Sunday 18 August 2013

มงคลสูตร๓๘ประการ




คำแปล ข้าพเจ้า (คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้ เมืองสาวัตถีครั้งนั้นแลเทพดาองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มี รัศมีอันงามยิ่งนัก ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค เจ้า แล้วได้ยืนอยู่ในท่ามกลางส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดานั้นยืนในที่สมควรส่วนข้าง หนึ่งแล้วแล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอ พระองค์จงเทศนามงคลอันสูงสุด - ความไม่คบชนพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ ความบูชาชนควร บูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาอันชน กล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑ การงานทั้งหลายไม่ อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑ ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ กรรม ทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทใน ธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ ความเป็นผู้รู้ อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน ๑ ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอัน สูงสุด, - ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ ความเจรจา ธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑ ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่มีโศก ปราศจากธุลีเกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด, - เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทพดาและ มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.------------------------------------------------ มงคลสูตร - มงคลชีวิต 38 ประการเหตุแห่งความเจริญทั้งหลาย ในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งหนึ่งในยามเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนพระธรรมเทศนาแก่เหล่าเทวดา ก็มีเทวดาองค์หนึ่งมีรัศมีงดงามมาก ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ หลังจากได้ทำการอภิวาทถวายความเคารพแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ ยืนอยู่ข้างหนึ่งแล้วได้ถามคำถามกับสมเด็จพระภวควัน แปลเป็นไทยว่าใจความว่า "เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ผู้หวังหวังความสวัสดี ได้พากันคิดถึงซึ่งมงคล คือเหตุแห่งความเจริญทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงตรัสบอกมงคลอันสูงสุดนั้นด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า" พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบ จำแนกเป็นข้อได้ ๓๘ ประการดังนี้ การไม่คบคนพาล คนพาลคือคนที่มีจิตใจหยาบช้า มีมิจฉาทิฐิ คือมีความเห็นผิด โดยรวมนั้นน่าจะหมายถึงคือคนชั่ว คนไม่ดี หรือคนจิตใจไม่ดีด้วย การคบคนประเภทนี้นานๆเข้าย่อมหล่อหลอมให้เรามีความคิดผิดไปด้วย คือเป็นอย่างเขาไป ดีไม่ดีเขาอาจจะพาไปทำสิ่งไม่ดีไปด้วย อันเป็นการที่ควรเลี่ยงให้ห่างจากคนพาลนี้ การคบบัณฑิต บัณทิตคือผู้ที่มีความรู้มาก บัณทิตในที่นี้นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้แล้ว ต้องเป็นผู้ที่มีสัมมาทิฐิคือมีความเห็นถูกด้วย โบราณว่า "คบคนพาล พาลไปหาผิด คบบัณฑิต บันฑิตพาไปหาผล" การคบบัณฑิตย่อมหล่อหลอมให้เรามีสติปัญญาเพิ่มพูน มีความเฉลียวฉลาดมากขึ้น การบูชาบุคคลที่ควรบูชา คนที่ควรบูชา คือใคร? คนที่ควรบูชาอันดับแรก ก็คือ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณ เป็นคนที่ควรบูชาในอันดับแรกอันดับต้น แต่บุคคลที่ควรบูชาอันสูง ก็คือ พระพุทธเจ้า เพราะการที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าได้นั้นต้องบำเพ็ญบารมีมากมาก หลายกัล์ป อบรมสั่งสมบารมีความดีมายาวนาน จนได้เป็นพระพุทธเจ้านำพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านทรงค้นพบนั้นจำแนกแจกจ่ายแก่เหล่าสรรพสัตว์ ให้พ้นออกจากกองทุกข์แห่งวัฏะสงสาร และท่านยังมีบารมีสูงสุดทั้ง 3 โลกธาตุนี้ไม่มี บารมีของผู้ใดจะเกินบารมีของพระพุทธเจ้า ท่านจึงเป็นบูชนียบุคคล เป็นบุคคลที่ควรเคารพบูชาสูงสุด รองลงมาก็ จะเป็นการบูชา พระอริยสงฆ์ คือสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เจริญวิปัสนากรรมฐานจนสามารถทำจิตให้รู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ พระอริยเจ้านั้นมี 4 ลำดับคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จากนั้นคนที่ควรบูชาก็คือพระมหากษัตริย์ หรือผู้ทรงคุณความดี พระมหากษัตริย์ นั้นคือผู้ที่ปรารถนาโพธิญานคือ ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ท่านลงมาเกิดเป็นพระมหากษัตริย์ ก็เพราะท่านต้องการมาสั่งสมความดีบารมี การบูชาท่านจึงเป็นมงคลเป็นอย่างมาก วิธีการปฏิบัติในข้อนี้ก็คือ การเลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ และผู้ที่บุญคุณ สวดมนต์ไหว้พระระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ คุณของพระมหากษัตริย์ และผู้ทรงคุณธรรมความดีทั้งหลาย การอยู่ในประเทศอันสมควร การอยู่ในประเทศอันสมควรหมายถึง การเลือกอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม สภาวะแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมย่อมเป็นมีอิทธิพลต่อ จิตใจคน หากเลือกอยู่สถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่นในเมืองประเทศ หรือสังคมที่ทีคนทำผิดศีลเยอะ หรือทำบาป ที่นั้นย่อมไม่เหมาะแก่การเจริญคุณงามความดี แต่หากไปอยู่ในที่ใดที่มีการทำแต่คุณงามความดี ที่นั้นย่อมเหมาะแก่การเจริญสิ่งที่ดีทั้งหลาย ดังนั้นหากหวังความเจริญแล้วควรเลือกถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่อยู่ให้เหมาะสม เคยทำบุญมาแต่กาลก่อน การที่เคยทำบุญมาแต่กาลก่อนนั้น หมายถึงว่าหากบุคคลเป็นผู้ที่เจริญ และมีมีความสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นผลเนื่องมาจากบุญกุศลความดีที่เขาทำมาในอดีตชาติ ดังนั้นหากผู้ใดปรารถนาให้ตัวเองได้รับความสุขความเจริญในอนาคต ก็ควรทำบุญกุศล และทำความดีในวันนี้ บางคนอาจจะคิดว่า เราก็ทำบุญมาบ่อยชาตินี้ ทำไมถึงไม่มีความสุขมีความเจริญอย่างเขา ก็อย่าลืมว่า คนเรานั้นมีบุญมีบาปติดตัวมาไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคราใดที่บุญให้ผลเราก็มีความสุข แต่คราใดที่บาปให้ผลก็มีความทุกข์เกิดขึ้นดังนั้น หากต้องการให้ตัวเองมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ก็ให้ละอกุศล ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง และทำบุญกุศลทำความดี ในอนาคตข้างหน้าก็จะมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ การตั้งตนไว้โดยชอบธรรม การตั้งตนไว้โดยชอบธรรม หมายถึงการมีสติสัมปชัญญะ การระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดว่าทำอะไร อย่างไร ไม่เผลอตัวเผลอใจไปกับโลกหรือสิ่งที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะโดยทั่วไปคนเรามันจะปล่อยใจไปกับสิ่งที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ ทางความคิดเสมอ ทำให้จิตใจจมไปความคิดนึก เป็นเหตุให้ไม่มีสติ ดังนั้นควรมีสติระลึกรู้ให้มากเสมอ การเป็นผู้เรียนรู้มาก ในข้อนี้หมายถึงการเป็นคนใฝ่เรียนรู้ การศึกษาหาความรู้ใส่ตัวเสมอ ย่อมทำให้มีความเฉลียวฉลาดคิดอ่านประการใดก็จะดี มีประโยช์ต่อตัวเอง สังคมคนรอบข้าง และประเทศชาติบ้านเมือง การมีศิลปวิทยา หมายถึงการนำความรู้มาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเฉลียวฉลาด เหมาะสมแก่รูปแบบและสถานการณ์ การมีวินัยที่ดี ระเบียบวินัย เป็นแบบแผนข้อปฏิบัติ การมีระเบียบวินัยดีทำให้เกิดเพียร และความสำเร็จ การพูดแต่วาจาที่ดี การพูดวาจาที่ดี ย่อมเป็นที่น่าฟังต่อคนรอบข้างที่เสวนาด้วย ย่อมทำให้เกิดมิตร มีแต่คนรัก คนชม ไม่สร้างศัตรู การบำรุงบิดามารดา พ่อแม่เป็นผู้ที่มีบุญคุณสูงสุดต่อลูก การจะทำสิ่งใด หากขาดความกตัญญูแล้วย่อมไม่มีความเจริญสำเร็จลงได้ การสงเคราะห์บุตร ข้อนี้คงไม่ต้องอธิบายเพราะคนมีลูกย่อมรู้ดี การสงเคราะห์ภรรยา การที่จะครองคู่ให้เป็นผลสำเร็จไปได้ด้วยดี จะต้องมีการครองตนให้ดีก่อน นั่นคือการมีศีลธรรมประจำใจ เพราะศีลคือความปกติของกาย วาจา ใจ ผู้ที่มีศีลจะไม่ทำร้ายกัน มีความจริงใจต่อกัน ไม่โป้ปดหลอกลวงกัน ไม่นอกใจกัน มีจิตใจเมตตาต่อกัน มองกันในมุมที่ดี จึงจะให้อภัยต่อกันได้ พระพุทธองค์ได้ให้หลักธรรมในการครองเรือนไว้ ๔ ข้อ ซึ่งจะต้องนำไปใช้ทุกๆ ข้อ จึงจะบังเกิดผลได้สมบูรณ์ เพราะทุกๆ ข้อมีความหมายเฉพาะ และโยงไปสู่ข้ออื่นๆ ส่งเสริมต่อกันให้ปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งหลักธรรมในการครองเรือนประกอบด้วย - สัจจะ (ความจริง จริงใจต่อกัน) รักที่จริงใจ...ไขปัญหาทุกสิ่ง - ทมะ (รู้จักข่มใจ ฝึกฝน ปรับตัว) ปรับเข้าหากันเติมเต็มส่วนที่ขาด - ขันติ (อดทน เข้มแข็ง ทนทาน) เพราะรักเขา...เราจึงทนได้ - จาคะ (ความเสียสละ) เมื่อเขาสุข เราก็สุขด้วย ทำงานไม่ให้คั่งค้าง การทำงานให้เสร็จไปย่อมทำให้เกิดความสบายใจ ฝึกนิสัยให้เป็นคนมีความรับผิดชอบ และขยันหมั่นเพียร การให้ทาน การให้ทานหมายถึง การแบ่งปัน การเสียสละด้วยใจที่เอื้อเฟื้อ การให้ทานเป็นการกำจัดความตะหนี่ขี้เหลียว ความยึดติดในทรัพย์ ทานเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขความเจริญ หากให้ทานด้วยใจบริสุทธิ์ปรารถนาจะให้ด้วยความเต็มใจและไม่หวังผลตอบแทนย่อมมีอานิสงฆ์มาก การประพฤติธรรม คือการตั้งตัวเป็นคนดีตามกรอบของศีล ไม่ละเมิดศีล มีความสำรวมในกาย วาจา และจิตใจ ให้มีความปรกติ การสงเคราะห์ญาติ ญาติคือผู้ที่เป็นมิตรต่อเรา การสงเคาราะห์ช่วยเหลือญาติ ตามสมควร ก็เป็นการสร้างสมมิตรที่ดี ในอนาคตทำอะไรก็จะมีแต่คนช่วยเหลือสงเคราะห์ไม่โดดเดี่ยว ทำงานที่ปราศจากโทษ การทำงานที่ปราศโทษคือ งานที่ถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดศีลธรรม เพราะงานที่เป็นโทษเช่นงานที่ผิดกฏหมายย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ตนได้ในภายหลัง หรือหากเป็นงานที่ผิดศีลธรรมก็ต้องเลี่ยงไม่พ้นในการที่ทำให้ตัวเองต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะต้องรับผลกรรมไม่ว่าในชาตินี้ หรือหลังจากตายไปแล้วกรรมนั้นก็ติดตามไปให้ผลต่อ ละเว้นจากความชั่ว การละเว้นจากความชั่วก็คือการรักษาศีล ให้บริสุทธิ์นั่นเอง หากเป็นฆราวาสก็เป็นศีล ๕ หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ กายใจย่อมเป็นปรกติ นำพาซึ่งความสุขความเจริญ การไม่ดื่มน้ำเมา การดื่มน้ำเมา หรือการดื่มสุรา เครื่องมึนเมา ย่อมทำลายสติสัมปชัญญะ อาจเป็นเหตุให้ทำผิดในข้ออื่นๆอีกมากมาย นำพาซึ่งความเดือดร้อนมาให้กับตัวเอง นอกจากนั้นการดื่มน้ำเมา สุรา เมรัย ยังเป็นปัจจัย เป็นกรรมให้เป็นคนบ้า ขาดสติในอนาคต ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ก็หมายถึงการมีสติรู้ตัวไม่ให้จิตใจ ตกไปในอิทธิพลของความคิดที่ไม่ดี ทั้งหลายเพราะความคิดที่ไม่ดีย่อมชักนำให้ เกิดการไปทำสิ่งที่ไม่ดีตามไปด้วย การมีสติรู้ตัวอยู่เสมอย่อม รักษาจิตใจ และการกระทำได้ การมีสัมมาคารวะ การมีสัมมาคารวะ คือการเคารพผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสกว่า ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่ถือตัว ถือตน ไม่ยกตนข่มท่าน มีความสันโดษ คือ ความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ไม่โลภมาก เป็นความโลภความปรารถในสิ่งที่เกินตน ย่อมนำพายึ่งความเดือดร้อนมาสู่ตนในภายหลังได้ มีความกตัญญู คือการปฏิบัติตามข้อ 11. นอกจากนั้นยังต้องกตัญญูต่อผู้ที่มีบุญคุญทุกคน ใครมีคุณก็ตอบแทนเขา กตัญญูต่ การฟังธรรมตามกาล คือ การสดับฟังพระธรรมเทศนา อันเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่อาจจะเป็นการแสดงโดยพระอริยสงฆ์ เพื่อเจริญปัญญาทางจิตใจให้เจริญงอกงาม ปลุกคุณงามความดีในตัวให้ตื่น มีความอดทน การมีความอดทนนั้นมีความสำคัญมาก เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดความสำเร็จ และผ่านปัญหาและอุปสรรคทั้งปวง อย่างชาญฉลาด เกิดความสงบสุข ไม่เดือดร้อน อย่างแท้จริง ความอดทนเป็นสิ่งที่ควรฝึกฝนสร้างสมไว้ให้มาก เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง การได้เห็นสมณะ คือผู้ที่ประพฤติธรรม อันหมายถึงพระอริยเจ้าหรือ พระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมวิเศษ และผู้ที่คุณวิเศษ การอยู่ใกล้บุคคลประเภทนี้ย่อมทำให้จิตใจของผู้นั้น เกิดความตั้งมั่นต่อความดีได้ง่าย เพราผู้ที่เป็นสมณะย่อมมีความพระพฤติและจิตใจที่ดีงามย่อม มีอิทธิพลต่อผู้ที่เข้าใกล้ได้โดยง่าย การสนทนาธรรมตามกาล ข้อนี้จะเกิดขึ้นได้ก็เนื่องด้วยผู้นั้นต้องเจริญหรือปฏิบัติธรรมก่อน เมื่อปฏิบัติไปแล้ว หากพบกาลยาณมิตรธรรมก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอาจจะการสนทนากับผู้ที่รู้เห็นมากกว่าก็ได้ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม อันเป็นประโยชน์มากต่อนักปฏิบัติธรรม มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส คือการปฏิบัติธรรม เพื่อทำกิเลส เครื่องที่ทำให้จิตเศร้าหมอง หมดไป คือการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมนั่นเอง การประพฤติพรหมจรรย์ คือการบวช การบวชคือการงดเว้นออกจากกาม กามนี้หมายถึง กามคุณ ๕ อันได้แก่ ความพอใจและติดใจใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และการความคิดทางใจ อันเป็นสิ่งที่ปุถุชนคนธรรมดา ปล่อยจิตใจให้หลงใหลไปในกามคุณนี้เสมอ เช่นเมื่อเห็นรูปสวยก็หลงไปในรูปนั้น ได้ยินเสียงเพราะก็ชอบใจหลงใหลไปในเสียงนั้น ได้กลิ่นหอมก็เพลิดเพลิน ได้สัมผัสรสอร่อยของอาหารก็มีจิตน้อมไป การประพฤติพรหมจรรย์ คือการดำริออกจากกามคุณ 5 นี้ ซึ่งเป็นการบวช เช่น ถ้าบวชพราห์มก็สวมชุดขาว รักษาศีล 8 หากบวชพระ ก็รักษาศีล 227 ข้อ แต่การประพฤติพรหมจรรย์นี้ไม่จำเป็นต้องบวชตามวิธีการก็ได้ หากเป็นคนมีกำลังใจเข้มแข็งก็สามารถบวชใจ คือใช้ใจรักษาพรหมจรรย์ก็ได้ ก็คือรักษาใจไม่ให้หลงใหลไปในกามคุณทั้ง 5 นี้ การเห็นอริยสัจ การจะเห็นอริยสัจได้ก็ต้องลงมือปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง อริยสัจธรรมไม่ใช่สิ่งที่จะรู้เห็นได้ด้วยการคิดนึก หรือการทึกทักเอาจากความคิดของคนธรรมดา ต้องเป็นการลงมือปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่าง ถูกต้อง ตามวิถีแห่งมรรค 8 จึงจะรู้เห็นได้ตามความเป็นจริง ผู้ที่เริ่มเห็นอริยสัจได้อย่างแท้จริงและเข้าสู่วิธีแห่งการพ้นทุกข์ได้นั้น เริ่มต้นที่พระอริยเจ้าในขั้นพระโสดาบันเป็นต้นไปเท่านั้น การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน การจะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ก็ต้องมากจากการปฏิบัติในข้อที่ 33. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม โลกธรรม 8 หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของโลก ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดานี้ 8 ประการอันประกอบด้วย โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา 1.ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์ 2.ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต 3.สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ เป็นที่น่าพอใจ 4.สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา 1.เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้ 2.เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่ 3.นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย 4.ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ รวมกันแล้วได้ 8 ข้อเรียกว่าโลกธรรม 8 ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และมนุษย์ก็มีความพอใจไม่พอใจ และเกิดความสุขทุกข์ขึ้น เมื่อโลกธรรม 8 นี้เกิดขึ้นเสมอ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้วางเฉยต่อโลกธรรม 8 นี้เสียเพราะเป็นของธรรมที่เกิดขึ้นกับโลก จิตไม่เศร้าโศก คือ การรักษาจิตไม่มีความเศร้าหมอง จิตหมดธุลี คือปราศจากกิเลส คือ รักษาจิตให้มีความผ่องใสอยู่เสมอ การทำจิตให้ผ่องใสนี้มีหลายระดับ หากเป็นปุถุชนคนธรรมดา การทำจิตให้ปราศจากกิเลสก็คือการ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ และเจริญสมาธิภาวนาให้จิตใจสะอาดผ่องใสชั่วคราว พอออกจาสมาธิกิเลสก็จะจรเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจได้อีก ส่วนการทำจิตให้ปราศจากกิเลสของชั้นพระอริยเจ้าจะไม่เหมือนของปุถุชน หากกิเลสเกิดขึ้น จิตพระอริยเจ้าท่านก็จะฆ่ากิเลสนั้นทันที ฆ่าไปทีละนิด ละหน่อย หรือทีละมากตามกำลังบุญวาสนาของท่าน จนสุดท้ายกิเลสหมดไปสิ่้นจากจิตใจ นั่นคือพระอรหันต์ จิตถึงซึ่งความเกษม การจะมีจิตเกษมได้ก็คือจิตหลุดพ้นจากกิเลส และเครื่องพันธาการทั้งปวงได้หมดสิ้นนั่นคือพระอรหันต์ตามที่ได้กล่ามาในข้อ 37 นั่นเอง เมื่อพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้ จิตย่อมเข้าถึงวิมุติสุข คือสุขที่เกิดจากการหลุดพ้นเป็นสุขถาวรและเกิดขึ้นชั่วนิรันดร ไม่มีเสื่อมไปเหมือนสุขของปุถุชนธรรมดา เมื่อเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายได้พากันปฏิบัติมงคลธรรมให้ถึงความเจริญเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่แพ้แก่ข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสุขสวัสดี ในทุกสถานทุกกาลทุกเมื่อ ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล

มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขความเจริญมาให้ คือสิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามที่ปรารถนา มงคลมี 2 อย่างคือ มงคลทางโลก กับ มงคลทางธรรม
มงคลทางโลก คือสิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่สิ่งของ สัตว์ และต้นไม้บางชนิด เช่นมงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงินใบทอง รวมถึงชื่อ อักษร กาลเวลาหรือฤกษ์ยามเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก
มงคลทางธรรม คือมงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำต้องปฏิบัติให้ได้จริงจึงจะเป็นมงคล มี 38 ประการ เช่นไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างว่า มงคลใน หรือ มงคล 38 หรือ มงคลชีวิต

มงคลสูตร
เป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคลหรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้ว ก็ได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายความโดยพิสดารถึงสาเหตุของการที่พระพุทธเจ้าตรัสมงคลสูตรไว้ว่า ประมาณ 12 ปีก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล กล่าวว่า บ้างก็ว่า วัตถุสิ่งของ เช่น ต้นไม้ สัตว์ หรือว่ารูปเคารพต่าง ๆ จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล[1] เรื่องราวการอภิปรายเรื่องมงคล ก็ไปถึงภุมเทวา คือเทวดาในระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไรคือมงคล ประเด็นนี้ก็ลุกลามไปถึงอากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสุธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ของผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคลสูตร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ หมวด นับเป็นรายการได้ 38 ประการ*

หมวดที่ ๑ : ไม่คบคนพาล,คบบัณฑิต,บูชาคนที่ควรบูชา
หมวดที่ ๒ : อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม,มีบุญวาสนามาก่อน,ตั้งตนชอบ
หมวดที่ ๓ : เป็นพหูสูต,มีศิลปะ,มีวินัย,มีวาจาสุภาษิต
หมวดที่ ๔ : บำรุงมารดาบิดา,เลี้ยงดูบุตร,สงเคราะห์ภรรยา(สามี),ทำงานไม่คั่งค้าง
หมวดที่ ๕ : บำเพ็ญทาน,ประพฤติธรรม,สงเคราะห์ญาติ,ทำงานไม่มีโทษ
หมวดที่ ๖ : งดเว้นจากบาป,สำรวมจากการดื่มน้ำเมา,ไม่ประมาทในธรรม
หมวดที่ ๗ : มีความเคารพ,มีความถ่อมตน,มีความสันโดษ,มีความกตัญญู,ฟังธรรมตามกาล
หมวดที่ ๘ : มีความอดทน,เป็นผู้ว่าง่าย,เห็นสมณะ,สนทนาธรรมตามกาล
หมวดที่ ๙ : บำเพ็ญตบะ,ประพฤติพรหมจรรย์,เห็นอริยสัจจ์,ทำพระนิพพานให้แจ้ง
หมวดที่ ๑๐ : จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม,จิตไม่โศก,จิตปราศจากธุลี,จิตเกษม

อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมไว้ชัดเจนดีแล้ว ก็มีผู้ที่เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง จึงได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ แนวทางการยึดถือความเป็นมงคล จึงมีอยู่ 2 แนวทาง คือ
1.มงคลจากการมีสิ่งนั้นมีสิ่งนี้
2.มงคลจากการฝึกตัว




ขออัญเชิญพระสูตร มงคลสูตร คำสอนของพระพุทธเจ้า คำอธิบายความหมายของพระธรรมปิฎกและมงคลสูตรคำฉันท์ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ร. ศ. ๑๓๐ ที่พิมพ์แจกในงานฉลิมพระชนมพรรษา ปี ร. ศ. ๑๓๐ บทขัดมงคลสูตร นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๑) ยัญจะ ทะวาทะสะ วัสสานิ จินตะยึสุ สะเทวะกา (๒) จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานึสุ มังคะลัง จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง ยาวะ พรหมนิเวสนา (๓) ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง (๔) ยัง สุตะวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา (๕) เอวะ มาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณามะ เส มงคลสูตร (๑) เอวัมเม สุตัง ฯ (๒) เอกัง สะมะยัง ภะคะวา (๓) สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม (๔) อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อภิกกันตะวัณณา (๕) อภิกกันตายะ รัตตติยา อะภิกกันตะวัณณา (๖) เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา (๗) เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ (๘) อุปะสังกะมิตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตะวา (๙) เอกะมันตัง อัฏฐาสิ (๑๐) เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา (๑๑) ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ พะหู เทวา มะนุสสา จะ มัคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ๑. อะเสวะนา จะ พาลานัง(๑) ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา(๒) ปูชา จะ ปูชะนียานัง(๓) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๒. ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ(๔) ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา(๕) อัตตะสัมมาปะณิธิ(๖) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๓. พาหุสัจจัญจะ(๗) สิปปัญจะ(๘) วินะโย จะ สุสิกขิโต(๙) สุภาสิตา จะ ยา วาจา(๑๐) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๔. มาตาปิตุอุปัฏฐานัง(๑๑) ปุตตะ(๑๒) ทารัสสะ สังคะโห(๑๓) อะนากุลา จะ กัมมันตา(๑๔) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๕. ทานัญจะ(๑๕) ธัมมะจะริยา จะ(๑๖) ญาตะกานัญจะ สังคะโห(๑๗) อะนะวัชชานิ กัมมานิ(๑๘) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๖. อาระตี วิระติ ปาปา(๑๙) มัชชะปานา จะ สังยะโม(๒๐) อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ(๒๑) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๗. คาระโว จะ (๒๒) นิวาโต จะ(๒๓) สันตุฏฐิ จะ(๒๔) กะตัญญุตา(๒๕) กาเลนนะ ธัมมัสสะวะนัง(๒๖) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๘. ขันตี จะ(๒๗) โสวะจัสสะตา(๒๘) สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง(๒๙) กาเลนนะ ธัมมะสากัจฉา(๓๐) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๙. ตะโป จะ(๓๑) พรัหมะจะริยัญจะ( ๓๒) อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง(๓๓) นิพานะสัจฉิกิริยา จะ(๓๔) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๑๐. ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ(๓๕) อะโสกัง(๓๖) วิระชัง(๓๗) เขมัง(๓๘) เอตัมมังคะละมุตตะมัง ๑๑. เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ คำอ่าน ภาษาบาลี ตามมงคลสูตร ฉบับมหาสังคายนาสากลนานชาติ เล่มที่ ๑๘ ขุททกปาฐะ มงคลสูตรในขุททกปาฐะ [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ จบมงคลสูตร

Thursday 8 August 2013

Life of the Buddha


The Birth of the Bodhisatta. On a full-moon day in the month of May (Visakha) 2600 years ago was born a Prince named Siddhattha. His birth took place at Lumbini (modern Rumindei in Nepal), where his mother Mahamaya, the chief queen consort of King Suddhodana of Kapilavatthu, rested with her royal retinue, on her way to her parental home in Devadaha. In the picture Queen Mahamaya stands under a flowering sala tree holding on to one of its branches. Life as a Prince. Manifold was the variety of all the sensuous delights within the palace, the music and song that filled the palace halls by night and day; the beauty and grace of its dancing girls; the fragrance of subtle perfumes; the finest silks and priceless gems for jewellery and adornment; and rare delicacies and foods for the royal table. And yet, day after day, seated amidst all this luxury the Prince remains unmoved. Ever in thoughtful mood, with a far-away look in his beautiful eyes he muses on the fleeting nature of life's so called pleasures and its doubtful delights. The realities of life. All King Suddhodana's efforts to protect his son from the four sights of old-age, disease, death and a recluse are of no avail. On a certain occasion, on his way to the royal pleasure gardens the Prince is confronted by each one of these very sights, and is filled with doubts and deep misgiving. Soon after this he meets a wandering ascetic, impressed by the sombre garb and quiet demeanour of the homeless recluse the Prince looks long and hard at him, and then, makes up his mind to leave the palace for a life of homelessness. The Great going forth. On the day of the Esala full-moon (July) the Crown Prince receives the news brought from the palace, of the birth of a son to his wife, the beautiful Princess Yasodhara. Alarmed at this fresh development, this new fetter to bind him closer to the world, the Prince decides to leave the palace that very night. For the sake of his father, his queen, his son, for the sake of all mankind, he would leave the world to seek a way to save the world from all suffering. This is the Great Renunciation. Experiment with Asceticism. For six long years the ascetic Gotama, as Prince Siddhattha was now known, wanders along the highways and byways of India. He goes to Alara Kalama and Uddaka Ramaputta two of its greatest religious teachers, who teach him everything from their store of knowledge and wisdom. But the ascetic Gotama is not satisfied, for their teachings do not lead to the cessation of suffering. With unrelenting energy he undergoes rigorous ascetic discipline, both bodily and mental, seeking a way to the cessation of suffering through further suffering. In the end he becomes lean and emanciated and a mere skeleton. Enlightenment. Discarding both extremes of luxurious living and self mortification, the Bodhisatta Prince chooses the Middle Path of moderation based on the practice of virtue (sila), concentration of the mind (samadhi), and the intensive analysis of all psycho-physical phenomena that finally leads to full understanding of things as they really are (panna). Seated under the Bodhi-tree at Buddhagaya he attains Samma Smabodhi and becomes the Supreme Buddha. The First Discourse. Having realized the Four Noble Truths - the Noble Truth of Suffering; the Cause of Suffering; the Cessation of Suffering; and the Path leading to the Cessation of Suffering - by himself, the Buddha now decides to teach them to the five ascetics who had earlier served him at Uruvela, in Buddhagaya. At the end of this First Discourse, which is known as the "Dhammacakkappavattana Sutta" and given to the five ascetics who were now living at Isipatana in Benares, the oldest of them, Kondanna realises the first path and fruition of the Stream-winner (Sotapanna), or one who goes against the stream of Samsara (the recurring cycle of life and death). Go now and wander for the welfare of the many. The Buddha stays on at Isipatana for the rainy season. However, before that, within the first week of His giving of the Dhammacakkappavattna Sutta, all five ascetics reach the highest fruition of Sainthood and thus become the first five Arahant disciples of the Buddha. Before the rainy season is over fifty five others have followed suit. The Buddha now exports His sixty disciples: - 'Go forth ye bhikkhus, for the welfare of the many, for the happiness of the many, out of compassion for the world, for the good, welfare and happiness of gods and men'. Accordingly the disciples set forth to spread the new teaching. The law of Causation or Dependent Arising. After His Enlightenment under the Bodhi-tree at Buddhagaya, the Buddha reflects on the law of Dependent Origination (Paticca Samuppada). He ponders as to how things come into being due to past and present conditions to cause suffering. Next He muses on the cessation of these very things when their cause has been removed. Then he reflects on both the arising and the cessation of all things conditioned and inter dependent, in the present, the past and the future. The Philosophy of change. The Buddha teaches that all conditioned things are in a state of flux or change, and thus impermanent. The ever changing nature of both mind and matter proves the insubstantiality of life, and the instability of existence. Knowing this, Khema the consort of King Bimbisara avoided going to see the Buddha: for being very beautiful, she was afraid the Buddha would disparage her self-conscious awareness of her loveliness. As she went into his presence one day, the Buddha creates the illusion of a beautiful young woman before her, who gradually grows old before her very eyes and collapses at the feet of the Master. Alarmed and ashamed she realises the impermanence of the human body. Unsatisfactoriness of Life. According to the Buddha, whatever is impermanent is subject to suffering, and the world rests on this basic factor of suffering (Dukkha). However, having accepted this fact, He goes on to teach man how to gain his release from all suffering. The tragic story of Patacara who loss her whole family within a matter of a single day and night, points out only too well how suffering besets the unsuspecting worlding. After listening to the Buddha she gains peace and sanctity. Buddha teaches that all Phenomena is soulless. When a thing is impermanent, as all conditioned things are, and thus susceptible to change, there can be no overlord or Self. Helpless in arranging things according to its wishes there can be no soul as master over mind and body. The Buddha explains the soullessness of beings to the five bhikkhus at Isipatana in Benares, in the discourse on soullessness (Anattalakkana Sutta). Freedom of thought. At times referred to as the Buddha's Charter of Free inquiry this discourse was given by the Buddha to the Brahmin Kalamas at Kesaputta. 2500 years ago, preaching against blind belief in Buddha gave prominence to and encouraged the spirit of free inquiry and independence of thought and action, subject to sound judgment. He trained his disciples in the art of questioning as well as in the finer points of debate and discussion. Pointing out the dangers of haphazard thinking the Buddha teaches the Kalamas the art of reasoning for the sole purpose of arriving at true understanding of the Buddha's teaching of the Four Noble Truths. Towards human dignity. Sunita was a scavenger born into a so called outcaste community. On meeting the Buddha on his almsround one day, the humble youth prostrated himself before the Master in adoration. Asking for ordination he is taken to the temple where he soon becomes worthy of the highest obeisance of both deva and brahma gods. Thus the Buddha teaches that a man becomes neither a Brahmin nor a low-caste by birth, but by deeds alone. Equality of women. It was the Buddha who first gave women her rightful place in a society which had earlier ostracised her even to the extent of treating the birth of a girl as an inauspicious event. Knowing that being a woman was no bar to her attaining the highest fruition of Sainthood, the Buddha permitted the ordination of women as Bhikkhunis. Further, the establishment of a Bhikkhuni Sasana (Order of Nuns) by the Buddha was the first of its kind in the history of the world. In the picture, The Ven. Ananda, who has interceded on behalf of the Sakyan ladies including the step-mother Mahapajapati Gotami, stands by their side. Human freedom. In the time of the Buddha it was common for both men and women to enter into services in rich households due to their extreme poverty. In fact this traffic in human slaves was very common at the time, even though it was contra indicated for a follower of the Buddha. The state of slavery that existed at the time is well illustrated by the story of the slave girl Rajjumala who worked for a very wicked mistress who treated her without any mercy even for the slightest fault. Here the Buddha admonished both servant and mistress and teaching them the Doctrine, bestows permanent peace on both of them. Ministering to the sick. In spite of the fact that the study and practice of medicine and surgical science has advanced to a great extent by the Buddha's time, hardly any attention was paid to nursing or caring for the sick. Putigatta Tissa Thera was a monk who was stricken by a skin disease which spread covering his whole body with a mass of ulcerating matter. Lying unattended by the fellow monks his condition worsens. The Buddha going to the stricken monk who now lies dangerously ill, bathes him in warm water with the help of Ananda Thera, and cleans his robes. Having made him comfortable the Buddha expounds the Teaching to him, explaining the true nature of the human body. Enlightened by the discourse the Thera becomes an Arahant. The Buddha then addresses the other monks on the ennobling task of caring for the sick. Accepting the compassionate exhortation of the Master and following His noble example, the laity started to build wards for sick monks in all large monasteries. Later king Dhammasoka was to build hospitals not only for the public but also for sick animals. Hence the honour for the establishment of the first hospitals should be given to the Buddhists. Psychic Therapy. The Buddha speaking on the mind, has also spoken on mental disorders and on the treatment of psychic ailments. The Buddha has traced sorrow as one of the chief causes leading to the arising of mental disturbances. On the death of her only son, Kisa Gotami loses control of her senses and in her madness goes in search of medicine for her dead child. Failing all else she appeals to the Buddha, who realising that nothing would convince her until her mental equilibrium has been restored, sends her on an errand to get him a few mustard seeds from a house where there has been no death. Unabl to accomplish the Master's request, she comes to the conclusion that death is inevitbale and that her only son too had succumbed to it. Compassion to Animals. In the Buddha's time there were various animal sacrifices taking place in India. Innocent animals were killed as Offerings on sacrificial altars to appease the gods, for man's happiness both here and hereafter. The Buddha, however, showed man that it was impossible to obtain happiness for oneself by causing suffering to others, and that the followers of the Buddha if they were so, should avoid making animal sacrifices. At that time the King of Kosala had seen sixteen terrifying dreams in a single night, and was in great fear. To avert the evil influence of these dreams a great animal sacrifice with the killing of thousands of animals was arranged in accordance with the advice given by the Brahmins. Hearing of this, the Buddha advises the King against such a sacrifice, thus saving the lives of all those doomed creatures. From that day to this, no taking of life however small is involved in any ceremony of the Buddha's followers. Buddhist Economic System. Many who are not familiar with the Buddha's Teaching classify it as a religion for the next world, or for a future life. They are completely mistaken in this, because eighty percent of the objectives included in the Buddha's Teaching are for the world of today. According to the Buddha all except one of the five blessings that accrue to the virtuous are available in this life itself; ten of the eleven benefits obtainable through the development of Metta (loving-kindness) are immediate. One who leads a good life in this world is certain to be happy in the next. The Buddha emphasises this in His Teachings. Thus the Buddha who taught the way to the cessation of suffering also pointed out the path to a highly satisfactory way of life on earth. One aspect of this mundane progress refers to an economic system based on Buddhist principles with the objective of economic development together with the elimination of poverty. The Buddha defines righteous employment as engagement in agriculture, trade, dairy farming, defence services, government services and professional services. He prohibited trade in weapons, in slaves, in rearing animals for slaughter, in liquor, and in poisons, drugs and narcotics. Buddhist Education. It is a method of teaching that is based on the mental development of the individual: The primary object of Buddhist Education is to produce a cultured disciplined and educated society. With that object in view the first university to be established in the world was at Nalanda in India. It is reported that over ten thousand well disciplined, cultured and law abiding students had their education there in addition to the numerous lecture halls found there classes were also held in the open air under the cooling shade of trees. Administration of Justice. Certain statutes regarding the administration of justice, were set up by the Buddha for the benefit of bhikkhus, in order to facilitate the dispensation of moral justice according to sound judgment, whenever the occasion arose. By this act the Buddha ensured that the spirit of moral justice which enables us to interpret laws correctly, unlike the imperfect expression of certain aspects of our present day legal administration. At the time of the Buddha and even later, there were kings who took advantage of, and made use of these laws to supplement their own. The judicial procedure adopted by the Buddha is clearly illustrated in the case of the Arahant Theri Kumara-Kassapa's mother, who unaware of her pregnant condition, with her husband's consent left her home and entered the Bhikkuni order. Later, finding her in an advanced state of pregnancy, the bhikkuni was charged with a serious allegation of misconduct and summoned before a religious court of appeal. The Buddha ordered Upali Thera, foremost among His Arahant disciples in knowledge of Vinaya matters, (and thus equal to that of the Chief Justice of to-day), to preside, try the innocent victim and to deliver judgment on her. The audience consisted of bhikkhus, bhikkunis and laymen, including the lay-woman Visakha. She screened the victim from the presence of the Buddha and the rest, after careful examination and intimate questioning declared that she was quite innocent. The Arahant Upali on hearing the evidence absolved the bhikkuni of any transgression. World Peace. In the Buddha's Teaching the highest emphasis is laid on the law of cause and effect, or the conditionality of all mundane phenomena. Greed, hatred and delusion are the chief causes that lead to unsatisfactoriness in the world. If one seeks to escape from this state of dissatisfaction one should try to get rid of the underlying craving and anger or hatred due to ignorance of the true nature of things. War is diametrically opposed to peace. Conflict is due to the various malignant motives stagnating in the minds of men. The control of such thoughts as greed, jealousy, hate and so on will certainly lead to peace. Permanent peace will only come when one has completely eradicated these mental defilements. Wars will cease and peaceful dialogue between individuals will lead to a world of peaceful and harmonious living. Petty squabbles arose between the farmers on both sides of the river Rohini which served as the boundary between the Sakyan and the Koliyan Kingdoms, as each side tried to divert as much water as possible to their fields. Finally these led to a major confrontation of the two armies. The Buddha arriving on the scene exhorts them on the calamitous results of war and the advantage of arriving at a peaceful settlement. Thus war is averted and peace restored. It should be mentioned that the Buddha has been the only religious teacher to have visited a battlefront in person and acted as a true mediator in averting war. The Maha Parinibbana. The Buddha was born as a prince under a tree, gained Supreme Enlightenment under a tree and wandered about India for 45 years giving, His Teaching to the world, and finally passed away at the age of eighty at Kusinara under a tree as a human being.

Thursday 6 September 2012

บทสวดพระสหัสสนัย

 

พระสะหัสสะนัย
สุทธิกะปะฏิปะทา

 
 
(กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา)
กะตะเม ธัมเม กุสะมา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง ทุกขาปะฏิปะทัง
ขิปปาภิกญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภัญญัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุขาปะ-
ฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป
โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

สุญญะตะมูละกะปะฏิปะทา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง สุญญะตัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธา-
ภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภัญญัง สุญญะตัง ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
สุญญะตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง สุญญะตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง สุญญะตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา

อัปปะณิหิตะปะฏิปะทา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะมัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะ-
ณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหายนายะ ปะฐะ-
มายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา ทุติยัง ฌานัง
ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิ-
ปะทัง ทันธาภิญญัง อัปปะณิหิตัง สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง
อัปปะณิหิตัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ
อิเม ธัมมา กุสะลา

อะธิปะติ
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง
ฌานัง ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหา-
นายะ ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิวิจเจวะ กาเมหิ ปะฐะหัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิตเตยยัง ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ
อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา
 
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย โลกุตตะรัง ฌานัง
ภาเวติ นิยยานิกัง อะปะจะยะคามิง ทิฏฐิคะตานัง ปะหานายะ
ปะฐะมายะ ภูมิยา ปัตติยา วิตักกะวิจารนัง วูปะสะมา ทุติยัง
ฌานัง ตะติยัง ฌานัง จะตุตถัง ฌานัง ปะฐะมัง ฌานัง ปัญจะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ทุกขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
ทุกขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง สุขาปะฏิปะทัง ทันธาภิญญัง
ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง
สุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง
จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง (อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง
ทันธาภิญญัง ฉันทาธิปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง
วิมังสาธิปัตเตยยัง อะทุกขะมะสุขาปะฏิปะทัง ขิปปาภิญญัง ฉันทาธิ-
ปัตเตยยัง วิริยาธิปัตเตยยัง จิตตาธิปัตเตยยัง วิมังสาธิปัตเตยยัง) ตัสมิง
สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ อิเม ธัมมา กุสะลา ฯ


หมายเหตุ : บทสวดมนต์บทนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จันโท ได้บันทึกไว้สมัยที่อยู่กับหลวงปู่มั่นว่า....

เสียงเพลงเสียงธรรม


......อยู่มาวันหนึ่ง เรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) ปลีกออกมาเดินจงกรมอยู่ในป่าที่ป่าเปอะ ในขณะที่เดินจงกรม มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาเดินไปทำไร่ เดินร้องเพลงไป เพลงที่เขาขับร้องนั้น เป็นสำเนียงทางอีสาน ผ่านมาใกล้ๆ ทางจงกรมที่เราเดินอยู่ คาดคะเนว่าน่าจะเป็นคนทางภาคอีสานมาอยู่ทางเหนือ เนื้อเพลงนี้มาสะดุดจิตในขณะที่ภาวนา โอปนยิโก คือน้อมมาใส่ตัวเรา มันร้องเสียงเพราะน่าฟังนะ ร้องเพลงขับอันประกอบด้วยอรรถรสแห่งธรรม ประสานกลมกลืนกับธรรมที่กำลังสัมผัสเพ่งพิศพินิจพิจารณาอยู่ ภาษาธรรมที่เขาร้องเอื้อนด้วยความไม่มีสตินั้น กลับย้อนเข้ามาสู่ดวงใจที่กำลังเพ่งพิศธรรมนั้นอยู่ จิตนั้นก็รวมลงสู่ฐานของจิตโดยฉับพลัน เพลงขับนั้นเขาร้องเป็นทำนองอีสานว่า

“ทุกข์อยู่ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์อยู่ในผ้าอ้อมป้อมผ้าฮ้าย โฮม อ้ายอยู่ผู้เดียว ทุกข์อยู่ในโลกนี้มีแต่สิทน ทุกข์อยู่ในเมืองคน มีแต่ตนเดียวอ้าย... ทุกข์ในขันธ์ห้า โฮมลงมาขันธ์สี่ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว”

เขาร้องเป็นทำนองไพเราะมาก

พอได้ฟังเท่านั้นแหละจิตนี้รวมลงทันที เป็นการรวมที่อัศจรรย์ นี้แหละธรรมะเป็นสมบัติกลางที่ผู้ประพฤติปฏิบัติน้อมมาพินิจพิจารณา ก็จะก่อให้เกิดธรรมขึ้นมายในใจตน ถ้ารู้จักน้อมมาสอนตนเสียงร้องเหล่านี้เป็นเสียงธรรมได้ทั้งนั้น

สมัยนั้นก็ยังหนุ่มอยู่ แต่ว่ามันก็ไม่รู้ยังไง ฟังบทขับร้องแล้วชอบกลอยู่ เขาร้องอย่างนี้ “ทุกข์ในขันธ์ห้า... โฮมลงมาขันธ์สี่ ทุกข์ในโลกนี้ลงข้อยผู้เดียว” คนอีสานเขามาอยู่ทางเหนือ เขาขับร้องเพราะมาก มีเสียงเอื้อนตามแบบของคนอีสาน

ทุกข์ในขันธ์ห้า มีเมียก็ต้องเลี้ยงเมีย หากเมื่อมีลูกขึ้นมาหนึ่ง ก็ต้องเลี้ยงหนึ่ง เลี้ยงสอง เลี้ยงสามฯลฯ เมียสองก็ต้องเลี้ยงสี่ เลี้ยงห้า เอาเข้าไปแล้ว เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่สารพัด เลี้ยงกันมาจนกระทั่งถึงเรา นี่มันเป็นอย่างนั้น นี่ทุกข์ที่สุด เราก็มีพ่อมีแม่ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้เข้าวัดเข้าวาฮิ นึกแล้วน่าสงสาร แต่ดึงเท่าไหร่ก็ไม่ยอมขึ้น เราหลุดออกมานี่มีชีวิตอันประเสริฐที่สุด ใครสามารถพินิจพิจารณาได้แล้ว รอดลงไปได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นบ่วงลึกที่สุด ท่านอาจารย์ฝั้นท่านว่า..เรื่องการครองเรือน เรื่องความหลง ท่านพูดยิ่งเด็ดขาด... แต่เราพูดออกมาอย่างท่านไม่ได้

เพราะฉะนั้นอันนี้เอง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญา เมื่อเราน้อมนำมา พินิจพิจารณาใจของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องขัดเกลา เหมือนแฟ้บที่ซักเสื้อผ้า หรือเหมือนสบู่ที่ขัดเหงื่อไหลของเรา ขัดขี้เหงื่อคราบไคลของเราให้ออกไป เปรียบอย่างนั้นมันเหมาะดี

ธรรมะบทใดบทหนึ่ง เมื่อเราน้อมเข้ามาพินิจพิจารณาให้เกิดความสังเวชสลดใจได้แล้ว นั่นมีคุณค่าจะหาราคาอันใดมาเปรียบมิได้เลยนั่นท่านเรียกว่าเป็นปัญญา ส่วนที่ความรู้สึกในขณะที่พิจารณาอย่างนั้น จนเกิดความสังเวชสลดใจ เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ใจนั้นก็มีความสงบ เมื่อความสงบปรากฏอย่างนั้น ใจนั้นก็เป็นใจที่ปกติ เมื่อใจเป็นปกตินั่นเอง มีความรู้ตัวอยู่อย่างนั้น ใจไม่วอกแวกไปไหน นี่แหละท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ”


บทเพลงพระอรหันต์


แม้ในสมัยพุทธกาล บทเพลงของพระอรหันต์ก็มีเช่นเดียวกัน เท่าที่ทราบท่านนิยมสวดเป็น ทำนองสรภัญญะ ในสมัยพุทธกาลมีเล่าไว้ว่า พระโสณะกุฏิกัณณะสวดสรภัญญะ ถวายพระพุทธเจ้า และได้รับคำชมจากพระพุทธองค์ว่า เธอสวดเสียงไพเราะดี

ปัจจุบันเราก็นิยมสวดสรภัญญะกัน แม้เราเองกชอบฟังสวดสรภัญญะบท พระสหัสสนัย ที่ท่านบรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติยากง่ายของแต่ละดวงจิต สวดสรภัญญะก็คือ ร้องเพลงแบบหนึ่งนั้นเอง เรื่องนี้มีมูลเหตุอยู่ว่า ปัณจสิขะเทพบุตรขณะรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์อยู่หน้าถ้ำแห่งหนึ่ง หยิบพิณขึ้นมาดีดขับเพลงรักของตนที่มีต่อคนรัก เปรียบความรักของเขากับความรักโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ ก็ได้รับคำชมเชยจากพระพุทธองค์เซ่นเดียวกัน

ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุบางรูปยืนฟังนางทาสีขณะตักน้ำร้องเพลงด้วยความเพลิดเพลินใจ พิจารณาความตามเนื้อเพลงได้บรรลุพระอรหัตก็มี การสวดการร้องบ่อยๆ เสียงที่สวดอันเป็นบทกรรมที่ไพเราะ จะดึงให้จิตจดจ่อเฉพาะเสียง ลืมโลกภายนอกหมดสิ้น จิตเกิดดิ่งเป็นสมาธิ พลังสมาธิเช่นนี้ใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ก็ไม่ต้องสวดหรือร้อง เพียงแต่ฟังเฉยๆ หรือพิจารณาสิ่งที่ได้ยินเข้าตามเนื้อเพลง น้อมเข้ามาใส่ตนให้เป็นธรรม ถ้าบทเพลงนั้นมีคติเตือนใจ บทเพลงวิมุตติหรือเรียกอีกอย่างว่าบทเพลงพระอรหันต์ เพราะพระภิกษุ ภิกษุณี ท่านได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เปล่งวาจาเป็นภาษากวี บรรยายความสุขใจที่ได้รับหลังการบรรลุธรรม

มีบทเพลงที่ท่านพระสิริมัณฑเถระ ได้เปล่งเป็นบทกวีไว้ เดิมพระเถระรูปนี้เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งเมืองสุงสุมารคิรี ท่านบวชมาแล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ขณะฟังพระปาฏิโมกข์แล้วพิจารณาว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ถ้าไม่เปิดเผย (ปกปิดความชั่วไว้) ย่อมเศร้าหมอง แต่ว่าไม่ปกปิด (บอกความจริงแล้วปลงอาบัติเสีย) ก็จะบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในที่สุด พระศาสนาของพระพุทธองค์ช่างบริสุทธิ์จริง ๆ ท่านคิดพิจารณาดังนี้ ด้วยความที่จิตฝึกมาดี ก็ได้บรรลุอรหัตผล หลังการบรรลุธรรมจึงได้เปล่งคาถาเป็นบทเพลงกวีว่าไว้ว่า
......“สัตว์โลกถูกมฤตยูดักฆ่า ถูกชราไล่ต้อน
ยิงด้วยลูกศรคือความทะเยอทะยาน
เผาให้เป็นเถ้าถ่านด้วยความปรารถนา มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสาม
คือกองไฟลามลุกไหม้ แรงจะต้านใดก็ไม่มี จะบึ่งหนีก็ไม่พ้น
ไม่ควรปล่อยวันเวลาล่วงไปเปล่า ไม่ว่ามากหรือน้อย
กี่วันผันผ่าน ชีวิตกาลยิ่งใกล้ความตาย เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
วาระสุดท้ายอาจมาถึง จึงไม่ควรประมาท”


และบทเพลงกวีของพระเชนตะ ท่านเป็นคนช่างคิด คิดว่าครองเพศฆราวาสก็ยาก หาเงินทองมาเลี้ยงครอบครัวก็ลำบาก บวชก็ลำบาก จะเลือกทางดำเนินชีวิตแบบไหนดี ในที่สุดก็ตัดสินใจไปบวช ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านก็กล่าวโศลกเตือนใจเพื่อนมนุษย์ให้เห็นความเป็นอนิจจังของสิ่งทั้งปวงเป็นบทเพลงว่า
.....“ครองเพศบรรพชิตนั้นแสนลำบาก
ฆราวาสวิสัยก็ยากเย็นเช่นเดียวกัน
พระธรรมอันคัมภีรภาพนั้นยากเข้าใจ
โค ทรัพย์กว่าจะหามาได้ก็เหน็ดเหนื่อย
มีชีวิตเรื่อยๆ อย่างสันโดษก็ยากเย็น
ฉะนี้น่าจะเห็น น่าจะคิด อนิจจังฯ”


ที่มา -
http://larndharma.org



เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)

เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)




เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?

(๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
(๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๑๑) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.






อานิสงส์ : ถ้าท่านสวด ณ ที่ใด
 จะสามารถป้องกันภัยธรรมชาติ ณ บ้านนั้น ตำบลนั้น อำเภอนั้น
(ถ้าสวดกันทั้งหมู่บ้านจักป้องกันภัยธรรมชาติได้)
ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิปานกลางก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้มากถึง ๑ โยชน์ (๑๖ กิโล) ไปทุกทิศ
ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิมากก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้ถึงชั้นเทวดา และชั้นภพเบื้องล่าง ได้
โดยใช้ชื่อว่า “พระคาถาอภิมหามงคลคาถา” เมื่อสวดแล้วจะแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ให้สวดกันให้มาก


[1] พุทธกิจ ๕ ประการ : (งานของพระพุทธเจ้าประจำวัน)

๑. เช้าโปรดสัตว์ บิณฑบาต
๒. เย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน
๓. ค่ำโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์
๔. เที่ยงคืน แก้ปัญหาเทวดา
๕. ใกล้รุ่ง ตรวจดูอุปนิสัยเวไนยสัตว์ที่จะเสด็จไปโปรดในวันใหม่

Friday 13 July 2012

แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์

แผ่นดินสยามในอดีตมีอาถรรพณ์ ประจำอยู่อย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแทบทุกแผ่นดิน ต้องรบทัพจับศึก เป็นประจำ ยามเราอ่อนแอจากพระเจ้าแผ่นดิน ชาติอื่นทั้ง พม่า รามัญ ญวน เขมร จะพากันมารุมทึ้ง แผ่นดินให้ต้องทำศึกอยู่เรื่อยๆ แพ้บ้างชนะบ้างว่ากันไป   แผ่นดินไหน พระเจ้าอยู่หัวมีพลานุภาพสูง บุญญา -บารมีแก่กล้า ก็ทรงยกทัพออกไปราวีชาติต่างๆโดยรอบ เพื่อแสดง ความ เป็นมหาอำนาจให้ประจักษ์ ใช่จะจะยอมให้ข่มเหงรังแกกันตะพึด และตราบ ใดที่แผ่นดินว่างศึกไม่มีใครมารุกรานหรือไม่ได้ออก รุกรบ ขยายอาณาจักร มักจะเกิด กบฏชิงราชบัลลังก์ กันภายในให้ต้อง ปราบปราม แทบไม่มี เวลา พัฒนาบ้านเมือง  
ในแผ่นดินของสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ ราชาธิราช ก็เช่นกัน เมื่อพระเจ้า กรุงหงสาวดียอมรับพระราช ไมตรีถอนทัพกลับ กรุงหงสาวดีแล้ว พระองค์ ก็ทรงจัดพระราชพิธีพระราชทาน เพลิงพระศพอัครมเหสี วีรสัตรีไทย ผู้ทรง แสดงความกล้าหาญเอาชีวิตเข้าปกป้องพระเจ้าอยู่หัวไว้คือ พระศรีสุริโยทัย การจัดงานครั้งนี้กระทำอย่างสมพระเกียรติยศยิ่ง  เสร็จแล้วทรงให้ สถาปนา ที่พระราชทานเพลิงศพ เป็น เจดีย์วิหารพร้อมวัดวาอารามเป็นพระราชอนุสรณ์ พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดสบสวรรค์ แล้วทรงทำการพัฒนา ไพร่บ้านพลเมือง ให้เอาบ้านทำจีนตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็น เมือง นนทบุรี ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรีแขวงเมืองสุพรรณบุรีตั้งเป็น เมือง นครชัยศรี แล้วทรงปรึกษา ว่า กำแพงเมืองลพบุรี เมืองนครนายก เมือง สุพรรณบุรี สามเมืองนี้ควรล้างเสียหรือจะเอาไว้ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช  กับมุขมนตรีพร้อมกัน ปรึกษากราบทูล ว่า จะให้ไปรับหัว เมืองนั้นถ้ารับได้ก็จะเป็นคุณ ถ้ารับมิได้ข้าศึกจะอาศัย ดังนั้นให้รื้อกำแพงเมืองดีกว่า 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็บัญชาตามแล้วให้ตั้ง พิจารณาเลิกสังกัด สมพรรค์ได้ สกรรจ์ลำเครื่องแสนเศษ  ต่อมาศักราช ๙๐๖ ปีมะโรง ฉศก (พ.ศ.๒๐๘๗)   พระศรีศิลป์น้องพระยอดฟ้า โอรสคนเล็กสุดของสมเด็จพระไชยราชาธิราช กับ  แม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งขุนพิเรนทรเทพ ละไว้ระหว่าง จู่โจมสังหาร ขุน วรวงศาธิราชกับเจ้าแม่ศรี สุดาจันทร์ และบุตรีน้อยในเรือพระที่นั่งระหว่าง เสด็จไปจับช้างป่า นำมาถวายพระเธียรราชา หรือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และทรงชุบเลี้ยงไว้บัดนี้ได้เติบโต อายุได้ ๑๓-๑๔ ปี จึงให้ออกบวช เป็น สามเณรอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน อันเป็นวัดที่พระเธียรราชาผนวชอยู่เดิม มีข่าวสะพัดว่าพระศรีศิลป์ มิได้ตั้งอยู่ในกตัญญู ส้องสุมพวกพลคิดการกบฎ จึงรับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนาไปนำตัวมา พิจารณาผล ออกมาได้ ความเป็น สัตย์ โดยเหตุการณ์ผ่านมาแต่ละยุคนั้นจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตาเพียงให้นำตัวไปคุมไว้ ณ วัดธรรมมิกราชาหมื่นจ่ายวดได้รับมอบหมาย หน้าที่ เป็นผู้ควบคุม กระทั่ง เวลาล่วงไปจวนเข้าพระวัสสา ทรงพระกรุณาตรัสว่าพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นโทษ คุมไว้นั้นอายุจะได้ อุปสมบทเป็นภิกษุภาวะอยู่แล้วให้เอามาอุปสมบท  จึงทราบ ว่าพระศรีศิลป์ หลบหนีที่ ควบคุมไปได้สามวัน ซุ่มชุมนุมพล อยู่ที่บ้าน ม่วง -มดแดง  จึงทรงมีพระราชดำรัสให้ เจ้าพระยามหาเสนา ตามเอาตัว กลับคืน มาอีก  ระหว่างนั้นพระศรีศิลป์ได้ขอฤกษ์กระทำการ ใหญ่ "พลิกแผ่นดิน" จาก พระ พนรัตนป่าแก้วได้ฤกษ์มาว่า วันเสาร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ฤกษ์ดี ให้ยกเข้า มาเถิดจะกระทำการสำเร็จ ตาม เป้าหมาย  แต่ก่อนถึงเวลาฤกษ์ พระยาเดโช  พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีสวร หมื่นไภยนรินทร์ ผู้ร่วม ก่อการ กับ พระศรีศิลป์ซึ่งถูกจับได้และเป็นโทษจำไว้ในที่สงัด  ได้แอบส่ง สาร ลับ ไปถึงพระศรีศิลป์ ในวันแรม ๑๓ ค่ำ รำพันว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสไว้ วันรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ จะเอาตัวทั้งห้า ไปฆ่าเสียขอ ให้พระองค์ทรงเข้ามา ใน กลางดึก วันนี้(ที่ ๑๓ ค่ำ) อย่าให้ทันรุ่ง พระศรีศิลป์จึงเข้ามาทาง ประตู หอรัตนชัย โดยไม่คำนึงถึงฤกษ์พระพนรัตนป่าแก้วให้ไว้ว่า ให้เข้าวันเสาร์ขึ้น ๑ ค่ำ ด่วนเข้าก่อนฤกษ์        
เจ้าพระยามหาเสนา ซึ่งได้รับพระบัญชา จากพระเจ้าอยู่หัวให้ติดตาม พระศรีศิลป์ ทราบเรื่องว่าพระศรีศิลป์ ยกเข้ามาทางประตูดังกล่าว จึงตามเข้า มาจัดการ พอเห็นช้างเผือกลงมาอาบน้ำเจ้าพระยามหาเสนา ก็นำ ช้างเผือก ออกมารบกับพระศรีศิลป์ ที่ถนนหน้าบางตราถูกร้องสำทับว่า "เจ้าพระยา มหาเสนาจะสู้เราหรือ"  เจ้าพระยาก็ตะโกนตอบ "พระราชกำหนดโทษ พระองค์ฉันใด โทษข้าพเจ้าฉันนั้น" ว่าแล้วก็ไสช้างเข้าชนกัน เจ้าพระยา มหาเสนามีอายุกว่า ไม่แคล่วคล่องว่องไวเหมือนพระศรีศิลป์ จึงถูกตีด้วยขอ ตกช้างลง เปิดทาง ให้พระศรีศิลป์รุกเข้าทางประตูเสาธงชัยเข้าพระราชวังได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทราบเรื่องการบุก พระราชวังของพระศรีศิลป์ โดย กะทันหันเช่นนั้นก็ทรงลงเรือพระที่นั่งหนีไป ทางขึ้นเกาะ มหาพราหมณ์ เปิดโอกาสให้พระศรีศิลป์ปลดปล่อย พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยา พิชัยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร กับ หมื่นไภยนรินทร์ พ้นจากที่คุมขัง รับอาวุธ ร่วม ก่อการล้มราชบัลลังก์ต่อไป    
พระราเมศวร พระมหหินทราธิราช ตั้งตัวตั้งสติได้ พร้อมด้วยเสนาบดีทั้งหลาย เข้ารบกับพระศรีศิลป์ กับ พวกที่รับการปลดปล่อยน่าสลดสังเวชใจ ครั้งนั้น ต้องล้มตายกันทั้งสองฝ่ายมากมายแต่จะด้วยการ "แหกฤกษ์" หรือชะตาถึง ฆาต หลังจากรอดตายมาแต่เยาว์วัยสองครั้งสามครา ทำให้พระศรีศิลป์ ต้อง ปืนตาย ส่วนห้าสมุนเพิ่งรับการช่วยออกมาไม่ทันไร ก็ถูกจับเรียบอีก เมื่อ ปราบกบฎเรียบร้อย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิฯ เสด็จคืนเข้าพระราชวัง  ทรง ชำระคดีกบฎครั้งนี้เมื่อทราบว่า พระพนรัตน ป่าแก้วเป็นผู้ให้ฤกษ์ พระศรีศิลป์ ก่อการกบฎ ก็โปรดให้นำตัวมาสอบถามพร้อมกับห้านักโทษเดิม     
เมื่อสอบได้ความเป็นสัตย์ไม่มีสิ่งที่เคลือบแคลง จึงทรงพิพากษาโทษให้ ประหารชีวิตพระพนรัตนป่าแก้ว พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรนฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร และหมื่นไภยนรินทร์ แล้วให้นำศพเสียบ ประจานไว้ ณ ตะแลงแกง กับศพพระศรีศิลป์ที่ต้องปืนตายในที่รบ นอกจากนี้เมียน้อยขุนนางโจทก์ว่า ผัวเข้าด้วยพระศรีศิลป์ และ คอยรับ พระศรีศิลป์เข้าเมืองโค่นบัลลังก์ นำตัวมาสอบต่างรับเป็นสัตย์ ก็โปรดให้ ประหารเสียเป็นอันมากปราบเสี้ยนหนามแผ่นดินแล้ว เกิดศุภนิมิตดีซ้อนกัน คือศักราช ๙๐๗ ปีมะเส็ง สัปตศก(พ.ศ. ๒๐๘๘  )สมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จ ไปวังช้างตำบลไทรย้อยได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ ศอกสิบนิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อ พระรัตนากาศ ลุศักราช ๙๐๘  ปีมะเมีย อัฐศก(พ.ศ. ๒๐๘๙) เสด็จไปวังช้าง ป่าเพชรบุรีได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ศอกเศษ ให้ชื่อพระแก้วทรงมาศ และใน เดือนสิบปีมะเมียนั้น เสด็จไป ได้ช้างเผือก ตำบลป่ามหาโพธิ์ทั้งลูกทั้งแม่ ก็ เผือก
ปีต่อมาศักราช ๙๐๙ ปีมะแม นพศก(พ.ศ. ๒๐๙๐) เสด็จไปได้ ช้างป่าทะเล ชุบศร เป็นเผือกพลายสูงสี่ศอกห้านิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อพระบรมไกรสร พอเดือน อ้าย ปลายปีก็ได้ช้างเผือกพลายที่ตำบลป่าน้ำทรงสูงสี่ศอกคืบให้ชื่อ พระสุริยกุญชร ในรัชสมัยนั้นทรงได้ ช้างเผือกพลายพังถึง ๗  ช้าง พระเกียรติยศ ปรากฎไปในนานาประเทศทั้งปวง กระทั่งได้รับพระราชสมัญญา ใหม่ว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือก  เมื่อข่าวร่ำลือถึงกรุงหงสาวดีว่า พระนคร ศรีอยุธยามีช้างเผือกถึง ๗ ช้าง สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็มีพระทัยใคร่ได้สัก ๒ ช้าง นี่เองเป็นต้นเหตุว่า จะ เสียช้างหรือเสียเมือง

ฟ้าสมิงฅำหลวง

ตำนานฟ้าสมิงฅำหลวง
ลักษณะของจดหมายลูกโซ่ในอดีต มักจะกล่าวถึงเรื่องร้ายๆ ที่อาจเกิดขึ้น หากผู้ที่ได้รับไม่ได้ปฏิบัติตามข้อความที่กล่าวไว้ในจดหมาย อย่างไรก็ดี ตำนานฟ้าสมิงฅำหลวงที่คัดลอกมานี้ มีคุณค่าในแง่ที่สอนให้ผู้ที่ได้รับอยู่ในศีลในธรรมตามอย่างพุทธศาสนิกชนที่ดี
โดยนำเอาความเชื่อเข้ามากระตุ้นให้เกิดการปฏิบัตินั่นเอง
ตำนานฟ้าสมิงฅำหลวง เป็นตำนานบันทึกไว้ในใบลาน จากต้นฉบับของวัดบ้านช่าง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จารไว้เมื่อปีจุลศักราช ๑๒๘๓ (พ.ศ.๒๔๖๔) ปีร้วงเล้า เดือน ๑๒ ออก ๗ค่ำ วันพฤหัสบดี ยามเที่ยง
 ผู้จารชื่อปัญญติกภิกขุ กาวิไชยวังโส วรรณกรรมเรื่องนี้มีลักษณะอย่าง "จดหมายลูกโซ่" ที่ชวนให้คนคัดลอกต่อ ๆ กันไปเพื่อเก็บไว้ในบ้านเรือน เนื่องจากกล่าวว่า อานุภาพของตำนานฟ้าสมิงฅำหลวง ซึ่งพระอินทร์ประทานมาให้นี้จะช่วงให้คนพ้นภัยพิบัติต่างๆ ได้
 โดยที่คนที่ได้รับมาจะต้องคัดลอกไว้และขยายต่อไปยังผู้อื่นด้วย
...ไชยยะมังคลัง ศักราชะได้ ๑๒๗๐ ตัวปี เดือน ๕ เพ็ญ พระอินทร์ได้มาประพาสสวนและทรงเห็นว่าคนทั้งหลายจะเกิดภัยอุบาทว์มากนักก็สงสาร จึงได้ทำหนังสือใส่ไว้ในพับฅำแดง คือตำราอันเป็นคำสอนที่มีค่าดั่งทองคำสุกปลั่ง
 แล้วหย่อนหนังสือนั้นลงมาที่ ธาตุทะโค่ง(เจดีย์ชะเวดากอง) ว่าในเดือน ๑๐ เพ็ญ ฝนจักตกในเมืองชุมพูทวีป จะเกิดอุบาทว์และโรคภัยทั่วไป ผู้คนจะล้มตายด้วยอหิวาตกโรคมากนัก สักราช ๑๒๕๐ คนทั้งหลายจะชิงทรัพย์กัน โลภเอาที่บ้านที่นา โกงตาชั่งขี้ขโมย ฆ่าฟันกัน และชอบดื่มเหล้าและยาเสพย์ติด ไม่รู้จักพระรัตนตรัย ไม่เคารพยำเกรงผู้มีอายุ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ภิกขุและสังฆะสามเณรทังหลายก็จักค้าขายกิน ไม่ปฏิบัติตามคลองธรรม จะล้มตายด้วยโรคต่างๆ ผู้หญิงก็จักตายเพราะตกเลือด หากลงน้ำเงือกก็จะกิน เข้าป่าก็จะถูกเสือกัด จะตกตายกันมากใน จ.ศ. ๑๒๕๕ เป็นต้นไปจะเกิดศึก ให้คนทั้งหลายหมั่นทำบุญรักษาศีลจึงจะพ้นภัยที่กล่าวมา
ศักราช ๑๒๔๐ จะเกิดโรคห่าระบาด สามีภรรยาจะทะเลาะกัน น้ำและดินก็ไม่สม่ำเสมอกันควรจะมีแดดก็กลับมีฝน ถึงยามควรมีฝนก็กลับมีแดด ทำการเกษตรลำบาก เกิดข้าวยากหมากแพง จะหาคนสืบศาสนาไม่ได้

พระราชพงษาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ


คำนำพระราชพงษาวดารกรุงเก่า

ฉบับหลวงประเสริฐ

 พระราชพงษาวดารฉบับนี้ เดิมพระปริยัติธรรมธาดา (แพ เปรียญ) แต่ยังเปนหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปพบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่ง ๑ จึงขอมาให้แก่หอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ กรรมการหอพระสมุดเห็นเปนหนังสือพระราชพงษาวดารแปลกจากฉบับอื่น ๆ ที่มีแล้ว จึงให้เรียกชื่อว่า "พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" ให้เปนเกียรติยศแก่ผู้พบ แลพามาให้หอพระสมุด
 หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับนี้มีบานแพนกว่าเป็นหนังสือฉบับหลวง สมเด็จพระนารายน์มหาราชมีรับสั่งให้แต่งขึ้น เมื่อวัน๔๕ค่ำปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๐๔๒ กล่าวเนื้อความตั้งต้นแต่สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าพนันเชิง เมื่อจุลศักราช ๖๘๖ จะจบเพียงไหนทราบไม่ได้ ด้วยต้นฉบับที่หอพระสมุดได้มาได้แต่เล่ม ๑ เล่มเดียว ความค้างอยู่เพียงปีมโรงฉศก จุลศักราช ๙๖๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อเตรียมทัพจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ คเนดูเห็นจะมีเล่ม ๒ อิกเล่มเดียวความจะมาจบเพียงแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองเปนอย่างมาก สมุดต้นฉบับที่ได้มา เปนสมุดดำเขียนด้วยตัวรง ฝีมือเขียนครั้งกรุงเก่า มีรอยถูกฝนชื้น ตัวหนังสือลบเลือนอยู่หลายแห่ง แต่โดยมากมีรอยพอเห็นตรงลบเลือนได้ กรรมการหอพระสมุดได้ให้พิมพ์พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ใน ร.ศ. ๑๖๖ ปีที่ได้มานั้นเปนครั้งแรก ครั้นปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๔๕๖ นี้ หอพระสมุดได้หนังสือพระราชพงษาวดารความเดียวกับหลวงประเสริฐมาอิกฉบับหนึ่ง ๒ เล่มสมุดไทย เปนฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเขียนเมื่อปีมเมียฉศก พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นเหตุให้ยินดี คาดว่าจะได้เรื่องราวพระราชพงษาวดารฉบับนี้จนจบ แต่ครั้นเอาหนังสือ ๒ ฉบับสอบกันเข้า ได้ความปรากฎว่า ฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีเปนฉบับลอกจากเล่มของหลวงประเสริฐอักษรนิตินี้เอง เพราะที่สุดไปค้างเขินอยู่ตรงคำต่อคำ เหมือนกับฉบับหลวงประเสริฐ เปนอันได้ความว่า พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐนี้มีเพียงเท่าที่ได้มาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว จึงสิ้นหวังที่จะหาเรื่องต่อได้อิกต่อไป แต่ที่ได้ฉบับพระเจ้ากรุงธนบุรีมามีประโยชน์อยู่อย่าง๑ ที่ได้ความซึ่งลบเลือนในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติบริบูรณ์
 พระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเปนอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฎในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐ จึงเปนหลักแก่การสอบหนังสือพงษาวดารได้เรื่องหนึ่ง

                                                              เนื้อหา

 ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศกวอก นัก (ษัตร ณ วน พุธ) ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ (พ.ศ. ๒๒๒๓) ทรงพระ (กรุณาโปรด) เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ให้เอกกฎหมายเหตุของพระ โ(หราเขียน) ไว้แต่ก่อนและกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ และเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้
 จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง
 ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน (เสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕) เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา