอาอกเอาใจลูกยิ่งนัก ต้องประจบประแจงปะเหลาะลูกอยู่เสมอ ถ้าพูดต่อลูกดีๆ ลูกก็แบ่งปันเงินทองให้ได้ใช้บ้าง ถ้าพ่อแม่พูดไม่ดี ก็จะไม่ได้รับส่วนแบ่งอะไรจากลูกนี้เลย เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น
สุบินนิมิตข้อที่ 4 : ผู้อ่อนประสพการณ์บริหารประเทศ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นฝูงคนทั้งหลายพากันจับลูกโคตัวเล็กๆ เข้ามาเทียมแอกเพื่อลากล้อเกวียน เมื่อลากไปไม่ไหว ก็จะพากันเฆี่ยนตี
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนทั้งหลายจะพากันนิยมเอาเด็กที่จบปริญญามาใหม่ๆ ไปรับราชการแผ่นดิน บริหารการพัฒนาประเทศชาติ บ้านเมือง อันเป็นงานที่หนัก ถึงจะมีความรู้อยู่ก็ตาม แต่เด็กนั้นยังขาดประสบการณ์ ขาดความสามารถ ขาดความรอบรู้ ขาดความรอบคอบ ในการบริหารเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม จึงเกิดความผิดพลาด ล่าช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์ ขาดความรับผิดชอบ ขาดดุลการค้า ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ทำให้ถ่วงความเจริญของประเทศชาติ ทำให้คนดุด่าว่ากล่าวนานาประการ เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

สุบินนิมิตข้อที่ 5 : ความไม่เป็นธรรมในการตัดสินความ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นม้าตัวเดียว หัวเดียว มีสองปาก กินหญ้าได้สองทาง กินเท่าไรก็ไม่มีความอิ่มพอ
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนผู้มีหน้าที่ตัดสินคดีความต่างๆ จะใช้อุบายวิธีอันมีเล่ห์เหลี่ยม เพื่อเอาเงินจากคู่กรณีทั้งสอง เอาทั้งฝ่ายโจทก์ เอาทั้งฝ่ายจำเลย เพื่อเป็นค่าจ้างรางวัลในการวินิจฉัยคดีความบ้าง เอาค่านั้นบ้าง เอาค่านี้บ้าง ถ้าไม่ได้ตามความเรียกร้อง ก็จะไม่รับเรื่องที่มาร้องเรียน ต้องการเท่าไรก็เรียกร้องตามใจชอบ ถ้าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็เรียกร้องเอาน้อย ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ก็จะเรียกร้องเอาเงินอย่างเต็มที่ แล้วจึงจะมาวินิจฉัยคดี ตัดสินต่อไป เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีภายภาคหน้าทั่วโลก

สุบินนิมิตข้อที่ 6 : พระธรรมคำสอนถูกเหยียบย่ำ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นมีหมู่มนุษย์ ถือถาดทองคำอันมีค่ามหาศาล ไปวางไว้สุนัขจิ้งจอกถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะใส่
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น กลุ่มคนที่โง่เขลาปัญญาทราม จะเอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ไปให้ลัทธิต่างๆ เหยียบย่ำทำลาย แล้วถ่ายทอดลัทธิของเขา เอาคำสอนของเขาที่สกปรกโสโครกด้วยกิเลสตัณหา มากลบเกลื่อนในคำสอนของเรา แล้วดัดแปลงแก้ไขคำสอนของเรา ให้เข้ากันกับลัทธิของเขา แล้วประกาศว่า คำสอนของเราตถาคต เป็นส่วนหนึ่งในลัทธิของเขา ให้คนทั้งหลายมีความเข้าใจผิดว่า คำสอนของเราเข้ากันได้กับของเขา ถือว่าเป็นอันเดียวกัน ลัทธิเหล่านั้นก็จะไม่รู้คุณค่าของคำสอนของเราตถาคตแต่อย่างใด มนุษย์อย่างนี้ก็จะมีในเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และจะมีลัทธิต่างๆ มาอวดอ้างว่าเป็นศาสนาเป็นจำนวนมาก

สุบินนิมิตข้อที่ 7 : ผู้มีใจต่ำแอบอ้างสถาบันกษัตริย์
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นชายคนหนึ่ง เอาหนังสือมานั่งฟั่นให้เป็นเชือก อยู่บนม้านั่ง แล้วมีสุนัขจิ้งจอกคอยกัดกินอยู่ เมื่อฟั่นเชือกเสร็จ สุนัขจิ้งจอกก็กินหมดทันที
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนผู้มีจิตใจต่ำ ปัญญาทราม จะได้รับสมมุติ ยกย่องขึ้นเป็นผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ นั่งทำงานอยู่ในพระราชสำนักระดับสูง อาศัยอำนาจ พระบารมีของพระมหากษัตริย์ ว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์อยู่เนืองนิตย์ โดยมีความโง่เขลาเบาปัญญา พูดจาขาดความสำรวม กล่าวเปิดเผยความลับต่างๆ ในพระราชสำนัก ให้หมู่ประชาชนได้รู้ คนลัทธิต่างๆ ที่ไม่มีความหวังดีต่อพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว ได้ยินเข้า จึงนำเอาไปตีแผ่ โฆษณาให้คนอื่นคลายศรัทธา หมดความเคารพในวงศ์พระมหากษัตริย์ และหมดความเชื่อถือในพระราชวงศ์ต่อไป เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้นคนที่ไม่มีความหวังดีต่อพระมหากษัตริย์ จะเป็นหนอนบ่อนไส้เสียเอง

สุบินนิมิตข้อที่ 8 : ทำบุญเลือกหน้า
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นโอ่งน้ำใหญ่และโอ่งน้ำเล็กตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน แล้มีทคนทั้งหลาย แย่งกันตักน้ำ เทใส่โอ่งน้ำใหญ่ จนล้นเหลือ ส่วนโอ่งน้ำเล็ก ไม่มีใครตักน้ำใส่เลย
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น จะมีคนทำบุญโดยเลือกหน้า พระองค์ที่มีอายุมาก พรรษามาก มียศถาบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งต่างๆ จะมีคนให้ความสนใจจะพากันถวายเครื่องไทยทานเป็นจำนวนมาก ล้วนแล้วแต่ของที่ดีๆ มีค่า มีราคา ข้าวปลาอาหาร ปิ่นโตเถาขนาดใหญ่ ตั้งต่อหน้า จนเหลือเฟือ ส่วนพระเล็กเณรน้อยนั่งอยู่รอบข้าง ไม่มีใครคิดถวายอะไรเลย มีแต่งนั่งดูตาปริบๆ เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น


สุบินนิมิตข้อที่ 9 : คอรัปชั่นในแผ่นดิน
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำรอบนอกใส่สะอาดเยือกเย็น ส่วนน้ำในกลางสระขุ่นข้นเป็นโคลนตม แล้วมีสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย พากันแย่งชิงกินน้ำในสระที่ขุ่นข้นเป็นตมนั้น ส่วนน้ำรอบนอกที่ใสสะอาดเยือกเย็น ไม่มีสัตว์ตัวใดอยากจะกินเลย
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนจะมีความโลภ ความอยาก ไม่อิ่มพอในเงินทองมากขึ้น การงานที่สะอาด บริสุทธิ์ และสุจริต ไม่อยากทำ ถือว่า เงินเดือนน้อย ร่ำรวยช้า ไม่พอกับความโลภความอยากของตัวเอง จึงได้ลงสมัครตัวเข้ามาในสภาสันนิบาต เพื่อจะมีอำนาจในการบริหารงานและบริหารเงินของแผ่นดินได้อย่างเต็มที่ ใช้อุบายวิธี อันมีเล่ห์เหลี่ยม ทุจริต คิดมิชอบ ในเงินของแผ่นดิน มือใครยาว สาวได้สาวเอา จะได้เงินมาด้วยวิธีสกปรกอย่างไร จะไม่มีความละอายแก่ใจตัวเองเลย ขอให้ได้เงินก้อนโตมา ก็เป็นที่พอใจ ลักษณะนี้จะมีกันทั่วโลก มีทั่วทุกประเทศเขตแดน และจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น จะเกิดความยุ่งเหยิงในสภาสันนิบาตของประเทศนั้นๆ เพราะการแบ่งสันตำแหน่งในการดูดกินเงินภายในประเทศนั้น ไม่ลงตัว ผู้นั้นจะได้กินน้อย ผู้นั้นจะได้กินมาก ผู้นั้นจะไม่ได้กินอะไรเลย สุดท้ายก็เกิดงัดข้อกันเอง เหตุการณ์อย่างนี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น
สุบินนิมิตข้อที่ 10 : สงสัยในมรรคผลนิพพาน
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นหม้อหุงข้าวหม้อเดียวมีความแตกต่างกัน ข้าวในหม้อซีกหนึ่งสุก ซีกหนึ่งดิบๆ สุกๆ อีกซีกหนึ่งข้าวไม่สุกเลย
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนในโลกนี้จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป กลุ่มหนึ่งจะมีความเชื่อว่า เราตถาคตเป็นที่พึ่งที่เคารพจริง พระธรรมคำสอนของเราตถาคตเป็นสวากขาตธรรม เมื่อนำไปปฏิบัติให้ถึงที่สุดแล้วจะพ้นจากทุกข์ได้จริง เชื่อว่ามีมรรคผลนิพพานจริง นรกสวรรค์มีจริง กรรมดีกรรมชั่วให้ผลแก่บุคคลที่กระทำจริง ตายแล้วเมื่อยังมีกิเลสตัณหาอยู่เชื่อว่าได้มาเกิดใหม่ อีกกลุ่มหนึ่งยังไม่แน่ใจว่า มรรคผลนิพพานในยุคนี้ สมัยนี้ มีจริงหรือไม่ เพราะพระพุทธศาสนาได้ล่วงเลยไปนาน พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มีความสมบูรณ์อยู่หรือไม่ พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ในยุคนี้มีจริงหรือไม่ มีแต่ความสงสัยลังเล ไม่แน่ใจ อีกกลุ่มหนึ่งปฏิเสธว่า มรรคผลนิพพานไม่มีนรกสวรรค์ไม่มี ทำดี ทำชั่วไม่ให้ผลในภายหน้าชาติหน้า ตายแล้วไม่ได้เกิดใหม่แต่อย่างใด ในช่วงปลายพุทธศาสนาโน้น คนจะเกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดมากขึ้นๆ ดังนี้
สุบินนิมิตข้อที่ 11 : นำพระธรรมมาขายกิน
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นคนพวกหนึ่ง เอาแก่นจันทร์แดงที่มีค่าราคาแพง ไปแลกกับนมเปรี้ยวหม้อเดียว ซึ่งไม่สมค่าราคากันเลย
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนพวกหนึ่ง จะเอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตรา จะเขียนเป็นตำราเพื่อออกจำหน่าย ขายกิน หารายได้เพื่อเลี้ยงชีวิต เอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ทำเป็นการแสดง แต่งกลอน เพื่อผลประโยชน์ในกัณฑ์เทศน์ แสดงธรรมเพื่อเห็นแก่ค่าจ้างรางวัล อันเป็นอามิส ไม่สมค่าราคากันเลย สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในช่วงปลายศาสนาของเราตถาคตโน้น
สุบินนิมิตข้อที่ 12 : คนดีถูกขัดขวางรังแก
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นน้ำเต้าแห้งเปล่ากลวงใน ตามธรรมดาแล้วจะลอยอยู่บนน้ำ แต่น้ำเต้าเปล่านั้น กลับดิ่งจมลงในน้ำนั้นเสีย
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนดี มีความรู้ดี มีสติปัญญาดี มีความรอบรู้ มีความฉลาด มีความสามารถ มีทั้งพระและฆราวาส จะไม่ได้รับความยกย่องเชิดชูในสังคม จะถูกขัดขวางจากกลุ่มคนพาลสันดานชั่วอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นฆราวาส ก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานในการบริหารแระเทศชาติบ้านเมือง คนมีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีโอกาสได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาสันนิบาต หรือได้รับเลือกเข้ามาแล้ว ก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างเต็มที่ จะมีกลุ่มทุจริตคิดมิชอบ เพื่อหวังผลประโยชน์ต่างๆ เบียดสีให้ตกเก้าอี้ไป ในสายตาของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ จะมองเห็นคนดีๆ ว่าเป็นตัวกาลกิณีของเขา ไม่ยอมที่จะให้เข้าไปรู้เห็นในความทุจริตคิดมิชอบของตน คนดีๆ จึงไม่มีในสังคมนี้เลย ถ้าเป็นนักบวช ก็เป็นในลักษณะนี้เช่นกันท่านองค์ใดมีใจบริสุทธิ์ผุดผ่องในพระธรรมวินัย มีความรู้ดี ปฏิบัติชอบต่อมรรคผลนิพพาน ท่านเหล่านั้นจะไม่มีใครให้ความสนใจ ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากฟังธรรม จะมองเห็นว่าเป็นพระคร่ำครึล้าสมัยไม่เกิดศรัทธา ไม่อยู่ในสายตาของเขาแต่อย่างใด เพราะใจไม่มีความเคารพเชื่อถือในท่านเหล่านั้น แม้แต่จะแบ่งปันปัจจัยทั้งสี่ ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ ก็ไม่เต็มใจ ถึงจะถวายให้ ก็นิดหน่อยพอเป็นพิธีเท่านั้น ท่านเหล่านี้จึงมีชีวิตอยู่ด้วยความลำบาก ใครก็ไม่อยากบวชเป็นพระในลักษณะนี้ ในที่สุด พระดีๆ มีคุณธรรม ก็จะค่อยหมดไปๆ ในศาสนาของเราตถาคต เรื่องเหล่านี้ จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น
สุบินนิมิตข้อที่ 13 : คนชั่วเรืองอำนาจ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นก้อนศิลาแท่งทึบ ขนาดใหญ่เท่าเรือ ลอยอยู่บนผิวน้ำเหมือนกับเรือสำเภาเปล่า ตามธรรมดาแล้ว ก้อนศิลาย่อมจมอยู่ใต้น้ำ แต่ก้อนศิลานั้นกลับลอยอยู่บนผิวน้ำ
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนพาลสันดานชั่ว คนทุศีล คนทุธรรม คนขี้โกง คนหัวประจบสอพลอ คนทุจริตคิดมิชอบ คนไม่มีความละอาย จะได้เป็นที่ยกย่องเชิดชูในสังคม เป็นผู้มีบทบาท มีอำนาจ มีชื่อเสียงเกียรติยศ มีพวกพ้องบริวารมาก ถ้าเป็นฆราวาสก็จะมีแต่ผู้เชิดหน้าชูตา ไปไหนมาไหนมีแต่คนเคารพยำเกรง มีฝูงชนให้การต้อนรับเอาใจ เรียกว่าเป็นกระจกบานใหญ่ ให้แสงสะท้อนเงาของประเทศนั้นๆ สังคมของประเทศนั้นมีความเจริญหรือเสื่อมลง ก็ให้ดูกระจกบานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสภา จะเป็นสื่อบอกประตู้หน้าต่างของสังคมได้เป็นอย่างดี ประเทศใดมีตัวแทนในลักษณะใด จะรู้ได้ว่าผู้ที่เลือกเขาเข้ามา ก็เป็นลักษณะอย่างนั้น เขาจะเลือกเอาเกรดเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน ถ้าเป็นนักบวช นักพรต ก็เป็นลักษณะนี้ศาสนาจะมีความเจริญขึ้นหรือเสื่อมลง ก็ขึ้นอยู่กับบริษัททั้งสี่ ลำพังพระอย่างเดียว จะโดดเด่นขึ้นในท่ามกลางของสังคมนั้นไม่ได้ พระที่จะมีชื่อเสียงโด่งดัง ก็เพราะญาติโยมนำไปออกข่าวโฆษณา ว่าองค์นั้นมีความขลังอย่างนั้น องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ มีอภินิหาร ไปทางไหนก็นำไปออกข่าว องค์ไหนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ องค์ไหนเป็นพระอริยเจ้า ฆราวาสจะเป็นผู้คาดการณ์ให้เอง ในยุคสมัยนั้น พระอรหันต์จะเกิดจากลูกศิษย์ยกให้เอง ศิษย์แต่ละครู ศิษย์แต่ละสำนัก จะผลิตจะกำหนดรูปแบบอาจารย์ของตัวเอง ให้เป็นพระอรหันต์ขึ้น เรื่องข้อวัตรปฏิบัติของอาจารย์ มีความเคร่งครัดอย่างไร ก็นำไปโฆษณาอย่างหยดย้อย นี่เองก้อนศิลาแท่งทึงจึงได้ลอยอยู่บนผิวน้ำมีความโดดเด่นเห็นได้อย่างชัดเจน จึงเป็นธุรกิจในคราบผ้ากาสาวพัสตร์บังหน้า เอาศาสนามาแอบอ้างหากิน เมื่อช่วงปลายศาสนาโน้น คนจะหมดความเลื่อมใสในศาสนาของเราตถาคต คนที่มีศรัทธาเบาบางก็จะค่อยจืดจางไป เพราะเห็นความชั่วร้ายในพระยุคนั้นๆ ผู้ที่มีปัญญาดี มีความมั่นคง มีเหตุมีผล เขาจะแสวงหาพระที่เป็นพระได้อย่างถูกต้อง เมื่อปลายศาสนาโน้น เรื่องอย่างนี้จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน
สุบินนิมิตข้อที่ 14 : นักบวชหลงลาภยศ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นนางเขียดน้อยไล่กินงูเห่าตัวมหึมา เมื่อไล่ทันก็กระโดดคาบกลืนกินทันที
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น นักบวชองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีคำพูดเป็นวาทศิลป์ เคยแผ่พังพานในการแสดงธรรม มีบทบาทในสังคม มีประชาชนให้ความเคารพเชื่อถือเป็นอย่างมาก ได้รับลาภ ยศ สรรเสริญจนลืมตัว ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา รักษาใจไม่มีความฉลาด จึงขาดในการสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ปล่อยให้ไปสัมผัสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงทำให้ใจเกิดอัฏฐารมณ์ คือ อารมณ์แห่งความรักความใคร่ในกามคุณ มีความกำหนัดย้อมใจ นางเขียดน้อย (สตรี) ได้มองเห็นช่องโหว่ จึงได้วางแผนหว่านล้อมด้วยมารยานานาประการ มีคำหวานอันหยดย้อยเหมือนน้ำอ้อยน้ำตาล ชโลมหัวใจงูเห่าจนหน้ามือตาลาย หายใจไม่เต็มปอดอีนางเขียดน้อยได้จังหวะก็กระโดดคาบกลืนกินทันทีเรียบร้อยไป
สุบินนิมิตข้อที่ 15 : แวดล้อมด้วยพระทุศีล
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นหงส์สีทองทั้งหลาย ไปห้อมล้อมอีกา อีกาไปไหน ฝูงหงส์สีทองทั้งหลาย ก็ห้อมล้อมเป็นบริวาร
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น พระเณรผู้บวชใหม่ ใจยังมีความบริสุทธิ์อยู่ในศีลในธรรม จะห้อมล้อมพระที่ทุศีลทุธรรม จะยกให้เป็นครูอาจารย์เพื่อเคารพกราบไหว้อย่างเหลือเฟือ อีกาฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมในการหาอาหารฉันใด พระทุศีลทุธรรมเหล่านี้ก็ฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมในการหาลาภสักการะได้ฉันนั้น และแบ่งลาภสักการะให้แก่หงส์เล็กหงส์ใหญ่ได้อย่างทั่วถึง ฝูงหงส์ทั้งหลาย จึงให้ความสำคัญในอีกาเป็นอย่างมาก ในยุคต่อไปช่วงปลายศาสนาโน้น การเปลี่ยนไปในสังคมของสมณะก็จะเป็นอย่างนี้ พระที่ทุศีลทุธรรมจะเพิ่มมากขึ้น พระเณรที่ขาดการศึกษา จะไม่รู้ธรรมวินัย ไม่เข้าใจว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรผิดศีล อะไรผิดธรรม จะไม่รู้หน้าที่ของตน เพียงบวชกันตามประเพณีเท่านั้น เหตุการณ์อย่างนี้ ก็จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น
สุบินนิมิตข้อที่ 16 : โค่นล้มราชาธิปไตย
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นฝูงแพะทั้งหลายพากันไล่จับเสือมาเป็นอาหาร พากันเคี้ยวกินอยู่กรอบๆ พระ
พุทธเจ้าให้คำทำนายว่า อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น ประชาชนทั้งหลาย ไม่พอใจการปกครองแบบราชาธิปไตย จึงพากันจับกลุ่มเพื่อเรียกร้องต่อต้านการปกครองของพระราชา ให้ได้มาซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้พระราชลดบทบาท ลดอำนาจลง อยู่ในการปกครองภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน เมื่อพระราชาไม่ยินยอม ก็พากันปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจ ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ถ้าพระราชชาองค์ใดขัดขืน ก็ลบล้างพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นประมุขของประเทศนั้นๆ พร้อมด้วยพระราชวงศ์ ให้หมดไปจากประเทศชาตินั้นเสีย มีบางประเทศที่พระราชยินยอมตามคำขอร้องของประชาชน ยอมลงจากอำนาจเดิมคือราชาธิปไตย ประชาราษฎรในบ้านนั้นเมืองนั้น ก็จะพากันให้ความเคารพเชื่อถือในองค์พระมหากษัตริย์ พากันยกย่องเชิดชูในพระราชวงศ์นั้นจนสุดชีวิต เพื่อให้เป็นร่มโพธิร่มไทร เป็นสมมุติเทพ กราบไหว้เทิดทูน ให้เป็นศูนย์รวมน้ำใจของประเทศนั้นๆ ตลอดไปสินกาลนาน เหตุการณ์อย่างนี้ ก็จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น


Sunday, 3 June 2012

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ 1.สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง 2.ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม 3.วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร 4.ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ 5.ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ 6.สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ 7.อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8) โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ หมายถึง ธรรมหรือข้อปฏิบัติเพื่อยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ กล่าวคือ ถึงที่สุดแห่ง การดับทุกข์หรือการตรัสรู้ อันมี ๗ ประการ ซึ่งเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงามก็ดำเนินไปตามหลักอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบันธรรม อันเป็นไปดังนี้ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ ความระลึกได้บ่อยๆในกิจ(สิ่งที่ควร)ที่ทำมาไว้แล้ว ความไม่เผลอเรอ ความมีสติกํากับอยู่ในกิจ หรืองาน หรือธรรมที่ปฏิบัติ ดังเช่น การปฏิบัติธรรมวิจัย, การมีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนา, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันจิต ที่หมายถึงจิตตสังขาร เช่นความคิดปรุงแต่งคืออาการของจิตที่ฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันธรรม อันสติจักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ดังเช่น สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นการมีสติในกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอานิสงส์ที่เนื่องสัมพันธ์กับโพชฌงค์ ๗ จึงเป็นเครื่องสนับสนุน(ปัจจัย)ให้มีสติไปน้อมกระทำการธัมมวิจยะ ๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ธรรมวิจยะ) หรือธรรมวิจัย ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม การพิจารณาในธรรม อันครอบคลุมถึงการเลือกเฟ้นธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ถูกจริต และการค้นคว้า การพิจารณา การไตร่ตรองด้วยปัญญา หรือการโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องอย่างแท้จริง อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในธรรม(สภาวธรรมชาติ โดยเฉพาะของทุกข์ ก็เพื่อใช้ในการดับทุกข์) กล่าวคือธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อมีสติรู้เท่าทัน พร้อมทั้งวิจัยค้นคว้าพิจารณาในกาย เวทนา จิต ธรรม ที่สติเท่าทันนั้นๆ ย่อมยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริงในสภาวธรรมหรือธรรมต่างๆขึ้นเป็นลำดับ จึงไม่ได้เห็นเป็นไปตามความอยาก,ความเชื่อ การอ่าน การฟังแต่อย่างเดียวดังเช่นแต่กาลก่อน, ดังเช่น การเข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท พระไตรลักษณ์ อริยสัจ๔ ขันธ์๕ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ. เมื่อเกิดความเข้าใจจากการธัมมวิจยะ ปัญญาย่อมสว่างกระจ่าง จึงย่อมรู้คุณ จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมให้เกิดวิริยะ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ความเพียร ท่านหมายถึงความเข้มแข็ง ความพยายาม บากบั่น สู้กิจ ไม่ย่อหย่อนท้อแท้ต่อการปฏิบัติและการพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ) ตลอดจนการเพียรยกจิตไม่ให้หดหู่ ท้อแท้, เมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมจากการพิจารณาธรรม ย่อมเป็นสุข เห็นประโยชน์ในการปฏิบัติ อุปาทานทุกข์น้อยลงหรือเบาบางลง จึงย่อมทำให้เกิดความเพียรขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อเห็นคุณย่อมปฏิบัติด้วยความเพียร เมื่อปฏิบัติด้วยความเพียร อย่างแน่วแน่ในระยะหนึ่ง ไม่ซัดส่ายสอดแส่ ย่อมเป็นปัจจัยครื่องสนับสนุนให้เกิดปีติ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อมีสติพิจารณาในธรรม ด้วยความเพียรย่อมเกิดความอิ่มเอิบ อิ่มใจ ความดื่มดํ่า ใจฟู ความแช่มชื่น ความปลาบปลื้ม อันปราศจากอามิส(ไม่เจือด้วยกิเลส)ขึ้นเป็นรรมดา (จึงมิได้หมายถึง ปีติ ชนิดมีอามิส ความอิ่มเอิบ อันเกิดแต่การปฏิบัติฌานสมาธิอันมีองค์ฌาน ชนิดที่เกิดแต่การติดเพลิน,ติดสุข ทั้งโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี อันมักแสดงออกโดยอาการจิตส่งใน เพราะปีติชนิดนี้ยังให้โทษในภายหน้าแต่อย่างเดียว)เมื่อวิริยะ อย่างแน่วแน่ในธรรมที่พิจารณา ไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปปรุงแต่งในสิ่งอื่นๆได้ระยะหนึ่ง ย่อมบังเกิดอาการปีติความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นขึ้นนั้นๆ ซึ่งเมื่อความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นจางคลายไป ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนให้เกิดปัสสัทธิ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกายและความสงบใจ ความผ่อนคลายกายใจ อันเกิดแต่ปีติสุขที่ระงับไป,เมื่อปีติความแช่มชื่น อิ่มเอิบแช่มชื่น อันเกิดแต่ความเข้าใจกระจ่างสว่างในธรรมสงบระงับลงแล้ว ย่อมยังผลให้เกิดการผ่อนคลาย กล่าวคือ เกิดความสงบกายสงบใจตามมา จึงไม่เครียด ไม่กระวนกระวายกายใจโปร่งเบาสบาย กล่าวคือ เมื่อกายสงบระงับย่อมเกิดความสุข จึงเกิดการเสวยสุข เมื่อกายสงบระงับแล้วย่อมเป็นสุข เมื่อเป็นสุขแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมนำให้เกิดสมาธิสัมโพชฌงค์จิตตั้งมั่น ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความมีจิตตั้งมั่น เพราะเมื่อกายสงบ ย่อมพบสุข เมื่อพบสุข จิตย่อมตั้งมั่น เพราะย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปฟุ้งซ่าน หรือปรุงแต่ง จึงมีจิตหรือสติตั้งมั่นอยู่กับกิจหรืองานที่ทํา อันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ นั่นเอง เช่น มีสติอย่างต่อเนื่องกับธรรมที่พิจารณา หรือการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องไม่ซัดส่าย ไม่วอกแวก ดังเช่น มีสติเห็นเวทนา หรือมีสติระลึกรู้เท่าทันอาการของจิต เช่นรู้เท่าทันอาการปรุงแต่งหรือรู้เท่าทันว่าฟุ้งซ่านไปภายนอกอยู่เนืองๆและสมาธินั้นยังเป็นกําลังแห่งจิต ที่ทําให้จิตเข้มแข็งขึ้น ก็เนื่องเพราะความไม่ซัดส่ายไปสอดแส่ให้เกิดทุกข์ในเรื่องอื่นๆอีกด้วยนั่นเอง จึงย่อมยังให้การปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นเป็นไปอย่างมีกําลัง ดังนั้นสมาธิในสัมโพชฌงค์จึงหมายถึง การมีจิตตั้งมั่น อยู่ได้อย่างต่อเนื่องหรือแนบแน่นในการปฏิบัตนั่นเอง เป็นจิตชนิดที่มีสติปราดเปรียวว่องไว ที่เมื่อระลึกรู้เท่าทันในสิ่งใดแล้ว ก็ปล่อยวางโดยการ อุเบกขาในสัมโพชฌงค์องค์สุดท้าย สมาธิในโพชฌงค์ จึงเป็นสมาธิเพื่อการวิปัสสนา ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการปฏิบัติสมถสมาธิ ที่มีสติแนบแน่นหรือแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง โดยเฉพาะเท่านั้น อย่างไม่ปล่อยวาง ที่เมื่อสติจางคลายหรือขาดไปแล้ว มีองค์ฌานหรือสมาธิเป็นผลให้เกิดความสุขสงบสบายขึ้น แต่ย่อมเป็นไปในขณะหรือระยะหนึ่งๆเท่านั้น จึงยังจัดว่าเป็นเพียงวิกขัมภนวิมุตติ จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า สมถสมาธิหรือฌานที่ปฏิบัติกันทั่วไป อันมีมาแต่โบราณนั้น ในทางพุทธศาสนาแล้วก็เพื่อเป็นไป เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิในขั้นวิปัสสนาต่อๆไปเท่านั้น กล่าวคือ สมาธิในโพชฌงค์คือสมาธิชนิดสัมมาสมาธิในองค์มรรคที่มีจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย อย่างต่อเนื่อง เมื่อจิตตั้งมั่น แน่วแน่อย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างเนืองๆ ย่อมประกอบด้วยกำลัง และยังประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเป็นไปตามจริงตามที่ได้สั่งสมมา จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนในการน้อมนำไปในการอุเบกขา ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ การวางใจเป็นกลาง วางทีเฉย รู้ตามความจริงหรือยอมรับตามความจริง แล้วละเสียโดยการตั้งมั่นวางเฉย หรือปล่อยวางโดยอาศัยกำลังของจิตอันเกิดแต่สติ,สมาธิและปัญญานั่นเอง วางเฉย ที่หมายถึง รู้สึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดาไม่ต้องฝืน แต่ตั้งใจกระทำหรือปฏิบัติ ด้วยการไม่(คิดนึก)ปรุงแต่ง ไม่สอดแส่ไปในเรื่องหรือกิจนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย) กล่าวคือไม่คิดเอนเอียง ไม่สอดแส่ ไม่ซัดส่าย ไม่ยึดมั่นในสิ่งใด เช่น ไม่ไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิต ในเวทนา(ความรู้สึกรับรู้เมื่อกระทบสัมผัสอันอาจชอบใจหรือไม่ชอบใจ) หรือสังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น จิตฟุ้งซ่าน,จิตมีโทสะ ฯ. ถ้อยคิดหรือความคิดนึกที่เกิดขึ้น เช่น การคิดปรุงแต่งหรือการเอนเอียงไปคิดเห็นว่าสิ่งนั้นถูกหรือสิ่งนั้นผิด, ไม่ปรุงแต่งทั้งในบุญหรือบาป,ไม่ปรุงแต่งไปทั้งดีหรือชั่ว, ไม่ปรุงแต่งว่าเราถูกหรือเขาผิด, เกิดความรู้สึกอย่างไรก็เกิดอย่างนั้น ไม่เป็นไร เป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องเป็นธรรมดา เพียงวางจิตหรือสติหรือความคิดให้เป็นกลางด้วยการกระทำ วางทีเฉย เพราะการที่ไปปรุงแต่งแม้จะเป็นดีหรือสิ่งที่ถูกก็เป็นทุกข์ (แยกแยะให้เข้าใจความหมายถูกต้องด้วยมิได้หมายถึงไม่ทําความดี ไม่ทําบุญ แต่หมายถึงการไปคิดนึกปรุงแต่ง แล้วยึดว่าถูก ว่าดี อย่างนั้น อย่างนี้ อันล้วนยังให้เกิดเวทนา คือความคิดขึ้นใหม่ๆอันย่อมเกิดเวทนาขึ้นอีกทั้งสิ้น อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อุปาทาน ชาติอันเป็นทุกข์ขึ้นในที่สุด) ดังเช่น เรานั้นเป็นคนดีมากๆ ช่วยเหลือเกื้อหนุนบุคคลคนหนึ่งอย่างมากๆ เป็นความดีชนิดบริสุทธิ์ใจ แต่แล้วบุคคลคนนั้นกลับกระทำการสิ่งที่ไม่ดีต่างๆนาๆต่อเรา เพียงแต่เราคิดปรุงแต่งหรือกระทำโดยอาการพิรี้พิไรรำพันโอดครวญในความดีของเราหรือความชั่วของเขาในเรื่องนี้ขึ้นมา ที่แม้เป็นจริงอย่างที่สุดก็ตาม ท่านก็ย่อมต้องเสวยทุกข์ขึ้นทันที ความดีที่เรากระทำอยู่นั้นเราย่อมได้รับอยู่แล้วเพียงแต่อาจโดยไม่รู้ตัว แต่เมื่อใดที่เราไปคิดยึดมั่นในความดีด้วยกิเลส คือไปอยากให้ความดีนั้นตอบแทน ก็เกิดอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทันที ด้วยเหตุฉะนี้ พระอริยเจ้าท่านจึงมีคำกล่าวอยู่เนืองๆว่า ไม่ยึดดี ไม่ยึดชั่ว เป็นกลางวางทีเฉย อุเบกขา จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการเจตนาขึ้นเท่านั้น จึงต้องหมั่นสั่งสมอบรมปฏิบัติ ไม่ใช่การวางใจเป็นกลางชนิดที่ต้องทําใจเป็นกลางเฉยๆ ชนิดจะไม่ให้รู้สึกรู้สาต่อทุกขเวทนา,สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด กล่าวคือ อยากจะไม่ให้มีทุกขเวทนาทางกายหรือทางใจใดๆมากระทบได้ เพราะยังไม่รู้ไม่เข้าใจด้วยอวิชชา อันอาจกระทําได้แค่เป็นครั้งคราวด้วยฌาน,สมาธิเท่านั้น อันยังเป็นเพียงโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์)เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้)และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่) เพราะตามความเป็นจริงแล้วทุกขเวทนานั้นยังมีอยู่เป็นธรรมดาแม้ในองค์พระอริยเจ้าแต่ท่านเหล่านี้ไม่มีอุปาทานทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕, จึงต้องเป็นการปฏิบัติด้วยความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วว่าเป็นโทษเป็นทุกข์ แล้วจึงปล่อยวางหรือทําใจเป็นอุเบกขา กล่าวคือรู้ตามความเป็นจริงแล้ว รู้สึก(เวทนา)อย่างไร ก็เป็นเยี่ยงนั้นนั่นเอง แต่ต้องเข้มแข็ง ไม่คิดนึกปรุงแต่งด้วยการไม่เอนเอียงหรือแทรกแซงไปด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆในเรื่องนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย), อุเบกขาจึงไม่ใช่อทุกขมสุขเวทนาหรือที่บางทีเรียกกันว่าอุเบกขาเวทนาอันเป็นความรู้สึกเฉยๆ แล้วไปยึดไปเข้าใจผิดว่าเป็นการอุเบกขา,อันอุเบกขาเวทนานั้นเป็นสภาวธรรมที่เกิดการรับรู้ขึ้นจากการผัสสะเป็นธรรมดา กล่าวคือเป็นไปโดยสภาวธรรมชาติ อย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรม ส่วนการอุเบกขาหรือตัตรมัชฌัตตตาเป็นสังขารขันธ์จึงต้องมีสัญเจตนาหรือเจตนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องหมั่นฝึกฝนอบรมด้วยความเพียรยิ่ง จนสามารถกระทำอุเบกขานั้นเป็นมหาสติ กล่าวคือ กระทำเองโดยอัติโนมัติ เป็นเฉกเช่นสังขารในปฏิจจสมุปบาท แต่ปราศจากเสียซึ่งอวิชชา
******************************************************************** คาถารักษาไข้ (โพชฌังโค) **************************************************************************** โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัม ปิติ ปัสสัทธิ โพชณังคา จะ ตะถา ปะเร สะมาธุ เปกขะ โพชฌังคา สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะ ทักขาตา ภาวิตา พะหุ ลีกะตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลา นัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ เตจะตัง อะภินัน ทิตตะวา โรคา มุจจิงสุข ตังขะเณ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเตโหตุ สัพพะทา เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคตัญเญ นาภิปิฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตตะวานะ สาทะรัง สัมโมทิตตะวา จะ อาพาธา ตัมหาวุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ปะหีนาเต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสา วะ ปัตตานุปปัตติ ธัมมะตัง เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ******************************************************************** ถ้าหากผู้ใดเป็นไข้ ให้ใช้คาถาบทนี้ เสกปัดเป่า หรือจะทำน้ำมนต์ให้ดื่มกินก็ยิ่งจะเป็นการดี จะทำให้ไข้หายเร็ว ********************************************************************