Thursday, 31 May 2012

สำหรับอิทธิบาท ๔

การเจริญพระกรรมฐาน ขอเอาพระธรรมอันหนึ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส ว่าบุคคลใดปฏิบัติได้ครบถ้วน ท่านผู้นั้นจะเข้าถึงความเป็นผู้ สำเร็จทุกอย่างตามที่ตนประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม แต่ว่าวันนี้ในที่นี้เราพูดกันเฉพาะธรรมเรื่องของโลกไม่เกี่ยว โลกจะดีโลกจะชั่วอย่างไรไม่มีความ สำคัญ เพราะคำว่าดีของโลกไม่มี โลกมีแต่เลว มันดีก็ดีแบบหลอกๆ โลกมันแปลว่ามีอันที่จะต้องฉิบหายไป ศัพท์นี้จงอย่าถือว่าเป็นคำหยาบเป็นศัพท์ปกติของ พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ของหยาบไม่ใช่ของโลน ไม่ใช่ของน่าเกลียด สำหรับอิทธิบาท ๔ นี้มีอย่างนี้ ฉันทะ ความพอใจ คือพอใจในการปฏิบัติความดี วิริยะ มีความเพียร จิตตะ มีใจจดจ่ออยู่ในสิ่งนั้น วิมังสา ใช้ปัญญาควบคุมอยู่เสมอ หมายความว่าใช้ปัญญาควบคุมอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าปัญญาในที่นี้ต้องใช้ใคร่ครวญเป็นตัวนำอยู่เสมอที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ ทีนี้อิทธิบาท ๔ ข้อที่ 1.ฉันทะ พอใจอะไร พวกเราบวชเข้ามาเพื่ออะไร หรือว่าเข้ามาอยู่ในเขตพระพุธศาสนาเพื่ออะไร ผมก็จะขอนำถ้อยคำการขอ บรรพชา เอาสมัยก่อน แต่สมัยใหม่นี่ผมไม่ค่อยอยากจะคบนัก เพราะอะไรๆ มันใหม่ไปหมดนี่ผมไม่ค่อยชอบ ของใหม่ราคาถูก ของเก่าราคาแพง อย่างพระ พุทธรูป ของเก่าๆ ราคาแพงกว่าของใหม่มาก นี้การคำขอบรรพชาก็เหมือนกันของเก่าราคาแพงกว่าของใหม่ มีจุดหนึ่งที่ได้กล่าวว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตวา จึงแปลเป็นใจความว่าข้าพเจ้าขอรับกาสาวพัสตร์เพื่อจะทำให้แจ้งเสียซึ่งพระนิพพาน นี้เราขอบรรพชามาเรามีความมุ่งหมายอย่างนี้ เวลานี้ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็ยังมีถ้อยคำว่าต้องการพระนิพพานอยู่เหมือนกัน นี้เป็นอันว่าคำปฏิญาณของเราที่เราจะบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเรา ต้องการอะไร เป็นอันว่าเราต้องการพระนิพพาน ในเมื่อเราต้องการพระนิพพานแล้ว เวลาเราพอใจอะไรอย่าพอใจอะไร ฉันทะความพอใจ เราก็ต้องพอใจใน พระนิพพาน ทีนี้การที่จะพอใจในพระนิพพานเนี่ยเขาทำยังไงกันถึงจะถึงพระนิพพาน ต่อนี้ไปเราก็ไปดูคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า บอกว่าคนที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้นี่ก็ต้องขุดรากขุดเหง้าของกรรมที่เป็นอกุศลทิ้งให้หมด ในขณะหนึ่งตัดโลภะความโลภออกจากจิต แม้นด้วยการให้ทาน สองขุดความโกรธความพยาบาทจองล้างจองผลาญออกจากจิตเสียให้หมด เมื่ออาศัยการทรงพรหมวิหาร ๔ สามตัดความหลงออกไปเสียให้หมดด้วยอำนาจ ของปัญญาที่พิจารณาเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกายและกายไม่มีในเรา เมื่อสรุปรวมง่ายๆ ได้อย่างนี้ก็เรียกว่าเราก็พอใจในอริยสัจ ๔ เมื่อเห็น ว่าสภาวะของโลกทั้งหมดเป็นทุกข์ เอากันง่ายๆ ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชะราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มะระณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปะริ เทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ และความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความจริงข้อนี้มันเป็นของไม่ยาก แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณาดูสักนิดซิว่า ไอ้อะไรที่มันเป็นทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์มันเป็นทุกข์ยังไง ขณะที่เราจะเกิดเรา อาจจะไม่รู้ ขณะที่นอนอยู่ในท้องแม่ท้องพ่อเราอาจจะไม่รู้ แต่ความจริงมันทุกข์ อยู่ในท้องแม่อีตอนนั้นถ้าแม่กินของร้อนจัด ร้อน เดือดร้อนเป็นทุกข์ กินของ เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เดือดร้อน เป็นทุกข์ แม่ใช้กำลังกายเคลื่อนไหวมากเกินไปเป็นทุกข์ อยู่ข้างในมันเหนื่อยถูกเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาแม่เดินแรง ๆ วิ่งแรง ๆ นี้ มันก็เป็นทุกข์ ต่อมาเมื่อร่างกายโตขึ้นมา เมื่อร่างกายโตขึ้นมาแล้วเหยียดขาเยียดแข้งเหยียดขาไม่ไหวนั่งคุดคู้อยู่ในท้องแม่เป็นทุกข์ มันจะเมื่อยก็เมื่อย มันจะปวดก็ ปวด มันก็เหยียดไม่ได้มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์ ว่างๆ ลองนั่งกอดเข่าเล่นโก้ๆ ซัก ๓ ชั่วโมง แบบคนที่อยู่ในท้องนั่งคุดคู้เอาเข่ายันเข้ามาถึงอก เอาแขนรัดเข้าไว้ อย่างนี้ลองนั่งพิจารณาดู แล้วอยู่ในท้องแม่เป็นเดือนๆ แบบนี้มันจะทุกข์ขนาดไหน เราจะมีทุกขเวทนาใดๆ ท่านผู้เป็นแม่ก็ไม่ทราบ เด็กที่ต้อง ตายในท้องเสียนับไม่ถ้วน ถึงว่ามารดาบิดามองไม่เห็นทุกข์ของลูกภายในว่าจะมีโรคภัยไข้เจ็บอะไรบ้าง ในขณะที่เกิดมันข้างในมันเป็นทุกข์ ถ้ามองไม่เห็น ออกมาจากครรภ์มารดา ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดานี้มันก็ทุกข์ ออกมาแล้ว อยู่ในครรภ์มารดาแล้วความอบอุ่นจากไฟธาตุของร่างกายมารดา ออกมากระทบกับ อากาศใหม่ๆ เกิดการแสบตัวเสียงร้องจ้าปรากฏนั่นแสดงว่ามันทุกข์หนัก เจ็บแสบทั้งตัวมันก็เป็นทุกข์ พอออกมาเป็นเด็กขี้ตรงนั้น เยี่ยวตรงนั้น มันเลอะเทอะ ไปหมด เด็กก็มีความรู้สึกเหมือนกับคนธรรมดา ในการสกปรกโสโครกอย่างนั้นมันทนไม่ไหวถึงได้ร้องออกมา แสดงถึงความทุกข์ ถ้าจะหิวอาหาร ต้องการ จะกินอาหาร แม่ก็ยังไม่รู้จะต้องร้องออกมาแล้วเขาถึงจะรู้ว่าหิว มันหิวจนทนไม่ไหวจึงต้องร้อง นี่มันก็เป็นอาการของความทุกข์ รวมความว่าเกิดเป็นทุกข์ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วหาอะไรเป็นสุขไม่ได้ บอกอารมณ์สั้นๆ ไปว่าความหิว ความกระหายทุกวันนี้เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายทุกวันนี้ ปรากฏมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ บางครั้งมีความปรารถนาไม่สมหวังมันมีความสุขหรือความทุกข์ อาการปวดอุจจาระ ปัสสาวะมันสุขหรือมันทุกข์ นี่แหละทุกข์ ถ้ามันจะตายขึ้นมาล่ะ มันสุขหรือมันทุกข์ นี่แล้วก็นั่งคิดเอากันไปตามความเป็นจริง ใช้ปัญญานิดเดียวนี่มันก็เห็นว่าทุกข์ แต่คนมีตากะทู้ หูกระทะเท่านั้นเป็น พวกพหูรูดไม่ใช่พหูสูต ถ้าพหูสูตนั้นก็เขารู้ทุกข์กันมานานแล้ว นี้เมื่อทุกข์มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้จะนั่งภาวนาเวลานี้ให้มันหมดน่ะมันเกินเวลา แล้วก็ไม่มีความจำ เป็น ทุกคนมันมีทุกข์อยู่แล้วถ้าใช้ปัญญานิดเดียวก็มองเห็น ทีนี้ก็ไปนั่งว่าทุกข์มันมาจากไหน นี่เราพอใจมองความทุกข์ ฉันทะ ทุกข์มันก็มาจากความอยากที่เรียกกันว่าตัณหา อยากอะไรอยากรักในเพื่อนใน เพศตรงกันข้าม อยากรวย อยากโกรธ อยากหลงว่านั่นเป็นของกู นี่เป็นของกู มันทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของกูไปหมด นี่อาศัยความอยากที่กล่าวมานี้แล้วมันเป็น ปัจจัยให้เกิด เพราะว่ายังติดความอยากอยู่เพียงใดเราก็ต้องเกิดมาหาความทุกข์ ในเมื่อเรามีความอยากอยู่มันทุกข์ เรายังขืนอยากต่อไปเราก็หาความสุขไม่ได้ ตอนนี้ทำยังไงก็หาทางทำลายความทุกข์ ทำลายเหตุของความทุกข์คือความอยาก อันที่ ๑ อยากรัก แหมทำลายยากเหลือเกิน อยากรวยมันอยากมาเสียนานแล้ว ทำลายยาก เพราะงั้นอยากโกรธอยากพยาบาทก็ทำลายยาก อยากหลงว่านั่นเป็นของเรา นี่เป็นของเราทำลายยาก ทำไมจึงว่ายากก็เพราะว่ามันติดใจมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว พ่อแม่ปู่ย่าตายายนี่แหละสำคัญนัก ส่งเสริมให้ลูกหลานทั้งหลายสร้างความทุกข์อยู่ตลอดเวลา

คุณธรรม 4 ประการ

พรหมวิหาร วิหาร แปลว่า ที่อยู่ พรหม แปลว่า ประเสริฐ คำว่า พรหมวิหาร หมายความว่า เอาใจจับอยู่ในอารมณ์แห่งความประเสริฐ หรือเอาใจไปขังไว้ใน ความดีที่สุด ซึ่งมีคุณธรรม 4 ประการ คือ •เมตตา •กรุณา •มุทิตา •อุเบกขา คุณธรรม 4 ประการนี้ นอกจากความเป็นมนุษย์ผู้เประเสริฐแล้ว ยังเป็นอานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง 11 ประการ ดังนี้ 1.สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ 2.ตื่นขึ้นมีความสุข ไม่มีความขุ่นมัวในใจ 3.นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล 4.เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งหลาย 5.เทวดา พรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง 6.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง สรรพาวุธ และยาพิษ 7.จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม มีแต่จะเจริญยิ่งขึ้น 8.มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ 9.เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ 10.ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร 4 นี้ จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก 11.มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์

พุทธานุสสติกรรมฐาน

พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานทีมี อารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธานุสสตินี้ท่านสอนแบบควบหลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ 5 ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ 5 นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ 5 จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้ ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพียงแต่บอกว่า ก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ 4 ประชุมร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ 5 เสียได้ โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดีท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้ กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมกระทบสาม ฐานนี้ ให้กำหนดณรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อลมหายออก แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฎิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใดองค์ก็ได้ ท่านสอนดังนี้ ตอนที่ภาวนา ท่านให้กรรมฐาน 4 อย่างรวมกัน คือ ตอน พิจารณาขันธ์ 5 เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็น กสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว 4 อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณมีกำลังถึงฌาน 4 หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัส สโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน 2. ธัมมานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงาน เป็นงานในการระลึกนึกถึงคุณพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ คำว่าเป็นอารมณ์ หมาย ถึงให้เอาจิตใจจดจ่ออยู่ในคุณของพระธรรมเป็นปกติ ไม่เอาจิตไปนึกไปคิดอารมณ์อื่น นอกเหนือไปจากพระธรรม อาการที่คิดถึงคุณของพระธรรมนี้มีอารมณ์ การคิดมากมาย เช่นเดียวกับการคิดถึงคุณพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมมีีความสำคัญมากกว่าสิ่งใด ๆ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็มีความ เคารพในพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นหลักความประพฤติดี ประพฤติชอบประจำโลก การที่พระพุทธเจ้าพระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณได้ ก็ เพราะอาศัยพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนานี้จึงนิยมยกย่องพระธรรมว่า เป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐสรณะหนึ่ง การระลึกถึงคุณพระ ธรรมนี้ อาจจะเลือกเอาคำสั่งสอนตอนใดตอนหนึ่งที่ท่านชอบในบรรดาคำสอน 84.000 พระธรรมขันธ์มาเป็นอารมณ์ระลึกได้ตามใจชอบ แต่ท่านโบรา ณาจารย์ท่านประะพับธ์บทสรรเสริญพระธรรมไว้ 6 ข้อ

อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง”

อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึงนึกถึง มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มี สมาธิถึงปฐมฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน 4 และฌาน 5 กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ อนุสสติทั้ง 10 อย่างนี้ เหมาะแก่อารมณ์ของนัก ปฎิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่าน ที่หนักไปในราคจริต กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริต อนุสสตินี้มีชื่อและอาการรวม 10 อย่างด้วยกัน จะนำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้ เพื่อทราบ ดังต่อไปนี้ 1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ 2.ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์ 3. สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์ 4. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์ 5. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์ 6. เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ (อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต) 7. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ 8.อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์ (อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต) 9. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต 10.อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต อนุสสติทั้ง 10 นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฎิบัติแต่ละอย่างดังนี้ กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง 7 นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ ลีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึงปฐมฌานได้ ทั้งนี้ถ้าท่านนักปฎิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้้ แต่ ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียงปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฎิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอา สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฎในอารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 4 ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น อานาปานุสสติ สำหรับอานาปานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มาวาสนาบารมีสาวกภูมิ สำหรับท่านที่มีบารมี คือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็ สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 5 ฌาน 4

กสิณ มีอยู่ทั้งหมด 10 กอง

กสิณ มีอยู่ทั้งหมด 10 กองด้วยกัน ดังนี้
1.ปฐวีกสิณ เป็นกสิณเพ่งดิน
2.อาโปกสิณ เป็นกสิณเพ่งน้ำ
3.เตโชกสิณ เป็นกสิณเพ่งไฟ
4.วาโยกสิณ เป็นกสิณเพ่งลม
5.นีลกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเขียว
6.ปีตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีเหลือง
7.โลหิตกสิณ เป็นกสิณเพ่งสีแดง
8.โอทากสิณ เป็นกสิณเพ่งสีขาว
9.อาโลกกสิณ เป็นกสิณเพ่งแสงสว่าง
10.อากาสกสิณ เป็นกสิณเพ่งอากาศ

ปฐวีกสิณ กสิณ นี้เป็นการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ปฐวี แปลว่า ดิน กสิณ แปลว่า เพ่ง รวมแล้วหมายถึง เพ่งดิน อุปกรณ์กสิณ ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาด หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปมาได้ ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามมีสีอื่นปน หรือถ้าหาไม่ได้มาก ก็เอาสีอื่นไว้ข้างล่างแล้วเอาสีอรุณวางทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ท่านว่า หาได้จากดินขุยปู เมื่อได้ดินแล้ว ก็ทำสะดึงทำเป็นลานติดพื้นดินมีขนาดเท่ากัน ขนาดดวงกสิณ วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง ท่านให้ไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 คืบ 4 นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า 2 คืบ 4 นิ้ว ตั่งที่ วางวงกสิณ ให้สูงไม่เกิน 2 คืบ 4 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะที่พอดี เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำแต่สีดิน ไม่ต้องคำนึงถึงขอบและริ้วรอย กิจก่อนการเพ่งกสิณ เมื่อจัดอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ชำระล้างร่างกายให้สะอาด นั่งสมาธิ หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) เมื่อพิจารณาโทษของ กามคุณจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ก็ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณ จำให้ดี หลับตากำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ แล้วหลับ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย จนกว่าอารมณ์ของใจจะจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจตลอด เรียกว่า "อุคคหนิมิต" แปลว่า นิมิตติดตา เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตนี้แล้ว ท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตไว้จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต ซึ่งรูปและสี ของกสิณจะเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดคล้ายน้ำที่กลิ้งอยู่ในใบบัว จะกำหนดให้เล็กโต สูงต่ำได้ตามประสงค์ อย่างนี้เรียกว่า "ปฏิภาคนิมิต" และต้องรักษาอารมณ์ให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิ อย่าสนใจอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อย เพราะจะทำให้ สมาธิที่จะเข้าสู่ฌานนี้สลายตัวโดยฉับพลัน จิตเข้าสู่ระดับฌาน เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง 10 มีดังนี้
 ฌานในกสิณท่านเรียกฌาน 4 บ้างก็ฌาน 5 ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้
ฌาน 4 ฌาน 4 ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน
1.ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
2.ทุติยฌานมีองค์
3 คือ ละวิตกและวิจารเสียได้ ยังดำรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา
3.ตติยฌานมีองค์
2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ยังดำรงสุขอยู่ในเอกัคคตา 4.จตุตถฌานมีองค์
2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ฌาน 5
1.ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
2.ทุติยฌานมีองค์ 4 คือละวิตก ยังทรงวิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
3.ตติยฌานมีองค์ 3 คือ ละวิตก วิจาร ยังทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
4.จตุตถฌานมีองค์ 2 คือ ละวิตก วิจาร ปีติ ยังทรงสุขกับเอกัคคตา 5.ฌาน 5 หรือที่เรียกว่า ปัญจมฌาน มีองค์ 2 เหมือนกัน คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ ยังทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพ่ิมอุเบกขาเข้ามาอีก กสิณนี้ถ้าท่านปฏิบัติทำให้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่เจริญในกสิณ เมื่อได้แล้วก็ต้อง ฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่อง เมื่อเข้าฌานคล่องแล้ว ต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจกสิณให้ได้คล่องแคล่ว จึงจะชื่อว่า ได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ ควรย้ายไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น ถ้าชำนาญในการนิรมิต อธิษฐานแล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกัน ต่างกันแต่สี พยายามฝึกฝนจนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน จึงค่อยย้ายกองต่อไป
องค์ฌานในกสิณทั้ง 10 กอง ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ
1.วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมตินั้นเป็นอารมณ์
2.วิจาร พิจารณาปฏิภาค คือ พิจารณาว่ารูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงาม คล้ายแว่นแก้ว บริสุทธิ์สะอาด
3.ปีติ มี 5 ประเภทคือ ?ขุททากาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล
- ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ - โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง บ้างก็โยกไปโยกมา
- อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยได้ไกล
- ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายสูงใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
4.สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
5.เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ทั้ง 5 อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่น ๆ แต่กสิณนี้มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้า สู่จตุตถฌาน หรือปัญจมฌาน ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือจะเว้นจากการภาวนาไปเอง
        การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง เหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาค นิมิตจะสวยวิจิตรมากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขปราณีต ตติยฌาน มีองค์ 2 ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่สุขแบบเครียด ๆ มีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต ลมหายใจอ่อนระรวย ภาพนิมิตดูงามสง่า มีรัศมีผ่องใส อารมณ์ของจิตไม่สนใจกับอาการทางกายเลย จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุขและความทุกข์ใด ๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น ปล่อยวางต่ออารมณ์ มีจิต สว่างคล้ายใครเอาประทีบที่สว่างมากมาวางไว้ ไม่มีอารมณ์รับเสียง ลมหายใจสงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ 4 เป็นฌานสำคัญชั้นยอด เมื่อมี อารมณ์จิตถึงฌาน 4 จะไม่ปรากฎว่ามีลมหายใจ ทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึงฌาน 4 *************************

ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

จริต 6 จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ 1.ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูด จาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ 2.โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว 3.โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่ อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้ 4.วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ ยาก 5.สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา 6.พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณา วิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิด ฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อ ให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง •อสุภกรรมฐาน 10 •อนุสสติกรรมฐาน 10 •กสิณ 10 •อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 •จตุธาตุววัฏฐาน 1 •พรหมวิหาร 4 •อรูป 4 แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของ ท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้ 1. ราคจริต ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็ เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครก โดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา 2. โทสจริต คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสี เขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญ พิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป 3. โมหะ และ วิตกจริต อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลง ฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป 4. สัทธาจริต ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ 1.พุทธานุสสติกรรมฐาน 2.ธัมมานุสสติกรรมฐาน 3.สังฆานุสสติกรรมฐาน 4.สีลานุสสติกรรมฐาน 5.จาคานุสสติกรรมฐาน 6.เทวตานุสสติกรรมฐาน ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส 5. พุทธิจริต คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง 1.มรณานุสสติกรรมฐาน 2.อุปมานุสสติกรรมฐาน 3.อาหาเรปฏิกูลสัญญา 4.จตุธาตุววัฏฐาน กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่ สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่ เพราะอรูปละเอียดเกินไป *************************

อวิชชา หมายถึง อุปาทาน

อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ อุปาทาน ได้แก่ ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มี อยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ความจริงอารมณ์ตอนนี้ก็เข้มแข็งพอ คนที่เป็นอนาคามีแล้ว เป็น ผู้มีจิตสะอาด มีอารมณ์ขุ่นมัวบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อารมณ์ใจยังเนื่องอยู่ในอวิชชา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่เข้าถึงสุขที่สุด ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข ก็ควรจะใช้บารมี 10 นำมาประหัตประหารเสีย อวิชชานี้ ที่ว่า มีฉันทะ กับราคะ นั้น ท่านก็ตรัสว่า ฉันทะ คือมีความพใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์ ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความ ทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ในใจของท่านต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็น เอกัคตารมณ์ ในอุปสามานุสสติกรรมฐาน อะจีรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง ร่างกายนี้ ไม่ช้าก็มีวิญญาณไป ปราศจากวิญญาณแล้ว ร่างกายก็ถูกทอดทิ้งเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ *************************