Friday, 13 July 2012

พระราชพงษาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ


คำนำพระราชพงษาวดารกรุงเก่า

ฉบับหลวงประเสริฐ

 พระราชพงษาวดารฉบับนี้ เดิมพระปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) แต่ยังเปนหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปพบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่ง ๑ จึงขอมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ กรรมการหอพระสมุดเห็นเปนหนังสือพระราชพงษาวดารแปลกจากฉบับอื่น ๆ ที่มีแล้ว จึงให้เรียกชื่อว่า "พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" ให้เปนเกียรติยศแก่ผู้พบ แลพามาให้หอพระสมุด
 หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับนี้มีบานแพนกว่าเป็นหนังสือฉบับหลวง สมเด็จพระนารายน์มหาราชมีรับสั่งให้แต่งขึ้น เมื่อวัน๔๕ค่ำปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๐๔๒ กล่าวเนื้อความตั้งต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนันเชิง เมื่อจุลศักราช ๖๘๖ จะจบเพียงไหนทราบไม่ได้ ด้วยต้นฉบับที่หอพระสมุดได้มาได้แต่เล่ม ๑ เล่มเดียว ความค้างอยู่เพียงปีมโรงฉศก จุลศักราช ๙๖๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อเตรียมทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ คเนดูเห็นจะมีเล่ม ๒ อิกเล่มเดียวความจะมาจบเพียงแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองเปนอย่างมาก สมุดต้นฉบับที่ได้มา เปนสมุดดำเขียนด้วยตัวรง ฝีมือเขียนครั้งกรุงเก่า มีรอยถูกฝนชื้น ตัวหนังสือลบเลือนอยู่หลายแห่ง แต่โดยมากมีรอยพอเห็นตรงลบเลือนได้ กรรมการหอพระสมุดได้ให้พิมพ์พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ใน ร.ศ. ๑๖๖ ปีที่ได้มานั้นเปนครั้งแรก ครั้นปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้ หอพระสมุดได้หนังสือพระราชพงษาวดารความเดียวกับหลวงประเสริฐมาอิกฉบับหนึ่ง ๒ เล่มสมุดไทย เปนฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเขียนเมื่อปีมเมียฉศก พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเหตุให้ยินดี คาดว่าจะได้เรื่องราวพระราชพงษาวดารฉบับนี้จนจบ แต่ครั้นเอาหนังสือ ๒ ฉบับสอบกันเข้า ได้ความปรากฎว่า ฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเปนฉบับลอกจากเล่มของหลวงประเสริฐอักษรนิตินี้เอง เพราะที่สุดไปค้างเขินอยู่ตรงคำต่อคำ เหมือนกับฉบับหลวงประเสริฐ เปนอันได้ความว่า พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐนี้มีเพียงเท่าที่ได้มาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว จึงสิ้นหวังที่จะหาเรื่องต่อได้อิกต่อไป แต่ที่ได้ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีมามีประโยชน์อยู่อย่าง๑ ที่ได้ความซึ่งลบเลือนในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติบริบูรณ์
 พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเปนอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ จึงเปนหลักแก่การสอบหนังสือพงษาวดารได้เรื่องหนึ่ง

                                                              เนื้อหา

 ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศกวอก นัก (ษัตร ณ วน พุธ) ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ (พ.ศ. ๒๒๒๓) ทรงพระ (กรุณาโปรด) เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอกกฎหมายเหตุของพระ โ(หราเขียน) ไว้แต่ก่อนและกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ และเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้
 จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง
 ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน (เสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕) เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา

14 comments:

  1. ศักราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระ (ราเม) ศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ จอศก พ.ศ. (๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา และท่านจึงให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้า เสด็จไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี
    ศักราช ๗๓๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเหนือ และได้เมืองเหนือทั้งปวง
    ศักราช ๗๓๔ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๑๕) เสด็จไปเอาเมืองนครพังค่า และเมืองแสงเชรา ได้เมือง
    ศักราช ๗๓๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๑๖) เสด็จไปเมืองชากัง (ราวและพระยา) ใสแก้วและพระยาคำแหง เจ้าเมืองชากังราวออกต่อรบท่าน ๆ (ได้ฆ่าพระยา) ใสแก้วตาย และพระยาคำแหงและพลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ และทัพ (หลวง) เสด็จกลับคืนมา
    ศักราช ๗๓๖ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๑๗) สมเด็จพระบรมราชา(ธิราช) เจ้า และพระมหาเถรธรรมากัลญาณ แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ ฝ่ายบูรพทิศหน้าพระบั้นชั้นสิงห์ สูงเส้น ๓ วา

    ศักราช ๗๓๗ เถาะศก (พ.ศ. ๑๙๑๘) เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก และได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมืองและครัว (อพ) ยพมาครั้งนั้นมาก
    ศักราช ๗๓๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๑๙) เสด็จไปเอาเมือง (ชากังราว) เล่า ครั้งนั้นพระยาคำแหงและท้าวผ่าคอง คิดด้วยกันว่าจะยอทัพ (หลวง และจะ) ทำมิได้ และท้าวผ่าคองเลิกทัพหนี และจึงเสด็จทัพหลวงตาม และท้าวผ่าคองนั้นแตก และจับได้ตัวท้าวพระยาและกสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก และทัพหลวงเสด็จกลับคืน
    ศักราช (๗๔๐) มะเมียศก (พ.ศ. ๑๙๒๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกรบทัพหลวงเป็นสามารถ และเห็นว่าจะต่อด้วยทัพหลวงมิได้ จึงมหาธรรมราชาออกถวายบังคม
    ศักราช ๗๔๘ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๒๙) เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ และให้เข้าปล้นเมืองนครลำภางมิได้ จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนครเจ้าเมืองนครลำภาง ๆ นั้นจึงออกมาถวายบังคม และทัพหลวงเสด็จกลับคืน
    ศักราชได้ ๗๕๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก และเสด็จกลับคืน ครั้นเถิงกลางทาง สมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพานและจึงเจ้าทองลันพระราชกุมาร ท่านได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา และท่านจึงให้พิฆาตเจ้าทองลันเสีย
    ศักราช ๗๕๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๓๘) สมเด็จพระราเมศวรเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านเจ้าพระยาราม เสวยราชสมบัติ

    ReplyDelete
  2. ศักราช ๗๗๑ (พ.ศ. ๑๙๕๒) สมเด็จพระยารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี และท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี ๆ หนีรอด (และข้ามไป) อยู่ฟากปท่าคูจามนั้น และเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จ (พระอินท) ราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี ว่าจะยกเข้ามาเอาพระนครศรีอยุธยาถวาย ครั้นและสมเด็จพระอินทราชาเจ้าเสด็จมาถึงไซร้จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าไปปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้ จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ และท่านจึงให้สมเด็จพระยารามเจ้าไปกินเมืองปท่าคูจาม
    ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระอินทราชาเจ้า ทรง (ประ) ชวร นฤพาน ครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกัน ณ สะพานป่าถ่านเถิงพิราลัยทั้ง ๒ พระองค์ที่นั้น จึงพระราชกุมารเจ้าสามพระยาได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุ (ธยา ทรงพระ) นามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า และท่านจึงให้ก่อพระเจดีย์สองพระองค์ สวมที่เจ้าพระยาอ้ายและเจ้าพระยายี่ชนช้างด้วยกัน เถิง (อนิจ) ภาพตำบลป่าถ่านนั้นในศักราชนั้นสถาปนาวัดราชบุณ
    ศักราช ๗๙๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๗๔) สมเด็จพระบรมราชเจ้า เสด็จพระบรมราชเจ้า เสด็จไปเอาเมือง (นครหลวง) ได้และท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินทร์เจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวงนั้น ครั้งนั้นท่านจึงให้พระยาแก้ว พระยาไทยและรูปภาพทั้งปวง มายังพระนครศรีอยุธยา
    ศักราช ๘๐๐ มะเมียศก (พ.ศ.๑๙๘๑) ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า สร้างวัดมะเหยงคณ์ เสวยราชสมบัติ และสมเด็จพระราเมศวร (เจ้าผู้เป็น) พระราชกุมาร ท่านเสด็จไปเมืองพิษณุโลกครั้งนั้น เห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราชตกออกมาเป็นโลหิต
    ศักราช ๘๐๒ วอกศก (พ.ศ. ๑๙๘๓) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระราชมนเทียร
    ศักราช ๘๐๓ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๘๔) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข
    ศักราช ๘๐๔ จอศก (พ.ศ. ๑๙๘๕) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ และเข้าปล้นเมืองมิได้พอทรงพระประชวร และทัพหลวงเสด็จกลับคืน

    ศักราช ๘๐๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๘๗) เสด็จไปปราบพรรค และตั้งทัพหลวงตำบลปะทายเขษม ครั้งนั้นได้เชลย ๑๒๐,๐๐๐ ทัพหลวงเสด็จกลับ (คืน)
    ศักราช ๘๑๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๙๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่าน สมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า
    ศักราช ๘๑๓ มะแมศก (พ.ศ. ๑๙๙๔) ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้ แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ ก็เลิกทัพกลับคืน
    ศักราช ๘๑๖ จอศก (พ.ศ. ๑๙๙๗) ครั้งนั้นคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก
    ศักราช ๘๑๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๙๘) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมะลากา
    ศักราช ๘๑๘ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๙๙) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองลิสบทิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลโคน
    ศักราช ๘๑๙ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๐๐) ครั้งนั้นข้าวแพงเป็นทะนานแล ๘๐๐ เบี้ย เมื่อคิดเสมอเบี้ยเฟื้องแล ๘๐๐ นั้น เกวียนหนึ่งเป็นเงินสามชั่งสิบบาท

    ReplyDelete
  3. ศักราช ๘๒๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๐๑) ครั้งนั้นให้บุณพระศาสนาบริบูรณ์ และหล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ
    ศักราช ๘๒๒ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๐๓) เล่นการมหรสพฉลองพระ และพระราชทานแก่สงฆ์และพราหมณ์และวณิพกทั้งปวง ครั้งนั้นพระยาเชลียงคิดเป็นขบถ พาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่มหาราช
    ศักราช ๘๒๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๐๔) พระยาเชลียงนำมหาราชมาจะเอาเมืองพิษณุโลก เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถ มิได้เมืองและจึ่งยกทัพเปร่อไปเอาเมืองกำแพงเพชร และเข้าปล้นเมืองเถิงเจ็ดวันมิได้เมือง และมหาราชก็เลิกทัพคืนไปเชียงใหม่
    ศักราช ๘๒๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๐๕) เมืองนครไทย พาเอาครัวอพยพหนีไปน่าน และให้พระกลาโหมไปตามได้คืนมาแล้วพระกลาโหมยกพลไปเอาเมืองสุโขทัย ได้เมืองคืนดุจเก่า
    ศักราช ๘๒๕ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๐๖) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า ไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก และตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา ครั้งนั้นมหาราชท้าวลูก ยกพลมาเอาเมืองสุโขทัยจึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า และสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปกันเมือง และสมเด็จพระราชาเจ้าตีทัพพระยาเถียรแตก และทัพท่านมาประทัพหมื่นนคร และท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร และครั้งนั้นเป็นโกลาหลใหญ่ และข้าเศิกลาวทั้งสี่ช้างเข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียวนั้น ครั้งนั้นสมเด็จพระอินทราชาเจ้าต้องเป็น ณ พระพักตร์ และทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป

    ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี
    ศักราช ๘๒๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๐๘) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า ทรงพระผนวช ณ วัดจุฬามณีได้ ๘ เดือน แล้วลาพระผนวช
    ศักราช ๘๓๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๑๑) ครั้งนั้นมหาราชท้าวบุญ ชิงเอาเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก
    ศักราช ๘๓๓ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๑๔) ได้ช้างเผือก
    ศักราช ๘๓๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๑๕) พระราชสมภพพระราชโอรสท่าน
    ศักราช ๘๓๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๑๖) หมื่นนครได้ลอกเอาทองพระเจ้าลงมาหุ้มดาบ
    ศักราช ๘๓๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๑๗) เสด็จไปเอาเมืองเชลียง
    ศักราช ๘๓๗ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๑๘) มหาราชขอมาเป็นไมตรี
    ศักราช ๘๓๙ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๒๐) แรกตั้งเมืองนครไทย
    ศักราช ๘๔๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๒๒) พระสีหราชเดโชเถิงแก่กรรม
    ศักราช ๘๔๒ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๒๓) พระยาล้านช้างเถิงแก่กรรม และพระราชทานให้อภิเษกพระยาซ้ายขาวเป็นพระยาล้านช้างแทน
    ศักราช ๘๔๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๒๕) ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์

    ReplyDelete
  4. ศักราช ๘๔๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๒๖) สมเด็จพระบรมราชาเจ้า เสด็จไปวังช้าง ตำบลไทรย้อย
    ศักราช ๘๔๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๒๗) สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้า และสมเด็จพระราชโอรส สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระผนวชทั้ง ๒ พระองค์
    ศักราช ๘๔๗ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๒๘) พระราชโอรสท่านลาพระผนวชและประดิษฐานพระองค์นั้น ไว้ในที่พระมหาอุปราช
    ศักราช ๘๔๘ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๒๙) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปวังช้าง ตำบลสัมฤทธิบูรณ์
    ศักราช ๘๔๙ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๓๐) ท้าวมหาราชลูกพิราลัย
    ศักราช ๘๕๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๓๑) สมเด็จพระบรมราชธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองทวาย และเมื่อจะเสียเมืองทวายนั้น เกิอุบาทว์เป็นหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่งเป็นแปดเท้าไก่ฟักไข่ออกตัวหนึ่งเป็นสี่เท้า ไก่ฟักไข่สามค่องออกลูกเป็นหกตัว อนึ่ง ข้าวสารงอกเป็นใบ อนึ่งในปีเดียวนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกเสด็จนฤพาน ณ เมืองพิษณุโลก

    ศักราช ๘๕๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๓๓) แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิชัย
    ศักราช ๘๕๓ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๓๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึ่งสมเด็จพระเชษฐาธิราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี
    ศักราช ๘๕๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๓๕) ประดิษฐานมหาสถูปพระบรมธาตุ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
    ศักราช ๘๕๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๓๙) ท่านประพฤติการเบญจาพิธพระองค์ท่าน และให้เล่นการดึกดำบรรพ
    ศักราช ๘๕๙ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๔๐) ท่านให้ทำการปฐมกรรม

    ReplyDelete
  5. ศักราช ๘๖๑ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๔๒) แรกสร้างพระวิหารวัดศรีสรรเพช์ญ
    ศักราช ๘๖๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๔๓) สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า แรกให้หล่อพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพช์ญ และแรกหล่อในวันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ครั้งเถิงศักราช ๘๖๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๔๖) วันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพช์ญคณาพระพุทธเจ้านั้น แต่พระบาทเถิงยอดพระรัศมีนั้น สูงได้ ๘ วา พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก และพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก แลทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก ๕ หมื่น ๓ พันชั่ง ทองคำหุ้มนั้นหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ น้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำสองขา
    ศักราช ๘๗๗ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๕๘) วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เพลารุ่งแล้ว ๘ ชั้น ๓ ฤกษ์ ๙ ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จไปเมือง น (คร) ลำ (ภางใต้) เมือง
    ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดี สร้างพระศรีสรรเพช์ญ เสวยราชสมบัติ แรกตำราพิชัยสงครามและแรก (ทำสารบาญ) ชี พระราชสัมฤทธิ์ทุกเมือง
    ศักราช ๘๘๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๖๗) (ครั้ง) นั้นเห็น (งา) ช้างต้นเจ้าพระยาปราบแตกข้างขวายาวไป อนึ่งในเดือน (นั้นมีผู้ทอดบัตร) สนเท่ห์ (ครั้งนั้นให้) ฆ่าขุนนางเสียมาก
    ศักราช ๘๘๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๖๘) น้ำน้อย ข้าวเสียสิ้นทั้งปวง อนึ่งแผ่นดินไหวทุกเมือง แล้วและเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ ครั้งรุ่งปีขึ้นศักราช ๘๘๘ จอศก (พ.ศ. ๒๐๖๙) (ข้าวสารแพง) เป็น ๓ ทะนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกวียนหนึ่งเป็นเงินชั่งหกตำลึง ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จหน่อพุทธางกูรเจ้าในที่อุปราช และให้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
    ศักราช ๘๙๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๗๒) เห็นอากาศนิมิตเป็นอินทร์ธนูแต่ทิศหรดี ผ่านอากาศมาทิศพายัพ มีพรรณขาว วันอาทิตย์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า เสด็จพระที่นั่งหอพระ ครั้นค่ำลงวัน (นั้น) สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้านฤพานจึงสมเด็จพระอาทิตยเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จบรมราชาหน่อพุทธางกูร

    ReplyDelete
  6. ศักราช ๘๙๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๗๖) สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระราชกุมารได้เสวยราชสมบัติ
    ศักราช ๘๙๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๗๗) พระราชกุมารท่านนั้นเป็นเหตุ จึงได้ราชสมบัติแก่พระไชยราชาธิราชเจ้า
    ศักราช ๙๐๐ จอศก (พ.ศ. ๒๐๘๑) แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียงในเดือน ๖ นั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์เถิงเดือน ๑๑ เสด็จไปเชียงไกร เชียงกราน เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาค่ำประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุพัดหนักหนา และคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก และเรือไกรแก้วนั้นทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรนั้น ว่าพระยานารายณ์คิดเป็นขบถและให้กุมเอาพระยานารายณ์นั้นฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร
    ศักราช ๙๐๗ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๘๘) วันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า และยกพลออกตั้งทัพชัยตำบลบางบาล ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ จึงยกทัพหลวงจากที่ทัพชัยไปเมืองกำแพงเพชร เถิง ณ วันอังคาร แรม ๙ ค่ำ เดือน ๗ เสด็จออกตั้งทัพชัย ณ เมืองกำแพงเพชร ณ วันอาทิตย์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ยกทัพไปตั้งเชียงทอง แล้วยกไปตั้ง ณ เมืองเชียงใหม่ เถิง ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนจากเมืองเชียงใหม่ เถิงวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ทัพหลวงเถิงเมืองกำแพงเพชร แล้วจึงเสด็จมายังพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายพระนครศรีอยุธยานั้น ในวันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ เกิดเพลิงไหม้เถิง ๓ วัน จึงดับได้ และจึงมีบาญชีเรือนเพลิงไหม้นั้น ๑๐,๐๕๐ เรือน ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๒ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเมืองเชียงใหม่และให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า และยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองกำแพงเพชร แรมทัพหลวงอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรนั้นเดือนหนึ่ง เถิง ณ วันพฤหัสบดีขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ เสด็จออกตั้งทัพชัย เถิง ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๓ จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่แล ณ วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ ได้เมืองลำพูนชัย วันศุกร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ ณ ประตูบ้านและเรือนและวัดทั้งปวง ในเมืองและนอกเมืองทั่วทุกตำบล เถิง ณ วันจันทร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเชียงใหม่ มายังพระนครศรีอยุธยา
    ศักราช ๙๐๘ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๘๙) เดือน ๖ นั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ในปีนั้นแผ่นดินไหว
    ศักราช ๙๑๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๙๑) วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จออกสนามให้ชนช้าง และงาช้างพระยาไฟนั้นหักเป็น ๓ ท่อน อนึ่งอยู่สองวัน ช้างต้นพระฉันทันต์ ไล่ร้องเป็นเสียงสังข์ อนึ่งประตูไพชยนต์ร้องเป็นอุบาทว์ เถิงวันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ สมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าเป็นเหตุ จึงขุนชินราชได้ราชสมบัติ ๔๒ วัน และขุนชินราชและแม่ยั่วศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุ จึงเชิญสมเด็จพระเธียรราชาธิราชเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และครั้นเสวยราชสมบัติได้ ๗ เดือน พระยาหงสาปังเสวกี ยกพลมายังพระนครศรีอยุธยาในเดือน ๔ นั้น เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า เสด็จออกไปรบศึกหงสานั้นสมเด็จพระองค์มเหสี และสมเด็จพระเจ้าเธอพระราชบุตรี เสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จด้วย และเมื่อได้รับศึกหงสานั้นทัพหน้าแตกมารประทัพหลวงเป็นโกลาหลใหญ่ และสมเด็จพระองค์มเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้น ได้รบด้วยข้าเศึกเถิงสิ้นชนม์กับคอช้างนั้นและเศิกหงสา ครั้งนั้นเสียสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรไปแก่พระยาหงสา และจึงเอาพระยาปราบและช้างต้นพระยานุภาพ ตามไปส่งให้พระยาหงสาเถิงเมืองกำแพงเพชรและพระยาหงสาจึงส่งพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า สมเด็จพระราเมศวรเจ้ามายังพระนครศรีอยุธยา
    ศักราช ๙๑๑ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๙๒) ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ ได้ช้างเผือกพลายตำบลป่าตะนาวศรีสูง ๔ ศอก มีเศษชื่อปัจจัยนาเคนทร์ ครั้งนั้นแรกให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยา

    ReplyDelete
  7. ศักราช ๙๑๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๙๓) เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ ทำการพระราชพิธีปฐมกรรมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า ตำบลท่าแดง พระกรรมวาจาเป็นพฤฒิบาศ พระพิเชฎฐ์เป็นอัษฎาจารย์ พระอินโทรเป็นกรมการ
    ศักราช ๙๑๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๙๕) ครั้งนั้นให้แปลงเรือแซเป็นเรือชัยและหัวสัตว์
    ศักราช ๙๑๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๙๖) เดือน ๗ นั้น แรกทำการพระราชพิธีมัธยมกรรม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ตำบลชัยนาทบุรี
    ศักราช ๙๑๖ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๙๗) เสด็จไปวังช้าง ตำบลบางละมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง อนึ่งในเดือน ๑๒ นั้น ได้ช้างพลายเผือกตำบลป่ากาญจนบุรีสูง ๔ ศอกมีเศษ ชื่อพระคเชนโทรดม
    ศักราช ๙๑๗ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๙๘) วันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๗ ได้ช้างเผือกพลาย ตำบลป่าเพชรบุรี สูง (สี่ศอกคืบหนึ่ง ช้างชื่อพระ) แก้วทรงบาศ
    ศักราช ๙๑๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๙๙) เดือน ๑๒ (แต่งทัพไปละแวก) พระยาองค์สวรรคโลกเป็นทัพหลวง ถือพล ๓ (๐,๐๐๐ ให้พระ) มหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหา (เทพถือวัวเกวียน ๑๑…) ฝ่ายทัพเรือไซร้ พระยาเยาวเป็นนายกอง ครั้งนั้นลมพัดขัด ทัพเรือมิทันทัพบก และพระยารามลักษณ์ (ซึ่ง) เกณฑ์เข้าทัพบกนั้น เข้าบุกทัพในกลางคืน และทัพพระยารามลักษณ์นั้นแตกมาประทัพใหญ่ ครั้งนั้นเสียพระองค์สวรรคโลกนายกองและช้างม้ารี้พลมาก
    ศักราช ๙๑๙ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๐๐) วันอาทิตย์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๔ เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวังมาก อนึ่งในเดือน ๓ นั้น ทำการพระราชพิธีอาจาริยาภิเษก และทำการพระราชพิธีอินทราภิเษกในวังใหม่ อนึ่งเดือน ๔ นั้น พระราชทานสัตดกมหาทาน และให้ช้างเผือกพระราชทานมีกองเชิงเงิน ๔ เท้าช้างนั้นเป็นเงิน ๑๖๐๐ บาท และพระราชทานรถ ๗ รถ เทียมด้วยม้าและมีนางสำหรับรถนั้นเสมอรถ ๗ นาง อนึ่งในเดือน ๗ นั้น เสด็จไปวังช้าง ตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง
    ศักราช ๙๒๑ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๐๒) เสด็จไปวังช้าง ตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพัง ๔๐ ช้าง
    ศักราช ๙๒๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๐๓) เสด็จไปวังช้าง ตำบลวัดไก่ ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง อนึ่งอยู่ในวันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ ได้ช้างเผือกและตาช้างนั้นมิได้เป็นเผือก และลูกติดมาด้วยตัวหนึ่ง
    ศักราช ๙๒๓ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๐๔) พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดมหาธาตุ แล้วหนีออกไปอยู่ตำบลม่วงมดแดง และพระสังฆราชวัดป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์ ให้เข้ามาเข้าพระราชวัง ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๙ ครั้งนั้นพระยาสีหราชเดโชเป็นโทษรับพระราชอาชญาอยู่ และพระยาสีหราชเดโชจึงให้ไปว่าแก่พระศรีศิลป์ว่า ครั้นพ้นวันพระแล้วจะให้ลงพระราชอาชญา ฆ่าพระยาสีหราชเดโชเสีย และขอให้เร่งยกเข้ามาให้ทันแต่ในวันพระนี้ และพระศรีศิลป์จึงยกเข้ามาแต่ในวันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ เพลาเย็นนั้นมาแต่กรุง ครั้งรุ่งขึ้นในวันพระนั้น พระศรีศิลป์เข้าพระราชวังได้ครั้งนั้นได้ พระศรีศิลป์มรณภาพในพระราชวังนั้น ครั้นแลรู้ว่าพระสังฆราชป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีศิลป์เป็นแม่นแล้วไซร้ ก็ให้เอาพระสังฆราชป่าแก้วไปฆ่าเสีย
    ศักราช ๙๒๔ จอศก (พ.ศ. ๒๑๐๕) เสด็จไปวังช้าง ตำบลไทรน้อย ได้ช้างพลายพัง ๗๐ ช้าง

    ReplyDelete
  8. ศักราช ๙๒๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๐๖) พระจ้าหงสานิพัตรยกพลลงมาในเดือน ๑๒ นั้น ครั้งเถิงวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๒ พระเจ้าหงสาได้เมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเมืองพิษณุโลกข้าวแพง ๓ สัดต่อบาท อนึ่งคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมาก แล้วพระเจ้าหงสาจึงได้เมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง
    แล้วจึงยกพลลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา ครั้งนั้นฝ่ายกคุงพระมหานครศรีอยุธยาออกเป็นพระราชไมตรี และสมเด็จพระมหากษัตริย์เจ้าทั้งสองฝ่ายเสด็จมาทำสัตยาธิษฐานหลั่งน้ำษิโณฑก ตำบลวัดพระเมรุ แล้วจึงพระเจ้าหงสาขอเอาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรเจ้าและช้างเผือก ๔ ช้าง
    ไปเมืองหงสา ครั้งนั้นพระยาศรีสุลต่าน พระยาตานีมาช่วยการเศิก พระยาตานีนั้นเป็นขบถและคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าในพระราชวัง ครั้นแลเข้าในพระราชวังได้ เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ ณ ท้องสนาม แล้วจึงลงช้างออกไป ณ ทางตะแลงแกง และชาวพระนครเอาพวนขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานี ๆ
    นั้นตายมาก และพระยาตานีนั้นลงสำเภาหนีไปรอด ในปีเดียวนั้นพระเจ้าล้านช้างให้พระราชสารมาถวายว่า จะขอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเทพกระษัตรเจ้า และทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าล้านช้าง และครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเทพกระษัตรเจ้าทรงพระประชวร
    จึงพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระแก้วฟ้าพระราชบุตรี ให้แก่พระเจ้าล้านช้าง
    ศักราช ๘๒๖ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๐๗) พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญสมเด็จพระแก้วฟ้าพระราชบุตรี ลงมาส่งยังพระนครศรีอยุธยา และว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเทพกระษัตรเจ้านั้น และจึงพระราชทานสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าไปแก่พระเจ้าล้านช้าง ครั้งนั้นพระเจ้าหงสารู้เนื้อความทั้งปวงนั้น จึงแต่งทัพมาซุ่มอยู่กลางทาง และออกชิงเอาสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าได้ไปถวายแก่พระเจ้าหงสา อนึ่งในปีนั้น น้ำ ณ กรุงพระนครศรีอยุธยานั้นน้อยนัก
    ศักราช ๙๓๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๑๑) ในเดือน ๑๒ นั้น พระเจ้าหงสายกพลมาแต่เมืองหงสา ครั้นเถิงวันศุกร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ พระเจ้าหงสาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยา ตั้งทัพตำบลหล่มพลี และเมื่อเศิกหงสาเข้าล้อมพระนครศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าทรงพระประชวรนฤพาน และครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระมหินทราธิราช ตรัสมิได้นำพาการเศิก แต่พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นตรัสเอาพระทัยใส่ และเสด็จไปบัญชาการที่จะรักษาพระนครทุกวัน ครั้นแลสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าตรัสรู้ว่า พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวเสด็จไปบัญชาการเศิกทุกวันดังนั้นก็มิไว้พระทัย ก็ให้เอาพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นไปฆ่าเสีย ณ วัดพระรามครั้งนั้นการเศิกซึ่งจะรักาาพระนครนั้นก็คลายลง
    ครั้งเถิงศักราช ๙๓๑ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๑๒) ณ วันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ เพลารุ่งแล้วประมาณ ๓ นาฬิกา ก็เสียกรุงพระนครศรีอยุธยาแก่พระเจ้าหงสา ครั้นเถิงวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ทำการปราบดาภิเษกสมเด็๗พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัติกรุงพระนครศรีอยุธยา อนึ่งเมื่อพระเจ้าหงสาเสด็จกลับคืนไปเมืองหงสานั้น พระเจ้าหงสาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย
    ศักราช ๙๓๒ มะเมียศก (พ.ศ.๒๑๑๓) พระยาละแวกยกพลมายังพระนครศรีอยุธยา พระยาละแวกยืนช้างตำบลสามพิหารและได้รบพุ่งกัน และชาวเมืองพระนครยิงปืนออกไปต้องพระยาจัมปาธิราชตายกับคอช้าง ครั้งนั้นเศิกพระยาละแวกเลิกทัพกลับคืนไป ในปีนั้นน้ำ ณ กรุงพระนครศรีอยุธยามาก

    ReplyDelete
  9. ศักราช ๙๓๓ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๑๔) น้ำน้อย อนึ่งสมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้า เสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก
    ศักราช ๙๓๔ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๑๕) น้ำน้อยมาก
    ศักราช ๙๓๕ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๑๖) น้ำน้อยเป็นมัธยม
    ศักราช ๙๓๖ จอศก (พ.ศ. ๒๑๑๗) น้ำมากนัก ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงพระประชวรทรพิษ
    ศักราช ๙๓๗ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๑๘) พระยาละแวกยกทัพเรือมายังพระนครศรีอยุธยา ในวันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑ นั้น ชาวเมืองละแวกตั้งทัพเรือตำบลพะแนงเชิง และได้รบพุ่งกันครั้งนั้นเศิกละแวกด้านมิได้เลิกทัพกลับไป และจับเอาคน ณ เมืองปักษ์ใต้ ไปครั้งนั้นมาก ในปีนั้นน้ำ ณ กรุงศรีอยุธยาน้อย
    ศักราช ๙๔๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๒๑) พระยาละแวกแต่งทัพให้มาเอาเมืองเพชรบุรี มิได้เมือง และชาวละแวกนั้นกลับไปครั้งนั้นพระยาจีนจันตุหนีมาแต่เมืองละแวก มาสู่พระราชสมภาร ครั้นอยู่มาพระยาจีนจันตุก็หนีกลับคืนไปเมือง
    ศักราช ๙๔๒ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๒๓) รื้อกำแพงกรุงพระนครออกไปตั้งเถิงริมแม่น้ำ
    ศักราช ๙๔๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๒๔) ญาณประเชียรเรียนศาสตราคมและคิดเป็นขบถ คนทั้งปวงสมัครเข้าด้วยมากและยกมาจากลพบุรี และยืนช้างอยู่ตำบลหัวตรี และบรเทศคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้น ยิงปืนออกไปต้องญาณประเชียรตายกับคอช้าง และในปีนั้นมีหนังสือมาแต่เมืองหงสาว่า ปีมะเส็งตรีนิศกนี้ อธิกมาสมิได้ ฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุธยานี้มีอธิกมาส อนึ่งในวันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๒ รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสานฤพาน อนึ่งในเดือน ๓ นั้น พระยาละแวกยกพลมาเมืองเพชรบุรี ครั้งนั้นเสียเมืองเพชรบุรีแก่พระยาละแวก
    ศักราช ๙๔๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๒๕) พระยาละแวกแต่งทัพให้มาจับคนปลายด่านตะวันออก
    ศักราช ๙๔๕ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๒๖) ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้แต่จวนกลาโหม และเพลิงนั้นลามไปเถิงในพระราชวัง และลามไหม้ไปเมืองท้ายเมือง ครั้งนั้นรู้ข่าวมาว่า ข้าหงสาทำทางมาพระนครศรีอยุธยา
    ศักราช ๙๔๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๒๗) ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิษณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสากับพระเจ้าอังวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงสาและอยู่ในวันพฤหัสบดี แรม ๓ ค่ำ เดือน ๕ ช้างต้นพลายสวัสดิมงคลและช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน และงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย และโหรทำนายว่าห้ามยาตรา และมีพระราชโองการตรัสว่าได้ตกแต่งการนั้นสรรพแล้ว จึงเสด็จพยุหยาตราไป

    ReplyDelete
  10. ครั้งเถิง ณ วันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จออกตั้งทัพชัยตำบลวัดยม ท้ายเมืองกำแพงเพชรในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแกรง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวันพุธ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ เกิดอัศจรรย์แม่น้ำทรายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นน้ำนั้น ๓ ศอก อนึ่งเห็นสตรีภาพผู้หนึ่ง หน้าประดุจหน้าช้าง และทรงสัณฐานประดุจวงช้างและหูนั้นใหญ่ นั่งอยู่ ณ วัดประสาท หัวเมืองพิษณุโลก อนึ่ง ช้างใหญ่ตัวหนึ่งยืนอยู่ ณ ท้องสนามนั้นอยู่ก็ล้มตายลงกับที่บัดเดี๋ยวนั้น อนึ่งเห็นตักแตนบินมา ณ อากาศเป็นอันมาก และบังแสงพระอาทิตย์บดมาแล้วก็บินกระจัดกระจายสูญไป ในปีเดียวนั้นให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง ลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา ในปีเดียวนั้นพระเจ้าหงสาให้พระเจ้าสาวถี และพระยาพสิม ยกพลลงมายังกรุงพระนคร และ ณ วันพุธ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๒ เพลาเที่ยงคืนแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จพยุหบาตราไปตั้งทัพตำบลสามขนอน ครั้งนั้นเศิกหงสาแตกพ่ายหนีไป อนึ่งม้าตัวหนึ่งตกลูกและศรีษะม้านั้นเป็นศรีษะเดียวกัน แต่ตัวม้านั้นเป็น ๒ ตัว และเท้าม้านั้นตัวละสี่เท้า ประดุจชิงศรีษะแก่กัน
    ศักราช ๙๔๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๑๒๘) พระเจ้าสาวถียกพลลงมาครั้งหนึ่งเล่า ตั้งทัพตำบลสะเกษ และตั้งอยู่แต่ ณ เดือนยี่ เถิงเดือน ๔ ครั้งเถิงถึงวันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ เวลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกาบาท เสด็จพยุหบาตราตั้งทัพชัยตำบลหล่มพลี แล ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จจากทัพชัยโดยทางชลมารคไปทางป่าโมก มีนกกระทุงบินมาทั้งซ้ายขวาเป็นอันมากนำหน้าเรือพระที่นั่งไป ครั้นเถิงวันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลทวีป ออกดาช้างม้าทั้งปวงอยู่ ณ ริมน้ำ และพระอาทิตย์ทรงกลด และรัศมีกลดนั้นส่องลงมาต้องช้างพระที่นั่งมีทรงสัญฐานประดุจเงากลดนั้นมากั้นช้างพระที่นั่ง ครั้งนั้นตีทัพพระเจ้าสาวถีซึ่งตั้งอยู่ตำบลสะเกษนั้นแตกพ่ายไป ในปีเดียวนั้นพระมหาอุปราชายกพลมาโดยทางกำแพงเพชร ตั้งทำนาอยู่ที่นั้น
    ศักราช ๙๔๘ จอศก (พ.ศ. ๒๑๒๙) ณ วันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ พระเจ้าหงสางาจีสยาง ยกพลลงมาเถิงกรุงพระนคร ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๒ และพระเจ้าหงสาเข้าล้อมพระนคร และตั้งทัพตำบลขนอนปากคู และทัพมหาอุปราชาตั้งขนอนบางตนาว และทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ และครั้งนั้นได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ และพระเจ้าหงสาเลิกทัพคืนไปในศักราช ๙๔๙ (พ.ศ. ๒๑๓๐) นั้น วันจันทร์แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จโดยทางชลมารค ไปตีทัพมหาอุปราชาอันตั้งอยู่ขนอนบางตนาวนั้น แตกพ่ายลงไปตั้งอยู่ ณ บางกระดาน วันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพมหาอุปราชาอันลงไปตั้งอยู่ ณ บางกระดาน นั้นแตกพ่ายไป วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ เสด็จพระราชดำเนิน พยุหบาตราออกตั้งทัพชัย ณ วัดเดช และตั้งค่ายขุดคูเป็นสามารถ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ เอาปืนใหญ่ลงสำเภาขึ้นไปยิงเอาค่ายพระเจ้าหงสา ๆ ต้านมิได้ ก็เลิกทัพไปตั้ง ณ ป่าโมกใหญ่ วันจันทร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก เข้าไปจนค่ายพระเจ้าหงสานั้น วันอังคาร แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งเป็นทัพซุ่ม ณ ทุ่งหล่มพลี และออกตีทัพข้าศึก ครั้งนั้นได้รบพุ่งตะลุมบอนกันกับม้าพระที่นั่ง และทรงพระแสงทวนแทงเหล่าทหารตาย ครั้นข้าศึกเศิกแตกพ่ายเข้าค่ายและไล่ฟันแทงข้าเสิกเข้าไปจนถึงหน้าค่าย วันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ เพลานาฬิกาหนึ่งจะรุ่ง เสด็จยกทัพออกไปตีทัพพระยา นคร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ปากน้ำมุทุเลานั้น ครั้งนั้นเข้าตีทัพได้เถิงในค่าย และข้าเศิกพ่ายหนีจากค่ายข้าเศิกเสียสิ้น แลพระเจ้าหงสาก็เลิกทัพคืนไป และพระยาละแวกมาตั้ง ณ บางซาย ครั้งนั้น เสด็จออกไปชุมพลทั้งปวง ณ บางกระดาน เถิงวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ เพลาอุษาโยค เสด็จพยุหบาตราจากบางกระดานไปตั้งทัพชัย ณ ชายเคือง แล้วเสด็จไปละเวก ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก
    ศักราช ๙๕๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๓๑) ณ วันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ แผ่นดินไหว
    ศักราช ๙๕๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๓๒) ข้าวแพงเป็นเกวียนละสิบตำลึง ปิดตราพระยานารายณ์กำชับ ณ วันศุกร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๒ แผ่นดินไหว

    ReplyDelete
  11. ศักราช ๙๕๒ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๓๓) วันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระพฤตาราชนฤพาน วันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ มหาอุปราชายกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี ครั้งนั้นได้ตัวพระยาพสิมตำบลจระเข้สามพัน
    ศักราช ๙๕๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๓๕) วันศุกร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ อุปราชายกมาแต่หงสา ณ วันเสาร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑ เพดานช้างต้นพระยาไชยานุภาพตกออกมาใหญ่ประมาณ ๕ องคุลี ครั้นเถิงเดือนยี่ มหาอุปราชายกมาเถิงแดนเมืองสุพรรณบุรี แต่ตั้งทัพตำบลพังตรุ
    วันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๒ เพลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกา ๒ บาท เสด็จพยุหบาตราโดยทางชลมารค ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพชัยตำบลม่วงหวานแล ณ วันพุธ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จพยุหบาตราโดยทางชลมารค อนึ่งเมื่อใกล้รุ่งขึ้นวัน ๑๒ ค่ำนั้น
    เห็นพระสารีริกธาตุปาฏิหาริย์ไปโดยทางซึ่งจะเสด็จนั้นเถิงวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ เพลารุ่งแล้ว ๕ นาฬิกา ๓ บาท เสด็จทรงช้างต้นพระยาไชยานุภาพ เสด็จออกรบมหาอุปราชาตำบลหนองสาหร่าย ครั้งนั้นมิได้ตามฤกษ์และฝ่าย (ฝ่า) ฤกษ์หน่อยหนึ่ง และเมื่อได้ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น
    สมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้าต้องปืน ณ พระหัตถ์ข้างขวาหน่อยหนึ่ง อนึ่งเมื่อมหาอุปราชาขี่ช้างออกมายืนอยู่นั้น หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกเถิงดิน และเอาคืนขึ้นใส่เล่า ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอช้างตายในที่นั้น และช้างต้นพระยาไชยานุภาพ ซึ่งทรงและได้ชนด้วยมหาอุปราชา
    และมีชัยชำนะนั้น พระราชทานให้ชื่อเจ้าพระยาปราบหงสา

    ReplyDelete
  12. ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๓๖) วันจันทร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้นทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เอามอญเผาเสียประมาณ ๑๐๐ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุหบาตรา ไปเอาเมืองละแวก และตั้งทัพชัยตำบลบางขวด
    เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพระยาศรีสุพรรณในวันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ นั่น
    ศักราช ๙๕๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๑๓๗) ยกทัพไปเมืองสะโตง
    ศักราช ๙๕๗ มะแมศก (พ.ศ. ๒๑๓๘) วันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท เสด็จพยุหบาตราไปเมืองหงสาครั้งก่อน ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพชัยตำบลม่วงหวาน เถิงวันจันทร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ เพลาเที่ยงแล้ว เข้าปล้นหงสามิได้ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา
    ศักราช ๙๕๘ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๓๙) วันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ลาวหนี ขุนจ่าเมืองรบลาว ตำบลคะเคียนด้วน และ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ ฝนตกหนักหนาสามวันดุจฤดูฝน
    ศักราช ๙๖๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๑๔๒) วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๘ บาท เสด็จหยุหบาตราไปเมืองตองอู ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี ตั้งทัพชัยตำบลวัดตาล และในเดือน ๑๑ นั้น สงกรานต์ พระเสาร์แต่ (ราศีกันย์ไปราศี) ตุลย์ ครั้นเถิงวันพุธ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ เสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองตองอู และทัพหลวงเข้าตั้งใกล้เมืองตองอูประมาณ ๓๐ เส้น และตั้งอยู่ที่นั้นสองเดือน ขาดอาหารพ้นกำลัง ไพร่พลทั้งปวงตายด้วยอดอาหารเป็นอันมาก ครั้นวันพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมายังพระนครศรีอยุธยา
    ศักราช ๙๖๓ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๔๔) เดือน ๗ เดือนเดียวนั้นมีสุริยุปราคา ในปีนั้นรับพระอิศวรและพระนารายณ์เป็นเจ้าไปถวายพระพรพร้อมกันวันเดียวทั้ง ๔ คานหาม ศักราช ๙๖๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๑๔๕) เสด็จไปประพาสลพบุรี
    ศักราช ๙๖๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๑๔๖) ทัพพระ (เจ้า) ฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้
    ศักราช ๙๖๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๔๗) วันพฤหัสบดี (แรม ๖ ค่ำ เดือน ๒) เสด็จ พยุหบาตราจากป่าโมกโดยทางฃลมารค และฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพชัยตำบลพระหล่อ วันนั้นเป็นวันอุนและเป็นสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูเป็นองศาหนึ่ง ครั้งนั้นครั้นเสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองหลวงตำบลทุ่งดอนแก้ว

    ReplyDelete
  13. ศิลาจารึกวัดจุฬามณี
    อธิบายจาฤกศิลาวัดจุฬามณี
    ในหนังสือพระราชพงษาวดารฉบับอื่นมีความปรากฎตอน ๑ ว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถสร้างวิหารวัดจุฬามณีแล้ว แลเสด็จออกทรงผนวชอยู่วัดจุฬามณี ๘ เดือน ความข้อนี้ ทราบว่าผู้ศึกษาพงษาวดารตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ ได้พากันค้นหาวัดจุฬามณีในกรุงเก่าไม่พบ แลไม่มีใครรู้ว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงผนวชที่วัดจุฬามณีไหน ต่อมาได้หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ จึ่งทราบชัดว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติอยู่เมืองพิศณุโลกคราว ๑ ไปทรงผนวชที่วัดจุฬามณีเมืองพิศณุโลก แลจึงได้ความเข้าใจกันในพวกโบราณคดีว่าทำไมผู้ศึกษาพงษาวดารแต่ก่อนจึงหาวัดจุฬามณีในกรุงเก่าไม่พบ ในขณะที่โจทกันอยู่ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เสด็จขึ้นไปตรวจราชการมหาดไทย ที่เมืองพิศณุโลก ไปพบศิลาจาฤกมีอยู่ที่วัดจุฬามณี จึงคัดประทานมาทันลงพิมพ์พร้อมกับเมื่อพิมพ์พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐครั้งแรก จาฤกนี้เปนพยานว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถได้ทรงผนวชที่เมืองพิศณุโลกแน่นอน จึงได้พิมพ์คำจาฤกไว้ด้วย

    ReplyDelete
  14. เนื้อความในจารึก
    ลุศักราช ๘๒๖ ปีวอกนักษัตร อันดับน้นนสมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถบพิตรเปนเจ้า ให้สร้างอารามจุฬามณีที่จะเสด็จออกทรงมหาภิเนษกรม ขณะน้นนเอกราชทั้งสามเมือง คือ พญาล้านช้างแลมหาราชพญาเชียงใหม่ แลพญาหงษาวดี ชมพระราชศรัทธา ก็แต่งเครื่องอัฐบริขารให้มาถวาย.
    ลุศักราช ๘๒๗ ปีรกานักษัตร เดือนแปดขึ้นสิบสี่ค่ำครุเทพวารสมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถบพิตรเปนเจ้า เสด็จทรงพระผนวช แลสมเด็จพระราชเอารสท่านกราบลงกับพระบาทแล้วก็สู่พระราเชนทรยาน แลท่านก็ให้บวชพระสงฆ์ปริวัตรก่อนห้าพระองค แล้วท่านจึงทรงเครื่องบรรพชิต แลพระสงฆ์บวชโดยเสด็จทั้งสี่คณะ ๒๓๔๘ พระองค์ แต่สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถบพิตรเปนเจ้าทรงพระผนวชอยู่ได้แปดเดือนสิบห้าวัน ครั้นเถิงเดือนห้าสมเด็จพระเอารสท่านแลพฤฒามาตย์ทั้งหลายถวายบังคมขออัญเชิญพระองค์เสด็จลาผนวช ช่วยครองราษฎรกรรมทั้งปวง ท่านก็เสด็จปริวัตร แล้วก็ล่องลงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา.
    พุทธศักราชได้ ๒๒๒๒ ปีปลาย ๑๐ เดือนห้าวันวอกโทศก (จุล ศักราช ๑๐๔๒) รุ่งแล้วห้าโมง หลวงสิทธิมหาดเล็กรับพระราชโองการแลหมื่นราชสังฆการีรับหมายรับผ้าพระราชทาน ให้พระครูธรรมไตรโลกนารถราชมุนีสีลวิสุทธาจารย์อธิการณอารามจุลามณีทาบรอยพระพุทธบาท ด้วยพระเดชสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารธรรมิกราชาธิราชเจ้าผู้ประเสริฐในภพมีพระโองการตรัสให้อนุญาต ให้ไปประดิษ ฐานไว้ณอารามวัดจุฬามณีเปนที่นมัสการ แต่สมณะพราหมณาจารยแลประชาราษฎรอันมิได้มานมัสการพระพุทธบาท แลจึงพระราชทานแผ่นศิลาควร (ถุทุณา) พระพุทธบาทแลแผ่นศิลาแผ่นหนึ่งให้ลงจาฤกพระราชวงษาวดารแลพระราชตำราแลกัลปนาข้าพระจุลามณีอันประจุพระ เกษาแลเปนข้าพระพุทธบาท ลุศักราช ๑๐๔๓ ปีรกาตรีณิศกวันสุกรขึ้นค่ำหนึ่งยามศุกร ๑๐ ชั้นฤกษ ๒๑ รับพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ในมณฑป
    ตำรานี้พิจารณาแล้ว แลปิดตรามนุษถือสมุดพระศรีสุเรนทราธิบดี อภัยพิริยาพรหมเทพราชมาตยาธิบดีศรีกลาสมุด สมุหพระสุรัสวดีประจำอักษรไว้กลาง (ขหนบวน) ศกเดือนอ้ายขึ้นสิบเบ็จค่ำรกานักษัตรตรีณิศก จึงพระศรีสรรเพ็ชสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชเมศวรธรรมิกราชเดโชชัยบรมเทพาดิ เทพตรีภูวนาธิเบศรโลกเชษฐวิสุทธิมกุฏพุทธางกูรบรมจักรพรรดิศวรธรร มิกราชาธิราชอันประเสริฐ เสด็จอยู่ในพระที่นั่งศรีสุริยาศน์อมรินทราชมหาสถานโดยอุตราภิมุข จึงพระพิมลธรรมอนันตญาณสุทธอุดม ราชกระวีศรีสงฆบรินายกติปิฎกธรวรญาณคำภีรสธรรมราชมุณีบพิตรถวายพระพรทูลพระกรุณา ว่าเมืองพิศณุโลกแต่ก่อนนั้น มีข้าพระเปนกัลปนาพระราชทานอุทิศไว้สำหรับพระอาราม แลบัดนี้ข้าพระทั้งปวงแตกฉานซ่านเซนอยู่แลคนเปนเดิมข้าพระไปอยู่อื่นนั้นควรภิกษุ... (ศิลาชำรุด)..... ทังสิบแปดคนนี้เปนข้าพระณอารามจุลามณี.............(ชำรุด)..... สิบแปดคนนี้แลถวายไว้ให้คงเปนข้าพระณอารามจุลามณีตามเดิมมาแต่ก่อนแล้ว ถ้าบุคคลผู้ใดแลเอาคนข้าพระสิบแปดคนอันพระกัลปนาพ..... (ชำรุด) ........ท่านไว้เปนข้าพระอารามพระจุลามณีไปใช้สอยกิจราชการ......(ชำรุด)......ไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง......(ชำรุด) บุท......(ชำรุด)..........จงไปตกนรกหมกไหม้ใต้บาดาลได้ทุกข์นิรันดรแล้วอย่าได้พบพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์จงทุกชาติเลย

    ReplyDelete