Thursday 31 May 2012

วิชชา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ

วิชชา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ตามความนิยามความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ หมายถึง การเกิดในกำเนิดทั้ง 4 ประการ อย่างที่ตนเกิด สัตว์เกิด คือ เกิดในครรภ์ เกิดในไข่ เกิดในของสกปรก เกิดโดยผุดขึ้น มี 3 ประการ คือ 1. ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ คือ การระลึกชาติได้ ได้แก่ การเกิดของพระองค์ และของสัตว์อื่น ที่ผ่านกันมาในอดีตกาล โดยไม่อาจจะนับประมาณได้ว่า พระองค์ได้เคยเกิดมากี่ชาติแล้ว พระญาณเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกระทำให้สมบรูณ์ ในระดับของศีล ระดับของสมาธิ ระดับของปัญญา จนปรับจิตของตน ให้อยู่ในสภาพที่ทรงแสดงว่า ..เรานั้น เมื่อจิตมันไม่หวั่นไหว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็นจิตอ่อนโยน พร้อมที่จะน้อมไปเพื่อรู้ชาติปางก่อน และเราก็จะระลึกชาติปางก่อนได้ ตั้งแต่ 1 ชาติ เรื่อยไปไม่สามารถจะนับเป็นตัวเลขได้ และทรงรู้รายละเอียดในชาตินั้นๆ 2. จุตุปปาตญาณ คือ รู้จักกำหนดจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลายในโลกนั้น คนเกิดที่แตกต่างกัน ทั้งด้านรูปร่าง หน้าตา สถานะ ผิวพรรณ พื้นเพ อัธยาศัย ระดับสติปัญญา และพฤติกรรมที่บุคคลเหล่านั้นแสดงออก ที่บุคลเหล่านั้นได้กระทำเอาไว้ในภายในชาตินั้นๆ กรรมเป็นตัวจำแนกแบ่งแยกให้คนเลว ให้ประณีต แตกต่างกัน 3. อาสวักขยญาณ คือพระญาณ ที่ทำอาสวะให้หมดไปสิ้นไป คำว่า อาสวะ เป็นชื่อของกิเลสที่หมักหมมอยู่ภายในจิตใจของบุคคล เก็บสะสมข้ามภพ ข้ามชาติมาเป็นเวลาที่นับไม่ได้ แต่ด้วยที่ทรงรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 ด้วยญาณทั้ง 3 ตามลำดับ คือ รู้บ่อเกิดแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จึงสามารถทำอาสวะให้หมดสิ้นไปได้ ******* "ในวันนี้คงจะมีแต่สุขสันต์ แต่ว่ามันคงจะดีแค่ความหมาย เพราะว่ามันคือหนทางแห่งความตาย อาจเหนื่อยหน่ายแต่จะได้มีชีวี เพราะประมาทคือหนทางไม่สร้างสรรค์ ที่ทุกวันคนที่มีมักสลาย อย่าหลงชื่อความประมาทหวังสบาย อาจจะตายจนสบายในมรณัง " "อันความตายชายนารี หนีไม่พ้น จะมีจนก็ต้องตาย กลายเป็นผี ถึงแสนรักก็ต้องร้าง ห่างทันที ไม่วันนี้ก็วันหน้า จริงหนอเรา " "อยากได้ดี ไม่ทำดี นั้นมีมาก ดีแต่อยาก หากไม่ทำ น่าขำหนอ อยากได้ดี ต้องทำดี อย่ารีรอ ดีแต่ขอ รอแต่ดี ไม่ดีเลย " ************

ศีลมีความหมาย

ศีลมีความหมายคือ ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา "ศีล" นั้นแปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ และในบรรดาศีลชนิดเดียวกันก็ยังจัดแบ่งออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์) คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษย์ธรรม"

ลักษณะของการฝึกญาณ ๘

ลักษณะของการฝึกญาณ ๘ เราได้ทิพจักขุญาณก่อน คราวนี้ทิพจักขุญาณถ้าไม่ชัดเจนแจ่มใส บางทีเหมือนยังกับเราคิดเองเออเอง วิธีทดสอบง่ายๆ ก็คือว่าให้ถามปัญหาที่พิสูจน์ได้ในระยะเวลาสั้นๆ อย่างเช่นว่าถ้าพรุ่งนี้เราออกจากบ้านเราจะเจอใครเป็นคนแรก ผู้หญิงหรือผู้ชาย ใส่เสื้อผ้าสีอะไรอย่างนี้ พอตอนเช้าก็โผล่หน้าออกไปดูเลย ถ้ามันตรงก็ใช้ได้ ลองนั่งข้างถนนหลับตาทำใจสบายๆ วางอารมณ์อยู่ในทิพจักขุญาณของมโนมยิทธิ เสียงรถยนต์แล่นมาให้ถามว่ารถยนต์มาสีอะไร พอคำตอบเกิดขึ้นก็ลืมตาดู มันได้คำตอบในระยะสันๆ เลย ถ้าหากว่าผิดไม่ต้องจำ แต่ถ้าถูกให้จำว่าเราวางอารมณ์ไว้ยังไง แล้วก็กำหนดใจอย่างนั้นรถมาสีอะไร ต่อไปพอถูกสักแปดคันในสิบคัน ความมั่นใจเริ่มมี เพิ่มไปว่ารถมาสีอะไร คนนั่งมากี่คน พอมันถูกมากๆ เข้าสักแปดในสิบว่ารถมาสีอะไร คนนั่งมากี่คน ผู้หญิงเท่าไหร่ผู้ชายเท่าไหร่ ต่อไปรถมาสีอะไร นั่งมากี่คน ผู้หญิงเท่าไหร่ผู้ชายเท่าไหร่ แต่ละคนใส่เสื้อผ้าสีอะไร ท้ายๆ กระทั่งเลขทะเบียนรถก็บอกถูก ให้พิสูจน์กับสิ่งที่พิสูจน์ได้ระยะสั้นๆ เพื่อที่เราจะได้มั่นใจว่าความรู้นี้ถูกต้องจริงๆ ( ฝึกทุกวันต้องซ้อมไว้ทุกวันไม่งั้นสนิมขึ้น จะใช้งานแต่ละทีชักดาบไม่ออกสนิมกินติดกระบอกไปแล้ว ) เรารักษาอารมณ์ยังไง ? ทาน ศีล ภาวนาของเราทรงตัวแค่ไหน ? อารมณ์ใจนั้นถึงอยู่กับเรา เราปฏิบัติวันละเท่าไหร่ ? เช้ากี่ครั้งเย็นกี่ครั้ง ? รักษาอารมณ์ได้นานเท่าไหร่อย่างนั้น แล้วตอนนี้เราได้ทำอย่างนั้นมั้ย ? ถ้าเรายังทำอย่างนั้นผลอย่างนั้นก็ยังเกิดอยู่ แต่ถ้าเราเลิกทำเมื่อไหร่ผลอย่างนั้นก็หายไป หลังจากที่เรียกว่าเหมือนกับว่าเคยได้อย่างนี้คะ แล้วหนูรู้สึกว่ามันไม่ค่อยอยากจะทำแล้วก็ไม่ค่อยอยากจะสวดมนต์ ไม่ค่อยอยากจะไหว้พระ ? .....เราไม่สร้างเหตุแล้วผลจะเกิดได้อย่างไร ? เราก็ต้องทำเหตุอันนั้นใหม่ คนที่เคยทำได้แล้วไม่ยาก ถ้าเคยทำได้แล้วจะไม่ยากไปทบทวนอารมณ์เดิมของเรา พอถึงตรงจุดนั้นเมื่อไหร่ตัวรู้นี่ก็จะเกิดขึ้นมาใหม่ แรกๆ มันเป็นความรู้สึกพอนานไปๆ ความมั่นใจมันมากเข้าๆ อยู่มันจะเหมือนกับปรากฏภาพวาบขึ้นมาเฉยๆ ตอนนั้นก็จะลำบากอยู่อีกช่วงหนึ่ง พอภาพมันปรากฏขึ้นมาความเคยชินจะไปใช้สายตาเพ่งอยู่ เราต้องส่งจิตออกไปนะไปถึงสถานที่นั้นๆ ถึงจะรับรู้ภาพอย่างนั้นๆ ได้ ..

สายวิชชา 3 จะรุ่งเรือง

อีกไม่นานสายวิชชา 3 จะรุ่งเรืองมากๆ เท่ากับสมัยที่พระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ แต่ก็จะมีคนบ่อนทำลาย 1.คนที่นับถือ นักบวชที่ จ้องทำลายสายวิชชา3โดยเฉพาะ ซึ่งจะมีนักบวชทั้งที่เล่นคุณไสยเป็น นักบวชที่ต้องการลาภยศ ลูกศิษย์ของนักบวชที่กล่าวมาแล้ว จะแสดงตนเป็นศัตรูอย่างออกนอกหน้า คอยทำลายกำลังใจสายวิชชา3 สายวิชชา 3 ฝึกง่ายก็จริง แต่กว่าจะฝึกให้ชำนาญและใช้เป็นนั้นยากมาก จึงเป็นการง่ายที่กำลังใจจะตกเมื่อถูกพูดมากๆ กำลังสำคัญแห่งสายวิชชา 3 คือเด็กวัยรุ่นยุคใหม่ ซึ่งมักจะโชคร้ายที่มีผู้ปกครอง เป็นมิจฉาทิฐิ จึงต้องใช้กำลังใจอย่างมาก ถึงจะฝึกได้ 2.ศัตรูที่แต่งกายเหมือนเรา กล่าวคือ ทำทีท่าว่าเป็นสายวิชชา3 แต่เบื้องหลังน่ากลัวมากๆ ใช้หลวงพ่อเป็นเครื่องมือ คนพวกนี้ฉลาดในธรรมะมากๆ อ่านหนังสือ เยอะ เพราะฉะนั้นจึงฉลาด คอยหลอกสายวิชชา 3 ที่ฝึกใหม่ๆ ชอบอวดอ้างว่าตนเองได้ฌาน ขอให้สายวิชชา 3รุ่นใหม่อย่าเชื่อไปทั้งหมด ดูดีๆก่อนว่า อันไหนจริงอันไหนเก๊ ไม่ใช่เห็นว่าจะดีไปทุกคน 2ข้าศึก ที่ชนิดแรก เป้นฝ่ายตรงข้าม แต่ชนิดที่ 2 แต่งกายเหมือนเรา แต่พร้อมจะแทงเราเสมอ พึงระวังไว้ ******

Age of Enlightenment


อายุการตรัสรู้ (หรือเพียงแค่การตรัสรู้หรืออายุของเหตุผล) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของปัญญาชน

Age of Enlightenment. (Or just the Enlightenment or Age of Reason) is a cultural movement of intellectuals.
***อ่านต่อที่ comment ครับ ***

บวชก่อนนะ ค่อยมีเมีย 55555



บวชเรียนก่อนนะ ชายไทยแท้ต้องทดแทนคุณพ่อ-แม่ บ้าง อย่าพึงแว้น ๆๆ เลย เสียดายค่าน้ำนมจัง..!

Wednesday 30 May 2012

เหตุทั้งปวง คือ ห้วงแห่งอารมณ์


ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ 
คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ 
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมากมีนามว่าอินทกะ เหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมากมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดี ได้มายืนอยู่แล้ว ฯ) 

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ 
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ 
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต 
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมากมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)

ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ 
นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ 
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต 
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าววิรูปักษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด  ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ) 

อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต 
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ทั้งหลาย เป็น เทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่า อินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากมีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดี ได้มายืนอยู่แล้ว ฯ) 

ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง 
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโรทิสา 
ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ ฯ

(ท้าวธตรฏฐ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันตก ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ)ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ ทั้ง ๔ ท่านนี้เป็นท้าวมหาราชได้มายืนอยู่ทำทิศทั้ง ๔ ให้รุ่งเรืองสว่างไสวแล้ว ฯ) 

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน 
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต 
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา 
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,

(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดีชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่ง สถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้นในบ้าน บนต้นไม้ และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบกและที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียงจงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย จงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ที่เรากล่าวอยู่นี้,) 

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา 
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา 
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา